กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 04 มี.ค. 2554, 05:54:34

หัวข้อ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 04 มี.ค. 2554, 05:54:34
ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
  ๔  มีนาคม ๒๕๕๔
       ผู้ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทขาดสติที่เป็นสัมมาสติ
คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ดี เพราะว่าความประมาทที่ขาดสัมมาสตินั้น จะทำให้นักปฏิบัติ
เห็นผิดไปจากความเป็นจริง  คือมีสติ แต่เป็นมิจฉาสติ คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ผิดที่ชั่ว
ความไม่ประมาทนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอยู่ ๔ ประการคือ
 ๑. ไม่มีความอาฆาตพยาบาทใคร คือการที่ต้องทำให้มีจิตใจเป็นกุศล จิตใจที่ดีงาม
     ไม่น้อยใจตนเอง ไม่น้อยใจผู้อื่น ไม่โกรธตนเอง ไม่โกรธผู้อื่น อยู่กับความคิด
      อยู่กับจิตที่เป็นกุศล
 ๒. มีสติอยู่ทุกเมื่อ คือมีการระลึกรู้ในสิ่งที่กำลังคิดและในกิจที่กำลังทำ รู้จักการ
     แยกแยะบุญและบาป สิ่งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล รู้ในสิ่งที่ควรคิดและในสิ่ง
     ที่ควรทำ คือการรู้กาย รู้จิต รู้ความคิด รู้การกระทำ มีสติเป็นสัมมา
 ๓. มีสามธิอยู่ภายใน คือการตั้งใจมั่น ในสิ่งที่กำลังคิดและกำลังทำ มีสติสัมปชัญญะ
     อยู่ทุกขณะจิต เพราะว่าสมาธินั้นคือจิตที่ตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ในกายในจิต ในสิ่งที่คิด
     และในสิ่งที่ทำ
 ๔. บรรเทาความอยากในใจในจิต คือการรู้จักคิดให้พอดีและพอเพียงกับสิ่งที่เห็น
     และเป็นอยู่ คือคิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ตามเหตุและปัจจัยที่มี นั้นคือความพอดี
     ในการคิด คือการรู้จักควบคุมจิตใจ ให้อยู่กับความเหมาะสม
              พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า " บุคคลใด ได้มีคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้
บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในคำสอนของเราตลอดกาล " การที่จะเริ่มเข้าสู่การปฏิบัตินั้น
จึงต้องมีการปรับกาย ปรับจิต ปรับความคิด กันเสียก่อน คือการฝึกจิตให้มีความคุ้นเคย
กับคุณธรรมคือความเป็นกุศลจิต ความคิดที่ดีงาม การไม่มองโลกในแง่ร้าย ฝึกมองโลก
ในแง่ดี เพราะการที่เราไปเพ่งโทษผู้อื่นนั้น มันเป็นการเพิ่งกิเลสให้แก่จิตของตัวเราเอง
การมองโลกในแง่ดีนั้น เราต้องเปิด โลกทัศน์ ชีวทัศน์และวิศัยทัศน์ของเรานั้นให้เปิดกว้าง
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ลดมานะทิฏฐิ อัตตาของตัวเรา อย่าเอาตัวเรา ความคิดของเรา
มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผู้อื่น ว่าเขาดี เขาเลว เขาถูกหรือเขาผิด อย่าเอาความคิดของ
เราเข้าไปกำหนด ฝึกมองโลกในแง่ที่ดี มองหาความดีของสรรพสิ่ง แล้วเราจะเห็นความจริง
ของชีวิต รู้กาลและกิจที่ควรกระทำ คุณธรรมของนักปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในจิตของเรา...
                          ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต
                                 รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๔  มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๗.๕๖ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
หัวข้อ: ตอบ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 04 มี.ค. 2554, 09:54:37
กราบนมัสการพระอาจารย์

ตั้งแต่ฝึกหัดฝึกจิตคิดปฏิบัติ ตัวอัตเข้มแข็งแรงดีนัก รู้สึกได้เลยว่าแม้จะมีปัญหา
หนักหนาเท่าขุนเขา แต่ใจเราไม่หวั่นและพรั่นพรึง
หัวข้อ: ตอบ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 04 มี.ค. 2554, 11:43:39
กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ ที่ท่านกล่าวข้างต้นนี้มิทราบว่าใช่เรื่องนี้หรือไม่ครับ
กรุณาด้วยครับท่านฯ
-----------------------
ฆราวาสธรรม 4 สำหรับผู้ครองเรือน
"ฆราวาสธรรม" คือ หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ที่จำเป็นต้องมีอยู่ประจำ เพื่อเสริมให้มีความสุขยิ่งขึ้น พระพุทธองค์ได้ตรัสกะยักษ์ ชื่ออาฬวกะ ปรากฎอยู่ในอาฬวกสูตร (๑๕/๒๙) มี ๔ ประการ คือ

๑. สัจจะ  คือ ความจริง ดำรงมั่นอยู่ในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง เป็นเหตุนำมาซึ่งความเชื่อถือ หรือไว้วางใจได้
๒. ทมะ   คือ ฝึกตน ปรับปรุงตน บังคับควบคุมตนเองได้รู้จักปรับตัว และแก้ไขปรับปรุงตน ให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ รวมทั้งการยอมรับและแก้ไขสิ่งบกพร่องของตนด้วย
๓. ขันติ   คือ อดทน อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย ทนตรากตรำ ทนต่อความเจ็บใจ ทนข่มอารมณ์ของตนได้ ทนต่อความยั่วยวนต่าง ๆ อดทนต่ออำนาจฝ่ายต่ำ อดทนต่อการทำการงาน
๔. จาคะ  คือ เสียสละ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ สละความโกรธ ความเห็นแก่ตัว มีใจกว้างร่วมงานกับคนอื่นได้ สละอารมณ์ขุ่นมัวภายในจิตใจได้
หัวข้อ: ตอบ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: oak ที่ 05 มี.ค. 2554, 10:01:28
ขออนุโมทนา ที่ให้ธรรม อันเป็นประโยช เพราะความประมาทนำไปสู่ภพชาติ ไม่ม่งตรงสู่นิพาน
หัวข้อ: ตอบ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 05 มี.ค. 2554, 10:58:34
การมองโลกในแง่ดีนั้น เราต้องเปิด โลกทัศน์ ชีวทัศน์และวิศัยทัศน์ของเรานั้นให้เปิดกว้าง
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ลดมานะทิฏฐิ อัตตาของตัวเรา อย่าเอาตัวเรา ความคิดของเรา
มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผู้อื่น

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ การลดอัตตาของตัวเรา เป็นสิ่งที่มีประโยช์นในชีวิตมากเพราะทำจุดนี้ได้ ปัญหาอะไรหลายๆอย่างในชีวิตก็จะลดลงได้มากครับ
หัวข้อ: ตอบ: ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมของนักปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 10 มี.ค. 2554, 08:55:01
ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ สรุปและย่อคำสอนของท่านดังนี้ ถูกผิดประการใดกรุณาชี้แนะด้วยครับ :054:

ความประมาท=ขาดสัมมาสติ
1.จิตใจเป็นกุศล
2.รู้ในสิ่งที่ควรคิดและในสิ่งที่ควรทำ
3.มีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต
4.คิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ตามเหตุและปัจจัยที่มี=ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ้งซ่าน