ผู้เขียน หัวข้อ: คานธี - ความรักชาติและความรักระหว่างชาติ  (อ่าน 1384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suwatchai

  • การนิ่งเงียบต่อคนโง่คนสามหาว เป็นทางยาวสู่เกียรติที่ใฝ่ฝัน ทั้งรักษาในศักดิ์ศรีเป็นเกราะกัน ไม่หุนหันฉันท์หมาวัดที่จัญไร เราจงดูราชสีห์น่าเกรงขาม ทุกผู้นามเกรงกลัวได้ไฉน ไม่เคยเห่าเคยหอนไล่ผู้ใด แล้วไซร้ใยมีเกียรติเป็นราชันต์...
  • สมาชิกที่ถูกแบน
  • **
  • กระทู้: 241
  • เพศ: ชาย
  • Death Is Beautiful & Sweet ....
    • MSN Messenger - suwatchai.com@windowslive.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล



ชีวิตของมหาตมะ คานธี เป็นชีวิตของผู้ที่ตรวจสอบตัวเองและชำระจิตใจของตัวเองให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ การทดลองความจริงทั้งหมดของคานธีตั้งอยู่บนรากฐานของความบริสุทธิ์ ในทางการเมืองนั้น คานธีจะใช้วิธีที่สงบแต่เฉียบขาดบนพื้นฐานของความบริสุทธิ์และความยุติธรรมเสมอ เมื่อใดก็ตามที่ท่านเห็นว่าประชาชนของท่านเริ่มใช้วิธีการที่รุนแรงท่านก็จะทัดทานไว้ และถ้าจำเป็นท่านก็จะหยุดความเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นเสียและหันกลับมาสำรวจความบกพร่องของตนเองและประชาชนของท่าน ในหลายครั้ง  คานธีใช้วิธีอดอาหารเพื่อชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ ขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้ประชาชนของท่านสำนึกในความผิดที่ได้ใช้วิธีการที่รุนแรงลงไป

ชีวิตในระยะหลังของคานธีนั้นเป็นชีวิตของความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างที่สุด ท่านยอมรับความผิดพลาดบก พร่องของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า สำหรับคานธีแล้วการสารภาพความผิดช่วยให้จิตใจเข้มแข็ง บริสุทธิ์ และระมัดระวังมากขึ้น ท่านกล่าวว่า "ไม่มีสิ่งใดจะน่าละอายไปกว่าการไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง"

อิสรภาพแห่งการปกครองตนเอง

ตามทรรศนะของคานธี ในระบอบประชาธิปไตยที่ดีเสียงส่วนใหญ่ควรจะเป็นประชาธิปไตยเพียงพอ  และมีความเห็นอกเห็นใจที่จะไม่ทำให้ความต้องการของคนส่วนน้อยต้องเดือดร้อน และในทางกลับกันคนส่วนน้อยก็ควรที่จะกล้าลุกขึ้นมายืนหยัดในสิ่งที่ตนเองเห็นว่าถูกต้องและต่อสู้ตามวิธีการแบบ "อหิงสา" รัฐบาลซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนนั้น แม้เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนจะเป็นตัวชี้ขาดแนวนโยบายในทางปฏิบัติ แต่คานธีก็ชี้ด้วยความเป็นห่วงใยว่า "ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลในการแสดงความคิดเห็นและการกระทำเป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ด้วยความหวงแหน... ข้าพเจ้าหวังว่าสิ่งที่เราต้องการคือรัฐบาลที่ไม่ใช้อำนาจบังคับแม้กับคนที่เป็นเสียงส่วนน้อย แต่ควรเลือกใช้ด้วยวิธีการเปลี่ยนใจเขาเหล่านั้น" คานธีเชื่อว่า ปัจเจกชนและคนส่วนน้อยมักจะถูกลืมและไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในการปกครองด้วยระบบผู้แทนที่กว้างใหญ่ ดังนั้น ท่านจึงนิยมเป็นอย่างยิ่งต่อการปกครองแบบ "สหพันธรัฐ" ที่มีการกระจายอำนาจลงไปถึงหมู่บ้านและให้แต่ละหมู่บ้านได้มีอิสระปกครองตนเอง  โดยแต่ละหมู่บ้านจะสามารถพึ่งตนเองได้ในเกือบทุกๆ ทาง ทั้งในด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม น้ำดื่มและน้ำใช้  การสุขาภิบาล การศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา เครื่องพักผ่อนหย่อนใจทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ เหล่านี้เป็นต้น

กิจกรรมทุกอย่างควรกระทำบนพื้นฐานแห่งความร่วมมือกันเท่าที่จะเป็นไปได้  "อหิงสา พร้อมด้วยวิธีการของสัตยาเคราะห์และการไม่ให้ความร่วมมือ จะเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบอำนาจกันเองภายในหมู่บ้าน" ชาวบ้านจะผลัดเวรกันรักษาหมู่บ้าน รัฐบาลของหมู่บ้านจะนำโดย "ปัญจยัต" (Panchayat) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันห้าคน บุคคลทั้งห้านี้จะได้รับการเลือกตั้งเป็นประจำทุกปีจากชาวบ้านที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนทั้งชายแหญิง...      ปัญจยัตนี้จะทำหน้าที่ทั้งออกกฎข้อบังคับ ตัดสินความ และบริหารงานรวมกันไปในหมู่บ้านที่มีการปกครองแบบสาธารณรัฐเช่นนี้ เมื่อความต้องการขั้นพื้นฐานทางวัตถุของปัจเจกบุคคลได้รับการตอบสนอง เขาจะเป็นอิสระในการดำรงชีวิตที่เป็นอุดมคติในข้อที่ว่า "เป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและคิดอย่างสูง" (Plain Living and High Thinking) และประพฤติปฏิบัติเพื่ออิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ เมื่อหมู่บ้านเช่นนี้ไม่ได้สะสมความมั่งคั่งส่วนเกินไว้และก็ไม่มีเจตนาร้ายต่อหมู่บ้านอื่น จึงเป็นที่หวังได้ว่าสันติสุขจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อพัฒนาการทางจริยธรรมและทางจิตวิญญาณ

ความรักชาติและความรักระหว่างชาติ

แต่แม้คานธีจะสนับสนุนอย่างแข็งขันถึงหมู่บ้านสาธารณรัฐว่าจะนำไปสู่พัฒนาการโดยอุดมคติของปัจเจกชนก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งท่านก็ยังเชื่อถึงความจำเป็นของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในบางเรื่อง เช่น เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็นต้น อันที่จริงท่านเชื่อว่าเมื่อปัจเจกชนได้พัฒนาจิตสำนึกที่เข้มแข็งทางจริยธรรมและทางสังคมอย่างเต็มที่ภายใต้บรรยากาศอันเหมาะสมของหมู่บ้านแล้ว เขาก็จะพัฒนาความรักในเพื่อนมนุษย์ซึ่งจะทำลายข้อกีดกั้นทั้งหมดในเรื่องชาติและในทางภูมิศาสตร์ด้วย

เช่นเดียวกับนักคิดที่ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ ของอินเดียในปัจจุบัน คานธีเชื่อว่า "ไม่มีวัฒนธรรมใดจะสามารถดำรงอยู่ได้หากพยายามแยกตัวไปอยู่ต่างหาก" ท่านปรารถนาจะเห็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมเพื่อความก้าวหน้าในทางที่ดีขึ้นของทุกวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพูดถึงเรื่องการสุขาภิบาล ท่านกล่าวว่า "สิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถเรียนรู้และจะต้องเรียนรู้จากตะวันตกก็คือ วิชาการสุขาภิบาลของเมือง... และเมื่อกล่าวรวมถึงความรักชาติ การไม่สร้างศัตรู หรือการไม่มีความประสงค์ร้ายแล้ว ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าหวาดหวั่นต่อลัทธิวัตถุนิยมของตะ วันตก ข้าพเจ้าก็ไม่ลังเลใจที่จะรับจากตะวันตกในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้า" ดูเหมือนว่าอุดมคติของคานธีในเรื่องความรักชาติจะไม่แยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว ความรักชาติของอินเดียได้รับแรงดลใจมาจากความเชื่ออันโดดเด่นของอินเดียในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยพื้นฐานของมวลมนุษย์ แม้จะมีความแตกต่างในด้านผิวพรรณและอื่นๆ ก็ตาม และความเชื่อที่ติดตามมาในเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์ ดังนั้น ความรักชาติโดยเหตุผลแล้วจะนำไปสู่ความรักระหว่างชาติ ความรักในมนุษย์ทำให้คานธีมีทั้งความรักชาติและความรักระหว่างชาติ ท่านต้องการดำเนินงานทางการเมืองเพื่อฟื้นฟูแก้ไขอินเดีย มิใช่ด้วยการสร้างความเกลียดชังในทางเชื้อชาติหรือทางชนชั้น แต่ด้วยเจตจำนงของสัจจะและความรัก ชีวิตและสัจจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ชีวิตไม่สามารถที่จะก้าวหน้าไปตามลำพัง อิสรภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก และต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันในทุกด้าน จิตวิญญาณที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วยการเห็นแจ้งในความจริงอย่างครบถ้วน และความก้าวหน้าในทุกๆ ด้านของชีวิตมนุษย์ คานธีกล่าวว่า "บนหลักการที่ว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าย่อมรวมเอาสิ่งที่เล็กกว่าเข้าไว้ อิสรภาพของประเทศหรือเสรีภาพในทางวัตถุย่อมรวมเข้าไว้ในจิตวิญญาณ"

ดังนั้น คานธีจึงกล่าวว่า "ข้อเสนอของข้าพเจ้าเกี่ยวกับปูรณสวราช (Purna Svaraj: การปกครองตนเองโดยสมบูรณ์) มิใช่เป็นอิสรภาพที่แยกอยู่ต่างหากอย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างมีมิตรจิตมิตรใจและอย่างมีศักดิ์ศรี" และ "ความเป็นชาตินิยมของเราจะไม่เป็นอันตรายต่อชาติอื่น ตราบเท่าที่เราจะไม่เอาเปรียบใครเท่าๆ กับที่เราจะไม่ให้ใครเอาเปรียบ ด้วยสวราช เราจะรับใช้โลกทั้งมวล"

ทรรศนะอันกว้างไกลและมั่นคงของคานธีช่วยให้ท่านมีอารมณ์เย็น และการชั่งใจของท่านชัดเจนอยู่เสมอ ท่านไม่เคยไร้ซึ่งอารมณ์ขันเลย ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษจากออกซ์ฟอร์ดผู้หนึ่งซึ่งมีโอกาสได้เฝ้าสังเกตคานธีในอังกฤษขณะเมื่อท่านถูก "ซักฟอกและรุมถาม" โดยผู้นำระดับสูงของอังกฤษกลุ่มหนึ่งเป็นเวลาสามชั่ว โมง ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "ความตระหนักใจได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าว่านับตั้งแต่โซเครติส (Socrates) เป็นต้นมา โลกยังไม่เคยเห็นใครที่ควบคุมตัวเองได้อย่างเด็ดขาดและมีอารมณ์ที่สงบเย็นเท่ากับเขาเลย" คานธีได้พรรณนาความฝันของท่านอย่างมีชีวิตชีวา ถึงการค่อยๆ ขยายจิตวิญญาณของปัจเจกชนกระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษยชาติทั้งมวลโดยผ่านการรับใช้และการเสียสละตนเอง ในวารสาร Young India รายสัป  ดาห์ (17 กันยายน ค.ศ.1925) ท่านได้ตีพิมพ์ข้อความอันควรแก่การจดจำข้างล่างนี้ในขณะที่ท่านกำลังต่อสู้ด้วยความขมขื่นกับการปกครองของอังกฤษและถูกจับขังคุกกับถูกลงโทษครั้งแล้วครั้งเล่า "ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นอินเดียเป็นอิสระและเข้มแข็งเพื่อว่าอินเดียจะได้อุทิศตนเองด้วยความเสียสละอย่างเต็มใจและบริสุทธิ์เพื่อโลกที่ดีขึ้นกว่านี้ ปัจเจกชนอุทิศตนให้แก่หมู่บ้าน หมู่บ้านแก่ตำบล ตำบลแก่จังหวัด จังหวัดแก่ประเทศ ประเทศแก่โลกทั้งมวล"

ดังนั้น การเมืองได้กลายเป็นศาสนาตลอดชั่วชีวิตของคานธี ความรักชาติเป็นก้าวที่นำไปสู่ความรักระหว่างชาติ