กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => รูปภาพและวีดีโอสายวัดบางพระ และ รูปภาพและวีดีโอสายอื่นๆ => รูปภาพและวีดีโอสายวัดบางพระ => ข้อความที่เริ่มโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 23 มี.ค. 2551, 08:57:06

หัวข้อ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 23 มี.ค. 2551, 08:57:06
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2551 คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง  โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์



การจะตัดสินใจจะเช่าบูชาพระเครื่องเก่าแก่สักหนึ่งองค์ ยิ่งถ้ามูลค่าสูงๆ ด้วยแล้ว คงต้องมีการพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังว่าเป็นพระเก๊บ้าง พระซ่อมบ้าง โดยเฉพาะพระเครื่องที่มีอายุยาวนานมากๆ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่องค์พระอาจเกิดการแตกหักหรือชำรุด ซึ่งจะทำให้มูลค่าลดลงไปตามส่วน "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำ "แนวทางการพิจารณาพระซ่อม-พระตกแต่ง" มาให้เรียนรู้กันพอสังเขปจะได้ไม่โดนหลอกง่ายๆ ครับผม

การซ่อมพระในวงการพระเครื่อง พระบูชา เริ่มมีเป็นอาชีพมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 ต่อมาแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการพัฒนาถึงขั้นดูไม่ออกเลยว่า เป็นพระที่ผ่านการซ่อมมาแล้วก็มี ขนาดเอากล้องส่องยังไม่พบร่องรอยการซ่อมว่าอยู่ตรงไหน จะรู้กันเพียงเจ้าของพระกับช่างซ่อมเท่านั้น ยิ่งในกรณีที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจ ยังไม่มีการชำระค่าเช่าบูชาแก่เจ้าของพระ ยิ่งเป็นการลำบากที่จะนำพระมาล้าง เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับเจ้าของพระได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มีคุณค่าสูง มูลค่าสูง และหายากด้วยแล้ว
 


ข้อแนะนำประการแรกคือ ให้นำองค์พระไปที่ "แผนกรังสีวิทยา" ของโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่ง เพื่อให้ทำการ "เอกซเรย์" เพราะรอยหักรอยซ่อมจะปรากฏชัดขึ้นตามฟิล์ม อันเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าพระหักเป็นสองชิ้น ถึงแม้จะซ่อมยอดเยี่ยมเพียงใด ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ ด้วยอายุขัยของเนื้อมวลสารและรอยประสานที่แตกต่างกัน และกลายเป็นหลักปฏิบัติมาถึงปัจจุบัน แต่ในบางกรณีที่องค์พระเกิดการกะเทาะ ช่างซ่อมจะตกแต่งให้สมบูรณ์ขึ้น อันนี้ ถ้าช่างฝีมือเยี่ยมจริงๆ จะดูได้ยากมาก ถ้านำพระไปเอกซเรย์ตามปกติคือวางพระในแนวราบธรรมดา เพราะฉะนั้นจะต้องวางองค์พระในแนวตะแคงทำมุม 15 องศา จึงจะสังเกตเห็นได้ อีกวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบพระซ่อม โดยเฉพาะพระสมเด็จ คือ ให้นำ "เมทิลแอลกอฮอล์" ใส่สำลีแล้วเช็ด 2-3 ครั้ง ที่องค์พระ รอยซ่อมก็จะปรากฏ

พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ จะทำการซ่อมและตกแต่งยากกว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เพราะเป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการบรรจุกรุ จึงไม่มีคราบกรุที่จะอำพรางรอยซ่อมได้ แต่สำหรับพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมมักจะมีคราบกรุจับ ช่างเก่งๆ บางคนสามารถทำการ "ย้ายคราบกรุ" มาปิดตรงบริเวณที่ซ่อมเพื่อเป็นการอำพราง ไม่ว่าจะเป็นพระแท้ที่หักเป็น 2 ส่วน พระแท้หักครึ่ง 2 องค์ แม้กระทั่งพระแท้ครึ่งองค์กับพระเทียมครึ่งองค์ก็มี จนในวงการมักมีคำล้อกันว่า "ซื้อองค์เดียวได้สององค์" พระที่ถูกซ่อมในลักษณะเช่นนี้ ให้พิจารณา "ซุ้มครอบแก้ว" ว่าบรรจบเหลื่อมล้ำกันหรือไม่ ดูแผ่นหลัง รอยตัดข้าง สีผิวขององค์พระว่ามีความแปลกแตกต่างกันไหม ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความละเอียดรอบคอบอย่างสูง

จึงขอแนะนำวิธีง่ายๆ แต่ค่อนข้างพิสูจน์ได้ คือ นำองค์พระไปตรวจสอบกลางแดด เอียงองค์พระในลักษณะ 45 องศา ให้สะท้อนกับแสงแดด กระดกองค์พระไปมา ถ้าเป็นพระที่ไม่มีการซ่อมจะมีผิวด้านเสมอกัน แต่หากบริเวณใดมีการซ่อมจะปรากฏความมันสะท้อนแตกต่างจากจุดอื่น ให้ตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า น่าจะเป็นพระที่ผ่านการซ่อมมา แต่ระวังอย่ากระดกแรงไป เดี๋ยวหลุดมือขึ้นมา..เรื่องใหญ่ครับผม


....................................................................................
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แกพี่น้องชาวบางพระนะครับ
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์โจรสลัด~ ที่ 23 มี.ค. 2551, 10:31:28
เดิมๆ จะซึ้งกว่านะครับ  ;D ชอบเดิมๆ  :-*
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 23 มี.ค. 2551, 11:01:34

เดิมๆ จะซึ้งกว่านะครับ? ;D ชอบเดิมๆ? :-*
เดิมๆเงินต้องถึงนะจ๊ะ ;D ;D
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์โจรสลัด~ ที่ 23 มี.ค. 2551, 11:02:53

เดิมๆ จะซึ้งกว่านะครับ? ;D ชอบเดิมๆ? :-*
เดิมๆเงินต้องถึงนะจ๊ะ ;D ;D

เงินไม่ให้แต่ใจรัก  :-*
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 24 มี.ค. 2551, 10:36:16
ขอบคุณครับเยี่ยมมากครับ .... ;)
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: GodsteP ที่ 24 มี.ค. 2551, 03:39:13
เป็น ความรู้ ที่เจ๋งดีครับ ขอบคุณมากมาย เลยครับ
หัวข้อ: ตอบ: แนวทางการพิจารณา พระซ่อม-พระตกแต่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ๛ตี๋ใหญ่๛ ที่ 25 มี.ค. 2551, 12:07:31
ความรู้สุดยอด ประโยชน์เพียบ