กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ, กฎแห่งกรรม และ ประสบการณ์วิญญาณ => สนทนาภาษาผู้ประพฤติ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวี สัจจะ... ที่ 10 ก.ย. 2554, 05:26:33

หัวข้อ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 10 ก.ย. 2554, 05:26:33
คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
ตถตาอาศรม เขาเรดาร์ บ้านบึง ชลบุรี
เสาร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
        มีผู้สนใจในการปฏิบัติภาวนาแวะเวียนมาพูดคุย ขอคำชี้แนะปรึกษา
ถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติอยู่เสมอ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
โดยทางตรงนั้นคือเดินทางขึ้นมาหาที่ตถตาอาศรมบนเขาเรดาร์ด้วยตนอง
ส่วนทางอ้อมนั้นก็คือการฝากข้อความคำถามไว้ในเว็บไซค์หรือในเฟรชบุ๊ค
ซึ่งจะมีมาอยู่มิได้ขาด ได้สงเคราะห์ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาเขาอยู่เสมอ
แก้ปัญหาทางจิตที่ติดขัดให้แก่เขาเหล่านั้น ทำไปตามกำลังสติปัญญาของเรา
เอาประสบการณ์ที่เคยได้ศึกษาและปฏิบัติมาช่วยสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ซึ่งจะเน้นย้ำในเรื่องของสภาวธรรมที่เป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ติดยึดกับวิชาการ
ภาษาคำบาลีทั้งหลาย เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ คลายความสงสัยในภาษา
คำศัพท์บาลีทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเจริญในธรรม....
         การเจริญบริกรรมภาวนา ไม่ว่าจะใช้คำใดก็ตามแต่ จะเป็นคำว่า “ พุทโธ “
“ สัมมาอรหัง “ “ นะมะพะทะ “ ยุบหนอ-พองหนอ “เมื่อถึงจิตเข้าสู่ความเป็นสมาธิ
 คำบริกรรมภาวนานั้นจะหายไป เพราะจิตนั้นจะละเอียดขึ้น เหลือเพียงสภาวะรู้
สิ่งที่จะเป็นต่อไปคือจิตจะมากำหนดรู้สภาวธรรมในองค์ภาวนาและจะชัดเจนขึ้น
ละเอียดขึ้น ตามกำลังของความสงบ ตามกำลังของสติและสมาธิจนถึงระดับหนึ่ง
จิตจะหยุดนิ่งเป็นหนึ่งในอารมณ์แห่งสมาธิ เหลือเพียงธาตุรู้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
 มันจะเป็นไปตามเจตนาความปรารถนาสิ่งที่อธิษฐานจิตไว้ จิตจะนิ่งสงบหรือจะยก
ขึ้นสู่การพิจารณาธรรม หรือว่าจะเข้าสู่มิติของนิมิตนั้น มันเกิดขึ้นมาในอารมณ์นี้
ซึ่งขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมา ไม่ใช่ว่าจะเป็นเหมือนกันทุกคน แต่ก่อนที่จิตจะเข้าสู่
ความสงบนั้น มันจะมีอารมณ์มาทดสอบกล้า กำลังศรัทธา กำลังสติของเราสิ่งนั้นคือความกลัว
 กลัวตาย กลัวบ้า กลัวนั่งแล้วจิตหลุดไม่กลับมา กลัวไม่รู้ว่าจะต้องพบจะเห็นอะไรในนิมิตนั้น
ความหวั่นไหวหวาดกลัวจะเกิดขึ้นในจิต ซึ่งถ้าศรัทธาของเราไม่มั่นคง เราก็จะหยุดภาวนา
ไม่กล้าที่จะปฏิบัติต่อไป ซึ่งความกลัวนั้นมีสาเหตุมาจากความพร่องแห่งบุญกุศลของเรา
อาจจะเป็นเพราะศรัทธายังไม่มั่นคงยังสงสัยลังเลหรือว่ามาจากความวิบัติบกพร่องแห่งศีล
ทำให้จิตของผู้ปฏิบัตินั้นติดอยู่กับบาปกรรมที่เคยกระทำไว้ ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง
มันจึงเกิดความกลัว ความหวาดหวั่น เกิดความลังเล ใจไม่เข้มแข็งพอที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้
การปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องยินยอมพร้อมใจ มอบกายถวายชีวิตต่อพระรัตนตรัยต่อการปฏิบัติ
ยอมรับในวิบากกรรมที่เคยทำมา เอาชีวิตเข้าแลกกับคุณธรรม มันจึงจะสำเร็จในการปฏิบัติธรรม
เรียกว่าความเจริญในธรรมนั้นได้บังเกิดแล้วแก่ผู้ปฏิบัติ.......
                 เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                      รวี สัจจะ-สมณะไร้นามวจีพเนจร
๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๕.๒๒ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
หัวข้อ: ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: saken6009 ที่ 10 ก.ย. 2554, 06:21:12
 “ พุทโธ “ “ สัมมาอรหัง “ “ นะมะพะทะ “ ยุบหนอ-พองหนอ “  
               
เมื่อถึงจิตเข้าสู่ความเป็นสมาธิคำบริกรรมภาวนานั้นจะหายไป
                       
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ  รักษาดูแลสุขภาพด้วยนะครับ :054: :054:
 
ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ สำหรับคำสอนดีๆ ที่นำมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบพระคุณมากครับ) :033: :033:
หัวข้อ: ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 10 ก.ย. 2554, 06:52:30
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ. เคยได้พูดคุยกับหลายๆคนที่ต้องเลิกนั่งสมาธิเพราะความกลัว พวกเค้าเหล่านั้นไม่สามารถก้าวผ่านความกลัวไปได้ครับ พอพูดถึงการนั่งสมาธิเค้าจะพูดเรื่องความน่ากลัวที่เค้าได้พบมาทันที
หัวข้อ: ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: berm ที่ 10 ก.ย. 2554, 09:04:31
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ
หัวข้อ: ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: รวี สัจจะ... ที่ 10 ก.ย. 2554, 10:10:08
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ. เคยได้พูดคุยกับหลายๆคนที่ต้องเลิกนั่งสมาธิเพราะความกลัว พวกเค้าเหล่านั้นไม่สามารถก้าวผ่านความกลัวไปได้ครับ พอพูดถึงการนั่งสมาธิเค้าจะพูดเรื่องความน่ากลัวที่เค้าได้พบมาทันที
เพราะดำริความคิดเริ่มแรกของเขาเหล่านั้นมันผิด
มีความปรารถนาลามก คือการคาดหวังผลในโลกธรรม ๘
เพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเสียงคำยกย่องคำชมเชย อยากดี อยากเด่น
อยากให้คนเคารพบูชา เมื่อเจตนาดำริผิดไป ผลจึงออกมาเป็นเช่นนั้น
แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในจิตที่บริสุทธิ์และคุณธรรมของเราที่ได้สะสมมา
ความกลัวเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นแก่เรา....
หัวข้อ: ตอบ: คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านไป ๙ กย. ๕๔ ...
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงกลด ที่ 10 ก.ย. 2554, 06:02:15
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ. เคยได้พูดคุยกับหลายๆคนที่ต้องเลิกนั่งสมาธิเพราะความกลัว พวกเค้าเหล่านั้นไม่สามารถก้าวผ่านความกลัวไปได้ครับ พอพูดถึงการนั่งสมาธิเค้าจะพูดเรื่องความน่ากลัวที่เค้าได้พบมาทันที
เพราะดำริความคิดเริ่มแรกของเขาเหล่านั้นมันผิด
มีความปรารถนาลามก คือการคาดหวังผลในโลกธรรม ๘
เพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเสียงคำยกย่องคำชมเชย อยากดี อยากเด่น
อยากให้คนเคารพบูชา เมื่อเจตนาดำริผิดไป ผลจึงออกมาเป็นเช่นนั้น
แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในจิตที่บริสุทธิ์และคุณธรรมของเราที่ได้สะสมมา
ความกลัวเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นแก่เรา....

พวกนั้นคล้ายกับนักบวชนอกศาสนา

ขออนุญาตขยายความโลกธรรม 8 ด้วยครับ
================
ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

ที่มา
http://www.learntripitaka.com/scruple/rokatham8.html