ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๒๘ ส.ค.๕๒...โลกและธรรม...  (อ่าน 870 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
คนที่เขาคิดว่าตัวเขาเป็นปราชญ์
เป็นผู้ฉลาดในทางโลก มีความรู้ความสามารถ
เป็นครูบาอาจารย์ เป็นนักวิชาการทางโลก
มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เป็นทีรู้จักของคนทั่วไปนั้น
เมื่อเข้าสู่ทางธรรมต้องถอดวางให้หมดเสียก่อน
เพราะส่วนใหญ่เมื่อมาศึกษาธรรมะแล้วก็เป็นได้เพียงนักวิจารน์ธรรม
เพราะชื่อเสียงและศักดิ์ศรี อัตตามันมาบังอยู่ จึงทำให้ไม่รู้สภาวะธรรมที่แท้จริง
คนฉลาดกับคนมีปัญญานั้นแตกต่างกัน ภาษาโลกและภาษาธรรมความหมายต่างกัน
ความฉลาดและมีปัญญาทางโลกนั้นวัดกันด้วยไอคิวสมอง
แต่ความฉลาดและปัญญาทางธรรมนั้นรู้กันที่ใครมีสติและสัมปชัญญะมากกว่ากัน
ปัญญาทางโลกนั้นรอบรู้ในเรื่องนอกกายและการจำได้หมายรู้
ส่วนปัญญาทางธรรมคือรอบรู้ในกองสังขาร รู้กาย รู้จิต รู้ความคิด รู้การกระทำ
มีองค์แห่งคุณธรรมหิริโอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองอยู่
ความหมายของศัพย์ในภาษาโลกและภาษาธรรมจึงแตกต่างกัน
ฉะนั้น เพียงแต่ศึกษาธรรมะในเชิงปริยัติ ก็อย่าคิดว่าเข้าใจหมดแล้ว รู้หมดแล้ว
เพราะการเข้าใจโดยการตีความ การวิภาค วิจารน์ธรรม
โดยเอาอัตตาของตนเข้าไปวิเคราะห์ธรรมนั้นยังไม่ถูกต้อง
อย่าพยายามตีความขยายความเพื่อรองรับและเข้าข้างความคิดของตนเอง
การศึกษาและการปฏิบัติธรรมนั้น มีหลักที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
ต้องทำตามหลักศึกษาตามหลัก ตามลำดับขั้นตอนไป
ซึ่งธรรมะทั้งหลายทั้งปวงนั้นจะไม่มีการขัดแย้งกัน
แต่จะสงเคราะห์และอนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น เราต้องปรับความรู้ความเข้าใจของเราเข้าสู่หลักธรรม
ไม่ใช่ตีความขยายความหลักธรรมให้มารองรับความคิดเห็นของเรา
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่เข้าใจ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
ไม่มีการขัดแย้งกัน สงเคราะห์กันได้กับธรรมทุกหมวดหมู่
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่เข้าใจ นั้นจึงถูกต้องตามหลักธรรม....
 :059:แด่ความเห็นในทางธรรมที่แตกต่างกัน :059:
        เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
      รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๒ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๒๓.๔๘ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๒๘ ส.ค.๕๒...โลกและธรรม...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 10:36:46 »
สภาวธรรม หมายถึง  ธรรมะที่มีจริง และมีสภาวลักษณะเป็นของตน   ได้แก่

 จิต   เจตสิก   รูป นิพพาน หรือจะกล่าวโดยนัยของทวาร  สภาวธรรมได้แก่ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ