แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - เว็บมาสเตอร์...

หน้า: [1]
1


...อาจาริยะบูชาไหว้ครูบูรพาจารย์...

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม...
...ในวันเสาร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๕
เป็นวันที่ทางวัดบางพระ ได้กำหนดมา
ว่าเป็นวันไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น
ในฐานะศิษย์ที่เคยได้รับความเมตตาจาก
พระเดชพระคุณหลวงพ่อเปิ่น จึงขอแสดง
ความเคารพบูชาครูบูรพาจารย์ไว้ ณ ที่นี้...
๐ สิบนิ้วประนมน้อม
ดวงจิตพร้อมอภิวา
ระลึกคุณบูรพา
ขอบูชาซึ่งคุณครู
สืบสายตำนานศาสตร์
ขอประกาศและเชิดชู
ศึกษาและเรียนรู้
สืบจากครูบูรพา
สักเสกแลเลยันต์
สารพันวิทยา
ได้รับความเมตตา
ถ่ายทอดมาจากอาจารย์
โดดเด่นเรื่องสักเสก
ยกเป็นเอกแห่งตำนาน
เสื่อเผ่นเด่นตระการ
คนกล่าวขานและร่ำลือ
เวียนรอบในราศี
ถึงเดือนสี่ที่เชื่อถือ
สำคัญวันนั้นคือ
ประกาศชื่อบูชาครู
ไหว้ครู"หลวงปู่เปิ่น"
ประกาศเชิญให้รับรู้
บวงสรวงบูชาครู
เชิญมาอยู่คุ้มครองกาย
รอยมันและลายหมึก
ที่จารึกมีความหมาย
ป้องกันอันตราย
สิ่งชั่วร้ายไม่แผ้วพาน
สิ่งดีให้มีมา
คนเมตตารักสงสาร
สำเร็จเรื่องการงาน
ได้พบพานสิ่งดีดี
เลขยันต์อักขระ
เราควรจะรู้วิธี
รักษายันต์ตรานี้
ก็ต้องมีคุณธรรม
ถือศีลและถือสัตย์
ข้อบัญญัติควรกระทำ
สิ่งที่ครูชี้นำ
จงจดจำและทำตาม
เชื่อมั่นและศรัทธา
ภาวนาทุกโมงยาม
อย่าผิดในข้อห้าม
พยายามเป็นคนดี
ยันต์นั้นจะเข้มขลัง
มีพลังด้วยสิ่งนี้
นั่นคือคุณความดี
ศรัทธามีในอาจารย์
ไหว้ครูบูชาครู
เพื่อเรียนรู้และสืบสาน
ของดีแต่โบราณ
สืบตำนานวิทยา
พ่อแก่แลฤๅษี
พระคัมภีร์แห่งคาถา
สืบทอดตลอดมา
ควรรักษาให้สืบไป...
...กตัญญูบูชาครูบาอาจารย์
ผู้มีพระคุณทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

2


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐...

...เหตุการณ์ในอนาคตนั้น เรามิอาจ
จะกำหนดได้ตามที่ใจเราปรารถนา
ไปทุกอย่างต้องปล่อยให้มันเป็นไปตาม
เหตุและปัจจัย อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด
เตรียมใจไว้สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ว่าจะมีผลในทางบวกหรือทางลบ
เรายอมรับกับมันได้
...หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ
ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า
" เสียอะไรเสียได้แต่อย่าให้ใจเสีย "
ถ้าใจเสียเมื่อไหร่ก็จบกัน อยากที่
จะแก้ไขเพราะใจมันไม่สู้แล้ว
แต่ถ้าเราตั้งใจมั่นไม่หวั่นไหว
เมื่อภัยมามีสติและสัมปชัญญะ
เราย่อมมีโอกาสที่จะหาหนทาง
แก้ไขได้
...เรียกว่า " สูญเสียแต่ไม่เสียศูนย์ "
เราจึงต้องฝึกจิตให้นิ่ง ให้สงบ
มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกาย
และจิต โดยการเจริญสติ เจริญ
ภาวนาให้เห็นถึงพระไตรลักษณ์
คือความไม่เที่ยงแท้ ความทุกข์
ความเข้าไปยึดถือไม่ได้ของ
ธรรมชาติทั้งหลาย ที่เราเข้าไป
ควบคุมมันไม่ได้ตลอดเวลา
ทำให้เกิดธรรมสังเวชในกองทุกข์
...เมื่อจิตเรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ
เราทำได้ ใจเราก็ไม่ไปยึดติด
ในสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตไม่เข้าไป
ยึดติด ยึดถือ มันก็ไม่เป็นทุกข์
เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตย่อม
หลุดพ้น ไม่กลับมาอีก เพราะว่า
ออกจากกองทุกข์เสียแล้ว คือถึง
พระนิพพาน....

..ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

3


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๐...

...ใคร่ครวญทบทวนสรุปเรื่องราว
ที่ผ่านมา มีหลากหลายบทบาท
และลีลาที่ได้ดำเนินไปในทุกศาสตร์
ทุกศิลป์ที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนมา
จนเกิดความกระจ่างแก่ใจ
สิ้นความสงสัยในเรื่องพลังจิต
ที่ทำให้เป็นอิทธิปาฏิหาริย์
คงจะถึงกาลที่จะต้องละวาง
จากพิธีกรรมเข้าสู่การปฏิบัติ
สติปัฏฐาน ๔ อย่างจริงจัง
เพราะวันเวลาของชีวิตนั้น
ยังอีกไม่ยาวไกล จึงต้องตั้งใจ
เร่งความเพียรให้มากขึ้น
...เคยมีผู้ปรารถนาดีที่อยากจะให้
เรามีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
มาติดต่อให้ไปออกในสื่อต่างๆเพื่อ
เผยแพร่ธรรมะทั้งงานเขียนและการ
บรรยายธรรม แต่ก็ได้ปฏิเสธเขาไป
เพราะว่าเราพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่
...งานเขียนทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นจาก
สภาวจิต จากความคิดในขณะนั้น
เพียงเพื่อต้องการจะบันทึกไว้เพื่อ
เตือนใจตนและแบ่งปันแก่ผู้คน
ที่สนใจในธรรมทั้งหลาย ยังอยาก
จะอยู่อย่างเรียบง่าย เป็นสมณะไร้นาม
ตามปกติที่เป็น
...เพราะการเปิดตัวต่อสาธารณะชน
นั้น มันมีทั้งผลดีและผลเสีย ย่อมมี
ทั้งคนชอบและคนชัง กลายเป็นบุคคล
สาธารณะ ที่ต้องพร้อมจะรับฟังคำ
ติชมทั้งหลาย ชีวิตส่วนตัวนั้นก็จะ
หายไป เพราะสังคมจะเข้ามาบังคับ
ให้วิถีชีวิตนั้นเปลี่ยนไปตามกระแส
ความต้องการของสังคม
...ความเป็นตัวตนที่แท้จริงจะหายไป
เพราะกระแสสังคมแห่งโลกธรรมจะเข้า
มามีบทบาทในการกำหนดชีวิตเรา
จึงยินดีและพอใจที่จะเป็นอยู่อย่างนี้
อย่างที่เคยเป็นมา อยู่กับสภาวะแห่ง
ความเป็นจริงในสิ่งที่เราเป็นอยู่
คืออยู่กับปัจจุบันธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

4


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙...

...ทุกคนนั้นต่างใฝ่ฝันปรารถนาซึ่งสิ่งที่ดี
อยากจะให้มี อยากจะให้เกิดแก่ตนเอง
แต่ที่มันไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้นั้น
ก็เพราะว่าเครื่องรับอันคือจิตของเรานั้น
มันยังไม่มีความพร้อม ที่จะน้อมรับซึ่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเครื่องรับนั้นยังไม่
สะอาดดีพอ กุศลทั้งหลายก็ไม่อาจที่จะตั้ง
อยู่ได้หรือเกิดขึ้นได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้อง
ปรับใจ อันเป็นเครื่องรับซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ทั้งหลาย ให้มันสะอาด ให้มันดีเสียก่อน
เพื่อรองรับสิ่งที่ดีทั้งหลาย ให้มาเกิดขึ้นและ
ตั้งอยู่ในจิตใจของเรา...
...ทุกชีวิต ก้าวไป ในบทบาท
ตามโอกาส จังหวะ ของชีวิต
ล้วนแต่กรรม นำพา มาลิขิต
จะถูกผิด ล้วนแต่กรรม นั้นนำไป

...ไม่ใช่โชค ชะตา ฟ้าลิขิต
กรรมนิมิต นำมา ซึ่งสิ่งใหม่
จะสุขทุกข์ นั้นเกิด ขึ้นที่ใจ
ทำสิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง

...เมื่อใจทุกข์ จงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
เพ่งพินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
จงเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

...สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่บนหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ เป็นหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์ราญรอน เพราะใจ ไปยึดมัน

...ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย พรากจากกัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

...นี้เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี้คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

...เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
จะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ว่ามันเป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕...

5


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙...

...การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้น
เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎ
พระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติ
ทั้งหลาย ยึดถือไม่ได้ อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมดาของ
สรรพสิ่งในโลกนี้...

...โลกและธรรม ทิศทางที่ต่างกัน...
๐ โลกธรรม นำมา ซึ่งสะสม
ค่านิยม สังคม ในยุคใหม่
เพื่อโอ้อวด แข่งขัน กันเรื่อยไป
ต่างกอบโกย กำไร ไม่ระวัง
๐ ทั้งลาภยศ สรรเสริญ เพลินในสุข
ทำให้ทุกข์ ตามมา ในภายหลัง
เมื่อเสื่อมยศ เสื่อมลาภ ให้ล้มพัง
มีคนชัง ไม่สรรเสริญ ไม่เยินยอ
๐ กินกามเกียรติ กอบโกย เพราะโหยหา
ให้ได้มา ในสิ่ง ที่ร้องขอ
เพราะความที่ อยากได้ ไม่รู้พอ
จึงเกิดก่อ ความทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ ความสำเร็จ ของชีวิต ที่คิดหา
คือทรัพย์สิน เงินตรา นั้นหาไม่
ความสำเร็จ ของชีวิต อยู่ที่ใจ
บอกว่าพอ เมื่อไหร่ ก็ใช่เลย
๐ เมื่อมุ่งหวัง มาเป็น สมณะ
เพื่อลดละ ทุกสิ่ง ไม่นิ่งเฉย
ทั้งอัตตา ตัวตน ที่คุ้นเคย
กิเลสเอย ตัณหาเอย เร่งละวาง
๐ อยู่กันแบบ พอเพียง ก็เพียงพอ
การร้องขอ เกินไป ออกให้ห่าง
เดินตามธรรม มีธรรม เป็นแนวทาง
ตามแบบอย่าง พระอาจารย์ ท่านทำมา
๐ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
ท่านได้สร้าง แบบไว้ ให้ศึกษา
ตามหลักธรรม ขององค์ พระสัมมา
ใช้ปัญญา ใช้สติ หมั่นตริตรอง
๐ ธรรมวินัย ศึกษา ปฏิบัติ
ให้เคร่งครัด ทำตัว ไม่มัวหมอง
มรรคองค์แปด เส้นทางธรรม ตามครรลอง
เพื่อปกป้อง สืบทอด ธรรมวินัย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕...

6


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘...

....กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียน
และเปลี่ยนไป ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุด
และหยุดนิ่งสรรพสิ่งย่อมเคลื่อนไหว
โลกนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยหยุดนิ่ง กระแสแห่งโลกนั้น
จึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและหยุดอยู่
...แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้
และได้เห็นความเป็นจริงของชีวิต
จิตวิญญาน สิ้นสุดด้วยการที่รู้จักพอ
โดยไม่ร้องขอและแสวงหาอีกต่อไป...

...มากมาย หลายเรื่องราว
ซึ่งข่าวคราว ที่ส่งมา
ร้อยเรื่อง ร้อยปัญหา
ทำให้คิด และติดตาม

...ทางโลก และทางธรรม
จิตน้อมนำ มิมองข้าม
เฝ้าดู อยู่ทุกยาม
เฝ้าดูจิต ที่คิดไป

...ผัสสะ มากระทบ
และมันจบ ลงที่ใจ
บางครั้ง จิตหวั่นไหว
ต่อผัสสะ ที่มีมา

...คล้อยตาม กระแสโลก
จึงทุกข์โศก กับปัญหา
เพราะจิต มีอัตตา
ชี้ถูกผิด ด้วยจิตตน

...พลั้งเผลอ ใช่พลั้งพลาด
มีโอกาส จะฝึกฝน
เผลอไป ให้รู้ตน
เตือนสติ ให้กลับมา

...วางจิต อยู่ในกาย
ไม่เสาะส่าย ออกไปหา
ดูจิต ดูกายา
ไม่ส่งจิต ออกนอกกาย

...จิตที่ ส่งออกนั้น
รู้ให้ทัน อย่าให้หาย
เป็นเหตุ สมุทัย
ทำให้ทุกข์ นั้นเกิดมา

...จิตรู้ จิตเห็นจิต
เห็นความคิด รู้ปัญหา
สิ่งนั้น คือมรรคา
ที่จะดับ ทุกข์นั้นไป

...ผลจาก การเห็นจิต
ดับสนิท สิ้นสงสัย
สว่าง ขึ้นในใจ
เป็นนิโรธ ที่ดับลง

...วางจิต ไว้ในกาย
อย่างมั่นหมาย มิไหลหลง
ตั้งจิต ให้มั่นคง
โดยเอาธรรม มานำทาง

...นำทาง สร้างชีวิต
และนำจิต สู่สว่าง
เดินใน ทางสายกลาง
ตามมรรคแปด ควบคุมตน

...ชีวิต อิสระ
ไร้พันธะ เพราะหลุดพ้น
หลุดออก จากวังวน
ในวัฏฏะ ที่เป็นมา

...เข้าสู่ กระแสธรรม
บุญหนุนนำ ให้ล้ำค่า
ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
ตาสว่าง เพราะทางธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ มีนาคม ๒๕๖๕...

7


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘...

...เตือนย้ำอีกครั้งสำหรับพี่น้องชาวไทย...

...กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘...

...รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง...

...ยกธรรมกล่าวอ้าง ให้เป็นแบบอย่าง
อักษรวิธี กาพย์กลอนโคลงฉันท์ สิ่งนั้นควรมี
เพราะเป็นของดี มาแต่โบราณ

...การใช้ภาษา สืบทอดกันมา ครูบาอาจารย์
เขียนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับงาน
เพื่อจะสืบสาน ภาษาของไทย

...อย่าได้มักง่าย เพราะว่าความหมาย
มันจะเปลี่ยนไป คิดก่อนจะเขียน จงเพียรแก้ไข
ภาษาที่ใช้ ตามหลักตำรา

...คำพูดคำเขียน จงเพียรใส่ใจ ไว้เสริมปัญญา
ภาษาวิบัติ อย่าหัดมาใช้ ไม่ใช่ของไทย
มันไม่งดงาม

...เตือนจิตเตือนใจ รักษากันไว้ อย่าได้มองข้าม
ภาษาของชาติ ประกาศชื่อนาม อย่าให้เขาหยาม
ภาษาของเรา

...ภาษาที่ใช้ คือภาษาไทย อย่าอายใครเขา
สดสวยงดงาม ติดตามตัวเรา อย่าให้ใครเขา
ติฉินนินทา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๙ มีนาคม ๒๕๖๕...

8


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗...

...มีหลายคนมาบ่นระบายให้ฟังอยู่เสมอ
ว่า“ ทำดีไม่ได้ดี ทำดีแล้วไม่มีคนยอมรับ ”
หรือทำความดี แล้วมีคนมานินทาให้ร้าย
จึงทำให้ไม่อยากจะทำความดีอีกต่อไป
น้อยอกน้อยใจในเสียงสะท้อนที่ตอบกลับมา
จึงได้มาบ่นระบายให้พระฟัง
...ทุกชีวิตย่อมมีความผิดพลาดมากบ้าง
น้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนที่
ยังไม่หมดกิเลส สติยังไม่สมบูรณ์เต็มพร้อม
ในทุกขณะจิต ความคิดและการกระทำย่อม
อาจจะมีพลั้งเผลอ ไปตามแรงกิเลสตัณหา
และอุปาทาน แต่เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้แล้ว
ควรห้ามจิตห้ามใจไม่กระทำในสิ่งนั้นต่อ
ความรู้สึกส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้น
ต่างก็อยากจะเป็นคนดีของสังคม
...แต่บางครั้งการมีทัศนคติต่อสังคมในแง่ร้าย
ของเขานั้น ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปในทางไม่ดี
โดยมีพฤติกรรมทางกายที่เรียกว่า การประชด
สังคม อ้างว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา ทั้งที่ความ
จริงแล้ว สังคมเปิดโอกาสให้เขาอยู่ตลอดเวลา
แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นตัวพิสูจน์เพื่อให้สังคม
ยอมรับและเชื่อมั่นในพฤติกรรม
...เพราะความใจร้อนที่อยากจะได้ผลตอบรับ
โดยเร็วไว จึงทำให้คิดว่าสังคมไม่ให้โอกาสเขา
ไม่ยอมรับในความดีที่เขาได้ทำ ซึ่งความสำเร็จ
ทุกอย่างนั้นต้องอาศัยความอดทน จังหวะเวลา
โอกาสบุคคลและสถานที่มาเป็นเหตุปัจจัย
ให้เกิดความสำเร็จ ความยอมรับของสังคม
การกระทำที่เสมอต้นเสมอปลาย ในสิ่งที่ดี
ทั้งหลายนั้น จะเป็นสิ่งพิสูจน์ให้สังคมเขายอมรับ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๘ มีนาคม ๒๕๖๕...

9


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗...

... "อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลก
จนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้าย
กับคำสรรเสริญและคำนินทา
ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศ
ทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมัน
เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำ
ให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา
ในตนเอง เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน
ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรน
ทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมา
ซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจ
ให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร
ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข"...

๐ น้อมเอาธรรม คำสอน แต่ก่อนกาล
พระอาจารย์ ท่านสอน แต่ก่อนเก่า
ให้ดูกาย ดูจิต ความคิดเรา
ดูแล้วเอา มาเป็น เส้นแนวทาง
๐ " ทุกข์เท่านั้น เกิดมา พาหลงใหล
สมุทัย ที่เกิด ทุกสิ่งอย่าง
นิโรธธรรม นำไป ให้ถูกทาง
มรรคนั้นสร้าง ทางสัจจะ สู่พระธรรม
๐ เป็นของจริง สัจจะ อริยะ
องค์พุทธะ เลิศล้น ชนดื่มด่ำ
บอกโลกรู้ ดูให้เป็น จึงเห็นธรรม
เพื่อจะนำ ชีวิต ไม่ผิดทาง "
๐ คือบทกลอน สอนใจ ชวนให้คิด
ชี้ถูกผิด นำมา เป็นแบบอย่าง
ปฏิบัติ ให้ตรง ไม่หลงทาง
คือแบบอย่าง ของครูบา พระอาจารย์
๐ สอนให้คิด สอนให้ทำ และนำชี้
รู้ชั่วดี มีความคิด จิตอาจหาญ
ทำให้ดี ทำให้ชอบ ประกอบการ
การทำงาน ทั้งทางโลก และทางธรรม
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
เห็นสิ่งผิด ทางชั่ว ไม่ถลำ
มุ่งทางดี ทางชอบ ประกอบกรรม
สิ่งที่ทำ นำสุข เพื่อทุกคน
๐ เอาพระธรรม นำทาง สร้างชีวิต
นำความคิด นำจิต สู่กุศล
เพื่อให้เกิด ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตน
เพื่อฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา
๐ เพราะส่งจิต ไปนอกกาย ทำให้ทุกข์
คิดว่าสุข ทำไป ตามตัณหา
เพราะโลภหลง รักใคร่ ในกามา
จึงนำพา ให้เวียนว่าย ในวังวน
๐ เมื่อรู้ธรรม จงเอาธรรม นำชีวิต
เปลี่ยนความคิด หยุดวุ่นวาย ไม่สับสน
ประกอบกรรม ทำความดี หน้าที่ตน
สร้างกุศล ผลบุญ เป็นทุนรอน
๐ ชีวิตนี้ ไม่นาน ก็แตกดับ
ต้องลาลับ เหลือเพียง อนุสรณ์
วันเวลา ผ่านไป พึงสังวร
จงมองย้อน ทบทวน ใคร่ครวญดู...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ มีนาคม ๒๕๖๕...

10


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๖...

...บนเส้นทางแห่งโยธากัมมัฏฐาน...
...โยธากัมมัฏฐานคือการทำงานอย่าง
มีสติและสัมปชัญญะ เป็นการเจริญ
ซึ่งอิริยาบถบรรพ ในสติปัฏฐาน ๔
มีความระลึกรู้ แยกแยะผิดชอบชั่วดี
มีการคิดพิจารณาในทุกขณะของ
การเคลื่อนไหว เป็นไปเพื่อประโยชน์
ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม...

...ทุกชีวิต ก้าวไป ในบทบาท
ตามโอกาส จังหวะ ของชีวิต
ล้วนแต่กรรม นำพา มาลิขิต
จะถูกผิด ล้วนแต่กรรม นั้นนำไป

...ไม่ใช่โชค ชะตา ฟ้าลิขิต
กรรมนิมิต นำมา ซึ่งสิ่งใหม่
จะสุขทุกข์ นั้นเกิด ขึ้นที่ใจ
ทำสิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง

...เมื่อใจทุกข์ จงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
เพ่งพินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
จงเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

...สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่บนหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ เป็นหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์ราญรอน เพราะใจ ไปยึดมัน

...ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย พรากจากกัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

...นี้เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี้คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

...เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
จะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ว่ามันเป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๗ มีนาคม ๒๕๖๕...

11


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖...

...ในส่วนลึกของจิตของทุกคนนั้น
ล้วนแต่อยากจะเป็นคนดี อยากจะ
ทำความดี แต่ส่วนใหญ่ได้แต่คิด
แต่ไม่กล้าที่จะทำ เพราะว่าขาด
ความมั่นใจและความศรัทธาในตนเอง
จึงต้องให้มองย้อนกลับไป ว่าในชีวิต
ที่ผ่านมานั้น มีอะไรบ้างที่เราได้ทำ
ลงไปและสิ่งนั้นมันเป็นความภาคภูมิใจ
ของเรา เมื่อเราคิดถึงสิ่งนั้นครั้งใด
ทำให้ใจเรามีความสุขและมีความ
ภาคภูมิใจ สิ่งที่คิดนั้นคือการปลุก
ศรัทธาให้กับตัวเรา...

...ห้วงหนึ่งแห่งกาลเวลา...

...เก็บมา ใคร่ครวญ ขบคิด
ตั้งจิต สนใจ ใฝ่หา
เรียนรู้ กับโลก มายา
ค้นหา ให้เห็น ตัวตน

...ค้นหา ให้เห็น พื้นฐาน
คือการ เรียนรู้ เบื้องต้น
รู้จิต รู้ใจ ของคน
เริ่มต้น ที่ตัว ของเรา

...รู้กาย รู้จิต ของตัว
รู้ทั่ว รู้พร้อม ไม่เขลา
ตามดู รู้เห็น จิตเรา
ขัดเกลา ฝึกจิต คิดดี

...เมื่อไหร่ ที่เห็น จิตเรา
ก็เข้า ใจซึ่ง จิตนี้
จิตเรา จิตเขา ที่มี
จิตนี้ ก็คล้าย คลึงกัน

...ล้วนมี กิเลส ตัณหา
อัตตา ตัวตน ทั้งนั้น
ตามดู ตามรู้ ให้ทัน
จิตนั้น เคลื่อนไหว ไปมา

...เคลื่อนตาม สิ่งที่ กระทบ
เมื่อพบ เจอกับ ปัญหา
ผัสสะ ที่ผ่าน เข้ามา
ทางตา ทางลิ้น กายใจ

...จิตนั้น เข้าไป รับรู้
ติดอยู่ จึงให้ หวั่นไหว
ปรุงแตก คล้อยตาม มันไป
หวั่นไหว เพราะจิต คิดตาม

...หยุดคิด หยุดจิต ที่ปรุง
เรื่องยุ่ง ก็จะ ก้าวข้าม
วางสิ่ง รู้เห็น ไม่ตาม
เห็นความ สงบ พบจริง

...สยบ ซึ่งความ เคลื่อนไหว
ทำใจ ของเรา ให้นิ่ง
รู้เห็น ตามที่ เป็นจริง
ทุกสิ่ง สมมุติ ขึ้นมา

...เข้าใจ ในพระ ไตรลักษณ์
รู้หลัก ต้นเหตุ ปัญหา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จากลา
อัตตา ก็จะ ลดลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๗ มีนาคม ๒๕๖๕...

12


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕...

...“ ทำความเพียรมากเกินไปจิตใจก็ฟุ้งซ่าน
ทำความเพียรอ่อนไปก็กลายเป็นเกียจคร้าน ”
“ อจฺจารทฺธํ วิริยํ อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ
อติลีนํ วิริยํ โกสชฺชายํ สํวตฺตติ ”...
...พุทธสุภาษิต โสณสูตร ๒๒/๓๘๗...
๐ เชื่อมั่น และศรัทธา
น้อมนำมา ซึ่งพลัง
สู่สิ่ง ที่คาดหวัง
สร้างด้วยจิต ความคิดตน
๐ ตั้งจิต คิดให้ดี
ในสิ่งที่ มีเหตุผล
ความดี มีทุกคน
ที่ได้สร้าง และทำมา
๐ ความดี มีในจิต
จงค้นคิด จิตค้นหา
เสริมสร้าง ความศรัทธา
ในความดี สิ่งที่ทำ
๐ ย้ำเตือน และย้ำคิด
ปลุกปลอบจิต กุศลกรรม
ความดี ที่เคยทำ
เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ
๐ จิตดี ส่งกายเด่น
มันเฉกเช่น เครื่องกลไก
ขับเคลื่อน จากภายใน
ให้จิตนี้ มีพลัง
๐ ปลุกกาย และปลุกจิต
ปลุกชีวิต สู่ความหวัง
สร้างเสริม เติมพลัง
ให้ชีวิต เมื่อคิดทำ
๐ ความดี คือกุศล
นั้นส่งผล อย่างเลิศล้ำ
มันเป็น กุศลกรรม
ปลุกชีวิต จิตศรัทธา
๐ เริ่มต้น จากความคิด
จงฝึกจิต คิดค้นหา
สิ่งที่ ได้ทำมา
และเรานั้น ภาคภูมิใจ
๐ เมื่อใจ ระลึกถึง
สิ่งที่ซึ่ง ได้ทำไว้
มีความ ประทับใจ
และจดจำ มิลืมเลือน
๐ เพลิดเพลิน ขณะคิด
ทำให้จิต นั้นขับเคลื่อน
ฝึกทำ เพื่อย้ำเตือน
ปลุกให้จิต มีพลัง
๐ จิตดี ส่งกายเด่น
สิ่งที่เห็น เป็นความหวัง
เมื่อใจ มีพลัง
ทุกสิ่งอย่าง ก็สบาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๖ มีนาคม ๒๕๖๕...

13


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๕...

...ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลา
ที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลา
และคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่
เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลา
ของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่ง
สร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้จะเพียง
น้อยนิด ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย
ไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือ
ชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่าทำ
ต่อไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้น
จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะเรา
เคร่งจนเกินไป ซึ่งมันจะทำให้เครียด
เป็นการเบียดเบียนตนเอง ไม่รีบ ไม่เร่ง
อยู่กับกุศลจิต คิดและทำในสิ่งที่ดี
ชีวิตนี้ก็เพียงพอแล้ว...

...ใคร่ครวญทบทวนธรรมเป็นคำกวี...
...อยู่กับโลก ด้วยธรรม นำความคิด
ปรับชีวิต เข้ากับธรรม นำเหตุผล
มีสติ ระลึกทั่ว ทั้งตัวตน
วิญญูชน คือคนที่ ต้องมีธรรม
...พึงพอใจ ในสิ่ง ที่ตนมี
ความพอดี พอเพียง มาหนุนค้ำ
ไม่ปล่อยใจ ให้ความโลภ เข้าครอบงำ
สิ่งที่ทำ สิ่งที่ได้ ใจเพียงพอ
...ทำหน้าที่ ของตน ให้เต็มที่
อย่าให้มี จิตใจ ที่ย่อท้อ
อย่าเพียงหวัง โชคชะตา ตั้งตารอ
เพียงแต่ขอ แต่ไม่ทำ กรรมของคน
...เพียงหวังพึ่ง เทวดา และอาจารย์
อยากให้ท่าน มาช่วย อำนวยผล
นั่งงอมือ งอเท้า ไม่ดิ้นรน
รอกุศล จากครูบา และอาจารย์
...ความสำเร็จ จะเกิดได้ ต้องหมายมั่น
ต้องช่วยกัน ทำกิจ คิดประสาน
ทั้งภายนอก และภายใน ให้ทันการ
ผลของงาน นั้นจึงออก น่าพอใจ
....ตนเองนั้น ต้องช่วย ตนเองก่อน
บุญจะย้อน กลับมา หาเราใหม่
บารมี ครูอาจารย์ ท่านให้ไป
ส่งผลให้ ได้พบ ประสพดี
...ประสพสุข สำเร็จ เพราะเสร็จกิจ
นำชีวิต ก้าวไป ได้ถูกที่
ทั้งทางโลก และทางธรรม นำชีวี
ก็จะมี แต่ความสุข ไม่ทุกข์เอย....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๖ มีนาคม ๒๕๖๕...

14


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔...

...ถ้าอยากให้สิ่งที่ดีๆเกิดขึ้นกับตัวเรา
เราก็ต้องมาทำเครื่องรับของเราให้มันดี
คือมาปรับจิตปรับใจของเราให้มันดี
คือทำจิตทำใจให้เป็นบุญกุศลเสียก่อน
เมื่อกายและใจของเรานั้นอยู่กับบุญ
กุศลแล้ว สิ่งที่ดีย่อมบังเกิดขึ้นแก่เรา
เพราะใจเรานั้นเป็นสื่อที่จะดึงดูด
สิ่งที่ดีให้มาสู่กายและจิตของเรา
ในทางตรงข้ามกัน ถ้าจิตใจของเรา
ไม่ดีเป็นอกุศลจิต มันก็จะดูดเอา
สิ่งที่ไม่ดีสิ่งที่เป็นอกุศลนั้น เข้ามา
สู่ตัวเราเพราะคลื่นที่เราส่งออกไปนั้น
มันไม่ดีและเครื่องรับของเรามันไม่ดี
มันจึงรับเอาคลื่นที่ไม่ดี ทุกอย่างจึง
เริ่มที่จิตของเรา คิดดี พูดดี ทำดี

แล้วสิ่งที่ดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา...
...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๕ มีนาคม ๒๕๖๕...

15


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที ๔...

...บทบาทและหน้าที่ของชีวิต...
...ความสำเสร็จของชีวิต
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
เป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจน
แต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจ
ในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้น
จะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใด
ความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ...
...แต่สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต
คือการรู้จักใช้ชีวิตให้อยู่กับความพอดี
ต้องใช้ให้น้อยกว่ารายรับที่ได้มา
ชีวิตนี้จึงจะมีเหลือมากกว่าขาด
คนที่จนนั้นจะยิ่งจนเพราะทำตัวรวย
คนที่รวยนั้นยิ่งรวยเพราะทำตัวจน.....
...ดำเนินชีวิตให้เป็นปกติในความพอดี
รู้จักบทบาทและทำตามหน้าที่ของตน
อย่าได้สับสนในบทบาทของชีวิต
พึงพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น
มีความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ดำเนินชีวิตไปตามทำนองคลองธรรม
แล้วความสำเร็จนั้นจะเกิดกับคุณเอง...

...ดอกบัวบาน งามเด่น เป็นสง่า
เสียงนกกา ขับขาน กังวานใส
วันเวลา แห่งชีวิต ล่วงเลยไป
เช้าวันใหม่ ตื่นขึ้นมา รับอรุณ
...อรุณรุ่ง เรืองรอง แสงทองส่อง
นั่งเหม่อมอง พาใจ ให้อบอุ่น
ธรรมชาติ สรรค์สร้าง อย่างสมดุลย์
ธรรมชาติ มีคุณ เกินบรรยาย
...สายลมพัด โชยมา จากชายเขา
ลมแผ่วเบา พัดมา เมื่อยามสาย
สายลมเย็น พัดผ่าน ให้สบาย
ลมต้องกาย สบายใจ ไร้กังวล
...นั่งทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
มองหาค่า ควรคู่ ซึ่งเหตุผล
นับเป็นบุญ ที่ได้เกิด มาเป็นคน
เป็นกุศล ได้สร้าง เส้นทางดี
...ชีวิตนี้ ไม่ยืนยาว อย่างที่คิด
ควรจะใช้ ชีวิต ให้ถูกที่
ทำชีวิต ให้พอเพียง และพอดี
ทุกอย่างมี เหตุและผล ค้นให้เจอ
...ช่วงเวลา ของชีวิต ที่เหลืออยู่
ควรเรียนรู้ สร้างสรรค์ อยู่เสมอ
อย่าประมาท ปล่อยใจ ให้พลั้งเผลอ
สิ่งที่เจอ ควรคิด พิจารณา
...ทุกสิ่งอย่าง อยู่ใน พระไตรลักษณ์
ไปตามหลัก ที่ได้เห็น และศึกษา
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วจากลา
อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
...อย่าประมาท ในวัย ที่เหลืออยู่
เร่งกอบกู้ ให้ชีวิต มีเนื้อหา
อย่ามัวรอ โอกาส และเวลา
วันข้างหน้า อาจไม่มี ให้ได้เจอ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ มีนาคม ๒๕๖๕...

16


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓...

...มองย้อนกลับไป หลายปีที่ผ่านไป
เราได้เห็นอะไรมากมาย ได้จดบันทึกไว้
และเมื่อเราได้นำบันทึกเก่าๆกลับมาอ่าน
ได้เห็นถึงพัฒนาการของจิต ความรู้สึก
นึกคิดที่แปรเปลี่ยนไป ซึ่งเกิดจากการ
สั่งสมอบรมจิตอย่างต่อเนื่องไม่ทิ้งธุระ
ไม่ละศรัทธา พิจารณาอยู่เนืองนิจ จิตจึง
ได้พัฒนา ความเจริญก้าวหน้านั้น
ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๔ ที่เรียกว่า
อิทธิบาท ๔ อันประกอบด้วย...
๑.ฉันทะ ความยินดีพึงพอใจในสิ่ง
ที่กระทำ(ทำในสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่)
๒.วิริยะ ความเพียรพยายามทำใน
สิ่งนั้น (คือสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่)
๓.จิตตะ ไม่ละความเพียรพยายาม
ทำอยู่สม่ำเสมอไป(ในสิ่งที่ชอบและ
สิ่งที่ใช่)
๔.วิมังสา พิจารณา ใคร่ครวญ ทบทวน
ในสิ่งที่ทำ ว่ามันเป็นเช่นไร (ในสิ่งที่ชอบ
และสิ่งที่ใช่) แล้วเราจะเห็นความแปร
เปลี่ยนไปทั้งในความเสื่อมและความ
เจริญ ด้วยองค์แห่งอิทธิบาท ๔ ซึ่งถ้า
มีความพอดีก็จะนำไปสู่ความเจริญ
แต่ถ้าตัวใดขาดหรือตัวใดเกิน จนเกิด
ความไม่พอดี ก็จะไม่มีการพัฒนา
ก้าวหน้าเจริญขึ้นได้ และเมื่อไหร่ที่
ความเจริญในธรรมนั้นไม่ก้าวหน้า
ให้กลับมาพิจารณาที่ " อิทธิบาท ๔ "
เพราะคำนี้แปลว่าทางสู่ความสำเร็จ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๔ มีนาคม ๒๕๖๕...

17


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓...

...บทบาทและหน้าที่ของชีวิต...
...ความสำเสร็จของชีวิต
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
เป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจน
แต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจ
ในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้น
จะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใด
ความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ...
...แต่สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต
คือการรู้จักใช้ชีวิตให้อยู่กับความพอดี
ต้องใช้ให้น้อยกว่ารายรับที่ได้มา
ชีวิตนี้จึงจะมีเหลือมากกว่าขาด
คนที่จนนั้นจะยิ่งจนเพราะทำตัวรวย
คนที่รวยนั้นยิ่งรวยเพราะทำตัวจน.....
...ดำเนินชีวิตให้เป็นปกติในความพอดี
รู้จักบทบาทและทำตามหน้าที่ของตน
อย่าได้สับสนในบทบาทของชีวิต
พึงพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น
มีความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ดำเนินชีวิตไปตามทำนองคลองธรรม
แล้วความสำเร็จนั้นจะเกิดกับคุณเอง...

...ดอกบัวบาน งามเด่น เป็นสง่า
เสียงนกกา ขับขาน กังวานใส
วันเวลา แห่งชีวิต ล่วงเลยไป
เช้าวันใหม่ ตื่นขึ้นมา รับอรุณ
...อรุณรุ่ง เรืองรอง แสงทองส่อง
นั่งเหม่อมอง พาใจ ให้อบอุ่น
ธรรมชาติ สรรค์สร้าง อย่างสมดุลย์
ธรรมชาติ มีคุณ เกินบรรยาย
...สายลมพัด โชยมา จากชายเขา
ลมแผ่วเบา พัดมา เมื่อยามสาย
สายลมเย็น พัดผ่าน ให้สบาย
ลมต้องกาย สบายใจ ไร้กังวล
...นั่งทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
มองหาค่า ควรคู่ ซึ่งเหตุผล
นับเป็นบุญ ที่ได้เกิด มาเป็นคน
เป็นกุศล ได้สร้าง เส้นทางดี
...ชีวิตนี้ ไม่ยืนยาว อย่างที่คิด
ควรจะใช้ ชีวิต ให้ถูกที่
ทำชีวิต ให้พอเพียง และพอดี
ทุกอย่างมี เหตุและผล ค้นให้เจอ
...ช่วงเวลา ของชีวิต ที่เหลืออยู่
ควรเรียนรู้ สร้างสรรค์ อยู่เสมอ
อย่าประมาท ปล่อยใจ ให้พลั้งเผลอ
สิ่งที่เจอ ควรคิด พิจารณา
...ทุกสิ่งอย่าง อยู่ใน พระไตรลักษณ์
ไปตามหลัก ที่ได้เห็น และศึกษา
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วจากลา
อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
...อย่าประมาท ในวัย ที่เหลืออยู่
เร่งกอบกู้ ให้ชีวิต มีเนื้อหา
อย่ามัวรอ โอกาส และเวลา
วันข้างหน้า อาจไม่มี ให้ได้เจอ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ มีนาคม ๒๕๖๕...

18


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๒...

...บนวิถีแห่งเส้นทางสายธรรม
อุปสรรคปัญหา คือบททดสอบ
ของผู้ปฏิบัติธรรม ว่าจะข้ามผ่าน
เพื่อไปสู่สภาวะที่สูงยิ่งขึ้นไป
...ดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ มารไม่มี
บารมีไม่เกิด “ ในยามที่ชีวิตนั้น
ต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือในสภาวะ
ที่คับขัน มันคือบทพิสูจน์ขวัญและ
กำลังใจของคนผู้นั้น ว่าเข้มแข็ง
มั่นคงสักเพียงใด จะก้าวพ้นผ่าน
ไปได้หรือไม่
...ชีวิตนั้นมันต้องเจอกับของจริง
ไม่ใช่สิ่งที่จินตนาการไป อุปสรรค
ปัญหาทั้งหลายคือบททดสอบขวัญ
และกำลังใจของผู้ปฏิบัติธรรม...

...ห้วงหนึ่งแห่งกาลเวลา...

...เก็บมา ใคร่ครวญ ขบคิด
ตั้งจิต สนใจ ใฝ่หา
เรียนรู้ กับโลก มายา
ค้นหา ให้เห็น ตัวตน

...ค้นหา ให้เห็น พื้นฐาน
คือการ เรียนรู้ เบื้องต้น
รู้จิต รู้ใจ ของคน
เริ่มต้น ที่ตัว ของเรา

...รู้กาย รู้จิต ของตัว
รู้ทั่ว รู้พร้อม ไม่เขลา
ตามดู รู้เห็น จิตเรา
ขัดเกลา ฝึกจิต คิดดี

...เมื่อไหร่ ที่เห็น จิตเรา
ก็เข้า ใจซึ่ง จิตนี้
จิตเรา จิตเขา ที่มี
จิตนี้ ก็คล้าย คลึงกัน

...ล้วนมี กิเลส ตัณหา
อัตตา ตัวตน ทั้งนั้น
ตามดู ตามรู้ ให้ทัน
จิตนั้น เคลื่อนไหว ไปมา

...เคลื่อนตาม สิ่งที่ กระทบ
เมื่อพบ เจอกับ ปัญหา
ผัสสะ ที่ผ่าน เข้ามา
ทางตา ทางลิ้น กายใจ

...จิตนั้น เข้าไป รับรู้
ติดอยู่ จึงให้ หวั่นไหว
ปรุงแตก คล้อยตาม มันไป
หวั่นไหว เพราะจิต คิดตาม

...หยุดคิด หยุดจิต ที่ปรุง
เรื่องยุ่ง ก็จะ ก้าวข้าม
วางสิ่ง รู้เห็น ไม่ตาม
เห็นความ สงบ พบจริง

...สยบ ซึ่งความ เคลื่อนไหว
ทำใจ ของเรา ให้นิ่ง
รู้เห็น ตามที่ เป็นจริง
ทุกสิ่ง สมมุติ ขึ้นมา

...เข้าใจ ในพระ ไตรลักษณ์
รู้หลัก ต้นเหตุ ปัญหา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จากลา
อัตตา ก็จะ ลดลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มีนาคม ๒๕๖๕...

19


...เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปฐมบท...

...ธรรมะทั้งหลายเป็นเรื่องใกล้ตัว
และทุกท่านก็ได้ปฏิบัติอยู่ในกิจวัตร
ประจำวันอยู่แล้ว เพราะว่าการ
ปฏิบัติธรรมนั้น คือการทำหน้าที่
ของตนให้สมบูรณ์ ตามหลักของ
มรรคองค์ ๘ มีสติระลึกรู้อยู่ในสิ่ง
ที่คิดและกิจที่ทำ มีองค์แห่งคุณธรรม
คือความละอายและเกรงกลัวต่อ
บาปกรรมคุ้มครองจิตอยู่ ก็ได้ชื่อว่า
ผู้นั้นกำลังปฏิบัติธรรมอยู่...

...บนเส้นทาง ของชีวิต ที่ผิดพลาด
เพราะประมาท มัวเมา และลุ่มหลง
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย ให้มึนงง
มันจึงส่ง ผลมา หาร่างกาย

...เพราะมัวเมา เหล้ายา สารพัด
จิตอ่อนหัด ไม่รู้เห็น ในความหมาย
ว่าที่ทำ นั้นเป็นภัย ต่อร่างกาย
เกือบจะสาย ก่อนที่จิต คิดได้ทัน

...คิดว่าเป็น ทางสุข กลับทุกข์หนัก
ไม่รู้จัก ความดีชั่ว เพราะโมหัน
หลงในกิน กามเกียรติ ทุกคืนวัน
สารพัน สารพัด ที่จัดมา

...ไม่รู้จัก บาปบุญ คุณและโทษ
ถือประโยชน์ ส่วนตน เป็นเนื้อหา
ทำอย่างไร ให้ได้มี และได้มา
สนองตอบ ตัณหา ของตัวตน

...จนวันหนึ่ง ได้รู้ซึ้ง ถึงทางจิต
มีความคิด และเข้าใจ ในเหตุผล
จึงถอนตัว ออกห่าง ทางมืดมน
ไปสู่หน ทางใหม่ ไม่กลับมา

...ละทางโลก สู่ทางธรรม น้อมนำจิต
เปลี่ยนความคิด มุมมอง และเนื้อหา
เข้าสู่การ ลดละ ซึ่งอัตตา
ใช้ปัญญา มองสิ่งเห็น ให้เป็นธรรม

...ทุกอย่างนั้น เกิดจาก จิตสำนึก
ความรู้สึก ส่วนใน ไม่ใฝ่ต่ำ
กระตุ้นเตือน ความคิด และชี้นำ
คิดแล้วทำ ตามจิต ที่คิดดี

...ความคิดนั้น เป็นเพียง นามธรรม
จึงต้องนำ มาทำ ให้เต็มที่
รูปธรรม ทำให้เห็น และให้มี
ทำให้ดี ตามที่จิต นั้นคิดมา....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มีนาคม ๒๕๖๕...

20


...รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒...

...การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่
เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดง
ออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น
มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้
ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม
แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่
มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในกายในจิตในความคิดและการกระทำ
เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดเพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล
ไม่เอาแต่ความคิดตนมาเป็นใหญ่
เปิดจิตเปิดใจ ให้เปิดกว้าง พิจารณา
ทุกอย่างโดยเหตุและผล ไม่เห็นแก่
ประโยชน์ตนจนเกินไป รู้จักการให้
และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ
การปฏิบัติธรรม...
๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร
๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว
๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ
๐ อันกายนี้ อยู่ไม่นาน ก็ต้องดับ
เหมือนอาทิตย์ ลาลับ ในยามค่ำ
ต้องเวียนว่าย ตายเกิด อยู่ประจำ
สิ่งที่นำ ติดตัวไป ใช่เงินทอง
๐ สิ่งที่ตาม ติดไป ในดวงจิต
คือนิมิต แห่งกรรม นำสนอง
ถ้าจิตดี ก็มีสุข อยู่คุ้มครอง
จิตเศร้าหมอง ก็ต้องทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ถูกผิด ดีและชั่ว แล้วแก้ไข
เจริญจิต ภาวนา พาสุขใจ
ทำจิตไร้ อกุศล เป็นต้นทุน
๐ คือต้นทุน ชีวิต นิมิตหมาย
เมื่อยามตาย ความดี มีเกื้อหนุน
มีกรรมดี คือกุศล เป็นผลบุญ
ช่วยค้ำจุน ส่งจิต นิมิตดี
๐ อย่าสงสัย ในสิ่ง ไร้สาระ
ควรลดละ ความคิด ชนิดนี้
ความสงสัย คือนิวรณ์ ถอนความดี
จิตไม่มี สมาธิ เพราะนิวรณ์
๐ เมื่อสงสัย ก็ต้องทำ นำพิสูจน์
อย่าเพียงพูด เพียงคิด จิตสังหรณ์
ต้องลองทำ ศึกษา ตามขั้นตอน
เพื่อจะถอน ความสงสัย ให้มันคลาย
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
สิ่งที่คิด จิตใจ ในเป้าหมาย
คิดอะไร ก็ให้รู้ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย ควบคุมจิต ให้คิดดี
๐ คิดให้ดี คิดให้เห็น เช่นที่คิด
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกที่
ควบคุมจิต ให้คิด แต่สิ่งดี
ทำอย่างนี้ แล้วจิต จะสบาย
๐ สบายใจ คือสบาย ทั้งกายจิต
นั่นคือกิจ ที่ทำ ตามเป้าหมาย
เพราะคิดดี มีสติ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย เพราะจิต นั้นคิดดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มีนาคม ๒๕๖๕...

21


...รำพึงธรรมตามรายทาง ปฐมบท...

...การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่
เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดง
ออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น
มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้
ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม
แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่
มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในกายในจิตในความคิดและการกระทำ
เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดเพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล
ไม่เอาแต่ความคิดตนมาเป็นใหญ่
เปิดจิตเปิดใจ ให้เปิดกว้าง พิจารณา
ทุกอย่างโดยเหตุและผล ไม่เห็นแก่
ประโยชน์ตนจนเกินไป รู้จักการให้
และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ
การปฏิบัติธรรม...
๐ มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด
ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
จงบอกว่า ถ้าสงสัย ให้ทำดู
แล้วจะรู้ กายจิต คิดอย่างไร
๐ อจินไตย คิดไป ก็ปวดหัว
มาดูตัว ดูจิต แล้วคิดใหม่
ดูให้รู้ ดูให้เห็น เป็นอย่างไร
ให้รู้ใจ รู้กาย รู้จิตตัว
๐ จิตส่งออก สมุทัย ให้เกิดทุกข์
จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตัว
รู้ดีชั่ว สิ่งที่จิต ควรคิดทำ
๐ อันกายนี้ อยู่ไม่นาน ก็ต้องดับ
เหมือนอาทิตย์ ลาลับ ในยามค่ำ
ต้องเวียนว่าย ตายเกิด อยู่ประจำ
สิ่งที่นำ ติดตัวไป ใช่เงินทอง
๐ สิ่งที่ตาม ติดไป ในดวงจิต
คือนิมิต แห่งกรรม นำสนอง
ถ้าจิตดี ก็มีสุข อยู่คุ้มครอง
จิตเศร้าหมอง ก็ต้องทุกข์ ไม่สุขใจ
๐ รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ถูกผิด ดีและชั่ว แล้วแก้ไข
เจริญจิต ภาวนา พาสุขใจ
ทำจิตไร้ อกุศล เป็นต้นทุน
๐ คือต้นทุน ชีวิต นิมิตหมาย
เมื่อยามตาย ความดี มีเกื้อหนุน
มีกรรมดี คือกุศล เป็นผลบุญ
ช่วยค้ำจุน ส่งจิต นิมิตดี
๐ อย่าสงสัย ในสิ่ง ไร้สาระ
ควรลดละ ความคิด ชนิดนี้
ความสงสัย คือนิวรณ์ ถอนความดี
จิตไม่มี สมาธิ เพราะนิวรณ์
๐ เมื่อสงสัย ก็ต้องทำ นำพิสูจน์
อย่าเพียงพูด เพียงคิด จิตสังหรณ์
ต้องลองทำ ศึกษา ตามขั้นตอน
เพื่อจะถอน ความสงสัย ให้มันคลาย
๐ ไม่มีใคร รู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต
สิ่งที่คิด จิตใจ ในเป้าหมาย
คิดอะไร ก็ให้รู้ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย ควบคุมจิต ให้คิดดี
๐ คิดให้ดี คิดให้เห็น เช่นที่คิด
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกที่
ควบคุมจิต ให้คิด แต่สิ่งดี
ทำอย่างนี้ แล้วจิต จะสบาย
๐ สบายใจ คือสบาย ทั้งกายจิต
นั่นคือกิจ ที่ทำ ตามเป้าหมาย
เพราะคิดดี มีสติ อยู่กับกาย
ไม่วุ่นวาย เพราะจิต นั้นคิดดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มีนาคม ๒๕๖๕...

22


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐๐...

...นรกหรือสวรรค์ นั้นเป็นสิ่งที่
ยังไม่เห็นในวันนี้ แต่สิ่งที่เห็นและ
เป็นอยู่คือความสุขและความทุกข์
ทั้งหลาย ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน
ทำอย่างไรที่เราจะอยู่กับมันให้ได้
และต้องอยู่เหนือมัน ทำอย่างไร
ให้ใจของเรานั้น จะไม่สับสนและ
วุ่นวาย นั้นคือสิ่งที่เราต้องทำ
ในวันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นและสัมผัสได้
ถ้าคุณคิดที่จะทำ...

...ลำนำคำกวีชี้บาปบุญ...
..."สวรรค์ อยู่ในอก
และนรก อยู่ในใจ "
เราทำ สิ่งใดไว้
รู้แก่ใจ ของเราเอง
...ดีชั่ว ตัวกำหนด
จะละลด ควรรีบเร่ง
ความชั่ว จงกลัวเกรง
อย่าอวดเบ่ง เพราะถือดี
...บาปกรรม อันน้อยนิด
จะตามติด ไปทุกที่
ส่งผล ทางไม่ดี
ให้เรามี ความทุกข์ใจ
...ความดี ควรรีบทำ
เพื่อจะนำ จิตสดใส
ความดี ที่ทำไป
ส่งผลให้ ได้เจริญ
...เมื่อใจ ไม่คิดชั่ว
และทำตัว น่าสรรเสริญ
พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จิตเจริญ ในทางธรรม
...มองโลก ในแง่ดี
ก็จะมี ความสุขล้ำ
ความชั่ว ไม่ครอบงำ
ก็จะทำ แต่สิ่งดี
...สิ่งดี เริ่มที่จิต
อยู่ที่คิด ไม่ผิดที่
คิดดี และทำดี
เพียงเท่านี้ ดีก็มา
...ใจดี ก็มีสุข
เพราะว่าทุกข์ ไม่มาหา
ใจสุข ภาวนา
เกิดปัญญา เห็นความจริง
...ความจริง ของชีวิต
เห็นเมื่อจิต นั้นอยู่นิ่ง
มองเห็น สรรพสิ่ง
เห็นความจริง คือเห็นธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ มีนาคม ๒๕๖๕...

23


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๙...

...ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ล้วนแล้วมีที่มา
และมีที่ไป มีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไป
ตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นาน
ตลอดไป
...บุคคลจึงควรทำใจให้รับกับสภาพ
ที่จะแปรเปลี่ยนไปทั้งหลายนั้นให้ได้
อย่าไปยึดติดมากเกินไปกับภาพ
แห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมา
เพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป
สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม
ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยน
แปลงไปไม่ได้ เพราะทุกสรรพสิ่ง
ในโลกนี้ย่อมเป็นไปตามกฎของ
พระไตรลักษณ์ คือความไม่เทียงแท้
ที่นำมาให้เกิดความทุกข์ทั้งหลาย
เพราะไม่อาจจะเข้ายึดถือให้มัน
คงสภาพอยู่เช่นเดิมตลอดไปได้
ทุกอย่างย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป
ไม่มากไม่น้อยตามระยะเวลา
...บุคคลจึงควรฝึกทำใจให้รับได้กับ
สภาพที่จะเกิดขึ้นได้ต่อการสูญเสีย
การพลัดพราก การจากไปและการ
เสื่อมสลายที่จะมาถึง ซึ่งวันหนึ่งนั้น
ย่อมจะต้องเกิดขึ้นกับเราและเมื่อเรา
ทำใจยอมรับได้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้น
เมื่อถึงวันที่สิ่งนั้นมาถึง ใจของเรานั้น
ย่อมจะทุกข์น้อยลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

24


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๘...

...สมัยที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆอยากมี
ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์จึงฝึกจิตเชิงพลังงาน
ทำให้จิตนั้นหยาบกระด้าง อวดดี
มีทิฏฐิมานะแรงกล้า ใช้จิตในทางที่ผิด
ลบหลู่ครูบาอาจารย์หลงติดอยู่กับ
อิทธิปาฏิหาริย์ ชื่นชมอยู่กับสิ่งนั้น
คนอื่นๆก็พลอยชื่นชม ก่อเกิดลาภ
สักการะและชื่อเสียง หลงทางไปสู่
ความเสื่อมในธรรม จนวันหนึ่งได้คิด
พิจารณา ถึงจุดหมายปลายทางของ
การเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
ว่าที่สุดแล้วเรานั้นปรารถนาสิ่งใด
สิ่งที่ผ่านมานั้นใช่หรือไม่ จึงได้เข้าใจ
ว่าเรานั้นยังไม่ได้ขวนขวายเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งกิเลสตัณหา
เพราะจุดหมายปลายทางของ
พระพุทธศาสนานั้นคือ วิมุตติ
ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
ไม่ใช่เรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์
ซึ่งมันเป็นเพียผลพลอยได้ของการ
เจริญสมาธิ เป็นเพียงบาทฐานไปสู่
ปัญญาและไปสู่วิมุตติความหลุดพ้น
ต่อไป แต่สิ่งเหล่านั้นถ้ารู้จักนำมาใช้
ก็จะมีประโยชน์มากมายในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา เพราะจะเป็นเครื่องมือ
ที่ใช้กับผู้ที่ยังกระด้าง อวดดี
ยังมีทิฏฐิมานะที่แรงกล้าให้เกิดความ
เลื่อมใสศรัทธา ได้เข้ามาใกล้ชิดธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

25



...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๗...

...เมื่อยังไม่ถึงกาลเวลาที่เหมาะสม
จิตย่อมเข้าไม่ถึงธรรม
จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้
อดทนรอให้เขามีความพร้อม
จึงกล่าวธรรม...

...ตราบใดที่ยังมีหนทางไป
ใจย่อมไม่นึกถึงพระธรรม
แต่เมื่อคุณชอกช้ำ
พระธรรมคือที่พึ่งสำหรับคุณ....

...กาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุด
แต่จิตของมนุษย์
สิ้นสุดได้ ถ้ารู้จักพอ...

...ชีวิตคือการเดินทาง
ทุกย่างก้าวที่เราเดินผ่าน
คือตำนานของชีวิต
ที่เราลิขิตขึ้นมาเอง
ไม่ใช่โชคชะตา ไม่ใช่ฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตแห่งสรวงสวรรค์
ไม่ใช่เทพหรือพรหมนั้นบันดาล
แต่สิ่งที่ชีวิตต้องประสพพบพาน
ล้วนแล้วเกิดมาจากกรรม...

...เมื่อใจเรายอมรับ
ในอุปสรรคและปัญหาที่เข้ามา
มันก็ไม่อาจทำให้เราทุกข์
หรือเมื่อในยามที่เราสุขสมหวัง
ก็ไม่อาจทำให้เราหลงระเริง
เพราะเราเข้าใจในชีวิต
ที่ถูกลิขิตบนเส้นทางพระไตรลักษณ์
เดินอยู่บนหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สิ่งที่นำมาและติดตัวไปได้
สิ่งนั้นไซร้คือกรรมที่ทำมา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

26


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๖...

...การทำงานทุกอย่างนั้นต้องมี
แผนงาน มีแบบแผนและโครงสร้าง
ที่เราต้องวางไว้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่าน
มานั้นเกิดจากการคิดและวิเคราะห์หาความเหมาะสมกับเวลา โอกาส
สถานที่ บุคคล เอามาเป็นเหตุ
และผลของการกำหนดแผนงาน
วางใจให้เป็นกลาง มองทุกอย่าง
โดยความเป็นจริง ไม่เอาความคิด
ของตนเองมาเป็นบรรทัดฐานใน
การคิดและวิเคราะห์ เพื่อให้เกิด
ความเหมาะสมกับเหตุและปัจจัย
ที่มีและเป็นอยู่ คิดงานจากพื้นฐาน
ที่มีอยู่ " คือคิดได้และทำได้ด้วย "
ไม่ใช่คิดไปแบบจินตนาการคือการ
ที่คิดได้แต่ทำไม่ได้ เพราะขาดซึ่ง
เหตุและปัจจัย มันเป็นเพียงความคิด
ความฝันที่เลื่อนลอย ไม่สามารถทำ
ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ แต่ถ้าเรา
คิดงานจากเหตุและปัจจัยที่มีอยู่
สิ่งที่เราคิดนั้นสามารถที่จะทำให้เป็น
รูปธรรมได้ขึ้นมาทันที เพราะคิดจาก
สิ่งที่มีและที่เป็น ไม่ได้ไปคอยเหตุ
และปัจจัยในอนาคตที่ยังไม่มีและยัง
ไม่มา สิ่งที่คิดจึงสามารถที่จะทำได้
สิ่งที่สำคัญในการคิดก็คือการรู้จัก
กำลังของตนเอง รู้ประมาณในกำลัง
ความรู้ความสามารถและโอกาส
ที่ตนมี ไม่ทำในสิ่งที่เกินกำลังของ
ตนเอง เพราะการทำงานที่เกินกำลัง
ของตนเองนั้นอาจนำมาซึ่งความ
ทุกข์กายและทุกข์ใจ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

27


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๕...

...บริหารกาย บริหารจิต จัดตารางชีวิต
ก้าวไปบนสายทางแห่งโลกและธรรม
ซึ่งต้องเป็นไปโดยพร้อมกัน ตราบใดที่
ยังไม่บรรลุซึ่งโลกุตรธรรม...

...ชีวิตมันเป็นเช่นนั้นเอง...

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังขาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต พ้นวังวน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

28


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๔...

...การฝึกจิตนั้นต้องกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีเวลาหยุดพัก เพราะการเจริญสติ
นั้นต้องทำในทุกโอกาส เพื่อให้สติ
นั้นมีกำลังเพิ่มยิ่งๆขึ้น เพื่อให้เห็น
การเกิดดับของสรรพสิ่งและละวาง
อารมณ์ที่เป็นอกุศลจิตที่เกิดขึ้น
ให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งนั้นต้อง
อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะ
และองค์แห่งคุณธรรมเป็นตัวเข้าไป
จัดระบบความคิดทั้งหลายของจิต
โดยต้องมีสมาธิคือจิตที่สงบนิ่ง
เป็นบาทฐานแห่งการพิจารณา ทุกเวลา
ที่ผ่านไปนั้น จึงเป็นการปฏิบัติธรรม...
...บริหารกาย บริหารจิต จัดตารางชีวิต
ก้าวไปบนสายทางแห่งโลกและธรรม
ซึ่งต้องเป็นไปโดยพร้อมกัน ตราบใดที่
ยังไม่บรรลุซึ่งโลกุตรธรรม...

...ชีวิตมันเป็นเช่นนั้นเอง...

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังขาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต พ้นวังวน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

29


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๓...

...คือกระแสธรรมแห่งกาลเวลา...
...เรียนรู้ทางโลกมามากมาย
แต่ล้วนแล้วเป็นไปเพื่อความ
อยากมี ความอยากได้และความ
อยากเป็น ส่งจิตออกจากตัวเอง
ตลอดเวลา แสวงหาสิ่งนอกกาย
เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนกิเลส
ตัณหาอัตตาและมานะ เรียนไปๆ
กิเลสก็ยิ่งหนา มิได้เบาบางลง
...เรียนรู้ทางธรรม เป็นไปเพื่อ
ความลดละซึ่งความโลภ โกรธ
หลง ละกิเลส ตัณหาและอุปาทาน
ให้มันเบาบางลง เป็นการศึกษา
จากภายนอกเข้ามาสู่ภายในจิต
ในกายของเรา น้อมจิตเข้าสู่ตัวเรา
เรียนรู้ให้รู้จักตัวเราเอง
...ทุกคืนก่อนที่จะหลับไปนั้นจะ
ทบทวนใคร่ครวญ พิจารณาถึง
สิ่งที่ผ่านมาในแต่ละวัน เริ่มจาก
ตั้งแต่ตื่นนอนมาจนกระทั้งจะ
นอนใหม่ ว่าเรานั้นได้ทำอะไร
มาบ้าง อารมณ์ความรู้สึกเป็น
อย่างไร เวลาที่ผ่านไปใจเรา
เป็นกุศลหรืออกุศล อะไรเป็น
เหตุเป็นปัจจัยให้จิตแปรเปลี่ยน
ไปทั้งในทางกุศลและอกุศล
ให้คะแนนความประพฤติแต่ละวัน
ที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นความก้าวหน้า
หรือว่าความเสื่อมของตัวเรา
เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเพียรของเรา
...ความเพียรทั้ง ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
ในจิตของเรา เรียกว่า"สังวรปธาน"
๒.เพียรพยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ในจิตของเรา เรียกว่า"ปหานปธาน"
๓.เพียรพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้น
ในความคิดในจิตของเรา เรียกว่า
"ภาวนาปธาน"
๔.เพียรพยายามรักษากุศลที่
เกิดขึ้นแล้วในความคิดในจิต
ของเราไม่ให้เสื่อมไป เรียกว่า
"อนุรักขนาปธาน"
...เป็นความเพียรในมรรคองค์แปด
ที่เรียกว่า"สัมมาวายาโม" คือความ
เพียรชอบ สิ่งนี้เราได้ทำแล้วและ
จะกระทำต่อไป เพื่อให้ทรงไว้ซึ่ง
ความเจริญในธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

30


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๒...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น
เราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์ การมีน้ำใจต่อ
หมู่คณะนั้น จะทำให้ท่านได้รับ
ความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง
"พรหมวิหาร " ซึ่งแปลว่าเป็นธรรม
อันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่
ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น
เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิด
การกระทำ เช่น สงเคราะห์
ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งมี
อยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความ
สงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์
คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
ความดีใจด้วย ที่ผู้อื่นมีความสุข
ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจ
เป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้ จึงเป็น
สิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำ ต้องมี
เพื่อให้เกิดความพอดี เสมอกันของ
ผู้ร่วมงาน เป็นธรรมที่จะประสานใจ
ทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีของ
หมู่คณะ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

31


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๑...

...การที่เราจะคิดพิจารณาก่อนที่จะกล่าว
วาจาได้นั้น มันต้องผ่านการฝึกสติการระลึกรู้
การรู้ตัวทั่วพร้อมมาก่อน ให้สติมีกำลังพอ
ที่จะยับยั้งความเคยชินที่เคยกระทำมา
ดั่งคำโบราณที่กล่าวเป็นคำกลอนสอน
สืบต่อกันมาว่า " อันอ้อยตาล หวานลิ้น
ยังสิ้นซาก แต่ลมปาก หวานหู ไม่รู้หาย "
การกล่าวปิยะวาจาจึงเป็นสิ่งที่สมควร
กระทำให้สม่ำเสมอ เมื่อเราอยู่กับผู้คน
ในสังคมที่หลากหลาย...
...กวีธรรม " รอยธรรมและรอยทาง "...
๐ รอยทาง และรอยธรรม
รอยลำนำ คำกวี
รอยทาง นั้นบ่งชี้
ว่าทางนี้ คือทางธรรม
๐ แนวทาง มีมากมาย
ที่จะให้ เรานั้นทำ
เรียนรู้ และจดจำ
แล้วน้อมนำ มาทำตาม
๐ ก้าวพ้น ออกจากทุกข์
ได้พบสุข ทุกโมงยาม
ทางธรรม นั้นงดงาม
ก้าวเดินตาม เส้นทางธรรม
๐ ทางธรรม นำชีวิต
ไม่พลาดผิด จิตใฝ่ต่ำ
กิเลส ไม่ครอบงำ
เพราะมีธรรม นั้นนำทาง
๐ นำทาง สว่างจิต
นำชีวิต ให้ออกห่าง
จากชั่ว คือละวาง
ทำทุกอย่าง ในทางดี
๐ ทางดี คือกุศล
จะเพิ่มผล บารมี
เอาธรรม มานำชี้
สร้างความดี ไว้แก่ตน
๐ ความดี ของชีวิต
เป็นนิมิต แห่งกุศล
ความดี คือมงคล
ติดตามตน ทุกภพไป
๐ ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า แล้วหรือไร
ชีวิต ก่อนสิ้นไป
จงสร้างไว้ ซึ่งความดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

32


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙๐...

..." บัณฑิตควรตั้งตนไว้
ในคุณธรรมก่อน แล้วจึง
ค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง
ตนจึงจะไม่มัวหมอง "
... อตฺตานเมว ปฐมํ
ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย
น กิลิสฺเสยฺย ปญฺฑิโต ...
...วันเวลาที่ผ่านไปสำหรับวันๆหนึ่ง
มีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตที่ล่วง
ไปแล้วนั้น ผุดขึ้นมาบ้างในบางคราว
ส่วนอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็มีบ้างที่ยัง
คิดกังวล แต่ก็ไม่ทำให้ถึงกับทุกข์
...มีสติอยู่กับปัจจุบันธรรมมากกว่า
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้นก็เพียงพอต่อการปฏิบัติ
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งธุระ
...เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้น
จะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเรา
คือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

33


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๙...

...วันเวลาที่ผ่านไปสำหรับวันๆหนึ่ง
มีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตที่ล่วง
ไปแล้วนั้น ผุดขึ้นมาบ้างในบางคราว
ส่วนอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็มีบ้างที่ยัง
คิดกังวล แต่ก็ไม่ทำให้ถึงกับทุกข์
...มีสติอยู่กับปัจจุบันธรรมมากกว่า
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้นก็เพียงพอต่อการปฏิบัติ
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งธุระ
...เมื่อเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้น
จะรักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเรา
คือธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

34


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๘...

“ ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ
มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ ”
..ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น
ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา
จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้...
(ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๔)
...ในการศึกษาธรรมะและประพฤติ
ปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณ
อย่าเชื่อทันทีที่ได้ยิน ได้ฟังมา
อย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดใน
ตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็น
ที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรม
ว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่
ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟัง ดั่งที่เคย
กล่าวไว้ว่า “ ถ้าเชื่อในทันที จะนำ
ไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันที
จะทำให้เสียโอกาส ขาดประโยชน์
ควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบครอบ
และทดลองปฏิบัติ พิสูจน์ ฝึกฝน
ที่ใจตน ให้เกิดความกระจ่างชัด
ขึ้นด้วยใจตน ตามเหตุและผลแล้ว
จึงควรเชื่อหรือปฏิเสธในสิ่งที่ได้
อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมา
...ความศรัทธาที่มาจากอิทธิปาฏิหาริย์
มักจะนำไปสู่ความงมงายได้ง่าย
เพราะจะทำให้ขาดการพิจารณา
ในเหตุและผล อย่าให้ความศรัทธา
ในตัวบุคคล มาบดบังเหตุและผล
สภาวธรรมที่แท้จริง ในสิ่งที่เป็น
ปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้
เกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึง
สภาวธรรมที่แท้จริงนั้นได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

35


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๗...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น
เราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์ การมีน้ำใจต่อ
หมู่คณะนั้น จะทำให้ท่านได้รับ
ความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง
"พรหมวิหาร " ซึ่งแปลว่าเป็นธรรม
อันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่
ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น
เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิด
การกระทำ เช่น สงเคราะห์
ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งมี
อยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความ
สงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์
คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
ความดีใจด้วย ที่ผู้อื่นมีความสุข
ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจ
เป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้ จึงเป็น
สิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำ ต้องมี
เพื่อให้เกิดความพอดี เสมอกันของ
ผู้ร่วมงาน เป็นธรรมที่จะประสานใจ
ทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีของ
หมู่คณะ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

36


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๖...

...มนุษย์ทุกคนต้องดำเนินไปตามวิถีทาง
ของตน ตามเหตุและผลที่ตนตั้งไว้ มีเหตุ
และปัจจัยที่แตกต่างกัน ก้าวเดินไปตาม
วิถีแห่งกรรม เกิดจากความคิดและสิ่ง
ที่ทำจากอดีตและปัจจุบันเป็นแรงส่ง
ให้เป็นไป ทุกชีวิตนั้นเลือกที่มาไม่ได้
แต่สามารถที่จะกำหนดที่ไปในอนาคต
ของตนนั้นได้ ด้วยการสร้างเหตุและปัจจัย
ในวันนี้ เพื่อเป็นตัวชี้หนทางในอนาคต
กำหนดได้ด้วยการกระทำของเราในวันนี้
เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งกรรมที่ทำมา
ในอดีตของตนได้ คือการสร้างเหตุและ
ปัจจัยตัวใหม่ให้มีกำลังมากกว่าที่เคย
สั่งสมมา โดยใช้กาลเวลาในการกระทำ
เปลี่ยนแปลงความคิด เปลี่ยนแปลง
ซึ่งพฤติกรรม สร้างความเคยชินให้กับ
ชีวิต ด้วยวิธีการคิดแบบใหม่ ทำความรู้
ความเข้าใจในวิถีแห่งโลกและธรรม
ที่เป็นของคู่กันให้เข้าใจ
...โลกและธรรมต้องก้าวไปพร้อมกัน
ด้วยความเหมาะสม ความลงตัว พอเหมาะ
และพอควร ไม่เคร่งจนเกินไปในทางธรรม
จนกลายเป็นการทอดทิ้งธุระในทางโลก
ไม่ทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์และ
ไม่หย่อนเกินไปในทางธรรม จนกลาย
เป็นการไร้ซึ่งคุณธรรม หาความพอเหมาะ
พอดีในการทำหน้าที่ของตน อยู่บนเหตุ
และผลของความพอดีและพอเพียง เลี้ยง
ชีวิตโดยชอบ ประกอบกรรมในสิ่งที่เป็น
กุศล สร้างสิ่งที่เป็นมงคลให้แก่ชีวิต
โดยการคิดและทำ ในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อ
ชีวิตและไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น และไม่ฝ่าฝืน
ศีลธรรมกฎหมายที่ดีงามของบ้านเมือง
ทำในเรื่องที่ชอบ อันประกอบเป็นบุญกุศล
เพื่อสร้างมงคลให้แก่ชีวิต ปรับเปลี่ยน
ความคิดปรับเปลี่ยนจิตให้เป็นกุศล
เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดีงาม
...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป เพื่อให้
โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่มกระทำที่
จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก จัดระเบียบ
ให้แก่ชีวิตของตนเองเสียก่อน ก่อนที่จะ
ไปเรียกร้องจัดระเบียบให้แก่สังคม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

37


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๕...

....เป็นธรรมดาของทุกชีวิตในโลกนี้
ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหา
เพราะว่าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่
หวังไว้เสมอ ดั่งคำที่กล่าวว่า...
"เส้นทางของชีวิตมิได้โรยด้วย
กลีบของดอกกุหลาบเสมอไป"
แต่ทำอย่างไร เราจึงจะเข้าใจและ
เข้าไปแก้ไขอุปสรรคปัญหานั้นได้
..." ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุ
และดับไปที่เหตุ " เราจึงต้องฝึก
ขบวนการคิดเพื่อเข้าไปหาเหตุ
โดยเริ่มจากการฝึกใจให้นิ่งเสียก่อน
" นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว "
ซึ่งจะทำให้ใจนิ่งได้นั้น มันต้องมี
สมาธิและการที่จะมีสมาธิได้นั้น
มันต้องมีสติ เราจึงต้องฝึกให้มี
สติเสียก่อน ก่อนที่จะทำจิตให้สงบ......
....อุปสรรคและปัญหานั้นมีอยู่และ
เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าไปแก้ไข
แต่เราต้องทำใจของเราให้อยู่
เหนือปัญหาให้ได้เสียก่อน
เรียกว่าวางปัญหานั้นไว้เสียก่อน
มันจะทำให้เราผ่อนคลาย และไม่
เป็นการกดดันตัวเราเอง เพราะถ้า
เราไม่วางปัญหานั้นไว้เสียก่อน
จิตของเราเข้าไปยึดติดยึดถือ
มันจะทำให้เราเครียดหนักอกหนักใจ
สมองเราไม่ปลอดโปร่งทำให้เกิด
ความเครียด และเมื่อเรามีความเครียด
มันจะทำให้ความคิดของเรานั้นคับแคบ
การคิดการมองปัญหาไม่เปิดกว้าง
มันจึงไม่เห็นหนทางที่จะแก้ปัญหานั้นได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

38


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๔...

...ยอมรับความจริงว่าในบางครั้งนั้น
สภาพร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า
จากการเดินทาง จากการทำงาน
และอุปสรรคปัญหาที่ผ่านเข้ามา
แต่ถ้าถามว่าเคยท้อแท้บ้างไหม
ตอบได้เลยว่าไม่เคยที่จะท้อแท้
ถ้ามันหนัก ก็ถอยมาพัก ตั้งหลักใหม่
มองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์
ที่ได้ผ่านมา เพื่อสรุปหาแนวทาง
ที่จะก้าวย่างกลับไปเดินใหม่
สร้างเติมเสริมขวัญและกำลังใจ
ปลุกศรัทธาให้เพิ่มขึ้นมาใหม่
แล้วก้าวเดินไป อย่างมั่นใจและมั่นคง...
..." ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น
แล้วก็ปล่อย " คือการสอนธรรมะแบบ
ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ สอนแบบที่
ไม่ให้เขารู้ว่าเรากำลังสอนธรรมะแก่เขา
เพราะการพูดอย่างเดียวนั้นมันจะได้ผล
น้อยมาก ถ้าเราไม่ได้ทำอย่างที่เราพูด
" ทำให้ดูดีกว่าพูด " เพราะจะเป็นการ
พิสูจน์ในสิ่งที่พูดนั้นว่าทำได้หรือไม่
บางครั้งเราคิดดีเกินไป พูดดีเกินไป
แต่ไม่สามารถที่จะทำได้ ในสิ่งที่คิด
และสิ่งที่พูด เพราะว่าเหตุและปัจจัย
ยังไม่พร้อม จงคิดและพูดในสิ่งที่
สามารถจะทำได้ทันที ในสิ่งที่เหตุ
และปัจจัยมีพร้อม แล้วสิ่งที่เราคิด
และเราพูดก็จะกลายเป็นความจริง
เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

39


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๓...

...ปัญหาที่มักจะเจอในการประพฤติ
ปฏิบัติธรรม ก็คือความคาดหวังผลของ
การปฏิบัติโดยเร็วไว เพราะผู้ปฏิบัติ
ส่วนมากนั้น มักจะทำกันลัดขั้นตอน
เพราะความใจร้อน อยากจะเห็นผล
โดยเร็วไว การปฏิบัติจึงไม่เป็นไป
ตามขั้นตอน ตามหลักไตรสิกขาคือ
ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนใหญ่จะไปเน้น
ที่สติเพื่อให้เกิดสมาธิโดยเร็วไว้
มักจะข้ามเรื่องศีลไป ซึ่งสิ่งนั้นคือ
อันตรายของนักปฏิบัติ เพราะศีลนั้น
คือบาทฐานของความเป็นสัมมาสติ
....เจตนาของการรักษาศีลนั้นก็เพื่อการ
เจริญสติ มีการสำรวมอินทรีย์ บุคคลผู้ที่
จะรักษาศีลได้นั้น ต้องมีสติอยู่กับกาย
และจิต ดูความคิด ดูการกระทำ ไม่ก้าว
ล่วงล้ำข้อห้ามทั้งหลาย มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อการประพฤติผิดทั้งใน
ที่ลับและในที่แจ้ง
...การกระทำอย่างนั้นก่อให้เกิดคุณธรรม
ประจำจิต คือการมีหิริและโอตตัปปะ
สิ่งที่ได้จากการรักษาศีลก็คือการมีสติ
และการมีคุณธรรม เมื่อเข้าสู่การภาวนา
เพื่อให้เกิดสมาธิ สติที่ใช้ในการภาวนานั้น
คือสัมมาสติ
...สมาธิที่เกิดขึ้นจึงเป็นสัมมาสมาธิ
เพราะเกิดจากสติที่เป็นสัมมา ปัญหา
ของการเจริญภาวนาที่ไม่ได้ผ่านการ
รักษาศีลนั้น ก็คือการก่อให้เกิดอัตตา
มานะ การยกตัว ถือตัวถือตน สำคัญตน
ว่าเราดีกว่าผู้อื่น เก่งกว่าผู้อื่น วิเศษกว่า
ผู้อื่น หลงตัวเอง สบประมาทลบหลู่
ครูบาอาจารย์ยกตนขึ้นเทียบท่าน
เป็นผู้ว่ายากสอนยาก ก่อให้เกิดอกุศล
ทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม
ต่อครูบาอาจารย์และเพื่อนนักปฏิบัติ
เพราะขาดซึ่งคุณธรรม

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

40


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒...

...การเข้าอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นหนึ่งใน
กิจวัตร ๑๐ ประการของพระภิกษุสงฆ์
เพื่อการดำรงไว้ซึ่งการประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัย ในการออกจากครุ
อาบัติ ทั้งที่รู้ก็ดีและไม่รู้ก็ดี เป็นการอยู่
ชดใช้ในครุอาบัตินั้น
...เป็นการลดมานะ ละทิฏฐิของพระภิกษุ
ผู้เข้าอยู่ปริวาสกรรม เพราะจะถูกลดชั้น
ให้ต่ำกว่าพระปกติ แม้ท่านจะบวชได้
เพียงวันเดียวก็ตาม ต้องอยู่ในข้อวัตร
ปฏิบัติที่พระปกติกำหนดให้ทำ เป็นผู้
ว่าง่าย ไม่มากคำต่อพระปกติผู้ควบคุม
สังฆกรรม
...ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ของศีลนั้น
เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ถ้าเราได้ปฏิบัติ
ตามธรรมตามวินัย ไม่บกพร่องแล้ว
มันจะมีปีติหล่อเลี้ยงกายและจิตให้มี
พละกำลัง มีความโปร่ง โล่งเบา สบาย
มีความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

41


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๑...

...ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
เป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ
๑.พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจัก
ประกอบด้วย หิริ ความละอาย
ต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรง
กลัวต่อความชั่ว
๒.พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร
คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์
ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบ
ด้วยความสำรวมทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน ด้วยข้อนั้น
๓.พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร
คือประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูด
ที่บริสุทธิ์
๔.พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร
คือความประพฤติทางใจคือความคิด
อันบริสุทธิ์
๕.พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
๖.พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๗.พึงศึกษาว่า เราจักมีความรู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร
๘.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบ
ธรรมของผู้ที่ตื่นอยู่ คือไม่เห็นแก่
การหลับนอนมากนัก
๙.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบสติ
คือความระลึกได้ และสัมปชัญญะ
คือความรู้ตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถใหญ่
อิริยาบถน้อยทั้งหลาย
๑๐.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติคอย
ชำระจิตของตนออกจากนิวรณ์
คือกิเลสเป็นเครื่องกั้นจิตทั้งหลาย
๑๑.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติทำ
สมาธิ คือความรวมจิต เข้ามา
ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ซึ่งเป็น
อารมณ์ของสมาธิ จนถึงสมาธิขั้นสูง
๑๒.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติอบรม
จิตให้เกิดปัญญาญาณ คือปัญญา
หยั่งรู้เข้าถึงสัจจะ คือความจริง
ขึ้นไปโดยลำดับ...
...นี่คือธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
สอนแก่พระภิกษุทั้งหลาย ว่าเป็น
เครื่องกระทำให้เป็นสมณะ ซึ่งควร
หมั่นคิดและพิจารณากาย วาจา
จิตของเราอยู่เสมอ เพื่อความ
เป็นสมณะในพระพุทธศาสนา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

42


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘๐...

...การเป็นผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จัก
ครอบงำประกาย ไม่ควรโอ้อวดตัว
โชว์อวดให้เขารู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นมิใช่การแสดง
มิใช่เป็นไปเพื่อการโอ้อวด
ประกวดกัน
เพื่อให้เขากล่าวสรรเสริญยกย่อง
แต่เป็นไปเพื่อความสงบ สะอาด สว่าง
ละวางจากทิฐิมานะและอัตตา
และเพื่อความจางคลาย
ของกิเลส
ตัณหา อุปาทาน
...ซึ่งการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเกิดจาก
ความคิดและจิตที่เป็นกุศล การเริ่มต้นที่
ถูกต้องและดีงาม ความเจริญในธรรม
จึงบังเกิด เพราะคำว่า ภาวนา
นั้นคือการกระทำให้ดีขึ้น พัฒนาขึ้น
สิ่งที่เรียกว่าพัฒนาขึ้นดีขึ้น นั้นก็คือ
ความดี คือสิ่งที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลาย...
๐ เจริญสุข เจริญธรรม ในยามเช้า ๐
.....จะสุขใดไหนเท่าสุขในธรรม.....
๐ เจริญจิต เจริญใจ ปฏิบัติ
เพื่อขจัด ซึ่งกิเลส และตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง จิตใจ ให้ศรัทธา
ภาวนา ให้สงบ พบที่ใจ
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ สิ่งที่เห็น ความเป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ให้ทันการ
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และจิตใจ ไม่อาจหาญ
ทำสิ่งใด ไม่สำเร็จ เสร็จตามกาล
สิ่งที่ผ่าน ไม่เห็นชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา ย่อมมีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ ที่เป็นมา
คือตัณหา ความโลภ เข้าครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละอยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด จองเวร และสร้างกรรม
บุญไมทำ แต่กรรมผิด ติดตามตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต จิตเจริญ
๐ เจริญธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
มีคนรัก คนชม และสรรเสริญ
เจริญธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
สุขใดเกิน สุขในธรรม องค์สัมมา
๐ สุขทางโลก นั้นไม่นาน ก็จางหาย
พอสุขคลาย จิตก็ทุกข์ มีปัญหา
สุขในธรรม นั้นดำรง ทรงเรื่อยมา
ก็เพราะว่า ใจนั้น มันเพียงพอ......

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

43


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๙...

...สัจธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่เพ้อฝันหรือ
จินตนาการเหมือนที่ผ่านมา เมื่อก่อนนั้น
เราเรียกร้องแสวงหาเพื่อสนองตอบความ
ต้องการของเรา เราไปเรียกร้องให้ผู้อื่น
ปฏิบัติ เพื่อสนองตอบความต้องการ
ของตัวเรา เราอยู่ในโลกแห่งความฝัน
ในโลกแห่งจินตนาการ โดยคิดว่าสิ่งนั้น
คือสัจธรรม แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราได้รู้
เราได้เข้าใจในโลกใบนี้ ในวิถีของสัตว์โลก
ที่แตกต่างกัน จึงทิ้งความฝันมาสู่ความจริง
ของชีวิต พยายามปลีกตัวออกจากกระแส
ของโลกธรรม ๘ เข้าสู่กระแสธรรมเพื่อไป
ให้ถึงซึ่งความสงบสุขที่บริสุทธิ์ ไร้ซึ่งกิเลส
ตัณหาและอุปาทาน
...เดินไปบนเส้นทางธรรม พยายามที่จะ
ดำเนินชีวิตไปตามพระธรรมเดินตามคำ
สั่งสอนของพระพุทธองค์ ทำเท่าที่จะทำได้
ตามสติปัญญาและบุญกุศลของเรา
ไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัว แต่เราต้อง
เอาตัวให้รอดเสียก่อน ก่อนที่เราจะ
ไปช่วยผู้อื่น ก่อนที่จะไปสอน ไปแนะนำ
ผู้อื่น เรานั้นต้องรู้ ต้องเข้าใจและทำได้
ให้รู้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
ในการแนะนำสั่งสอนเขา เราจึงต้อง
ฝึกหัดปฏิบัติที่ตัวเรา เพื่อให้เกิดความ
กระจ่างชัดในสภาวธรรมทั้งหลาย
ทำความรู้ความเข้าใจของเรานั้น
ให้ถูกต้องสอดคล้องในหลักธรรม
ก่อนจะนำไปเผยแผ่แก่คนทั้งหลาย......
...ขอบคุณบุญเก่าที่ให้เราได้มาสู่
เส้นทางสายธรรม ขอบคุณกุศลกรรม
ที่ได้ทำมาแล้วในชาตินี้....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

44


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๘...

... สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวไปตาม
กฎแห่งธรรมชาติ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ซึ่งเงื่อนไขของกาลเวลานั้น
อาจจะแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย
ของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนบางครั้ง
เราแทบจะไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
ของความเสื่อมสลายที่กำลังเกิดขึ้น
อยู่ทุกขณะ จึงเข้าไปยึดติดและยึดถือ
ในสิ่ง เหล่านั้น อยากจะให้มันเป็นไป
ตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาให้เป็น
...ซึ่งถ้าสิ่งเหล่านั้นตอบสนองความ
ต้องการของเราได้ เราก็จะยินดีและ
เพลิดเพลินไปกับมัน แต่ถ้าสิ่งนั้น
ไม่เป็นไปตามที่ใจของเราปรารถนา
และต้องการแล้ว ก็จะเกิดความขุ่นใจ
ความคับแค้นใจ ความทุกข์ทั้งหลาย
ก็จะเกิดขึ้นในจิต เพราะว่าเราไปยึดติด
ในความต้องการของเราเกินไป ไม่เข้าใจ
และยอมรับในความเป็นจริงของสิ่ง
ทั้งหลายทั้งปวง ที่มันต้องดำเนินไป
ตามกฎแห่งธรรมชาติทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

45


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๗...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็น
เจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ
คู่โลกกันมา เพียงแต่การใช้ภาษา
ในการสื่อนั้น อาจจะแตกต่างกัน
ในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและ
ความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

46


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๖...

...ในความเรียบง่าย ไร้รูปแบบนั้น
ต้องไม่เป็นภัยต่อชีวิตตนเอง
ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืน
พระธรรมวินัยและกฎระเบียบของสังคม
เป็นไปตามความเหมาะสมของจังหวะ
เวลา โอกาส สถานที่ บุคคล อยู่บน
พิ้นฐานของเหตุและผล ปัจจัยองค์
ประกอบทั้งหลาย
...เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศล
เป็นมงคลแก่ชีวิต จากสิ่งที่คิดและกิจ
ที่ทำ นั้นคือความ “ เรียบง่าย ไร้รูปแบบ
แต่ไม่ไร้สาระ “ เป็นกิจที่สมณะนั้นควรคิด
ควรทำในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนา
ทางจิต ไปสู่ความสงบเพื่อความจาง
คลายของอัตตา กิเลส ตัณหาและ
อุปทานทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้
ที่เลี้ยงง่าย ไม่สร้างความลำบากใจ
ความอึดอัดและความกดดันให้แก่
บุคคลรอบข้าง ให้ทุกอย่างเป็นไป
ตามสามัญลักษณะของธรรมชาติ
ที่มันควรจะเป็น โดยมีธรรมวินัย
เป็นกฎกติกาของชีวิตและเป็นกิจ
ที่ต้องกระทำ
...อย่าได้ไปตั้งกฎกติกาใหม่ขึ้นมา
เพื่อสนองตอบตัณหาของตนเอง
ไม่ควรตัด ไม่ควรเติม เพิ่มในสิ่งที่
พระพุทธองค์นั้น ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว
ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะสิ่งที่ไปตัดออก
หรือเพิ่มเข้ามาใหม่นั้น มันมาจาก
ตัณหา ความอยากความต้องการ
ของเราเองทั้งนั้น ที่อยากจะให้มัน
เป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนา
และต้องการ มันจึงเป็นการสร้างรูปแบบ
ขึ้นมาเพื่อสนองตอบตัณหาของตัวเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

47


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๕...

...ทบทวนถึงอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่สมัย
เป็นฆราวาส นับแต่ก้าวเท้าออกจาก
บ้าน มาใช้ชีวิตในโลกกว้าง มีเพียง
เพื่อนร่วมทางที่ช่วยประคับประคอง
กันมา สี่สิบกว่าปีกับชีวิตที่มีแต่คำว่า
เพื่อนร่วมทาง
...มันจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกันมายาวนาน
เป็นสิ่งเดียวที่ยังละ ยังทิ้งไปไม่ได้
ภาษาธรรมเรียกว่า " คณะปลิโพธ "
คือความกังวลใจในหมู่คณะที่เคย
อยู่ร่วมกันมา มีความใกล้ชิดสนิท
สนมคุ้นเคยกันมา
...พยายามจัดวางแนวทางของชีวิต
ให้แก่คนใกล้ชิดคนคุ้นเคย เพื่อละ
ซึ่งปลิโพธ ในยามที่จะต้องปลีกตัว
ปลีกวิเวก สู่เส้นทางของสายธรรม
อย่างเต็มตัว เพื่อไปสู่จุดหมายที่
ปรารถนาตั้งใจไว้ นั้นคือบทสุด
ท้ายของการเดินทาง...
...รำพันคำกวี...
... (ผูกพัน...เชื่อมั่น...ศรัทธา)...
๐ ถนน...ร้อยพันสาย
สู่จุดหมาย...แห่งเดียวกัน
ร้อยใจ...สายสัมพันธ์
เพราะเชื่อมั่น...และศรัทธา
๐ หลายหลาก...แนวความคิด
ต่างมีจิต...แสวงหา
เดินผ่าน...กาลเวลา
ได้พึ่งพา...เลยผูกพัน
๐ ร้อยเรียง...เคียงคู่เดิน
พร้อมเชื้อเชิญ...เดินร่วมกัน
สายใย...สายสัมพันธ์
ความผูกพัน...เกิดจากใจ
๐ ร่วมทุกข์...และร่วมสุข
อยู่ร่วมยุค...ร่วมสมัย
ร่วมกาย...และร่วมใจ
แม้นห่างไกล...คิดถึงกัน
๐ ติดตาม...ถามข่าวคราว
ถึงเรื่องราว...เพื่อแบ่งปัน
สุขทุกข์...ที่มีนั้น
พร้อมฝ่าฟัน...ร่วมกายใจ
๐ เพื่อนทุกข์...เราทุกข์ด้วย
อยากจะช่วย...เข้าแก้ไข
เรื่องร้าย...ให้คลายไป
อยากจะให้...เพื่อนผ่อนคลาย
๐ ศรัทธา...และเชื่อมั่น
ร้อยใจกัน...มิตรสหาย
ศรัทธา...อย่าได้คลาย
อย่าลืมสาย...ใยสัมพันธ์
๐ ถนน...ร้อยพันสาย
มีจุดหมาย...ที่ปลายฝัน
พันคืน...หรือหมื่นวัน
ความผูกพัน...มิลืมเลือน.......

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...แด่มิตรสหายร่วมยุคสมัย...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

48


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๔...

...ในการสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะหรือ
สภาวธรรมในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายนั้น
สิ่งที่พึงจะสังวรก็คือการแสดงความ
คิดเห็นนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความ
เหมาะสม พอดีพอเหมาะและพอควร
มากเกินไปมันจะกลายเป็นความฟุ้งซ่าน
ไร้สาระน่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ ทำให้ความ
คิดเห็นต่อๆไป กลายเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธ
ไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะเป็น
ความคิดเห็นที่ดีๆ
...สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก
จังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล
ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ในการ
แสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น...
... เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
อยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น การพูดคุยเพื่อนำไปสู่ความรู้
ความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง.....
...รอยทาง รอยธรรม...
๐ รอยทาง นั้นสร้าง รอยธรรม
รอยย่ำ นั้นคือ รอยทาง
รอยธรรม นั้นคือ แบบอย่าง
แนวทาง ที่ได้ ก้าวนำ
๐ เรียบเรียง นำมา บอกเล่า
ให้เข้า ใจใน หลักธรรม
ออกจาก โลกที่ มืดดำ
น้อมนำ สู่เส้น ทางดี
๐ หลายหลาก มากมาย มุมมอง
สนอง ตอบใน ทุกที่
แนวทาง ตัวอย่าง วิธี
นั้นมี ให้เรา เดินตาม
๐ เดินตาม เส้นทาง สายธรรม
ชี้นำ ให้เรา ก้าวข้าม
หุบเหว วัฏฏะ ขวากหนาม
เดินตาม สายธรรม กรรมดี
๐ กรรมดี นั้นจะ ส่งผล
มงคล เสริมค่า ราศี
จิตดี ส่งให้ กายดี
จะมี ความสุข ที่ใจ
๐ สุขใจ เพราะไร้ ซึ่งทุกข์
พบสุข พบความ สดใส
ชีวิต ก้าวเดิน ต่อไป
เพราะได้ เดินตาม ทางธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕...

49


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๓...

...การพูดหรือการแสดงออกทางกายนั้น
บางครั้งทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกนึกคิด
และอารมณ์ของเขา เพราะคำพูด สีหน้า
แววตา มันสื่อถึงความรู้สึกภายในของเขา
ซึ่งถ้าเราเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนา ควรที่จะ
สังเกตในอาการเหล่านั้น เพราะการพูด
นั้นมันสื่อให้รู้ถึงภูมิปัญญาของผู้พูด
ว่ารู้จริงหรือไม่ หรือว่าได้แต่พูดโดย
ไม่รู้จริง แต่คนที่นิ่ง ไม่พูด ไม่แสดง
ออกนั้น เราจะอ่านความรู้สึกนึกคิด
เขายาก เพราะเขาไม่ยอมเผยตัวตน
ที่แท้จริงออกมา
...เหมือนดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
" น้ำนิ่งไหลลึก " เราไม่รู้ว่าเขาคิด
อย่างไร เหมือนกับสายน้ำที่ลึกและ
กว้างใหญ่ ผืนน้ำด้านบนคล้ายดั่ง
สงบนิ่ง แต่เบื้องล่างกระแสน้ำนั้น
ไหลเชี่ยวและแรง ฉะนั้นอย่าได้รีบ
ตัดสินโดยสายตาที่มองเห็น จงคิด
และพิจารณาให้ถ้วนถี่ รอบคอบ
เสียก่อน จึงตัดสินว่ามันเป็นอย่างไร
...คนเรานั้นอย่ารีบด่วนสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร โดยเพียงคำพูดหรือ
การกระทำที่เราเพิ่งจะเห็น เพิ่งจะรู้
หรือพึ่งจะได้ยิน ต้องศึกษากันไปก่อน
ให้คุ้นเคยกัน แล้วจึงจะสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร
...ซึ่งจะขอยกคำคมมากล่าวอ้างเพื่อ
ให้เป็นแบบอย่างในการคิดและพิจารณา
ว่าเขาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจ
ในตัวบุคคลเหล่านั้น ซึ่งมีดั่งนี้
...จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่
ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
...จะรู้ว่าใครมือสะอาดหรือไม่
ต้องดูที่การทำงาน
...จะรู้ว่าใครมีปัญญาหรือไม่
ต้องดูที่การสนทนา
...จะรู้ว่าใครมีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่
ต้องดูที่คราวคับขัน...
...ทุกสิ่งอย่างนั้น กาลเวลาจะเป็นตัว
พิสูจน์ในตัวบุคคลและผลของงาน....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓๑ มกราคม ๒๕๖๕...

50


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๒...

...การพูดหรือการแสดงออกทางกายนั้น
บางครั้งทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกนึกคิด
และอารมณ์ของเขา เพราะคำพูด สีหน้า
แววตา มันสื่อถึงความรู้สึกภายในของเขา
ซึ่งถ้าเราเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนา ควรที่จะ
สังเกตในอาการเหล่านั้น เพราะการพูด
นั้นมันสื่อให้รู้ถึงภูมิปัญญาของผู้พูด
ว่ารู้จริงหรือไม่ หรือว่าได้แต่พูดโดย
ไม่รู้จริง แต่คนที่นิ่ง ไม่พูด ไม่แสดง
ออกนั้น เราจะอ่านความรู้สึกนึกคิด
เขายาก เพราะเขาไม่ยอมเผยตัวตน
ที่แท้จริงออกมา
...เหมือนดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
" น้ำนิ่งไหลลึก " เราไม่รู้ว่าเขาคิด
อย่างไร เหมือนกับสายน้ำที่ลึกและ
กว้างใหญ่ ผืนน้ำด้านบนคล้ายดั่ง
สงบนิ่ง แต่เบื้องล่างกระแสน้ำนั้น
ไหลเชี่ยวและแรง ฉะนั้นอย่าได้รีบ
ตัดสินโดยสายตาที่มองเห็น จงคิด
และพิจารณาให้ถ้วนถี่ รอบคอบ
เสียก่อน จึงตัดสินว่ามันเป็นอย่างไร
...คนเรานั้นอย่ารีบด่วนสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร โดยเพียงคำพูดหรือ
การกระทำที่เราเพิ่งจะเห็น เพิ่งจะรู้
หรือพึ่งจะได้ยิน ต้องศึกษากันไปก่อน
ให้คุ้นเคยกัน แล้วจึงจะสรุปว่าเขา
เป็นอย่างไร
...ซึ่งจะขอยกคำคมมากล่าวอ้างเพื่อ
ให้เป็นแบบอย่างในการคิดและพิจารณา
ว่าเขาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจ
ในตัวบุคคลเหล่านั้น ซึ่งมีดั่งนี้
...จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่
ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
...จะรู้ว่าใครมือสะอาดหรือไม่
ต้องดูที่การทำงาน
...จะรู้ว่าใครมีปัญญาหรือไม่
ต้องดูที่การสนทนา
...จะรู้ว่าใครมีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่
ต้องดูที่คราวคับขัน...
...ทุกสิ่งอย่างนั้น กาลเวลาจะเป็นตัว
พิสูจน์ในตัวบุคคลและผลของงาน....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓๐ มกราคม ๒๕๖๕...

51


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๑...

...การเจริญภาวนานั้นเป็นเครื่องชำระจิตใจ
ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ที่กระทำไปนั้น
มีความหมาย เพื่อที่จะกำจัดกิเลสภายใน
ใจของเรา ไม่ใช่ทำไปเพื่อสนองตัณหา
ให้ก่อเกิดมานะอัตตา แต่เป็นไปเพื่อความ
ลดละแห่งกิเลสตัณหา ด้วยการพิจารณา
ดูกาย ดูจิต ดูความคิดของตัวเราเอง
ดูตัวเราว่ามีปัญญาพิจารณาธรรมเป็นไหม
และจะทำอย่างไร เพื่อให้เกิดความเจริญ
ในธรรมเพิ่มขึ้น
...พิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญา ละอัตตา
ค้นหาความจริงในกายในจิตของเรา ยอมรับใน
ความเป็นจริงในสิ่งที่เรามีและเราเป็น มองให้
เห็นความเสื่อมทั้งหลายอันได้แก่กิเลส ตัณหา
อัตตา มานะที่มีอยู่ในจิตของเรา ซึ่งเราจำเป็น
ที่จะต้องรู้และต้องเห็นเสียก่อน จึงจะเข้าไป
ลดละมันได้ เพราะว่าไม่มีใครที่จะรู้จักตัวเรา
เท่ากับตัวของเราเอง ขอเพียงเราให้เวลาแก่
ชีวิตจิตวิญญาณของตัวเราเองให้มากกว่า
ที่เป็นอยู่ แล้วเราจะรู้จักตัวเราเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ มกราคม ๒๕๖๕...

52


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๗๐...

...กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียนและเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่งสรรพสิ่ง
ย่อมเคลื่อนไหว โลกนั้นแปรเปลี่ยนไป
อยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง กระแส
แห่งโลกนั้นจึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและ
หยุดอยู่ แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้และได้
เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตจิตวิญญาณ
ตนเอง สิ้นสุดได้ด้วยการที่รู้จักพอ
โดยไม่ร้องขอและแสวงหาอีกต่อไป
...ความสำเร็จของชีวิตนั้นคือรางวัลของชีวิต
ซึ่งมิได้วางไว้ในจุดเริ่มต้นของการเดินทาง
การทำงานทุกสิ่งอย่างย่อมมีอุปสรรคและ
ปัญหา เหมือนกับคำที่กล่าวว่า “เส้นทางนั้น
มิได้โรยด้วยกลีบดอกกุหลาบเสมอไป
ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่จบ ไม่มีคำว่าล้มเหลว
ในชีวิต เพราะสิ่งที่ผ่านมานั้นมันล้วนเป็น
บทเรียนของชีวิตที่จะพัฒนาจิตของเรา
ให้ก้าวเดินต่อไป....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ มกราคม ๒๕๖๕...

53


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๙...

...งานเลี้ยงย่อมมีการเลิกลา...
....พบเจอกันแล้วก็ต้องจากลา
ทุกคนต่างมีภารกิจและหน้าที่
ที่ต้องกระทำ ทุกคนมีวิถีชีวิต
ที่ลิขิตขึ้นมาด้วยตนเองทั้งนั้น
การได้มาพบกันนั้นมิใช่เรื่องบังเอิญ
มันมีเหตุและปัจจัยที่เคยทำร่วมกันมา
จึงต้องมาพบเจอและร่วมงานกัน
...ขอบคุณมิตรสหายทั้งสายโลก
และสายธรรม ที่ให้การสนับสนุน
มาแต่ต้นจนจบ ทั้งที่เป็นแรงกาย
แรงใจรวมทั้งสิ่งของและกำลังทรัพย์
จนทำให้วัตถุประสงค์นั้นสำเร็จ
ตามเป้าหมายที่คาดการไว้
...ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ
ที่ได้ร่วมกันมา นำพาไปสู่ความ
สำเร็จ ความสำเร็จนำมาซึ่งชื่อเสียง
เกียรติยศของหมู่คณะและองค์กร
จงเก็บความรู้สึกที่ดีๆไว้ในความ
ทรงจำ ศรัทธาจงตั้งมั่นอย่าหวั่นไหว
เชื่อมั่นในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ
แล้วจะนำมาซึ่งความสุขใจ
มีความเจริญในทางโลกและ
ทางธรรมโดยทั่วกัน
...ใช้เวลาว่างจากภารกิจนั้นมา
สรุปเหตุการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละ
ช่วงเวลา พิจารณาในทุกอย่าง
แล้วมาเทียบเคียงกับหลักธรรม
นำมาประยุกต์เพื่อให้สอดคล้อง
กับชีวิตในความเป็นจริง พยายาม
มองทุกสิ่งให้เป็นเรื่องหลักธรรม
เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ไม่ให้คล้อยตามกระแสโลกจนเกินไป
พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ เรียนรู้อยู่กับ
ความพอเพียงแล้วก็จะพบกับความ
เพียงพอของชีวิต...
... แด่น้ำใจของมิตรสหายที่ให้มา...

...ปรารถนาดี-งด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ มกราคม ๒๕๖๕...

54


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๘...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็น
เจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ
คู่โลกกันมา เพียงแต่การใช้ภาษา
ในการสื่อนั้น อาจจะแตกต่างกัน
ในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและ
ความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...วันเวลาผ่านไปไม่เคยหยุดนิ่ง
สรรพสิ่งเสื่อมทรามตามสมัย
เมื่อศีลธรรมไม่กลับมาโลกบรรลัย
เพราะจิตใจเสื่อมทรามตามเวลา
...แม้นสายลมสายน้ำจะเปลี่ยนทิศ
แต่ดวงจิตนั้นควรจะรักษา
ให้มั่นคงดำรงค์ซึ่งศรัทธา
แล้วศีลธรรมจะกลับมาสู่จิตใจ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๖ มกราคม ๒๕๖๕...

55


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๗...

...กว่าจะถึงวันนี้ของชีวิต...
...ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติสายวัดป่าจาก
สายของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
...เสริมปัญญาศึกษาหาความรู้ทาง
วิชาการจากหลวงพ่อพุทธทาสแห่ง
สวนโมกขพลาราม
...เรียนรู้เรื่องสมาธิและการใช้จิตสมถะ
ในเชิงพลังงานจากหลวงพ่อเปิ่น
วัดบางพระ
...ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อจำเนียร
เมื่อครั้งอยู่วัดถ้ำเสือฯเรื่องการพริ้วไหว
ใช้จิตให้เป็น
...หลวงพ่อจำเนียรท่านเมตตาต่อลูกศิษย์
ที่เป็นพระ ท่านจะแนะนำให้ลูกศิษย์นั้นไป
ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ
ท่านได้แนะนำชี้ทางให้
...ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อชา
...ไปศึกษาหาความรู้กับหลวงพ่อพุทธทาส
...ไปศึกษาสรรพศาสตร์กับหลวงพ่อเปิ่น
...แล้วกลับมาฝึกฝนตนเองที่วัดถ้ำเสือ
...ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ
หลวงพ่อจำเนียรครบทั้ง 4 สำนัก จึงทำให้
มีหลายหลากบทบาทและลีลาในความ
เป็นสมณะ
...ระลึกและสำนึกในความเมตตาของ
ครูบาอาจารย์และบุญคุณของสถานที่
ที่เคยได้พักอาศัย " กตัญญู บูชาครู "...

...ร้อยเรียงเรื่องราวตามรายทาง...
๐ จะร้อยเรียง เรื่องราว และข่าวสาร
ประสบการณ์ ผ่านตา มาให้เห็น
สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น
ไม่ยากเย็น เกินกว่า พยายาม
๐ มองหมู่เมฆ เคลื่อนคล้อย ลอยบนฟ้า
แล้วแต่ลม นำพา ไม่ไถ่ถาม
ไม่มีสิทธิ์ ร้องขอ หรือต่อความ
เจ้าลอยตาม แรงลม ที่พัดพา
๐ จากกลุ่มน้อย ลอยมา พาประสาน
จึงเกิดการ รวมตัว บนท้องฟ้า
เป็นก้อนใหญ่ เคลื่อนไหว อยู่ไปมา
อีกไม่ช้า ก็จะกลาย เป็นสายฝน
๐ แล้วร่วงหล่น ลงมา สู่เบื้องล่าง
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมี ซึ่งเหตุผล
มีที่มา ที่ไป ใช่วกวน
ไม่เหมือนคน ที่ใจ ไม่แน่นอน
๐ ใจคนนั้น ผันแปร แล้วแต่จิต
เปลี่ยนความคิด จิตใจ ให้ยอกย้อน
ไม่มีความ เที่ยงแท้ และแน่นอน
จิตปลิ้นปล้อน กลับกลอก หลอกเหมือนลิง
๐ เพราะกิเลส ตัณหา พาให้คิด
แปรเปลี่ยนจิต ไปกับ ทุกทุกสิ่ง
ไม่ยอมรับ ความเห็น ที่เป็นจริง
จิตไม่นิ่ง เพราะขาดธรรม จะนำทาง
๐ จิตที่มี คุณธรรม นำความคิด
รู้ถูกผิด ดีชั่ว ทุกสิ่งอย่าง
รูจักการ ปล่อยปละ และละวาง
ธรรมจะสร้าง จิตสงบ พบความจริง
๐ มีสติ และสัม-ปชัญญะ
จิตก็จะ พบความ สงบนิ่ง
ได้รู้โลก รู้ธรรม ที่เป็นจริง
จิตจะนิ่ง สงบ เมื่อพบธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ มกราคม ๒๕๖๕...

56


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๖...

...ในยามดึกสงัดของราตรีหนึ่ง
นั่งมองจันทร์ที่ริมหน้าต่าง
ดูลมหายใจเข้าออกของตนเอง
ภายนอกเคลื่อนไหวภายในสงบนิ่ง
เสียงหรีดหริ่งเรไรดังแว่วมาแผ่วเบา
คล้ายเสียงดนตรีแห่งรัตติกาล
พระจันทร์เสี้ยวของคืนขึ้นหกค่ำ
หมู่ดาวที่พราวแสงบนท้องฟ้า
ธรรมชาติจัดสรรมาได้อย่างลงตัว.....
...ราตรีภายใต้แสงจันทร์เสี้ยว
ผู้คนมากมายแต่คล้ายกับโดดเดี่ยว
นั่งเขียนบทกวีที่ริมหน้าต่างยามค่ำคืน
บอกเล่าเรื่องราวแห่งประสบการณ์
จิตร่าเริงเบิกบานอยู่ในธรรม
ใต้แสงเดือนแสงดาวที่ส่องลงมา
กับเวลาที่กำลังจะผ่านไป
ค้นพบสิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาในจิต
เมื่อได้ใคร่ครวญคิดพิจารณา....
...วันเวลาของชีวิตที่กำลังดำเนินไป
ได้พบเห็นและเข้าใจในหลายสิ่ง
เห็นความจริงที่เป็นสัจธรรมของชีวิต
เรียนรู้สิ่งถูกผิดนั้นมามากมาย
จนมาถึงบทสุดท้ายของชีวิต
เมื่อหันมาศึกษาและค้นหาตนเอง
ดูกาย ดูจิต ดูความคิด ดูการกระทำ
น้อมนำเข้ามาสู่ตัวของเราเอง
คือบทเรียนสุดท้ายที่ต้องศึกษาและปฏิบัติ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ มกราคม ๒๕๖๕...

57


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๕...

...การปลดเปลื้องภาระทั้งหลายใกล้
จะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ พยายามเร่งบริหาร
จัดการให้ทุกอย่างที่วางแผนไว้ให้ลงตัว
ให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
รอวันเวลาที่จะกลับคืนสู่สามัญ เพื่อเดินไป
ตามเส้นทางที่มุ่งหวังและตั้งใจ กลับไปสู่
ธรรมชาติแห่งธรรมอย่างแท้จริง...
...ธรรมชาติแห่งธรรม...
...สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาล
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไป
สิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดข้นแทนที่
เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมา
จนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
เพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติ
ลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณา
จึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ...
...ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส
สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย...
...ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกาย
ให้ใจนั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหา
มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
น้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเอง
ดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำ
มีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ
ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ มกราคม ๒๕๖๕...

58


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๔...

...อยู่กับปัจจุบันธรรม ด้วยการเจริญสติ
และสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่หนีปัญหา
ด้วยการหลบเข้าอารมณ์สมาธิ ใช้สติและ
ปัญญาพิจารณาหาเหตุ หาปัจจัยของอารมณ์
ทั้งหลายที่เกิดขึ้น แล้วเข้าไปดับที่เหตุ
โดยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ
เห็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ของอารมณ์
ทั้งหลายเหล่านั้น จนเกิดความกลัวความ
ละอายต่ออกุศลจิตทั้งหลาย เกิดธรรมสังเวช
ขึ้นในจิต เพื่อให้จิตถอดถอนจากการยึดถือ
จนเกิดความเบื่อหน่ายจางคลาย เกิดการ
ปล่อยวาง เมื่อจิตไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือแล้ว
มันก็ดับเหตุไปได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องพยายาม
ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นความเคยชิน
ความชำนาญ ในการคิดพิจารณา รู้เท่าทันอารมณ์
ทั้งหลายที่เกิดขึ้น และดับอารมณ์เหล่านั้นให้ได้
รวดเร็วขึ้น จนเป็นวสี เป็นอุปนิสัย แล้วเราจึง
จะปลอดภัยจากกระแสโลก
...การฝึกจิตนั้นต้องกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีเวลาหยุดพัก เพราะการเจริญสตินั้นต้องทำ
ในทุกโอกาส เพื่อให้สตินั้นมีกำลังเพิ่มยิ่งๆขึ้น
เพื่อให้เห็นการเกิดดับของสรรพสิ่ง และละวาง
อารมณ์ที่เป็นอกุศลจิตให้รวดเร็ว ซึ่งสิ่งนั้นต้อง
อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะและองค์แห่ง
คุณธรรมเป็นตัวเข้าไปจัดระบบความคิดทั้งหลาย
ของจิต โดยมีสมาธิคือจิตที่สงบนิ่ง เป็นบาทฐาน
แห่งการพิจารณา ทุกเวลาที่ผ่านไปนั้น จึงเป็น
การปฏิบัติธรรม.....
...แด่วันหนึ่งที่ผ่านมาและวันเวลาที่เหลืออยู่...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
...๒๒ มกราคม ๒๕๖๕...

59


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๓...

...ปรารภธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ...
...วันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้น
มันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิต
สอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้น
ขอให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการ
ดำเนินชีวิตที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดี
สร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนา
ทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรม
การเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้อง
กระทำอยู่ตลอดเวลา
...กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่งสรรพสิ่ง
ย่อมเคลื่อนไหว โลกนั้นแปรเปลี่ยนไป
อยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง กระแส
แห่งโลกนั้นจึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและ
หยุดอยู่ แต่จิตของมนุษย์นั้นย่อมมีวัน
ที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่ง ถ้าได้รู้และ
ได้เห็นความเป็นจริงของชีวิตจิตวิญญาน
สิ้นสุดด้วยการที่รู้จักพอโดยไม่ร้องขอ
และแสวงหาอีกต่อไป
...ความสำเร็จของชีวิตนั้นคือรางวัล
ของชีวิต ซึ่งมิได้วางไว้ในจุดเริ่มต้น
ของการเดินทาง การทำงานทุกอย่าง
ย่อมมีอุปสรรคและปัญหา
...เหมือนกับคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า
เส้นทางนั้นมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบ
ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่จบ ไม่มีคำว่าล้มเหลว
ในชีวิตเพราะสิ่งที่ผ่านมานั้นคือบทเรียน
บทเรียนของชีวิตที่จะพัฒนาจิตของเรา
ให้ก้าวเดินต่อไป....

... ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต ...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ มกราคม ๒๕๖๕...

60


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๒...

...คือสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา...
...วันเวลาของชีวิตที่ผ่านไปใน
แต่ละวันนั้น ใช้ชีวิตตามปกติวิสัย
ที่เคยเป็นมา เหมือนกับว่าไม่ได้
ทำอะไร ภายนอกนั้นเคลื่อนไหว
ไปตามปกติ พบปะพูดคุยสนทนา
แลกเปลี่ยนกับผู้มาเยี่ยมเยือนทั้งหลาย
เมื่อเขาลากลับไปทุกอย่างก็คืน
สู่ความเป็นปกติ
...เพราะการปฏิบัตินั้นเป็นการทำที่จิต
ไม่ใช่ที่กาย การมีสติและสัมปชัญญะ
ระลึกรู้อยู่ภายใน มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ในสิ่งที่คิดและกิจที่กำลังกระทำอยู่
ไม่ใช่การสร้างรูปแบบภายนอกขึ้นมา
เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
มันไม่ใช่การแสดงออกทางกาย
...แต่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรม
นั้นคือการพัฒนาที่จิต เปลี่ยนแปลง
ความคิด พัฒนาจิตให้มีคุณธรรมสูงขึ้น
น้อมนำจิตนั้นเข้าสู่ความเป็นกุศล ฝึกฝน
จนให้เกิดความชำนาญ ในกระบวนการ
แห่งความคิดจิตสำนึกทั้งหลาย ด้วยการ
มีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศล ควบคุม
ตนในสิ่งที่กำลังคิดและกิจที่กำลังทำ
ไม่ให้อกุศลกรรมเกิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น
...เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นดูจาก
ภายนอกแล้ว เหมือนกับว่าไม่ได้ทำ
อะไรเลย เพราะเป็นการกระทำที่จิต
มันไม่มีรูปแบบภายนอกทางกายที่
ตายตัว ว่าต้องมีท่าทางอย่างนั้นอย่างนี้
จึงจะเป็นการปฏิบัติวิปัสสนา มันอยู่ที่จิต
คือการมีสติและสัมปชัญญะ ควบคุมที่จิต ควบคุมความคิดและการกระทำ มันเป็น
การทำภายใน รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้นเอง
ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ กำลังคิดอะไรอยู่
และสิ่งที่คิดและที่ทำนั้นเรามีเจตนาอย่างไร เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่
" ไม่มีใครรู้ซึ้ง เท่าหนึ่งจิต "ในสิ่งที่กำลัง
คิดและกำลังกระทำเท่าตัวของเราเอง
ถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์อยู่
ทุกขณะจิต ทุกเวลาของชีวิตที่ผ่านไป
นั้นคือการได้ปฏิบัติเข้าหากุศลธรรม
น้อมนำชีวิตไปสู่ทิศทางที่ดี จึงเป็นสิ่งที่
ควรคิดและกิจที่ควรทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ มกราคม ๒๕๖๕...

61


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๑...

...มนุษย์ทุกคนมีความคิด
ถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ
แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิด
เป็นเพราะขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรม
ที่จะหักห้ามมิให้กระทำผิด
จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน
ฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศล
ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนและผู้อื่น
ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี
เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ
จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย
...จิตสำนึกแห่งคุณธรรม
คือความรู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อบาป
และเมื่อเราไม่กล้าทำบาปเราจะทำความดี
คนทำความดีจิตใจจะอ่อนโยนมีเมตตา
รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ละความเห็นแก่ตัวลงไปได้ตามสภาวะ
...การปฏิบัติธรรม สิ่งที่ได้มาคือคุณธรรม
ภูมิธรรมและภูมิปัญญา เรามิได้ฉลาดขึ้น
แต่เราได้เห็นความโง่ของตัวเองมากขึ้น
เห็นในสิ่งที่เรายังไมรู้และเห็นในสิ่งที่
เรายังหลงติดอยู่
...เรามิได้เก่งกล้า แต่เราได้เห็นความ
อ่อนแอและความขี้ขลาดหวาดกลัวที่
ซุกซ่อนอยู่เราทำกล้าเพราะว่าเรากลัว
เพราะกลัวจึงกล้า
...อย่าเชื่อทันทีมันจะทำให้งมงาย
อย่าปฏิเสธทันทีมันจะเสียประโยชน์
พิจารนาไตร่ตรองทดลองทำพิสูจน์ดู
แล้วจึงตัดสินใจ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ มกราคม ๒๕๖๕...

62


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๐...

...ชีวิต..จิต..วิญญาณ
ต่างต้องการดิ้นรนแสวงหา
เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข
แม้นเพียงน้อยนิดก็ยินดี
ทำให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
...มนุษย์
เสพสุขอยู่กับความฝัน
จินตนาการไปกับคืนวัน
สร้างฝันเพื่อปลอบใจตนเอง
บางครั้งก็สุขสมหวัง
บางครั้งพลาดพลั้งฝันสลาย
สลับสับเปลี่ยนกันไป
ไม่มีอะไรจริงแท้และแน่นอน
...ฝันไปเถิดเจ้าจงฝัน
ฝันให้ไกล ไปให้ถึงซึ่งความฝัน
อย่าท้อแท้เลิกร้างเสียกลางคัน
จงสานฝันนั้นให้เห็นความเป็นจริง
...เพื่อเป็นรางวัลแก่ชีวิต จิต วิญญาณ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ มกราคม ๒๕๖๕...

63


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๙...
...ปรารภธรรมและคำกวีในยามก่อนรุ่งอรุณ...

...สายลมยังเปลี่ยนทิศ จิตคนก็เปลี่ยน
แปลง เมื่อมีเรื่องของผลประโยชน์มา
แอบแฝง เจตนาที่เคยบริสุทธิ์ก็หายไป
เพราะใจนั้นไม่มั่นคงในพระสัทธรรม
ปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำ ก่อเกิด
ซึ่งอกุศลกรรม อกุศลจิต ลืมหมู่มิตรและ
ครูบาอาจารย์...

๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

... ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๗ มกราคม ๒๕๖๕...

64


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๘...

๐ ธรรมทาน ๐
...ธรรมทานนี้เลิศกว่าทานทั้งหลาย...
...การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคล
ผู้เงี่ยหูลงรับฟัง นี้เลิศกว่าการพูด
ถ้อยคำอันเป็นที่รัก
...การชักชวนผู้ไม่ศรัทธา ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
...ชักชวนผู้ละเมิดศีล ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศีล
...ชักชวนผู้ไม่อยากให้ ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยการปันให้
...ชักชวนผู้มีปัญญาทราม ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
...จากพระไตรปิฎก ภาษาไทยฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๓ “ พลสูตร “ ข้อที่๒๐๙...
...สภาวธรรมเป็นของเฉพาะตน
รู้ได้ด้วยการปฏิบัติ เหมือนดั่งคำ
โบราณท่านกล่าวว่า" สิบปากว่า
ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่า
มือคลำ สิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง "
...การเข้าใจในสภาวธรรมเกิดขึ้น
ในจิต มิใช่คิดไปเอง แยกอารมณ์
ความรู้สึกออกจากกัน มีสติตั้งมั่น
ไม่เสื่อมคลาย ทำความเข้าใจใน
สภาวะจิต ว่าความคิดนั้นเกิด
จากสิ่งใด สัญญา อุปาทาน ผัสสะ
แล้วจะพบสภาวธรรมที่แท้จริง
...พฤติกรรมภายนอกไม่สามารถ
บ่งบอกสภาวะภายในได้เสมอไป
สภาวะจิต สภาวธรรมนั้นอยู่ภายใน
เป็นของที่รู้ได้เฉพาะตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ มกราคม ๒๕๖๕...

65


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๗...

...การปลดเปลื้องภาระทั้งหลายใกล้
จะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ พยายามเร่งบริหาร
จัดการให้ทุกอย่างที่วางแผนไว้ให้ลงตัว
ให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
รอวันเวลาที่จะกลับคืนสู่สามัญ เพื่อเดินไป
ตามเส้นทางที่มุ่งหวังและตั้งใจ กลับไปสู่
ธรรมชาติแห่งธรรมอย่างแท้จริง...
...ธรรมชาติแห่งธรรม...
...สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาล
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไป
สิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดข้นแทนที่
เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมา
จนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
เพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติ
ลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณา
จึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ...
...ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส
สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย...
...ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกาย
ให้ใจนั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหา
มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
น้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเอง
ดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำ
มีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ
ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๕ มกราคม ๒๕๖๕...

66


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๖...

...เมื่อจิตของเราอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทุกอย่างรอบกายที่ได้พบเห็นก็จะเป็น
ธรรมะไปหมด โศลกธรรมต่างๆก็จะ
เกิดขึ้นแก่จิต ซึ่งเรียกว่า" อุทานธรรม "
เพราะจิตกำลังพิจารณาอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทำให้อกุศลจิตไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
ก็เพราะใจของเรานั้นเป็นกุศล ความเป็น
มงคลก็ย่อมมีแก่เรา ผู้รักษาธรรม...

... ปีเก่าหรือปีใหม่ ทำอะไรแล้วหรือยัง..?

๐ ไม่มีคำ อวยพร ที่อ่อนหวาน
เนื่องในกาล เวลา ที่มาถึง
มีแต่เพียง ข้อคิด ให้คำนึง
สิ่งที่พึง ครวญคิด พิจารณา

๐ เคยทบทวน นึกคิด กันบ้างไหม
มีอะไร เป็นแก่นแท้ และเนื้อหา
จากอดีต ของกาล ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า ให้ชีวิต แล้วหรือยัง

๐ วันเวลา ผ่านไป คือสมมุติ
ที่ไม่หยุด อย่าได้ ไปมุ่งหวัง
กำหนดนับ บอกยาม ตามกำลัง
ไม่ให้พลั้ง ให้พลาด คาดคะเน

๐ทุกขณะ ของจิต ที่ตื่นอยู่
ระลึกรู้ กายใจ ไม่หันเห
สติมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ซวนเซ
ไม่โลเล ตั้งใจ ทำให้จริง

๐ ทำในสิง ที่ชอบ ประกอบกิจ
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกสิ่ง
เอาหลักธรรม นำทาง ใช้อ้างอิง
ให้จิตนิ่ง ระลึกรู้ อยู่ทั่วกาย

๐ มีสติ มีธรรม นำชีวิต
รู้ถูกผิด รู้เห็น ในความหมาย
เพราะหนทาง แห่งความดี มีมากมาย
จงขวนขวาย ประกอบกรรม ทำความดี

๐ ให้ชีวิต ของเรานี้ นั้นมีค่า
คุ้มราคา ที่ได้เกิด บนโลกนี้
การได้เกิด เป็นมนุษย์ สุดจะดี
เพราะว่ามี เวลา จะสร้างบุญ

๐ อย่าให้วัน นั้นผ่านไป โดยไร้ค่า
เพียรเสาะหา ความดี มาเกื้อหนุน
สร้างความดี สะสมไว้ ให้เป็นทุน
บุญเกื้อหนุน จะส่งให้ ได้ไปดี....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ มกราคม ๒๕๖๕...

67


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๕...

...เรื่องของพระนั้นต้องปฏิบัติ
ตามหลักของพระธรรมวินัย
พวกฆราวาสที่ไม่เข้าใจเรื่อง
ของศาสนา อย่าเอาความคิด
ของตนเองมาตัดสิน มันจะเป็น
บาปเป็นกรรมต่อเองและครอบครัว
เพราะจะกลายเป็นผู้ร่วมทำลาย
พระพุทธศาสนาให้เสื่อมลง...

...กวีธรรมจากรอยทางที่ย่างผ่าน...
๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ มกราคม ๒๕๖๕...

68


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๔...

...พุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐาน
ให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่
มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่
อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง
มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย
มีหลังคาป้องกันลมแดดและฝน
ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก
แดดออกก็ไม่ร้อน
...ฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น
ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย
เมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรม
แผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามา
ครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อ
ให้เกิดปัญญา ในการฟาดฟันย่ำยี
และเชือดเฉือนกิเลสอาสาวะต่างๆ
ให้เบาบางและหมดสิ้นไป
เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตรา
อันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียน
ก็ปานกัน "
...นั้นคืออานิสงส์แห่งการฝึกสติ
โดยการรักษาศีล มีศีลเป็นพื้นฐาน
ในการเจริญจิตภาวนา ตามหลัก
ของพระพุทธศาสนาในไตรสิกขา ๓....
...ทบทวนกวีธรรมในยามเช้า...
๐ ยามเย็น น้อมจิต คิดธรรม
น้อมนำ ธรรมมา ใคร่ครวญ
ฝึกจิต ให้คิด ทบทวน
สิ่งควร ที่จะ จดจำ
๐ เตรียมกาย เตรียมจิต คิดทำ
น้อมนำ ทำด้วย สติ
ทำจิต ให้เป็น สมาธิ
ดำริ คือคิด ก่อนทำ
๐ มองงาน ให้แตก แยกงาน
อย่าผ่าน พินิจ คิดซ้ำ
มองงาน มองด้วย หลักธรรม
เพลี่ยงพล้ำ ไม่เกิด แก่เรา
๐ รู้เห็น เข้าใจ ปัญหา
ปัญญา ทำให้ ไม่เขลา
ทำกาย ทำจิต โปร่งเบา
รู้เท่า รู้ทัน อารมณ์
๐ ชีวิต คือการ ทำงาน
ต้องผ่าน ซึ่งการ สะสม
เรียนรู้ สู่โลก สังคม
เหมาะสม กับวัน เวลา
๐ รู้โลก รู้ธรรม นำจิต
พินิจ และหมั่น ศึกษา
เจริญ สติ ภาวนา
ปัญญา เกิดได้ จากธรรม....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๒ มกราคม ๒๕๖๕...

69


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๓...

...การปฏิบัติธรรมนั้นหลายท่าน
ได้กระทำไปโดยไม่รู้ตัวว่ากำลัง
ปฏิบัติธรรมอยู่ ในชีวิตประจำวัน
เพราะว่าการปฏิบัติธรรมคือการ
เจริญสติ การเจริญสัมปชัญญะ
ในสภาวะแห่งปัจจุบันธรรม
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถุกปลูกฝัง
ให้ติดยึดในรูปแบบ ว่าการปฏิบัติ
นั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากต้องมี
เวลาว่าง ต้องไปวัดรับศีล ถือศีล
นุ่งขาวห่มขาว ต้องไหว้พระสวดมนต์
ต้องนั่งสมาธิ ต้องเดินจงกรม
ต้องฟังธรรม จึงจะเป็นการปฏิบัติธรรม
ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ
เพราะว่าไปติดยึดในรูปแบบ
ในพยัญชนะในตัวอักษร ไม่ได้สนใจ
ในเนื้อหาอรรถธรรมว่ามันเป็นมา
อย่างไร มันจึงเป็นการสอนอย่าง
“ เถรส่องบาตร “ คือการทำตามๆ
กันมาโดยไม่รู้เนื้อหาและเจตนา
ที่เขาทำ ว่ามันมีที่มาอย่างไร
ว่าทำไมเขาจึงทำแบบนั้น ซึ่งเป็น
การกระทำโดยขาดปัญญา ขาดการ
พิจารณา วิเคราะห์ ใคร่ครวญและ
ตริตรอง ไม่ได้มองให้เห็นซึ่งที่มา
และที่ไป เหตุและปัจจัยของสิ่ง
เหล่านั้น มันจึงเป็นการกระทำ
ที่งมงาย เพราะไร้ซึ่งการคิด
พิจารณา ขาดปัญญาในการกระทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มกราคม ๒๕๖๕...

70


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๒...

...“ จงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่อย่าได้
มักง่ายในการใช้ชีวิต ” ชีวิตที่เรียบง่าย
นั้นเป็นไปโดยหลักแห่งความพอเพียง
ในการเลี้ยงชีวิต ยังคงทำกิจตามบทบาท
และหน้าที่ของตน มีความอดทน ขยันขันแข็ง
มีระเบียบวินัยของชีวิต เพียงแต่จิตนั้นไม่
ทะเยอทะยานอยาก ฟุ้งเฟ้อไปมากกว่า
กำลังของตนเองที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตนั้นมี
ความสงบสุข ไม่ทุกข์กับการดิ้นรนเพื่อ
สนองตอบตัณหาความอยากของตนเอง
...ส่วนการมักง่ายในการใช้ชีวิต นั้นเกิดมา
จากจิตที่เกียจคร้านทอดทิ้งธุระที่ตนนั้นพึง
กระทำ ไม่ยอมทำตามบทบาทและหน้าที่
ของตน ไม่มีความขยันและอดทน เป็นคน
ไม่มีระเบียบวินัยของชีวิต ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น
เพราะไม่มีวิจารณญาณ ต้องการเพียงตอบ
สนองตัณหาความอยากของตนเอง ขาดซึ่ง
จิตสำนึกต่อส่วนรวม ทำแต่ในสิ่งเป็นประโยชน์
แก่ตนเพียงอย่างเดียว ถ้าตนไม่ได้รับผลประโยชน์
ตอบแทน จะไม่ลงมือกระทำ ไม่สนใจสังคม
รอบข้างว่าจะมีผลกระทบอย่างไร จิตใจมัก
จะคับแคบเห็นแก่ตัว
...คนที่ขี้เกียจมักง่ายนั้น มักจะอ้างว่าตน
เป็นผู้ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
เพราะเขาไม่อยากขวนขวายทำกิจของตน
ที่ต้องพึงกระทำ ดั่งคำครูบาอาจารย์ได้
กล่าวสอนไว้ให้พิจารณา...
...จงอยู่อย่างเรียบง่าย แต่อย่าอยู่อย่างมักง่าย
...จงพยายามปล่อยวาง แต่อย่าได้ทอดทิ้งธุระ
...จงพูดแต่สิ่งที่ดี แต่อย่าดีแต่พูด จงลงมือทำด้วย
...จงอยู่อย่างไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้ซึ่งระเบียบวินัย
...เมื่อมีระเบียบวินัยต่อชีวิต กฎกติกาก็ไม่ต้องกำหนด
...ความเจริญในธรรมทั้งหลาย เกิดได้ด้วยกุศลจิต

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๐ มกราคม ๒๕๖๕...

71


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๑...

...ชีวิตที่ดำเนินมานั้น ได้สร้างสรรค์
สิ่งที่ดีงามต่อสังคม ตามวิถีโลกและ
วิถีธรรม ไม่ได้ทำเพื่อสนองตัณหา
ของตนเอง แต่เป็นไปด้วยจิตสำนึก
แห่งคุณธรรม ทำไปตามกำลังเท่าที่
จะทำได้ สิ่งที่ได้รับนั้นหรือคือความ
ปีติสุขใจ จากสิ่งที่คิดและกิจที่ได้ทำ
...ไม่ได้หวังจะดังเด่นจึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละซึ่งมานะและอัตตา
ท่องไปบนโลกกว้างบนเส้นทางแสวงหา
ก้าวผ่านกาลเวลาพิสูจน์ค่าคำว่าคน...
...ใบไม้
ยามเจ้าอยู่บนกิ่งใบ
เจ้านั้นช่วยสร้างสีสัน
และมีประโยชน์อนันต์
ต่อพืชพรรณและธรรมชาติ
ถึงคราวที่เจ้าร่วงหล่น
เจ้ายังมีผลประโยชน์ต่อพื้นดิน
ย่อยสะลายเป็นปุ๋ยให้พืชได้ดูดกิน
เจ้าไม่เคยสิ้นประโยชน์เลย...ใบไม้เอย
...คนเอย
วันเวลาที่ผ่านไป
เจ้าได้สร้างประโยชน์อะไรแล้วรึยัง
เพื่อให้คนข้างหลังได้ภาคภูมิใจ
เจ้าได้สร้างทำประโยชน์อะไร
ให้กับตนเองและสังคมรอบข้าง
ให้เขาทั้งหลายได้ชื่นชมยินดี
หลังจากเจ้านั้นได้ตายไปแล้ว
หรือให้เจ้าได้ภาคภูมิใจก่อนตาย
...คนเอย
อย่าให้ชีวิตไร้ค่ากว่าใบไม้
อย่าให้เวลาที่ผ่านไปนั้นเปล่าประโยชน์
สร้างแต่สิ่งที่เป็นโทษอันก่อให้เกิดบาปกรรม
เจ้าควรที่จะคิดและควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล
ให้เป็นมงคลแก่ชีวิตให้เป็นนิมิตที่ดีแกตนเอง
จงใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่เจ้านั้นได้ผ่านมา
อย่าให้ชีวิตของเจ้านั้นไร้ค่ากว่าใบไม้...คนเอย

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ มกราคม ๒๕๖๕...

72


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๐...

...บุคคลใดมีนิสัย ขี้เกียจ มักง่าย
ไร้ความคิดสร้างสรรค์ บุคคลผู้นั้น
ยากที่จะพบกับความสำเร็จในชีวิต...
...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เราต้องมี
มนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและคน
รอบกาย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ก่อนที่เราจะร้องขอจากเขานั้น
เราต้องแบ่งปันและให้เขาก่อน
จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการ
ให้ตอบแทน เป็นคำสอนของ
ครูบาอาจารย์
...การมีน้ำใจต่อหมู่คณะนั้นจะทำให้
ท่านได้รับความเกรงใจ สรุปลงได้ใน
หลักธรรมเรื่อง “ พรหมวิหาร ” ซึ่ง
แปลว่าเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่
ของพรหม ธรรมอันเป็นหลักประจำใจ
ของผู้ใหญ่ ธรรมที่ผู้ใหญ่ควรประพฤติ
พรหมวิหารนั้นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในใจ
เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ
เช่น สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น...

...ความร่วมมือร่วมใจ นำไปสู่ความสำเร็จ...

๐ วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
มีหลายสิ่ง ที่ทำ ตามสมัย
ให้เข้ากับ เหตุการณ์ ที่เป็นไป
และทรงไว้ ซึ่งธรรม แห่งสัมมา
๐ มรรคองค์แปด คือทาง ที่วางไว้
ก้าวเดินไป ตามทาง เพื่อค้นหา
ให้รู้จัก ตัวตน คืออัตตา
รู้จักว่า ตัวกู และของกู
๐ รู้อะไร ไม่รู้เท่า เข้าใจจิต
รู้ความคิด น้อมธรรม นำมาสู่
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เอาเป็นครู
สอนให้รู้ สอนให้ทำ ในกรรมดี
๐ ประสานใจ ประสานชน คนรุ่นใหม่
ให้ร่วมมือ ร่วมใจ ในทุกที่
ให้เกิดความ รักใคร่ สามัคคี
สอนให้มี น้ำใจ ช่วยเหลือกัน
๐ ต้องเลือกธรรม นำมาใช้ ให้เหมาะสม
กับสังคม ที่อาศัย ให้สร้างสรรค์
ให้มีความ เอื้อเฟื้อ และแบ่งปัน
ให้ร่วมกัน ทำความดี เพื่อสังคม
๐ เพราะร่วมมือ ร่วมใจ จึงสำเร็จ
งานจึงเสร็จ ทำไป ได้เหมาะสม
จึงทำให้ มีคนชอบ และชื่นชม
เพราะสังคม เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๘ มกราคม ๒๕๖๕...

73


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๙...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไปใน
สิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง ล้ำไป
ในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ ชีวิตนั้นจึง
สับสนและวุ่นวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งความ
สมปรารถนาของตนเอง หลงติดอยู่ใน
สิ่งสมมุติทั้งหลาย เวียนว่ายอยู่ในวังวน
ของกิเลสตัณหาไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไป
ยึดถือและยึดติดในสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวายไม่มี
ที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น ไม่รู้จัก
คำว่าพอประมาณในการใช้ชีวิต
โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ มกราคม ๒๕๖๕...

74


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๘...

...ท่ามกลางความหนาวเย็นของค่ำคืน
รู้สึกตัวตื่นขึ้นมารับลมหนาวที่พัดผ่าน
นั่งจิบกาแฟร้อนๆเพื่อผ่อนคลาย
มองดูความเคลื่อนไหวที่มากมาย
ลมหนาวพัดมาต้องกายให้หนาวสั่น
กายนั้นหวั่นไหว แต่ใจนั้นนิ่งสงบ
ทบทวน ใคร่ครวญ พิจารณา อยู่กับธรรม...
...ยามอุษาฟ้าสว่างที่วัดลาดเค้า...
...คือแสงธรรม แสงทอง ที่ส่องมา
เปิดม่านฟ้า ที่มืดมิด ให้สดใส
ปลุกพลัง แรงกาย และแรงใจ
เช้าวันใหม่ ชีวิตใหม่ ต้องก้าวเดิน
...นิ่งสงบ เหมือนหลัก ที่ปักไว้
นิ่งสงบ ภายใน ไม่เก้อเขิน
เจริญสุข เจริญธรรม จิตเพลิดเพลิน
เพราะก้าวเดิน ตามมรรค องค์สัมมา
...ฟ้ากับน้ำ ยามเช้า ช่วยปลุกจิต
ปลุกชีวิต ให้เร่งรีบ แสวงหา
ให้รู้จัก ตัวตน คืออัตตา
ทั้งกิเลส ตัณหา ที่มันมี
...ดูกายใจ กายจิต คิดวิเคราะห์
ดูให้เหมาะ ให้เห็น ในสิ่งนี้
เดินตามทาง ตามมรรค ทุกวิธี
ทำให้มี ทำให้เห็น ความเป็นจริง
...สรรพสิ่ง ล้วนแล้ว เกิดและดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ในทุกสิ่ง
ตามหลักธรรม นำสร้าง และอ้างอิง
เมื่อจิตนิ่ง ใจสงบ ก็พบธรรม
...ธรรมทั้งหลาย อยู่ที่กาย และที่จิต
เพ่งพินิจ มองให้เห็น ความลึกล้ำ
ไปตามแรง แห่งกุศล ผลของกรรม
สิ่งที่ทำ นั้นเริ่ม จากตัวเรา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ มกราคม ๒๕๖๕...

75


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๗...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไปใน
สิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง ล้ำไป
ในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ ชีวิตนั้นจึง
สับสนและวุ่นวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งความ
สมปรารถนาของตนเอง หลงติดอยู่ใน
สิ่งสมมุติทั้งหลาย เวียนว่ายอยู่ในวังวน
ของกิเลสตัณหาไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไป
ยึดถือและยึดติดในสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวายไม่มี
ที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น ไม่รู้จัก
คำว่าพอประมาณในการใช้ชีวิต
โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง
...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...

...๕ มกราคม ๒๕๖๕...

76


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๖...

...ธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ
เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา
เพียงแต่การใช้ภาษาในการสื่อนั้น อาจจะ
แตกต่างกันในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหา
และความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน
คือการสร้างสรรค์ให้โลกนี้สงบและร่มเย็น
ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะ
อัตตา ตัณหาและอุปาทาน ธรรมนั้นจึง
ไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็น
ของผู้ใดแต่ผู้เดียว ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่
กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของ
แต่ละคน ที่จะแสวงหาผลประโยชน์
จากธรรมนั้น
...ชีวิตในแต่ละวัน ต้องพบปะและสื่อสาร
กันกับผู้คนมากมาย แม้นจะหลบหลีก
มาอยู่ในที่ ห่างไกลจากชุมชนแล้วก็ตาม
ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปมาหาสู่ ขึ้นมา
เยี่ยมเยือนพบปะพูดคุย ที่อยู่ห่างไกล
ก็ใช้การสื่อสารสมัยใหม่ในยุคไอที
เพื่อที่จะได้คุยกัน โลกและธรรมนั้น
จึงต้องดำเนินไปคู่กัน
...จึงเอาปัจจุบันธรรมมาพิจารณาเป็น
อารมณ์กรรมฐาน พิจารณาสิ่งทั้งหลาย
ที่ได้เห็นให้เป็นธรรมะ พิจารณาให้เห็น
ถึงคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ในสิ่งนั้น พิจารณาลงไปใน
อริยสัจ ๔ให้เห็นปัญหา ให้เห็นที่มา
เห็นที่ดับและทางไปอันได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้หลักของ
พระไตรลักษณ์มาเป็นพื้นฐาน เห็นความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณา
ให้เห็นและเข้าใจจนเกิดความเบื่อหน่าย
จางคลาย ในทิฏฐิมานะ อัตตา ตัณหา
และอุปาทาน เห็นการเกิดดับของ
โลกธรรมทั้ง ๘ จนจิตจางคลายไม่เข้าไป
ยึดถือในสิ่งนั้น วางจิตเป็นกลางและมอง
ทุกอย่างเป็นธรรมะ แล้วจะเกิดการลดละ
ด้วยสภาวะจิตที่เข้าถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ มกราคม ๒๕๖๕...

77


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๕...

...บอกให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น
สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อย สอนให้
เป็นคนดี เป็นพระที่ดี เพื่อจะได้
ไม่เป็นภาระของสังคม แต่เมื่อขาด
จิตสำนึกแห่งการใฝ่ดี ก็ต้องปล่อยไป
ตามกรรมของสัตว์โลก เพราะเราทำ
หน้าที่ของเรานั้นสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
ไม่ได้เก็บเอาอกุศลกรรมของผู้อื่น
มาเศร้าหมอง เพราะตัวผู้ประกอบ
อกุศลกรรมเองนั้น ยังไม่รู้สำนึก
ยังยินดีเพลิดเพลินในอกุศลกรรม
ที่ตนทำ...

...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง สัจจะ ในวันนี้
และปัญหา หลายหลาก ที่มากมี
คือสิ่งที่ ต้องคิด พิจารณา...
...ทุกอย่างนั้น ล้วนเกิด จากต้นเหตุ
ควรสังเกต วิเคราะห์ หมั่นศึกษา
ทุกอย่างนั้น มีเหตุ ให้เกิดมา
จงมองหา ให้เห็น ความเป็นจริง...
...เมื่อรู้เห็น และเข้าใจ ในที่เกิด
จิตบรรเจิด ย่อมเข้าใจ สรรพสิ่ง
เห็นเหตุผล และปัจจัย ใช้อ้างอิง
เพราะทุกสิ่ง ล้วนเกิดดับ ธรรมดา...
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ตามเนื้อหา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ธรรมดา มันเป็น เช่นนั้นเอง...
...เมื่อจิตรู้ และเข้าใจ ในสิ่งนี้
ก็ไม่มี อะไร ไปข่มเหง
เกิดละอาย ในสิ่งชั่ว และกลัวเกรง
จิตก็เก่ง มีสติ ใช้ตริตรอง...
...เมื่อมองโลก มองธรรม นำมาคิด
ชำระจิต ชำระใจ ไม่เศร้าหมอง
ดำเนินจิต ก้าวไป ในครรลอง
เพียรเฝ้ามอง กายจิต คิดถึงธรรม...
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
จิตก็น้อม พาใจ ไม่ใฝ่ต่ำ
จิตก็เดิน ไปใน โลกและธรรม
เพราะน้อมนำ ธรรมะ มานำทาง..
...เดินตามธรรม นำทาง สว่างจิต
นำชีวิต ก้าวไป ใจสว่าง
รู้จักลด รู้จักละ รู้จักวาง
ไม่หลงทาง เพราะมี ธรรมนั้นนำไป...

...สุภาษิตจีนบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
“เดินทางร้องลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือ
หมื่นเล่ม “ จากประสบการณ์ที่ผ่าน
มาทั้งในทางโลกและในทางธรรม
ช่วงหนึ่งของชีวิตแห่งการเดินทาง
ได้ประสพพบเห็นอะไรมามากมาย
เก็บบันทึกไว้ในความทรงจำ น้อมนำ
มาพิจารณามองหาที่มาและที่ไป
ของมัน ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุ
และมีปัจจัยเป็นตัวประกอบ ค้นหา
ให้เห็นซึ่งที่มา ว่าเป็นมาอย่างไร
ก่อนที่เราจะได้รู้และได้เห็น ว่ามัน
ดำเนินไปเช่นไรและจะจบลงที่จุดไหน
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้น
เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นกฎ
พระไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติ
ทั้งหลาย ยึดถือไม่ได้ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง
ในโลกนี้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓ มกราคม ๒๕๖๕...

78


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๔...

...เตือนตนด้วยพุทธสุภาษิต
ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ...
" ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึง
เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง
เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเรา
ก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้ว
เพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลส
เพื่อคลายกิเลส และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น "
" นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ "
...พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙...
...ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เพื่อนสหธรรมิก
และญาติโยมได้โทรศัพท์มาอวยพรปีใหม่
และสอบถามสารทุกข์สุกดิบด้วยความ
ห่วงใย ขอบคุณทุกกำลังใจและความ
หวังดีของบรรดาท่านทั้งหลาย
... " ไม่ว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด
แล้วแต่บุญแต่กรรมที่ทำมา " ตั้งสติ
อยู่ในความไม่ประมาท ไม่หวั่นไหว
ต่อภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่เที่ยงแท้
และแน่นอน อะไรจะเกิด ก็ให้มันเกิด
ขอเพียงเรามีสติและสัมปชัญญะตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ที่สุดดีที่สุด
เท่าที่เราจะทำได้ ผลจะเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องของวิบากกรรม เมื่อใจเรายอมรับ
ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ตื่นตกใจ ใจเราก็ไม่
หวั่นไหว ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์ ทุกสิ่ง
ทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแล้วไปตามกฎ
ของพรไตรลักษณ์คือความเป็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา...
...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในทุกหน
แม้นแต่จิต และใจ ภายในตน
ยังดิ้นรน ไขว่คว้า หาทางไป
...ภายนอกนั้น อาจจะดู ว่าสงบ
แต่ค้นพบ ว่าจิตนั้น ยังหวั่นไหว
กระแสโลก ที่กระทบ จบที่ใจ
จิตหวั่นไหว เพราะว่าใจ ไม่มั่นคง
...จึงตามดู ตามรู้ ดูที่จิต
ดูความคิด ของจิต เมื่อมันหลง
ดูให้เห็น ความเป็นอยู่ แล้วก็ปลง
จิตมั่นคง เมื่อมีธรรม นั้นนำทาง
...ความเคยชิน ที่สะสม มานมนาน
เพราะว่าผ่าน หลายเรื่องราว ในโลกกว้าง
การจะลด การจะเลิก การจะวาง
ทุกสิ่งอย่าง ด้วยสิ่งใหม่ ไปทดแทน
...นั้นคือการ ละลาย พฤติกรรม
ที่เคยทำ จนเกาะกุม เป็นปึกแผ่น
จึงต้องสร้าง สิ่งใหม่ ไปทดแทน
แม้นจะแสน ยากนัก จักต้องทำ
...ทุกอย่างนั้น มีแนวทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ของเรา จะหนุนค้ำ
ยอมแก้ไข ในสิ่ง ที่เคยทำ
พฤติกรรม เก่าเก่า ยอมละวาง
...ยอมลดละ อัตตา และมานะ
ยอมลดละ ทำใจ ให้เปิดกว้าง
โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ต้องจัดวาง
เปลี่ยนทุกอย่าง ที่เคยทำ กรรมไม่ดี
...ไม่มีคำ ว่าสาย หากเริ่มต้น
ความหลุดพ้น มีได้ ในทุกที่
เริ่มจากใจ จากจิต คิดให้ดี
ต้องเริ่มที่ ใจของเรา เท่านั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ มกราคม ๒๕๖๕...

79


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๓...

...ใกล้จะสิ้นไปอีกปีแล้ว วันเวลาผ่านไป
ตามปกติ ไม่เคยหยุดนิ่ง สรรพสิ่ง
แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เป็นไป
ตามกฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ผ่านมาแล้วจากไป สิ่งที่เหลือ
ไว้นั้นคือความทรงจำ ประทับใจบ้าง
ขัดข้องขุ่นใจบ้าง ตามกิเลสตัณหา
และอารมณ์ของแต่ละคน แต่ละท่าน
และมุมมองที่แตกต่างกัน
..." มันเป็นเช่นนั้นเอง " ปีเก่าหรือ
ปีใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นสมมุติบัญญัติ
ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่า เวลานั้น
ผ่านไปเท่าไหร่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญ
นั้นคือ ทุกวันทุกเวลาทุกขณะและ
ทุกโอกาส เราได้ทำหน้าที่ของเรา
ให้ถึงพร้อมสมบูรณ์แล้วหรือยัง
...ทบทวนใคร่ครวญพิจารณาว่าวัน
เวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้สร้างสรรค์
สิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตของเราแล้วรึยัง
สมบูรณ์แล้วหรือยัง ลองชั่งดูระหว่าง
บุญและบาปที่เราได้กระทำมาแล้วนั้น
ที่เราพอจะระลึกได้ว่าอย่างไหน
จะมีกำลังมากกว่ากัน
...ลองคิดสมมุติดูว่า ถ้าเราไม่มีโอกาส
ที่จะได้ลืมตาตื่นและหายใจในวันพรุ่งนี้
เราจะไปอยู่ที่ไหน เราจะเป็นอย่างไร
กรรมที่เราได้เคยกระทำมา จะเป็นตัว
ส่งผลให้จิตของเราไป กรรมที่เป็น
กุศลย่อมส่งผลไปสู่สุขคติคือไปใน
ทิศทางที่ดี กรรมที่เป็นอกุศลย่อม
ส่งผลไปสู่ทุคติคือทิศทางที่ไม่ดี
...วันสิ้นปีจึงเป็นวันที่เราควรทบทวน
สรุปการกระทำของเราที่ผ่านมาว่า
อะไรคือความเจริญก้าวหน้า อะไรคือ
ความเสื่อมถอย จงเอาอดีตที่ผ่านมา
เป็นบทเรียนของชีวิต คิดและพิจารณา
เพื่อกำหนดอนาคตในภายภาคหน้า
ของชีวิตเรา ว่าจะเดินไปในทิศทางใด
และอย่างไร...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

80


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๒...

...บางครั้งในการบรรยายธรรมนั้น
เราต้องละทิ้งรูปแบบในพยัญชนะ
มาเน้นในเรื่องความหมายความเข้าใจ
ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจในธรรมะทั้งหลาย เพื่อให้ฟัง
แบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เคร่งและไม่เครียด
ในการสนทนาธรรม จึงเป็นที่มาของ
คำว่า " ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ " คือ
การถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้ง่ายแก่
การเข้าใจโดยไม่ยึดติดในรูปแบบ
ซึ่งทุกอย่างต้องใช้การคิดและการ
พิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ทบทวน
อยู่ตลอดเวลา ปรับเข้าหาหลักธรรมะ
เพื่อความเหมาะสม มองทุกสิ่งทุกอย่าง
รอบกายให้เป็นธรรมะ ใช้หลักแห่ง
ความเป็นจริงตามหลักของธรรมชาติ
โดยการลดละซึ่งอัตตาและคติ
ไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาใช้
ในการคิดและวิเคราะห์ แล้วเราจะ
เข้าถึงสภาวะแห่งธรรมะที่แท้จริง...

๐ จากถิ่นฐาน นานมา สู่ป่ากว้าง
ไปตามทาง ที่ใจ นั้นใฝ่หา
ออกเผชิญ ต่อโลก แห่งมายา
แสวงหา แนวทาง เพื่อสร้างธรรม
๐ ผ่านร้อยภู ร้อยป่า ร้อยนาคร
ผ่านขั้นตอน ทดสอบ เพื่อตอกย้ำ
ผ่านเรื่องราว มากมาย ที่ได้ทำ
ผ่านชอกช้ำ และสำเร็จ เสร็จในงาน
๐ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
ในการสร้าง การสอน เพื่อสืบสาน
ได้เรียนรู้ มากมาย จากอาจารย์
สิ่งที่ท่าน สอนสั่ง ยังฝังใจ
๐ "เมือเสียหนึ่ง อย่าให้ถึง ต้องเสียสอง
เมื่อเสียของ เสียแล้ว จงหาใหม่
เสียอะไร เสียได้ อย่าเสียใจ
เมื่อเสียแล้ว เสียไป ใจอย่าเสีย"
๐ คือคำสอน คำสั่ง ที่ฝังจิต
นำมาคิด ยามจิต นั้นละเหี่ย
ปลุกกายใจ ยามที่ เราอ่อนเพลีย
ไม่ให้เสีย กำลังใจ ในการงาน
๐ มารไม่มี บารมี นั้นไม่เกิด
คือการเปิด โลกทัศน์ ที่อาจหาญ
ชีวิตนี้ อุทิศ แก่การงาน
เพื่อสืบสาน สายธรรม นั้นสืบไป
๐ ในวันนี้ ได้กลับ คืนสู่ถิ่น
สู่แดนดิน ถิ่นที่ เคยอาศัย
มาเพื่อปลุก ศรัทธา ทั้งกายใจ
เพื่อวันใหม่ ข้างหน้า ที่มาเยือน
๐ หยุดทบทวน ใคร่ครวญ สิ่งที่ผ่าน
ทั้งหมู่มิตร บริวาร และผองเพื่อน
ทุกเหตุการณ์ ผ่านมา นั้นช่วยเตือน
มิลืมเลือน มิตรภาพ และไมตรี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

81


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๑...

..." ภิกษุทั้งหลาย!เราประพฤติพรหมจรรย์นี้
มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึง
เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง
เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลาย
รู้จักเรา ก็หามิได้ แต่ที่แท้จริงแล้ว
เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความ
สังวรระวัง เพื่อละกิเลส เพื่อคลายกิเลส
และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น "
" นยิทํ ภิกขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนฺติ "...
...พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙...
...วันเวลาของชีวิตและกิจที่กระทำ...
...ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
เป็นแนวทาง วางไว้ ให้ศึกษา
ตามสติ กำลัง และเวลา
ผลออกมา อย่างไร อย่าไปแคร์
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
เปลี่ยนมุมมอง ความคิด จิตเผื่อแผ่
รักษาจิต รักษาใจ คอยดูแล
และหมั่นแก้ สิ่งผิด ไม่คิดทำ
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
และไม่น้อม นำจิต คิดใฝ่ต่ำ
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย อย่าไปทำ
อย่าถลำ ในทางชั่ว ด้วยมัวเมา
...จงมีความ ละอายใจ ในสิ่งผิด
ไม่ควรคิด ปรุงแต่ง อย่างโง่เขลา
ทำร่างกาย จิตใจ ให้โล่งเบา
จงเก็บเอา แต่สิ่งดี ที่มีคุณ
...จงภูมิใจ ในสิ่งดี ที่ได้สร้าง
บนหนทาง ผ่านมา ได้เกื้อหนุน
จงมีใจ เมตตา เกื้อการุณ
จงสร้างบุญ สิ่งกุศล บนหนทาง
...ทำชีวิต วันนี้ ให้มีค่า
วันข้างหน้า อาจไม่มี ที่จะสร้าง
ชีวิตนี้ อาจไม่ยาว อย่างที่วาง
จงรีบสร้าง รีบทำ กรรมที่ดี
...สร้างคุณค่า ราคา ให้ชีวิต
นั่นคือกิจ ที่ต้องทำ ในวันนี้
บุญกุศล คือหนทาง สร้างความดี
ชีวิตนี้ คุณมี แล้วหรือยัง
...จงทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า อะไร ไว้เบื้องหลัง
สิ่งเหล่านี้ คุณนั้นมี แล้วหรือยัง
มองกลับหลัง ดูว่าตรง หรือหลงทาง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

82


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔๐...

...รำพึงธรรมเรื่องโยธากัมมัฏฐาน...
...การทำงานทุกอย่างนั้นเป็นการ
ปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการ
ปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิต
โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุม
คุ้มครองอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้
และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา
ทั้งในการคิดและการกระทำ ซึ่งคน
ทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความคิด
มีสติ และสัมปชัญญะ
...แต่สิ่งที่ขาดไปนั้นก็คือกุศลจิต
ซึ่งเป็นคุณธรรมคุ้มครองจิต ไม่ให้คิด
ไปในทางที่ผิด รู้จักหักห้ามจิตไม่ให้คิด
และทำในสิ่งที่เป็นอกุศล รู้จักวางตน
อยู่ในสัมมาทิฏฐิ
...ซึ่งสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเกิดจากพื้นฐาน
ของคุณธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคน
ดั่งคำที่ว่า“ บุคคลแตกต่างด้วยธาตุและ
อินทรีย์ บารมีที่สร้างสมกันมา “
...การเจริญกุศลจิต เจริญสติภาวนา
ก็เพื่อเพิ่มพูนกำลังของบุญกุศล ให้รู้จัก
กายและใจของตน เพื่อให้เห็นคุณ
เห็นโทษเห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งภายนอกและ
ภายใน ทั้งทางกายและทางจิตของเรา
เพื่อเพิ่มคุณธรรมความละอายและ
เกรงกลัวต่อบาปให้มากขึ้นแก่จิต
ของเรา เพื่อที่จะเข้าไปยับยั้งและ
ข่ม ความต้องการในโลกธรรม
ทั้งหลายอันได้แก่ ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุขและความเสื่อม
ในโลกธรรมทั้งหลายอันได้แก่
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ คำนินทา
และความทุกข์ ให้รู้จักความ
พอเหมาะพอดีในสิ่งที่ควรจะได้
ไม่หวั่นไหวกับโลกธรรมทั้งแปด
...การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความลด
ละ เลิก ในกิเลส ตัณหา อัตตา อุปาทาน
ทั้งหลาย เพื่อความจางคลายของกิเลส
ทั้งหลาย สิ่งนั้นคือเป้าหมายของการ
ปฏิบัติธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

83


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๙...

...ย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอ ให้ระลึกถึง
ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
เป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ
๑.พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักประกอบ
ด้วย หิริ ความละลายต่อความชั่ว
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๒.พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร
คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์
ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบ
ด้วยความสำรวม ทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน
ด้วยข้อนั้น
๓.พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร คือ
ประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูดที่บริสุทธิ์
๔.พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร
คือความประพฤติทางใจ คือความคิด
อันบริสุทธิ์
๕.พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความ
เลี้ยงชีพบริสุทธิ์
๖.พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร
ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ
๗.พึงศึกษาว่า เราจักมีความรู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร
๘.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบธรรม
ของผู้ที่ตื่นอยู่ คือไม่เห็นแก่การ
หลับนอนมากนัก
๙.พึงศึกษาว่า เราจักประกอบสติ
คือความระลึกได้และสัมปชัญญะ
คือความรู้ตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถใหญ่
อิริยาบถน้อยทั้งหลาย
๑๐.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติคอยชำระ
จิตของตนออกจากนิวรณ์ คือกิเลส
เป็นเครื่องกั้นจิตทั้งหลาย
๑๑.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติทำสมาธิ
คือความรวมจิต เข้ามาตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์เดียว ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ
จนถึงสมาธิขั้นสูง
๑๒.พึงศึกษาว่า เราจักปฏิบัติอบรมจิต
ให้เกิดปัญญาญาณ คือปัญญาหยั่งรู้
เข้าถึงสัจจะ คือความจริงขึ้นไปโดยลำดับ
...นี่คือธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัส
สอนแก่พระภิกษุทั้งหลาย ว่าเป็น
เครื่องกระทำให้เป็นสมณะ ซึ่งควร
หมั่นคิดและพิจารณากาย วาจา จิต
ของเราอยู่เสมอ เพื่อความเป็นสมณะ
ในพระพุทธศาสนา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

84


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๘...

...ไม่ใช่ภาระที่เราต้องแบกรับ
ไม่ใช่หน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบ
แต่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและ
กิจที่เรานั้นควรกระทำในขณะนั้น
ทำไปตามบทบาทที่ตนนั้นพึงมี
ทำให้สมบูรณ์เต็มที่ตามสติกำลัง
ความรู้ความสามารถของเรา
เมื่อเราคิดว่ามันไม่ใช่ภาระที่
ต้องแบกรับ มันไม่ใช่ข้อบังคับ
ตามหน้าที่ เราก็จะมีความรู้สึกที่
โปร่ง โล่ง เบา ความเครียดอันเกิด
จากความกังวลใจ ก็จะลดน้อย
ถอยลงที่ละนิดสุขภาพจิตของเรา
ก็จะดีขึ้น " เพียงคุณเปลี่ยนความคิด
ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยนไป สิ่งใหม่ๆย่อม
เกิดขึ้นแก่คุณ "
...การดำเนินชีวิตนั้นทุกอย่างเป็นไป
เหมือนเดิมตามปกติที่เคยเป็นมา
แต่ว่าความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ทำหน้าที่
ของตนไปตามบทบาทที่พึงมีตามจังหวะ
เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล เป็นไป
เพื่อความเหมาะสม ให้เกิดความพอดี
และพอเพียงในสิ่งที่ต้องคิดและกิจ
ที่ต้องทำ
...เมื่อเราคิดได้และทำได้อย่างนั้น
ความกดดันทั้งหลายก็จะหายไป
กำลังใจก็ย่อมจะกลับมา ความเชื่อมั่น
และศรัทธาในตนเองก็จะเพิ่มขึ้น
เมื่อเรานั้นได้ทำหน้าที่และบทบาท
ของเรานั้นสมบูรณ์แล้ว ซึ่งผลมันจะ
ออกมาอย่างไร มันเป็นเรื่องของ
เหตุและปัจจัยที่เป็นไปในขณะนั้น
สิ่งที่สำคัญจงถามตนเองว่า...
เราทำหน้าที่ของเราสมบูรณ์
ดีแล้วหรือยัง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

85


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๗...

...ธรรมชาติของชีวิตนั้นไม่ได้สับสน
วุ่นวายหรือลึกลับสลับซับซ้อนอย่าง
ที่คิด มันเกิดจากจิตของเราที่คล้อย
ตามโลกธรรม ๘ อันได้แก่ สุข-ทุกข์
มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ
สรรเสริญ-นินทา
...การแสวงหาเพื่อให้ได้มาและการ
กลัวว่าจะสูญเสียไป การยึดถือมั่นหมาย
ในความเป็นตัวกูและของกู จึงทำให้
ชีวิตนั้นแปรเปลี่ยนไปตามกระแสโลก
มีความทุกข์โศกเมื่อไม่ได้ตามที่ใจ
นั้นปรารถนา คิดว่ามันเป็นปัญหา
เป็นอุปสรรคของชีวิต
...แต่ถ้าจิตนั้นเข้าใจและทำได้ในความ
พอดีและพอเพียง ชีวิตมันก็จะเรียบง่าย
ไม่สับสนและวุ่นวาย อยู่อย่างพอเพียง
เพราะว่าใจนั้นเพียงพอ...

๐ วันเวลา ผ่านไป ไม่หวนกลับ
เกิดแล้วดับ สลับกัน นั้นเสมอ
มีเรื่องราว มากมาย ให้เจอะเจอ
อย่าพลั้งเผลอ มีสติ แล้วตริตรอง
๐ ดีหรือชั่ว นั้นรู้ อยู่แก่จิต
ถูกหรือผิด จำไว้ ในสมอง
ให้ถูกต้อง ตามธรรม ตามครรลอง
อะไรถูก อะไรต้อง จงตรองดู
๐ มีสติ อยู่กับกาย เฝ้าดูจิต
ควรพินิจ ศึกษา หาความรู้
มีตัวอย่าง มากมาย ให้เป็นครู
ให้เรารู้ กายจิต คิดก่อนทำ
๐ จะไม่พลาด ไม่พลั้ง เพราะยั้งคิด
ไม่เผลอจิต ปล่อยใจ ให้ถลำ
ให้โมหะ อัตตา เข้าครอบงำ
ประกอบกรรม ทำบาป ที่หยาบคาย
๐ มีสติ เตือนตน จึงพ้นผิด
มีความคิด คุณธรรม นำจุดหมาย
มีศรัทธา แต่ไม่เชื่อ อย่างงมงาย
มีจุดหมาย จุดยืน ที่แน่นอน
๐ ยึดถือหลัก พรหมวิหาร ประการสี่
มีเมตตา ไมตรี ไม่หลอกหลอน
กรุณา ปราณี ตามขั้นตอน
มุทิตา โอนอ่อน เมื่อทำดี
๐ อุเบกขา นั้นมา เป็นสุดท้าย
ไม่คาดหมาย ทำไป ตามหน้าที่
ไม่หวังสิ่ง ตอบแทน เมื่อทำดี
อุเบกขา เมื่อหน้าที่ เราสมบูรณ์
๐ พรหมวิหาร คือฐาน แห่งพุทธะ
ในทสะ บารมี มิเสื่อมสูญ
ยิ่งให้มาก ยิ่งได้มา ทวีคูณ
จะเพิ่มพูน บุญกุศล ให้ตนเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

86


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๖...

...การคิดและพิจารณาธรรมนั้น
จะรู้ว่าสิ่งที่เรารู้และเข้าใจนั้น
ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องใช้การ
สงเคราะห์เข้าหาหลักธรรม
ทุกหมวดหมู่ในธรรมที่คิดว่ารู้
และเข้าใจ เพราะธรรมทั้งหลายนั้น
จะไม่มีการขัดแย้งกัน ธรรมนั้น
จะสงเคราะห์และอนุเคราะห์ซึ่งกัน
และกันในทุกหมวดหมู่ และเมื่อได้
ลองเทียบดูแล้วเกิดความขัดแย้งกัน
ให้หันกลับมาพิจารณาที่ความคิด
ของเราว่ามีความคิดเห็นคลาดเคลื่อน
จากความจริงในจุดไหน มีอะไรเป็น
เหตุและปัจจัยที่ทำให้เรามีความคิดเห็น
เป็นอย่างนั้น อย่าไปวิจารณ์ธรรม
ตีความหมายขยายความในหัวข้อธรรม
เพื่อให้รองรับความคิดเห็นของเรา
จงกลับมาดูที่ความคิดเห็นของเรา
อย่าได้เข้าไปปรับเปลี่ยนหลักธรรม
...หลักธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับ
ธรรมชาติอยู่ก่อนแล้ว แต่ความคิดเห็น
ของเรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่
ซึ่งอาจจะเป็นความรู้และความเข้าใจ
ที่เกิดจากทิฏฐิอัตตา อย่าไปปรับ
หลักธรรมเข้าหาความคิดเห็นของเรา
เพื่อให้รองรับความคิดเห็นของเรา
จงปรับความคิดของเราเข้าหาหลักธรรม
ความรู้ความเห็นทั้งหลายที่สงเคราะห์
เข้าได้กับทุกหมวดหมู่ของหลักธรรม
นั้นคือความคิดเห็นที่ถูกต้องตามหลัก
แห่งธรรม ที่จะนำไปสู่ความรู้และเข้าใจ
ในธรรมที่ยิ่งขึ้นไปในข้อธรรมทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

87


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๕...

...ใช้เวลาพิจารณาทำความรู้ความ
เข้าใจในทุกสรรพสิ่งและในความ
เป็นจริงของชีวิต คิดทุกอย่างเข้าหา
หลักธรรม ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่ประสพพบเห็น มันเป็นเช่นนั้นเอง
...เมื่อเข้าใจในเหตุและปัจจัย เห็นที่
มาและที่ไป ทุกอย่างก็จบ เพราะมันมี
คำตอบอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ต้อง
ไปสงสัย ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไป
ค้นหา เพราะว่า ตถตา มันเป็นเช่นนั้น
ของมันเอง...

...สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่เข้าใจ
อาจไม่เป็นอย่างที่ใจเราคิด...

...ที่เห็น และเข้าใจ
อาจไม่ใช่ สิ่งที่คิด
เห็นถูก หรือเห็นผิด
ใครตัดสิน ในปัญหา
...ความรู้ ความเข้าใจ
ที่มันได้ เกิดขึ้นมา
โดยธรรม หรืออัตตา
หรือรู้เห็น ตามเป็นจริง
...ความรู้ และเข้าใจ
ที่มีใน สรรพสิ่ง
รู้จริง และเห็นจริง
เกิดจากเหตุ และปัจจัย
...สิ่งรู้ และสิ่งเห็น
สิ่งที่เป็น เกิดขึ้นใหม่
ถูกผิด เป็นอย่างไร
พิสูจน์ได้ โดยหลักธรรม
...ปรับจิต เข้าหาหลัก
โดยรู้จัก จดและจำ
ปรับใจ เข้าหาธรรม
ในการคิด และวิจารณ์
...สงเคราะห์ อนุเคราะห์
ให้มันเหมาะ กับเหตุการณ์
ธรรมะ จะประสาน
ไปในทิศ ทางเดียวกัน
...เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
คล้อยตามไป สมานฉันท์
ไม่มี ขัดแย้งกัน
นั้นคือธรรม ที่ถูกทาง
...ปรับจิต เข้าหาธรรม
แล้วน้อมนำ ทุกสิ่งอย่าง
เทียบดู ในแนวทาง
จะรู้เห็น เป็นอย่างไร
...ธรรมะ ทุกหมวดหมู่
สงเคราะห์ดู ให้เข้าใจ
รู้เห็น เป็นเช่นไร
อนุเคราะห์ สงเคราะห์กัน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

88


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๔...

...มีหลายคนหลายท่านให้คำแนะนำ
ว่าทำไมไม่รวบรวมบทความและบท
กวีธรรมที่ได้เขียนไว้ พิมพ์ออกเป็น
หนังสือ ออกจำหน่ายเพื่อเป็นการ
หาทุน สำหรับกิจกรรมทางศาสนา
และกิจกรรมเพื่อสังคม ก็ขอน้อมรับ
ในความปรารถนาดีของทุกๆท่าน
ที่ให้คำแนะนำมา ซึ่งได้อธิบายถึง
ที่มาที่ไปของการเขียนบทความ
บทกวีธรรม ที่ได้กระทำมาแล้วนั้น
ว่าเป็นเพียงการบันทึกสภาวธรรม
ของแต่ละช่วงเวลาและช่วงอารมณ์
เป็นเพียงแง่คิดมุมมองของความ
เป็นปัจเจก ซึ่งไม่กล้ารับรองและ
ยืนยันว่าความคิดเห็นนั้น เป็นสิ่ง
ที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ชัดเจนแท้จริง
เป็นเพียงการนำเสนอแง่คิดมุมมอง
ของการปฏิบัติที่ผ่านมา เพื่อให้ได้
คิดพิจารณากัน มันจึงเป็นได้เพียง
สายลมที่พัดผ่านกาลเวลา ผ่านมา
แล้วก็จากไป ไร้ซึ่งหลักฐานที่เป็น
ตัวตน
...ดังที่เคยกล่าวไว้เสมอว่าการเขียน
บทความ บทกวีธรรมหรือการบันทึก
ธรรมนั้น ไม่ได้มุ่งหวังจะสอนผู้ใด
แต่ที่ได้ทำลงไปนั้น เพื่อเป็นการ
ทบทวนธรรม ย้ำเตือนและสอน
ตัวเอง ส่วนที่มีผู้เข้ามาอ่าน มาทำ
ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามนั้น
เป็นผลพลอยได้ เพราะจุดมุ่งหมาย
ของการเขียนบันทึกไว้นั้น เพียงเพื่อ
เตือนตนสอนตน เพราะก่อนที่เรา
จะไปสอนคนอื่นได้นั้น เราต้องรู้
และเข้าใจ ทำได้และเคยทำมาแล้ว
ไม่ใช่ท่องตำราให้จำได้แล้วไป
กล่าวธรรม เพราะการทำเช่นนั้น
มันเหมือนกับนกแก้วนกขุนทอง
จำได้พูดได้ แต่ไม่รู้ความหมาย
และเนื้อหา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เป็นเพียงใบลานเปล่า
...ทุกครั้งที่เขียนบันทึกหรือการ
บรรยายธรรมก็เพื่อเป็นการเตือนย้ำ
และสอนตัวเองทุกครั้ง ไม่ได้หวัง
ว่าคนฟังนั้นจะต้องรู้ จะต้องเข้าใจ
และนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ เพราะว่า
ถ้าเรานั้นไปหวังและตั้งใจให้ผู้ฟัง
เข้าใจและปฏิบัติตามนั้น มันเป็นการ
กระทำเพื่อสนองตัณหาคือความ
อยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้
และเมื่อมันไม่เป็นไปตามที่ใจของเรา
ปรารถนา มันก็จะพาให้ใจเป็นทุกข์
เพราะตัณหานั้นไม่ได้รับการสนองตอบ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

89


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๓...

...วิถีทาง วิถีธรรม แห่งสมณะไร้นาม...
...การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการกระทำ
เฉพาะตน ไม่ได้หวังผลที่จะโอ้อวดใคร
มิได้เป็นไปเพื่อหวังในโลกธรรม ๘
อันได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
แต่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์และความ
สุขในธรรมรู้ธรรม เห็นธรรม เข้าใจธรรม
แต่ยังไม่ได้ทำ ยังไม่เรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรม
เป็นได้เพียงผู้ชื่นชมในธรรม หรือผู้วิจารณ์
ธรรมเท่านั้นเอง หาใช่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่
เพราะยังมิได้ทรงไว้ในธรรม....
...ปณิธานในการปฏิบัติธรรม...
๐ ใช่หวังจะดังเด่น
จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ
ซึ่งมานะและอัตตา
๐ เร่ร่อนและรอนแรม
ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา
ผ่านร้อยป่าและภูดอย
๐ ลาภยศและสรรเสริญ
ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย
จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
๐ เป็นเพียงสมณะ
ไร้พันธะสิ่งครอบงำ
คิดชอบประกอบกรรม
เดินตามธรรมโพธิญาณ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

90


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๒...

...เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่
ภายในนั้นชัดเจน แต่ถ้าน้ำนั้นยัง
กระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจน
เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่ง หยุดนิ่ง
ย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด เห็นหมด
เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว
ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิต
ของผู้อื่นเช่นกัน ...
๐ น้อมธรรม นำมา พินิจ
ทำจิต ของเรา ให้ว่าง
เอาธรรม มาเป็น แนวทาง
เพื่อสร้าง ผลงาน กวี
๐ ธรรมะ เกิดขึ้น ในจิต
ลิขิต ตามธรรม นำชี้
เรียบเรียง อักษร วลี
ตามที่ รู้เห็น เข้าใจ
๐ น้อมจิต พินิจ ในธรรม
ดื่มด่ำ ธรรมะ ลื่นไหล
โศลก แห่งธรรม นำไป
รู้ได้ ด้วยธรรม นำพา
๐ ความจำ ใต้จิต สำนึก
ส่วนลึก ถูกปลุก ขึ้นมา
ก่อเกิด กำลัง ศรัทธา
ที่มา ของบท กวี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

91


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๑...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

๐ เวลา ผ่านไป ไม่หยุด
มนุษย์ ดิ้นรน ขวนขวาย
ตั้งแต่ เกิดมา จนตาย
มุ่งหมาย หาสุข ใส่ตัว
๐ หลงเพลิน ไปตาม กระแส
ผันแปร จนน่า เวียนหัว
เพราะความ หน้ามืด ตามัว
ลืมตัว ลืมตน ลืมตาย
๐ ติดอยู่ กับกิน กามเกียรติ
จนเครียด เพราะความ มุ่งหมาย
อยากให้ อยู่สุข สบาย
จึงกลาย เป็นสร้าง บาปกรรม
๐ ชีวิต จึงไม่ สงบ
ไม่พบ กับสิ่ง ค่าล้ำ
ชีวิต อยู่ห่าง ทางธรรม
เคราะห์กรรม จึงมา เยี่ยมเยือน
๐ ชีวิต จึงมี แต่ทุกข์
ไร้สุข เหมือนไม่ มีเพื่อน
ไร้คน จะมา ปลอบเตือน
เสมือน โดดเดี่ยว เดียวดาย
๐ สังคม นับวัน เสื่อมทราม
หลงตาม จนลืม ความหมาย
วัตถุ เพิ่มขึ้น มากมาย
ที่หาย คือคุณ ความดี
๐ ศีลธรรม กำลัง หดหาย
จางคลาย ไปทุก ถิ่นที่
แก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดี
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
๐ สังคม แห่งภาพ มายา
ให้ค่า วัตถุ เท่านั้น
ใครมี ทรัพย์มาก กว่ากัน
ผู้นั้น ได้รับ คำเชิญ
๐ คนดี มีศีล มีธรรม
ไม่นำ มากล่าว สรรเสริญ
คนดี ไม่มี ที่เดิน
ถูกเมิน ว่าโง่ งมงาย
๐ คนดี ถูกเขา เอาเปรียบ
หยามเหยียบ ไร้ซึ่ง ความหมาย
สังคม นับวัน กลับกลาย
มากมาย ด้วยเล่ห์ ลมลวง
๐ ศีลธรรม หากไม่ กลับมา
โลกา นี้น่า เป็นห่วง
เพราะว่า มนุษย์ ทั้งปวง
หลอกลวง คดโกง ฆ่ากัน
๐ ทุกคน จะเห็น แก่ตัว
เมามัว แก่งแย่ง แข่งขัน
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
โลกนั้น คงดับ ลับลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

92


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓๐...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

๐ เวลา ผ่านไป ไม่หยุด
มนุษย์ ดิ้นรน ขวนขวาย
ตั้งแต่ เกิดมา จนตาย
มุ่งหมาย หาสุข ใส่ตัว
๐ หลงเพลิน ไปตาม กระแส
ผันแปร จนน่า เวียนหัว
เพราะความ หน้ามืด ตามัว
ลืมตัว ลืมตน ลืมตาย
๐ ติดอยู่ กับกิน กามเกียรติ
จนเครียด เพราะความ มุ่งหมาย
อยากให้ อยู่สุข สบาย
จึงกลาย เป็นสร้าง บาปกรรม
๐ ชีวิต จึงไม่ สงบ
ไม่พบ กับสิ่ง ค่าล้ำ
ชีวิต อยู่ห่าง ทางธรรม
เคราะห์กรรม จึงมา เยี่ยมเยือน
๐ ชีวิต จึงมี แต่ทุกข์
ไร้สุข เหมือนไม่ มีเพื่อน
ไร้คน จะมา ปลอบเตือน
เสมือน โดดเดี่ยว เดียวดาย
๐ สังคม นับวัน เสื่อมทราม
หลงตาม จนลืม ความหมาย
วัตถุ เพิ่มขึ้น มากมาย
ที่หาย คือคุณ ความดี
๐ ศีลธรรม กำลัง หดหาย
จางคลาย ไปทุก ถิ่นที่
แก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดี
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
๐ สังคม แห่งภาพ มายา
ให้ค่า วัตถุ เท่านั้น
ใครมี ทรัพย์มาก กว่ากัน
ผู้นั้น ได้รับ คำเชิญ
๐ คนดี มีศีล มีธรรม
ไม่นำ มากล่าว สรรเสริญ
คนดี ไม่มี ที่เดิน
ถูกเมิน ว่าโง่ งมงาย
๐ คนดี ถูกเขา เอาเปรียบ
หยามเหยียบ ไร้ซึ่ง ความหมาย
สังคม นับวัน กลับกลาย
มากมาย ด้วยเล่ห์ ลมลวง
๐ ศีลธรรม หากไม่ กลับมา
โลกา นี้น่า เป็นห่วง
เพราะว่า มนุษย์ ทั้งปวง
หลอกลวง คดโกง ฆ่ากัน
๐ ทุกคน จะเห็น แก่ตัว
เมามัว แก่งแย่ง แข่งขัน
ไม่มี น้ำใจ ให้กัน
โลกนั้น คงดับ ลับลง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม....
...๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

93


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๙...

...อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
เพียงน้อยนิด ถ้าจิตขาด การพิจารณา
เผลอสติเข้าไปปรุงแต่งคล้อยตาม
อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันเหมือนกับ
การไปเพิ่มกำลังให้มัน เพลิดเพลิน
ไปกับการปรุงแต่งเหล่านั้นที่เป็น
อกุศลจิต มันก็ก่อให้เกิดการสร้างภพ
สร้างชาติใหม่ขึ้นมา ไม่รู้จักจบสิ้น
เพราะการปรุงแต่งทำให้มีทำให้เป็นนั้น
...เราจึงควรมีสติรู้เท่าทันอารมณ์
ที่เกิดขึ้นทั้งหลาย พิจารณาแยกแยะ
ออกให้ได้ ถึงความเป็นกุศลจิตและ
ความเป็นอกุศลจิต เห็นคุณ เห็นโทษ
เห็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ของ
อารมณ์เหล่านั้น ตามดูตามรู้ให้ทัน
ในความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ด้วยการ
เจริญสติพิจารณา ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

94


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๘...

...ชีวิตแต่ละวันที่ผ่านไปเหมือนไม่ได้
ปฏิบัติธรรม เพราะใช้ชีวิตและทำงาน
ตามปกติ ไม่ได้นั่งสมาธิหรือเดินจงกรม
จนมีพระและโยมมาถามว่า...
...ท่านเอาเวลาไหนไปปฏิบัติธรรม..?
ซึ่งได้ตอบเขาเหล่านั้นไปว่า "เอาเวลา
ที่มีสติไปปฏิบัติธรรม เมื่อเรามีสติ
และสัมปชัญญะอยู่กับกาย อยู่กับจิต
อยู่กับความคิด อยู่กับการกระทำ
นั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม
...เหมือนดั่งคำของหลวงพ่อพุทธทาส
ที่ท่านกล่าวไว้ว่าการทำงานคือการ
ปฏิบัติธรรม เพราะว่าการมีสติและสัมปชัญญะ คุ้มครองกายและจิต
มีการระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
อยู่ตลอดเวลา มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาปคอยควบคุม
ความคิดและการกระทำ รู้เท่าทัน
ในปัจจุบันธรรม...
๐ วันเวลา ผ่านไป ให้ครวญคิด
ความพลาดผิด ประมาท และพลาดพลั้ง
ขาดสติ ไม่สำรวม ไม่ระวัง
ไม่ยับยั้ง ชั่งใจ ในสิ่งควร
๐ คิดว่าเรื่อง เล็กน้อย จึงปล่อยทิ้ง
แท้ที่จริง สิ่งนั้น มันมีส่วน
เพราะขาดการ ไตร่ตรอง และใคร่ครวญ
ทุกสิ่งล้วน เป็นเหตุ และปัจจัย
๐ กิเลสนั้น มันเกิด ขึ้นที่จิต
จงพินิจ ตรวจดู แล้วแก้ไข
เพ่งให้รู้ ดูให้เห็น ความเป็นไป
ว่าสิ่งไหน เกิดก่อน ให้ถอนวาง
๐ เพราะหลักธรรม แท้จริง อยู่ที่จิต
ควรพินิจ ดูจิต อย่าทิ้งห่าง
ให้รู้จัก ตัวตน ให้ถูกทาง
แล้วละวาง อัตตา เข้าหาธรรม
๐ จงยินดี ในเพศ สมณะ
สภาวะ ของตน ทุกเช้าค่ำ
ก้าวเดินไป ในกรอบ ที่ชอบธรรม
กุศลนำ ทางสุข ให้ทุกคน
๐ ไม่กังวล ยึดถือ คือวิหาร
ธรรมประสาน นำมา ซึ่งเหตุผล
เพราะยึดถือ ยึดติด จิตกังวล
จึงสับสน วุ่นวาย ไม่ละวาง
๐ คิดเท่าไหร่ เท่าไหร่ ก็ไม่รู้
จึงต้องดู ความคิด ด้วยจิตว่าง
เมื่อหยุดคิด จึงจะรู้ สู่เส้นทาง
ก่อนละวาง ต้องรู้ ดูให้จริง
๐ คือหลักธรรม คำสอน แต่ก่อนเก่า
นำมาเล่า ขยาย เป็นหลายสิ่ง
เพื่อบอกเล่า เรื่องราว แห่งความจริง
สรรพสิ่ง คือธรรม ที่นำทาง...
..............................
...คติธรรมหลวงปู่ดุลย์ อตุโล...

" กิเลสทั้งหมดเกิดรวมที่จิต ให้เพ่งมอง
ดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน "

" หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือจิต ให้กำหนด
ดูจิต ให้เข้าใจจิตตนเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจ
จิตตนเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั้นแหละได้แล้ว
ซึ่งหลักธรรม "

" การไม่กังวล การไม่ยึดติด นั่นแหละคือ
วิหารธรรมของนักปฏิบัติ "

" ภิกษุเรา ถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะ
ของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น
ถ้าตนอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น
ภาวะอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป
หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั้นคือ
ภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น
ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข "

" คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิด
จึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด "

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

95


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๗...

...หลายหลากเรื่องราวที่ได้รับรู้
เก็บเพียงสิ่งที่เป็นสาระบันทึกไว้
ในความทรงจำ สิ่งที่คิดและกิจที่ทำ
ไม่เคยไร้ซึ่งสาระ ผลงานที่ผ่านมา
และกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ...
๐ ยกบทกลอน ก่อนเก่า มาเล่าอ้าง
เป็นแบบอย่าง ให้คิด และศึกษา
คนโบราณ รุ่นเก่า ท่านเขียนมา
มีคุณค่า ควรคิด ให้เข้าใจ
..." วัดจะยืนยง คงอยู่ คู่กับบ้าน
ก็ด้วยการ พัฒนา หาหยุดไม่
วัดโรยร้าง เพราะห่าง ความร่วมใจ
เชิญชวนไป ช่วยวัด พัฒนา
...วัดจะร้าง โรยรา ถ้าถูกร้าง
จะอ้างว้าง ร้างโรย ให้โหยหา
เกิดทุกข์ภัย ไร้ศีล สิ้นเมตตา
ทั้งโลกา พากันทุกข์ ไม่สุขเลย
...วัดไม่ร้าง ช่วยกันสร้าง อย่าร้างวัด
ช่วยเร่งรัด พัฒนา อย่าอยู่เฉย
คอยสอดส่อง ดูแล อย่าละเลย
อย่าวางเฉย ช่วยวัด พัฒนา
...วัดจะดี มิใช่ดี ที่โบสถ์สวย
หรือร่ำรวย ด้วยทรัพย์ แสวงหา
วัดจะดี เพราะพระเณร มีศรัทธา
ภาวนา รักษาศีล เคร่งวินัย
...วัดจะดี มีหลักฐาน ชาวบ้านช่วย
บ้านจะสวย ก็เพราะวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลักกันช่วย จึงอวยชัย
หากขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง "....
๐ คือบทกลอน สอนใจ ให้ครวญคิด
ให้พินิจ เอามา เป็นแบบอย่าง
ช่วยให้วัด พัฒนา อย่าลาร้าง
ช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ นำสิ่งดี
๐ ความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ
จะทำให้ สำเร็จ เสร็จทุกที่
ชุมชนใด มีความรัก สามัคคี
ก็จะมี ชื่อเสียง ขจรไกล
๐ ต้องช่วยกัน ประสาน บ้านและวัด
อย่าให้ขัด จงช่วย กันแก้ไข
โลกและธรรม บ้านกับวัด คู่กันไป
จงร่วมใจ ร่วมทำ ในกรรมดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

96


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๖...

...การเดินทางของชีวิตนั้น มันเป็น
เรื่องของกรรมเก่าในอดีตชาติและ
กรรมใหม่ในชาตินี้ที่เราได้กระทำมา
ดั่งที่ได้กล่าวไว้เสมอว่า...
...ไม่ใช่โชคชะตาหรือว่าฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตของสวรรค์หรือพรหมนั้น
ท่านบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพาน
นั้นล้วนเกิดมาจากกรรม...
...กรรมที่เป็นกุศลก็จะส่งผลไปสู่
สิ่งที่ดีงาม ส่วนกรรมที่เป็นอกุศล
ย่อมส่งผลให้ตกต่ำ เมื่อเรายอมรับ
ในเรื่องกฎแห่งกรรม มีความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาป เราก็จะไม่สร้าง
กรรมที่เป็นอกุศล ชีวิตก็ย่อมจะพ้น
จากอบายภูมิ....

...ในบางครั้ง ท้อแท้ และเบื่อหน่าย
ความวุ่นวาย ที่ได้ ไปพบเห็น
ความอยากมี อยากได้ และอยากเป็น
สิ่งที่เห็น ล้วนเป็น สิ่งมายา
...อยากจะหลบ ให้ไกล ไปให้พ้น
เบื่อผู้คน เบื่อกิเลส เบื่อปัญหา
และเบื่อความ วุ่นวาย ที่ตามมา
นิพพิทา เบื่อหน่าย ในรูปนาม
...แต่เมื่อมี สติ ระลึกรู้
และตามดู ตามเห็น ไม่มองข้าม
ดูอารมณ์ แล้วพินิจ เฝ้าติดตาม
เห็นรูปนาม เกิดดับ ธรรมดา
...เห็นถึงความ ไม่เที่ยง ของทุกสิ่ง
เห็นความจริง ว่ามันเป็น เช่นนั้นหนา
พระไตรลักษณ์ คือหลัก แห่งธรรมา
เกิดขึ้นมา ตั้งอยู แล้วดับไป
...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันเป็นมา ทุกยุค ทุกสมัย
และก็ยัง สืบต่อ อยู่เรื่อยไป
ต้องฝึกใจ ให้ยอมรับ กับความจริง
...โจทย์คือทุกข์ ให้เรา ได้ศึกษา
ถึงที่มา และที่ไป ในทุกสิ่ง
ค้นหาเหตุ ที่เป็นไป ในความจริง
เห็นในสิ่ง ที่เป็นเหตุ ให้เกิดมา
...เห็นที่เกิด แล้วเข้าใจ ในทุกขัง
อนิจจัง ความไม่เที่ยง คือปัญหา
ไม่สามารถ บังคับได้ อนัตตา
รู้ที่มา เห็นที่ดับ สลับกัน
...เห็นซึ่งทุกข์ สมุทัย และนิโรธ
เห็นทุกข์โทษ เห็นภัย ในสิ่งนั้น
เห็นมรรคา ทางไป ให้แก่มัน
จิตก็พลัน สงบ พบความจริง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

97


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๕...

...ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ล้วนมีที่มาและ
มีที่ไป มีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีการเสื่อมสลาย
ไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้
นานตลอดไป บุคคลจึงควรทำใจ
ให้รับกับสภาพที่จะแปรเปลี่ยนไป
ทั้งหลายนั้นให้ได้ อย่าไปยึดติดกับ
สิ่งเหล่านั้นจนมากเกินไปกับภาพ
แห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมา
เพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป
สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม
ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยน
แปลงไปไม่ได้
...เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อม
เป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์
คือความไม่เทียงแท้ ที่นำมาให้เกิด
ความทุกข์ทั้งหลาย เพราะไม่อาจจะ
เข้าไปยึดถือให้มันคงสภาพอยู่เช่นเดิม
ตลอดไปได้ เพราะทุกอย่างย่อมจะ
เปลี่ยนแปลงไป ไม่มากไม่น้อยตาม
ระยะเวลา...

...กาพย์ยานี ๑๑ กระทู้ธรรม...
...รวี..........ที่เคยร้อน
มาเย็นอ่อนเพราะแสงธรรม
...สัจจะ......ยังคงนำ
ในความคิดมิเปลี่ยนแปลง
...ผู้ที่.........เคยรู้จัก
ย่อมตระหนักในความแรง
...ลดละ......เมื่อพบแสง
ความสว่างในทางธรรม
...อัตตา......คือทิฏฐิ
ที่ดำริให้ตกต่ำ
...ความชั่ว...เข้าครอบงำ
เพราะตัณหานั้นพาไป
...ความเลว...ที่พลาดผิด
เกิดจากจิตที่หลงใหล
...ทั้งหลาย...เกิดจากใจ
ไม่มีธรรมมานำทาง
...ขอบคุณ...ศาสนา
ที่นำพาแสงสว่าง
...ธรรมะ......สอนละวาง
ออกจากห้วงแห่งวังวน
...ช่วยเตือน..จิตสำนึก
ความรู้สึกและเหตุผล
...สติ..........รู้ทั่วตน
ก้าวเดินไปในสายธรรม...
...รวีสัจจะผู้ที่ลดละอัตตา
ความชั่วความเลวทั้งหลาย...
...ขอบคุณธรรมะช่วยเตือนสติ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

98


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๔...

...ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรม แต่ที่ไม่เที่ยง
และไม่ใช่ตัวตน คือการปรับใช้ที่ต้องแปร
เปลี่ยนไป เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและ
ปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่ ซึ่งถ้าเราไม่รู้จัก
ปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น
" สีลัพตปรามาส " คือการยึดถือในข้อวัตร
ที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการ
ยึดถือเพราะอัตตา ซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฏฐิ
คือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป
...พุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาของเหตุและผล
ซึ่งจะพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่ศาสนา
ที่เป็นเรื่องของศรัทธา ที่สอนให้เชื่อแต่เพียง
อย่างเดียว ซึ่งมีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงไว้แก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม
คือ " กาลามสูตร " อันเป็นหลักแห่งความเชื่อ
ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็นจริง ถึงคุณถึงโทษ มีประโยชน์หรือไม่มี
ประโยชน์ ดีหรือไม่ดีก่อนเชื่อ...
...มีหลายหลาก มากมาย หลายความคิด
เพราะต่างจิต ต่างใจ ในทุกที่
เมื่อหลายคน หลายเรื่อง จึงได้มี
ความพอดี พอประมาณ สานสัมพันธ์
...ต้องรู้เขา รู้เรา เอาทุกอย่าง
เป็นแนวทาง มาคิด จิตสร้างสรรค์
ให้สังคม อยู่ด้วย และช่วยกัน
ไม่แบ่งชั้น แบ่งกลุ่ม ให้กลุ้มใจ
...ปริสัญ ญุตา มาเป็นหลัก
คือรู้จัก ชุมชน เริ่มต้นใหม่
รู้บุคคล รู้จักที่ ว่าอย่างไร
ให้เข้าใจ บุคคล ในสังคม
... รู้นิสัย รู้ใจ รู้ความคิด
และรู้จิต รู้ใจ ให้เหมาะสม
ทำในสิ่ง ที่เขาชอบ และชื่นชม
ประสานสม สังคม เป็นหนึ่งเดียว
...ให้เกิดความ ร่วมแรง และร่วมใจ
ให้ทุกคน นั้นได้ มีส่วนเกี่ยว
ให้เกิดความ รักใคร่ และกลมเกลียว
อย่าโดดเดี่ยว เพราะถือตัว และถือตน
...เอาหลักธรรม นำมา ประกอบใช้
และให้ใจ ใฝ่ธรรม ไปทุกหน
ระลึกรู้ ตั้งใจ ไม่กังวล
คือฝึกฝน เอาธรรม มานำทาง
...ธรรมนั้นอยู่ คู่โลก มานานแล้ว
เอาเป็นแนว ให้เห็น เป็นแบบอย่าง
เพื่อฝึกจิต ฝึกใจ ให้ละวาง
ฝึกให้ว่าง จากอัตตา และตัวตน
...รู้จักโลก รู้จักธรรม นำมาใช้
ให้เป็นไป โดยชอบ ในกุศล
รู้จักโลก รู้จักธรรม แล้วทำตน
ให้หลุดพ้น จากโลก ที่วุ่นวาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

99


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๓...

..." ชีวิตคือการทำงาน การทำงาน
คือส่วนหนึ่งของชีวิต " ชีวิตต้อง
ดำเนินไปตามกระแสของกรรม
ทุกคนเกิดมาต่างมีภาระหน้าที่
และบทบาทที่แตกต่างกัน ตามที่
กรรมเก่าได้จัดสรรมา เป็นไปตาม
เหตุและปัจจัย ซึ่งที่มานั้นเราไม่
สามารถที่จะแก้ไขได้ เพราะมันเป็น
เรื่องของอดีตที่ผ่านมาแล้ว
...แต่เรื่องราวในอนาคตนั้น เราสามารถ
ที่จะกำหนดได้ โดยการสร้างเหตุ
และปัจจัยในวันนี้ ดำเนินชีวิตไปตาม
บทบาทและหน้าที่ของเราที่มีให้
สมบูรณ์ ทำในสิ่งที่ไม่เป็นภัยต่อชีวิต
ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรม
กฎหมายและประเพณีที่ดีงาม
เดินตามอริยมรรคอันมีองค์๘
ตามสถานะและสภาวะของเรา
...การทำงานทุกอย่างนั้นคือการ
ปฏิบัติธรรม ถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะ
ในการทำงาน " ทำงานทุกชนิดด้วย
จิตว่าง " คือคำกล่าวสอนของหลวงพ่อ
พุทธทาส ความว่างนั้นคือว่างจาก
อกุศลจิต ว่างจากอัตตา " ความเป็น
ตัวกูของกู " ดำเนินชีวิตทำงานไป
ตามมรรคองค์๘ ความเป็นสัมมา
ทั้งหลาย ชีวิตนั้นจึงไม่เคยว่าง
จากการทำงาน ทั้งทางกายและทางจิต
...ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่
ชีวิตนั้นไม่เคยว่างจากการงาน
" เป็นความว่างจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่ไม่เคยว่างจากภารกิจและหน้าที่
ที่ต้องกระทำ ไม่เคยว่างจากการ
เจริญสติ แต่ว่างจากอกุศลจิตทั้งหลาย "...

๐ โลกยังกว้าง ทางยังไกล ให้เรียนรู้ ๐
...ออกรอนแรม ท่องไป ในโลกกว้าง
เห็นหลายอย่าง มากมาย ในโลกนี้
ทั้งที่เป็น ความชั่ว และสิ่งดี
ทุกอย่างมี ให้พบเห็น เป็นธรรมดา
...ทุกอย่างล้วน มีคุณ และมีโทษ
มีประโยชน์ ถ้าพินิจ และศึกษา
มองให้เห็น ที่ไป และที่มา
จะรู้ว่า ทุกสิ่งนี้ ล้วนมีคุณ
...อย่ารีบด่วน ตัดสินใจ ปฏิเสธ
ควรหาเหตุ วิเคราะห์ มาเกื้อหนุน
เอาเหตุผล มาพินิจ คิดเป็นทุน
ลองคิดหมุน กลับไป และกลับมา
...รู้ทั้งนอก ทั้งใน กายใจจิต
หมั่นพินิจ วิเคราะห์ และศึกษา
เสริมสร้างภูมิ ต้านทาน ทางปัญญา
ภาวนา เพิ่มสติ ใช้ตริตรอง
...อย่ารีบเชื่อ ทันที ที่ได้เห็น
มันจะเป็น งมงาย ไร้สมอง
ควรฝึกหัด ทบทวน และทดลอง
อย่าไปมอง ด้านเดียว มันไม่ดี
...ปฏิเสธ ทันที เสียโอกาส
อาจจะพลาด โอกาสไป ในทุกที่
เชื่อทันที ก็จะไม่ ส่งผลดี
ควรจะมี การวิเคราะห์ ใช้ปัญญา
...ควรฝึกหัด ตั้งโจทย์ เพื่อฝึกคิด
ควรตั้งจิต เป็นกลาง เมื่อศึกษา
มองหลายด้าน ให้เห็น ด้วยปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
...ในปัญหา ทุกอย่าง มีทางออก
ถ้ารู้นอก รู้ใน และใจนิ่ง
เมื่อจิตว่าง ก็จะเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนเป็น เช่นนั้นเอง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

100


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๒...

...การดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์
อันกว้างใหญ่นั้น ย่อมจะมีความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อกัน
เพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม
เกี่ยวเนื่องกันตามบทบาทและ
หน้าที่ของแต่ละคนแต่ละสังคม
มีความสัมพันธ์กันตามสายโลหิต
เครือญาติ หน้าที่การงาน การศึกษา
ภาษาและท้องถิ่นที่อาศัย ซึ่งทำให้
คนเราต้องรู้จัก ต้องพบปะกัน
มีความสัมพันธ์กันในแต่ละสถานะ
เป็นเครือญาติพี่น้องกัน หรือเป็น
ครูบาอาจารย์และศิษย์ เป็นเจ้านาย
กับลูกน้อง เป็นผู้ปกครองและ
ผู้อยู่ใต้อำนาจการปกครอง
เป็นพวกพ้องเป็นเพื่อน หรือเป็น
คนรู้จักกัน มีความสัมพันธ์กัน
ในสังคม สมาคม ชมรมต่างๆ
และคำๆหนึ่ง ซึ่งเรามักจะได้ยิน
อยู่เสมอก็คือคำว่า"เป็นเพื่อนกัน"
ซึ่งคำว่าเพื่อนนั้นมีความหมายที่
ยิ่งใหญ่ เพราะหมายถึงกัลยาณมิตร
คือผู้ที่คิดและหวังดีต่อเรา จึงเหมาะ
ที่จะเรียกว่าเป็นเพื่อน เพราะถ้ามิใช่
" กัลยาณมิตร " แล้ว คงเป็นได้เพียง
" คนรู้จักกัน " หรือ " คนคุ้นเคยกัน "
เป็นได้เพียงเท่านั้น
...เราคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
" มีอะไรให้ผมรับใช้ บอกได้เลย "
หรือ " มีปัญหาอะไรบอกผมได้ "
จากคนที่รู้จักกันอยู่เสมอ ซึ่งมักจะ
เป็นคำพูดในธรรมเนียมปฏิบัติตาม
มารยาทของคนที่พึ่งจะรู้จักกัน
แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อในยาม
ที่มีปัญหาเกิดขึ้นมาจริงๆแล้ว
มีน้อยมากที่จะพึ่งพาอาศัยได้
ในยามที่เราล้มเหลว ผิดพลาด
หมดอำนาจวาสนาบารมี ไม่มีสมบัติ
ทรัพย์สินฐานะทางสังคมแล้ว
ไม่มีผลประโยชน์ต่อเขาแล้ว
คำพูดที่เขาได้เคยกล่าวไว้ก็
ลืมหายไป ดั่งคำโบราณที่กล่าว
ไว้ว่า....
"เมื่อมั่งมี มิตรมากมาย มุ่งหมายมอง
เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
เมื่อมอดม้วย มิตรเมิน ไม่มองมา
แม้นมวลมิตร หมูหมา ไม่มามอง"
...แต่ในวิกฤตนั้นย่อมมีโอกาส ในยาม
ที่เรายากไร้หมดอำนาจวาสนาบารมี
มีความผิดพลาดและล้มเหลว เป็นช่วง
เวลาแห่งการพิสูจน์มิตรแท้ พิสูจน์
คำว่าเพื่อน ว่าจะมีใครบ้างที่ยังยืน
เคียงข้างไม่ทอดทิ้งเรา คอยช่วยเหลือ
และปลอบขวัญให้กำลังใจเรา จะมีใคร
สักกี่คนที่ยังเหลืออยู่และเหมาะสม
กับคำว่า " เพื่อน "...

...ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต....
...เรียงร้อย ถ้อยคำ นำกล่าว
เรื่องราว ชีวิต เขียนไว้
เหตุการณ์ ที่ได้ ผ่านไป
แก้ไข ให้ได้ ใจความ
... ใคร่ครวญ ทบทวน นึกคิด
ถูกผิด อย่าได้ มองข้าม
เฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าตาม
ทุกยาม สติ ต้องมี
... สติ ระลึก นึกรู้
ตามอยู่ กับกาย ใจนี้
สติ ที่ฝึก มาดี
บ่งชี้ ในสิ่ง ที่ทำ
... หิระ และโอต-ตัปปะ
ธรรมะ มีค่า เลิศล้ำ
เป็นสิ่ง ที่ควร กระทำ
ตอกย้ำ ถึงความ เป็นคน
... ยอมรับ ในสิ่ง พลาดผิด
ค้นคิด หาซึ่ง เหตุผล
อย่าคิด เข้าข้าง ฝ่ายตน
ฝึกค้น เป็นกลาง วางใจ
...วางใจ นั้นให้ เป็นกลาง
ทุกอย่าง นั้นควร คิดใหม่
ปรับเปลี่ยน ความคิด ภายใน
เปลี่ยนใจ มองโลก แง่ดี
...อย่าโทษ ผู้อื่น ว่าผิด
มองจิต มองกาย เรานี้
ยอมรับ ในสิ่ง ที่มี
ชั่วดี อยู่ที่ เราทำ
...ทุกอย่าง ล้วนเกิด จากจิต
อย่าให้ ความคิด ใฝ่ต่ำ
กิเลส ตัณหา ครอบงำ
จะนำ ไปสู่ อบาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔...

101


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑...

..." ดูก่อน สุภัทธะ ในธรรมวินัยนี้
ถ้ายังมีมรรค อันประกอบด้วย
องค์ ๘ อยู่ตราบใด แม้พระโสดาบัน
พระสกิทาคามี พระอนาคามีและ
พระอรหันต์ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น
ถ้าภิกษุทั้งหลายพากันประพฤติ
ปฏิบัติอยู่โดยชอบ โลกนี้ก็ไม่ว่าง
จากพระอรหันต์ "...

...การปฏิบัติธรรมนั้นคือการทำหน้าที่
ของตนเองให้ดีที่สุด ให้สมบูรณ์ที่สุด
โดยมีสติและสัมปชัญญะที่เป็น
สัมมาทิฏฐิคุ้มครองอยู่ มีการระลึกรู้
และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิต
พยายามน้อมจิตให้เป็นกุศลธรรม
เป็นไปทั้งเพื่อประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ท่าน การทำงานนั้นจึงเป็น
การปฏิบัติธรรม คือทำให้เหมาะสมกับ
สถานะและสภาวะของตน ตามบทบาท
และหน้าที่ ที่ตนนั้นมีอยู่
...ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การไม่รู้จักบทบาท
และหน้าที่ของตนเอง สิ่งที่ตนเองนั้น
ควรกระทำ มันจึงทำให้บกพร่องใน
บทบาทและหน้าที่ของตน เรียกว่า
ธรรมนั้นไม่สัปปายะ คือเลือกธรรมมา
ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับตน เป็นฆราวาส
ผู้ครองเรือน แต่อยากจะปฏิบัติให้
เหมือนพระ ทำให้บทบาทและหน้าที่
ของการเป็นสามี ภรรยานั้นบกพร่องไป
หรือทำให้หน้าที่การงานนั้นเสียหายไป
...ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัส
สอนไว้นั้น มีหลายขั้นหลายตอน
ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งในทางโลก
และในทางธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกัน
โดยสันติสุข ตามกำลังของแต่ละคน
ที่สะสมอบรมมา " ธรรมะนั้นมีมากมาย
ประดุจใบประดู่ลายทั้งราวป่า แต่ตถาคต
มีเวลาที่จะเอามาชี้นำ เพียงกำมือเดียว "
คือความเป็น " อนัตตา " ของธรรม
ทั้งหลายทั้งปวง แปรเปลี่ยนไปเพื่อ
ความเหมาะสม ตามจังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่ บุคคล เป็นไปตาม
เหตุและปัจจัยในขณะนั้น อย่างเช่น
ไตรสิกขา ๓ สำหรับประชาชนคนทั่วไป
อันได้แก่ ทาน ศีล ภาวนาหรือ
ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมะสำหรับ
ฆราวาสผู้ครองเรือน อันได้แก่ สัจจะ
ทมะ ขันติ จาคะ ซึ่งมีให้ศึกษามา
ในพระไตรปิฎก
...ฉะนั้นการเลือกเฟ้นธรรม ที่จะนำมา
ปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาวะสถานะ
ของตนนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะ
ทำให้ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ไม่หลงประเด็น" ไม่เป็นภัยต่อชีวิต
ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรม
อันดีงาม เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วย
กุศล เป็นมงคลต่อชีวิตและสังคม "
นั่นคือสิ่งที่ควรจะศึกษาและนำมา
ปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะ
และสถานะของตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...

102


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๐...

...ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรม แต่ที่ไม่เที่ยง
และไม่ใช่ตัวตน คือการปรับใช้ที่ต้องแปร
เปลี่ยนไป เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและ
ปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่ ซึ่งถ้าเราไม่รู้จัก
ปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น
" สีลัพตปรามาส " คือการยึดถือในข้อวัตร
ที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการ
ยึดถือเพราะอัตตา ซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฏฐิ
คือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป
...พุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาของเหตุและผล
ซึ่งจะพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่ศาสนา
ที่เป็นเรื่องของศรัทธา ที่สอนให้เชื่อแต่เพียง
อย่างเดียว ซึ่งมีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรง
แสดงไว้แก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม
คือ " กาลามสูตร " อันเป็นหลักแห่งความเชื่อ
ไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็นจริง ถึงคุณถึงโทษ มีประโยชน์หรือไม่มี
ประโยชน์ ดีหรือไม่ดีก่อนเชื่อ...
...มีหลายหลาก มากมาย หลายความคิด
เพราะต่างจิต ต่างใจ ในทุกที่
เมื่อหลายคน หลายเรื่อง จึงได้มี
ความพอดี พอประมาณ สานสัมพันธ์
...ต้องรู้เขา รู้เรา เอาทุกอย่าง
เป็นแนวทาง มาคิด จิตสร้างสรรค์
ให้สังคม อยู่ด้วย และช่วยกัน
ไม่แบ่งชั้น แบ่งกลุ่ม ให้กลุ้มใจ
...ปริสัญ ญุตา มาเป็นหลัก
คือรู้จัก ชุมชน เริ่มต้นใหม่
รู้บุคคล รู้จักที่ ว่าอย่างไร
ให้เข้าใจ บุคคล ในสังคม
... รู้นิสัย รู้ใจ รู้ความคิด
และรู้จิต รู้ใจ ให้เหมาะสม
ทำในสิ่ง ที่เขาชอบ และชื่นชม
ประสานสม สังคม เป็นหนึ่งเดียว
...ให้เกิดความ ร่วมแรง และร่วมใจ
ให้ทุกคน นั้นได้ มีส่วนเกี่ยว
ให้เกิดความ รักใคร่ และกลมเกลียว
อย่าโดดเดี่ยว เพราะถือตัว และถือตน
...เอาหลักธรรม นำมา ประกอบใช้
และให้ใจ ใฝ่ธรรม ไปทุกหน
ระลึกรู้ ตั้งใจ ไม่กังวล
คือฝึกฝน เอาธรรม มานำทาง
...ธรรมนั้นอยู่ คู่โลก มานานแล้ว
เอาเป็นแนว ให้เห็น เป็นแบบอย่าง
เพื่อฝึกจิต ฝึกใจ ให้ละวาง
ฝึกให้ว่าง จากอัตตา และตัวตน
...รู้จักโลก รู้จักธรรม นำมาใช้
ให้เป็นไป โดยชอบ ในกุศล
รู้จักโลก รู้จักธรรม แล้วทำตน
ให้หลุดพ้น จากโลก ที่วุ่นวาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม....
...๘ ธันวาคม ๒๕๖๔...

103


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๙...

...ในแต่ละวันที่ผ่านพ้นไปนั้น
จะทบทวนใคร่ครวญพิจารณา
ย้อนกลับไป เริ่มจากตั้งแต่
ตื่นนอนมาจนกระทั้งจะนอนใหม่
ว่าเราได้ทำอะไรมาบ้าง อารมณ์
ความรู้สึกเป็นอย่างไร เวลาที่
ผ่านไปใจเราเป็นกุศลหรืออกุศล
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิต
แปรเปลี่ยนไปทั้งในทางกุศล
และอกุศล ให้คะแนนความ
ประพฤติในแต่ละวันที่ผ่านมา
เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าหรือว่า
ความเสื่อมของตัวเรา เพื่อรักษา
ไว้ซึ่งความเพียรของเรา
ความเพียรทั้ง ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นใน
จิตของเรา เรียกว่า"สังวรปธาน"
๒.เพียรพยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ในจิตของเรา เรียกว่า"ปหานปธาน"
๓.เพียรพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้น
ในความคิดในจิตของเรา เรียกว่า
"ภาวนาปธาน"
๔.เพียรพยายามรักษากุศลที่เกิดขึ้น
แล้วในความคิดในจิตของเราไม่ให้
เสื่อมไป เรียกว่า"อนุรักขนาปธาน"
....เป็นความเพียรในมรรคองค์แปด
ที่เรียกว่า"สัมมาวายาโม" คือความ
เพียรชอบ สิ่งนี้เราได้ทำแล้วและจะ
กระทำต่อไป เพื่อให้ทรงไว้ซึ่งความ
เจริญในธรรม....
...แด่ความเคลื่อนไหวที่ทำให้ได้คิด
และได้พิจารณาในธรรม...
...กายพร้อมจิตพร้อม แล้วน้อมเข้าสู่ธรรม...
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ ในสิ่ง ที่เป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ทำให้จริง
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และใจ ที่ไม่นิ่ง
จะทำให้ ไม่เห็น ความเป็นจริง
มองทุกสิ่ง ไม่ชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา มีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ เพราะโลภา
คือตัณหา ความโลภ เข้าครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด จองเวร และจองกรรม
บุญไม่ทำ กรรมจึงเกิด ขึ้นแก่ตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ " ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต ให้รุ่งเรือง "...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ ธันวาคม ๒๕๖๔...

104


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๘...

...บุคคลส่วนใหญ่ไปติดยึดในรูปแบบ
จนเกินไป จึงทำให้คิดว่าการปฏิบัติธรรม
นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ต้องมีเวลาว่าง
ต้องไม่มีภาระอะไร ต้องไปอยู่วัดถือศีล
นุ่งขาวห่มขาวต้องไปไหว้พระสวดมนต์
เดินจงกรมนั่งสมาธิ จึงจะเป็นการ
ปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการเข้าใจที่
คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้องไปทั้งหมด
เพราะว่าไปจดจำเอาสิ่งที่ได้รับรู้และ
สิ่งได้เห็นมา โดยไม่ได้พิจารณาและ
ศึกษาว่าการปฏิบัติธรรมนั้นทำได้
อย่างไรบ้าง...

...คนเหมือนกัน แต่ต่างกัน ที่ความคิด
เพราะว่าจิต พื้นฐาน นั้นแตกต่าง
และมีจุด เริ่มต้น คนละทาง
เกิดช่องว่าง ระหว่างจิต คิดต่างกัน
...ในความเห็น นั้นอาจ จะแตกต่าง
แต่มีทาง ที่จะร่วม สมานฉันท์
แสวงหา ซึ่งจุดร่วม มารวมกัน
จุดต่างนั้น สงวนไว้ ไม่ล้ำกัน
...ควรอ่อนน้อม ถ่อมตน ให้คนรัก
ควรรู้จัก การผูกจิต คิดสร้างสรรค์
ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมแบ่งปัน
สิ่งเหล่านั้น จะผูกมิตร และจิตใจ
...คนโบราณ กล่าวไว้ ให้น่าคิด
คนจะงาม งามที่จิต จึงสดใส
คนจะรวย ก็รวยที่ มีน้ำใจ
คนจะแก่ ใช่แก่วัย มีปัญญา
...สิ่งเหล่านั้น เราท่าน ต่างก็รู้
พบเห็นอยู่ แต่ไม่คิด ถึงเนื้อหา
เพียงผ่านหู ผ่านใจ และผ่านตา
ไม่นำมา พินิจ และคิดตาม
...คนมากมาย ที่รู้ธรรม และเห็นธรรม
แต่ไม่นำ ปฏิบัติ เพราะมองข้าม
เพียงแต่รู้ เพียงแต่เห็น แต่ไม่ตาม
เกิดคำถาม ว่าทำไม ไม่เจริญ
...ไม่เจริญ ในธรรม เพราะจำได้
รู้กันไป แต่ไม่ทำ ก็เคอะเขิน
รู้ท่วมหัว แต่ทำตัว ไม่เจริญ
เพราะรู้เกิน และรู้มาก จึงยากนาน
...รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้จิต
รู้ความคิด ทั้งดีชั่ว รู้แก่นสาร
รู้จังหวะ รู้เวลา รู้เหตุการณ์
รู้ด้วยญาณ นิมิต จิตถึงธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ ธันวาคม ๒๕๖๔...

105


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๗...

...“ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
มันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่
อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมี
กล่าวโทษว่าตัวเรานั้นไม่ดีไม่มีอำนาจ
วาสนา เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น
เท่ากับการสาปแช่งตัวเอง ขาดความ
ศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
ซึ่งมันจะทำให้ มีแต่ความเสื่อมถอย
ไม่มีความเจริญรุ่งเรื่องขึ้นไปได้เลย ”...
... "ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน"
เมื่อความอยากเกิดขึ้น จิตก็ดิ้นรนขวนขวาย
หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้ จิตก็ยินดี
ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว
จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น ความอยากใน
สิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมา
คือ อยากๆเบื่อๆแล้วก็เบื่อๆอยากๆ ตาม
กำลังกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของ
อารมณ์ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุข เพราะเราต้อง
ดิ้นรนขวนขวาย สร้างเหตุหาปัจจัยมาเพื่อ
สนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...
....โลกและธรรม นำชี้ บทชีวิต
ก่อเกิดกิจ เกื้อหนุน เป็นบุญค้ำ
สิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น นั้นเป็นธรรม
เป็นประจำ ในชีวิต คิดใคร่ครวญ
....เพราะธรรมะ นั้นคือ ธรรมชาติ
ตามโอกาส และจังหวะ ตามสัดส่วน
สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด กิจที่ควร
ทุกสิ่งล้วน คือธรรม ตามความจริง
....ธรรมะนั้น อยู่ใกล้ ในชีวิต
ถ้าหากจิต ของเรา นั้นหยุดนิ่ง
ก็จะรู้ และเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนคือธรรม ที่นำพา
....คือความจริง ทั้งหลาย ในโลกนี้
สิ่งที่มี สิ่งที่เห็น ได้ศึกษา
คือความจริง ใช่สิ่งหลอก โลกมายา
หลักธัมมา ธรรมชาติ ที่เป็นไป
....มันคือกฎ ของโลก ที่เป็นอยู่
มันเป็นคู่ กันมา ทุกสมัย
โลกและธรรม คู่กัน นั้นเรื่อยไป
เกิดจากใจ จากจิต ที่คิดจริง
....เมื่อใจรับ ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
พบความหมาย ในชีวิต สรรพสิ่ง
ก็จะเห็น โลกธรรม ตามความจริง
สรรพสิ่ง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต..
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ ธันวาคม ๒๕๖๔...

106


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๖...

...โพชฌงค์ ๗ (องค์ปัญญาตรัสรู้)
อันประกอบด้วย..
๑.สติ...การระลึกรู้
๒.ธัมมวิจยะ...การเลือกเฟ้นธรรม
๓.วิริยะ...ความเพียรพยายาม
๔.ปิติ...ความเอิบอิ่ม
๕.ปัสสัทธิ...ความสงบอิ่มใจ
๖.สมาธิ...ความตั้งใจมั่น
๗.อุเบกขา...วางเฉยอย่างมีสติกำกับ
....สติ....
๐ สติระลึกรู้ การตั้งอยู่ของกายใจ
สิ่งที่ได้ทำไป จงครวญใคร่ระลึกตาม
ถูกผิดคิดรอบคอบ สิ่งใดชอบจึงทำการ
เตือนตนตลอดกาล ให้ชำนาญอย่าหลงลืม...
....ธัมมวิจยะ....
๐ ธัมมวิจยะ เลือกธรรมะให้เหมาะสม
อย่าตามค่านิยม ของสังคมที่เห่อกัน
เหมาะสมกับจริต และดวงจิตศรัทธามั่น
ก้าวหน้าทุกคืนวัน ธรรมะนั้นเหมาะกับเรา...
....วิริยะ....
๐ ความเพียรวิริยะ ไม่ปล่อยปละศรัทธามั่น
ทำอยู่ทุกคืนวัน ศรัทธามั่นเร่งความเพียร
เพียรชอบประกอบกิจ อย่าให้จิตนั้นผิดเพี้ยน
ศึกษาและเล่าเรียน ให้แนบเนียนเพียรใฝ่ดี...
.....ปีติ.....
๐ เมื่อจิตนั้นสงบ ก็จะพบกับปิติ
เกิดจากสมาธิ และดำริกุศลธรรม
เอิบอิ่มในอารมณ์ ได้ชื่นชมบุญหนุนนำ
สดชื่นในทางธรรม กุศลกรรมนำทางดี...
.....ปัสสัทธิ....
๐ ผ่านพ้นจากปิติ ปัสสัทธิย่อมตามมา
อิ่มใจสุขอุรา มีธัมมาคุ้มครองใจ
อิ่มใจในความสุข ไม่มีทุกข์จิตแจ่มใส
นิ่งอยู่ ณ ภายใน เอิบอิ่มใจในธัมมา...
.....สมาธิ.....
๐ เอิบอิ่มแล้วสงบ ก็จะพบสมาธิ
จิตนั้นหยุดดำริ มีสติคุ้มกายา
ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว สงบในจิตวิญญา
สติเป็นสัมมา จะนำพาไม่ผิดทาง...
....อุเบกขา....
๐ จิตมีอุเบกขา หยุดไขว้คว้าแล้ววางเฉย
สติไม่ละเลย เพราะวางเฉยด้วยปัญญา
วางเฉยละปรุงแต่ง จิตไม่แกว่งแสวงหา
รู้เห็นด้วยปัญญา องค์ธัมมาสัมโพชฌงค์...
...แด่การพิจารณาโพชฌงค์ ๗ องค์ปัญญาตรัสรู้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ ธันวาคม ๒๕๖๔...

107


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๕...

...โศลกธรรมนำสู่บทกวี...
...เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่
อยู่ภายในนั้นชัดเจน
แต่ถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่
ก็เห็นได้ไม่ชัดเจน
เปรียบกับจิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง
หยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด
เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว
ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกาย
และจิตของผู้อื่นเช่นกัน ...
๐ น้อมธรรม นำมา พินิจ
ทำจิต ของเรา ให้ว่าง
เอาธรรม มาเป็น แนวทาง
เพื่อสร้าง ผลงาน กวี
๐ ธรรมะ เกิดขึ้น ในจิต
ลิขิต ตามธรรม นำชี้
เรียบเรียง อักษร วลี
ตามที่ รู้เห็น เข้าใจ
๐ น้อมจิต พินิจ ในธรรม
ดื่มด่ำ ธรรมะ ลื่นไหล
โศลก แห่งธรรม นำไป
รู้ได้ ด้วยธรรม นำพา
๐ ความจำ ใต้จิต สำนึก
ส่วนลึก ถูกปลุก ขึ้นมา
ก่อเกิด กำลัง ศรัทธา
ที่มา ของบท กวี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๓ ธันวาคม ๒๕๖๔...

108


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๔...

...ในการที่จะเผยแผ่ธรรมะนั้น
เราต้องศึกษาทำความเข้าใจกับ
ชุมชนที่เราอยู่อาศัยและชุมชนที่
เราจะไป อย่าได้เข้าไปทำลายลบล้าง
ความเชื่อหรือประเพณีที่เขาเคยมี
เคยกระทำมาในทันทีอย่างที่สุภาษิต
โบราณที่ท่านว่า..." อย่าหักด้ามพร้า
ด้วยหัวเข่า "เพราะเราจะได้รับ
การต่อต้านและความรู้สึกที่เป็น
อคติจากชุมชนนั้นๆ
...เราต้องสร้างความคุ้นเคย ความศรัทธาให้เขาเชื่อถือและยอมรับ
ในตัวเราเสียก่อน พยายามสอดแทรกธรรมะเข้าไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว
ว่ากำลังถูกสอน ซึ่งต้องใช้ความ
อดทนและความพยายามในการ
กระทำเป็นอย่างสูง...
...ถนนแห่งชีวิต...
...ถนน...
คือเส้นทางที่นำไปสู่จุดหมาย
มีอยู่มากมายหลายเส้นทาง
ให้คุณเลือกใช้ในการเดินทาง
มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือก
ว่าคุณจะใช้เส้นทางไหนในการเดินทาง
เพราะทุกอย่างนั้นมันขึ้นอยู่กับใจคุณ
...ถนน...
แต่ละสายนั้นแตกต่างกัน
ตรงบ้างโค้งบ้างกว้างบ้างแคบบ้าง
สภาพสองข้างทางนั้นแตกต่างกัน
อยู่ที่เรานั้นจะเก็บเกี่ยวเรื่องราว
นำมาบอกเล่าเป็นตำนานของการเดินทาง
ทุกก้าวย่างอย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
...ถนน....
คือเส้นทางแห่งชีวิต
ที่คุณลิขิตชีวิตให้ก้าวเดิน
ซึ่งคุณนั้นสามารถจะเลือกเดินได้
อย่าให้ผู้อื่นมากำหนดอนาคตของคุณ
อย่าเอาชีวิตไปผูกติดกับความคิดของผู้อื่น
จงมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวของคุณเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒ ธันวาคม ๒๕๖๔...

109


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๓...

...หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ว่า
ชีวิตคือการทำงาน เพราะการทำงาน
อย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรม
น้อมนำเอาคำสอนนั้นมาปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวัน ดำเนินชีวิตด้วย
การทำงานทั้งทางภายนอกและ
ภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติ
และสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
พิจารณาให้เห็นความเป็นจริง
ของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้
ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริง
ในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้
และเข้าใจในความเป็นไปของ
สิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเห็นเหตุ
และปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลัง
เกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้
ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลาย
ก็หายไปสิ้นไป
...อดีตคือความทรงจำที่ผ่านมา
ปัจจุบันคือความเป็นจริงสิ่งที่
กำลังตั้งอยู่ อนาคตคือความฝัน
และจินตนาการเป็นสิ่งที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น คือคำพูดและโวหาร
ในเชิงกวีที่ได้กล่าวกันมาแต่โบราณ
แต่ในความเป็นจริงในชีวิตนั้น
...จงทำจิตให้หยุดคิดสงบนิ่ง
แล้วขจัดความคิดอกุศลสิ่งที่
เป็นขยะของอารมณ์ออกไป
คงเหลือไว้แต่สิ่งที่เป็นกุศล
สิ่งที่ดีมีสาระและมีประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นทุกข์ เป็นภัยและ
เป็นโทษต่อกุศลทั้งหลาย เพื่อให้
มีความเจริญในกุศลธรรมเพิ่มพูน
ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ ธันวาคม ๒๕๖๔...

110


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๒...

...ก่อนที่จะให้บุคคลอื่นมาศรัทธา
ในตัวของเรานั้น จงมองย้อนกลับ
มาที่ตัวของเรา ว่าตัวของเรานั้น
มีอะไรที่จะให้บุคคลอื่นเขาศรัทธา
แล้วหรือไม่และเรานั้นศรัทธาในตัว
ของเราแล้วหรือยัง มีอะไรบ้างที่เรา
ได้สร้างไว้กระทำไว้ ให้เป็นอนุสรณ์
เตือนใจ ให้คนรุ่นหลังระลึกถึงคุณงาม
ความดีในสิ่งที่เรานั้นได้ทำไว้และ
สังคมทั่วไปยอมรับศรัทธาในสิ่งนั้น
ไม่ใช่การคิดเข้าข้างตนเองว่าสิ่งที่
เราได้ทำไปนั้นมันมีคุณค่า แต่สังคม
ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ตัดสินในสิ่งนั้น...
...ในส่วนลึกของจิตของทุกคนนั้น
ล้วนแต่อยากจะเป็นคนดี อยากจะทำ
ความดี แต่คนส่วนใหญ่ได้แต่คิด
แต่ไม่กล้าที่จะทำ เพราะว่าขาด
ความมั่นใจและความศรัทธาใน
ตนเอง จึงต้องให้มองย้อนกลับไป
ว่าในชีวิตที่ผ่านมานั้น มีอะไรบ้าง
ที่เราได้ทำลงไปและสิ่งนั้นมันเป็น
ความภาคภูมิใจของเรา เมื่อเราได้
คิดถึงสิ่งนั้นครั้งใดทำให้ใจเรามี
ความสุขและมีความภาคภูมิใจ
สิ่งที่คิดนั้นคือการปลุกศรัทธา
ความเชื่อมั่นให้กับตัวเรา...

...เพียงแสงเทียนที่ส่องทาง...

๐ เป็นเพียงเทียน แท่งหนึ่ง ซึ่งส่องแสง
ไม่คิดแข่ง เทียบเคียง พระอาทิตย์
แสงสว่าง เพียงรำไร อยู่น้อยนิด
แด่มวลมิตร ระหว่างทาง ที่ย่างเดิน

๐ เพราะศรัทธา เชื่อมั่น จึงฟันฝ่า
มอบให้มา จากใจ ไม่ห่างเหิน
กวีธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
ขอชวนเชิญ มาร่วมสร้าง เส้นทางธรรม

๐ หนึ่งแรงเทียน แสงนั้น อาจจะน้อย
แต่ถ้าร้อย แรงเทียน มีค่าล้ำ
มาร่วมจิต ร่วมคิด และร่วมทำ
กุศลกรรม ให้ชีวิต มีทิศทาง

๐ ความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ
จะทำให้ โลกมี แสงสว่าง
ลบความมืด ความคิด ที่ผิดทาง
เป็นแบบอย่าง ให้เห็น เป็นของจริง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

111


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๑...

๐ ธรรมจากหลวงพ่อชาแห่งวัดหนองป่าพง ๐
" เราเคยเรียนธรรมะในกระดาษ
รู้ธรรมะตามกระดาษ สอบความรู้
ในกระดาษและท่านก็รับรองความรู้
ด้วยกระดาษ ซึ่งเราเคยผ่านมาแล้ว
เมื่อเรามาปฏิบัติก็จะทราบได้เอง
ว่า ธรรมะที่เกิดจากสัญญา (เรียน
จำได้) กับธรรมะที่เกิดจากการภาวนา
มันต่างกันมากอยู่ มันมีความหมาย
ละเอียดต่างกัน...
...มันเหมือนกับคนหนึ่งมีรูปม้า
หลายๆแผ่น อีกคนหนึ่งมีม้าอยู่
ตัวเดียว ถึงคราวออกเดินทาง
คนที่มีม้าตัวเดียวยังดีกว่าคนที่
มีรูปม้าหลายแผ่น เพราะอันหนึ่ง
มันใช้ได้ อันหนึ่งใช้ไม่ได้ เรื่องนี้
ผู้มาประพฤติปฏิบัติย่อมรู้เองได้
ไม่ใช่เรื่องบอกกัน "...

...กวีธรรมชี้ทางสร้างกุศล...
...เป็นไปตาม วิถี แห่งชีวิต
นั้นคือกิจ ที่ทำ ตามวิถี
ตามจังหวะ โอกาส ที่พึงมี
ทำหน้าที่ ของเรา ให้สมบูรณ์
...ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
เป็นแนวทาง วางไว้ ไม่เสื่อมสูญ
ตามสติ กำลัง ให้เพิ่มพูน
เพื่อเกื้อกูล ธรรมวินัย ใจศรัทธา
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
เปลี่ยนมุมมอง ความคิด จิตค้นหา
รักษาจิต รักษาใจ ใช้ปัญญา
หมั่นศึกษา ธรรมวินัย ใจใฝ่ธรรม
...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
และไม่น้อม นำจิต คิดใฝ่ต่ำ
สิ่งไม่ดี ทั้งหลาย อย่าไปทำ
อย่าถลำ ในทางชั่ว ด้วยมัวเมา
...จงมีความ ละอายใจ ในสิ่งผิด
ไม่ควรคิด ปรุงแต่ง อย่างโง่เขลา
ทำร่างกาย จิตใจ ให้โล่งเบา
จงเก็บเอา แต่สิ่งดี ที่มีคุณ
...จงภูมิใจ ในสิ่งดี ที่ได้สร้าง
บนหนทาง ผ่านมา ได้เกื้อหนุน
จงมีใจ เมตตา เกื้อการุญ
จงสร้างบุญ สิ่งกุศล บนหนทาง
...ทำชีวิต วันนี้ ให้มีค่า
วันข้างหน้า อาจไม่มี ที่จะสร้าง
ชีวิตนี้ อาจไม่ยาว อย่างที่วาง
จงรีบสร้าง รีบทำ กรรมที่ดี
...สร้างคุณค่า ราคา ให้ชีวิต
นั่นคือกิจ ที่ต้องทำ ในวันนี้
บุญกุศล คือหนทาง สร้างความดี
ชีวิตนี้ คุณมี แล้วหรือยัง
...จงทบทวน ชีวิต ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า อะไร ไว้เบื้องหลัง
สิ่งเหล่านี้ คุณนั้นมี แล้วหรือยัง
มองกลับหลัง ดูว่าตรง หรือหลงทาง
...ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
ไม่บกพร่อง ธรรมวินัย ใจสรรค์สร้าง
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นแนวทาง
ทุกสิ่งอย่าง เริ่มที่จิต จงคิดทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

112


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๑๐...

...เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น
ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง
เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฐิ
การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมา
ทุกขณะ นานวันไปมันจะมีมากขึ้น
ยากที่จะแก้ไขได้...
...คนโง่เขลา
จะร่อนเร่ไปแห่งใด
จะดิ้นรนไปถึงไหน
จะแสวงหาสิ่งใด
จะทะยายอยากไปทำไม
...คนโง่เขลา
หลงพอใจกับการเดินทาง
แสวงหาหนทางในโลกีย์สุข
หลงติดกับทุกข์แห่งภาพมายา
...ฉันคือคนโง่เขลา
ที่ผ่านมานั้นฉันหลงทาง
พ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา
ใจนั้นอ่อนแอและอ่อนไหว
ฉันจึงได้เป็นอยู่เช่นนี้
...ฉันคือคนโง่เขลา
เป็นคนโง่เขลาที่ดื้อรั้น
เป็นคนโง่ที่อวดฉลาด
จึงสูญเสียโอกาสอันดีไป
...แต่คงจะไม่สาย
ที่จะปรับปรุงแก้ไข
พรุ่งนี้ ฉันคงจะเห็นความโง่เขลา
ในจิตใจของฉันเพิ่มขึ้น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

113


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๙...

...“ จงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่อย่าได้
มักง่ายในการใช้ชีวิต ” ชีวิตที่เรียบง่าย
นั้นเป็นไปโดยหลักแห่งความพอเพียง
ในการเลี้ยงชีวิต ยังคงทำกิจตามบทบาท
และหน้าที่ของตน มีความอดทน ขยัน
ขันแข็ง มีระเบียบวินัยของชีวิต
เพียงแต่จิตนั้นไม่ทะเยอทะยานอยาก
ฟุ้งเฟ้อไปมากกว่ากำลังของตนเอง
ที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตนั้นมีความสงบสุข
ไม่ทุกข์กับการดิ้นรนเพื่อสนองตอบ
ตัณหาความอยากของตนเอง
...ส่วนการมักง่ายในการใช้ชีวิตนั้น
เกิดมาจากจิตที่เกียจคร้านทอดทิ้ง
ธุระที่ตนนั้นพึงกระทำ ไม่ยอมทำตาม
บทบาทและหน้าที่ของตน ไม่มีความ
ขยันและอดทน เป็นคนไม่มีระเบียบ
วินัยของชีวิต ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น
เพราะไม่มีวิจารณญาณ ต้องการเพียง
ตอบสนองตัณหาความอยากของ
ตนเอง ขาดซึ่งจิตสำนึกต่อส่วนรวม
ทำแต่ในสิ่งเป็นประโยชน์แก่ตน
เพียงอย่างเดียว ถ้าตนไม่ได้รับ
ผลประโยชน์ตอบแทน จะไม่ลงมือ
กระทำ ไม่สนใจสังคมรอบข้างว่า
จะมีผลกระทบอย่างไร จิตใจมักจะ
คับแคบเห็นแก่ตัว
...คนที่ขี้เกียจมักง่ายนั้น มักจะอ้างว่า
ตนเป็นผู้ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่าง
เรียบง่าย เพราะเขาไม่อยากขวนขวาย
ทำกิจของตนที่ต้องพึงกระทำ ดั่งคำ
ครูบาอาจารย์ได้กล่าวสอนไว้ให้
พิจารณา...
...จงอยู่อย่างเรียบง่าย แต่อย่าอยู่
อย่างมักง่าย
...จงพยายามปล่อยวาง แต่อย่าได้
ทอดทิ้งธุระ
...จงพูดแต่สิ่งที่ดี แต่อย่าดีแต่พูด
จงลงมือทำด้วย
...จงอยู่อย่างไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้ซึ่ง
ระเบียบวินัย
...เมื่อมีระเบียบวินัยต่อชีวิต กฎกติกา
ก็ไม่ต้องกำหนด
...ความเจริญในธรรมทั้งหลาย เกิดได้ด้วย
กุศลจิต

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

114


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๘...

...เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้น
ทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น
ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง
เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฐิ
การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมาทุกขณะ
นานวันไปมันจะมีมากขึ้น ยากที่จะแก้ไขได้...
...คนโง่เขลา
จะร่อนเร่ไปแห่งใด
จะดิ้นรนไปถึงไหน
จะแสวงหาสิ่งใด
จะทะยายอยากไปทำไม
...คนโง่เขลา
หลงพอใจกับการเดินทาง
แสวงหาหนทางในโลกีย์สุข
หลงติดกับทุกข์แห่งภาพมายา
...ฉันคือคนโง่เขลา
ที่ผ่านมานั้นฉันหลงทาง
พ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา
ใจนั้นอ่อนแอและอ่อนไหว
ฉันจึงได้เป็นอยู่เช่นนี้
...ฉันคือคนโง่เขลา
เป็นคนโง่เขลาที่ดื้อรั้น
เป็นคนโง่ที่อวดฉลาด
จึงสูญเสียโอกาสอันดีไป
...แต่คงจะไม่สาย
ที่จะปรับปรุงแก้ไข
พรุ่งนี้ ฉันคงจะเห็นความโง่เขลา
ในจิตใจของฉันเพิ่มขึ้น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
......๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

115


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖...

...“ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
มันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่
อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมี
กล่าวโทษว่าตัวเรานั้นไม่ดีไม่มีอำนาจ
วาสนา เพราะว่าการกระทำอย่างนั้น
เท่ากับการสาปแช่งตัวเอง ขาดความ
ศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
ซึ่งมันจะทำให้ มีแต่ความเสื่อมถอย
ไม่มีความเจริญรุ่งเรื่องขึ้นไปได้เลย ”...
... "ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน"
เมื่อความอยากเกิดขึ้น จิตก็ดิ้นรนขวนขวาย
หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้ จิตก็ยินดี
ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว
จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น ความอยากใน
สิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมา
คือ อยากๆเบื่อๆแล้วก็เบื่อๆอยากๆ ตาม
กำลังกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของ
อารมณ์ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุข เพราะเราต้อง
ดิ้นรนขวนขวาย สร้างเหตุหาปัจจัยมาเพื่อ
สนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...
....โลกและธรรม นำชี้ บทชีวิต
ก่อเกิดกิจ เกื้อหนุน เป็นบุญค้ำ
สิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น นั้นเป็นธรรม
เป็นประจำ ในชีวิต คิดใคร่ครวญ
....เพราะธรรมะ นั้นคือ ธรรมชาติ
ตามโอกาส และจังหวะ ตามสัดส่วน
สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด กิจที่ควร
ทุกสิ่งล้วน คือธรรม ตามความจริง
....ธรรมะนั้น อยู่ใกล้ ในชีวิต
ถ้าหากจิต ของเรา นั้นหยุดนิ่ง
ก็จะรู้ และเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนคือธรรม ที่นำพา
....คือความจริง ทั้งหลาย ในโลกนี้
สิ่งที่มี สิ่งที่เห็น ได้ศึกษา
คือความจริง ใช่สิ่งหลอก โลกมายา
หลักธัมมา ธรรมชาติ ที่เป็นไป
....มันคือกฎ ของโลก ที่เป็นอยู่
มันเป็นคู่ กันมา ทุกสมัย
โลกและธรรม คู่กัน นั้นเรื่อยไป
เกิดจากใจ จากจิต ที่คิดจริง
....เมื่อใจรับ ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
พบความหมาย ในชีวิต สรรพสิ่ง
ก็จะเห็น โลกธรรม ตามความจริง
สรรพสิ่ง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต..
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

116


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕...

...ถ้ามีศรัทธาความเชื่อมั่น
ในความดีแล้ว จะทำให้
ไม่ลำบากใจที่จะกระทำ
ในสิ่งที่เป็นบุญกุศล เพราะว่า
ใจของเรานั้นมีความพร้อมที่
จะกระทำ ทุกอย่างเริ่มที่ใจ...
...เมื่อใจของเราสงบลงได้แล้ว
เราจะเห็นถึงสิ่งที่เป็นกุศลและ
อกุศลทั้งหลาย แยกบุญแยกบาป
ได้อย่างชัดเจนและมีกำลัง
ที่จะข่มซึ่งอกุศลทั้งหลาย ไม่ให้
กำเริบเสริบสานมีกำลังมากขึ้นไป...
...ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่และทุกเวลา
เกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมน้อม
เข้ามาสู่ตนเอง คือน้อมเข้ามา
พิจารณาในตัวเอง เมื่อพิจารณา
มากเข้าก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัตตัง
คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ต้องทำเอง
แล้วจะเห็นเองและรู้เองในสิ่งที่ทำ...
...ลมหนาว พัดโชยผ่าน
ฤดูกาล นั้นเปลี่ยนแปลง
แตกต่าง ทุกหนแห่ง
ฤาฟ้าแกล้ง ให้เป็นไป
...ไอหมอก แผ่กระจาย
ลอยเป็นสาย ปกคลุมไพร
ท้องฟ้า ไม่แจ่มใส
มองออกไป ดูพรางตา
...กายหนาว สั่นสะท้าน
แต่ใจนั้น ไม่นำพา
เจริญ ภาวนา
ทุกเวลา ที่รู้ตัว
...ดูกาย และดูจิต
ดูความคิด ดูไปทั่ว
รู้กาย และรู้ตัว
ไม่เมามัว ตามอารมณ์
...รู้ทัน การเกิดดับ
ทุกสิ่งสรรพ ตามเหมาะสม
ให้เกิด ความกลืนกลม
ให้เหมาะสม กับเหตุการณ์
...ศึกษา ปริยัติ
ปฏิบัติ กรรมฐาน
ปฏิเวธ คือผลงาน
เกิดจากการ ภาวนา
...ศีลนั้น คือสติ
สมาธิ ขั้นต่อมา
ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
ไตรสิกขา ที่ต้องทำ
...นั้นคือ กิจวัตร
ปฏิบัติ อยู่ประจำ
ศึกษา ในข้อธรรม
แล้วน้อมนำ กระทำตาม
....เดินตาม เส้นทางธรรม
ไม่ล่วงล้ำ สิ่งเลวทราม
ศีลนั้น ทำให้งาม
เดินก้าวตาม ครูอาจารย์
... แบบอย่าง ในทางพุทธ
บริสุทธิ์ ควรเล่าขาน
แบบอย่าง มีมานาน
ครูอาจารย์ ท่านทำมา
... เรียนรู้ ดูแบบอย่าง
เป็นแนวทาง ให้ศึกษา
สืบต่อ กันเรื่อยมา
ศาสนา พุทธของเรา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

117


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๔...

....ชีวิตเป็นของน้อยนิด ทุกขณะจิต
กำลังเดินไปสู่ความตาย จึงต้องฝึก
วางจิตก่อนตาย ฝึกปล่อยวางธาตุขันธ์
ก่อนตาย ไม่ไปโวยวายตกใจ กลัวกับ
ธาตุขันธ์ที่มันเสื่อมไป ธาตุมันจะแตก
จะดับ ก็เป็นเรื่องของธาตุ มันเป็นเรื่อง
ของธรรมชาติที่ต้องเป็นไป แต่ใจเรานั้น
ไม่ได้ดับ ยังรับรู้และเห็นความเสื่อมของ
ธาตุนั้นอยู่ ที่เราไปโวยวายตกใจกลัวนั้น
ก็เพราะว่าเราเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็น
อุปาทานขันธ์ ซึ่งถ้าเราละวางอุปาทานเสียได้
ไม่เข้าไปยึดถือจนเกินไป ใจเราก็จะสงบ
และไม่เป็นทุกข์กับความเสื่อมไปของธาตุ
ทั้งหลายนั้น เพราะทุกอย่างในโลกนี้
มันเป็นเช่นนั้นเอง คืออยู่ภายใต้กฎของ
พระไตรลักษณ์ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่
และการดับไปนั้น มันเป็นเรื่องของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
...จัดเก็บกุฏิที่พัก แยกหนังสือ สมุดบันทึก
เอกสารให้เป็นหมวดหมู่ พบสมุดบันทึกของ
ปีพ.ศ.๒๕๓๗ ที่เขียนไว้ในช่วงออกเดินธุดงค์
จากภาคใต้ไปภาคเหนือ เลยเปิดอ่านบทกวี
ที่เขียนไว้ในสมัยนั้น เอามาแบ่งปันให้อ่านกัน...
..๓ มี.ค.๒๕๓๗ วันพฤหัสบดี...
...นกขมิ้นเหลืองอ่อน
บินจรร่อนเร่ไปทั่วทุกถิ่น
ไม่อาทรกิ่งคอนเคยหากิน
ท่องไปทั่วถิ่นลำเนาไพร
หัวใจเจ้านั้นอิสระ
ไร้พันธะผูกมัดมารัดไว้
ไร้ซึ่งความห่วงหาและอาลัย
เจ้าบินไปตามจินตนาการ
...ค่ำไหนเกาะคอนนอนที่นั้น
รุ่งแจ้งเจ้าพลันบินลับหาย
ทิ้งคอนเคยนอนพักพิงกาย
ไร้ซึ่งจุดหมายการเดินทาง
ทั่งผืนพฤกษ์ไพรนั้นคือถิ่น
โผบินจากลาเมื่อฟ้าสาง
ไม่เคยยึดติดเจ้าปล่อยวาง
หัวใจเจ้าช่างมีเสรี
...อยากเป็นเหมือนนกที่โผบิน
ทิ้งถิ่นอาศัยไปทุกที่
ท่องไปตามใจที่เสรี
ฉันนี้คือวจีพเนจร...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

118


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๓...

...แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราว
มากมายที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิต
ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะ
สิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้
เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่
มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่ง
ที่เป็นขยะทางความคิด ลบมันไป
ไม่จดจำ ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ
ทบทวนสิ่งผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหน
เป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ
พิจารณาให้เห็นคุณ เห็นโทษ
เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ของเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา
พิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศล
และอกุศล มีสติเตือนตนให้อยู่
ในความไม่ประมาท ไม่ปรุงแต่ง
ในอกุศล ประคองจิตของตน
ให้อยู่ในกุศลธรรม น้อมนำจิต
เข้าสู่ความสงบนิ่ง มองทุกสรรพสิ่ง
ให้เป็นธรรมะ แล้วจะพบสัจธรรม
ของธรรมชาติทั้งหลายในกาย
และจิตของเรา...

๐ สายธาร แห่งศรัทธา
น้อมนำมา สรรพสิ่ง
สัจจะ คือของจริง
แห่งพุทธะ พระสัมมา
๐ เอาธรรม มานำกล่าว
บอกเรื่องราว ที่ค้นหา
บอกผ่าน กาลเวลา
ตามโอกาส ที่พึงมี
๐ สายธาร แห่งสายธรรม
เสนอนำ สู่ความดี
เส้นทาง ที่บ่งชี้
สู่สันติ สงบเย็น
๐ ทบทวน ใคร่ครวญคิด
เพ่งพินิจ เมื่อพบเห็น
สิ่งที่ ควรจะเป็น
ความเหมาะสม และพอเพียง
๐ วางจิต ให้เป็นกลาง
มองทุกอย่าง ไม่ลำเอียง
สิ่งชั่ว ควรหลีกเลี่ยง
ยับยั้งจิต ไม่คิดทำ
๐ เตือนตน ด้วยสติ
สมาธิ ช่วยชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ด้วยสติ และปัญญา
๐ รู้ควร และรู้ชอบ
อยู่ในกรอบ แห่งสัมมา
สร้างเสริม พัฒนา
กุศลกรรม ทำสิ่งดี
๐ สิ่งดี ของชีวิต
เป็นนิมิต จะนำชี้
ปลายทาง ของชีวี
สุคติ คือที่ไป...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

119


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒...

...การเจริญจิตภาวนานั้น เราสามารถ
ที่จะทำได้ในทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน
นั่ง นอน เพราะเป็นเรื่องของการมีสติ
คือการทำที่จิต แต่ในอิริยาบถต่างๆนั้น
จะมีผลต่างกัน เช่นการเจริญสติภาวนา
ในท่านอนนั้น ทำได้ง่ายเข้าสมาธิได้เร็ว
แต่จะไม่ตั้งอยู่นาน เพราะนิวรณ์เข้ามา
รบกวนคือนิวรณ์ตัวถีนะมิทธะ อาการ
ง่วงเหงาหาวนอน สมาธิจะกล้าแต่สติ
จะมีกำลังน้อย มันจะทำให้เผลอหลับไป
ส่วนในอิริยาบถยืนนั้น จะทำได้ยากกว่า
การนั่ง เพราะต้องทรงร่างกายให้ตรง
เพื่อไม่ให้ล้มและในอิริยาบถเดินนั้น
ทำได้ยากที่สุด แต่ถ้าเข้าสมาธิได้แล้ว
จะตั้งได้อยู่นาน ทรงได้อยู่นาน เพราะว่า
มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงต้อง
ใช้กำลังของสติเป็นอย่างมาก ในการ
จดจ่ออยู่กับองค์ภาวนาอยู่ตลอดเวลา
...การรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ
เพราะผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องมีสติอยู่
กับกายและจิต ในการที่จะคิด จะพูด
และจะทำ เรียกว่าต้องสำรวมอินทรีย์
อยู่ทุกขณะจิต เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิด
ข้อห้ามของศีลที่รักษา ศีลจึงคือที่มา
ของสติพละและสิ่งที่ได้มาควบคู่กับสติ
ในการรักษาศีล ก็คือองค์แห่งคุณธรรม
" หิริและโอตตัปปะ " สิ่งนั้นก็คือความ
ละอายและเกรงกลัวต่อบาป
...การที่เราไม่กล้าที่จะล่วงละเมิด
ข้อห้ามของศีลนั้น เพราะเรามีความ
ละอายและเกรงกลัวต่อบาปเป็นตัว
กระตุ้นเตือนเพื่อให้เกิดจิตสำนึก
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ดั่งคำพุทธพจน์
ที่ทรงตรัสไว้ว่า..
."ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐาน
เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่ง
แผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่ง
สิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้
เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร
และสัตว์จตุบาท ทวิบาทนานาชนิด
บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย
มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่
ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจาก
เรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน " ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

120


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม ปฐมบท...

....ทรัพย์สมบัติใดๆในโลกนี้ที่มีอยู่
ก็ไม่สู้ธรรมะสมบัติได้ ถ้าเรามีทรัพย์
คือธรรมะประดับใจของเราแล้ว
ย่อมเป็นผู้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปแน่นอน
....พระคุณต้องทดแทน ความแค้นต้อง
อโหสิกรรม “ อะเวรัง อะสะปัตตัง ”
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราเป็นผู้
ไม่มีเวร ไม่จองเวร เป็นผู้อโหสิกรรม...
...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั่นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔...

121


กำหนดวันไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔

ตรงกับ วัน เสาร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๓๙ น.

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณ เข้าร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่นในครั้งนี้โดยทั่วกัน

Wai Kru Luang Phor Pern 27 February 2021

122


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๓...

...การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เราจะต้องมี
มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต่อชุมชนและคนรอบกาย
เพื่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ก่อนที่เราจะ
ร้องขอจากเขานั้น เราต้องแบ่งปันและให้
เขาก่อน จงเป็นผู้ให้แล้วท่านจะรับการให้
ตอบแทน เป็นคำสอนของครูบาอาจารย์
การมีน้ำใจต่อหมู่คณะนั้น จะทำให้ท่าน
ได้รับความเกรงใจ
...สรุปลงได้ในหลักธรรมเรื่อง "พรหมวิหาร "
ซึ่งแปลว่าเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
ธรรมอันเป็นหลักประจำใจของผู้ใหญ่ ธรรมที่
ผู้ใหญ่ควรประพฤติ พรหมวิหารนั้น เป็นธรรม
ที่เกิดขึ้นในใจ เป็นธรรมที่กระตุ้นให้เกิดการ
กระทำ เช่น สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการอันได้แก่...
๑.เมตตา คือความรัก ความปรารถนาดี
ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา คือ ความหวั่นไหว ความสงสาร
เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ คิดจะช่วยเหลือผู้อื่น
ให้พ้นจากทุกข์
๓.มุทิตา คือ ความพลอยยินดี ความดีใจด้วย
ที่ผู้อื่นมีความสุข ได้รับความสำเร็จ
๔.อุเบกขา คือความวางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นได้รับความวิบัติ
...ธรรมในหมวดพรหมวิหารนี้จึงเป็นสิ่งที่
ผู้ใหญ่หรือผู้นำต้องกระทำต้องมี เพื่อให้
เกิดความพอดี เสมอกันของผู้ร่วมงาน
เป็นธรรมที่จะประสานใจ ทำให้เกิดความ
รักใคร่สามัคคีของหมู่คณะ..
...บนสายทางแห่งโลกและธรรม...
...โลกธรรม นำไป ให้เกิดทุกข์
คิดว่าสุข หลงใหล ในสรรเสริญ
เพราะลาภยศ พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จึงหลงเดิน ตามโลก ใจโศกตรม
...กินกามเกียรติ เบียดเสียด เข้าแข่งขัน
ทุกวี่วัน ดิ้นรนกัน อย่างขื่นขม
เมื่อไม่มี หรือขาดไป ให้โศกตรม
เพราะไม่สม ที่หวัง ดั่งต้องการ
...แต่ความสุข ในทางธรรม นั้นล้ำเลิศ
เพราะสุขเกิด จากกุศล ผลไพศาล
และสุขนั้น เคียงคู่ คงอยู่นาน
มีพื้นฐาน จากความดี ที่มั่นคง
...อย่าหลงเพลิน เดินตาม กระแสโลก
จะทุกข์โศก เศร้าใจ เพราะไปหลง
สุขทางโลก นั้นมัน ไม่มั่นคง
ไม่ยืนยง เหมือนทางธรรม ที่ค้ำจุน
...เป็นชาวพุทธ อย่าเป็นพุทธ เพียงในบัตร
จงฝึกหัด ศึกษาธรรม เพื่อนำหนุน
ละบาปกรรม หันมา หาทางบุญ
เป็นต้นทุน คุ้มครองใจ เมื่อภัยมา
...เป็นชาวพุทธ ควรมีธรรม ประจำจิต
นำชีวิต หลุดพ้น บ่วงตัณหา
หมั่นทำทาน รักษาศีล ภาวนา
ให้สมค่า ชาวพุทธ บุตรพระองค์...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

123


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๒...

...บอกกับตนเองเสมอว่า อย่าให้วันเวลา
ของชีวิตผ่านไปโดยไร้ค่า เสียเวลาโดยเปล่า
ประโยชน์ และเป็นโทษต่อชีวิตของเราเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างเรากำหนดขึ้นมาได้ด้วยตัว
ของเราเอง คือการกระทำที่เรียกว่ากรรม
ของเราในวันนี้
...ซึ่งพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว ยอมรับ
ในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่เผชิญอยู่ รู้ตน
รู้ประมาณ รู้กาลเวลา ว่าเราควรจะปรารถนา
ได้ในสิ่งใด เพียงใดที่เราคิดว่ามันไม่สำเร็จ
ไม่สมปรารถนา ก็เพราะว่าเราไม่ได้สร้างเหตุ
และปัจจัย อาจจะเป็นการมุ่งหวังที่มากเกินไป
เกินประมาณกับเหตุและปัจจัยที่เราได้กระทำไว้
ในอดีตที่ผ่านมา
...แต่ถ้าเรารู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้โอกาส
และได้ทำหน้าที่สร้างเหตุและปัจจัยให้
สมบูรณ์ในวันนี้ สิ่งที่เรามุ่งหวังตั้งใจไว้
คงจะไม่ไกลเกินปรารถนา
..."อย่ามัวหลงติดอยู่กับความคิด ซึ่งเป็นเพียง
จินตนาการ เป็นเพียงนามธรรมที่จับต้องมิได้
จงเอาความคิดนั้นมาแปรเปลี่ยนเป็นการกระทำ
ทำให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องและเห็นได้"
อย่าได้กระทำเพียงน้อยนิดแล้วคิดหวังผล
ที่ยิ่งใหญ่ เพราะจะเป็นค้ากำไรเกินควร
และมันจะสำเร็จได้ยาก ต้องใช้เวลาในการ
สะสมสั่งสมกำลังของเหตุและปัจจัยอีกยาวนาน
...ทุกวันของชีวิต เมื่อคิดดีและทำดี ก็เป็นวัน
ที่เป็นมงคลต่อชีวิตของเรา ไม่มีคำอวยพร
อันใด ที่จะประเสริฐล้ำเลิศไปยิ่งกว่าการที่
เราได้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตของเรา
เพราะคำพรนั้น คือคำชี้แนะแนวทางที่เป็น
กุศลให้เราประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะให้ชีวิต
ของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ไปใน
ทำนองคลองธรรมอันประกอบด้วยกุศล
เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะทำให้สมหวังดั่งที่ใจของ
ท่านปรารถนาตั้งไว้...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

124


..เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๑...

...การสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีในวันนี้
เป็นการชี้หนทางในอนาคตของตน
เป็นเหตุและผลที่จะส่งผลในอนาคต
เป็นการกำหนดอนาคตหนทางที่จะไป
...โลกและธรรมนั้นต้องเดินคู่กันไป
เพื่อให้โลกนี้มีคุณธรรม โดยการเริ่ม
กระทำที่จิตใจของเราเป็นเริ่มแรก
จัดระเบียบให้แก่ชีวิตของตนเอง
เสียก่อน ก่อนที่จะไปเรียกร้อง
จัดระเบียบให้แก่สังคมส่วนรวม
เริ่มต้นที่ความคิด เริ่มที่จิตของเราเอง...

...วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน...

๐ ทุกชีวิต ในโลกนี้ ที่ได้เห็น
มันก็เป็น เช่นนั้น กันทุกหน
ล้วนเกิดแก่ เจ็บตาย ในวังวน
หนี้ไม่พ้น ล้วนพบ ประสพกัน

๐ อนิจจา ชีวิต คิดว่าเที่ยง
จิตลำเอียง เพราะใจ นั้นใฝ่หา
ประกอบด้วย กิเลส และอัตตา
จึงนำพา ชีวิต ให้ผิดทาง

๐ เพราะไปหลง ยึดติด ในโลกธรรม
จึงก่อกรรม ทำเวร ไม่เว้นว่าง
อยากจะมี อยากจะได้ ในทุกทาง
จึงออกห่าง ทางธรรม กรรมของคน

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มายาวนาน
คือสังสาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
เกิดปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต ไม่ผิดทาง

๐ บุญกุศล เร่งทำ ในวันนี้
ตอนที่มี ชีวิต ควรคิดสร้าง
จงรู้จัก การปล่อยปละ และละวาง
ตามแนวทาง แห่งพุทธะ จะได้ดี

๐ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิต
ก็เพราะจิต ของเรา เพียงเท่านี้
เมื่อรู้พอ ความดิ้นรน ก็ไม่มี
เพียงเท่านี้ ใจก็สุข ทุกข์ไม่มี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

125


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓๐...

...พยายามสงเคราะห์โลกและธรรม
ให้ก้าวเดินไปพร้อมกัน เลือกเฟ้น
ธรรมที่เหมาะสม กับ จังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่และตัวบุคคล
นำมาสงเคราะห์และเกื้อกูลซึ่งกัน
และกัน ตามเหตุและปัจจัยที่มี
ดั่งที่เคยกล่าวไว้เสมอว่า “ บางครั้งนั้น
ไม่ต้องคิดให้ดีที่สุด แต่คิดให้ใช้ได้
ทำได้ทันทีก็เพียงพอแล้ว “ ...
...เพราะบางครั้งความคิดที่ดีนั้น ไม่อาจ
จะนำมาทำให้เป็นรูปธรรม สิ่งที่จับต้อง
และเห็นได้ เพราะเหตุปัจจัยนั้นมันยัง
ไม่เพียงพอ แต่ความคิดที่ใช้ได้ซึ่งอาจ
จะไม่ดีจนเกินไป นั้นสามารถที่จะทำ
ให้เป็นรูปธรรมได้ในทันที เพราะว่ามี
เหตุและปัจจัยสมบูรณ์อยู่แล้วในขณะนั้น
...หลักการคิดทั้งหลายก็คือการคิดจาก
สิ่งที่มีและที่เป็นอยู่ ไม่คาดหวังเหตุ
ปัจจัยในอนาคตมาเป็นตัวกำหนด
ซึ่งความคิดและการกระทำทั้งหลาย
ทุกอย่างจึงเดินไปได้ด้วยตัวของมันเอง
ไปตามเหตุและปัจจัย จังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่และตัวบุคคล ที่มีที่เป็น
ในขณะนั้น เป็นตัวกำหนดทิศทางของ
ตัวมันเอง....
...แด่การพิจารณาฝึกฝนหาเหตุและผล
ของสรรพสิ่งรอบกาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

126


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๙...

...ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ
ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมาย
กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต
เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา
แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้
แตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน
...รางวัลของชีวิตนั้น มิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น
และหนทางนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ย่อมมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บนเส้นทาง
ทุกอย่างที่พานพบล้วนเป็นประสบการณ์ของชีวิต
ความพลาดผิดพลาดพลั้งจึงไม่ใช่ความล้มเหลว
แต่มันเป็นบทเรียนของชีวิตที่สอนให้เราเรียนรู้
...ชีวิตที่เหลืออยู่ เรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา
เพื่อที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าแสวงหาในสิ่งที่ดี
ให้แก่ชีวิต ไม่ให้พลาดผิดอย่างที่เคยผ่านมา
เพราะว่าเราได้เรียนรู้และมีบทเรียนมาแล้ว
ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ การเดินทาง
ของชีวิตนั้นยังไม่สิ้นสุด....


๐ ค่ำลง ฟ้ามืดแล้ว
เสียงเจื้อยแจ้ว หริ่งเรไร
กังวาน ก้องพงไพร
บรรเลงกล่อม ในราตรี

๐ พร่างพราว ดาวบนดิน
เห็นจนชิน ในถิ่นที่
คือไฟ จากแสงสี
ของบ้านเรือน ที่เรียงราย

๐ มองฟ้า ที่มืดมิด
ชวนให้คิด ได้มากมาย
คิดถึง จุดมุ่งหมาย
ที่ตั้งไว้ และเฝ้ารอ

๐ มองกาย แล้วมองจิต
มองแล้วคิด พินิจต่อ
ทำใจ ให้รู้พอ
การลดละ ตัวอัตตา

๐ มานะ และทิฐิ
มีสติ รู้ปัญหา
ใช้ธรรม นำปัญญา
สติมั่น ปัญญามี

๐ รู้กาย และรู้จิต
รู้ความคิด ให้ถ้วนถี่
รู้ชอบ และชั่วดี
รู้ในกิจ ควรกระทำ

๐ มองสิ่ง ที่พบเห็น
มองให้เป็น กุศลกรรม
มองเห็น ให้เป็นธรรม
เพื่อนำสู่ หนทางดี

๐ ก่อนพูด ควรจะคิด
จะไม่ผิด กล่าววจี
พูดแต่ สิ่งที่ดี
วจีกรรม เป็นสัมมา

๐ สัมมา วาจานั้น
สื่อสารกัน ด้วยภาษา
กล่าวดี มีเมตตา
เอื้ออารี ไมตรีกัน

๐ เพ่งโทษ ผู้อื่นเขา
เพิ่มโทษเรา อย่างมหันต์
อย่าติ ทำลายกัน
สร้างสรรค์มิตร ด้วยปัญญา

๐ เป็นผู้ รู้สติ
มีดำริ เป็นสัมมา
ตามแนว แห่งมรรคา
องค์แปดนั้น ท่านว่าดี

๐ สายกลาง ของชีวิต
ชี้ถูกผิด อย่างถ้วนถี่
มรรคแปด สายกลางนี้
เจริญสุข เจริญธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

127


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๘...

...การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้ทำให้
เราฉลาดขึ้นกว่าคนอื่น แต่ทำให้
เราได้เห็นความโง่ ความหลงผิด
ในอดีตของเราที่ผ่านมา ยิ่งปฏิบัติ
ก็ทำให้เราได้เห็น ในสิ่งที่เรายังไม่รู้
ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
เราคิดว่าเรารู้ถูกต้องและเข้าใจ
หมดแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย
เรายังไม่รู้จริง เรายังไม่เข้าใจใน
ความจริงอย่างที่เราเคยคิด ยังมี
อีกมากมายที่เรายังไม่รู้และไม่เข้าใจ...

...จงเตรียมกาย เตรียมจิต เพื่อคิดทำ
แล้วน้อมนำ ทำด้วย มีสติ
ทำจิตนั้น ให้เป็น สมาธิ
ฝึกดำริ คือคิด ก่อนจะทำ

...จงมองงาน ให้แตก แล้วแยกงาน
อย่าข้ามผ่าน พินิจ จงคิดซ้ำ
วางแผนงาน มองด้วย หลักของธรรม
ความเพลี่ยงพล้ำ ไม่เกิด แก่ตัวเรา

...ให้รู้เห็น เข้าใจ ในปัญหา
ใช้ปัญญา ทำให้ ไม่โง่เขลา
จงทำกาย ทำจิต ให้โปร่งเบา
ให้รู้เท่า รู้ทัน ในอารมณ์

...ชีวิตนั้น เกิดมา เพื่อทำงาน
มันต้องผ่าน ซึ่งการ ที่สั่งสม
ได้เรียนรู้ สู่โลก และสังคม
ให้เหมาะสม กับกาล วันเวลา

...เมื่อรู้โลก รู้ธรรม มานำจิต
เพ่งพินิจ มุ่งมั่น การศึกษา
จงเจริญ สติ ภาวนา
ให้ปัญญา เกิดได้ จากสายธรรม

...จงเอาธรรม นำทาง สร้างชีวิต
เพื่อยกจิต ไม่ให้ ไปใฝ่ต่ำ
ประกอบการ งานดี กุศลกรรม
เดินตามธรรม สายทาง สร้างความดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...

128


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๗...

....ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์
กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่
โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตาม
พุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลก
เขาติเตียนได้
...มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบ
ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลัง
ดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกาย
ปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำ
และเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและ
สัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับ
กับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้
ทุกเวลาและโอกาส...

...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เกิดดับ แล้วลับหาย
ผ่านเรื่องราว หลายหลาก และมากมาย
บทสุดท้าย งานเลี้ยง ย่อมเลิกรา

...ชีวิตเรา มีทั้งเศร้า และทั้งสุข
บางครั้งทุกข์ เพราะใจ นั้นใฝ่หา
หลงผิดไป ในกิเลส และอัตตา
เพราะตัณหา ความอยาก ที่มากมาย

...เมื่อพบทุกข์ ควรหันมา เข้าหาธรรม
เพื่อจะนำ จิตสู้ สู่ความหมาย
เพื่อวางจิต วางใจ ให้ผ่อนคลาย
จิตสบาย กายสุข ก็เห็นทาง

...เมื่อจิตโปร่ง โล่งเบา เอาจิตรู้
จงตามดู จิตนั้น อย่าให้ห่าง
เมื่อเห็นกาย เห็นจิต ก็เห็นทาง
เมื่อจิตว่าง ก็เห็นธรรม กำหนดไป

...รู้อะไร ไม่สู้ รู้กายจิต
รู้ความคิด ของตน ตั้งต้นใหม่
ย้อนมาดู กายจิต มาดูใจ
ทำอะไร คิดอะไร ให้รู้ทัน

...มีสติ ระลึกรู้ อยู่ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม นำจิต คิดสร้างสรรค์
อยู่กับธรรม ให้จิตรู้ ปัจจุบัน
เมื่อรู้ทัน ก็ไม่หลง มั่นคงไป

...จงศรัทธา ในความดี ที่มีอยู่
หมั่นเรียนรู้ พัฒนา หาสิ่งใหม่
เพื่อให้ธรรม ก้าวหน้า ยิ่งขึ้นไป
แล้วจะได้ พบสุข ไม่ทุกข์ทน

...สุขในธรรม ล้ำค่า หาใดเปรียบ
ไม่อาจเทียบ กับสุข ในทุกหน
เป็นความสุข ที่รู้ได้ เฉพาะตน
ต้องฝึกฝน ภาวนา หาให้เจอ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๑๗:๓๐ น. ...

129


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๖...

...ธรรมะนั้นเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะ เวลาและ
โอกาส สอดคล้องกับความเป็นจริง
ของธรรมชาติทั้งหลาย...

...ฟ้ามืด มืดไม่นาน
เมื่อพ้นผ่าน กาลเวลา
หน้ามืด เมาตัณหา
ยากจะแก้ แก่เกินกาล

...มัวเมา ในชีวิต
เพราะหลงผิด ไร้แก่นสาร
ลาภยศ อยู่ไม่นาน
ก็ต้องพราก จากกันไป

...คุณงาม และความดี
ในชีวี ที่สร้างไว้
คือทรัพย์ อยู่ภายใน
ติดตามตัว ตลอดกาล

...เวลา ของชีวิต
เหลือน้อยนิด อีกไม่นาน
คืนกลับ สู่สายธาร
ธรรมชาติ ที่สร้างมา

...คุณค่า ของชีวิต
จงพินิจ และเสาะหา
อย่าให้ กาลเวลา
มันกลืนกิน จนสิ้นไป

...เร่งสร้าง คุณประโยชน์
อย่าสร้างโทษ ขึ้นมาใหม่
ความดี เกิดที่ใจ
นำความสุข มาสู่ตน

...ฟ้ามืด ตะวันลับ
การเกิดดับ มีทุกหน
เวียนว่าย ในวังวน
ของวัฏฏะ ตลอดมา

...เมื่อจิต คิดหลุดพ้น
จงตั้งต้น ภาวนา
ลดละ ซึ่งอัตตา
กิเลสร้าย ให้หายไป

...ตัณหา อุปาทาน
มีมานาน ต้องแก้ไข
ละวาง ได้เมื่อไร
ใจก็สุข สงบเย็น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๑๗:๑๐ น. ...

130


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๕...

...ใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางวันนั้น
จะใช้ไปในการคิดพิจารณา สงเคราะห์
ให้คำแนะนำในการทำงาน บริหารคน
บริหารงาน ประสานให้ทุกอย่างดำเนิน
ไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาและอุปสรรค์
โดยใช้หลักการคิด วิเคราะห์และ
วางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า
มองงานทุกอย่างให้ละเอียดให้ชัดแจ้ง
ในองค์ประกอบของงาน ว่ามีกระบวนการ
ในการกระทำเป็นอย่างไร ใช้วัสดุอุปกรณ์
อะไรบ้าง ต้องใช้แรงงานมากน้อย
ขนาดไหน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
มีอะไรบ้าง ซึ่งเราต้องคิดและวางแผน
ไว้ล่วงหน้าให้คำแนะนำ ก่อนที่เขา
เหล่านั้นจะลงมือทำงานทุกครั้ง
คิดที่ละเรื่อง ที่ละอย่าง ให้มันจบ
เป็นเรื่องๆไป แล้วบันทึกไว้ในส่วน
ของความจำ คือมองภาพกว้างๆ
แล้วมาแยกแยะออกเป็นอย่างๆ
เป็นเรื่องๆไป โดยให้ความสำคัญ
ที่เหตุและปัจจัย ว่าอะไรควรทำก่อน
และทำที่หลัง ทำในสิ่งที่คิดและ
ทำได้ในทันที เพราะมีเหตุและปัจจัย
ที่พร้อม เวลา โอกาส สภาพดินฟ้า
อากาศและความพร้อมของบุคคลากร
ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุและปัจจัย
ซึ่งเราได้วางแผนงานไว้และมีแนวทาง
ของการแก้ไข้ไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดมี
อุปสรรค์และปัญหาขึ้นมา ทุกสิ่ง
ทุกอย่างเกิดจากการฝึกคิด ฝึกพิจารณา
โดยการมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ
เป็นพื้นฐาน คือการทำจิตให้นิ่ง
แล้วจะมองเห็นทุกสิ่งอย่างละเอียด
และชัดเจน ทุกอย่างสามารถที่จะ
ฝึกฝนกันได้ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ขอเพียงเราเริ่มต้นและลงมือทำ....
...แด่การพิจารณาฝึกฝนหาเหตุ
และผลของสรรพสิ่งรอบกาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
....รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม....
...๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๐ น. ...

131


...เมื่อจิตระบึกถึงธรรม บทที่ ๒๔...

๐ บางครั้งเหนื่อยล้ากับการแรมรอน
ของชีวิต จนเคยคิดที่จะหยุด
ซึ่งลมหายใจ อยากจะจากไป
โดยไม่ต้องหวนกลับมา บอกลาซึ่ง
การเกิดแก่และเจ็บตาย แต่ยังทำไม่ได้
เพราะบุญกุศลไม่เพียงพอ จึงต้องมี
ชีวิตอยู่ต่อไปในโลกที่แสนจะวุ่นวาย
ฝึกทำใจให้ยอมรับกับความจริงสิ่ง
เหล่านั้นให้ได้
๐ สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นเช่นนั้นเอง
มันเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาอุปาทาน
ความทะยานอยาก ที่มีมากน้อย
แตกต่างกันไปในทุกผู้คนบนโลกใบนี้
เพราะความไม่พอดีและพอเพียง
ของจิตที่คิดกันไป ทำให้ธรรมชาติ
ทั้งหลายนั้นต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม
แรงของกิเลสและตัณหาของมนุษย์
ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นจึงเอาคืน
เมื่อเราไปฝืนกฎของธรรมชาติ
๐ อนาถ สลด สังเวช เป็นเหตุแห่ง
ความเบื่อหน่าย ทำให้จิตนั้นจางคลาย
จากกิเลสตัณหาและอัตตา เข้าใจใน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในจิตและความคิด
ของตน แม้แต่ความอยากจะหลุดพ้น
มันก็คือตัวตัณหา เมื่อจิตนั้นได้คิด
และพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
เห็นที่มาและที่ไป เหตุและปัจจัย
ที่ทำให้มันเกิด เมื่อเห็นจิตรู้ใจ
ก็ให้เห็นธรรมว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๖:๐๐ น. ...

132


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๓...

...ไม่เคยยึดติดอยู่กับผลงานหรือสถานที่
เพียงทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจากไป
ทิ้งไว้และเก็บไปเพียงความทรงจำที่ดีงาม
ผ่านมาแล้วก็จากไป อาจจะหวนมาใหม่
เมื่อถึงกาลเวลา ชีวิตที่ผ่านมาจึงคล้าย
กับสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา
...มาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ได้ขาดหายไป
นั้นคือความมั่นใจในตนเองของผู้คนที่
เขา ขาดความเชื่อมั่น ซึ่งทุกคนนั้น
มีพลังความสามารถอยู่ในตัวเอง
กันทุกคน เพียงแต่บางครั้งนำมา
ใช้ไม่เป็น จึงต้องหาที่พึ่งทางใจ
พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล ครูบา
อาจารย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและ
สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนและ
สิ่งที่จะเสริมศรัทธา ความเชื่อมั่น
ให้แก่เขาได้นั้น มันต้องเป็นสิ่งที่
จับต้องได้และเห็นได้ด้วยตาเนื้อ
เขาจึงจะเชื่อและศรัทธา
...ทำให้ในบางครั้งจึงจำเป็นต้อง
ใช้พิธีกรรมและวัตถุมงคลเป็นตัวนำ
เอามาใช้เป็นอุบายธรรม ในการสร้าง
ขวัญและกำลังใจให้แก่เขา เพราะการ
ให้ธรรมะล้วนๆนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่
สามารถเห็นผลได้ในทันที่ มันยังเป็น
เพียงรูปธรรม ต้องนำไปปฏิบัติให้เป็น
รูปธรรมเสียก่อน จึงจะเห็นผลและ
บุคคลนั้นต้องมีพื้นฐานในทางธรรม
มาก่อนด้วย จึงจะเข้าใจและง่ายต่อการ
แสดงธรรม วัตถุมงคลและพิธีกรรม
จึงเป็นเบื้องต้นที่จะทำให้คนนั้นสนใจ
ศรัทธาและเข้าหา
...จึงเป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้จำเป็นต้องมี
และต้องทำ แต่ต้องไม่เข้าไปยึดติด
จนกลายเป็นความงมงาย เพราะมันยัง
ไม่ใช่ที่สุดของการปฏิบัติธรรม สิ่งนั้น
เป็นเพียงกุศโลบายธรรม ที่ใช้ในการ
รักษาโรคอุปาทานให้แก่ผู้ที่ยังหลง
ติดอยู่เพราะต้องการสร้างขวัญและ
กำลังใจให้แก่ญาติโยม สร้างความ
เชื่อมั่นศรัทธาในตัวของเขาเองและ
ศรัทธาในบุญกุศลให้แก่เขา เพราะว่า
ศรัทธานั้นคือบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ
ในทุกสิ่ง แม้แต่ มรรคผล นิพพาน
ก็ต้องส่งผ่านด้วยพลังแห่งศรัทธา...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๘:๐๐ น. ...

133


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๒...

...การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำ
เพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็น
มงคลของชีวิต ซึ่งต้องดูที่ดำริเจตนา
ในการปฏิบัติ ว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนา
อะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้นและสิ่งที่
ตั้งใจปรารถนานั้น เป็นไปโดยชอบ
ประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไป
เพื่ออกุศล คือความอยากดี อยากเด่น
อยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญเยินยอ
หรือลาภสักการะ ประโยชน์ส่วนตน
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความ
เข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อน
เพื่อให้ไม่หลงทาง เพราะว่าถ้าผิด
แต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมา
ผิดทาง...
...การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไป
ตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์
ให้มีความพร้อม โดยเริ่มจากการ
ให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจให้มีความ
อ่อนโยน มีความเมตตา โอบอ้อมอารี
มีความเสียสละ ละความเห็นแก่ตัว
ลงเสียก่อน ควบคู่กับการรักษาศีล
เพราะการรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ
ควบคุมกายและจิตไม่ให้ผิดในข้อวัตร
ปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล
สิ่งที่ได้จากการรักษาศีล คือสติและ
องค์แห่งคุณธรรม คือความละอาย
และเกรงกลัวต่อบาป เพราะว่าเรามี
คุณธรรมข้อนี้ เราจึงไม่ล่วงละเมิด
ผิดศีลทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๒๐:๑๕ น. ...

134


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๑...

...สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ " มันก็เป็น
เช่นนั้นเอง " ตามที่พระพุทธองค์ทรง
พยากรณ์ไว้ว่า " จิตใจคนจะเสื่อมไป
จากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุด
พระศาสนา เมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี "
เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของ
พระไตรลักษณ์ แต่ขอเพียงความเสื่อม
จากคุณธรรมนั้น อย่าเกิดจากเราเป็นผู้
กระทำก็เพียงพอแล้ว...

... วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง แปรเปลี่ยน ตามสมัย
ช่วงชีวิต นั้นอาจ ไม่ยาวไกล
สร้างอะไร ให้ชีวิต คิดรึยัง

...ชีวิตอย่า ไร้ค่า กว่าใบไม้
จงก้าวเดิน ต่อไป อย่าสิ้นหวัง
อย่าท้อแท้ ให้หัวใจ ไร้พลัง
ลืมความหลัง ที่พลั้งพลาด ให้ขาดไป

...อย่าไปโทษ โชคชะตา ว่าฟ้าแกล้ง
อย่าเสแสร้ง กลบเกลื่อน จงแก้ไข
ที่ผ่านมา นั้นผิดพลาด จากเหตุใด
อย่าโทษใคร มองที่เรา เจ้าของงาน

...เมื่อยอมรับ ความจริง สิ่งที่เกิด
ไม่ละเมิด ศีลธรรม ที่พร่ำขาน
ก็จะเห็น ที่มา ของเหตุการณ์
สิ่งที่ผ่าน มานั้น มันเป็นกรรม

...จงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เร่งแก้ไข
ชีวิตใหม่ จะได้ ไม่ตกต่ำ
เดินคู่ไป ในทางโลก และทางธรรม
สติย้ำ เตือนจิต อย่าผิดทาง

... จงพอใจ ในสิ่ง ที่เป็นอยู่
จงเรียนรู้ ในสิ่ง จะเสริมสร้าง
ให้เจริญ ก้าวหน้า ดั่งที่วาง
ตามแบบอย่าง ชีวิต ที่คิดครอง

...คุณ...คิดดี แล้วหรือ ที่กระทำ
มา...ถลำ ทำชั่ว ให้มัวหมอง
ทำ...สิ่งใด โปรดคิด ใช้จิตตรอง
อะไร...ถูก อะไรต้อง จงตรองดู...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๐ น. ...

135


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒๐...

..."อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลก
จนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้าย
กับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุข
หรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลาย
อย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่า
ความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เรา
ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง
เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไร
ไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุราย
หวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่ง
ความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจ
ให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร
ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข "...

...รำพึงธรรมคำกวีหลังทำวัตรเช้า...
...ตามดู ตามรู้ ในจิต
พินิจ ใคร่ครวญ ศึกษา
หาเหตุ ของความ เป็นมา
มองหา ให้เห็น ความจริง
...จิตนั้น มีการ เกิดดับ
สลับ ไปมา ไม่นิ่ง
จิตนั้น ก็คล้าย กับลิง
กลอกกลิ้ง หวั่นไหว ไปมา
...จึงต้อง หมั่นฝึก สติ
ดำริ เข้าไป ค้นหา
เหตุผล ที่ไป ที่มา
ปัญหา นั้นคือ อะไร
...รู้เหตุ ปัจจัย ที่เกิด
ล้ำเลิศ กว่ารู้ สิ่งไหน
รู้กาย รู้จิต รู้ใจ
รู้ใน รู้นอก ครบครัน
...มองหา ซึ่งเหตุ และผล
ตัวตน ภายใน เรานั้น
ตามดู กิเลส ให้ทัน
สิ่งนั้น คือกิจ ควรทำ
...กิเลส นั้นมี มากมาย
สองฝ่าย คือสูง และต่ำ
ปรุงแต่ง ตามบุญ และกรรม
ชี้นำ ไปใน เส้นทาง
...รู้เท่า รู้ทัน ความคิด
ทำจิต ทำใจ ให้ว่าง
เดินใน เส้นทาง สายกลาง
ทุกอย่าง มีธรรม นำพา
...ดำเนิน ตามแนว แห่งมรรค
ตามหลัก มรรคแปด ศึกษา
ความชอบ ธรรมที่ มีมา
รักษา กายใจ ในธรรม
...ธรรมะ นั้นคือ ที่พึ่ง
ลึกซึ้ง ประเสริฐ เลิศล้ำ
ธรรมะ นำทาง สร้างธรรม
สุขล้ำ มีธรรม คุ้มครอง
...รักษา นำพา กายจิต
ชีวิต จะไม่ เศร้าหมอง
เดินไป ตามมรรค ครรลอง
คุ้มครอง กายใจ ในธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๐๖:๐๐ น. ...

136


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๙...

...บอกกล่าวกับผู้คนที่ได้สนทนาธรรมกัน
อยู่บ่อยครั้งว่า เรื่องราวเหตุการณ์ของ
แต่ละคนที่ได้ผ่านมานั้น มันเกิดจากกรรม
ที่ได้ทำมาจากอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาตินี้
ก็ดี ทุกอย่างนั้นมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด
...ทุกย่างก้าวที่เราเดินผ่าน
นั้นคือตำนานของชีวิต
ที่เราได้ลิขิตขึ้นมาเอง
ไม่ใช่โชคชะตาหรือฟ้าลิขิต
ไม่ใช่นิมิตของสรวงสวรรค์
ไม่ใช่พระพรหมนั้นมาบันดาล
แต่สิ่งที่ชีวิตต้องพบพาน
นั้นล้วนแต่เกิดจากกรรม
ที่เคยกระทำผูกพันกันมา
จึงต้องมาประสพพบเจอ
มีทั้งกรรมที่เป็นอกุศล
อันส่งผลให้พบความทุกข์
หรือว่ากรรมที่เป็นกุศล
อันส่งผลให้ได้รับความสุข
ทุกเรื่องจึงสรุปลงที่กรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๐๕:๑๓ น. ...

137


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรมบทที่ ๑๘...

...อานิสงส์ในการสร้างฐานโบสถ์...
...ส่งผลให้ครอบครัว และการงาน จะเป็นบึกแผ่น ไม่คลอนแคลน ไม่ล้ม เป็นฐานของบุญอันยิ่งใหญ่ ครอบครัว และเครือญาติ จะมีความอบอุ่น รักใคร่ปรองดองกัน ไม่ว่าจะเกิดชาติใด ก็จะเป็นคนมีหลักฐานมั่นคง ไม่เป็นคนหลักลอย ชีวิตมีหลัก ทำสิ่งใดก็สัมฤทธิ์ผล จะมีฐานรองรับทรัพย์เพิ่มพูนมหาศาล เหมือนดั่ง ฐานโบสถ์ ที่รองรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ฐานบุญของเรามีความมั่นคง สมบูรณ์ที่สุด แก้กรรมให้กับผู้ที่ ครอบครัวแตกแยก มีชีวิตหลักลอย เปลี่ยนงานบ่อย ย้ายบ้านบ่อย ไม่มีหลักในชีวิต ผู้ที่รู้สึกเคว้งคว้าง คลอนแคลนในชีวิต...

...ร้อยเรียงกวีธรรม
ร้อยลำนำตามรายทาง
เพื่อให้เป็นแบบอย่าง
แด่ผู้คนที่สนใจ

...หลายหลากมากเรื่องราว
นำมากล่าวเล่ากันไป
ชี้แจงแถลงไข
บอกทางสุขให้ทุกคน

...เน้นย้ำเรื่องสติ
ให้ดำริด้วยกุศล
เพื่อความเป็นมงคล
ต่อชีวิตและครอบครัว

...ให้มีคุณธรรม
ไม่ถลำทำความชั่ว
ละอายและเกรงกลัว
ต่อบาปกรรมที่เข้ามา

...มีจิตเกื้อการุณย์
คอยเกื้อหนุนมีเมตตา
มีจิตคิดอาสา
สร้างประโยชน์ต่อสังคม

...ผ่อนคลายด้วยภาพถ่าย
ที่มากมายได้สะสม
เพลิดเพลินในอารมณ์
ชวนให้คิดและติดตาม

...แฝงด้วยสาระธรรม
ที่ชี้นำอย่ามองข้าม
วัดวาและอาราม
นำเสนอเป็นประจำ

...ขอบคุณที่ตามติด
ไมตรีจิตจะหนุนนำ
ก่อเกิดกุศลกรรม
ร่วมกันสร้างซึ่งทางดี...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๔:๑๙น. ...

138


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๗...

...ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง...
...ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อน
อะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
ถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีใน
สิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาท
และหน้าทีของผู้อื่น
...แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวาย
ก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยาก
ที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายใน
บทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไป
ในสิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเอง
ล้ำไปในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ
...ชีวิตนั้นจึงสับสนและวุ่นวาย เพื่อให้
ได้มาซึ่งความสมปรารถนาของตนเอง
หลงติดอยู่ในสิ่งสมมุติทั้งหลาย
เวียนว่ายอยู่ในวังวนของกิเลสตัณหา
ไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตไปยึดถือและยึดติด
ในสิ่งที่สมมุติขึ้นมาทั้งหลาย
...สังคมมนุษย์จึงสับสนวุ่นวาย
ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะว่ามนุษย์นั้น
ไม่รู้จักคำว่าพอประมาณในการ
ใช้ชีวิต โลกนี้มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...

...สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม
...มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน
...และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน
... เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั้นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ
...การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น
...คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ
...ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี้คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน
... ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๒๐ น. ...

139


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๖...

...ความเจริญในธรรมนั้น เหมือนกับต้นไม้
คือต้องค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลาและ
ลำดับชั้น เหมือนเราปลูกต้นไม้ เราอยาก
จะให้ต้นไม้มันโตไวๆ ให้ดอกออกผลโดยเร็ว
แต่มันเป็นไปไม่ได้ ต้นไม้มันต้องเจริญเติบโต
ไปตามระยะเวลาและอายุของมัน
...การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน มันต้องผ่านกาล
เวลาการสั่งสม เพิ่มพูนกำลังไปตามลำดับชั้น
การปฏิบัตินั้นจึงจะเป็นไปด้วยดี และมีความ
เจริญในธรรมที่มั่นคง ถูกต้องตามหลักของ
พระพุทธศาสนา ตามที่องค์พระศาสดา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนไว้...

...มิตรภาพตามรายทางที่ย่างผ่าน...
...รายทางที่ย่างผ่าน
มายาวนานและเรื่อยไป
ด้วยตัวและหัวใจ
ตามวิถีนักเดินทาง
...ภูผาและป่าไม้
ก้าวผ่านไปเพื่อสรรค์สร้าง
ศรัทธาไม่เคยจาง
จิตตั้งมั่นในทางธรรม
...ทางธรรมนำชีวิต
ชำระจิตที่มืดดำ
ออกห่างจากบาปกรรม
ระลึกชอบบำเพ็ญบุญ
...บุญกรรมนำชีวิต
มีหมู่มิตรคอยเกื้อหนุน
เมตตาและการุน
ช่วยเหลือกันตลอดมา
...ฝากไว้แด่มวลมิตร
ผู้มีจิตแสวงหา
ฝากผ่านกาลเวลา
ฝากหมู่เมฆและสายลม
...ปลอบใจมวลหมู่มิตร
ผู้มีจิตที่โศกตรม
ลบล้างความขื่นขม
ให้มีสุขสวัสดี
...ทุกข์โศกและโรคร้าย
ให้จางคลายไปทุกที่
ขอให้สิ่งที่ดี
จงบังเกิดแด่ทุกคน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๓๑ น. ...

140


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๕...

“ อนนฺโท พลโท โหติ
วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ
ทีปโท โหติ จกฺขุโท “
...ผู้ให้ข้าวปลาอาหาร
ชื่อว่าให้กำลัง
ผู้ให้เสื้อผ้าอาภรณ์
ชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานความสะดวกในการ
เดินทาง ชื่อว่าให้ความสุข
ผู้ให้ประทีปโคมไฟแสงสว่าง
ชื่อว่าให้ดวงตา...

...ฝึกวางใจให้มันมั่งคง ไม่กังวล
ไม่สนใจใคร ทำให้เหมือนกับอยู่
คนเดียว ภายนอกเคลื่อนไหว
ภายในทำใจให้สงบ พิจารณาร่างกาย
พิจารณาดูจิต มันฟุ้งซ่านไปไหน
ก็ให้รู้จักมัน รู้เท่าทันกับกิเลส
สู้กับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเรา เอาชนะ
มันให้ได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
สำหรับวันๆหนึ่ง
...ให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตล่วงไปแล้ว
ไม่ไปคิดถึง อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
ก็อย่าไปคิดกังวล จิตอยู่กับปัจจุบันธรรม
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจ
มันสั้นก็รู้ ลมหายใจยาวมันก็รู้ หายใจ
โปร่งโล่งเบาสบายก็รู้ อยู่กับลมหายใจ
เพียงเท่านั้น ก็เพียงพอ ต่อการปฏิบัติธรรม
สติและปัญญาจะแก่กล้าขึ้นมาเอง
ถ้าเราได้กระทำและฝึกฝนอยู่อย่าง
สม่ำเสมอ
...เมื่อใจเราอยู่กับธรรม ธรรมนั้นก็อยู่
กับเรา เมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะ
รักษาเรา ธรรมะคือตัวเรา ตัวเราคือ
ธรรมะ เพราะธรรมะนั้นคือธรรมชาติ
ที่เป็นจริงของสรรพสิ่งในโลกนี้...

๐ ยกข้อธรรม นำมา สาธยาย
สื่อความหมาย แห่งธรรม นำวิถี
ให้ใคร่ครวญ ทวนทบ พบสิ่งดี
บทกวี ชี้ทาง ห่างอบาย
๐ ทุกถ้อยคำ เน้นย้ำ เรื่องสติ
สมาธิ ตั้งมั่น มีจุดหมาย
มีสติ คุ้มครอง รองรับกาย
เดินตามสาย เส้นทาง อย่างมั่นคง
๐ ดำรงตน อยู่ใน ศีลธรรม
ไม่ก่อกรรม ทำชั่ว ด้วยมัวหลง
ซึ่งกิเลส ตัณหา พาพะวง
ให้ต่ำลง สู่อบาย ตายทั้งเป็น
๐ ยกจิตสู่ กุศล เป็นผลดี
ฝึกให้มี หิริ ระลึกเห็น
โอตตัปปะ คุ้มครอง ให้ร่มเย็น
มองให้เห็น ดีชั่ว กลัวบาปกรรม
๐ ปลุกสำนึก ความคิด จิตมนุษย์
เป็นชาวพุทธ ไม่ควร จะใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ กิเลส มาครอบงำ
ศึกษาธรรม นำทาง สว่างใจ
๐ รู้จักความ พอดี เป็นที่ตั้ง
ควรระวัง ความโลภ อย่าหลงใหล
ให้อยู่ดี มีสุข ไม่ทุกข์ใจ
อย่าอยากได้ เกินไป ให้ทุกข์ทน
๐ เมื่อมีน้อย ใช้น้อย คอยประหยัด
เราควรจัด บริหาร ให้เกิดผล
อย่าใช้เกิน กำลัง ระวังตน
เกิดเป็นคน ควรรู้การ ประมาณตน...

...ฝากไว้เป็นข้อคิดเพื่อเตือนจิตสะกิดใจ...

...ด้วยความปรารถนาดี...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๑:๕๔ น. ...

141


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๔...

...ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ
ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมาย
กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต
เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา
แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้
แตกต่างกันไปตามความปรารถนา
ของแต่ละคน
...รางวัลของชีวิตมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น
และหนทางนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ย่อมมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บนเส้นทาง
ทุกอย่างที่พานพบล้วนเป็นประสบการณ์
ของชีวิต ความพลาดผิดพลาดพลั้ง
จึงไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันเป็น
บทเรียนของชีวิตที่สอนให้เราเรียนรู้
...ชีวิตที่เหลืออยู่เรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา
เพื่อที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า
แสวงหาในสิ่งทีดีให้แก่ชีวิต
ไม่ให้พลาดผิดอย่างที่เคยผ่านมา
เพราะว่าเราได้เรียนรู้และมีบทเรียน
มาแล้ว ตราบใดที่ชีวิตนั้นยังมีลมหายใจ
การเดินทางของชีวิตก็ยังไม่สิ้นสุด....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
เวลา ๒๐:๓๐ น. ...

142


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรมบทที่ ๑๓...

...บอกกล่าวแก่พระที่อยู่ร่วมด้วย
เสมอว่า เสน่ห์ของวัดป่านั้นคือ
ความสะอาดและความมีระเบียบ
วินัย ไม่ใช่อยู่ที่สิ่งก่อสร้างที่
วิจิตรอลังการ ยามเช้าปัดกวาด
วิหารลานธรรม เพื่อให้คนได้
เจริญตา ยามเย็นกวาดสถานที่
ให้เทวดาได้ชื่นชมและเป็นการ
ปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะใน
ขณะที่เรากวาดใบไม้อยู่นั้น
เราเจริญสติสัมปชัญญะไปด้วย
จิตก็พิจารณาเข้าหาหลักธรรม...

...ร่วงหล่น บนทางเท้า
ทุกค่ำเช้า เฝ้าปัดกวาด
รักษา ความสะอาด
กิจวัตร ในทุกวัน

...ใบไม้ เจ้าร่วงหล่น
ตามกาลกล เป็นเช่นนั้น
ร่วงหล่น ทุกคืนวัน
แปรเปลี่ยนไป ตามเวลา

...ร่วงหล่น ลงสู่พื้น
ร่วงลงคืน พสุธา
ตามกาล และเวลา
มีเกิดดับ สลับไป

...ใบไม้ ให้ร่มเงา
เมื่อยามเจ้า เขียวสดใส
ไม่นาน ก็จากไป
สลับเปลี่ยน มาทดแทน

...ร่วงหล่น ลงสู่พื้น
เจ้ากลับคืน สู่ดินแดน
มิเคย จะหวงแหน
ทดแทนคุณ ต่อแผ่นดิน

...เปื่อยเน่า ย่อยสลาย
มีความหมาย ไปทั้งสิ้น
พันธุ์ไม้ ได้ดูดกิน
ตอบแทนคุณ พงพนา

...ใบไม้ แม้นน้อยนิด
แต่ชีวิต ไม่ไร้ค่า
ตั้งแต่ กำเนิดมา
คุณค่ามาก นับอนันต์

...คนเรา นั้นควรคิด
ถึงชีวิต ที่เป็นนั้น
ผ่านคืน และผ่านวัน
เจ้าเคยสร้าง ประโยชน์ใด

...ชีวิต อย่าไร้ค่า
อย่าน้อยกว่า เจ้าใบไม้
รีบสร้าง หนทางไป
เพื่อชีวิต ที่มั่นคง

...มั่นคง ดำรงอยู่
และเป็นผู้ ไม่โลภหลง
ความดี นี้ยืนยง
จะส่งเสริม ซึ่งศรัทธา

...ชีวิต ที่เหลืออยู่
จงเรียนรู้ และศึกษา
เสริมสร้าง ทางปัญญา
เพื่อก่อเกิด คุณธรรม

...คุณธรรม นำชีวิต
คุ้มครองจิต และชี้นำ
ก่อเกิด กุศลกรรม
ให้พบสุข สงบเย็น...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๕ น. ...

143


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๒...

..." กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดแล้ว
พึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตน "
" อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา "
พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๓๑...
...จะใช้เวลาช่วงกลางคืนหลังเสร็จ
จากทำวัตรเย็นแล้ว เขียนบทความ
บทกวีธรรมและจะโพสต์ประมาณ
ตีสามกว่าๆก่อนทำวัตรเช้าหรือหลัง
ทำวัตรเช้า ก่อนออกรับบิณฑบาต
เพราะกลางวันนั้นมีภารกิจที่ต้องทำ
คืองานโยธากัมมัฏฐานตลอดทั้งวัน...

...ดอกหญ้าเมื่อฟ้าหลังฝน...

๐ เมื่อสายฝน พ้นผ่าน ม่านฟ้าเปิด
ก่อกำเนิด เกิดการ ซึ่งงานใหม่
เหล่าพืชพันธุ์ งอกงาม เจริญวัย
กล้าต้นใหม่ งอกงาม ตามเวลา
๐ มวลไม้ดอก งอกงาม ตามฤดู
แมลงภู่ โบยบิน ดมพฤกษา
เสียงไก่เถื่อน ขับขาน กังวานมา
สกุณา ร่ำร้อง ดังก้องไพร
๐ สรรพสิ่ง รอบกาย ล้วนเป็นมิตร
เพราะว่าจิต เรานั้น ไม่หวั่นไหว
มีสติ ตามดู รู้ที่ใจ
นอกเคลื่อนไหว ในสงบ เมื่อพบธรรม
๐ มีแสงทอง แสงธรรม นำชีวิต
ประคองจิต มิให้ ใจใฝ่ต่ำ
มีสติ เตือนจิต ก่อนคิดทำ
กุศลกรรม ทำให้ ใจใฝ่ดี
๐ เหมือนดอกหญ้า กลางป่า ยามหน้าฝน
ที่ทุกคน มองไร้ค่า เมินหน้าหนี
มองไม่เห็น ประโยชน์ ที่พึงมี
ไร้ส่วนดี ไร้ค่า สายตาคน
๐ ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้ ในสาระ
มีธรรมะ คุ้มครองใจ ในทุกหน
ตามดูกาย ดูจิต ความคิดตน
เพียรฝึกฝน กายจิต ให้คิดดี
๐ เอาทางธรรม มานำใช้ ในทางโลก
คลายทุกข์โศก ในใจ ของน้องพี่
ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นสิ่งดี
และคอยชี้ ช่องทาง สว่างใจ
๐ สว่างใจ สบายกาย สว่างจิต
เพียงแต่เปลี่ยน ความคิด ฝึกจิตใหม่
เปลี่ยนความคิด ชีวิต ก็เปลี่ยนไป
เส้นทางใหม่ ของชีวิต ลิขิตเอง....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๔๐ น. ...

144


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๑...

...ในยามดึกสงัดที่ผู้คนหลับใหล
นั่งมองลมหายใจที่ไหลเข้าออก
ใคร่ครวญทบทวนพิจารณาธรรม
เอาจิตคุมกายให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ใช้จิตถามจิต คิดจนให้เห็นเหตุที่เกิด
ผัสสะ อายตนะ ธรรมารมณ์ ที่ทำให้เกิด
เมื่อรู้เห็นเข้าใจ จิตก็คลายความกังขา
เห็นการเกิดมา การตั้งอยู่และการดับไป
ถอนจิตออกได้จากการยึดถือที่เกิดขึ้น
กายโปร่งโล่งเบาสบายเมื่อจิตคลาย
จากการยึดถือ ลมหายใจเข้าสู่สภาวะ
สงบเย็นเป็นปกติ อุทานธรรมเกิดขึ้น
ในจิตเมื่อเข้าสู่ความว่าง ทุกสิ่งอย่าง
รอบกายล้วนคือครูผู้สอนธรรม
เมื่อได้น้อมนำมาพิจารณาโดย
ปราศจากอัตตาทุกสิ่งที่ผ่านมา
ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเอง...

...เมื่อรู้เขา รู้เรา เข้าใจหมด
ก็กำหนด แนวทาง ที่วางไว้
ว่าจะให้ มันเป็น อย่างเช่นไร
กำหนดได้ ถ้าเข้าใจ ในบุคคล

...บทกวี ของหลวงพ่อ พุทธทาส
ผู้เป็นปราชญ์ กล่าวไว้ ให้น่าสน
เกี่ยวกับความ เป็นอยู่ ของผู้คน
ทุกแห่งหน ควรตรอง และมองดู

..." เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนดี ที่มีอยู่
เป็นประโยชน์ แก่โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย "

...นี่คือบท กวี ที่กล่าวสอน
เป็นบทกลอน ให้คิด อย่านิ่งเฉย
การมองคน ไม่ควร จะละเลย
จงคุ้นเคย มองคน ที่ผลงาน

...องค์รพี บิดา แห่งกฎหมาย
ท่านกล่าวไว้ เป็นกลอน สอนลูกหลาน
เรื่องกินเหล้า เมายา มาเนิ่นนาน
ให้รู้การ รู้ค่า คำว่าคน

..." เอ็งกินเหล้า เมายา ไม่ว่าดอก
แต่อย่าออก นอกทาง ให้เสียผล
เอ็งอย่ากิน สินบาท คาบสินบน
เรามันชน ชั้นปัญญา ตุลาการ "

...อยู่กับโลก ด้วยธรรม นำความคิด
อยู่กับมิตร เอาวาจา มาประสาน
อยู่คนเดียว ระวังจิต คิดเกินการ
จนฟุ้งซ่าน สับสน จนทุกข์ใจ

...อยู่อย่างไร ก็ให้ มีสติ
และดำริ ให้จิต นั้นผ่องใส
อย่าวุ่นวาย ตามโลก ที่เปลี่ยนไป
จงดูกาย ดูใจ ให้รู้ทัน

...โลกเคลื่อนไหว อย่าหวั่นไหว ไปตามโลก
จะทุกข์โศก เพราะโลก นั้นแปรผัน
กระแสโลก เปลี่ยนไป ทุกคืนวัน
แต่เรานั้น หยุดได้ โดยใช้ธรรม

...กระแสธรรม นำมา ซึ่งความสุข
ก้าวพ้นทุกข์ พาใจ ไม่ตกต่ำ
ทำกุศล ให้ถึงพร้อม แล้วน้อมนำ
เดินตามธรรม ขององค์ พระสัมมาฯ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๙ น. ...

145


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๑๐...

.....ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบาน
ร่าเริงแล้ว ความเป็นมงคลทั้งหลาย
ก็จะหายไปหมด แต่ถ้าจิตใจ
ไม่เศร้าโศก มีแต่ความร่าเริง
แจ่มใสเกษมสำราญ ความเป็น
มงคลทั้งหลายก็จะปรากฏขึ้น
เหมือนดั่งคำที่ว่า " จิตดี กายเด่น
จิตด้อย กายดับ " เมื่อจิตใจ
เป็นกุศลความเป็นมงคลทั้งหลาย
ก็จะเกิดขึ้น...

...จะสุขใด ไหนเท่า สุขในธรรม...

๐ เจริญจิต เจริญใจ ปฏิบัติ
เพื่อขจัด ซึ่งกิเลส และตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง จิตใจ ให้ศรัทธา
ภาวนา ให้สงบ พบที่ใจ
๐ จงดูกาย ดูจิต พร้อมดูธรรม
ดูแล้วนำ มาคิด วินิจฉัย
ดูให้เห็น ในสิ่ง ที่เป็นไป
ให้เข้าใจ สิ่งที่เห็น ความเป็นมา
๐ มองหาเหตุ ปัจจัย มองให้เห็น
สิ่งที่เป็น บ่อเกิด ของปัญหา
ใช้ความคิด ใช้สติ ใช้ปัญญา
จงมองหา มองให้เห็น ความเป็นจริง
๐ ชีวิตนี้ ย่อมมี อุปสรรค
เป็นตามหลัก เปลี่ยนไป ในทุกสิ่ง
อนิจจา ไม่เที่ยง คือความจริง
สรรพสิ่ง ย่อมผันแปร ไม่แน่นอน
๐ เมื่อมีได้ ก็ย่อม จะมีเสีย
เมื่ออ่อนเพลีย ควรตั้งหลัก หยุดพักผ่อน
ให้จิตใจ เข้มแข็ง และแน่นอน
แล้วค่อยย้อน มาแก้ไข ให้ทันการ
๐ การกดดัน ตนเอง เกรงจะเสีย
กายอ่อนเพลีย และจิตใจ ไม่อาจหาญ
ทำสิ่งใด ไม่สำเร็จ เสร็จตามกาล
สิ่งที่ผ่าน ไม่เห็นชัด เพราะอัตตา
๐ ทุกปัญหา ย่อมมีทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ยอมละ ซึ่งตัณหา
ความอยากมี อยากได้ ที่เป็นมา
คือตัณหา ความโลภ ที่ครอบงำ
๐ เมื่อไม่ยอม เสียสละ ก็ละยาก
ต้องลำบาก ทำชีวิต ให้ตกต่ำ
ก่อให้เกิด การจองเวร และสร้างกรรม
บุญไม่ทำ แต่กรรมผิด ติดตามตน
๐ เพราะตัณหา อัตตา และมานะ
ที่ไม่ละ ไม่วาง จึงให้ผล
ต้องกลุ้มใจ ไร้สุข ต้องทุกข์ทน
นั้นคือผล ของกรรม ที่ทำมา
๐ ความพอดี พอเพียง เลี้ยงชีวิต
รู้ถูกผิด ในกิเลส และตัณหา
รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ด้วยปัญญา
จะนำพา ชีวิต จิตเจริญ
๐ เจริญธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
มีคนรัก คนชม และสรรเสริญ
เจริญธรรม นำใจ ให้เพลิดเพลิน
สุขใดเกิน สุขในธรรม องค์สัมมา
๐ สุขทางโลก นั้นไม่นาน ก็จางหาย
พอสุขคลาย จิตก็ทุกข์ มีปัญหา
สุขในธรรม นั้นดำรง ทรงเรื่อยมา
ก็เพราะว่า ใจนั้น มันเพียงพอ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๒๘ น. ...

146


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๙...

...ความเป็นผู้รู้ประมาณในกาลเวลา...
...การแสดงความคิดเห็นนั้น ต้องอยู่บน
พื้นฐานของความเหมาะสม พอดีพอเหมาะ
และพอควร มากเกินไปมันจะกลายเป็น
ความฟุ้งซ่าน ไร้สาระ น่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ
ทำให้ความคิดเห็นต่อๆไปกลายเป็นสิ่งที่
ถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะ
เป็นความคิดเห็นที่ดีๆ
...สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก
จังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และบุคคล
ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ในการ
แสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น
...เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม
อยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น พูดคุย เพื่อนำไปสู่ความรู้
และความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง.....
...กว่าจะถึง วันนี้ ของชีวิต
เคยพลาดผิด มากมาย มาหลายครั้ง
หลงเพลินไป ด้วยใจ ไม่ระวัง
จึงพลาดพลั้ง สร้างกรรม ทำบาปมา
...เดินเข้าสู่ วังวน ของคนบาป
จิตนั้นหยาบ มัวเมา ในตัณหา
ได้ก่อกรรม ทำเวร หลายครั้งครา
ก็เพราะว่า ไร้ศีลธรรม ประจำใจ
...จนมาถึง วันหนึ่ง ของชีวิต
จึงได้คิด เปลี่ยนแปลง และแก้ไข
ได้ระลึก ถึงกรรม ที่ทำไป
จึงเปลี่ยนใจ เปลี่ยนจิต คิดเปลี่ยนแปลง
...มุ่งเข้าสู่ ทางธรรม นำชีวิต
ปรับความคิด มืดดำ ทำให้แจ้ง
ลดซึ่งความ ก้าวร้าว และรุนแรง
เพราะมีแสง แห่งธรรม นั้นนำทาง
...ได้ศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ
และฝึกหัด ภาวนา มาหลายอย่าง
บทสุดท้าย ก็คือ การปล่อยวาง
ให้จิตว่าง จากกิเลส ก็เพียงพอ
...ตถตา มันเป็น อยู่เช่นนั้น
วุ่นวายกัน ไปทำไม มากมายหนอ
บทสุดท้าย ของชีวิต จิตรู้พอ
จิตไม่ก่อ ปัญหา เพราะว่าวาง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๔๐ น. ...

147


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๘...

...เรียนรู้เรื่องทางโลกมามากมาย
ล้วนแล้วเป็นไปเพื่อความมี ความได้
และความอยากส่งจิตออกจากตัวเอง
ตลอดเวลา แสวงหาสิ่งนอกกาย
เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนกิเลสตัณหา
และอัตตาเรียนไปๆกิเลสก็ยิ่งหนา
มิได้เบาบางลง
...เรียนรู้สู่เส้นทางสายธรรมเป็นไป
เพื่อความลดละซึ่งความโลภ โกรธ
หลงละกิเลส ตัณหาและอุปาทาน
ให้มันเบาบางลงเป็นการศึกษา
เข้ามาสู่ภายในจิตในกายของเรา
น้อมจิตเข้าสู่ตัวเรา เรียนรู้ให้รู้จัก
ตัวของเราเอง
...พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าว
สอนไว้ว่า"จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออก เป็นทุกข์
จิต เห็น จิต เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ "...
๐ ทุกข์...เท่านั้น เกิดมา พาหลงใหล
สมุทัย...ที่กำเนิด เกิดทุกอย่าง
นิโรธ...ธรรม นำไป ให้ถูกทาง
มรรค...สรรค์สร้าง สัจจะ สู่พระธรรม
๐ เป็นของจริง จากสัจจะ อริยะ
องค์พุทธะ เลิศล้น ชนดื่มด่ำ
บอกโลกรู้ ดูให้เป็น จึงเห็นธรรม
เพื่อจะนำ หนึ่งชีวิต ไม่ผิดทาง...
...แด่ธรรมะของพระพุทธองค์...
...ศรัทธาในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
..รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๗:๓๐ น. ...

148


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๗...

...หลังจากได้เวลาพักจากงาน
โยธากัมมัฏฐาน นั่งพักให้เหงื่อแห้ง
ก่อนที่จะสรงน้ำเตรียมตัวทำวัตรเย็น
ก็เลยค้นหาบทกวีเก่าๆที่เคยเขียนไว้
มาเกลาใหม่ เป็นการผ่อนคลาย
ไปในตัว...

.....กวีธรรมส่องนำทาง.....

...กวีธรรม นำทาง สร้างชีวิต
กวีธรรม นำจิต นิมิตใหม่
กวีธรรม ส่องนำ กายและใจ
กวีธรรม ทำให้ ใจร่มเย็น

...กวีธรรม ทำให้ ใจนึกคิด
กวีธรรม นำจิต ความคิดเห็น
กวีธรรม สอนจิต ให้คิดเป็น
กวีธรรม ที่ได้เห็น นั้นส่องทาง

...กวีธรรม นำเรื่องราว มาเล่าสู่
กวีธรรม บอกให้รู้ ถึงแบบอย่าง
กวีธรรม นั้นเตือนใจ ให้ละวาง
กวีธรรม คือแบบอย่าง เส้นทางธรรม

...กวีธรรม นั้นกลั่น มาจากจิต
กวีธรรม คือนิมิต ที่ลึกล้ำ
กวีธรรม ส่องทาง ล้างมืดดำ
กวีธรรม ชี้นำ ให้ก้าวเดิน

...กวีธรรม น้อมนำ ให้นึกคิด
กวีธรรม เหมือนมิตร ไม่เก้อเขิน
กวีธรรม ทำให้ ใจเพลิดเพลิน
กวีธรรม ดำเนิน อยู่เรื่อยไป

...กวีธรรม นั้นอยู่ คู่กับโลก
กวีธรรม อำนวยโชค สุขสดใส
กวีธรรม ดั่งแสงทอง ผ่องอำไพ
กวีธรรม ทำให้ ใจถึงธรรม

...กวีธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐนัก
กวีธรรม คือที่พัก ผู้บอบช้ำ
กวีธรรม ปลอบใจ ผู้มีกรรม
กวีธรรม ชี้นำ ผู้ทุกข์ทน

...กวีธรรม ชี้ทาง สว่างจิต
กวีธรรม ช่วยชีวิต ให้หลุดพ้น
กวีธรรม มอบให้ แด่ทุกคน
กวีธรรม สร้างกุศล ธรรมทาน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๗:๔๓ น. ...

149


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๖...

..."ความเบื่อกับความอยากเป็นของ
คู่กัน" เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็
ดิ้นรนขวนขวาย หาเหตุและปัจจัย
มาสนองตอบซึ่งความอยากเหล่านั้น
ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้
จิตก็ยินดี ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา
จิตมันก็เกิดปฏิฆะ ขุ่นมัว เศร้าหมอง
และเมื่อเสพในความอยากนั้นจน
เต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น
ความอยากในสิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่
มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมาคือ"อยากๆเบื่อๆ
แล้วก็เบื่อๆอยากๆ" ตามกิเลสตัณหา
ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของอารมณ์
ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีความสุขสงบ
เพราะเราต้องดิ้นรนขวนขวายหาปัจจัย
มาสนองตอบตัณหาไม่สิ้นสุด...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๓:๕๔ น. ...

150


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๕...

...บางครั้งความคุ้นเคยและความ
เคยชิน มันอาจจะนำไปสู่ความ
หย่อนยาน จนกลายเป็นความขี้เกียจ
มักง่าย ถ้าเราไม่หมั่นตรวจสอบ
ควบคุมจิตของเรา ไม่มีความ
รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ข้อวัตร
ปฏิบัติ มันก็จะนำไปสู่ความ
เสื่อมถอยจิตคล้อยตามไปใน
กระแสโลก ออกห่างจากกระแส
แห่งธรรม แต่ถ้าเรามีความมั่นคง
มีศรัทธาที่หนักแน่น ตามดู ตามรู้
ตามเห็นจิตนั้นอยู่เสมอ ไม่พลั้งเผลอ
ขาดสติและองค์แห่งคุณธรรมแล้ว
ความเสื่อมย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา
ความเจริญในธรรมทั้งหลาย ก็จะ
บังเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ปฏิบัติเช่นนั้น
สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตสำนึกแห่ง
การใฝ่ดี ว่าเรานั้นมีแล้วหรือยัง
และเราได้ทำในสิ่งนั้นแล้วหรือยัง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๗ น. ...

151


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๔...

...ที่ผ่านมานั้นเดินทางขึ้นเหนือ
ล่องใต้ไปอีสานอยู่ตลอด ทั้งที่
เป็นเรื่องงานทางพระพุทธศาสนา
และงานด้านจิตอาสาเพื่อสังคม
ทุกสิ่งอย่างที่ได้กระทำไปนั้น
เป็นการฝึกฝนให้แก่คนรุ่นใหม่
เป็นการสร้างพื้นฐานด้านความคิด
เป็นการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม
รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตน
เพื่อคนอื่น รู้จักการใช้ชีวิตและการ
ทำงานรวมหมู่กับคนหมู่มาก
...มันคือการสอนธรรมแด่ผู้ร่วม
กิจกรรม สอนประสบการณ์ชีวิต
คือการเปิดซึ่งโลกทัศน์และชีวทัศน์
เป็นการสั่งสมซึ่งประสบการณ์ชีวิต
ซึ่งต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน ทั้งทาง
โลกและทางธรรม...

๐ เบื่อเบื่อ อยากอยาก หลายครั้ง
ครั้งยัง ฝึกฝน ใหม่ใหม่
หลบหลีก อยู่ตาม พงไพร
หวั่นไหว ต่อโลก มายา

๐ ไม่ว่า จะอยู่ ที่ไหน
ไม่ไร้ วุ่นวาย ปัญหา
เพราะต้อง พบปะ พึ่งพา
ศรัทธา หาเลี้ยง ชีพตน

๐ มีคน ก็มี ปัญหา
เพราะว่า หลบหลีก ไม่พ้น
จึงต้อง ฝึกความ อดทน
ฝึกจน ให้เกิด ชำนาญ

๐ ตามดู ตามรู้ ตามเห็น
ให้เป็น อารมณ์ กรรมฐาน
รู้กาย รู้จิต เหตุการณ์
คิดอ่าน อารมณ์ ปัจจุบัน

๐ รู้ตัว รู้ทั่ว รู้พร้อม
นำน้อม ความคิด สร้างสรรค์
ตามดู รู้จิต ให้ทัน
สิ่งนั้น วิปัส-สนา

๐ ถอนจิต จากความ สงบ
เมื่อพบ กับตัว ปัญหา
แก้ไข โดยใช้ ปัญญา
มองหา ให้เห็น เป็นจริง

๐ มองหา ให้เห็น คุณโทษ
ประโยชน์ หรือไม่ ในสิ่ง
รู้เห็น ตามความ เป็นจริง
จิตนิ่ง ก็มอง เห็นธรรม

๐ เห็นการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และรู้ การดับ ลึกล้ำ
ชั่วดี ก่อเกิด บุญกรรม
น้อมนำ สู่จิต คิดตาม

๐ เคลื่อนไหว แต่ไม่ หวั่นไหว
ถ้าใจ มั่นใน ข้อห้าม
เฝ้าดู จิตอยู่ ทุกยาม
เดินตาม ธรรมะ ชี้นำ

...เคลื่อนไหว วุ่นวาย สับสน
เหตุผล ปัญหา ตอกย้ำ
มนุษย์ เป็นไป ตามกรรม
ใครทำ ต้องรับ กรรมไป....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๘:๓๒ น. ...

152


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๓...

...ในการเขียนบทกวีธรรมนั้น
บางครั้งเราต้องใช้อารมณ์ศิลปิน
เพื่อที่จะสร้างคำหรือภาษาที่สวยงาม
ซึ่งต้องเวลาและอารมณ์ เป็นหลัก
ในการประพันธ์บทกวี เมื่อได้พักกาย
พักจิต ทำชีวิตให้สบาย ทั้งภายนอก
และภายใน ใจก็พร้อมที่จะทำงาน...
....การผ่อนคลายทางจิต โดยการ
ปลดปล่อยความรู้สึกและความคิด
ไปสู่ท้องฟ้า มองหมู่เมฆที่เคลื่อน
ไปมาตามกระแสลม มองหมู่ดาว
บนฟ้าในยามราตรีร้อยเรียงเรื่องราว
มาเล่าเป็นบทกวี เป็นการพักผ่อน
ที่มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม...

...เมื่อฝนซาฟ้าใสใจเป็นสุข...

๐ จะร้อยเรียง เรื่องราว และข่าวสาร
ประสบการณ์ ผ่านตา มาให้เห็น
สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น
ไม่ยากเย็น เกินกว่า พยายาม
๐ มองหมู่เมฆ เคลื่อนคล้อย ลอยบนฟ้า
แล้วแต่ลม นำพา ไม่ไถ่ถาม
ไม่มีสิทธิ์ ร้องขอ หรือต่อความ
เจ้าลอยตาม แรงลม ที่พัดพา
๐ จากกลุ่มน้อย ลอยมา พาประสาน
จึงเกิดการ รวมตัว บนท้องฟ้า
เป็นก้อนใหญ่ เคลื่อนไหว อยู่ไปมา
อีกไม่ช้า ก็จะกลาย เป็นสายฝน
๐ แล้วร่วงหล่น ลงมา สู่เบื้องล่าง
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมี ซึ่งเหตุผล
มีที่มา ที่ไป ใช่วกวน
ไม่เหมือนคน ที่ใจ ไม่แน่นอน
๐ ใจคนนั้น ผันแปร แล้วแต่จิต
เปลี่ยนความคิด จิตใจ ให้ยอกย้อน
ไม่มีความ เที่ยงแท้ และแน่นอน
จิตปลิ้นปล้อน กลับกลอก หลอกเหมือนลิง
๐ เพราะกิเลส ตัณหา พาให้คิด
แปรเปลี่ยนจิต ไปกับ ทุกทุกสิ่ง
ไม่ยอมรับ ความเห็น ที่เป็นจริง
จิตไม่นิ่ง เพราะขาดธรรม จะนำทาง
๐ จิตที่มี คุณธรรม นำความคิด
รู้ถูกผิด ดีชั่ว ทุกสิ่งอย่าง
รู้จักการ ปล่อยปละ และละวาง
ธรรมจะสร้าง จิตสงบ พบความจริง
๐ มีสติ และสัม-ปชัญญะ
จิตก็จะ พบความ สงบนิ่ง
ได้รู้โลก รู้ธรรม ที่เป็นจริง
จิตจะนิ่ง และสงบ เมื่อพบธรรม...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๗:๔๕ น. ...

153


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม บทที่ ๒...

...เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่
กับความรู้สึกของเรากับสถานการณ์
ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่
กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น
เราจะรู้สึกว่าเวลานั้นมันแสนสั้น
เพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันธุ์ยึดถือ
อยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่าน
พ้นไป ในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้น
เรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่
กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้
มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะ
รู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกิน
เพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธ
ในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่า
เวลานั้นผ่านไปช้ามาก เวลาใน
แต่ละช่วงนั้นมันมีระยะที่เท่ากัน
อยู่เสมอ ไม่มีช้าหรือเร็ว มันเป็นไป
ตามปกติวิสัยที่เราสมมุติขึ้นมา
แต่ที่ทำให้รู้สึกว่าช้าหรือเร็วนั้น
มันขึ้นอยู่ที่ใจของเรา...

...รำพึงธรรมกับกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป...

...วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในทุกหน
แม้นแต่จิต และใจ ภายในตน
ยังดิ้นรน ไขว่คว้า หาทางไป
...ภายนอกนั้น อาจจะดู ว่าสงบ
แต่ค้นพบ ว่าจิตนั้น ยังหวั่นไหว
กระแสโลก ที่กระทบ จบที่ใจ
จิตหวั่นไหว เพราะว่าใจ ไม่มั่นคง
...จึงตามดู ตามรู้ ดูที่จิต
ดูความคิด ของจิต เมื่อมันหลง
ดูให้เห็น ความเป็นอยู่ แล้วก็ปลง
จิตมั่นคง เมื่อมีธรรม นั้นนำทาง
...ความเคยชิน ที่สะสม มานมนาน
เพราะว่าผ่าน หลายเรื่องราว ในโลกกว้าง
การจะลด การจะเลิก การจะวาง
จึงต้องสร้าง ความชินใหม่ ไปทดแทน
...นั้นคือการ ละลาย พฤติกรรม
ที่เคยทำ จนเกาะกุม เป็นปึกแผ่น
จึงต้องสร้าง สิ่งใหม่ ไปทดแทน
แม้นจะแสน ยากนัก จักต้องทำ
...ทุกอย่างนั้น มีแนวทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ของเรา จะหนุนค้ำ
ยอมแก้ไข ในสิ่ง ที่เคยทำ
พฤติกรรม เก่าเก่า ยอมละวาง
...ยอมลดละ อัตตา และมานะ
ยอมลดละ ทำใจ ให้เปิดกว้าง
โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ต้องจัดวาง
เปลี่ยนทุกอย่าง ที่เคยทำ กรรมไม่ดี
...ไม่มีคำ ว่าสาย หากเริ่มต้น
ความหลุดพ้น มีได้ ในทุกที่
เริ่มจากใจ จากจิต คิดให้ดี
ต้องเริ่มที่ ใจของเรา เท่านั้นเอง...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๑๖:๕๒ น. ...

154


...เมื่อจิตระลึกถึงธรรม ปฐมบท...

...การที่จะได้รับความเชื่อถือศรัทธา
จากญาติโยมได้นั้น มันต้องทำให้ดู
อยู่ให้เขาเห็น วางตัวให้เป็น จึงจะได้
รับความเชื่อถือ ความร่วมมือ ศรัทธา
จากญาติโยม
...ได้กล่าวเตือนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า
ถ้าไปเป็นเจ้าสำนักหรือสมภารที่ใด
จงอย่าไปทะเลาะกับคนข้างวัดหรือ
ข้างสำนัก จงหาวิธีการสร้างศรัทธา
ให้เขามาเป็นมิตรให้ได้ แล้วท่านจะ
อยู่สบาย คล้ายมีเกราะกำแพงคุ้มกัน
สิ่งนั้นผู้เป็นเจ้าสำนักหรือสมภารต้อง
กระทำให้ได้
...อย่าให้ความสำคัญกับญาติโยมที่
อยู่ไกล จนลืมคนใกล้วัด ต้องปฏิบัติ
ตัวให้เสมอกัน เพราะคนใกล้วัดนั้น
เขาคือกำลังหลักของเรา อยู่ใกล้ชิด
กับเราตลอดเวลา
...การที่จะทำให้เขาศรัทธาได้นั้น
มันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การที่จะรักษา
ศรัทธานั้นให้ยืนยงตลอดไป เป็นเรื่อง
ที่ยากขึ้นไปกว่า " ทำของที่ไม่มีนั้น
ให้มันมีขึ้นมา รักษาของที่มีอยู่แล้ว
ไม่ให้สูญหายไป " นั้นคือสิ่งที่ต้อง
คิดและกิจที่ต้องทำ...

...พรสวรรค์ นั้นมี แต่กำเนิด
เพราะว่าเกิด จากบุญ ที่สะสม
เพราะจิตนั้น ได้ผ่าน การอบรม
และสั่งสม สืบต่อ ปัจจุบัน

...พรสวรรค์ อาจหายไป ถ้าไม่ต่อ
มัวแต่รอ วาสนา เฝ้าแต่ฝัน
ไม่สานต่อ ทำเพิ่ม เติมเต็มมัน
พรสวรรค์ ก็หมด หดหายไป

...พรสวรรค์ นั้นแพ้ พรแสวง
เสาะหาแหล่ง เรียนรู้ สู่สิ่งใหม่
พัฒนา ตนเอง ขึ้นเรื่อยไป
เพื่อจะได้ ฝึกฝน จนชำนาญ

...ทุกสิ่งอย่าง มันยาก ตอนเริ่มต้น
เพราะทุกคน เพียงแต่คิด จิตไม่หาญ
เมื่อไม่ทำ ก็ไม่รู้ ไม่สู้งาน
ปล่อยให้ผ่าน เปล่าไป ไม่ได้ทำ

...การฝึกฝน เริ่มต้น ตรงที่จิต
ต้องฝึกคิด ปลุกจิต ไม่คิดต่ำ
คิดให้ดี คิดให้ชอบ แล้วกระทำ
โดยการนำ ทำความคิด ให้เป็นจริง

...ความคิดนั้น เป็นเพียง นามธรรม
ต้องน้อมนำ ทำไป ในทุกสิ่ง
ทำให้ดู ทำให้เห็น ให้เป็นจริง
อย่าเฉยนิ่ง ทำทุกสิ่ง เพื่อทางธรรม
...เอาธรรมนั้น มานำทาง สร้างชีวิต

เพื่อนำจิต ออกจาก สิ่งตกต่ำ
ลดและละ ความชั่ว ที่ครอบงำ
เดินตามธรรม ตามทาง สร้างความดี

...สร้างความดี ฝากไว้ ให้คนคิด
เป็นนิมิต ฝากไว้ ในทุกที่
เกิดเป็นคน ควรสร้าง เส้นทางดี
ชีวิตนี้ ที่เกิดมา ค่าคู่ควร.....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓...
...เวลา ๐๕:๓๔ น. ...

155


...กตัญญูบูชาครู พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)...
...วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคมที่จะถึงนี้
เป็นงานไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อ
เปิ่น ฐิตคุโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ
ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ เคยได้รับความ
เมตตาจากท่านในหลายด้าน จนทำให้
สามารถมายืนอยู่ ณ จุดนี้ได้ ก็เพราะได้
บารมีของครูบาอาจารย์ท่านส่งเสริม
ลูกศิษย์นี้ไม่เคยลืมพระคุณของท่าน
ด้วยใจเคารพศรัทธา ขอแสดงความ
กตัญญูบูชาครู ด้วยตัวอักษรไว้ ณ ที่นี้...

๐๐๐ ฐิตคุณาศิรวาท ๐๐๐

(...กลอน ๙ ด้น...)

๐ นบนิ้วน้อม มือประนม ก้มลงกราบ
รำลึกภาพ พระอุดม- ประชานาถ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เกียรติประกาศ
สีหนาท เกียรติก้องไกล มานานปี

๐ เป็นที่พึ่ง ของผู้คน ทุกค่ำเช้า
เทพเจ้า แห่งลุ่มน้ำ นครชัยศรี
ตลอดอายุ ที่ผ่านมา เนิ่นนานปี
หลวงพ่อมี ความเมตตา สาธุชน

๐ หลวงพ่อเปิ่น พระอุดม- ประชานาถ
เกียรติประกาศ คนแซ่ซ้อง ทุกแห่งหน
ขอกุศล ผลบุญนั้น บันดาลดล
ประสิทธิ์ผล ซึ่งสมบัติ พิพัฒน์ชัย

๐ หลวงพ่ออยู่ เป็นมิ่งเกล้า ของเหล่าศิษย์
ชุบชีวิต เมตตาธรรม นำมาให้
บารมี ช่วยปกป้อง จากผองภัย
น้อมกายใจ ไหว้บูชา ครูอาจารย์...

...กตัญญูบูชาครู เสาร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓...
...รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม...
... ร้อยกรองบูชาครู...

156


...ระลึกถึงบุญคุณครูบูรพาจารย์ ใกล้ถึงงานไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น...
๐ ตั้งแต่อ่อน นอนแผ่ ในแบเบาะ
ก็ถูกเพาะ อบรม และสั่งสอน
ด้วยความรัก เมตตา เอื้ออาทร
จากมารดร สอนสั่ง อย่างตั้งใจ
๐ สอนให้รู้ จักคำ สื่อภาษา
ด้วยวาจา ปลอบโยน อันอ่อนไหว
ด้วยความรัก เมตตา และห่วงใย
สอนตั้งไข่ สอนเดิน เจริญการ
๐ อันมารดา เป็นครู ผู้เริ่มต้น
ผู้ฝึกฝน อบรม ประสมสาน
สอนให้พูด ให้ทำ จนชำนาญ
ปฐมการ ก่อเกิด ซึ่งปัญญา
๐ พออายุ ถึงเกณฑ์ ที่กำหนด
ไปตามกฎ ระเบียบ การศึกษา
เรียนจากครู อาจารย์ งานวิชา
ตามโอกาส วาสนา ปัญญามี
๐ พอเติบใหญ่ เรียนรู้ จากรอบข้าง
เรียนทุกอย่าง เรื่อยไป ในวิถี
สรรพสิทธิ์ วิชา บรรดามี
เรียนรู้ที่ ถูกต้อง ตามแนวทาง
๐ เป็นครูพัก ลักจำ ก็ทำอยู่
หรือเรียนรู้ ในศาสตร์ ทุกสิ่งอย่าง
ทุกสิ่งล้วน มีครู ผู้ชี้ทาง
ที่ได้สร้าง ได้ทำ ได้นำมา
๐ ศิษย์มีครู ก็เหมือนงู ที่มีพิษ
แม้น้อยนิด ก็มีฤทธิ์ ตามเนื้อหา
เกิดจากความ เคารพ และศรัทธา
เชื่อมั่นมา ในครู ผู้ชี้นำ
๐ กตัญญู บูชา คารวะ
คือธรรมะ คำครู ผู้หนุนค้ำ
ระลึกถึง คุณของครู อยู่ประจำ
เมื่อกระทำ การกิจ คิดถึงครู
๐ ถึงรอบปี มีโอกาส อย่าพลาดผิด
มารวมจิต รวมใจ ให้มั่นอยู่
ตั้งพิธี พลีกรรม ตามคำครู
ทำให้ดู ให้เด่น ให้เป็นงาน
๐ งานไหว้ครู บูรพา อาจารย์นั้น
มาร่วมกัน ตั้งจิต อธิษฐาน
ระลึกถึง พระคุณครู บูรพาจารย์
อธิษฐาน พระคุณครู อยู่คุ้มครอง
๐ สิ่งใดที่ ผิดพลาด ประมาทคิด
ขมาจิต ขมากาย คลายเศร้าหมอง
ขอน้อมกาย น้อมจิต ศิษย์รับรอง
ตอบสนอง พระคุณครู อยู่ไม่คลาย
๐ ขอพระคุณ ของครู จงอยู่ค้ำ
อยู่ประจำ กับศิษย์ นิมิตหมาย
ระลึกคุณ ของครู ด้วยใจกาย
ศิษย์ทั้งหลาย ระลึก สำนึกคุณ...
...กตัญญู บูชา คารวะ ต่อครูบูรพาจารย์...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
         ๒๔ ก.พ.๒๕๖๓

157


...อาจาริยะบูชาไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ...

...ไม่ใช่เพียงแค่ระลึกนึกถึง
แต่ควรนำคำสั่งสอนของท่าน
มาปฏิบัติใช้ ไม่ละเมิด ไม่ก้าวล่วง
ข้อห้ามที่ครูบาอาจารย์ชี้แนะไว้
นี้จึงจะได้ชื่อว่า " อาจาริยบูชา
หรือการบูชาพระคุณครู "
อย่างแท้จริง...

...พิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น
วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๓
เวลา ๐๙.๓๙ น. ณ มณฑลพิธี
วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม...

๐ สิบนิ้วประนมน้อม
ดวงจิตพร้อมอภิวา
ระลึกคุณบูรพา
ขอบูชาซึ่งคุณครู
...สืบสายตำนานศาสตร์
ขอประกาศและเชิดชู
ศึกษาและเรียนรู้
สืบจากครูบูรพา
...สักเสกแลเลขยันต์
สารพันวิทยา
ได้รับความเมตตา
ถ่ายทอดมาจากอาจารย์
...โดดเด่นเรื่องสักเสก
ยกเป็นเอกแห่งตำนาน
เสือเผ่นเด่นตระการ
คนกล่าวขานและร่ำลือ
...เวียนรอบในราศี
ถึงเดือนสี่ที่เชื่อถือ
สำคัญวันนั้นคือ
ประกาศชื่อบูชาครู
...ไหว้ครู"หลวงปู่เปิ่น"
ประกาศเชิญให้รับรู้
บวงสรวงบูชาครู
เชิญมาอยู่คุ้มครองกาย
...รอยมันและลายหมึก
ที่จารึกมีความหมาย
ป้องกันอันตราย
สิ่งชั่วร้ายไม่แผ้วพาน
...สิ่งดีให้มีมา
คนเมตตารักสงสาร
สำเร็จเรื่องการงาน
ได้พบพานสิ่งดีดี
...เลขยันต์อักขระ
เราควรจะรู้วิธี
รักษายันต์ตรานี้
ก็ต้องมีคุณธรรม
...ถือศีลและถือสัตย์
ข้อบัญญัติควรกระทำ
สิ่งที่ครูชี้นำ
จงจดจำและทำตาม
...เชื่อมั่นและศรัทธา
ภาวนาทุกโมงยาม
อย่าผิดในข้อห้าม
พยายามเป็นคนดี
...ยันต์นั้นจะเข้มขลัง
มีพลังด้วยสิ่งนี้
นั้นคือคุณความดี
ศรัทธามีในอาจารย์
...ไหว้ครูบูชาครู
เพื่อเรียนรู้และสืบสาน
ของดีแต่โบราณ
สืบตำนานวิทยา
...พ่อแก่แลฤาษี
พระคัมภีร์แห่งคาถา
สืบทอดตลอดมา
ควรรักษาให้สืบไป.....

...ระลึกถึงด้วยความเคารพศรัทธาต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหลาย...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
       ๒๒ ก.พ.๒๕๖๓

158
:090: เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๓ :090:
:114: ขออวยพรให้ท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุขความเจริญ :114:
:090: มีสุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้ทุกประการเทอญ :090:
 :114: :090: :090: :090: :114:

159
ทดสอบ

ทดสอบแก้ไข

160
เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗


เสื้อที่ระลึกเว็บไซต์วัดบางพระรุ่น ๗ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)

ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระได้จัดทำเพื่อเพื่อนสมาชิกได้ใส่ร่วมพิธีไหว้ครู

ปีนี้เป็นปีที่ ๗ ขณะนี้ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินการจัดทำเสื้อที่ระลึกรุ่นที่ ๗ แล้ว

และในปีนี้จะไม่มีการเปิดจองเสื้อผ่านหน้าเว็บบอร์ดเหมือนปีที่ผ่านมา

เนื่องจากทีมงานแต่ละท่านติดภาระกิจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

จึงปรึกษากันว่า เปิดให้บูชาที่วัดบางพระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ราคา 350 บาท

*** บูชาได้ประมาณ ๑ อาทิตย์ก่อนวันงานไหว้ครู

*** สำหรับจำนวนการผลิตเสื้อในปีนี้ ทางทีมงานจะดูจากสถิติการสั่งจองเสื้อย้อนหลัง ๔ ปี

ขนาดเสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

ขนาดเสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งทางทีมงาน เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ

จึงแจ้งมาเพื่อทราบ...

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ
 :001:

161
สวัสดีครับ...

เปิดกระทู้รายงานตัวใหม่เนื่องจากกระทู้เดิม http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7011

มีพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เข้ามารายงานตัวมาตอบกันมากมาย อาจทำให้เข้ากระทู้ได้ช้ากว่าจะได้ตอบต้องรอนาน...

พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เข้ามาก็รายงานได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกใหม่หรือเก่า เข้ามาได้ครับ

จะได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกันยิ่งขึ้นครับ...



162
สวัสดีครับ...
ก่อนอื่นขอภัยที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าว่าจะมีการอัพเดท Host และ Script ครับ...  :054:
เนื่องจากเป็นเหตุเร่งด่วนและความปลอดภัยของเว็บบอร์ดจึงต้องรีบแก้ไข

การอัพเดท Host
Host เดิมที่ใช้งานมีพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่ออนาคตอันใกล้นี้ (เต็มไม่พ้นสงกรานต์ 57 แน่ๆ)
หลังจากอัพเดทแล้วตอนนี้มีพื้นที่จัดเก็บไปยันชั่วลูกชั่วหลานเลย...  :002:
ส่วน Bandwidth ก่อนการอัพเดท Host เราเผากันวันละอย่างน้อย 15 G
ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งมีผลทำให้เข้าเว็บบอร์ดไม่ได้
ตอนนี้เชิญเผากันตามสบายขอรับ...  :002:

พบปัญหาในการใช้งานรบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ...

ขอบคุณครับ...  :054:
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ

164
สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ...

พอดีมีเวลาว่างนิดหน่อย เลยแก้บอร์ดให้ใส่ Social Media จำพวก

Facebook, MySpace, Twitter, Google+, Youtube, DeviantArt, Pinterest ในข้อมูลส่วนตัว(Profile)

เข้าไปใส่ใน --> ข้อมมูลส่วนตัว --> ปรับแต่งข้อมูลในฟอรั่ม


ผลที่ได้...


ลองใส่กันดูนะครับ...

เว็บมาสเตอร์...  :001:

165
บทความ บทกวี / คิดจะเป็นผู้ให้...
« เมื่อ: 01 พ.ค. 2556, 08:43:19 »
คิดจะเป็นผู้ให้ อย่าลืมใส่ใจกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ

คิดถึงวันที่เรายังไม่รู้ เราก็เป็นผู้ถาม เพื่อที่จะให้รู้

เมื่อเขาถามในสิ่งที่เขาไม่รู้ เราก็ตอบแต่ในส่วนที่เรารู้

คนโง่คือคนโง่ คนไม่รู้คือคนไม่รู้ คนไม่รู้ใช่ว่าเขาจะเป็นคนโง่

คนไม่รู้เมื่อศึกษาแล้ว เขาอาจจะรู้และเข้าใจยิ่งกว่าคนที่เคยรู้ก็ได้

อย่ารำคาญใจ หรือหงุดหงิดใจ กับคำถามที่เรารู้สึกว่ามัน ซ้ำๆ ซากๆ บ่อยๆ

บนผืนโลกนี้มีความรู้อีกมามาย ในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้แท้จริงเราอาจจะไม่รู้เลยก็ได้

สิ่งที่เขาไม่รู้ เราก็มองว่าเขาโง่ ดูถูก เหยียดหยาม แท้จริงเราก็อาจจะโง่กับสิ่งที่เขารู้อยู่ก็ได้

เอาใจเขามาใส่ใจเรา มองด้วยความเมตตา ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์ทุกคน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

*** ไม่มีลิขสิทธิ์ในผลงานที่ข้าพเจ้าได้สรรค์สร้าง เชิญท่านนำไปสร้างสรรค์อย่าได้เกรงใจ ***


ปล. เขียนไว้นานหลายปีแล้ววววว...

เว็บมาสเตอร์...  :001:

166

ได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อ พระครูนิวิฐสาธุวัตร (หลวงพ่อทองล่ำ) เจ้าอาวาสวัดเจ้าอาม

หลวงพ่อท่านใจดีมากๆ มอบพระสมเด็จเนื้อเกสร สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ให้กระผมไว้บูชา ๑ องค์

เลยเอามาให้เพื่อนสมาชิกได้รับชมกันครับ...





เว็บมาสเตอร์...  :001:

167
๑. ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยนเด็ดขาด
๒. ห้ามล่อเป้าไปในทางซื้อขาย
๓. ห้ามบอกราคาห้ามถามราคา

เดี๋ยวจะตามมาเรื่อยๆ

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ...
 :001:

168

                ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้เริ่มก่อตั้งเว็บไซต์วัดบางพระอย่างเป็นทางการ จุดประสงค์ของการจัดทำเว็บไซต์แห่งนี้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ รวบรวมข้อมูลของวัดบางพระ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บอกประวัติความเป็นมาของ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) ซึ่งเป็นพระที่เราท่านทั้งหลายให้ความเคารพศรัทธายิ่ง พูดถึงเรื่องราวการสักยันต์ที่หลวงพ่อได้สักให้กับศิษย์และถ่ายทอดวิชาการสักให้กับศิษย์ทั้งหลาย เป็นแหล่งชุมชนของคนเข้มขลัง พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ฯลฯ

                ตลอดระยะเวลากว่า ๑๑ ปีที่ผ่านมา คณะผู้จัดทำได้มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการใช้งานให้สนองตอบต่อความต้องการ และความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกอย่างต่อเนื่องเสมอมาจนถึงปัจจุบัน

                กฎ กติกา มารยาท ในการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยกฎกติกามารยาทการใช้งานนี้ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคมเพื่อนสมาชิก ที่เข้ามาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ อันจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศสังคมแห่งมิตรไมตรี และเป็นการป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดมีขึ้นจากการใช้งานที่ขัดต่อมารยาทที่ดีงามด้วยอีกประการหนึ่ง

                เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ ได้มีมติร่วมกันว่าสมควรที่จะจำกัดการโพสต์ภาพ โดยห้ามโพสต์ภาพวัตถุมงคลที่ไม่ใช่ของทางวัดบางพระโดยเด็ดขาด ( http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=27056 )  เหตุเพราะมีเพื่อนสมาชิกบางท่านตั้งกระทู้โพสต์ภาพวัตถุมงคลที่ส่อเจตนาไปในทางซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือเพื่อหวังผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งผิดกฎกติกาการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระข้อ ๙ ที่ระบุไว้ว่า “ห้ามตั้งกระทู้ที่มีเนื้อหา ไปในทางโฆษณาบอกประกาศ เพื่อส่อเจตนาในทางซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนใดๆ ทั้งสิ้น (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)” ตรงนี้เองจึงทำให้ผู้ที่มีเจตนาในการโพสต์ภาพวัตถุมงคลอย่างบริสุทธิ์ใจพลอยได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พื้นที่แหล่งการเรียนรู้บนกระดานสนทนาวัดบางพระจึงถูกจำกัดไปด้วยตามลำดับ

                ทางทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมีมติร่วมกันให้เปิดบอร์ดรูปภาพและวีดีโอแยกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็นบอร์ดที่ไว้ใช้สำหรับโพสต์รูปภาพและวีดีโอสายวัดบางพระ และอีกส่วนหนึ่งเป็นบอร์ดที่ใช้สำหรับโพสต์รูปภาพและวีดีโอสายอื่นๆ (ทั้งนี้เนื้อหาในการตั้งกระทู้ และเนื้อหาในการโพสต์รูปภาพหรือวีดีโอก็จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎกติกามารยาทการใช้งานกระดานสนทนาวัดบางพระอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษตั้งแต่การตักเตือน, การแบนกำหนดระยะเวลา, การแบนถาวร และหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามแต่ความผิดและดุลพินิจการพิจารณาของทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ที่ถือเป็นที่สุด) โดยจะเริ่มเปิดใช้บอร์ด “รูปภาพและวีดีโอสายอื่นๆ” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
                ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ...
                 :001:

169
แอบปลื้มแอบถ่ายหลังเพื่อนร่วมสมาชิก

หลังของท่านใดหน้อ...

โปรดแสดงตนโดยการหันหน้ามา...

เดี๋ยวมีแจกของดี...



 :001:

170
หลังจากที่ใช้ธีม fatherday เกือบห้าปี

วันนี้สลัดความขี้เกียจทำธีมใหม่เย็นสบายๆตา(หรือเปล่าไม่รู้) รับหน้าร้อน...

ขอบคุณรูปจากคุณ "โคมแก้ว" ครับ...


171
เก็บภาพบรรยากาศมาให้ชมกันนิดหน่อยครับ...

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


 :001:

172
[shake]ปิดการสั่งจองแล้วครับ

ปิดการสั่งจองแล้วครับ

ปิดการสั่งจองแล้วครับ
[/shake]








สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

เปิดจองเสื้อที่ระลึกของ เว็บไซต์วัดบางพระ รุ่นที่ 5 อย่างเป็นทางการ

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
(และให้โอนเงินก่อนเวลา 24.00 น. ของวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556)



เสื้อจะเป็นสีเขียวขี้ม้า ปกเสื้อและขอบแขนเป็นสีออกส้มๆ ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)
หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสปลุกเสก
เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ  

เสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

เสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งขนาดรอบอกด้วย เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ


ราคา 350 บาท ราคาเดียว ทั้งแบบจัดส่งและรับเองที่วัด


การสั่งจอง : มี 2 ช่องทาง
1. ผ่านกระดานสนทนา โดยการโอนเงินตามจำนวนที่จองแล้วมากรอกแบบฟอร์มด้านล่าง
2. ที่สำนักงานวัดบางพระ (ติดต่อหลวงพี่เก่ง)

การโอนเงิน :
ธนาคารXXXXXXX
ชื่อบัญชี เว็บบอร์ดวัดบางพระ
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 7152642XXX


**เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ กรุณาโอนมีเศษสตางค์ด้วยครับ เช่น 350.24



กำหนดการโอนเงิน :
ภายในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
=== ถ้าไม่โอน จะไม่ทำเสื้อให้นะครับ ===


กำหนดการจัดทำเสื้อ :
ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากปิดจองแล้ว ฉะนั้นจะเสร็จเรียบร้อยก่อนไหว้ครูแน่นอน

การรับเสื้อ :
มีสองทางเลือก คือ
1. จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้  ทางไปรษณีย์
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล (เบอร์โทร) ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์  ในแบบฟอร์มด้านล่าง

2. รับเองที่สำนักงานวัดบางพระ
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2556 เป็นต้นไป




ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:




173
สวัสดีครับเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ...

วันนี้เว็บเกิด Overload ระบบดับนิ่งเลยตั้งแต่เวลา ๑๑ โมงกว่าๆ

คุณ โองการยันนะรังสี แจ้งให้ทราบประมาณสามทุ่มครึ่ง

เลยรีบแจ้งไปที่โฮส ทางโฮสแจ้งมาว่าเกิด Overload โฮสเลยดับไปเฉยๆ

สงสัยจะถึงคราที่จะต้องวาง VPS แล้วละมั้ง...


174
เมื่อคืนหลวงพ่อพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่ออาง) เจ้าอาวาสวัดบางพระ

เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม พระอธิการเกษม เขมจาโร (หลวงปู่อั๊บ) วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมด้วย เก็บภาพมาฝากครับ




























175
สวัสดีครับ...

ห่างหายจากการอัพเกรดนานพอสมควร

วันนี้มีลูกฮึดเลยอัพเกรดจากเวอร์ชั่น 1.1.11 เป็น 1.1.16

ใช้เวลานานพอสมควรตั้งแต่เก้าโมงเช้ากว่าๆ จนถึงเกือบสี่โมงเย็น (แอบทำในเวลาเรียน)  :004:

เนื่องจากซอสโค้ดบางไฟล์มีไม่ตรงกัน (ปวดหัวนิดหน่อย) :075:

และต้องค่อยๆ อัพเกรดขึ้นไปทีละเวอร์ชั่น 1.1.11 เป็น 1.1.12 เป็น 1.1.13 ... จนถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน

หลังจากปล้ำกันอยู่นานก็ผ่านไปได้ด้วยดี ทดสอบแล้วไม่พบข้อผิดพลาดอย่างไร

แต่ทว่าหากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ร่วมสมาชิก เข้าใช้งานแล้วเกิดข้อผิดพลาดอะไร

กรุณาแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบด้วย เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไปครับ


ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:

176
สวัสดีครับ...

เปลี่ยนระบบแนบรูปให้ง่ายเพียงแค่คลิก Browse... ค้นหารูปที่ต้องการ

แล้วก็คลิกตั้งกระทู้ได้เลย  :002:

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

177
ขอบคุณพี่แจ๊ว แผงพระวัดบางพระที่มอบให้ครับ...








178
สมาชิกที่สั่งจองเสื้อร่วมตอบแบบสอบถามลุ้นรับของรางวัล


179
สำหรับท่านที่สั่งจองไว้ ก่อนไหว้ครูได้รับเสื้อแน่นอน  :027:









 :001:

180
ปิดสั่งจองเสื้อแล้วนะครับ

ส่วนท่านที่ยังไม่ได้โอน ให้ดำเนินการก่อน วันที่ 9 /2/55 เวลา 24.00 น.

สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

เปิดจองเสื้อที่ระลึกของ เว็บไซต์วัดบางพระ รุ่นที่ 4 อย่างเป็นทางการ

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555

(และให้โอนเงินก่อนเวลา24.00น.ของวันที่ 9 กุมภาพันธ์)



เสื้อจะเป็นสีเทาอ่อน ปกเสื้อและขอบแขนเป็นสีเทาเข้ม ออกแบบโดยคุณต้น (...ปราณจิต...)
หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสปลุกเสก
เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ  

เสื้อชาย
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
40" - S
42" - M
44" - L
46" - XL
48" - XXL
52" - XXXL

เสื้อหญิง
รอบอก และ Size ของเสื้อ (นิ้ว)
30" - SS
32" - S
34" - M
36" - L
38" - XL
40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งขนาดรอบอกด้วย เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ


ราคา 300 บาท ราคาดังกล่าวรวมค่าจัดส่งแล้ว ครับ


การสั่งจอง : มี 2 ช่องทาง
1. ผ่านกระดานสนทนา โดยการโอนเงินตามจำนวนที่จองแล้วมากรอกแบบฟอร์มด้านล่าง
2. ที่สำนักงานวัดบางพระ (ติดต่อหลวงพี่เก่ง)

การโอนเงิน :
ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี อานนท์
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ .........


**เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ กรุณาโอนมีเศษสตางค์ด้วยครับ เช่น 300.24

**หลังจากโอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้งคุณนนท์ (โองการยันนะรังสี) ที่
    หรือส่งหลักฐานการโอนไปที่ ........live.com

กำหนดการโอนเงิน :
ภายในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555
=== ถ้าไม่โอน จะไม่ทำเสื้อให้นะครับ ===


กำหนดการจัดทำเสื้อ :
ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากปิดจองแล้ว ฉะนั้นจะเสร็จเรียบร้อยก่อนไหว้ครูแน่นอน

การรับเสื้อ :
มีสองทางเลือก คือ
1. จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้  ทางไปรษณีย์
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล (เบอร์โทร) ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์  ในแบบฟอร์มด้านล่าง

2. รับเองที่สำนักงานวัดบางพระ
ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป


เกิดปัญหาหรือติดขัดประการใดติดต่อโดยตรงที่คุณนนท์ (โองการยันนะรังสี) ทาง
pm : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=pm;sa=send;u=3
อีเมล์ : ..............live.com
โทร : 089 ..................

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:



<iframe src="https://docs.google.com/a/bp.or.th/spreadsheet/embeddedform?formkey=dHNHOGFzZG43QS1neHE1ajlVcmYyNVE6MQ" width="760" height="1600" frameborder="0" marginheight="0" marginwidth="0">กำลังโหลด...</iframe>

181


แ จ้ ง ข่ า ว

กำหนดงานไหว้ครูบูรพาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

ต ร ง กั บ


วันเสาร์ ที่ ๓ เดือน [shake]มีนาคม[/shake] พ.ศ. ๒๕๕๕[/size]

เวลา ๐๙.๓๙ น.

ข อ เ ชิ ญ ศิ ษ ย า นุ ศิ ษ ย์    ผู้ ที่ มี จิ ต ศ รั ท ธ า เ ลื่ อ ม ใ ส

และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณทุกท่าน เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน.




 :016: :001: :001: :001: :015:

182

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)

ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ.วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า

อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑

เวลา ๑๐.๐๐ น. ประกอบพิธีถวายผ้ากฐิน

ขออำนาจบุญกุศลที่ท่านทั้งหลายได้สร้าง ได้กระทำ ขอให้มีความสุข ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ.



183
แม่คือสตรีผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีแต่ให้ตลอดกาล

[youtube=425,350]P8Tv1IVMogQ[/youtube]

 :077:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :114:  :077:

ขอขอบคุณ : bangbon16

184
ตอนนี้ได้ปรับแก้ระบบอัพรูปให้ใช้งานได้แล้ว และเป็นการอัพขึ้นโฮสของเว็บเราเอง



ฉะนั้นจึงสบายใจได้เลยว่า รูปที่สมาชิกโพสต์ไปไม่หายครับ


วิธีการอัพรูปเพื่อโพสต์ลงบอร์ดครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=2148

185


BIOGRAPHY  IN  BRIEF  OF  LUNG  PHOR  PERN

         “Phra  Udom  Phrachanart”  LungPhor  Pern Thitakuno  was  born  on  Sunday, 12th August, BE 2466  (1931) in  Thambon  Bang  Kaew Fa, Nakron  Chaisri, Nakorn  Pathom, which  is  about  70 kilometers  from  Bangkok. His  parents  were  Mr. Fug and Mrs. Young  Poorahong. He  was  the  9th  child  amongst  the  10 siblings. Everybody  deceased. 
         1.  Mrs. Jun  Umramard 
         2.  Mrs. In  kongprajug 
         3.  Mr. Terng  Porahong 
         4.  Mr. Chu Poorahong 
         5.  Mrs. Wai  Poorahong 
         6.  Mr. Leun  Poorahong 
         7.  Mr. Li  Poorahong 
         8.  Mrs. Rong  Poorahong 
         9.  Phra  Udom  Prachanart  “Pern  Poorahong”

         During  his  early  life  in  Nakorn   Chaisri  Basin  Area, was  a  territory  that  teemed  with  “Nak  Lengs”  or  gangsters  and  infamous  highwaymen. In  those  days, there  were  no  modern  weapons  such  guns, pistols  etc. for  self  protection. For  survival’s sake, one  must  possessed  special  skills  or  mystical  power. As  a  laymen, he  was  very  fascinated  and  curious  to  learn  and  possess  those  mystical  charms  and  power  form  the  senior  monks  residing  at  Wat Bangpra. The  temple  was  just  a  stone’s  throw  away  from  his  house. Young  Pern  used  to  go  the  temple  to  acquire  as  much  knowledge  and  skills  as  he  could. 

         His  inclination  and  keenness  to  learn  and  study  caught  the  eyes  of  his father, which  later  taught  him  all  the  skills  he  possessed. Not  long  after  that, his  family  moved  to  SuphanBuri, where  he  gained  his  reputation  and  worshipped  as  a  hero  due  to  his  prowess  in  mystical   power  and  charms. Lung  Phor  Pern’ s  quest  for  mystical  power  and  charms  had  led  him  to  find  some  great  teachers  to  be  his  mentors. Suffice  to  say  that  he  was  aeriously  interested  in  all  things  paranormal. He  had  the  privilege  to  be  a  disciple  of  the  extremely  respected  monk  of  the  time, Lung  Phor  Dang of  Wat  Tungkog. Lung Phor  Dang  himself  was  a  disciple  of  Lung  Phor  Nhong  of  Wat  Klongmadun. Under  the  tutelage  of  Lung  Phor  Dang, young  Pern  learned  very  fast  and   possessed  special  skills. His  mentor  knew  that  young  Pern  will  become  a  renowned  sorcerer  than  expected. Young  Pern  came  under  the  tutelage  of  Lung  Phor  Dang  for  a  number  of  years  before  he  moved  back  to  his  home  town  in  Nakorn  Pathom. At  one  stage, yong  Pern  was  supposed  to  be  a  conscript. But  luck  was  with  him. He  was  never  called  upon  to  be  one.  Young  Pern  also  had  a  chance  to  study  under  Lung  Phor  Jumpa, a  chief  monk  of  Wat  Phradoo  in  Bangkok 

         During  his  years  in  Nakorn  Pathom  young  Pern  also  had  the  chance  to  learn  “Sak  Yant”  or  making  tattoo  from  a  very  well  known  and  respected  monk, Lung  Pu  Him. Lung  Pu  Him  was  the  chief  abbot  of  Wat  Bangpra. Lung  Pu  Him  was   an  expert  in  matters  of  sorcery  and  an  ancient  medicine.  He  could  cure  all  kinds  if  illnesses  by  using  herbs  and  plants  collected  from  the  jungle.  Those  invaluable  skills  were  passed  on  to  young  Pern. 

         As  a  young  man, he  was  always  fascinated  with  the  life of  a  monk.  He  decided  to  become  a  monk. On the  23rd May  BE 2491, on  Friday, aged  26, he  was  ordained  as  a  monk  with  the  full  blessings  of  his  parents. He  was  given  the  title  “Thitakuno”  He  studied  under  Lung  Pu  Him  for  Four  solid  years. Apart  from  learning  those  mystical  power  and  charms, he  also  learned  the  sacred  ancient  letter.  (Angkara  Khom)  from  Lung  Pu  Him. Young  Pern  was  the  last  disciple  to  look  after  him  till  the  day  he  passed  away. 

         Lung  Phor  Pern   was  also  a  student  of  Lung  Phor  Dang’s  design  and  application. He  was  highly  admired  as  an  expert.  They  were  renowned  for  their  aesthetic  beauty  and  the  power  they  carried  with  together.  He also  studied  vipassana  meditation  with  utmost  dedication  for  many  years. He  became  the  disciple  of  Lung Phor  Ophasri, one  of  the  greatest  monk of  the  time, known  for  his  powers  of  special  mystical  power.  He  taught  Lung  Phor  Pern  how  to  free  one’s mind.  According  to  Lung  Phor  Ophasri, the  greatest  enemy  within  oneself  consists of  the  five  senses  plus   four  elements  that  composed  of  earth, wind, water  wood  and  fire. Unfortunately, Lung  Phor  Pern  only  had  a  short  stinct  with  Lung  Phor  Ophasri, one  year  to  be  precise  before  he  crissed – crossed  North, South, East  and  West  of  Thailand  to  gain  Further  knowledge  and  skills. He  stayed  in  the  Northern  region  for  two  years  before  going  south, to Surat  Thani province, to  be  exact. In  the  south, he  paid  homage  to  luang  Phor  Bhutthatas  of  Suanmok  and  Luang  Phor  Song  of  Chaofasalaloy  Temple. 

         Lung  Phor  Pern   later  wandered  to  the  eastern  part  of  Thailand. That  was  Kanchanaburi  province. He  went  through  the  thickest  and  darkest  forests  to  practice  meditation.  Mortal  dangers  such  as  poisonous  snakes, jungle  fevers   and  wild  animals  such    as  tigers  were  roaming  freely  in  this  part  of  the  wilderness.  Added  dangers  like  wicked  fairies, tree  spirits  or  jungle  ghosts  plus  all  kinds  of  evil  spirits  did  nor  deter  Lung  Phor  Pern  from  seeking  the  truths. In  fact,  the  word  fear  did  not  exist  in  his  mind  at  all. He  was  able  to  meditate  in  the  darkest  night  in  ancient  graveryards  and   ruined  temples  in  the  middle  of  the  darkest  and  thickest  jungle. This  kind  of  meditation  is  supposed  to  strengthen  one s  mind  and  help  on  to  enlighten  one  due  to  the  extremely   fearful  nature  of  the  meditation  location. 

         There  was  a  legend  of   a  tiger  that  turned  into  a  human  being  and  vice  versa. As  for  the  latter, it  will  never  turned  into  a  human  being  again. 

         In  the  middle  of  BE 2504, at  noon, a  forty  year  old  monk  appeared  near  Tungnangrok  Temple. He  was  none  other  than  Lung  Phor  Pern  Thitakuno. He seemed  to  be  loved  and  highly  respected  by  the  local  folks  due  to  the  fact  that  he  possessed  such  a  transparent  personality  that  allowed  all  to  see  his  great  compassion   as  well  as  his  power  to  help  and  cure  people  with  his  Buddha  magic. 

         Tungnarok  Temple  was  in  a  state  of  decay  and  was  about  to  be  abandoned. Luang  Phor  Pern  was  called  upon  by  the  locals  to  help  restore, develop  and  repair  the  ruined  temple. He  obliged. Within  a  short  period  of  time, the  temple  was  restored  and  turned  into  a  great  temple  as if  an  angel  from  heaven  did   it. Having  restored  and  turned  it  into  a  great  temple, he  was  called  upon  to  be  the  chief  monk. He  stayed  there  for  sometime  before  moving  on  to  Wat    Kokkamao on  the  19th   February,  BE 2509. It  was  at  this  temple  that  he  made  the  first  batch  or  Buddha  amulets.  Those  amulets  were  very  hard  to  find  these  days  and  much  sought  after  due  to  the  magical    power  and  miracle  bestowed  upon  the  wearers. 

         Magic  tattoo  was  the  legend  of  Wat  Kokkemao. Lung  Phor  Pern  was  a  great  master  of  magic  tattoo.  He  created  and  designed  Buddha  magic  tattoo  by  himself   for  his  followers  and  disciples.  His  tattoos  were  extremely  well  known  not  only  renowned  in  the  kingdom  of  Thailand  but    visitors  from  Malaysia,  Singapore, Hong  Kong, Taiwan, Japan  and  even  as  far  as  America  came  to  Wat  Bangphra  to  pay  respect  and  homage  to  him.  His  tattoos  were  said  to  be  invincible  and  carried  special  powers  with  them. He  had  been  able  to  pass  on  his  skills  to  his  disciples  and  followers  of  Wat  Bangphra  lineage  as  well  as  those  who  are genuinely  interested  in  studying  magic  tattoo.  The  trade  mark  of  Wat Bangphra’ s  tattoo  is  the  leaping  tiger.  Tiger is  the  symbol  of  power  and  dominance.  Lung  Phor  Pern  has  a  strong  liking  for  tigers.

         Lung  Phor  Pern  returned  to Wat  Bangphra  by  the  requests  of  the  local  people.  He  became  the  chief  abbot  after  the  demise  of  Lung  Pu  Him.  He  stayed  on  and  help  to  restore,  renovate  and  develop  the  temple  to  the  present  glory  until  his  passing  away  at  10.55  a.m.  on 30th  June BE 2545 (2004)  at  Sirirath  Hospital  at  the  ripe  age  of  79.  Although   his  holiness  is  no  longer  with  us, but  his  legend  lives on.
       
Write up by : MAH  KIM  TIAU  (Malaysia)
Approved by : Pol. Col. SOMPORN   CHARUMILINDA (Thailand)

186
เปิดตำนานสำหรับนักปั๊มนักปั่นกระทู้ภาคสอง

เนื่องจากกระทู้ "จัดระเบียบนักปั่น นักปั๊มกระทู้ (ให้ ๑ กระทู้ เชิญปั่น เชิญปั๊ม ตามสบาย...)" ตั้งมาตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๕๐ สามปีกว่าแล้ว...

ได้รับความนิยมจริงๆ มีผู้เข้าชมและตอบกระทู้เยอะมาก มีทั้งสาระ ไร้สาระ สุข เศร้า เหงา เมาก็ยังมี ฯลฯ... มากมายจริง

เลยทำให้กระทู้เข้าถึงได้ยากโหลดช้า สร้างความรำคาญใจให้แก่นักปั่นทั้งหลาย ฉะนั้นจึงขอปิด กระทู้นักปั่น นักปั๊มกระทู้ ภาคแรก

และเพื่อป้องกันนักปั่น นักปั๊มทั้งหลายลงแดงตาย... จึงขอเปิดกระทู้นักปั่น นักปั๊มภาคสองในกระทู้นี้เลย...

เชิญ ปั่น ปั๊มในกระทู้นี้ตามสบาย... กรุณาอย่าปั๊มที่หัวข้อกระทู้อื่นๆ ถ้าพบเห็นลบทิ้งนะครับ

 :001:


*** คำเตือน การปั่นกระทู้ในเว็บบอร์ดวัดบางพระ ทำให้เสียสุขภาพจิต เนื่องจากบอร์ดใช้ระบบเลื่อนตำแหน่งสมาชิกโดยการนับจากเวลาที่เข้าสู่ระบบและการมีส่วนร่วมในบอร์ดเป็นหลัก

187
สุ ข สั น ต์ วั น แ ม่ . . .

[youtube=425,350]x_TDJOqPii0[/youtube]

 :090:  :090:  :090:  :090:  :090:

188
[mthai=380,320]6M1278989918M0[/mthai]

ขอบคุณ MthAi

189
สวัสดีครับ...

เปิดบอร์ดใหม่อีกสองบอร์ดคือ


๑. เกจิอาจารย์ ภาคตะวันออก อยู่ในหมวด ผู้ทรงวิทยาคุณ (เกจิอาจารย์)

๒. เส้นทางสายบุญ ภาคตะวันออก อยู่ในหมวด เส้นทางสายบุญ

ขอเชิญพี่น้องสมาชิกเว็บบอร์ดวัดบางพระทุกๆท่านครับ...เข้าร่วมวงสนทนาครับ  :002:

ทีมงาน...  :001:

190
งาม... รัตนโกสินทร์  :090:

http://www.youtube.com/watch?v=Ekb28WoX0GY

ขอขอบคุณ: bobbibrown19

191
บทความ บทกวี / สุขที่ห้ามอิจฉา..‏
« เมื่อ: 02 ม.ค. 2553, 06:01:40 »
...ยามดึกโต้ลมนั่งห่มแสงจันทร์          บนยอดเขานั่นใจฉันสบาย
หายใจเข้าออกอยู่เพียงเดียวดาย         แต่แสนสบายหัวใจดีจัง
...หรีดหริ่งเรไรขับกล่อมยามนี้           ดังเล่นดนตรีสวรรค์ให้ฟัง
จันทร์เหนือหัวเสียงพลุดังปัง              เสียงแผ่วแว่วดัง..สวัสดีปีใหม่
...
...ปีเอย ปีใหม่ภายใต้แสงจันทร์         จิตแสนสุขสรรค์ดังจันทร์สุกใส
ที่ส่องแสงให้หัวใจแข็งแรง               มันล้วนแสดงจากยิ้มพิมพ์ใจ
...จันทร์เอยจันทร์จ้าวแสงเจ้าอาบข้า    ชายผู้อ่อนล้าบนยอดเขาใหญ่
แสงจันทร์เอิบอาบซึมซาบเข้าไป         จากกายถึงใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันชัวร์
...แสงจันทร์ที่รับนับหลายชั่วโมง        จิตใจปลอดโปร่งเบาโหวงทั้งตัว
ความเอ๋ยความสุขสุขไม่เมามัว           ส่วนตั๊วส่วนตัว เพราะใจสบาย
         
       ...................สวัสดีปีใหม่............................
...ขอส่งความสุขภายใต้แสงจันทร์
...ฝากสายลมนำ ถึงคนแดนไกล
...ขอให้สุขนั้นดังจันทร์อำไพ
...ขอให้สุขใจ สุขกายทุกวัน
.................................ณ.ยอดเขา หัวหิน/๓๑ ธค.๕๒ - ๑ มค.๕๓
                                    ...fon...

ขอบคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับ...  :054:

192

..ปีเอ๋ยปีใหม่..ได้เที่ยวได้กิน
                    ..ได้เมาจนกลิ้ง
                    ..ได้ซิ่งเต็มที่
                    ..ได้แต่งตัวสวย
                    ..แสนรวยของขวัญ
                    ..ช๊อบกันสนั่นมันมือไปเลย
                    ..เที่ยวกันสว่างคาตาซะเลย
                    ..บ้านช่องไม่เคยอยู่ในสายตา

..ปีเอ๋ยปีใหม่....ต้องถ่างตารอ
                    ...ไปเที่ยวไหนกันหนอ?
                    ...ป่านนี้ไม่เห็นมา
                   ...ข้ามคืนแล้วนี่..ยิ่งใจไม่ดี
                   ...เป็นห่วงลูกยา (พ่อ, แม่, เมีย, ผัว, ลูก, หลาน..)
                   ...โทรศัพท์ก็มีใยไม่โทรมา
                   ...โทรทัศน์นี่หนาก็มีแต่ข่าวเศร้าๆที่เคล้าน้ำตา
                   ...โอมเพี้ยง  ขออย่าให้เป็นลูกข้าเลย
                    ...รอแล้วรอลับไม่เห็นใครกลับมา..เลยหลับดีกว่า คาประตู(สะงั้นๆ)

     @..ปีเอ๋ยปีใหม่จะให้สมบูรณ์     ต้องบวกลบคูณว่าใครสุขบ้าง
ไปเที่ยวกับเพื่อนกินเหล้าเมาค้าง     คนอยู่เคียงข้างต้องหลับคาประตู
         เราอาจจะสุขสนุกลืมตาย       อีกคนวุ่นวายไปไหนลูกตู
ยินเสียงก๊อกแก๊กผลุดลุกขึ้นดู         มือแง้มประตูยิ้มทั้งน้ำตา
          คิดกันสักนิดก่อนคิดฉลอง       จะได้สมปองทั้งผองเพื่อนยา
ฉลองกับครอบครัวได้หัวเราะร่า         ได้สุขทั่วหน้าทุกทั่วตัวคน
          พอถึงเวลาก้มลงซบหน้า         แนบกับบาทาของพ่อแม่เรา
กราบลงขอพรจากอรหันต์ของเจ้า      ถ้าไม่มีเค้า..เราไม่มีวันนี้
          ถ่ายรูปเก็บไว้ทุกฝ่ายยิ้มร่า       สุขทุกทั่วหน้าแฮปปี้แฮปปี้
สุขของแม่พ่อช่วยก่อสุขขี                      ให้ลูกคนนี้สู้ชีวีต่อไป   ..สู้เขาไอ้มดแดง..สู้โว๊ย.........

                                                               Fon.๒๗ ธค.๕๒
ขอบคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับ...  :054:

193
ถ้ามันรู้ว่าสิ่งที่มันกำลังแย่ง... หาประโยชน์ได้ไม่... มันคงไม่แย่งกันให้เหนื่อยแรง

http://www.youtube.com/watch?v=bRfR9Bw6i_o

194
แ จ้ ง ข่ า ว

กำหนดงานไหว้ครูบูรพาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๓

ต ร ง กั บ


วันเสาร์ ที่ ๒๗ เดือน [shake]กุมภาพันธ์[/shake] พ.ศ. ๒๕๕๓[/size]

เวลา ๐๙.๓๙ น.

ข อ เ ชิ ญ ศิ ษ ย า นุ ศิ ษ ย์    ผู้ ที่ มี จิ ต ศ รั ท ธ า เ ลื่ อ ม ใ ส

และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณทุกท่าน เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน.


 :016: :001: :001: :001: :015:

195
เมื่อวานลูกศิษย์ อ. โด่ง ถวายภัตตาหารเพลที่สวนนายดำ จังหวัดชุมพร

เพลแล้ว เดินชมส่วนต่างๆ ของสวน แลเห็นกระดานดำเขียนข้อความดีๆ เลยนำมาฝากครับ





 :001:

196
ตรงเริ่มหัวข้อใหม่


ตรงตอบกระทู้แบบทั่วไป


ตรงตอบด่วนก็มีให้อ่าน



197
ข่าวสารจากทีมงาน / เว็บฝากรูป
« เมื่อ: 21 ก.ย. 2552, 09:53:47 »

เนื่องจากมีการเข้าใจผิดกันว่า มีการแอบวางลิ้งค์ในกระทู้ต่างๆ ที่โพสต์รูป

ซึ่งจริงๆ สมาชิกหลายท่านไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างนั้น

เพียงแต่ว่าระบบของเว็บฝากรูปนั้นๆ เขาได้แทรกลิ้งค์ต่างๆ มาให้ด้วย

ก็เลยทำให้มีการเข้าใจผิดกัน เช่น



ทางออกเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของเราท่านทั้งหลายก็คือ ควรงดเว้นเว็บฝากรูปที่มีการแทรกลิ้งค์ต่างๆ

หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็เพียงคัดเอาแต่ลิ้งค์ของรูปนั้นตามที่ระบายสีมาก็เพียงพอ เช่น...



ผลที่ได้



หรือทางออกที่ดีอีกทาง คือ ทางเราได้ทำที่อัพฝากรูปให้อยู่ตรงใต้กล่องที่พิมพ์ข้อความนี้แล้ว



ขอให้มีความสุขทุกๆ ท่านครับ

ทีมงานผู้ดูแล...  :001:

199
๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

ทีมงานกระดานสนทนาวัดบางพระ ได้ทำการจัดกลุ่มสมาชิกใหม่ โดยการนับจากเวลาที่อยู่ในระบบ

จากเดิมระบบจะจัดกลุ่มตามจำนวนของการตั้งตอบหัวข้อ,.. กระทู้

ปฐมะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๑  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๐
ทุติยะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๒  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑๕
ตติยะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๓  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๕๐
จตุตถะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๔  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑๐๐
ปัญจมะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๕  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๓๐๐
ฉัฏฐะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๖  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๕๐๐
สัตตมะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๗  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๗๐๐
อัฏฐมะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๘  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๘๐๐
นวมะ กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๙  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑,๐๐๐

ตอนนี้ทางทีมงานได้เปลี่ยนวิธีจัดกลุ่มใหม่
โดยการนับจาก "เวลาที่อยู่ในระบบ" ที่สมาชิกนั้นๆ ได้เข้าสู่ระบบ

ปฐมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๑  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๐ ชั่วโมง

ทุติยะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๒  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๑ ชั่วโมง

ตติยะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๓  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๕ ชั่วโมง

จตุตถะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๔  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๙ ชั่วโมง

ปัญจมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๕  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๑ วัน

ฉัฏฐะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๖  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๕ วัน

สัตตมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๗  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๙ วัน

อัฏฐมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๘  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๑๕ วัน

นวมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๙  เวลาที่อยู่ในระบบตั้งแต่ ๓๕ วัน

* หมายเหตุ การเข้าสู่ระบบทิ้งไว้ ไม่มีการเคลื่อนไหว ระบบจะไม่นับเวลาให้นะครับ

200
รวบรวมธรรมคำสุภาษิตของครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้
นำมาเป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจตน เพื่อมิให้สับสนและหลงทาง
มีครูบาอาจารย์เป็นแบบอย่างในการก้าวย่างในทางธรรม
จึงขอนำมาเสนอให้ท่านทั้งหลายไดพิจารณากัน..
...................................................................

:059: คนชั่ว คอยแต่จะโฆษณาความชั่วของผู้อื่น เพราะเขารู้จักแต่ความชั่วของผู้อื่น ไม่รู้จักความดีของใคร
:059: เพื่อนที่ไม่ยอม หรือไม่อาจ ที่จะตักเตือนเพื่อน ก็ต้องถือว่า หมดความเป็นเพื่อนเสียแล้ว
:059: กินไม่มีจุดหมาย ก็จะกลายเป็นแดก แล้วท้องก็จะแตก เพราะไม่รู้จักแดกจักกิน
:059: ลูกศิยษ์ ที่คิดล้างครู นั่นเป็นคนเดียวกัน กับลูกที่ไม่รู้คุณพ่อมัน และมักครองสองตำแหน่งพร้อมกัน
:059: สุขแท้ เกิดจากความสงบเท่านั้น ส่วนที่เกิดจากความวุ่นวายนั้น เป็นเพียงความสนุก หาใช่สุขไม่
:059: ยิ่งอร่อยอยู่กับปาก ก็ยิ่งเพิ่มความลำบากอยู่กับท้อง อย่างสมสัดสมส่วนกันทีเดียว
:059: ความสงสัยที่ดี ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ถ้าใช้ผิด ก็เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ หรือความตาย
:059: ทรัพย์สมบัติ เป็นเครื่องให้เกิดความยินดี แต่ถ้าจัดการไม่ดี มันก็กลายเป็นเครื่องให้ยินร้ายโดยแน่นอน
:059: เช้านี้ ไม่มีใครรู้เรื่องที่เราทำ แต่พอค่ำๆ ก็จะมีคนรู้ ดังนั้น ทำแต่เรื่องที่เขารู้ก็ไม่เป็นไร ดีกว่า

...
สุภาษิตที่ยกมานี้คัดลอกมาจากหนังสือ"อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรน์"จาก พุทธทาส ภิกขุ ๒๔๔๙-๒๕๒๙
เรื่อง"ฟ้าสางทางสุภาษิตที่ข้าพเจ้าชอบ" จึงขอนำมามอบให้เป็นข้อคิด เพื่อจะได้พิจารณา....

ขอบคุณ คุณ Nai ที่ได้เก็บรวมรวมเอาไว้
http://nai236.exteen.com/20090829/entry

201
สุภาษิตแต่ละบทที่ยกมานั้น...
เป็นคติธรรมที่เตือนใจและนำมาใช้ในการคิดพิจารณา
ยามมีเวลาว่างก็จะหยิบขึ้นมาอ่านเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจในสุภาษิตนั้น
และนำไปใช้ในปัจจุบันธรรม สิ่งที่ดำเนินอยู่ในชีวิตประจำวัน
เห็นว่าเป็นธรรมะทีมีสาระและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่พิจารณาตามจึงได้นำมาเสนอ
ยกมาเพียงวันละ 9 บท ซึ่งไม่มากเกินไปในการที่จะนำมาคิดพิจารณา...
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

:059: พรุ่งนี้ มีไว้สำหรับแก้ไขข้อผิดพลาดในวันนี้ มิใช่เพื่อเสริมความผิดพลาด ให้สมบูรณ์เต็มที่
:059: จงดำเนินชีวิตของท่าน ไปบนทาง ที่ส่องสว่างอยู่ด้วยแสงแห่งพระธรรม
:059: การปิดทองหลังพระ ได้บุญที่บริสุทธิ์แท้จริง ยิ่งกว่าปิดทองหน้าพระ และต่อหน้าคน
:059: ระวัง!ตัวเองหลอกตัวเอง เสียหายกว่าผู้อื่นหลอก ตั้งร้อยเท่าพันเท่า แต่ไม่มีใครระวัง
:059: ยิ่งอวดฉลาด ก็ยิ่งพินาศเร็ว ทั้งทางวัตถุ ทางกาย และทางจิตวิญญาณ แต่คนเราก็ชอบอวดฉลาดอยู่นั่นเอง
:059: สอนตนเองให้ได้เสียก่อน จึงค่อยสอนท่าน จะไม่เป็นครูบาอาจารย์ที่สกปรก
:059: คนไม่ดี ที่จริงเขาก็อยากดีเหมือนกัน เพียงแต่เขาเข้าใจความไม่ดี ว่าเป็นความดี อย่างกลับกันอยู่
:059: ปิดปากให้เป็นใบ้ ไม่พูดจา ดีกว่าเปิดปาก ไว้นินทา เพื่อนบ้าน ไม่ต้องกลัวใครจะหา ว่าเป็นคนโง่ คนขลาด
:059: ระวัง! ความสงสารกลายเป็นความรักทางเพศได้ไม่ทันรู้ แล้วผลที่ตามมามันต่างกันมาก
...
ขอฝากไว้ให้เป็นข้อคิดและนำไปพิจารณา...คัดมาจากหนังสือ"อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์" จาก พุทธทาส ภิกขุ ๒๔๔๙-๒๕๒๙ เรื่อง"ฟ้าสางทางสุภาษิตที่ข้าพเจ้าชอบ"

ขอบคุณ คุณ Nai ที่ได้เก็บรวมรวมเอาไว้
http://nai236.exteen.com/20090828/entry

202
นั่งรถลงไปปักษ์ใต้....
ผ่านสวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อำเภอไชยา
จิตระลึกถึงครูบาอาจารย์"ท่านหลวงพ่อพุทธทาส"
คิดถึงบรรยากาศของสถานที่ ที่เคยปฏิบัติธรรม
คิดถึงธรรมะที่ท่านกล่าวสั่งสอนในกาลก่อนที่ผ่านมา
จึงค้นหาหนังสือของท่านที่พกติดตัวเสมอมาในย่าม
เอาขึ้นมาอ่านและพิจารณาตาม เพื่อให้เกิดปัญญาในทางธรรม
หนังสือเล่มนั้นคือ"ฟ้าสางทางสุภาษิตที่ข้าพเจ้าชอบ"
ซึ่งมีผู้คัดลอกเรียบเรียงมาจากหนังสือ"อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์"
ของท่านพระอาจารย์หลวงพ่อพุทธทาสตั้งแต่ปี ๒๔๔๙-๒๕๒๙
จึงขอนำมาเสนอให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน
...คัดมาตามที่ข้าพเจ้าชอบ...

:059: คำสุภาษิต ใครๆไม่อาจสงวนลิขสิทธิ์ ธรรมชาติเป็นเจ้าของ
:059: ถ้อยคำที่ใช้เป็นประโยชน์ได้ จัดเป็นสุภาษิตได้ทั้งนั้น
:059: คำสุภาษิตที่ท่านรู้สึกว่าตื้นๆชืดๆนั่นแหละ อาจจะเป็นเพราะลึกเกินไป สำหรับท่านก็ได้
:059: ระวัง คำที่ถือกันว่าเป็นสุภาษิตๆ พูดไว้ผิดๆ ก้ยังมี เพราะไม่ใช่ออกมาจากธรรมชาติ
:059: ถ้าท่านพูดพล่อยๆ ก็คือท่านเปิดรูรั่ว ให้เกียรติยศของท่าน ค่อยๆรั่วจนหมดไป
:059: ถ้าท่านทำมักง่าย ก็เท่ากับทำลายสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่นั่นเอง
:059: ถ้าท่านใจร้อน ก็จะต้องร้อนใจในภายหลัง อย่างไม่มีทางหลีก
:059: ถ้าท่านเห็นแก่ได้ ท่านจะต้องสูญเสียสิ่งที่ได้แล้ว และสิ่งที่กำลังจะได้ข้างหน้า
:059: ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย โดยไม่รู้ทัน


...วันนี้ขอนำเสนอเพียง ๙ หัวข้อ สุภาษิต เพื่อฝากให้ท่านทั้งหลายนำไปคิดและพิจารณา
จงใช้สติและปัญญาใคร่ครวญอย่างช้าๆอย่าได้รีบด่วนสรุป แล้วท่านจะเกิดความเจริญในธรรม...
                  ด้วยความปรารถนาดีจึงนำมเสนอให้ท่านได้อ่านกัน
:054: กราบคารวะหลวงพ่อครูบาอาจารย์ท่านพุทธทาส ภิกขุ ที่เคยได้รับเมตตาในทางธรรมจากท่าน :054:
                              รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๘.๔๘ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
:059: คัดลอกมาจากส่วนหนึ่งของหนังสือ"ฟ้าสางทางสุภาษิตที่ข้าพเจ้าชอบ"ของหลวงพ่อพุทธทาส สวนโมกขพลาราม ไชยา :059:

ขอบคุณ คุณ Nai ที่ได้เก็บรวมรวมเอาไว้
http://nai236.exteen.com/20090825/entry

203
บทความ บทกวี / กวีลำนำ
« เมื่อ: 03 ก.ย. 2552, 08:57:15 »
อยู่ท่ามกลาง แมกไม้  ในไพรพฤกษ์
มาเพื่อฝึก   ทบทวน   กระบวนใหม่
ถึงเหตุการณ์  ที่ผ่านมา  และผ่านไป
เพื่อแก้ไข   ข้อบกพร่อง  ต้องทบทวน
  ก้าวเดินไป   ข้างหน้า   อย่าหยุดยั้ง
แต่ข้างหลัง    นั้นต้อง     คงสงวน
เก็บเรื่องราว   ที่ผ่านไป    มาใคร่ครวญ
อย่ารีบด่วน     คิดสรุป     จะทุกข์ใจ
  จงหันมอง    เบื้องหลัง   ที่พลั้งพลาด
อย่าประมาท  เดินทางผิด   จงคิดใหม่
อย่าให้มัน     ผ่านมา       แล้วผ่านไป
จงแก้ไข      ข้อบกพร่อง   ของเราเอง
  ลดอัตตา    มานะ    และทิฐิ
อย่าตำหนิ    ติเขา     อย่างข่มเหง
จงอย่าใช้     กำลัง     ให้ยำเกรง
อย่าอวดเบ่ง  อวดรู้      ดูไม่งาม
  รู้จักความ    พอดี      เป็นที่ตั้ง
จงหยุดยั้ง    ความคิด    จิตหยาบหยาม
สิ่งไม่ดี       อย่าได้      ไปเดินตาม
พยายาม     รักษาจิต     ให้คิดดี
  ไม่เป็นภัย   ต่อชีวิต     ไม่ผิดธรรม
ไม่สร้างกรรม  ทำบาป     จงหลีกหนี
จงมั่นคง    ในธรรม     นำชีวี
และธรรมนี้   จะคุ้มครอง   ป้องกันตัว
  มีหิริ    โอตตัปปะ    เข้าละบาป
สิ่งชั่วหยาบ   นั้นหรือ    คือความชั่ว
อย่าเข้าไป  เกี่ยวข้อง  ให้หมองมัว
จงเตือนตัว   เตือนตน   พ้นอบาย
  อย่าจ้องจับ    เพ่งโทษ  ผู้อื่นเขา
กิเลสเรา    จงดู    ให้รู้หมาย
รู้จักตัว     รู้จักตน   ก่อนวันตาย
จะสบาย    ไม่ตก    นรกเอย..
 ขอบคุณอารมณ์ศิลป์และจินตนาการ
                 ด้วยความปรารถนาดี
               รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๐๑ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย

ขอบคุณ คุณ Nai ที่ได้เก็บรวมรวมเอาไว้
http://nai236.exteen.com/20090822/entry

204
เนื่องจากในช่วงบ่ายของวันนี้ (๓๐ ส.ค. ๕๒) ข้าพเจ้าได้มีการปรับปรุงระบบของกระดานสนทนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้น

มีการเปลี่ยนโหมด (mod) จาก K-Detection Detect OS & Browser Version เป็น OS & Browser Detection

การเปลี่ยนโหมดใหม่ได้มีการสร้าง ฟิลด์ (field) ขึ้นมาใหม่ ๔ ฟิลด์ ในตาราง "smf_messages" และได้ทดสอบใช้งานได้เป็นอย่างดี
ไม่มีปัญหาอะไรในการเปลี่ยนโหมดตัวใหม่ จึงได้ทำการลบ ฟิลด์ ของโหมดเก่าออกจากตาราง ก็คลิกๆ ไป สาม สี่ คลิก โดยไม่ได้อ่าน เนื่องจากคุ้นเคยและเคยทำอยู่แล้ว...

หลังจากนั้นก็กลับมากด f5 รีเฟด ที่หน้าบอร์ดดู... กรรม... เกิดอาการ  ฐานข้อมูลผิดพลาดหาไม่เจอ... (ได้อย่างไรนิ) ไม่น่าจะมีอะไรผิดนิ

ก็เลยกลับเข้าไปดูใน ฐานข้อมูลใหม่ ทีนี้กรรมยิ่งกว่าเก่าอีก... เวรกรรม... เราลบตาราง "smf_messages" ไปหรือนี่... ไม่น่าจะใช่

ลองคิดทบทวนย้อนกลับไปใหม่... สุดท้ายก็ยังนั่ง งงๆ ว่าลบเข้าไปได้อย่างไร...

ต้องขออภัยมายังสมาชิก ด้วยที่ข้าพเจ้าได้ทำข้อมูลในส่วนของหัวข้อ,..กระทู้ สูญหายย้อนหลังไปวันที่ ๒๐ ส.ค. ๒๕๕๒  ๒๒:๕๘ น. รวมแล้ว ๑๐ วัน

ต้องขออภัยจริงๆ ครับ

ขอขอบคุณ คุณต่อ คุณเบียร์ ที่ช่วยแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติเหมือนเดิมครับ

205
คิดอยู่นานเหมือนกันถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อเปิดหมวดที่เกี่ยวกับเรื่องของ กฎแห่งกรรม หรือ ประสบการณ์วิญญาณ

ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ยากเกินที่จะเข้าใจและเข้าถึงได้ เมื่อไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึง

ก็จะวิภาควิจารณ์ในเรื่องของ กฎแห่งกรรม ไปในทางเสื่อมเสีย ก็จะกลายเป็นอกุศลกรรมติดตัวไป

แต่เนื่องจากมีสมาชิกถามเข้ามากันเยอะพอสมควร และมองเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นบุญกุศลมากมายยิ่งกว่า

ก็เลยตัดสินใจเปิดหมวด นอกเหตุ เหนือผล ขึ้นมาใหม่ครับ


หมวด นอกเหตุ เหนือผล

   กฎแห่งกรรม

   ประสบการณ์วิญญาณ

*** ขอความกรุณาอย่าตั้งตอบหัวข้อ,.. กระทู้ ด้วยความคึกคะนอง ซึ่งจะไม่ส่งผลดีกกับตัวท่านเอง...

206
สวัสดีสมาชิกทุกๆ ท่านครับ

เมื่อเช้าก่อน ๐๖.๐๐ น. มีการปรับปรุงทดสอบระบบของเว็บบอร์ดคือทำให้ลิ้งค์ url สั้นลงและใช้งานง่ายขึ้น

แต่จะเจอปัญหาคือ ทำให้สมาชิกบางท่านไม่สามารถล็อกอินเข้าระบบได้ หรือล็อกอินเข้าได้ แต่ตั้งหัวข้อ,.. หรือตอบกระทู้ไม่ได้

ระบบจะเด้งกลับไปหน้าแรกตลอดเวลา...

สาเหตุ... เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่ได้อัพเดทข้อมูลตามระบบของบอร์ดจำค่าคุ๊กกี้ (Cookies) และค่า ฮีสตอรี่ (History) เดิมเอาไว้ เลยทำให้เกิดปัญหาการใช้งานดังกล่าว

วิธีแก้... เพียงแค่ท่านเข้าไปลบคุ๊กกี้ (Cookies) และ ฮีสตอรี่ (History) ในพ็อปเพตี้ (Prooerties) ของแต่ละบราวเซอร์ (Browser) ที่ท่านใช้ครับ

      หรือถ้ายังใช้งานไม่ได้ให้คลิก ออกจากระบบ ก่อนแล้วค่อยเข้าสู่ระบบใหม่ รับรองใช้ได้ชัวร์


*** สมาชิกทุกๆ ท่านแจ้งปัญหาการใช้งานเพิ่มเติมผ่านหัวข้อกระทู้นี้ได้นะครับ

หลวงพี่เว็บ...  :001:

207

ประกาศตามหาตัวผู้โอนเงินเข้าบัญชีของข้าพเจ้า

ยอดแรกทราบว่าเป็นของคุณ Pujchong โอนเพื่อทำบุญในวันที่ ๑๒ สิหา ที่จะถึง

แต่ยอดที่ ๒ เป็นของสมาชิกท่านใดหรือเปล่าครับ รบกวนแจ้งให้ทราบด้วย เนื่องจากจะได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ครับ

เป็นการทำธุรกรรมต่างประเทศ โอนเข้ามาเป็นจำนวน ๕,๙๖๖.๑๖ บาท



หลวงพี่เว็บ...  :001:

208

สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ...

ในช่วงต้นเดือนที่แล้ว (เม.ย.๕๒) จนถึงปัจจุบัน ก็เดือนกว่าๆ แล้ว

ถ้าเพื่อนๆ เข้าเว็บบอร์ดบ่อยๆ อาจจะเห็นว่ามีล่มบ่อยๆ เป็นระยะๆ

มีการหาช่องโหว่แล้วเจาะระบบโดยเข้าไปสร้าง Folder แล้วฝังไฟล์เอาไว้ในเว็บบอร์ด พร้อมกับสั่งให้ทำงานทั้งแบบ login และ auto

ทำการบอร์มคอนเน็คชั่น (Bom connection) อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา ทำให้บอร์ดอืด...อืมมากๆ ถึงล่มไปเลย...

แล้วไปโจมตีระบบฐานข้อมูล (Database) ของบอร์ด ทำให้ Host ต้องแบกภาระทำงานหนัก

แล้วระบบก็ล่มทั้งหมด หมายถึงล่มทั้ง Host เว็บที่อยู่ในนั้นที่ใช้ระบบฐานข้อมูล (Database) เข้าไม่ได้ทั้งหมดเลย

และยังมีวิธีการต่างๆ อีกหลายๆ อย่างที่ท่านกำลังพยายยามทำให้บอร์ดเราเข้าใช้งานไม่ได้


ข้าพเจ้า...ไม่ทราบสาเหตุของท่านที่พยายามโจมตีหรือ แฮก(Hack)บอร์ดเรา ว่ามีจุดประสงค์อะไร ทำไปเพื่ออะไร มีความต้องการอะไร

จริงๆน่าจะมาพูด มาขอกันตรงๆดีกว่า ว่าท่านต้องการอะไรจากเรา...



อันนี้เป็นข้อมูลบางส่วนที่ได้คุยกับคุณต่อ...ผ่าน Sky เมื่อตอนสายของวันนี้เอามาให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ

[8:40:05] Narin (คุณหลวง)
says: สวัสดีครับคุณต่อ...

[8:40:40] Tosakp On ที่บ้าน
says: สวัสดีครับ

[8:41:50] Narin (คุณหลวง)
says: มันมี  Folder แปลกเพิ่มในเว็บบอร์ดอะครับ

[8:42:06] Narin (คุณหลวง)
says: อันนี้อะครับ hxxp://www.bp.or.th/webboard/Themes/v/v.php

[8:44:36] Tosakp On ที่บ้าน
says: เหมือนกับโดนแฮก

[8:44:58] Narin (คุณหลวง)
says: ลองโหลดไฟล์มาเปิดดูแล้วอะครับ user กับ pass เป็น e12345678

[8:45:11] Tosakp On ที่บ้าน
says: เดี๋ยวจะลองเช็คดูครับ

[8:46:06] Tosakp On ที่บ้าน
สร้างเมื่อ ช่วง เม.ษ. 2009-04-08 22:52

[8:46:40] Narin (คุณหลวง)
says: ช่วงที่ db ล่มบ่อยๆ

[8:46:51] Tosakp On ที่บ้าน
says: ครับ

[8:46:55] Tosakp On ที่บ้าน
says: ขอบคุณครับที่แจ้ง

[8:47:18] Narin (คุณหลวง)
says: อย่างนี้ลบทิ้งได้เลยไหมครับ

[8:47:41] Tosakp On ที่บ้าน
says: อย่าเพิ่งครับ เดี๋ยวเอาไว้ศีกษาก่อน

[8:47:53] Tosakp On ที่บ้าน
says: จะได้รู้ว่ามันมาอย่างไร

[8:48:04] Tosakp On ที่บ้าน
says: เสร็จแล้วค่อยลบทิ้ง

[8:48:07] Narin (คุณหลวง)
says: ครับผม

[8:50:37] Narin (คุณหลวง)
says: อย่างนี้มีโอกาสไฟล์อื่นๆ ถูกแก้ไหมครับ

[8:51:53] Narin (คุณหลวง)
says: แต่โดยส่วนใหญ่ตั้งเป็น 644 ไม่น่าจะมีปัญหา

[8:52:11] Tosakp On ที่บ้าน
says: คงต้องเช็ควันที่ดู

[8:53:21] Narin (คุณหลวง)
says: ตอนนี้ป้องกัน... เปลี่ยน password ของ cpanel กับ ftp แล้ว

[8:53:50] Tosakp On ที่บ้าน
says: อันนี้น่าจะแฮกผ่าน board โดยตรงครับ

[8:54:34] Narin (คุณหลวง)
says: ครับ... ทำไปทำไมหว่า... บอร์ดวัดนิ ไม่มีผลประโยชน์อะไร

[8:55:37] Tosakp On ที่บ้าน
says: เค้าก็คงลองวิชา่ไปเรื่อยๆแหละครับ

[8:55:50] Tosakp On ที่บ้าน
says: SMF อาจจะมีช่องโหว่


209
ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของคุณยายของคุณ โองการยันนะรังสี (คุณนนท์) เมื่อเช้าวันนี้ครับ

ตั้งศพสวดพระอภิธรรมที่ วัดลาดพร้าว จนถึงคืนวันพุธ ที่ 29 เมษายน 2552

และทำการฌาปนกิจในวัน พฤหัสสบดี ที่ 30 เมษายน 2552 เวลาประมาณ 3-5 โมงเย็น

เพื่อนสมาชิกท่านใดสะดวกหรือว่าง ก็ขอเชิญร่วมกันฟังสวดพระอภิธรรม หรือ ร่วมกันฌาปนกิจในวันดังกล่าวครับ

ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวให้คุณ โองการยันนะรังสี (คุณนนท์) มาแจ้งเพิ่มเติมครับ

ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
  :063:

210
คุณ ใยลออ ส่งภาพมาให้ ก็เลยเอามาให้ชมกันครับ

สัก...เสก โดย พระอาจารย์เมสันต์ คมฺภีโร (หลวงโด่ง) ในวันไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น

เป็นกลุ่มชาว สิงคโปร์ ซึ่งมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์หลวงพ่อเปิ่นมายาวนานมาก ไม่ต่ำกว่าสิบปี นำโดย Koh Cheng Hui

ยอมรับในศรัทธาของเขาไม่มีเสื่อมคลายเลย แถมในตอนนี้กลุ่มเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ สมาชิกในกลุ่มก็เกินครึ่งร้อยไปแล้วครับ

























ขอบคุณภาพโดย : ใยลออ

211
สักสวยๆๆ....

















 :002:

212
หลวงปู่ทิม (วันสรงน้ำ)















ภาพจาก : ใยลออ...

213
พิธีสรงน้ำศพ พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต) วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา

นำรูปภาพเพียงน้อยนิดมาให้ชมกันครับ เนื่องจากมีโอกาสได้จับกล้องขึ้นมาถ่ายได้เพียงแค่นี้ครับ

คลื่นพุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์หลวงปู่ เข้าแถวเรียงกันเพื่อที่จะสรงน้ำศพหลวงปู่อย่างเนืองแน่น...


เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา ครับ









 :054: :054: :054: :054: :054:



214


พระครูสังวรสมณกิจ หรือ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต

ได้ละสังขาร (มรณภาพ) ด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๑ นาฬิกาโดยประมาณ

ทีมงานและสมาชิกเว็บไซต์วัดบางพระ

ขอน้อมถวายด้วยความอาลัยกราบแทบเท้าหลวงปู่อย่างสุดซึ้ง

215
พระอาจารย์เมสันต์ คมฺภีโร (หลวงโด่ง) วัดทุ่งเว้า มุกดาหาร

เดินทางร่วมพิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น หลายท่านเคยได้รับความเมตตาจากท่าน


เป่า ลงนะ ให้กับคุณ มาร์ค ชาวเยอรมัน นับถือพุทธแบบเต็มรอบ

ร๊ากกกก ปราาๆๆ เทศศ ทาย... ร๊าากก .. คน..ทายยย...

แถมชมหญิงไทย สวย...ม๊าก.,มาก... มั๊กๆๆ

เสร็จแล้วก็ก้มหน้าบ่น.... เสียดาย.... ผมมีเมียแล้ว... ผมรักเดียวใจเดียว...

ไปๆ มาๆ เมืองไทยหกปีแล้ว... เข้าวัดบางพระเพื่อรับการสักบ่อยนะครับ

ใครพบเห็นไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเดินหนี พี่ท่านพูดไทยได้ ชนิดคนไทยบางคนอาย

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


ขอบคุณรูปถ่ายจาก Koh Cheng Hui หนุ่มใหญ่ชาว สิงคโปร์ ผู้ให้ความเคารพ ศรัทธาหลวงพ่อเปิ่นอย่างสุดซึ้ง

216
ขออภัยที่ไม่สามารถเปิดเผยใบหน้าได้ในขณะนี้ (เดี๋ยวจะเกษียณอายุก่อนกำหนด) :004:

อธิบายด้วยภาพนะครับ ส่วนใครที่มีความรู้เรื่องยันต์ต่างๆ ร่วมแจมได้เลย...

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


๖.


๗.


217
กระทู้แนะนำระดับกลุ่มและสี ของระบบสมาชิกในกระดานสนทนาวัดบางพระ


กลุ่มของสมาชิกของกระดานสนทนาวัดบางพระ จะมีอยู่ ๓ กลุ่ม
๑. กลุ่มสมาชิกที่นับตามจำนวนการตั้งตอบกระทู้
๒. กลุ่มสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นพิเศษ
๓. กลุ่มผู้ดูแล


๑. กลุ่มสมาชิกที่นับตามจำนวนการตั้งตอบกระทู้

ปฐมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๑  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๐

ทุติยะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๒  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑๕

ตติยะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๓  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๕๐

จตุตถะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๔  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑๐๐

ปัญจมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๕  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๓๐๐

ฉัฏฐะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๖  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๕๐๐

สัตตมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๗  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๗๐๐

อัฏฐมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๘  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๘๐๐

นวมะ
กลุ่มสมาชิกลำดับที่ ๙  จำนวนกระทู้ตั้งแต่ ๑,๐๐๐


๒. กลุ่มสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นพิเศษ

ก้นบาตร
พิจารณาคัดเลือกจากสมาชิกที่อยู่ด้วยกันมานาน... ออนไลน์นานมากกว่า ๑๐ วันขึ้น (ไม่เสมอไป อาจจะแค่ ๒-๓ วันก็ได้ บางทีดูจากที่เป็นศิษย์วัดมานานและมีตัวตนที่แท้จริง)

ได้รับการขอบคุณจากสมาชิกสัก ๑๐๐ คะแนนขึ้นไป {แสดงว่าท่านมีน้ำใจต่อสมาชิก} (ไม่ตายตัว อาจจะแค่ ๑๐ ก็ได้) โดยเป็นคะแนนที่สุจริต ไม่ใช่ได้มาโดยการปั๊มคะแนนด้วยวิธีการต่างๆ

มีการเคลื่อนไหวในบอร์ด ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (ข้อนี้พิจารณาเป็นพิเศษ)

มีการตั้งและตอบกระทู้ โพสรูปภาพ และบทความต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ กับสมาชิก อย่างต่อเนื่อง

ฯลฯ...

สำหรับสมาชิกกลุ่มนี้ หลักการคัดเลือกไม่ตายตัวครับ


สิ่งที่สำคัญ คือ ท่านต้องเป็นบุคคลที่มีตัวตนอย่างแท้จริง ยืนยันตัวและเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณะชนได้ มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน

เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมกับทางบอร์ดได้ในโอกาสต่างๆ

ท่านจะต้องเป็นบุคคลอันเป็นที่ยอมรับ ของกลุ่มสมาชิกต่างๆ ไม่มีประวัติหรือข้อเสื่อมเสีย



๓. กลุ่มผู้ดูแล

ท่านประธาน
รองประธาน
ที่ปรึกษา
ปฏิคม  (ยกเลิก เนื่องจากเกิดการซ้ำซ้อนในการทำงาน)
ผู้คุมกฎ
ผู้ดูแล
ผู้ดูแลระบบ

ทีมงานผู้ดูแล...  :001:

218
สวัสดีครับ เพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

ตอนนี้เปิดบอร์ดใหม่ สำหรับ พูดคุย โพสต์ รูป ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับงานไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ง่ายต่อการเข้าถึงครับ

กระทู้ทั้งหมดที่เพื่อนร่วมสมาชิกได้โพสต์ไว้เกี่ยวกับงานไหว้ครู จะย้ายมาบอร์ดนี้ทั้งหมดครับ

เชิญครับท่าน (เต็มที่)...

ทีมงานผู้ดูแล...  :001:

219











รูปจากผู้ใหญ่บ้าน หนุ่มเมืองเหน่อ

220
สวัสดีครับ

สำหรับทานที่รับเสื้อทางไปรษณีย์ ตอนนี้ได้จัดส่งแล้ว...

ได้รับแล้วอย่างไร แจ้งให้ทราบด้วยครับ

ลิงค์สำหรับตรวจสอบการเดินทางของเสื้อ เพียงก๊อปตัวเลขที่ให้ตั้งแต่ EG ถึง TH ใส่ช่อง แล้วคลิกยอมรับ
track.thailandpost.co.th/trackinternet/Default.aspx


ส่วนรับเองที่วัด ขอเปลี่ยนสถานที่จากเดิม

หน้ากุฏิพระอาจารย์อภิญญา เป็นที่
สำนักงานวัดบางพระ หน้ากุฏิใหญ่ครับ


จัดส่งทางไปรษณีย์
1.)   porvfc      EG450456791TH
2.)   ack01, ~♣~โจรสลัด~♣~      EG450457148TH
3.)   tum72      EG450456805TH
4.)   nutagul      EG450457134TH
5.)   TTTUTTT      EG450457125TH
6.)   pang_bu19      EG450456814TH
7.)   <<<เอ็มไร่ขิง>>>       EG450456828TH
8.)   berth1999      EG450456859TH
9.)   golf f1      EG450456831TH
10.)   big tod      EG450457077TH
11.)   Pujchong      EG450456947TH
12.)   thong.yong      EG450456624TH
13.)   PAE      EG450456981TH
14.)   seenamzaa      EG450456672TH
15.)   สิบทัศน์      EG450457165TH
16.)   cncd      EG450456916TH
17.)   khing09      EG450457032TH
18.)   LufFy      EG450456920TH
19.)   fungfon      EG450457029TH
20.)   derbyrock      EG450456933TH
21.)   mongsan      EG450456712TH
22.)   jibjoyce      EG450457182TH
23.)   kamasa      EG450456655TH
24.)   Paeza      EG450456845TH
25.)   birdlfc      EG450456726TH
26.)   waterman43      EG450457085TH
27.)   Korn rangbua      EG450456730TH
28.)   pradit.nsi      EG450457151TH
29.)   นาย วัชรพล น้ำใจดี(###เปียกปูน###)      ***
30.)   ICELAND      CP003232295TH
31.)   KriT      EG450457094TH
32.)   DEKDOY      EG450457103TH
33.)   minivet27      EG450456743TH
34.)   Dekwatnai      EG450457046TH
35.)   เด็กลำปาง      EG450456757TH
36.)   ขุนส่อง      EG450456765TH
37.)   นายตะกรุด      EG450457050TH
38.)   nic.du      EG450456774TH
39.)   Zero_hartedog      EG450456862TH
40.)   Kitisin      EG450457117TH
41.)   jo      EG450456876TH
42.)   เพชรบางสะแกนอก      EG450456880TH
43.)   Jutaporn_ning      EG450457196TH
44.)   Jutaporn_ning      EG450457205TH
45.)   porpar      EG450456893TH
46.)   เปรี้ยวปี้ด       EG450456584TH
47.)   Isodyl      EG450457063TH
48.)   เทพสายขาว      EG450456902TH
49.)   chatsmm      EG450456709TH
50.)   KwAnG      EG450456978TH
51.)   ชินฺนปญฺชร      EG450456607TH
52.)   C-r-A-z|Y      EG450456615TH
53.)   jaturong      EG450457179TH
54.)   Jiaranai      EG450456964TH
55.)   -*- 2J -*-      EG450457001TH
56.)   น้องลิงน้อย (INLOVE)      EG450456598TH
57.)   nontaburi      EG450456686TH
58.)   ^น้าเจิด^โซลินอยล์^      EG450456669TH
59.)   leogirlw99      EG450456955TH
60.)   กระต่ายป่า        EG450456638TH
61.)   Oliver      EG450456690TH
62.)   TosakP      EG450457015TH
63.)   ไกรวิชญ์  ไกรสิงห์สม      EG450456641TH
64.)   เฉลิมพล ผาวิรัตน์      EG450456995TH
65.)   วสัน      EG450456788TH


รับเองที่วัด                        
66.)   พระอาจารย์อภิญญา      ถวายแล้ว            
67.)   Chaiwat Prasurin                  
68.)   amazing2511      รับแล้ว            
69.)   ชาญ      รับแล้ว            
70.)   หอมเชียง      รับแล้ว            
71.)   santa                  
72.)   Chotipat                  
73.)   time329      รับแล้ว            
74.)   โองการยันนะรังสี      รับแล้ว            
75.)   phun                  
76.)   sarinya                  
77.)   Jaoat                  
78.)   ...ปราณจิต...                  
79.)   sony                  
80.)   ต้นห้วยขวาง                  
81.)   โดโด้      รับแล้ว            
82.)   ผู้การ                  
83.)   เส...                  
84.)   โจแปดริ้ว                  
85.)   ศรีไพรใจจริง ไม่ลวงหลอก                  
86.)   ธีรยุทธ  ตียวณิชย์  (นามมงคล)      รับแล้ว            
87.)   K_หนูนิ      รับแล้ว            
88.)   ปั๊บป๋า...      รับแล้ว            
89.)   อาฮุย      รับแล้ว            
90.)   กิตติ      รับแล้ว            
91.)   ครูเก๋      รับแล้ว            
92.)   เจียง                  
93.)   อ๋อง                  
94.)   zazata      รับแล้ว            
95.)   Kanya      รับแล้ว            
                        

ท่านที่ไม่ได้โอนเงิน
96.)   แก๊งค์ - ยา - กู - ซ่า                  
97.)   gottkung                  
98.)   wanta                  
99.)   เด็กสุรินทร์                  
100.)   SOLSKJAER                  
101.)   นายต้นน้ำ                  
102.)   aehjomthong                  
103.)   paiboon88                  
104.)   kaitak                  
105.)   khondong                  

ทีมงานผู้ดูแล...  :001:

221
สวัสดีครับเพื่อนร่วมสมาชิก

ตอนนี้เสื้อได้มาถึงทางวัดแล้ว...

เมื่อช่วงเย็นเวลาประมาณ 16.15 น.

ได้ขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อ สำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ

ได้ปลุกเสก เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ












222
นำมาให้ชมครับ

วัดปากน้ำ... รุ่น...  :002:

ด้านหน้า



ด้านหลัง



223
นำมาให้ชม ไม่รู้เรียกว่ารุ่นอะไรครับ

วิเคราะห์ วิจารณ์ เต็มที่ครับ

ด้านหน้า


ด้านหลัง


224
นำมาให้ชมกันครับ

ผู้มอบให้บอกว่าเป็น กรุสุโขทัย

แต่ข้าพเจ้าดูไม่เป็น




225
ติชมได้ครับ

ได้มาเกือบสองปีแล้ว...





 18; 20; 18;

226
ขอปิดการจองเสื้อที่ระลึกครับ

สรุปยอดรวมทั้งหมดที่สั่งจอง 240 ตัว

สมาชิกท่านใดที่จองไว้แต่ยังไม่ได้ทำการโอนเงิน

กระผมขยายเวลาให้ถึง วันศุกร์ ที่ 20 ก่อน 4 ทุ่มครับ

ทีมงานขอขอบคุณ ขอบใจทุกๆ ท่านที่ให้ความสนใจ

ขอให้มีความสุขครับ...


ทีมงานผู้ดูแล...
:001:



คุณ ...ปราณจิต... โทรปรึกษากระผมว่า บริษัทที่ได้รับทำเสื้อที่ระลึกของเรา จะต้องใช้เวลาในการตัดเย็บถึง 20 วัน

ถ้าเราสรุปยอดในวันที่ 23 เริ่มตัดเย็บในวันที่ 24 กว่าจะเสร็จก็วันที่ 20 มีนา ซึ่งเพื่อนสมาชิกไม่เห็นด้วยแน่ๆ

แต่ถ้าเราเลื่อนมาเป็นวันที่ 18 สรุปยอดหลังสี่ทุ่ม เริ่มตัดเย็บ 19  ทางบริษัทก็จะเร่งงานให้เราด้วย เร็วที่สุดไม่เกิน 10 วัน

ซึ่งหมายถึงวันที่ 28 ก.พ. ทีมงานได้รับเสื้อจากบริษัท นำมาขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและให้หลวงพ่อสำอางค์ปลุกเสกอธิษฐานจิต

วันจัทนร์ ที่ 2 มีนา นำส่งไปรษณ์ นครชัยศรี แบบ EMS ก่อนเที่ยง คาดว่าไม่น่าจะเกินวันที่ 5 มี.ค. ถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ขออภัยเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านด้วยครับที่ได้รับความไม่สะดวก

ขออภัยจากใจจริงๆ ครับ


เพื่อนร่วมสมาชิกเกิดปัญหาหรือติดขัดประการใดติดต่อ เว็บ... โดยตรงทาง
pm : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=pm;sa=send;u=1
อีเมล์ : webmasterbp.or.th
โทร : ๐ แปด ๑ เจ็ด ๐ ห้า ๕ เจ็ด ๘ แปด

ทีมงาน... :001:




สวัสดีเพื่อนร่วมสมาชิกทุกท่านครับ

ขอเปิดจองเสื้อที่ระลึกของ เว็บไซต์วัดบางพระ อย่างเป็นทางการนะครับ

แจ้งจองที่กระทู้นี้ได้เลยนะครับ

บอกขนาดเสื้อ เพศ จำนวนที่สั่ง แล้วก็แจ้งด้วยว่า จะรับเองที่วัดหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์





เสื้อจะเป็นสีขาว มีกระเป๋าปักโลโก้เป็นยันต์นะเมตตา ลายมือหลวงพ่อเปิ่น ประมาณรูปครับ ผู้หญิงจะเป็นทรงเข้ารูป

หลังจากตัดเย็บเสร็จแล้วจะนำไปขอบารมีจากหลวงพ่อเปิ่นและขอความเมตตาจากหลวงพ่อ สำอางค์ เจ้าอาวาสปลุกเสก

เพื่อความเป็นศิริมงคลกับสมาชิกทุกๆ ท่านด้วยครับ 

*** ส่วนเข็มกลัดและพวงกุญแจขอไว้เป็นโอกาสหน้านะครับ


เสื้อชาย
Size  รอบอกของเสื้อ (นิ้ว)

38" - SS

40" - S

42" - M

44" - L

46" - XL

48" - XXL


เสื้อหญิง
Size  รอบอกของเสื้อ (นิ้ว)

32" - S

34" - M

36" - L

38" - XL

40" - XXL

*** สำหรับท่านหญิงหรือชายที่มีขนาดเหนือมาตรฐาน กรุณาแจ้งขนาดรอบอกด้วย เราจะดูแลท่านเป็นกรณีพิเศษ

ต้นทุนการผลิต เริ่มต้นอย่างน้อย 100 ตัว ในราคาตัวละ 185 บาท ยิ่งสั่งจำนวนมากราคาก็ยิ่งถูกลง
ขอบวกเพิ่ม 65 บาท เป็น 250 เพื่อเป็นค่าจัดส่ง เมื่อเสร็จงานยังมีเงินเหลือ... ทำบุญหมดครับ

ฉะนั้น ราคาจึงอยู่ที่ 250 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว

การโอนเงิน :
ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ชื่อบัญชี Narin  Suwannachote
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 368-2-30499-4

**เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ กรุณาโอนมีเศษสตางค์ด้วยครับ เช่น 250.24

กำหนดการโอนเงิน :
ภายในวันพุธที่ 18 ก.พ. 52 (ก่อน สี่ทุ่ม เนื่องจาก ATM โอนได้ถึงแค่ สี่ทุ่มเท่านั้น)
=== ถ้าไม่โอน จะไม่ทำเสื้อให้นะครับ ===


การแจ้งการโอนเงิน ขนาดของเสื้อ และ แจ้งที่อยู่ในการจัดส่ง :
ให้แจ้งผ่าน pm ของ เว็บ...
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์ และขนาดของเสื้อ
พร้อมแนบสลิปโอนเงิน ภายในวันพฤหัสที่ 19 ก.พ. 52 เวลาก่อน 15:00 น.
ลิ้งค์ pm ครับ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=pm;sa=send;u=1


กำหนดการจัดทำเสื้อ :
ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ฉะนั้นจะเสร็จเรียบร้อยก่อนไหว้ครู

การรับเสื้อ :
มีสองทางเลือก คือ
1. จัดส่งตามที่อยู่ที่ระบุไว้  ทางไปรษณีย์
กรุณาแจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ให้ชัดเจนที่สุด รวมถึง ถนน, หมู่ , ตรอก, ซอย, รหัสไปรษณีย์  ผ่าน pm ของ เว็บ...
ลิ้งค์ pm ครับ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=pm;sa=send;u=1
**ถ้าเสื้อตีกลับ จะคิดค่าจัดส่งใหม่นะครับ

2. รับเองที่วัด หน้ากุฏิพระอาจารย์อภิญญา
ในเย็นวันศุกร์ที่ 6 มี.ค. จนถึงเช้าวันเสาร์ที่ 7 มี.ค. เวลา 08.30 น. ก่อนพิธีไหว้ครู
กรุณานำ สลิปโอนเงิน บัตรประชาชน หรือ บัตรที่แสดงความเป็นตัวตนของท่านไปด้วย เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
***ชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกับตอนที่แจ้งการโอนเงิน ไม่มอบเสื้อให้นะครับ

เกิดปัญหาหรือติดขัดประการใดติดต่อ เว็บ... โดยตรงทาง
อีเมล์ : webmasterbp.or.th
โทร : ๐ แปด ๑ เจ็ด ๐ ห้า ๕ เจ็ด ๘ แปด

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์วัดบางพระ  :001:

227
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย...  :001:

เนื่องจากในระยะหลังๆ มีเพื่อนสมาชิกได้ตั้งหัวข้อ,.. กระทู้ในลักษณะบอกลา.... สั่งลา... กระทู้นี้เป็นกระทู้สุดท้าย....

ขอยุติบทบาทตัวเองในกระดานสนทนาวัดบางพระ หรือหัวข้อ,.. ในลักษณะใกล้เคียงกัน... ฯลฯ... เยอะมากๆ...

เราไม่ทราบว่าท่านมีเหตุผลอะไรในการบอกลา... ไม่ว่าจะเป็น น้อยใจ เสียใจ ไม่พอใจ หมดใจ... ขอความเห็นใจ... หรือ เพื่อป่วน...

ซึ่งกระทู้ดังกล่าว ได้สร้างความสงสัย ความสับสนในเรื่องต่างๆ มากมาย กระทู้ดังกล่าวทำให้รู้สึกที่ไม่ดีให้กับเพื่อนสมาชิกทั้งหลาย

และทำให้กระดานสนทนาเกิดความปั่นป่วน...เป็นประเด็นให้เกิดความแตกแยก ไม่สงบสุข ไม่เรียบร้อย

ฉะนั้น.... เพื่อนสมาชิกท่านใดก็ตามที่มีความตั้งใจจริงที่จะ บอกลา... สั่งลา... หรือยุติบทบาท ตนเองในกระดานสนทนาวัดบางพระ

ขอให้ท่าน จากไปอย่างเงียบๆ เพียงแค่ท่านไม่เข้าระบบ (login) ก็เพียงพอ ไม่ต้องตั้งหัวข้อ,..กระทู้ใดๆ เพื่อเป็นการสั่งลา...บอกลา...

เมื่อพบเห็นกระทู้ในลักษณะดังกล่าว... เราขอลบทิ้งแบบไม่ลังเลไม่สงสัย ไม่ต้องใช้สมองในการตัดสินใจ...

หลวงพี่เว็บ...  :001:




สุขโข... สุขขี... ไปดีเถิดโยม...  :004:

228
สุขสันต์เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ขอให้มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน

ได้แง่คิดอะไรกันบ้างกับการชม ๒ คลิปวีดีโอนี้

ลองมาเล่าสู่กันฟัง


http://www.youtube.com/watch?v=f5OEKA47xFI

http://www.youtube.com/watch?v=ztZE9o6kMn0

เว็บ... :001:

229


ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๕ ธันวาคม ๒๕๕๑

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์ให้

พระครูนิวิฐสาธุวัตร (ทองล่ำ ยโสธโร ป.ธ.๕, พธ.บ., M.P.A.)

เจ้าอาวาสวัดเจ้าอาม เจ้าคณะแขวงบางขุนนนท์

เป็น พระครูเทียบเจ้าคณะเขต ชั้นพิเศษ

ในราชทินนามเดิม

ในการนี้ ขอเรียนเชิญท่านร่วมแสดงมุทิตาจิต และมุทิตาสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน

ณ อุโบสถ วัดเจ้าอาม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ในวันพุธ ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๓๐ น. เป็นต้นไป


คณะศิษยานุศิษย์

:054: :054: :054: :054: :054:

www.watchaoam.org

231



  :114: :054: :054: :054: :054: :054: :114:


** หมายเหตุ

         ๑. ในงาน พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์) แจกวัตถุมงคล รับจากมือท่านเองเลยครับ

         ๒. เชิญรับประทานอาหารจากศิษยานุศิษย์หลวงพ่อเปิ่น., หลวงพ่ออางค์ ที่มาร่วมแสดงมุทิตาสักการะ



232

เมื่อคืนวันเสาร์ วัดไผ่ล้อม นครปฐม (๒๙ พ.ย. ๒๕๕๑)

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


233
ธรรมะ / บาทฐานแห่งความสำเร็จ
« เมื่อ: 20 พ.ย. 2551, 07:30:58 »
         อิทธิบาท ๔
         คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

         ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
         ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
         ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
         ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

         ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

         ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

         วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

         จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

         วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


ขอขอบคุณ... learntripitaka.com

234
สวัสดีครับ

เปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและตอบกระทู้ ของสมาชิกทั่วไป ภายใน ๑๕ นาที

อ้างจากหัวข้อ.,กระทู้ ปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและผู้ตอบกระทู้ ของสมาชิกทั่วไป

กระดานสนทนาของวัดบางพระได้ทำการปิดระบบการแก้ไขข้อความต่างๆ ในหัวข้อของผู้ตั้งและตอบกระทู้นั้นๆ

จากระยะเวลาที่ปิดระบบมาตั้นแต่
วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๑:๐๙:๔๑ น. จนถึงปัจจุบัน

ซึ่งสร้างความยุ่งยาก ความไม่สะดวกแก่เพื่อนสมาชิก ไม่สามารถแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดได้

และปัญหาการเผลอ กดปุ่ม
Enter โดยไม่ตั้งใจในบางครั้งจะกลายเป็นการตั้งกระทู้เลย

ซึ่งทำให้หัวข้อกระทู้ที่ตั้งนั้นๆ ขาดความสมบูรณ์

เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกแก่เพื่อนสมาชิกได้มีโอกาสในการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ได้ตั้งหัวข้อกระทู้นั้นๆ

ทางทีมงานจึงได้ เปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและตอบกระทู้ ของสมาชิกทั่วไป

แต่เป็นการเปิดให้แก้ไขได้
ภายใน ๑๕ นาที หลังจากตั้งและตอบหัวข้อกระทู้นั้นๆ

ทีมงานผู้ดูแล... :001:





235
สวัสดีครับ

แจ้งเพื่อทราบ

เพื่อความเป็นมาตรฐาน ทางเว็บไซต์วัดบางพระได้เปลี่ยนโดเมน

จาก
www.bp-th.org เป็น www.bp.or.th

กระดานสนทนา
www.bp.or.th/webboard


อีเมล์:
  ติดต่อทางวัด
watbangphrabp.or.th  
  ติดต่อเว็บมาสเตอร์
webmasterbp.or.th



แต่ในขณะนี้ยังสามารถเข้าใช้งานโดยผ่าน www.bp-th.org จนกว่าจะหมดอายุครับ


ขออภัยในความไม่สะดวกในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ด้วยครับ

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์, กระดานสนทนาวัดบางพระ

236



สวัสดีครับ

ติดตั้ง ระบบการขอบคุณ (Thank You.)

การแสดงออกซึ่งน้ำใจด้วยการ ขอบคุณ ซึ่งถือว่าเป็นความงามของสังคมไทยมาช้านานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ระบบขอบคุณจะมีระบบเก็บสถิติ ของผู้ที่ให้ขอบคุณ และผู้ที่ได้รับการขอบคุณ ซึ่งบ่งบอกถึงว่าท่านเป็นผู้ให้หรือผู้รับน้ำใจจากเพื่อนสาชิก

หัวข้อ, กระทู้ ที่ดีมีประโยชน์ ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยคลิกขอบคุณ เพื่อเป็นกำลังใจเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้ตั้งหัวข้อ, กระทู้ นั้นๆ

และอีกอย่างหนึ่งหวังว่า ระบบขอบคุณ นี้จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรของระบบลงได้บ้าง

ซึ่งตอนนี้เว็บบอร์ดของเราใช้ทรัพยากรของระบบมากอยู่พอสมควร

จากก่อนที่จะติดตั้งระบบขอบคุณ เวลาจะขอบคุณ เราก็จะตั้งกระทู้ใหม่เพื่อขอบคุณ ซึ่งเป็นการเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ

หลังจากติดตั้งระบบขอบคุณแล้ว เวลาจะขอบคุณ เราก็เพียงแค่คลิกปุ่ม ขอบคุณ มุมขวาบนของแต่ละกระทู้ ก็ถือว่าเป็นการขอบคุณเจ้าของกระทู้แล้ว

เกือบลืม ไม่สามารถขอบคุณให้กับหัวข้อ, กระทู้  ตัวเองได้

หวังว่าระบบ ขอบคุณ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่เพื่อนสมาชิกครับ

ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ เว็บบอร์ดวัดบางพระ



237

สวัสดีครับ

เพิ่มระบบ บุ๊คมาร์คหัวข้อกระทู้ ให้กับบอร์ด

เพื่อความสะดวก ในการเก็บ ในการค้นหา หัวข้อที่ชื่นชอบ หรือหัวข้อที่ติดตาม

ทดลองใช้งานดูครับ





238


"ปิดหูซ้ายขวา... ปิดตาสองข้าง... ปิดปากเสียบ้าง... แล้วว่างสบาย"


                               ปิด.ปิด.ตา.....อย่าสอดส่าย.....ให้เกินเหตุ
                               บางประเภท.....แกล้งทำบอด.....ยอดกุศล
                               มัวสอดรู้.....สอดเห็น.....จะเป็นคน-
                               เอาไฟลน.....ตนไป.....จนไหม้พอง


                               ปิด.ปิด.หู.....อย่าให้แส่.....ไปฟังเรื่อง
                               ที่เป็นเครื่อง.....กวนใจ.....ให้หม่นหมอง
                               หรือเร้าใจ.....ให้ฟุ้งซ่าน.....พาลลำพอง
                               ผิดทำนอง.....คนฉลาด.....อนาจใจ


                               ปิด.ปิด.ปาก.....อย่าพูดมาก.....เกินจำเป็น
                               จะเป็นคน.....ปากเหม็น.....เขาคลื่นใส้
                               ต้องเกิดเรื่อง.....เยิ่นเย้อ.....เสมอไป
                               ถ้าหุบปาก.....มากไว้.....ได้แท่งทอง


                               "ธรรมะบทปิดทวารทั้ง ๕" นี้
                               ลึกซึ้ง..เรียบง่าย..ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
                               ตั้งแต่ตื่นลืมตาจากที่นอน..จนถึงล้มตัวนอนและหลับ
                               นี่คือ"พระมหาอุดปิดทวารทั้ง ๕ " ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
                              
                               (ทวารทั้ง ๕ คือ...ตา ๒ ข้าง...หู ๒ ข้าง...ปาก ๑ ปาก)
                               เพื่อการจดจำง่าย ๆ ให้ท่องบ่นให้ขึ้นใจว่า...
                               "ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย"


                               อรหันต์แห่งสวนโมกข์..รจนาไว้

ขอบคุณ:okanation

239
ธรรมะ / มองแต่แง่ดีเถิด.
« เมื่อ: 01 ต.ค. 2551, 10:09:57 »


240

ปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและผู้ตอบกระทู้ ของสมาชิกทั่วไป


เนื่องจากตอนนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บังคับใช้สมบูรณ์แล้ว

ทางทีมงานผู้ดูแลกระดานสนทนา วัดบางพระ จึงมีความจำเป็นที่ต้อง ปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและผู้ตอบกระทู้

ตาม พ.ร.บ. บังคับให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ Domain หรือ Host จะต้องเก็บ Log files ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในทางกฏหมาย

ฉะนั้นทางทีมงานผู้ดูแล จึงขอปิดระบบการแก้ไขข้อความ หัวข้อผู้ตั้งและผู้ตอบกระทู้ ของสมาชิกทั่วไป ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ขออภัยในความไม่สะดวก

อ่านข้อมูล พ.ร.บ. เพิ่มเติม
คลิก

241
ธรรมะ / ได้ดีเพราะถูกด่า
« เมื่อ: 26 ก.ย. 2551, 08:05:09 »



                                           ได้ดีเพราะถูกด่า

                                           ฉันมีดี เพราะถูกด่า น่าหัวไหม?
                                           ยิ่งดีใจ เพราะถูกด่า ดูน่าหัว
                                           ใครจะด่า สักเท่าไร ไม่เคยกลัว
                                           เรื่องจะชั่ว อย่างเขาด่า นั้นอย่าเกรง


                                           ใครมีดี คนก็คิด ริษยา
                                           หาแง่ด่า กันโขมง ล้วนโฉงเฉง
                                           เมื่อยปากเข้า ปากก็มุบ หุบปากเอง
                                           ยิ่งครื้นเครง คือฉันท้า ให้ด่าฟรี

 
                                           ฉันเป็นคน ได้ดี เพราะคำด่า
                                           กลายเป็นสิ่ง นำมา ซึ่งศักดิ์ศรี
                                           ด่าเท่าไร ก็เห็นไม่ จริงสักที
                                           เลยได้ดี เพราะถูกด่า น่าหัวครันฯ


                                           หลวงพ่อพุทธทาส


242
ธรรมะ / ชนะ!...?
« เมื่อ: 25 ก.ย. 2551, 07:55:25 »

พุทธศาสนสุภาษิตคำกลอน หมวดชนะ





ที่มา... watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=1866


243



การเพ่งโทษตนเอง เป็นการฝึกตนที่ได้ผลจริง


                                        บัณฑิตไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่น
                                        บัณฑิตจะเพ่งโทษตนเอง
                                        การเพ่งโทษตนเองนั้น
                                        เป็นการฝึกตนเองอย่างหนึ่ง
                                        ที่จักเกิดผลจริง


                                        การเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวิสัยของผู้ไม่ใช่บัณฑิต
                                        ผู้ที่เพ่งแต่โทษผู้อื่น ไม่เพ่งโทษตนเอง ย่อมไม่เห็นโทษของตนเอง
                                        ย่อมไม่เห็นความบกพร่องที่จะต้องแก้ไขให้ดีขึ้น

                                        ย่อมไม่รู้ว่ามีโทษเพียงไร ในแง่ใด
                                        ไม่มีโอกาสจะแก้ไขตนเอง แต่จะมุ่งไปแก้ผู้อื่น
                                        ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างใด


                                        ผู้อื่นนั้นไม่ใช่ว่าจะยอมให้แก้
                                        เพราะถ้าเป็นผู้อื่นที่เป็นบัณฑิต
                                        ก็ย่อมแก้ตนเองอยู่แล้ว ฝึกตนเองอยู่แล้ว
                                        ส่วนผู้ที่ไม่เป็นบัณฑิตก็ย่อมไม่สนใจที่จะแก้ตนเองฝึกตนเองอยู่แล้ว
                                        ผู้อื่นจะไปแก้จึงเป็นไปได้ยาก

                                        ทุกคนจะดีหรือชั่ว...สำคัญที่ตนเอง
                                        ตนเองมีความดีพอจะยอมรับความไม่ถูกต้องไม่ดีงามของตน
                                        ย่อมยินดีฝึกตน ย่อมยินดีแก้ไขตน ย่อมมีโอกาสเป็นคนดียิ่งขึ้น


                                        พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



ที่มา... dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17602

244


         
                                             เป็นมนุษย์สุดดี        ที่มีศีล

                                             ทั้งหากินถูกธรรมะ        ละมิจฉา

                                             ไม่เบียดเบียนผู้ใด        ให้ละอา

                                             มีฉันทาร่วมสร้าง        สามัคคี

                                             ทั้งเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่        แก่เพื่อนบ้าน

                                             ไม่ก่อการริษยา        ว่าเสียดสี

                                             ไม่เอาเปรียบผู้ใด        ในโลกีย์

                                             เหล่าเมธีสรรเสริญ        เจริญพร



คติธรรม หลวงพ่อแพ (วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง)

245


ขอเรียนเชิญเป็นเจ้าภาพทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี

ถวาย ณ วัดหนองขุย ตำบลสะแกราบ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑


****************

          เนื่องด้วยวัดหนองขุย ได้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบไตรมาสคณะทายกทายิกา จึงได้กำหนดทอดถวายผ้ากฐิน ทานแด่พระสงฆ์และเป็นการหาทุนทรัพย์สมทบการ ก่อสร้าง ฌาปนสถาน (เมรุ) กุฏิที่พักสงฆ์ และห้องสุขา ที่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้สำเร็จลุล่วง ไปตามวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้คณะทายกทายิกาจึงขอบอกบุญมายังท่านผู้มีจิต ศรัทธาได้ร่วม เป็นเจ้าภาพทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี ในครั้งนี้ตามกำลังศรัทธา

          คณะกรรมการดำเนินงานขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมบริจาค ทรัพย์เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพทอดถวายผ้ากฐิน สามัคคีแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาถ้วน ไตรมาส และสมทบทุนก่อสร้างศาสนวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนาครั้งนี้

          ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดคุ้มครองรักษาท่านและ ครอบครัว จงประสบแต่จตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารคุณสารสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดกาลนานเทอญ

          กำหนดการ
          วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ( ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ )

          เวลา ๐๕ . ๐๐ น . ออกเดินทางจากวัดเครือวัลย์

          เวลา ๐๙ . ๐๐ น . เดินทางถึงวัดหนองขุย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
                                 - คณะกฐินสามัคคีพักผ่อน
                                 และรับประทานอาหาร ตามอัธยาศัย

          เวลา ๑๐.๐๐ น. ทำพิธีถวายผ้ากฐิน แด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำอปโลกน์กรรม
                                 พระสงฆ์อนุโมทนา

          เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา
                                 สาธุชนรับของที่ระลึก เป็นเสร็จพิธี



ขอมูลจาก http://www.wichradio.net/wck/news.php

ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ

เว็บ...

246



ของฝากจาก หลวงพี่หมี... หรือ อาจารย์หมี วัดบางพระ

 :016:  :001:  :001:  :001:  :001:  :015:

247
พระคาถาป้องกันภัยสิบทิศ

บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสานรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ



ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ


<a href="http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/10that.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/10that.swf</a>

248

[youtube=425,350]Puxhs0Z_y7c&feature[/youtube]

Wai Kru 1



[youtube=425,350]yMIApnBtMic&feature[/youtube]

Wai Kru 2

 :016: :001: :002: :002: :002: :001: :015:

249

[youtube=425,350]rkYx3YGpc9k&feature[/youtube]

Tattooing Monks




[youtube=425,350]1icKhmxApag&feature[/youtube]

Hlwong Pi Phaew - Wat Bang Phra




[youtube=425,350]psM357MWXy0&feature[/youtube]

Thailand Sak Yant tattoo at Wat Bang Phra temple, Part 1



[youtube=425,350]zKndH-ZsDqQ&feature[/youtube]

Thailand Sak Yant tattoo at Wat Bang Phra temple, Part 2



[youtube=425,350]RO9rvIhA9EM&feature[/youtube]

Thailand Sak Yant tattoo at Wat Bang Phra temple, Part 3



[youtube=425,350]01jDSk-8yL4&NR[/youtube]

Sak Yant Tattoo Thailand

 :016: :002: :002: :002: :002: :002: :002: :015:



250
บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสักยันต์

เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่

ก็เลยขอถ่ายรูปมาให้เพื่อนๆ สมาชิกชมกัน แต่เขาขอไม่เปิดเผยใบหน้าครับ

กว่าจะบอกว่า ขอถ่ายรูปให้เพื่อนสมาชิกในบอร์ดชม เล่นเอาซะเมื่อยมือเลยเหมือนกันนิ  :075:







251
บารมี ๓๐ ทัศ (แบบครูบาศรีวิชัย)

ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง


ที่มา... geocities.com/buddhistmon

<a href="http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/paramee30.SWF" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/paramee30.SWF</a>

252
บทสวดมนต์ / คุณของพระรัตนตรัย
« เมื่อ: 19 ส.ค. 2551, 07:57:32 »

คุณของพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ




บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.




บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.




บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย

อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.




คำแปล บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ


บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา
(เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)
 
อะระหัง
(เป็นผู้ไกลจากกิเลส)

สัมมาสัมพุทโธ
(เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน
(เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ)

สุคะโต
(เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี)

โลกะวิทู
(เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง)

อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ
(เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า)

สัตถาเทวะมนุสสานัง
(เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)

พุทโธ
(เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม)

ภะคะวาติ.
(เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้)


บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม
(พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว)

สันทิฏฐิโก
(เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง)

อะกาลิโก
(เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล)

เอหิปัสสิโก
(เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด)

โอปะนะยิโก
(เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว)

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ)


บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว)

อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว)

ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว)

สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว)

ยะทิทัง
(ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ)

จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
(คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ)

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า)

อาหุเนยโย
(เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา)

ปาหุเนยโย
(เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ)

ทักขิเนยโย
(เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)

อัญชะลีกะระนีโย
(เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี)

อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.
(เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)

 :054: :054: :054: :054: :054:

ที่มา... geocities.com/buddhistmon

<a href="http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/rattanatri.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/rattanatri.swf</a>

253
มงคลสูตรอินเดีย แปลไทย

.....................................

เอวัมเม สุตัง
(อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้)

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
(สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า)

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน, อนาถะปิณฑิกะ อาราเม
(ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี)

อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา
(ครั้งนั้นแล เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง)

อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
(ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งยิ่งนัก)

เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
(ยังเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่าง)

เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
(พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น)

อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา
(ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว)

เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
(ได้ยืนอยู่ในที่สมควรแห่งหนึ่ง)

เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา
(ครั้นเทวดานั้น ได้ยืนในที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว แล)

ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
(ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า)

พะหู เทวา มะนุสสา จะ
(หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก)

มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง
(ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย)

พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
(ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด)

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑)

ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การบูชาชนที่ควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
(การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑)

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
(การเป็นผู้ฟังมาก ๑ ศิลปะ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑)

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
(การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑)

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
(การให้ ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑)

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การกระทำทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
(การงดเว้นจากบาป ๑ การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑)

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
(การเคารพ ๑ การไม่จองหอง ๑ การยินดีในของที่มีอยู่ ๑ การเป็นคนกตัญญู๑)

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การฟังธรรมตามกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
(ความอดทน ๑ การเป็นคนว่าง่าย ๑ การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑)

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
(ความเพียรเผากิเลส ๑ การประพฤติอย่างพรหม ๑ การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑)

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
(จิตของผู้ใด อันโลกธรรมถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว)

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
(ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด)

เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
(เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง)

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
(ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เหล่านั้น แล ฯ)



ที่มา... geocities.com/buddhistmon

<a href="http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/monkolasutta.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.bp-th.org/uploads/dhamma/monkolasutta.swf</a>

254
ย้าย เริ่มหัวข้อใหม่ มาอยู่ด้านหน้า



ไฟล์... ./Themes/default/MessageIndex.template.php

ค้นหา...
   
โค๊ด: [Select]
// Create the button set...
$normal_buttons = array(
'markread' => array('text' => 'mark_read_short', 'image' => 'markread.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=markasread;sa=board;board=' . $context['current_board'] . '.0;sesc=' . $context['session_id']),
'notify' => array('test' => 'can_mark_notify', 'text' => 125, 'image' => 'notify.gif', 'lang' => true, 'custom' => 'onclick="return confirm(\'' . ($context['is_marked_notify'] ? $txt['notification_disable_board'] : $txt['notification_enable_board']) . '\');"', 'url' => $scripturl . '?action=notifyboard;sa=' . ($context['is_marked_notify'] ? 'off' : 'on') . ';board=' . $context['current_board'] . '.' . $context['start'] . ';sesc=' . $context['session_id']),
'new_topic' => array('test' => 'can_post_new', 'text' => 'smf258', 'image' => 'new_topic.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=post;board=' . $context['current_board'] . '.0'),
'post_poll' => array('test' => 'can_post_poll', 'text' => 'smf20', 'image' => 'new_poll.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=post;board=' . $context['current_board'] . '.0;poll'),
);


วางทับแทนที่หา...
   
โค๊ด: [Select]
// Create the button set...
$normal_buttons = array(
'new_topic' => array('test' => 'can_post_new', 'text' => 'smf258', 'image' => 'new_topic.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=post;board=' . $context['current_board'] . '.0'),

'markread' => array('text' => 'mark_read_short', 'image' => 'markread.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=markasread;sa=board;board=' . $context['current_board'] . '.0;sesc=' . $context['session_id']),

'notify' => array('test' => 'can_mark_notify', 'text' => 125, 'image' => 'notify.gif', 'lang' => true, 'custom' => 'onclick="return confirm(\'' . ($context['is_marked_notify'] ? $txt['notification_disable_board'] : $txt['notification_enable_board']) . '\');"', 'url' => $scripturl . '?action=notifyboard;sa=' . ($context['is_marked_notify'] ? 'off' : 'on') . ';board=' . $context['current_board'] . '.' . $context['start'] . ';sesc=' . $context['session_id']),

'post_poll' => array('test' => 'can_post_poll', 'text' => 'smf20', 'image' => 'new_poll.gif', 'lang' => true, 'url' => $scripturl . '?action=post;board=' . $context['current_board'] . '.0;poll'),
);

ค่อยๆ นึก...

เดี๋ยวเอามาลง...

:002:

255

แ จ้ ง ข่ า ว

กำหนดงานไหว้ครูบูรพาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

ต ร ง กั บ

วันเสาร์ ที่ ๗ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

(ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด)


เวลา ๐๙.๓๙ น.

ข อ เ ชิ ญ ศิ ษ ย า นุ ศิ ษ ย์    ผู้ ที่ มี จิ ต ศ รั ท ธ า เ ลื่ อ ม ใ ส

และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณทุกท่าน เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน.


*** ขอความร่วมมือ แต่งกายชุดขาว หรืออย่างน้อยขอเป็นเสื้อขาว ***

ขอขอบคุณสำหรับการให้ความร่วมมือครับ


 :016: :001: :001: :001: :015:

256


ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ)

ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ.วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า

อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑

เวลา ๑๐.๐๐ น. ประกอบพิธีถวายผ้ากฐิน

ขออำนาจบุญกุศลที่ท่านทั้งหลายได้สร้าง ได้กระทำ ขอให้มีความสุข ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ.



257
เมื่อก่อนสั้นนิดเดียว เดี๋ยวนี้ยาวๆ



:002: :004: :004: :004: :004: :002:

259
คู่มือกระดานสนทนา / การใช้งาน wap2
« เมื่อ: 22 พ.ค. 2551, 08:00:57 »
ใช้งาน wap2

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าบอร์ดของเราใช้งาน wap2 ได้

ทางเข้า wap2

http://www.bp.or.th/webboard/index.php/wap2




พอดีเพื่อนมาเยี่ยมเยียน เห็นว่ามือถือใช้ wap ได้ เลยขอยืมทดสอบ

ผลที่ได้ จาก
Nokia 5300










260
ปรับระบบตอบด่วน

ปรับระบบตอบด่วนส่วนท้ายของกระทู้ ให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น





261

                                                 กำหนดงานครบรอบวัน คล้ายวันมรณภาพ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) ปีที่ ๖

                                                 ในปีนี้ตรงกับ วันจันทร์ ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

                                                 เวลา ๑๐.๐๐ น . พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์

                                                 เวลา ๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ฉันภัตตาหารเพล

                                                 เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์ทั้งนั้น สวดมาติกาปังสุกูล

                                                 เสร็จพิธีทำบุญครบรอบวันมรณภาพ

                                                 ขอเชิญพุทธศาสนิกชน และศิษยานุศิษย์หลวงพ่อเปิ่นทุกท่าน ร่วมงานบุญครั้งนี้โดยทั่วกัน

                                                 ขออนุโมทนา...


262




คำนมัสการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง




คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ



ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต

แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต



:054: :054: :054: :054: :054:



263
[mb]




[spoil][/spoil]


[spoil][/spoil]


[spoil][/spoil]


[spoil][/spoil]


[spoil][/spoil]


 [spoil]:002: :004: :095: :007: :008:[/spoil]


[/mb]

264
ระบบซ่อนข้อความ

๑. ยกเลิกคำสั่ง [spoil]ข้อความที่จะซ่อน[/spoil] ซ่อนข้อความ ต้องคลิกก่อนจึงจะเห็นข้อความ

   ใช้คำสัง แทน โดยคลิกที่

   ผลที่ได้

ข้อความถูกซ่อน (ลากเมาส์เข้าในกรอบเพื่อแสดง)


๒. ยกเลิกคำสั่ง [mb]ข้อความที่จะซ่อน[/mb] ซ่อนข้อความ ต้องเข้าระบบก่อนจึงเห็นข้อความ (ยังไม่มีคำสั่งที่เหมาะสมทดแทน)




๑. ซ่อนข้อความ ต้องคลิกก่อนจึงจะเห็นข้อความ

คำสั่ง

ผลที่ได้ => [spoil]สวัสดีครับคุณ <you/> :114: ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป[/spoil]



๒. ซ่อนข้อความ ต้องเข้าระบบก่อนจึงเห็นข้อความ

คำสั่ง

ผลที่ได้ => [mb]สวัสดีอีกรอบครับคุณ <you/> :114: ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป[/mb]

265





สวัสดีปีใหม่แบบไทยๆ

ขอให้มีความสุขกันทั่วหล้า...ไปไหนมาไหนก็แคล้วคลาดปลอดภัย

อย่าลืมนึกถึงคนที่รักเราด้วยนะครับ









 :001:

266
เพิ่มโค้ดให้เล่นคลิปวีดีโอของยูทิวบ์ (Youtube)

ไปที่เว็บ เพื่ออัพวีดีโอเองหรือจะหาจากเว็บก็ได้

http://www.youtube.com/


นำลิ้งค์คลิปวีดีโอที่ต้องการ เช่น
ตัดเอาเฉพาะ id ส่วนที่ต้องการ อยู่ระหว่างเครื่องหมาย = กับ & ก็จะได้ UeypOvsY91Q

คลิกไอค่อน เพื่อเรียกใช้โค้ด

จะได้


นำ id ของวีดีโอที่อัพเองหรือที่หาได้มาวาวางระหว่าโค้ด


คลิกแสดงตัวอย่าง เพื่อดูตัวอย่างก่อนโพสต์ หรือจะคลิกตั้งกระทู้ถ้ามั่นใจว่าไม่มีข้อผิดพลาด จะได้

ผลที่ได้
[youtube=425,350]UeypOvsY91Q[/youtube]

267
ทดสอบการแสดงผลกระทู้ล่าสุด เอาไว้ด้านบนของบอร์ด

คลิกชมกระทู้จะเปิดหน้าต่างใหม่ ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงกระทู้อื่นๆ ในหน้าแรกโดยไม่ต้อง Back กลับ

เมื่อมีคนตอบกระทู้จะแสดงเพียงแค่กระทู้เดียวในหน้าแรก ไม่ซ้ำซ้อนทำให้รกบอร์ด หรือรกหูรกตา

สะดวกหรือลำบากกว่าเก่า ลองใช้ดู  ติชมได้นะครับ


 :001:

268
แจ้งข่าวการติดแบนเนอร์ส่วน Footer ของบอร์ด



เว็บไซต์วัดบางพระได้เช่าพื้นที่ของ SiamInterHost.com ใน Ecommerce plan

ขนาดพื้นที่จำนวน 1000 เม็ก  แบนวิท (Bandwidth) 20,000 เม็ก (20 G)

แต่เว็บไซต์เราใช้แบนวิทเกินโควต้ามาโดยตลอดเป็นระยะเวลายาวนานมาก ไม่น่าจะไม่ต่ำกว่า 5 เดือน

และยิ่งช่วงนี้ใช้ไปเกือบ 50,000 (เม็ก 50 G) หรือมากกว่าทุกเดือน




ทางผู้ให้เช่า Host ได้เพิ่มแบนวิทให้ทุกเดือนๆ โดยไม่ได้คิดราคาเพิ่ม (G ละ 100บาท)

เพื่อเป็นการตอบแทนความมีน้ำใจของท่าน  เว็บไซต์วัดบางพระจึงได้ติดแบนเนอร์ในส่วน Footer ของบอร์ดครับ

ปล. ไม่มีรายได้จากการติดแบนนี้นะครับ


269
บรรยากาศตอนเช้าวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. ก่อนเริ่มพิธี




























270


ไ ห ว้ ค รู บู ร พ า จ า ร ย์ วั ด บ า ง พ ร ะ ป ร ะ จำ ปี  พ.ศ. ๒ ๕ ๕ ๑

พ ร ะ อุ ด ม ป ร ะ ช า น า ถ  ( ห ล ว ง พ่ อ เ ปิ่ น )

วั น เ ส า ร์  ที่  ๒ ๒  มี น า ค ม  พ . ศ .  ๒ ๕ ๕ ๑

เ ว ล า  ๐ ๙ . ๓ ๙  น .


ขอเชิญศิษยานุศิษย์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้โดยทั่วกัน




 :001:

271
สวัสดีครับ

ตอนนี้ทางทีงานได้แยกบอร์ด ในหมวด ผู้ทรงวิทยาคุณ (เกจิอาจารย์) ออกเป็น ๔ บอร์ดด้วยกัน

และแต่ละบอร์ดแยกออกเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้

ในขณะนี้กำลังมีการย้ายกระทู้ที่สมาชิกบอร์ดได้โพสต์ไว้เข้าสู่ตามบอร์ดภาคต่างๆ

และขอแจ้งให้สมาชิกทราบโดยทั่วกัน เมื่อจะโพสต์แนะนำเกจิอาจารย์ ขอให้โพสต์ตามภาคต่างๆ ด้วยครับ


ขอบคุณครับ

ทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์วัดบางพระ
:001:

272
หลวงพี่พันธ์กลับมาเยี่ยมวัด เวลา ๑๖.๐๐ น.กราบหลวงพ่อเปิ่น กราบหลวงพ่อสำอางค์? สนทนาธรรม

พูดคุยสนทนากับพระ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ...



คลิกที่รูปภาพ เพื่อชมเท่าขนาดจริง


หลวงพี่พันธ์ถ่ายรูปกับหลวงพ่อสำอางค์



หลวงพ่อสำอางค์เป่าครอบให้



จับเข่าคุย ๑



พาลูกศิษย์มากราบและถ่ายรูปร่วมกับหลวงพ่อสำอางค์



273

หลวงพ่อปัญญามรณภาพแล้ว

วันนี้(10 ต.ค.)มีรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00น. พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี ได้มรณภาพแล้ว
? ? ? ?
? ? ? ?ทั้งนี้ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้อาพาธมีอาการเจ็บหน้าอก และเข้ารักษาตัวที่ตึกอัษฎางค์ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว จนกระทั่งมรณภาพเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา สิริรวมอายุได้ 96ปี
? ? ? ?
? ? ? ?ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลศิริราชกำลังเตรียมแถลงข่าวเกี่ยวกับอาการอาพาธของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ซึ่ง "ผู้จัดการออนไลน์" จะนำเสนอรายละเอียดต่อไป

? ? ? ?
? ? ? ?ประวัติ
? ? ? ?หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ถือกำเนิดที่ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จ.ระนอง โดยมีพระระณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474
? ? ? ?
? ? ? ?หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
? ? ? ?
? ? ? ?เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
? ? ? ?พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
? ? ? ?
? ? ? ?ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป
? ? ? ?
? ? ? ?สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
? ? ? ?พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
? ? ? ?
? ? ? ?ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่
? ? ? ?ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
? ? ? ?ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย
? ? ? ?
? ? ? ?วัดชลประทานรังสฤษฎ์
? ? ? ?ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
? ? ? ?
? ? ? ?หลวงพ่อได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
? ? ? ?
? ? ? ?นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย
? ? ? ?
? ? ? ?โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน

? ? ? ?
? ? ? ?ผลงานและเกียรติคุณ
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านการปกครอง
? ? ? ?พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
? ? ? ?พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
? ? ? ?เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
? ? ? ?เป็นรองเจ้าคณะภาค 18
? ? ? ?พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านการศึกษา
? ? ? ?พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
? ? ? ?พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
? ? ? ?พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านการเผยแผ่
? ? ? ?พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
? ? ? ?พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" จังหวัดเชียงใหม่
? ? ? ?เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่
? ? ? ?พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์
? ? ? ?เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
? ? ? ?เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน พ.ศ. 2520
? ? ? ?เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
? ? ? ?พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
? ? ? ?พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม "ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน" ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ
? ? ? ?พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
? ? ? ?
? ? ? ?การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ
? ? ? ?พ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
? ? ? ?ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
? ? ? ?เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านสาธารณูปการ
? ? ? ?พ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
? ? ? ?พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
? ? ? ?เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
? ? ? ?พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านสาธารณประโยชน์
? ? ? ?พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
? ? ? ?สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
? ? ? ?พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
? ? ? ?พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง จ.พัทลุง
? ? ? ?บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต
? ? ? ?เป็นประธานหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี
? ? ? ?บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด
? ? ? ?
? ? ? ?งานพิเศษ
? ? ? ?พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
? ? ? ?พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
? ? ? ?เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
? ? ? ?เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
? ? ? ?พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
? ? ? ?พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)
? ? ? ?
? ? ? ?งานด้านวิทยานิพนธ์
? ? ? ?ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น
? ? ? ?
? ? ? ?ทางสายกลาง
? ? ? ?คำถามคำตอบพุทธศาสนา
? ? ? ?คำสอนในพุทธศาสนา
? ? ? ?หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
? ? ? ?รักลูกให้ถูกทาง
? ? ? ?ทางดับทุกข์
? ? ? ?อยู่กันด้วยความรัก
? ? ? ?อุดมการณ์ของท่านปัญญา
? ? ? ?ปัญญาสาส์น
? ? ? ?ชีวิตและผลงาน
? ? ? ?มรณานุสติ
? ? ? ?ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
? ? ? ?72 ปี ปัญญานันทะ เป็นต้น
? ? ? ?
? ? ? ?เกียรติคุณที่ได้รับ
? ? ? ?พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
? ? ? ?พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
? ? ? ?พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
? ? ? ?พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
? ? ? ?พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
? ? ? ?พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์
? ? ? ?พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
? ? ? ?พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
? ? ? ?พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
? ? ? ?
? ? ? ?สมณศักดิ์ที่ได้รับ
? ? ? ?วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระปัญญานันทมุนี"
       วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชนันทมุนี"
       วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี"
       วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
       วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ "พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"


       พระอุโบสถกลางน้ำ งานชิ้นสุดท้ายที่ยังทำไม่เสร็จ
       
       ปณิธานสุดท้ายที่ท่านตั้งใจทำในชีวิตก็คือ การสร้างพระอุโบสถกลางน้ำ ที่วังน้อย อยุธยา โดยพระอุโบสถกลางน้ำจะเป็นสถานที่ที่เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของผู้สนใจในหลักธรรมะ


ขอขอบคุณ? :114:

274
บทความ บทกวี / มารยาทไทย
« เมื่อ: 28 ก.ย. 2550, 07:50:21 »

? ? ? ? ? ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ
และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน
และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว
ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย
ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้



ความหมาย มารยาท

? มารยาท ? หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร
การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ


ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
? ? ? ? ? การแสดงความเคารพ
? ? ? ? ? การยืน
? ? ? ? ? การเดิน
? ? ? ? ? การนั่ง
? ? ? ? ? การนอน
? ? ? ? ? การรับของส่งของ
? ? ? ? ? การแสดงกิริยาอาการ
? ? ? ? ? การรับประทานอาหาร
? ? ? ? ? การให้และรับบริการ
? ? ? ? ? การทักทาย
? ? ? ? ? การสนทนา
? ? ? ? ? การใช้คำพูด
? ? ? ? ? การฟัง
? ? ? ? ? การใช้เครื่องมือสื่อสาร
? ? ? ? ? การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ



ขอขอบคุณ ? :114:

275

[wmv=320,305]http://www.kanlayanatam.com/vcd/LP_Pl.wmv[/wmv]

แสดงธรรมโดย หลวงพ่อพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป (๒๗ พ.ย. ๒๕๔๘)

ณ มหาวิทยาลัยโนโลยี่ราชมงคล วิทยาเขตบพิตรภิมุข มหาเมฆ

ขอขอบคุณ  :114:


276
ธรรมะ / มีไปทำไม? (ว. วชิรเมธี)
« เมื่อ: 18 ก.ย. 2550, 08:24:21 »





277
สวัสดี คำทักทายดีๆ ของคนไทย

? ? ? ? ? พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า

? ? ? ? ? เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ
แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย? ?ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงจึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ในท้ายที่สุดก็ตกลงได้คำว่า
"สวัสดี" ไปใช้

? ? ? ? ? พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร? ซึ่งในขณะนั้น ท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน เป็นการทดลองก่อน

? ? ? ? ? คำว่า
"สวัสดี" นี้ ท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร ได้พิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทย

ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒

สวัสดิ-, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ [สะหวัดดิ-, สะหวัด, สะหวัดดี]
น. ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี
ขอให้สวัสดีมีชัย. (ส. สฺสวฺติ; ป.โสตถิ).

-สวัสดิ์ ๒, สวัสดี ๒ [-สะหวัด, สะหวัดดี]
คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน เช่น อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ สวัสดีปีใหม่ สวัสดีครับคุณครู.

โสตถิ [โสดถิ] น. ความสวัสดี, ความเจริญรุ่งเรือง เช่น เป็นประโยชน์โสตถิผล. (ป.; ส.สฺวสฺติ).



คำว่า "สวัสดี" จึงหมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และเป็นการอวยชัยให้พร


? ? ? ? ? ครั้นต่อมาในยุคบำรุงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติ รัฐบาลในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เห็นชอบกับการใช้
คำว่า
"สวัสดี" เป็นคำทักทายในโอกาสแรกที่ได้พบกัน จึงได้มอบให้
กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ออกข่าวประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ ดังต่อไปนี้ (ตัวสะกดและการันต์ในสมัยนั้น)

"ด้วยพนะท่านนายกรัถมนตรีได้พิจารนาเห็นว่าเพื่อเปนการส่งเสริมเกียรติแก่ตนและแก่ชาติ ให้สมกับที่เราได้รับความยกย่องว่าคนไทยเปนอารยะชน คำพูดจึงเปน
สิ่งหนึ่งที่สแดงภูมิของจิตใจว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นจึงมี
คำสั่งให้กำชับบันดาข้าราชการทุกคนกล่าวคำ
"สวัสดี" ต่อกันไนโอกาสที่พบกันครั้งแรกของวันเพื่อเป็นการผูกไมตรีต่อกัน และฝึกนิสัยไห้กล่าวแต่คำที่เปนมงคล
ว่าอะไรว่าตามกัน กับขอไห้ข้าราชการช่วยแนะนำแก่ผู้ที่อยู่ไนครอบครัวของตนไห้รู้จักกล่าวคำ
"สวัสดี" เช่นเดียวกันด้วย "

นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ทางราชการในสมัยนั้นได้กำหนดให้ใช้คำว่า "สวัสดี" ไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๖

คำทักทายที่คนไทยสมัยนี้นิยมใช้กัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นสากล (Inter) เช่น

คำว่า
"ฮัลโหล" ในภาษาอังกฤษ มีความหมาย เป็นเพียงแค่ทักทายกันเมื่อพบกัน
คำว่า "หนีฮ่าว" ในภาษาจีน มีความหมายว่า คุณสบายดีไหม

จะเห็นว่ามีความแตกต่างออกไปอย่างชัดเจน

? ? ? ? ? คำว่า "สวัสดี" ของไทยไม่ได้เป็นเพียงแค่คำทักทายเท่านั้น

? ? ? ? ? ความหมายของคำ "สวัสดี" ได้สะท้อนไปถึงความปรารถนาดี เปี่ยมไปด้วยไมตรีจิต เป็นการอวยพรให้กับผู้ที่เราสนทนา ให้ประสบพบแต่สิ่งที่ดี ซึ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษในคำทักทายของคนไทย

? ? ? ? ? และ เมื่อเรากล่าวคำสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงระหว่างอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่ บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้น มาจากใจของผู้ไหว้

? ? ? ? ? ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่า "สวัสดี" พร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำที่งดงาม
ดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลทั้งต่อตัวผู้พูด และผู้ฟัง เป็นความเจริญทางวัฒนธรรมด้านภาษาและจิตใจอย่างที่สุด



? ? ? ? ? ในปัจจุบันนี้มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก ได้พยายามยกมือไหว้และกล่าวคำว่า "สวัสดี-Sawasdee" เพราะเข้าใจวัฒนธรรมของไทยดีขึ้น นับเป็นการ
ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ประการหนึ่ง


? ? ? ? ? คำว่า "สวัสดี" ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นคำของ "ชาตินิยม" เป็นวัฒนธรรมอันหยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ

? ? ? ? ? อากัปกิริยาของการ "สวัสดี" ผนวกกับ ความมีน้ำใจไมตรีของคนไทย และรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ ทำให้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำที่มีความหมายมากมายนัก

? ? ? ? ? คนไทยควรจะมาร่วมกันดำรง สำนึกความเป็น"ไทย" ด้วยคำทักทายอันเป็นมงคลและรอยยิ้มที่แจ่มใส .. อย่าให้สิ่งดีๆ เลือนหายไปจากสามัญสำนึก

? ? ? ? ? "สวัสดีค่ะ"
? ? ? ? ? "สวัสดีครับ"

 :001: => กระทู้สวัสดี <=? :001:

ขอขอบคุณ :114:

278

พระประจำวันเกิดและคาถาบูชาพระประจำวันเกิด สำหรับคนเกิดวันทั้ง ๘ คือ เกิดวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธกลางวัน? วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ วันพุธกลางคืน



๑. เกิดวันอาทิตย์
พระปางถวายเนตร

๑. เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิดคือ ปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาวทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร

ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จจากร่มพระศรีมหาโพธิ์ไปประทับยืนกลางแจ้ง ทางทิศอีสานของต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้น ๗ วัน สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นนิมิตมหามงคล ปรากฏชื่อว่า อนิมิสสเจดีย์ พระพุทธจริยาที่ทรงเพิ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้ทรงกะพริบ พระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูป เพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์ อนึ่งต้นไม้อสัตถโพธิ์พฤกษ์อันเป็นสถานที่กำเนิด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สำหรับชำระกิเลสและปลดเปลี้องความทุกข์แก่ชาวโลก จึงได้มีนามตามการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์พฤกษ์ .

คาถาสวดบูชา
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ
สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม
วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ





๒. เกิดวันจันทร์
พระปางห้ามญาติ

๒. เกิดวันจันทร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางห้ามญาติ
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้นอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงห้าม เป็นแบบทรงเครื่องก็มี

ประวัติและความสำคัญ
ณ พระนครกบิลพัสดุ์ อันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับของเจ้าศากยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธบิดา กับพระนครเทวทหะอันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับอยู่ของเจ้าโกลิยะ ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ทั้งสองพระนครนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโรหิณี ชาวนาของ ๒ พระนครนี้ อาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีนี้ ทำนาร่วมกันมาโดยปกติสุข ต่อมาสมัยหนึ่งฝนแล้ง น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำโรหิณีเหลือน้อย ชาวนาทั้งหมดต้องกั้น ทำนบทดน้ำในแม่น้ำโรหิณีขึ้นมาทำนา แม้ดังนั้นแล้ว น้ำก็ยังไม่พอ เป็นเหตุให้มีการแย่งน้ำกันทำนาขึ้น ขั้นแรกก็เป็นการวิวาทกันเฉพาะเพียงบุคคลต่อบุคคล แต่เมื่อไม่มีการระงับด้วยสันติวิธี การวิวาทนั้นก็ลุกลามมากขึ้นจนถึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าไปประหารกัน และด่าว่ากระทบถึงชาติ โคตร และลามปามไปถึงราชวงศ์ ในที่สุดกษัตริย์ผู้เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าทั้งสองเมือง ก็ยกกำลังพลเข้าประชิดกัน เพื่อแย่งน้ำ โดยหลงเชื่อคำยุยุงพูดเท็จของอำมาตย์ที่กำลังเคียดแค้น มิทันได้ทรงวินิจฉัยให้ถ่องแท้แน่นอนว่า เมื่อเรื่องเล็กน้อยเช่นนั้นเกิดขึ้น ควรจะระงับด้วยสันติวิธี พระพุทธเจ้าทรงทราบก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จมาห้าม สงครามการแย่งน้ำระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย โดยทรงแสดงโทษคือความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์โดยเหตุอันไม่สมควร ที่พระราชาจะต้องมาล้มตายทำลายเกียรติของตน เพียงเพราะแย่งน้ำกันทำนาเพียงเล็กน้อย ครั้นแล้วพระญาติทั้งสองฝ่ายก็ทำความเข้าใจกันได้และหันมาสามัคคีกัน พระพุทธจริยาที่ทรงโปรดพระญาติ เพื่อห้ามมิให้ทะเลาะวิวาท สู้รบกันเพราะเหตุแห่งการแย่งน้ำนี้ เป็นมงคลแสดงอนุภาพแห่งธรรมที่พระองค์ทรงแสดง พุทธศาสนิกชนผู้หนักในธรรมคำสอน เล็งเห็นคุณอัศจรรย์แห่งอนุสาสนีปาฎิหาริย์ จึงถือเป็นเหตุในการสร้าง พระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางห้ามญาติบ้าง ปางห้ามสมุทรบ้าง

คาถาสวดบูชา
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ





๓. เกิดวันอังคาร
พระปางไสยาสน์

๓. เกิดวันอังคาร พระประจำวันเกิดคือ ปางไสยาสน์
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาลักษณะตั้งซ้อนกัน

ประวัติและความสำคัญ
พระพุทธเจ้าครั้นโปรดสุภัททปริพาชกให้บรรพชาอุปสมบทและให้สำเร็จเป็น พระอริยเจ้าเป็นปัจฉิมสาวกแล้ว ต่อมาพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระองค์ว่า พระฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์คราวเสด็จออกบวช เป็นคนว่ายากสอนยาก แม้จะกรุณาเตือนแล้วก็ตาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ยิ่งจะว่ายากขึ้นไปอีก หาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะนั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือ ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน เมื่อถูกพรหมทัณฑ์แล้ว จะสำนึกผิดเอง ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้ตรัสปัจฉิมโมวาท เตือนว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งการพิจารณาองค์แห่งจตุถฌาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินใหญ่ไหวสะเทือนสะท้าน เกิดการโลมชาติ ชูชันขันพองสยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์

คาถาสวดบูชา
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ




๔. เกิดวันพุธ กลางวัน
พระปางอุ้มบาตร

๔. เกิดวันพุธ กลางวัน พระประจำวันเกิดคือ ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

ประวัติและความสำคัญ
ประวัติที่เป็นเรื่องราวนั้นสืบเนื่องต่อมาจากพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ กล่าวคือ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยุรญาติได้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่ง บนพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษ์ให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเป็นเทศนา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ก็ได้เบิกบานปีติปาโมทย์ เปิดพระโอษฐ์แซ่ซ้องสาธุการแล้ว พระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลาคืนยังพระราชสถานแห่งตน มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่ง ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงรับอาหารบิณฑบาตรในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะ ก็เพียงแต่ทูลลามิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้า เช่นกัน ด้วยทรงนึกไม่ถึงว่า ธรรมดาพระจะต้องอาราธนา จึงจะได้มารับบิณฑบาตรในบ้านซึ่งเป็นปกติของสามัญชนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็เป็นศิษย์ของพระโอรสแล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหนเสีย เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ จึงไม่จำเป็นต้องทูลอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแน่พระทัยเป็นอย่างยิ่งว่า พระบรมศาสดาจะต้องพาพระสาวก ทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แน่นอน จึงไม่ทรงทูล อาราธนา ยิ่งไปกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งอาราธนา ก็จะกลายเป็นว่า พระบรมศาสดาเป็นคนอื่นมิใช่พระโอรส ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จถึงพระราชนิเวศน์ จึงโปรดให้พนักงานจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตเป็นพิเศษไว้พร้อมมูล เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้ ตลอดเวลาเย็นถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครมาอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวยที่ใดแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้ว ทรงปฎิบัติอย่างไร ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตรตามลำดับตรอก ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว จึงทรงถือเอาบาตรและจีวรพาภิกษุสงฆ์ เสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฏร์ ต่างได้มีโอกาสชมพระบารมี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร

คาถาสวดบูชา
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ





๕. เกิดวันพฤหัสบดี
พระปางตรัสรู้หรือปางสมาธิ

๕. เกิดวันพฤหัสบดี พระประจำวันเกิดคือ ปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกัน บนพระเพลา คือพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขาวทับพระชงฆ์ซ้าย

ประวัติและความสำคัญ
เมื่อพระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ ทรงกำจัดพญามาร และเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี ตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันพระอาทิตย์จะอัสดง ก็ทรงเบิกบานพระทัยได้ปีติเป็นกำลังภายในสนับสนุนเพิ่มพูนแรงปฎิบัติภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้น พระองค์จึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลาทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้ปราศ จากอุปกิเลสจนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นส่วนรูปสมบัติตามลำดับ ต่อจากนั้น ก็ทรงเจริญญานอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการ ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามลำดับแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรี นั้นคือ ในปฐมยาม ทรงบรรลปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจตูปปาตญาณ หรือทิพจักขุญาณ สามารถหยั่งรู้การเกิด การตาย ตลอดจนการจุติและปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้หมด ในปัจฌิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไป ด้วยปัญญาพิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ สาวไปข้างหน้าและสาวกลับไปมาแล้ว ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลา ปัจจุสสมัยรุ่งอรุโณทัย ทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน ถึงกับทรงเปล่งอุทานเย้ยตัณหา อันเป็นตัวการก่อให้เกิดสงสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์หลายเอนกชาติว่า "นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือนคือตัณหา ตลอดชาติอันจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบท่านเลย นับแต่นี้ไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตไม่ได้อีกแล้ว กลอนเรือนเราก็ได้รื้อเสียแล้ว ช่อฟ้าเราก็ทำลายแล้ว จิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งมีกิเลสไปปราศแล้ว เราถึงความดับสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว" ในขณะนั้นมหาอัศจรรย์ก็บังเกิดมีขึ้น กล่าวคือ พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็หวั่นไหว พฤกษาชาติทั้งหลายก็ผลิตดอกออกช่องามตระการตา เทพเจ้าทุกข์ชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการโปรยปรายบุปผามาลัยทำสักการะบูชา เปล่งวาจาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดีเป็นเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน เรื่องนี้จึงเป็นมูลเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางตรัสรู เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ฉะนี้แล

คาถาสวดบูชา
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มหาสัตตัง
วเนจรา จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง ฯ





๖. เกิดวันศุกร์
พระปางรำพึง

๖. วันศุกร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

ประวัติและความสำคัญ
เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ ๒ พาณิชกราบทูลลาไปแล้ว พระพุทธองค์เสด็จกลับจากร่มไม้ราชายตนะ ไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง และทรงรำพึงถึงธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทำให้ท้อแท้พระทัยถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระพุทธองค์ จึงร้องประกาศชวนเทพยดาทั้งหลาย พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ ควงไม้อชปาลนิโครธ ถวายอภิวาทแล้วกราบ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย ทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวก จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนทั้งหลาย ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาล เพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนผู้เกิดมาภายหลัง แล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลก แล้วพระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลาย ในโลกนี้ย่อมมีต่าง ๆ กัน คือ ทั้งประณีต ปานกลางและหยาบ ที่มีนิสัยดีมีกิเลสน้อยเบาบาง มีบารมีที่ดีสั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้วในดอกบัว ๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณ เช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยังอยู่ภายในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆ ไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวนัยสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้ที่พึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควรได้รับการแนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ ซึ่งมิใช่เวไนย คือ ไม่รับการแนะนำ ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อน อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป ครั้นพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง

คาถาสวดบูชา
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิ
สะการิภิ ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ





๗. เกิดวันเสาร์
พระปางนาคปรก

๗. เกิดวันเสาร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองแบวางซ้อนกัน บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร

ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

คาถาสวดบูชา
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ





๘. เกิดวันพุธ กลางคืน
พระปางป่าเลไลย์

๘. เกิดวันพุธ กลางคืน พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์
ลักษณะพระพุทธรูป

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองข้างลง ทอดพระบาทเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวาเป็นกิริยาทรงรับ มีช้างหมอบถือน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรวงผึ้งถวายอยู่ข้างหน้า

ประวัติและความสำคัญ
ณ เมืองโกสัมพีมีพระภิกษุ ๒ ฝ่ายอยู่ในวิหารเดียวกันคือฝ่ายพระวินัยธร ที่ถือเคร่งครัดทางพระวินัย และฝ่ายพระธรรมธร ที่ถือการแสดงธรรมเป็นใหญ่ แต่ละฝ่ายก็มีลูกศิษย์เป็นบริวารมากมาย วันหนึ่งพระธรรมธรได้เข้าไปในห้องน้ำ ใช้น้ำแล้วเหลือไว้นิดหนึ่ง เมื่อพระวินัยธรเข้าไปเจอน้ำเหลือไว้ จึงได้ตำหนิพระธรรมธร ตัวพระธรรมธรเองก็ได้ยอมรับผิดต่อพฤติกรรมนั้น แต่พระวินัยกลับนำเรื่องเพียงเล็กน้อยนี้เป็นพูดกับอันเตวาสิกของตนว่า พระธรรมธรขนาดทำผิดแล้วยังไม่รู้สึกตัวอีก ต่อมาอันเดวาสิกของพระธรรมธรก็ได้พูดถากถาง ทำนองเดียวกันกับอันเดวาสิกของพระธรรมธร ว่าอาจารย์ของพวกท่านทำผิดแล้วยังไม่รู้อีก น่าละอายนัก ฝ่ายลูกศิษย์ก็นำเรื่องนี้ไป ปรึกษากับพระธรรมธร พระธรรมธรได้ฟังดังนั้น จึงพูดว่าทำไมพระวินัยธรจึงพูดอย่างนี้ เราทำผิดกฎก็ยอมรับผิดและแสดงอาบัติไปแล้ว ไฉนจึงพูดกลับกลอกเช่นนี้เล่าจึงพูดกับอันเตวาสิกว่า พระวินัยธรพูดเท็จและทั้งสองฝ่ายก็ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุเพียงเล็กน้อยเอง เมื่อไม่สามารถจะระงับกันได้ พระพุทธเจ้าได้แสดงเหตุของการแตกแยก และคุณของความสามัคคี แต่ก็หาเชื่อต่อพระพุทธเจ้าไม่ ซ้ำยังแสดงคำพูดที่ไม่เหมาะสมว่า ขอให้พระพุทธเจ้าอยู่เฉยอย่ามายุ่ง พระพุทธองค์เห็นว่าไม่สามารถจะระงับได้ จึงส่งพระโมคคัลลานะ ไปช่วยระงับ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ทำให้พระพุทธองค์เกิดความเบื่อหน่ายระอาใจต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง แม้ชาวบ้านเองก็แตกเป็น ๒ ฝ่ายตามพระที่ตนเองนับถือ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีศีลก็ระอาพากันคว่ำบาตร ไม่ให้การบำรุงพระสงฆ์เหล่านั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปอยู่ ณ ป่าได้มีช้างปาริไลยกะและลิงคอยทำการอุปัฏฐาก มีความพระเกษมสำราญในการอยู่คนเดียว จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงพฤติกรรมของพระ ๒ ฝ่ายในขณะนั้น ไม่เชื่อฟังแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกสามัคคี การทะเลาะวิวาทกัน

คาถาสวดบูชา
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ


ขอขอบคุณ :114:

279
ธรรมะ / กรรม ๑๖ อย่าง
« เมื่อ: 14 ก.ย. 2550, 09:12:33 »


ในตอนนี้จะพูดถึงกรรม ๑๖ อย่าง เพื่อความเข้าใจในกฏแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนากว้างขวางยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะชี้แจงกรรม ๑๖ อย่างว่ามีอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างไร ขอย้ำความเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อนว่า
หลักพระพุทธศาสนาของเรานั้นเราไม่เชื่ออำนาจดวงดาว ไม่เชื่ออำนาจพระเจ้า
ไม่เชื่ออำนาจสิ่งภายนอกอื่นใดว่าจะมาดลบันดาลชีวิตของเราให้สุข ให้ทุกข์ ให้เสื่อม ให้เจริญ ให้อายุสั้น ให้อายุยืน ให้เป็นอย่างโน้น
ให้เป็นอย่างนี้ แต่เราเชื่อว่า สิ่งที่จะมาทำชีวิตเราให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ได้ก็คือกรรมนั่นเอง ตัวกรรมที่เราทำไว้เอง
เราจึงต้องเป็นไปตามกรรม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า


"กมฺมุนา วตฺตติ โลโก แปลว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

และกรรมนั้นจะต้องมีเจตนาจึงจะเป็นกรรมได้ หากไม่มีเจตนาจะไม่เป็นกรรม ไม่ว่ากรรมฝ่ายดีหรือชั่ว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียกการกระทำที่มีความจงใจว่าเป็นตัวกรรม"

เกี่ยวกับกฏของกรรมนี้ มีบางคนสงสัยว่า ทำไมบางคนทำดีแล้วกลับไม่ได้ดี แต่กลับไปได้ชั่ว บางคนทำชั่วแล้วยังไม่ได้ชั่วแต่กลับไปได้ดี
ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด ดังนั้น ในตอนนี้จะชี้แจงให้ทราบว่า มันมีกรรมอันใดกีดกันอยู่
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่า คำว่า "กรรม" ในพุทธศาสนาเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ถ้าเป็นกรรมก็เรียก กุศลกรรม ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เรียก
อกุศลกรรม กรรมดีเป็นบุญเรียกว่า บุญกรรม กรรมชั่วเป็นบาปเรียกว่า บาปกรรม
กรรมนั้นมีหลายระดับ เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจเหมือนศึกษาศาสตร์ต่างๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงกรรมไว้หลายระดับ
ดังนั้น ในพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงกรรมหลายชนิด เช่น:-


กรรม ๒ ชนิด คือ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม

กฏของกรรม ๖ ชนิด คือ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน, เป็นทายาทของกรรมหรือเป็นผู้รับผลของกรรม, มีกรรมเป็นกำเนิด,
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, ทำสิ่งใดไว้จะดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น


กรรม ๑๒ อย่าง อย่างที่กล่าวมาแล้วในวันต้น คือ กรรมที่ให้ผลตามกาล ๔ อย่าง กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ ๔ อย่าง
กรรมที่ให้ผลตามลำดับ ๔ อย่าง

ในกรรม ๑๒ อย่าง มีอยู่หมวดหนึ่งซึ่งจะนำมาชี้แจงเพื่อเชื่อมกับกรรม ๑๖ อย่างในวันนี้ คือ กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
หรือว่า กรรมให้ผลตามกิจ ๔ อย่าง คือ :-


(๑) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด
(๒) อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน
(๓) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น
(๔) อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน



กรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ จะให้ผลช้า ให้ผลเร็ว จะไม่ให้ผลหรือยังรอให้ผลอยู่ ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ถ้าเหตุปัจจัยบริบูรณ์ กรรมนี้ก็ให้ผล
ถ้าเหตุปัจจัยไม่บริบูรณ์ กรรมนี้ก็ไม่ให้ผล แต่มันจะรอผล

อะไรคือเหตุปัจจัยที่จะเป็นแรงหนุนให้กรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ก่อผลขึ้น เพราะกรรมนั้นมีทั้งกุศลและอกุศล


ท่านกล่าวไว้ว่า เหตุปัจจัยที่เป็นตัวสนับสนุนให้กรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ให้ผลนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง คือ :-

(๑) คติ คือ ที่ไปเกิด
(๒) อุปธิ คือ รูปร่าง
(๓) กาล คือ ยุคหรือสมัยที่เกิด
(๔) ปโยคะ คือ ความเพียรหรือความพยายาม


ขอให้ทำความเข้าใจ เหตุปัจจัยทั้ง ๔ อย่างนี้ให้ชัด เพราะเหตุปัจจัย ๔ อย่างนี้เป็นตัวการที่ทำให้กรรมให้ผลช้าหรือให้ผลเร็ว หรือไม่ให้ผลในขณะนั้น

ข้อ ๑ คติ หมายถึง ที่ไปเกิด ถ้าคติดีก็ไปเกิดในสวรรค์หรือไปเกิดเป็นมนุษย์ ที่เรียกว่า สุคติ ถ้าคติไม่ดีก็จะเกิดในอบายภูมิ เช่น เกิดเป็นสัตว์นรก
เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เรียกว่า
ทุคติ

สุคติ แปลว่า ไปที่ดี ทุคติ แปลว่า ไปที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น เราจะได้คติอันใดก็แล้วแต่กรรมของเรา คตินี้คือ ที่ที่ต้องไปเกิด หรือภูมิที่เราไปเกิดนั่นเอง
เป็นเหตุปัจจัยตัวหนุนอย่างหนึ่งที่ให้กรรมให้ผลหรือไม่ให้ผล


ข้อ ๒ อุปธิ หมายถึง รูปร่างกาย ถ้าอุปธิฝ่ายกุศล ก็มีรูปร่างสวยงาม สมบูรณ์ ไม่มีอวัยวะบกพร่อง แต่ถ้าอุปธิไม่ดี ก็มีรูปร่างกายไม่สมบูรณ์ ร่างกายบกพร่อง

ข้อ ๓ กาล หมายถึง ยุคหรือสมัยที่ไปเกิด ถ้าเราเกิดในยุคที่ผู้ปกครองประกอบด้วยธรรม มีแต่คนดี พระเจ้าแผ่นดินครองธรรม อย่างนี้เรียกว่า
กาลดี ถ้าเกิดในกาลหรือยุคที่ไม่ดี เช่น เกิดในยุคที่ประชาชนไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม นักปกครองมีแต่ความเหี้ยมโหดมีแต่ความทารุณ
เกิดในยุคที่ข้าวยากหมากแพง เดือดร้อนลำเค็ญ อย่างนี้เรียกว่า กาลไม่ดี


ข้อ ๔ ปโยคะ หมายถึง การกระทำหรือความเพียร ถ้าเราเกิดมามีความขยันหมั่นเพียรก็หนุนให้กรรมที่เราทำไว้ได้ผลไวขึ้น
แต่ถ้าเรเกิดทาไม่ขยันหมั่นเพียรก็ทำให้กรรมที่เราทำดีไว้ไม่ก่อผล กลับสนับสนุนกรรมชั่วให้ก่อผล


เพราะฉะนั้น เหตุปัจจัย ๔ อย่าง คือ (๑) คติ (๒) อุปธิ (๓) กาล (๔) ปโยคะ นับว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญ ทั้ง๔
อย่างนี้มันก็มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี ถ้าฝ่ายดีท่านเรียกว่าเป็น
สมบัติ คือ ความสมบูรณ์ ถ้าฝ่ายไม่ดีท่านเรียกว่า วิบัติ คือ ความสูญเสีย
เพราะฉะนั้น เราแต่ละคนนี้จะเกิดมาได้สมบัติหรือได้วิบัติ ก็แล้วแต่กรรมของเราหนุนให้ได้รับ
ถ้าได้สมบัติ ต้องได้สมบัติทั้ง ๔ อย่าง คือ


 (๑) คติสมบัติ ความสมบูรณ์ของคติที่เราไปเกิด เช่น เกิดในสวรรค์ เกิดเป้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นี้เรียกว่า คติสมบัติ
 (๒) อุปธิสมบัติ คือ มีร่างกายสมบูรณ์ อวัยวะสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง เช่น รูปสวย รูปหล่อ รูปงาม นี้เรียกว่าอุปธิสมบัติ
 (๓) กาลสมบัติ คือ เกิดในยุคที่คนมีธรรม เช่น เกิดในยุคพระพุทธเจ้า เกิดในยุคที่คำสอนของพระพุทธเจ้ายังอยู่ หรือในยุคที่ผูปกครองประกอบด้วยวยธรรม
คนประพฤติธรรม ประพฤติดี อย่างนี้เรียกว่า กาลสมบัติ

 (๔) ปโยคสมบัติ คือ เกิดมามีความขยันหมั่นเพียร ประกอบแต่กรรมดี อย่างเรามาฝึกกรรมฐาน ก็แสดงว่ามีปโยคสมบัติ เรามาสร้างปโยคสมบัติขึ้น
จะเป็นเหตุให้กรรมดีที่ทำไว้ก่อผลไวขึ้น เพราะเรามาสร้างปโยคสมบัติในทางที่ดี ปโยคะ ก็คือความเพียรหรือการกระทำดีนั่นเอง เป็นปโยคสมบัติ


 เพราะฉะนั้น สมบัติมีอยู่ ๔ เป็นฝ่ายที่ดี ซึ่งตรงข้ามกับวิบัติ วิบัติก็มี ๔ เหมือนกัน คือ

 (๑) คติวิบัติ คือ เกิดมาเป็นคติวิบัติ เช่นเกิดในอบาย คือ เกิดในนรก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาร หรือเกิดเป็นเปรตหรืออสุรกาย
 (๒) อุปธิวิบัติ คือ เกิดมาร่างกายพิกลพิการ ร่างกายบกพร่อง เช่นตาบอด หูหนวก เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า อุปธิวิบัติ
 (๓) กาลวิบัติ คือ เกิดในยุคที่เดือดร้อน ที่ลำเค็ญ ที่คนมีแต่ความทารุณ คนไม่มีศีลธรรม ผู้ปกครองขาดคุณธรรม อย่างนี้เรียกว่า กาลวิบัติ
หรือเกิดในดินแดนที่แห้งแล้ง ในยึคที่เดือดร้อน

(๔) ปโยควิบัติ คือ ขี้เกียจ ไม่ทำความเพียร ไม่ทำความดี หรือการกระทำของตนทำในทางที่ชั่ว ทำในทางที่เสีย เรียกว่าการกระทำวิบัติ
ปโยคะ คือ การกระทำ การกระทำวิบัติไปกระทำในทางที่ชั่ว ไม่มีศีลไม่มีธรรม อย่างนี้เรียกว่า ปโยควิบัติ


ดังนั้น สมบัติก็มี ๔ วิบัติก็มี ๔ จึงรวมเป็น ๘ และกรรมนั้นก็มีทั้งกรรมฝ่ายดีและกรรมฝ่ายชั่ว เพราะฉะนั้น กรรมชั่วนั้นมีลักษณะ ๘ ประการ
กรรมดีก็มีลักษณะอยู่ ๘ ประการ จึงรวมเป็นกรรม ๑๖ กรรมทั้ง ๑๖* นี้ คืออะไร จะชี้ให้ดู


* อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี ภาค หน้า ๑๔๑ และอรรถกถาวิภังค์ ข้อ ๘๔๐ หน้า ๔๕๘


กรรมฝ่ายบาป ๘ อย่าง
พูดถึงกรรมชั่ว ๘ อย่างก่อน ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาพระอภิธรรมว่า ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถาพระอภิธรรมว่า


(๑) บาปกรรมบางอย่างถูกคติสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๒) บาปกรรมบางอย่างถูกอุปธิสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๓) บาปกรรมบางอย่างถูกกาลสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๔) บาปกรรมบางอย่างถูกปโยคสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๕) บาปกรรมบางอย่างอาศัยคติวิบัติ จึงให้ผล
(๖) บาปกรรมบางอย่างอาศัยอุปธิวิบัติ จึงให้ผล
(๗) บาปกรรมบางอย่างอาศัยกาลวิบัติ จึงให้ผล
(๘) บาปกรรมบางอย่างอาศัยปโยควิบัติ จึงให้ผล

นี้เป็นฝ่ายบาป ๘ อย่าง คือ อาศัยสมบัติ ๔ อาศัยวิบัติ ๔ รวมเป็น ๘ ทีนี้ จะยกตัวอย่างให้ดู

ข้อที่ ๑ บาปกรรมบางอย่างถูกคติสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
คืออย่างไร ? คือบางคนนี้ทำบาปไว้ ทำบาปมาก แต่อาศัยที่ว่าเขาไปเกิดดีเสีย บาปกรรมตามเขาไม่ได้ ในคัมภีร์อรรถกถา ท่านยกตัวอย่างว่า
มีชาวประมงคนหนึ่ง แกตกเบ็ดมาถึง ๕๐ ปี แต่ช่วงปลายชีวิตแกได้ฟังธรรมจากพระมหาเถระองค์หนึ่ง ถึงไตรสรณาคมน์ ไตรสรณาคมน์นี้มีผลมาก
อย่างที่เรากล่าวว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (*อ่านว่า => พุด-ทัง-สะ-ระ-นัง-คัด-ฉา-มิ *ผู้จัดทำ) เป็นต้น นี้อย่าคิดว่าไม่มีผล ไม่ใช่ปากว่าเฉยๆ เมื่อถึงไตรสรณาคมน์
เมื่อแกถึงไตรสรณาคมน์ก็บุญมันมาก ที่แกตกเบ็ดนั้น ความจริงแกก็ไม่ได้ทารุณมากเท่าไรเพราะแกทำมาหากินของแก แต่เมื่อแกมาถึงไตรสรณาคมน์
แกตายไปก็เกิดในสวรรค์ เมื่อไปเกิดในสวรรค์แล้ว บาปกรรมที่แกไปตกเบ็ดนั้นตามแกไปไม่ได้เพราะมันเกิดดีเสียแล้ว จะให้ไปตกยากได้อย่างไร
ชาวสวรรค์เขาไม่มีตกยาก เขามีแต่รุ่งเรือง เพราะฉะนั้น บาปที่ทำไว้ไม่รู้จะให้ผลอย่างไรเพราะไปเกิดในที่ดีเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บาปกรรมบางอย่างถูกคติสมบัติห้ามเสีย ห้ามตรงไหน ? ห้ามกรรมที่เคยไปตกเบ็ดไว้ แต่ถ้าแกจุติลงมาจากสวรรค์เมื่อไร ทีนี้บาปนั้นจะตามให้ผลแกในตอนหลัง
แต่ตอนนี้บาปกรรมถูกห้ามเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ในข้อที่ ๑ จึงบอกว่า บาปกรรมบางอย่างถูกคติสมบัติห้ามเสีย เพราะว่าเขาได้คติสมบัติ เขาเกิดในสวรรค์
แล้วบาปกรรมที่เขาตกเบ็ดไว้ตามเขาไม่ทัน แต่ว่าถ้าเขาจุติจากสวรรค์แล้วมันก็ตามมาทีหลัง แต่ที่ว่านี้หมายถึงบาปกรรมบางอย่าง ไม่ใช่ทุกอย่าง อย่าคิดว่าทุกอย่าง


ข้อที่ ๒ บาปกรรมบางอย่างถูกอุปธิสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
เช่น บางคนทำชั่วเอาไว้เป็นกรรมชั่วบางอย่าง แต่เขาเกิดมาเป็นคนรูปงาม รูปหล่อ เช่น บางคนเกิดมายากจนจริง เกิดมากับกรรมไม่ดีของเขาจึงยากจน
แต่เขารูปสวย รูปหล่อ เพราะฉะนั้น เมื่อเขาได้อุปธิสมบัติอย่างนี้ แม้จะเป็นทาสรับใช้เขา แต่เนื่องจากรูปสวย รูปาม รูปหล่อ นายจึงไม่ค่อยใช้งานมากเพราะว่ารูปต้องใจนาย
บางคนประกวดนางสาวไทยยังได้ แม้อยู่ต่างจังหวัดแท้ๆ เพราะรูปสวยรูปงาม ก็ได้รับยกย่องให้มีงานดี ให้มีอะไรดีทั้งๆ ที่เขาทำกรรมไม่ดีไว้ เขาเกิดมาลำบาก แต่ว่ารูปร่างเขาดี
เมื่อมีรูปร่างดีก้ได้งานดี ได้อะไรดี เพราะว่าอุปธิสมบัติห้ามกรรมชั่วของเขาไว้

 
ข้อที่ ๓ บาปกรรมบางอย่างถูกกาลสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
คือ คนบางคนทำชั่วบางอย่างไว้ เขาไปเกิดในยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ผู้ปกครองประกอบด้วยธรรม เขาก็อยู่ดีมีความสุขเพราะไปเกิดในยุคนั้น
ในยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ในกาลที่รุ่งเรือง เช่น เกิดไปพบพระพุทธเจ้า พยพระพุทธศาสนา ก็บุญของเขาทั้งๆ ที่กรรมชั่วบางอย่างของเขามีอยู่ แต่ตามเขาไม่ทันเวลานั้น
เนื่องจากเขาไปได้กาลสมบัติที่ดี

 
ข้อที่ ๔ บาปกรรมบางอย่างถูกปโยคสมบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
ปโยคะ นี้คือความเพียรหรือการกระทำที่ดี บางคนนั้นเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้นลำบากเพราะกรรมชั่วที่เคยทำไว้ แต่เขาขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษาปฏิบัติ
สร้างตัวด้วยความขยันหมั่นเพียรจริงๆ เมื่อเขามีความขยันหมั่นเพียรมากความจนก็ลดน้อยลง เพราะความขยันหมั่นเพียรหรือปโยคะตัวนี้ห้ามไม่ให้กรรมชั่วติดตามเขามาได้
เพราะฉะนั้น ในข้อที่ ๔ จึงบอกว่า บาปกรรมบางอย่างถูกปโยคสมบัติห้ามเสีย คือถูกความเพียร การกระทำที่ดีห้ามเสีย

 
ข้อที่ ๕ บาปกรรมบางอย่างอาศัยคติวิบัติ จึงให้ผล
เช่น บางคนทำกรรมชั่วไว้ พอไปเกิดเป็นสัตว์นรกก็ให้ผลทันทีเลย เพราะคติไม่ดีก็ให้ผลทันทีเลย หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ถูกฆ่า ถูกแทง ถูกเสียบเลย
เพราะเขาไปได้คติวิบัติแล้ว เหมาะพอดี

 
ข้อที่ ๖ บาปกรรมบางอย่างอาศัยอุปธิวิบัติ จึงให้ผล
คือเขาเกิดมารับกรรมที่ตัวประกอบ เช่นมีโรคภัยไข้เจ็บบ้าง กรรมยิ่งซ้อนเข้าไปอีกเพราะร่างกายไม่ดี
 
ข้อที่ ๗ บาปกรรมบางอย่างอาศัยกาลวิบัติ จึงให้ผล
บางคนพอไปเกิดในยุคที่ข้าวยากหมากแพง ยุคที่พระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองไม่ประกอบด้วยธรรมก็ถูกทรมานยิ่งขึ้น หรือได้รับความเดือดร้อนยิ่งขึ้น
บาปกรรมที่เขาทำไว้ก็ให้ผลทันทีที่เขาเกิดในยุคที่เป็นกาลวิบัติ

 
ข้อที่ ๘ บาปกรรมบางอย่างอาศัยปโยควิบัติ จึงให้ผล
ปโยควิบัติ คือความเพียร การกระทำ ถ้าทำชั่วทำไม่ดี กรรมที่ตัวเองเคยทำชั่วหนักอยู่แล้ว ก็ก่อทุกข์หนักเข้าไปอีก อย่างบางคนเกิดมายากจนข้นแค้นแล้วยังสูบเฮโรอิน
เข้าอีก ยังกินเหล้าเมายาอีก ยังขี้เกียจอีก ดังนั้น บาปกรรมบางอย่างที่เขาเคยทำไว้ได้อาศัยปโยควิบัติจึงให้ผล ทำให้ผู้นั้นได้รับบาปกรรมนั้นได้ง่าย


กรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดนั้น ๘ อย่าง นี้เป็นฝ่ายบาปกรรม


กรรมฝ่ายบุญ ๘ อย่าง
ต่อไปจะกล่าวถึงฝ่ายบุญหรือกุศลกรรม ฝ่ายบุญก็มี ๘ เหมือนกันคือ

(๑) บุญหรือกรรมดีบางอย่างถูกคติวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๒) กรรมดีบางอย่างถูกอุปธิวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๓) กรรมดีบางอย่างถูกกาลวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๔) กรรมดีบางอย่างถูกปโยควิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
(๕) กรรมดีบางอย่างอาศัยคติสมบัติ จึงให้ผล
(๖) กรรมดีบางอย่างอาศัยอุปธิสมบัติ จึงให้ผล
(๗) กรรมดีบางอย่างอาศัยกาลสมบัติ จึงให้ผล
(๘) กรรมดีบางอย่างอาศัยปโยคสมบัติ จึงให้ผล

ในกรรมดี ๘ อย่างนี้ จะอธิบายความหมายของกรรมดีบางอย่างว่า ทำไมจึงไม่ให้ผล บางคนทำกรรมดี อย่างพวกเรานี้บางทีทำกรรมดีให้ผลทันทีเลย
แต่บางทีกรรมนั้นยังไม่ให้ผลเพราะอะไร ? ก็เพราะอาศัยเหตุปัจจัยคือสมบัติและวิบัตินั่นเอง


ข้อที่ ๑ กรรมดีบางอย่างถูกคติวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
ในคัมภีร์ท่านยกตัวอย่างว่า พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ทรงทำกรรมดีไว้มากเหมือนกัน นอกจากที่ทรงทำกรรมชั่วไว้ ถ้าพระองค์ไม่ไปฆ่าพ่อ คือปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
ผู้เป็นพระราชบิดา พระองค์คงไปเกิดในสวรรค์แน่ แต่การฆ่าพ่อนี้บาปกรรมหนัก เป็นเหตุให้พระองค์ต้องไปตกนรก เมื่อตกนรกแล้ว กรรมดีที่พระองค์เคยทำไว้มาก
เช่น ทรงอุปถัมภ์สังคยานาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ทรงถึงพระรัตนตรัย ทรงฟังธรรม แต่บุญเหล่านั้นไม่อาจจะตามให้ผลได้เมื่อพระองค์ไปตกนรก เพราะอะไร ?
เพราะไปเกิดอยู่ในนรกเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า กรรมดีบางอย่างถูกคติวิบัติห้ามเสียจึงไม่ให้ผล

 
ข้อที่ ๒ กรรมดีบางอย่างถูกอุปธิวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
เช่น บางคนเกิดเป็นลูกกษัตริย์ แต่ว่าตาบอดหรือหรือบ้าไบ้ หรือหูหนวก ตามปกติก็ควรจะได้เป็นรัชทายาท แต่เนื่องจากว่ารูปร่างไม่สมประกอบเสียแล้ว
เลยเป็นรัชทายาทไม่ได้ เพราะอะไร ? เพราะอุปธิวิบัติห้ามเสียแล้ว

 
ข้อที่ ๓ กรรมดีบางอย่างถูกกาลวิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
คือ บางคนทำกรรมดีไว้มาก แต่เขากลับไปเกิดในยุคที่พระเจ้าแผ่นดินไม่ประกอบด้วยธรรม ผู้ปกครองทารุณโหดร้าย ไปเกิดในยุคที่ข้าวยากหมากแพง
กรรมดีที่เขาเคยกระทำไห้ผลเขาไม่ได้ในช่วงนั้น เพราะเขาไปเกิดในกาลวิบัติเสียแล้ว กรรมดีมีอยู่แต่ไม่ให้ผลในตอนนั้น

 
ข้อที่ ๔ กรรมดีบางอย่างถูกปโยควิบัติห้ามเสีย จึงไม่ให้ผล
คือ บางคนทำดีเอาไว้ในชาติปางก่อน แต่ในชาติปัจจุบันไม่ทำกรรมดีกลับมาทำชั่ว เป็นคนขี้เกียจไม่เอาการงาน แม้เขาเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จริง
แต่เขาไม่ทำดีในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ ถูกกรรมชั่วคือการกระทำในปัจจุบันห้ามผลที่มาในอดีตเสีย จึงไม่มีผล

 
ข้อที่ ๕ กรรมดีบางอย่างอาศัยคติสมบัติ จึงให้ผล
เช่นบางคนทำกรรมดีไว้ ทำให้เขาไปเกิดในสวรรค์ก็สุขและรุ่งเรืองทันที หรือเกิดมาเป็นมนุษย์ก็สุขและรุ่งเรืองทันที เพราะกรรมดีของเขาหนุนอยู่แล้ว
 
ข้อที่ ๖ กรรมดีบางอย่างอาศัยอุปธิสมบัติ หรือรูปสมบัติจึงให้ผล
บางคนเกิดเป็นเทวดา มีรูปสวย รูปหล่อยิ่งมีความสุขมาก หรือเกิดเป็นมนุษย์ก็มีร่างกายสมบูรณ์ หัวก็ดี สมองแจ่มใส ผิวพรรณผ่องใส เขาได้อาศัยอุปธิสมบัติ
ยิ่งหนุนเขามากขึ้น บางคนยิ่งสุขล้นขึ้นไปอีก

 
ข้อที่ ๗ กรรมดีบางอย่างอาศัยกาลสมบัติ จึงให้ผล
คือเขาเกิดในยุคของพระพุทธเจ้า หรือยุคของคนมีศีลธรรม ผู้ปกครองดี เขาก็สุข รุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพราะกรรมดีเขามีอยู่แล้ว
 
ข้อที่ ๘ กรรมดีบางอย่างอาศัยปโยคสมบัติ จึงให้ผล คืออาศัยความเพียรจึงให้ผล
เมื่อเขาเกิดมาเป็นมนุษย์หรือเกิดมาเป็นเทวดาและเขาทำดีตลอด เขาไม่ทำชั่ว กรรมดีก็หนุนเขาเต็มที่ เพราะเขาอาศัยปโยคสมบัติ
กรรมทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ เป็นกรรมที่กล่าวไว้ค่อนข้างละเอียดในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรม และในอรรถกถาพระสูตร ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก
พวกเราจึงไม่ค่อยได้ยินกันนัก แต่นี้แหละทำให้เราได้เห็นชัดว่า กรรมที่เราทำไว้บางอย่างทำไมจึงไม่ให้ผล การที่มันยังไม่ให้ผลนั้นเพราะไปอาศัยวิบัติ ๔ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่งห้ามเสีย หรือคนทำชั่วบางคนทำไมจึงไม่ได้รับผล ก็เพราะไปอาศัยสมบัติ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ห้ามกรรมชั่วของเขาเสียจึงไม่ให้ผล
แล้วทำไมบางคนทำดีจึงได้ไว ก็เพราะเขาอาศัยสมบัติ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งหนุนเขา และทำไมบางคนทำชั่ว พอทำทันทีก็ได้ผลทันที ก็เพราะอาศัยวิบัติ ๔ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่งหนุนเขา เขาจึงได้ผลไว แต่กรรมที่เราทำไว้จะต้องให้ผล เพียงแต่เร็วหรือช้าเท่านั้นเอง


นี้คือกฏแห่งกรรมอีกอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งกรรม เรียกว่า กรรมวาที เป็นผู้กล่าวเรื่องกฏแห่งกรรม คือเชื่อกรรม
อย่างเรามาทำความดีในขณะนี้ ถ้าเทียบในกฏแห่งกรรม ๑๖ อย่างนั้นเทียบกับข้อไหน ? เทียบกับข้อปโยคสมบัติ คือเรามาทำกรรมดี เมื่อเราทำกรรมดี
ถ้าบุญของเราที่ทำไว้แล้วมีอยู่มันก็หนุนเรายิ่งๆ ขึ้น ถ้าว่าบาปที่เราเคยทำมา บาปนั้นก็ลดน้อยลง เพราะกรรมดีนี้มันผลักบาปออก มันผลักบาปไม่ให้เข้ามา
มันกันบาปเอาไว้ ปโยคะฝ่ายดีนี้มันหนุนบุญและผลักบาปออก
เพราะฉะนั้น การเจริญภาวนาอย่างที่เราทั้งหลายปฏิบัติอยู่นี้ จะมีผลมากกว่าการให้ทาน กว่ารักษาศีล เป็นกรรมที่เหนือกรรมโดยทั่วไปในฝ่ายดี
และสามารถจะห้ามกรรมฝ่ายชั่วได้ดีด้วย
นี้คือกฏแห่งกรรม ๑๖ อย่าง ในพระพุทธศาสนา.


ขอขอบคุณ ? :114:



280


มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน
เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์
มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ
พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า
"นะโม" หมายถึง
พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา
ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา
ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก
จนทำให้อสุรินทราหูอดทนรออยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม
แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา
พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา
แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า
"ตัสสะ" แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ
พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร
จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า
"ภะคะวะโต" แปลว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น
ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค
พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า
"อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม
หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ
"สัมมาสัมพุทธัสสะ"
หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
รวมเป็นบทเดียวว่า
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"
แปลโดยรวมว่า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

ขอขอบคุณ ? :114:

281
ธรรมะ / ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูป
« เมื่อ: 12 ก.ย. 2550, 07:27:54 »
พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธามาก
บางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
หรือ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัด พิษณุโลก เป็นต้น
ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น
มีตำนานเล่าขานกันมามากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ความศรัทธา ของชาวบ้าน
แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของพระพุทธเจ้านี้
ที่สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วย กัน ๓ ประการ คือ

๑. พระเศียรแหลมม
มีคำถามว่า
ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม
พระเศียรที่แหลมนั้นหมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลม
ในการดำเนินชีวิตสอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้อารมณ์
หากใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำ ความผิดพลาด
ก็เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย

๒. พระกรรณยาน หรือหูยาน
เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง
ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคายแล้วจึงเชื่อ
ในฐานที่เป็นชาวพุทธก็ ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าไม่
มีอะไรทำให้ใครเป็นอะไรๆ ทั้งนัน แต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์

คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แต่ขึ้นอยู่กับการทำ การพูดการคิดของตนเอง
นี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา

๓. พระเนตรมองต่ำาร
พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์
อย่างในพระอุโบสถของวัดทั่วไปดพ จะนั่งมองดูพระวรกายไม่ได้มองดูหน้าต่าง
หรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี้เป็นปริศนาธรรม
สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง ตักเตือนแก้ไขตนเอง ไม่ใช่คอยจับผิดผู้อื่น
ซึ่งตามปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น
แต่ลืมมองของตนเองทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง
ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดี กว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า
"อตฺตนา โจทยตฺตาน" = จงเตือนตนด้วยตนเอง จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน็นปร
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย
ที่กล่าวมาทั้ง ๓
ประการนั้นเป็นการสอนโดยใช้ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง

ดังนั้น ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้คิดไม่ตกก็เข้าวัดเสียบ้าง
นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป
ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป ที่บ้านนั่นแหละ
ค่อยๆเพ่งพินิจที่พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่จะกราบ จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตนว่า
"อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็นๆ ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด
ค่อยๆแก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลม
เหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา"
เห็นพระกรรณยานก็บอกตนเองว่า "สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้
อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหันพลันแล่น
เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"
เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตนเองว่า "มองตนเองบ้างนะ
อย่าไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ และอาจมีปัญหาได้ การมองตนเองบ่อยๆ
จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"
จากนั้นก็ค่อยกราบ พระพุทธรูปด้วยสติปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า
"ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง


ได้รับ forward มา เห็นว่าดี มีประโยชน์ เลยมาให้อ่านกันครับ

282
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกบอร์ด

ตอนนี้ทางวัดได้ทำหนังสือชี้แจง นิติยสารเนชั่นแนว จีโอกราฟฟิก (ฉบับภาษาไทย) ให้ได้รับทราบว่า ได้เขียนบทความเกี่ยวกับหลวงพ่อเปิ่นผิดพลาดอย่างไร






เมื่ออ่านบทความที่คุณ เริงฤทธิ์ คงเมือง? ได้เขียนบทความไว้ในนิติยสารเนชั่นแนว จีโอกราฟฟิก (ฉบับภาษาไทย) (ฉบับประจำเดือน สิงหาคม 2550)
ก็ถึงกับอึ้งครับ ไม่รู้ว่านั่งเทียนเขียน หรือผู้ที่ให้สัมภาษณ์ ให้ขอมูผิดพลาด

ตรงที่ว่าย้อนหลังไปสิบปี ก็อยู่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สุขสันต์ กลบกลิ่น ได้ไปสักน้ำมันกับหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งจริงๆหลวงพ่อท่านได้วางเข็มสักก่อนหน้านี้ไปนานนับสิบปีแล้ว

แถมเวลาหลังจากสักเรียบร้อยแล้วมีการลองของโดยให้หลวงพ่อใช้ดาบเล่มยาวคมกริบฟันที่กลางหลัง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ก็ไม่ได้เป็นความจริง
หลวงพ่อไม่เคยลองของให้ใคร

อันนี้เป็นนิติยสาร



อันนี้เอามาจากเว็บ
โค๊ด: [Select]
http://www.ngthai.com/ngm/0708/feature.asp?featureno=1

283
สวัสดีครับ

ขออภัยนำเอาภาพมาให้ชมช้าไปนิด

ภาพในงาน ครบรอบวันมรณภาพ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) วันเสาร์ ที่ ๓๐ มิ.ย.๒๕๕๐ (ปีที่๕)

ขอบคุณ คุณพี่กิตติ ที่อนุเคราะรูปชุดนี้ครับ

ปล. เพื่อนสมาชิกท่านใดมีรูปภาพในงาน เชิญโพสต์แบ่งกันชื่นชมได้นะครับ














284
โปรดใช้วิจารณญานในการรับชม

[mthai=370,330]2M1181246001M0[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

285
สวัสดีครับคุณ <you/> :114:

ช่วงนี้ทางผู้ดูแลบอร์ดจะทำการเคลียร์กระทู้ในในหมวดหมู่ต่างๆ  ให้คงเหลือไว้เพียงแต่กระทู้ที่เป็นสาระ และมีประโยชน์ต่อส่วนรวม

ซึ่งจะส่งผลให้ยอดจำนวนกระทู้ของสมาชิกทุกท่าน ที่ได้โพสต์หรือตอบกระทู้นั้นๆ ลดลงไป

ก็ขอแจ้งให้สมาชิกทุกท่านได้รับทราบตามนี้ด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
:001:

286
สวัสดีครับ

เพิ่มชุดสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (Emotion)
  คลิกตรง [เพิ่มเติม] ครับ




287
ธรรมะ / ธรรมติดปีก ๒ (ว วชิรเมธี)
« เมื่อ: 25 พ.ค. 2550, 07:53:04 »
[mthai=380,320]11M1178818784M2952[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

288
การโพสต์วีดีโอจากเอ็มไทย (Mthai)

ไปหาคลิปวีดีโอจาก http://video.mthai.com หรือจะอัพเองก็ได้ครับ

เมื่อได้คลิปวีดีโอที่ต้องการ เช่น http://video.mthai.com/player.php?id=11M1178729810M0

เราก็เอาเฉพาะหมายเลข id ที่ต่อจากเครื่องหมาย = 11M1178729810M0

มาวางระหว่างโค้ด...
โค๊ด: [Select]
[mthai=380,320][/mthai]
ก็จะได้...
โค๊ด: [Select]
[mthai=370,330]11M1178729810M0[/mthai]
ผลที่ได้จากการโพสต์คลิบวีดีโอ...
[mthai=380,320]11M1178729810M0[/mthai]

289
เพิ่มโค้ดให้เล่นคลิปวีดีโอของกูเกิล ลองเล่นกันดูนะครับ

จะหาหรืออัพเองก็ได้แล้วนำ id มาโพสครับ


การโพสของกูเกิล (google)

ไปที่ http://video.google.com

เมื่อได้คลิปวีดีโอที่ต้องการ เช่น http://video.google.com/videoplay?docid=-8025269854385043133

เราก็เอาเฉพาะหมายเลข id ที่ต่อจากเครื่องหมาย = -8025269854385043133

มาวางระหว่างโค้ด...
โค๊ด: [Select]
[gvideo=400,326][/gvideo]
ก็จะได้...
โค๊ด: [Select]
[gvideo=400,326]-8025269854385043133[/gvideo]
ผลที่ได้จากการโพสต์คลิบวีดีโอ...
[gvideo=400,326]-8025269854385043133[/gvideo]

290
ธรรมะ / ธรรมติดปีก ๑ (ว วชิรเมธี)
« เมื่อ: 10 พ.ค. 2550, 09:33:26 »
[mthai=380,320]11M1178729810M0[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

291
[mthai=380,320]2M1178775573M0[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

292
[mthai=380,320]2M1178772926M596[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

293
[mthai=380,320]2M1178772716M596[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

294
[mthai=380,320]2M1178772537M596[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

295
[mthai=380,320]2M1178772017M595[/mthai]

ขอบคุณ MthA! :114:

296
การโพสต์รูปลงบอร์ด

อธิบายด้วยภาพ (ไม่เข้าใจถามได้ครับ)

๑.


๒.


๓.


๔.


๕.


:001:

297
งานครบรอบวันมรณภาพ พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)

วันเสาร์ ที่ ๓๐ มิ.ย.๒๕๕๐

เวลา ๑๐.๐๐ น . พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์

เวลา ๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ฉันภัตตาหารเพล

เลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์ทั้งนั้น สวดมาติกาปังสุกูล

เสร็จพิธีทำบุญครบรอบวันมรณภาพ

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน และศิษยานุศิษย์หลวงพ่อเปิ่นทุกท่าน ร่วมงานบุญครั้งนี้โดยทั่วกัน


298
สวัสดีครับคุณ  <you/> :114: เพื่อนสมาชิกบอร์ด

ตอนนี้ทางทีมงานได้ติดตั้ง คู่มือการใช้บอร์ดเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

เชิญสมาชิกเข้าไปศึกษาวิธีการใช้ในเมนู "ช่วยเหลือ" ที่อยู่ด้านบนบอร์ด หรือตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

http://www.bp-th.org/webboard/index.php?action=help

มีปัญหาหรือติดขัดในการใช้งาน กรุณาตั้งกระทู้ถามในนี้ได้เลยครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มีมิตรไมตรีให้กันครับ

สวัสดีครับ

เว็บ...
:001:

299
การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น โครตเศรษฐี - อุดมทรัพย์ จตุคาม - รามเทพ
พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ไว้บูชาเป็นมงคลชีวิต และร่วมทำบุญสร้างพิพิธภัณฑ์หินอ่อนวัดบางพระ

ด้านหน้า หลวงพ่อเปิ่นยิ้มครึ่งองค์ล้อมด้วย ๑๒ นักษัตร
ด้านหลัง องค์จตุคาม ? รามเทพ ล้อมด้วยราหู
ขนาด  ๕ ซม. หนา ๗ มม.

มวลสารที่นำมาสร้าง
- ผงพุทธคุณ   
- ผงจากประเทศศรีลังกา
- กระเบื้องหลังคาอุโบสถเก่า (พ.ศ. ๒๒๒๐)   
- ผงไม้ตะเคียนทอง
- ผงแร่เหล็กน้ำพี้
- ผงเกสรและว่าน ๑๐๘
- ผงงาช้าง   
- ผงขี้ธูปปลุกเสก
- ผงกะลาไม่มีตา
- รวมพระผงหลวงพ่อเปิ่น

ประเภทในการจัดสร้าง
- เนื้อผงยาจินดามณี ฝังตะกรุดทองคำ ผสมเส้นเกศาหลวงพ่อเปิ่น สร้าง ๑๙๙ องค์
- เนื้อผงยาจินดามณี สร้าง ๔๙๙ องค์
- เนื้อเทียนชัย (ที่ใช้ประกอบพิธีปลุกเสกเสาร์ ๕ ปี ๒๕๓๖) ผสมเส้นเกศาหลวงพ่อเปิ่น สร้าง ๗๙ องค์
- เนื้อผงพุทธคุณ สร้าง ๙,๙๙๙ องค์
เพ้นท์สี น้ำเงิน สีส้ม ก้นครก สีดำ สีม่วง สีลายเสือ สีแดง สีเหลือง สีลายรุ้ง สีเขียว สีขาว

พิธีพุทธาภิเษก - เทวาภิเษก
มวลสารที่นำมาจัดสร้างได้ผ่านการปลุกเสกตั้งแต่พิธีเสาร์ ๕ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นต้นมา
โดยมีพระเดชพระคุณพระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) อฐิษฐานจิต (ปลุกเสกเดี่ยว)
มีพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายพิธี และรวมพระคณาจารย์อีกหลายรูปร่วมปลุกเสกที่  อุโบสถวัดบางพระ  เช่น
- หลวงพ่ออุตมะ
- หลวงพ่อสง่า
- หลวงปู่ทิม
- หลวงพ่อโง่น
- หลวงพ่อมี
- หลวงพ่อเต้า
- หลวงพ่อแย้ม
- หลวงพ่อยิด
- หลวงพ่อสำอางค์

นอกจากนั้นยังได้ เข้าร่วมในพิธีอีกหลายครั้งหลายที่ ด้วยกัน เช่น
- วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
- พิธีบูชาครู วัดบางพระ   
- วัดโพรงมะเดื่อ นครปฐม
- วัดนก กทม.   
- วัดพัฒนาราม สุราษฎร์ธานี
- อุโบสถวัดพระแก้ว กทม.   
- วัดหนองพลับ ประจวบคีรีขันธ์
- อุโบสถวัดไร่ขิง นครปฐม   
- วัดท้ายเมือง ราชบุรี
- อุโบสถวัดบางปลา นครปฐม
- อุโบสถวัดมงคลประชาราม นครปฐม
- พุทธมณฑล   
- อุโบสถวัดนิโครธาราม ประจวบคีรีขันธ์



คลิกที่รูปเพื่อชมเท่าขนาดจริง

      


      


      


      


      


      


   



      


      


      


      


      




300

สวัสดีเพื่อนสมาชิกครับ ตอนนี้บอร์ดของเราได้เพิ่มหมวด เกจิอาจาย์ ขึ้นมาอีกหนึ่งหมวดตามคำแนะนำของท่าน โยคี ที่ได้ PM แนะนำมาครับ

ทางทีงานเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่เพื่อนสมาชิกทุกท่าน จึงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมวดครับ


อยากให้ทางเวป เพิ่ม หมวด เกจิอาจารย์อื่นด้วย จะได้หลากหลายการนำเสนอ ขอบคุณครับ

เชิญแวะโพสถึงเกจิอาจารย์ที่เราเคารพรักยิ่งครับ

http://www.bp-th.org/webboard/index.php/board,5.0.html

ขอขอบคุณท่าน โยคี ที่แนะนำสิ่งดีๆ ครับ

 :001:

301
สวัสดีครับคุณ <you/> :089:

เนื่องจากในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา ได้มี Spam topic เป็นจำนวนมาก ทางทีมงานต้องตามลบทุกวัน และในบางครั้งอาจหลุดไปบ้าง

หลายคนที่เข้ามาใช้งานบ่อยๆ อาจจะได้เห็น Spam topic ดังกล่าวซึ่งสร้างความน่ารำคาญ บางทีเป็นเว็บโป๊อนาจาร ซึ่งสร้างความเสื่อมเสีย

หรืออาจสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ดของท่านได้ เนื่องจากมีลิ้งค์ที่เป็นไวรัส โปรแกรมป้องกันไวรัสจะเตือนทันทีว่าเป็นไวรัส

ตัวกระทู้จะสร้างชื่อหัวข้อของตัวเอง และจะใช้ชื่อหัวข้อเหมือนๆ กันในการโพสต์หลายๆ กระทู้ ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้วิธีบล็อค ip แต่ก็ไม่ได้ผล

เนื่องจากแต่ละกระทู้จะใช้ ip ไม่ซ้ำกัน หลังจากที่ลบกระทู้ดังกล่าว กระทู้นั้นก็จะกลับมาใหม่ สร้างความยุ่งยากที่ต้องตามลบกระทู้เป็นอย่างยิ่ง

มีตัวอย่างของ Spam topic ให้ดูครับ ==> http://www.bp-th.org/webboard/index.php/topic,1443.0

เพื่อป้องกัน Spam topic ในช่วงนี้ ทางทีมงานจึงจำเป็นต้องตั้งค่าการอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกตั้งหัวข้อและตอบกระทู้ได้เท่านั้น

ซึ่งอาจจะสร้างความไม่สะดวกกับผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไป จึงขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ถ้าเมื่อไรบอร์ดมีระบบป้องกัน Spam topic เราจึงจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้ตั้งหัวข้อและตอบกระทู้ได้ตามปกติ

ขอบคุณครับ

ทีมงานผู้ดูแลเว็บ...
:001:


302
ขอขอบคุณ อาจารย์ขวัญเมือง อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดบางพระ ที่อนุเคราะห์รูปภาพ































 :001:

303

ยอดกฐิน ของวัดบางพระ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ (๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙)

จำนวน ๑,๐๘๐,๗๒๐ บาทถ้วน(หนึ่งล้านแป็ดหมื่นเจ็ดร้อยยี่สิบบาทถ้วน


305



วั น ไ ห ว้ ค รู บู ร พ า จ า ร ย์ วั ด บ า ง พ ร ะ ป ร ะ จำ ปี  พ.ศ. ๒ ๕ ๕ ๐

พ ร ะ อุ ด ม ป ร ะ ช า น า ถ  ( ห ล ว ง พ่ อ เ ปิ่ น )

วั น เ ส า ร์  ที่  ๓  มี น า ค ม  พ . ศ .  ๒ ๕ ๕ ๐

เ ว ล า  ๐ ๙ . ๓ ๙  น .


ขอเชิญศิษยานุศิษย์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และผู้ที่มีความสนใจในพิธีกรรมโบราณ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้โดยทั่วกัน





306
วัตถุมงคล บูชาครู ๒๕๔๙


พ่อปู่ฤๅษี (เพ้นท์สี) สร้าง ๖๗ ตน



กุมารอุ้มทรัพย์ (เพ้นท์สี) สร้าง ๙๙ ตัว



พระพิมพ์ขุนแผน (ดินเผา) สร้าง ๒๐,๐๐๐ องค์



เหรียญหัวเสือจัมโบ้



เหรียญหัวเสือ ปืนไขว้



ตระกรุดข้อมือปีเซี๊ยะ



ตระกรุดข้อมือหนุมาน



ตระกรุดข้อมือหมูทองแดง



ตระกรุดข้อมือกวางเหลียวหลัง




307
สักเสือ


 :001:

308
*** สารบาญ : รวมกระทู้ที่น่าสนใจ ทุกหมวดหมู่ ***

หมวด มิตรไมตรี

+รวมสมาชิก (มิตรไมตรี)
เชิญชวนร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เอาเวปธรรมะดีๆมาฝาก
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเปิ่น
มุทิตาจิต น้อมสักการะ... หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ
ขอร่วมไว้อาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ สิ้นพระชนม์​
หลากหลายคำถาม รวบรวมมาตอบ

รวมมิตรชาวชมรม
ผมอยากรู้จักชาวบางพระทุกคน ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ(มีรูปด้วยก็ดีนะ)บอกชื่อด้วย

ขอถามพี่น้องคำถามเดียวครับ
แนวคิด เว็บวัดบางพระ - วัดบางพระ


+ไหว้ครูบูรพาจารย์

+ชมรูป ชมภาพ
การถ่ายภาพพระเครื่อง (ตามคำขอของคุณ Jo_o* ครับ)

+บทความ บทกวี
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสสบายๆ
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค2
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค3
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆ ภาค4
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค5
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค6
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค7
การฝึกสมาธิอย่างเรียบง่ายสบายๆภาค8


หมวด ธรรมะ



หมวด บทสวดมนต์ และ คาถา



หมวด ผู้ทรงวิทยาคุณ (เกจิอาจารย์)



หมวด ข่าวสาร.., คู่มือ.., แจ้งปัญหาและเสนอแนะต่างๆ

309
ยินดีต้อนรับคุณ [you] :114: เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระดานสนทนาเว็บไซต์ วัดบางพระ

ขอชี้แจงเกี่ยวกับ กฏกติกา และ มารยาท ในการใช้งานกระดานสนทนาเว็บไซต์ วัดบางพระ ดังต่อไปนี้

๑. ผู้สมัครสมาชิกจะต้องใช้นามแฝง รูปแสดงตน และรูปในลายเซ็นต์ที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย ไม่ส่อไปในทางลามก อนาจาร ไม่ก่อให้เกิดความสับสนหรือความแตกแยก (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๒. ห้ามกล่าวพาดพิงกระทบถึงสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสูงสุดยิ่ง (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๓. ห้ามตั้งกระทู้ใดๆ ที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร และ ผิดศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๔. ห้ามตั้งกระทู้และหรือส่งข้อความ (pm) ใดๆ ที่หยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้ายหรือหมิ่นประมาท สร้างความแตกแยก สร้างความสับสน สร้างความปั่นป่วน

๕. ห้ามตั้งกระทู้ใดๆ ที่มีข้อความ เนื้อหาซ้ำๆ กัน หลายๆ กระทู้ และหรือตอบกระทู้ ที่เข้าข่ายการปั่น การปั๊ม หรือขุดกระทู้เก่าๆขึ้นมาตอบโดยไม่มีเหตุจำเป็น(กระทู้ที่ไม่มีการตอบข้อความ มามากกว่า ๑๒๐ วัน)(ปรับปรุง: ๑๐ ส.ค. ๕๒)

๖. ห้ามตั้งกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ องค์กร และ สถาบันต่างๆโดยเด็ดขาด

๗. ห้ามตั้งกระทู้ใดๆ ที่เกี่ยวกับการประกาศโฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงต่างๆ

๘. ไม่อนุญาตให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ใดๆทุกชนิด หรือมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านกระดานสนทนาเว็บไซต์ วัดบางพระ (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๙. ห้ามตั้งกระทู้ที่มีเนื้อหา ไปในทางโฆษณาบอกประกาศ เพื่อส่อเจตนาในทางซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนใดๆ ทั้งสิ้น (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๑๐. เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลและเพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์อันจะเกิดขึ้น ดังนั้นห้าม วางเบอร์โทรศัพท์ วางลิงค์ อีเมล์ ที่อยู่ โดยเด็ดขาด (เพิ่มเติม: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๑๑. การตั้งกระทู้ใดๆ ที่เกี่ยวกับการเชิญชวนประชาสัมพันธ์ หรือโฆษณาบอกประกาศ รวมถึงบริจาคทำบุญในลักษณะต่างๆ ให้ส่งข้อความ (pm) แจ้งรายละเอียดไปที่  Contact Us เพื่อตรวจสอบก่อน เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วเห็นว่าสมควร ทางทีมงานจะเป็นผู้ตั้งกระทู้ให้เอง หากสมาชิกมีการตั้งกระทู้เองทีมงานขอลบทิ้งทั้งหมด (ปรับปรุง: ๓๑ ก.ค. ๕๒)

๑๒. ผู้ดูแลเว็บไซต์ วัดบางพระ ขอสงวนสิทธิ์ในการ ลบ หรือ แก้ไข ทุกความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ

๑๓. การยกเลิกความเป็นสมาชิก การแบนสมาชิก ให้อยู่ในการพิจารณาของทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ ตัดสินถือเป็นที่สุด

๑๔. คำตัดสินของทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ วัดบางพระ ถือเป็นที่สิ้นสุด


*** การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำผิดต่อ กฏกติกา และ มารยาท ของสมาชิก มีตั้งแต่ตักเตือน แบนกำหนดระยะเวลา แบนถาวร และหรือดำเนินคดีตามกฏหมาย

*** ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงกับสถานการณ์ เมื่อ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ขอขอบคุณทุกท่านที่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด :001:

311

พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)

:054: :054: :054: :054: :054:

312


พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)

:054: :054: :054: :054: :054:



พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น)

:054: :054: :054: :054: :054:

313
ทดสอบกระดานสนทนาใหม่ครับ



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

หน้า: [1]