ผู้เขียน หัวข้อ: จากหนังสือ ตัวกูของกู พุทธทาสภิกขุ ... วันล่ะบท ... (1)  (อ่าน 3771 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
สารบัญ
หนังสือ ตัวกูของกู พุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ

คำนำ ……………………………………………………………………………………………. 3

บทที่ ๑. ปรับความเข้าใจ ที่ผิดๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา ………………………………………… 6

บทที่ ๒ พุทธศาสนามุ่งหมายอะไร ……………………………………………………………14
พุทธศาสนามิได้มุ่งหมายนำคนไปสู่สวรรค์ ที่เป็นดินแดนที่จะหาความสำราญกันได้อย่าง
เต็มเหวี่ยง ซึ่งใช้เป็นเครื่องล่อให้คนทำความดี แต่ก็ทำให้ไปติดยึดในตัณหาอุปาทาน ซึ่ง
เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนเข้าไม่ถึง จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนา

บทที่ ๓ ปมเดียวที่ควรแก้ ……………………………………………………………………….22
ความสับสนในการจับหลักพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการที่จะเข้าถึง
ตัวแท้ของพุทธศาสนา จริงๆแล้ว เรื่องมีอยู่เพียงสั้นๆ ว่า เราไม่ต้องศึกษาเรื่องอะไรเลย
นอกจาก เรื่อง "ตัวตน-ของตน"

บทที่ ๔ การเกิดขึ้นแห่งอัตตา …………………………………………………………………..30
มาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ทำให้เกิดลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาขึ้น ทำให้เกิดการอดอยาก การ
เบียดเบียน และการสงคราม ฯลฯ

บทที่ ๕ การดับลงแห่งอัตตา ……………………………………………………………………40
ภาวะของจิตเดิมแท้ ภาวะแห่งความว่างจากความวุ่น ภาวะแห่งความความสมบูรณ์ด้วย
สติปัญญา

บทที่ ๖ วิธีลดอัตตา …………………………………………………………………………….46
หลักเกณฑ์ที่รัดกุม นำไปสู่การลด "ตัวตน" อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนผังลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาท ……………………………………………………………..72

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณ
ท่านอาจารย์พุทธทาส
ข้าพเจ้าเกิดมา เต็มไปด้วยความวิตกกังวลใจนานาประการ ถึงแม้จะศึกษา หนังสือ คัมภีร์
ศาสนา ทั้งหลาย มากเท่าใดๆ ข้าพเจ้าก็ยัง ลดความทุกข์ใจ ลงไม่ได้เลย และซ้ำยังทำให้ หมด
ความเลื่อมใส เพราะมองเห็น ความงมงาย ไม่ฉลาด ในวงการของศาสนาต่างๆ แต่พอข้าพเจ้า
ได้พบ คำสอน ของท่านอาจารย์พุทธทาส ข้าพเจ้าก็จับหลักของพุทธศาสนา ได้ทันที และรู้จัก
วิธีดำเนินชีวิตจิตใจ ที่ผิดไปจากเดิมๆ คล้ายตายแล้วเกิดใหม่ ข้าพเจ้าจึงถือว่า ชีวิตของ
ข้าพเจ้า ในยุคหลังนี้ เป็นหนี้บุญคุณ ของท่านอาจารย์พุทธทาส อย่างที่ไม่มีอะไร จะตอบแทน
ท่านได้ นอกจาก การช่วยประกาศสัจจธรรมต่อไป เท่าที่สติปัญญา และความรู้ ของข้าพเจ้าจะ
อำนวยให้...

ปุ่น จงประเสริฐ
ผู้ย่อ-เรียบเรียง ธรรมบรรยาย เรื่อง "ตัวกู-ของกู"





คำนำ
หนังสือ เรื่อง "ตัวกูของกู"
เมื่อข้าพเจ้ายังรับราชการเป็นเลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไคโร
ข้าพเจ้าได้สั่งซื้อหนังสือพุทธศาสนาของจีนและญี่ปุ่น ลัทธิหินยาน นิกายเซ็น ฉบับภาษาอังกฤษ
มาจากกรุงลอนดอน เป็นจำนวน ๑๐ เล่ม และใช้เวลาว่างงาน อ่านคำสอนของนิกายเซ็น
ข้าพเจ้าเลื่อมใส ในคำสอนของเขามาก เพราะ การสอน หลักพุทธศาสนา ของนิกายเซ็น ของจีน
และญี่ปุ่น นั้น เป็นการสอนลัด ดังที่เขาเรียก วิธีปฏิบัติ ของเขาว่า "วิธีลัด" หรือ เรียก นิกายของ
เขาว่า "นิกายฉับพลัน" ทั้งนี้ก็เพราะว่า พวกเขา ไม่สนใจ พุทธประวัติ และเรื่องราวเป็นไปของ
พุทธศาสนา เขาไม่สนใจในด้านภาษาของพุทธศาสนา ไม่สนใจชื่อของธรรมะ ไม่สนใจการ
ทำบุญ ให้ทานแบบต่างๆ เขาไม่ต้องการมีบาป และไม่ต้องการได้บุญ เพราะเขาถือว่าทั้งบาป
และบุญ ก็ยังเป็นอุปสรรค ที่จะทำคน มิให้ถึงพระนิพพาน ยิ่งเรื่องการหวังเอาสวรรค์ เอาวิมาน
ด้วยแล้ว เขาถือว่า เป็นความปรารถนาของทารก เอาทีเดียว เขาตัดพิธีรีตอง ของพุทธศาสนา
ออก ทั้งหมด เหลือเอาไว้แต่ "หัวใจ" ของพุทธศาสนา กล่าวคือ เรื่อง สุญญตา เรื่องเดียวเท่านั้น
เขาจึงพร่ำสอนแต่เรื่อง สุญญตา ปฏิบัติแต่เรื่องสุญญตา และหวังผลจากสุญญตา อย่างเดียว
ทั้งนี้ก็ตรงกับพุทธดำรัสที่ว่า "ใครได้ฟังเรื่องสุญญตา ก็ถือว่าได้ฟังเรื่องทั้งหมดของ พุทธศาสนา
ใครได้ปฏิบัติเรื่องสุญญตา ก็จัดว่าได้ปฏิบัติธรรมทั้งหมด ทั้งสิ้นของพุทธศาสนา ใครได้รับผล
จากสุญญตา ก็นับได้ว่า ได้รับผลอันสูงสุด ของพุทธศาสนา" กล่าวคือ ความพ้นทุกข์ ไป
ตามลำดับๆ จนไม่มีความทุกข์ใจ เลยแมัแต่น้อย ซึ่งเราเรียกว่า "นิพพาน" เพราะ หมดกิเลส
หมดความเห็นแก่ตัว อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
ข้าพเจ้ามิใช่เป็นคนพวก "ศรัทธาจริต" กล่าวคือ ข้าพเจ้า ไม่ยอมเชื่อใคร เชื่ออะไรง่ายๆ
ข้าพเจ้ามีมันสมอง มีความรู้ ทั้งทางโลก และทางธรรม และได้ประสพการณ์ของชีวิต มา ๖๐ ปี
แล้ว เคยพบคนดี คนชั่ว คนสุจริต คนทุจริต คนพูดจริง และคนหลอกลวง มามากต่อมาก และ
เพราะมีมันสมอง พอที่จะรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด นั่นเอง ข้าพเจ้า จึงเห็นว่า คำสอนของนิกายเซ็น
ถูกต้องที่สุด และไม่หลอกลวงใคร เพื่อหวังประโยชน์อะไรเข้าตัว อย่างนักบวชนิกายอื่นๆ ได้
ปฏิบัติกันอยู่ จนคนที่ไม่ใช้สติปัญญา ต้องตกเป็นเหยื่อ เพราะความโลภ อยากได้สวรรค์ เพราะ
ความหลง งมงาย ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ความกลัวผีสาง เทวดา จนต้องเสียเงิน และเสียรู้คน
หลอกลวง อย่างเต็มอกเต็มใจ

ข้าพเจ้านึกอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรหนอ คำสอนของนิกายเซ็น จึงจะมาเผยแพร่ในประเทศ
ไทยบ้าง ชาวพุทธไทย จะได้เข้าถึงธรรม โดยไม่ต้องไปเสียเวลา ปฏิบัติอะไร ต่ออะไร ที่ไม่เป็น
สาระ ไม่สมตามที่พระพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมายจะให้แก่ พุทธศาสนิกชน พวกเราถูกสอน ให้ติด
ตัณหาอุปาทาน ติดบุญ ติดตำรา อาจารย์ ติดประเพณี พิธีรีตอง พระพุทธเจ้าสอนคน ให้หมด
ความอยาก ความยึด และความยุ่ง แต่พวกเรา ได้รับคำสอน ให้อยาก ให้ยึด และให้ยุ่ง ฉะนั้น
เรื่องมรรคผล นิพพาน จึงห่างไกลมือของพวกเรา ออกไปทุกวันๆ เลยมีคนถือกันว่า เป็นเรื่องพ้น
วิสัยของมนุษย์ในสมัยนี้ ไปเสียแล้ว ใครนำเอาเรื่องนิพพาน มากล่าวมาสอน ก็ถูกหาว่า เป็นคำ
สอนที่เหลวไหล พ้นสมัยที่ใครๆ จะทำได้ ใครนำเอาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง มาอธิบาย ก็ถูกนัก
ศาสนาสมัยใหม่ หาว่า เป็นการกล่าว นอกพระธรรมวินัย หรือผิดไปจากตำหรับตำรา คำสอนที่
ถูกต้อง เลยไม่มีใครสนใจ และฟังกันไม่ได้ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟังกัน มาเสียนาน นี่แหละ เป็น
สถานการณ์ในปัจจุบัน
ฉะนั้น การจะนำเอาคำสอนของนิกายเซ็น ซึ่งถึงแม้จะดีที่สุด สั้นที่สุด และหวังดีต่อ
ประชาชนที่สุด เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ก็เห็นจะไม่มีใครเลื่อมใส และกลับจะมีการคัดค้าน
กัน เป็นการใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่น ในความเห็นเดิมๆ ของตนว่า ถูกต้อง ดีกว่า ของ
ใครๆ นั่นเอง จึงมีมานะ ไม่ยอมฟังคำสอน ของนิกายอื่น
ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นอรรถกถาจารย์ ที่แตกฉานในพระธรรมวินัย ทั้งฝ่ายหินยาน และ
นิกายเซ็น ท่านได้แปล สูตรของท่านเว่ยหล่าง และท่านฮวงโป ซึ่งเป็นพระอริยบุคคล ของ
นิกายเซ็น ออกมาเป็นภาษาไทย และยังได้รวมความเห็น ของฝ่ายเถรวาท กับนิกายเซ็น ให้เข้า
กันได้ จนกลายเป็น คำสอนที่ทันสมัย และสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ชนิดที่ใครๆ
จะทำไม่ได้ นับว่า เป็นโชคดีของพวกเราอย่างยิ่ง ที่ได้มีหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่
ต้องขายหน้า นิกายเซ็นของฝ่ายจีน ญี่ปุ่น อีกต่อไป หากคำสอนนี้ จะมีโอกาสเผยแพร่ไป ถึง
ประเทศต่างๆ ในยุโรป หรือ อเมริกา ก็ยังเป็นที่อุ่นใจได้ว่า จะไม่ทำให้ชาวต่างศาสนา เขายิ้ม
เยาะ ได้ว่า พุทธศาสนา เต็มไปด้วยอภินิหาร ของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่ในเรื่อง ผีสาง
เทวดา หรือ พิธีรีตอง อันไม่ประกอบด้วย ปัญญา และหลักวิชาการ นอกจากเชื่อกันไป ทำตาม
กันไป ดังที่มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์
หนังสือเล่มนี้ ไม่ต้องอาศัย "คำนิยมชมชื่น" จากผู้ใด เพราะผู้ที่อ่านด้วยความ พินิจพิจารณา
และมีปัญญาพอสมควร ย่อมจะนิยมชมชื่นด้วยตนเอง ซึ่งดีกว่า คำชมของผู้หนึ่งผู้ใด ที่เขาเขียน
ให้ เพื่อให้ขายได้ดี

องค์การฟื้นฟูพุทธศาสนาฯ หวังว่าท่านทั้งหลาย ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คงจะได้ดวงตา
เห็นธรรม หรืออย่างน้อยก็พอ จะมองเห็นได้ว่า เราควรจะปฏิบัติธรรม ด้วยวิธีใดดี จึงจะเข้าถึง
สัจธรรม โดยฉับพลัน ไม่ต้องไปเสียเวลา ศึกษาคัมภีร์ อันยุ่งยาก ยืดยาว ซึ่งอย่างมาก ก็ทำเรา
ให้เป็นได้แต่เพียง คนอ่านมาก จำได้มาก พูดมาก แต่ยังเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ หรือ ตัณหา และ
อุปาทาน เพราะ การยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมปล่อยวาง ในสิ่งใดๆ และยังเต็มไปด้วยอัตตาตัวตน

ปุ่น จงประเสริฐ
องค์การฟื้นฟูพุทธศาสนาฯ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
บทที่ ๑. ปรับความเข้าใจ

พุทธศาสนิกชนไทย ที่นับถือพุทธศาสนา ในลักษณะที่คนอื่นมองเห็นว่า เคร่งครัด แต่ความ
จริง คนนั้นยังเข้าไม่ถึง ตัวแท้แห่งพุทธศาสนาเลย ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทีเดียว แล้วคนพวกนี้เอง ที่
เป็นคนหัวดื้อ ถือรั้น หรือ อวดดี จนกระทั่ง ยกตนข่มผู้อื่น ที่เขารู้ดีกว่า
การเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยวิธีปรำปรา หรือปฏิบัติตามๆ กันมา อย่างงมงาย นั้น แม้
จะได้กระทำสืบๆ กันมา ตั้งหลายชั่วบรรพบุรุษ แต่ก็หาสามารถทำให้เข้าถึง ตัวแท้ของพุทธ
ศาสนาได้ไม่ มีแต่จะกลายเป็น ของหมักหมม ทับถมกัน มากเข้า จนเกิดความเห็นผิด ใหม่ๆ
ขึ้นมา กลายเป็น พุทธศาสนาเนื้องอก ไปหมด ทำให้ห่างจาก ตัวแท้ของพุทธศาสนา ออกไป
เรื่อยๆ จนกระทั่ง เกิดการกลัว ต่อการบรรลุ มรรคผลนิพพาน ซึ่งเราได้ยินกันอยู่ทั่วๆ ไป ใน
หมู่ พุทธบริษัท ชาวไทยสมัยนี้ ที่ห้ามไม่ให้พูดกันถึงเรื่อง มรรคผล นิพพาน ใครขืนพูด คนนั้นจะ
ถูกหาว่า อวดดี หรือ ถูกหาว่า นำเอาเรื่องที่เหลือวิสัย มาพูด แล้วก็ขอร้อง ให้พูดกันแต่เรื่องต่ำๆ
เตี้ยๆ เช่น ให้พูดแต่เรื่อง จริยธรรมสากล ที่ศาสนาไหนๆ เขาก็มีด้วยกันทั้งนั้น
นี่แหละคือ สถานะอันแท้จริง ของการศึกษา และปฏิบัติ พุทธศาสนาในประเทศไทย มีผล
ทำให้ พุทธบริษัทชาวไทย กลายเป็นชาวต่างศาสนาของตนไป ฉะนั้น เราควรตั้งต้นศึกษา และ
ปฏิบัติ หลักพระศาสนา ของเราเสียใหม่ อย่ามัวหลง สำคัญผิดว่า เรารู้พุทธศาสนาดีกว่า ชาว
ต่างประเทศ เพราะนึกว่า เราได้อยู่กับ พุทธศาสนา มานานแล้ว มีผู้เขียน มีผู้แต่งตำรา เกี่ยวกับ
พุทธศาสนา มากพอแล้ว เราไปค้นคว้า เอาตัวพุทธศาสนา ผิดๆ หรือไปคว้าเอาแต่เพียงกระพี้
ของพุทธศาสนา ไปคว้าเอาพุทธศาสนาเนื้องอก ใหม่ๆ มาอวดอ้าง ยืนยันกันว่า นี่เป็นพุทธ
ศาสนาแท้ ฉะนั้น หนังสือพุทธศาสนา ที่เขียนขึ้นมา จึงมีสิ่งที่ ยังมิใช่ตัวแท้ ของพุทธศาสนา
รวมอยู่ด้วย ๔๐-๕๐% เพราะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำเอาพระพุทธศาสนา ไปปนกับ ลัทธิอื่นๆ ซึ่งมี
อยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งบางอย่าง ก็คล้ายคลึงกันมาก จนถึงกับ ผู้ที่ไม่แตกฉาน เพียงพอ
อาจจะนำไป สับเปลี่ยน หรือ ใช้แทนกันได้โดยไม่รู้ เช่น คำตู่ต่างๆ ของพวกบาทหลวง ที่มีใจ
เกลียดพุทธศาสนา เมื่อบาทหลวงผู้นั้น เป็นผู้มีชื่อเสียง และมีคนนับถือกว้างขวาง หนังสือเล่ม
นั้น ก็กลายเป็นที่เชื่อถือ ของผู้อ่านไปตามๆ กัน
เราได้พบหนังสือชนิดนี้ เป็นครั้งเป็นคราว อยู่ตลอดมา นับว่าเป็นความเสียหาย อย่างใหญ่
หลวง แก่พุทธศาสนา แล้วเป็นอันตราย อย่างยิ่ง แก่ผู้อ่าน ซึ่งหลงเข้าใจผิด ในหลักพุทธศาสนา
ที่ตนสนใจ หรือ ตั้งใจจะศึกษา ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เช่น เรื่องกรรม ที่ว่า ทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว
และ บุคคลผู้ทำ เป็นผู้ได้รับ ผลแห่งกรรม นั้น นี่เป็นหลัก ที่มีมาก่อนพุทธกาล และมีกันทั่วไป ในทุกศาสนาใหญ่ๆ ฉะนั้น การที่จะถือเอาว่า หลักเรื่องกรรม เพียงเท่านี้ เป็นหลักของพุทธศาสนา
นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ ทั้งนี้เพราะ ความจริงมีอยู่ว่า พุทธศาสนา แสดงเรื่องกรรม มากไป
กว่านั้น คือ แสดงอย่างสมบูรณ์ที่สุด ว่า ผลกรรม ตามหลักที่กล่าวนั้น เป็นมายา จึงถือไม่ได้ ยัง
มี กรรมที่ ๓ อีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถลบล้าง อำนาจของกรรมดี กรรมชั่ว นั้นเสียได้โดยสิ้นเชิง
แล้วยังเป็นผู้อยู่เหนือกรรม โดยประการทั้งปวง การปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรคผลนิพพาน นั่นแหละ
คือ การทำกรรมที่ ๓ ดังกล่าว ซึ่งศาสนาอื่น ไม่เคยกล่าวถึงเลย นี่แหละ คือ กรรม ตามหลักแห่ง
พุทธศาสนา ที่ถูกต้อง เพราะ พระพุทธศาสนา มีความมุง่ หมาย ที่จะชว่ ยมนุษย์ ให้อยูเ่หนือ
ความที่จะต้องเป็นไปตามกรรม
ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่ลัทธิ ทำดีได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว ทำบุญไปสวรรค์
ทำบาปไปนรก
สำหรับเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย นั้น กล้ากล่าวได้ว่า ไม่ใช่หลักของพุทธ
ศาสนา เพราะว่า มันเป็นเรื่องคู่กันมากับหลักกรรม
อย่างตื้นๆ ง่ายๆ ก่อนพุทธศาสนา คนในยุค
โน้น เชื่อและสอนกันอยู่แล้วว่า สัตว์หรือคน ก็ตาม ตายแล้วเกิดใหม่ เรื่อยไป แทบจะไม่มีที่
สิ้นสุด คือมีตัวตน หรือวิญญาณที่ถาวร ซึ่งเวียนว่ายตายเกิด เรื่อยไปในวัฏฏสงสาร จะมีจุดจบ
ต่างๆ กันตามแต่ลัทธินั้นๆ จะบัญญัติไว้อย่างไร ฉะนั้น การที่มากล่าวว่า พุทธศาสนา มีหลักใน
เรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย ทำนองนี้นั้น จึงเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะ เช่นเดียวกันอีก
ทั้งนี้ก็เพราะ การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นการค้นพบความจริงว่า โดยที่แท้แล้ว
คนหรือสัตว์ ไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่ความไม่รู้ และมีความยึดมั่นเกิดอยู่ในใจ จึงทำให้ คนและ
สัตว์นั้น เกิดความสำคัญผิดว่า ตนมีอยู่จริง แล้วก็ไปรวมเอาอาการ ที่เรียกว่า "เกิด" หรือ "ตาย"
เข้ามาเป็นของตนด้วย ข้อนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างมั่นใจว่า มีคน มีสัตว์ มีการเกิด การตาย
การประกาศศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นก็คือ การประกาศความจริง พร้อมทั้งวิธี
ปฏิบัติ จนสามารถทำให้ คนรู้หรือเข้าใจถึงความจริงว่า ไม่มีตัวเรา หรือ ของเรา
ดังนั้น ปัญหา
เรื่องการเกิด การตาย และ การเวียนว่ายไปในวัฏฏสงสารนั้น ก็หมดไป
เมื่อข้อเท็จจริง มีอยู่ดังนี้แล้ว การที่มายืนยันว่า พุทธศาสนา มีหลักเรื่องการตายแล้วเกิด
ใหม่ ในทำนองความเชื่อ ของลัทธิขั้นทารกสอนเดิน แห่งยุคศาสนาพราหมณ์โบราณ ย่อมเป็น
การตู่ เป็นความไม่ยุติธรรม ต่อพุทธศาสนา นี่แหละ คือ ปมที่เข้าใจได้ยากที่สุด ของพุทธศาสนา
จนถึงกับ ทำให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ เขียนข้อความ ซึ่งเป็นการตู่พุทธศาสนา ได้เป็นเล่มๆ โดย
ให้ชื่อว่า หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในระยะ ๒๐-๓๐ ปี มานี้ และนักเขียน
เหล่านั้น ยกเอาบทที่ชื่อว่า กรรม และการเกิดใหม่นั่นเอง ขึ้นมาเป็นบทเอก หรือ เป็นใจความ
สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ส่วนเรื่องความไม่มีตัวไม่มีตน หรือ ไม่มีอะไรเป็นของตน และวิธี
ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความว่าง เช่นนั้น เป็นเรื่องที่ไม่กระจ่างแก่เขา เขามักจะเว้นเสีย หรือ ถ้าจะ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
กล่าว ก็กล่าวอย่างอ้อมแอ้ม คลุมเครือ ไม่เป็นที่แจ่มแจ้ง ได้เลย จึงต้องจัดบุคคล ผู้เขียนตำรา
พุทธศาสนา เช่นนี้ ไว้ในฐานะ เป็นคนไม่รู้จักพุทธศาสนา และ ทำลายสัจจธรรม ของพุทธ
ศาสนา
การเข้าใจหลักของพุทธศาสนา อย่างผิดๆ ย่อมทำให้ ไม่เข้าถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริง ของ
พุทธศาสนา อาการอันนี้เอง ที่นำผู้ปฏิบัติ ไปสู่ความงมงาย ทั้งโดยทางปฏิบัติ และหลักวิชา ทำ
ให้เกิดการยึดมั่น ในแบบปฏิบัติ ตามความคิดเห็นผิดของตน เลยเกิดการปฏิบัติแบบ "เถรส่อง
บาตร" ขึ้นเป็นอันมาก กล่าวคือ เห็นเขาทำกันมาอย่างไร ก็ทำตามๆ กันไป อย่างน่าสมเพช เช่น
ชาวต่างประเทศ ที่ไม่เคยรู้จักพุทธศาสนา พอเข้ามาเมืองไทย ก็ผลุนผลัน ทำวิปัสสนา อย่างเอา
เป็นเอาตาย อยู่ในสำนักวิปัสสนาบางแห่ง จบแล้วก็ยังมืดมัว อยู่ตามเดิม หรือไม่ก็ งมงาย ยึด
มั่นถือมั่น สำคัญผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นมาอีก จากการที่ทำวิปัสสนาแบบนั้นๆ แม้ในหมู่ชาว
ไทยเรา ก็ยังมีอาการดังกล่าวนี้ จนเกิดมีการยึดมั่นว่า ถ้าจะให้สำเร็จ ขั้นหนึ่ง ขั้นใด ในทางพุทธ
ศาสนา ก็ต้องนั่งวิปัสสนา เรื่องจึงกลายเป็นเพียงพิธีไปหมด การทำไปตามแบบ โดยไม่ทราบถึง
ความมุ่งหมาย เป็นเหตุให้เกิด แบบกรรมฐาน ขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่เคยมีในครั้ง
พุทธกาลเลย ทั้งหมดนี้ รวมเรียกสั้นๆว่า "สีลัพพตปรามาส" กล่าวคือ การบำเพ็ญ ศีล และพรต
ที่ทำไป โดยไม่ทราบความมุ่งหมาย หรือ มุ่งหมายผิด
ความงมงายนี้ มีได้ตั้งแต่ การทำบุญ ให้ทาน การรักษาศีล การถือธุดงค์ และ การเจริญ
กรรมฐานภาวนา คนก็ยึดมั่น ถือมั่น ในการทำบุญ ให้ทาน แบบต่างๆ ตามที่นักบวช โฆษณา
อย่างนั้น อย่างนี้ ว่า เป็นตัวพุทธศาสนา ที่สูงขึ้นหน่อย ก็ยึดมั่น ถือศีลเคร่งครัด ว่า นี้เป็นตัวแท้
ของพุทธศาสนา และ การยึดมั่นถือมั่น อาจมีมาก จนกระทั่ง ดูหมิ่นผู้อื่น ที่ไม่ยึดถืออย่างตน
หรือ กระทำอย่างตน ส่วนนักปฏิบัติ ที่สูงขึ้นไปอีก ก็ยึดมั่นถือมั่น ในแบบของกรรมฐาน หรือวิธี
แห่งโยคะ ที่แปลกๆ และทำได้ยาก ว่าเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา ความสำคัญผิด ของบุคคล
ประเภทนี้ มีมากจนถึงกับไปคว้าเอา วิธีต่างๆ ของโยคี นอกพุทธศาสนา ที่มีอยู่ก่อนพุทธศาสนา
บ้าง ในยุคเดียวกันบ้าง และในยุคหลังพุทธกาลบ้าง เข้ามาใส่ไว้ในพุทธศาสนา จนเต็มไปหมด
สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า "ไม่ใช่เพราะศีล หรือ เพราะการปฏิบัติอันแปลกประหลาด และการ
ยึดมั่นถือมั่น เหล่านั้น ที่คนจะ บริสุทธิ์จากทุกข์ทั้งหลาย ได้ แต่ที่แท้ ต้องเป็นเพราะ มีความ
เข้าใจถูกต้อง ในเรื่องของความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในเรื่องความดับสนิทแห่งทุกข์ และวิธีดับ
ความทุกข์นั้น"

ข้อนี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องถือเอา เรื่องของความทุกข์ มาเป็นมูลฐาน อันสำคัญ
ของปัญหาที่ตนจะต้องพิจารณา สะสาง หาใช่เริ่มต้นขึ้นมา ด้วยความพอใจ ในสิ่งแปลกประหลาด หรือ เป็นของต่างประเทศ หรือ เป็นสิ่งที่เขา เล่าลือ ระบือกัน ว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์
และ ประเสริฐ นี่เป็นความงมงาย อย่างเดียวกัน ที่ทำให้คนหนุ่มๆ เข้ามาบวชในพุทธศาสนา ซึ่ง
ส่วนมาก มาเพราะ ความยึดมั่นถือมั่นผิดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตนเองบ้าง โดยบุคคลอื่น
เช่น บิดามารดา บ้าง หรือ โดยประเพณีบ้าง มีน้อยเหลือเกิน หรือ แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีเลย ที่
เข้ามาบวช เพราะความเห็นภัยในความทุกข์ อย่างถูกต้อง และแท้จริง เหมือนการบวช ของ
บุคคลครั้งในพุทธกาล เมื่อมูลเหตุอันแท้จริง แตกต่างกันแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เขาจะ
จับฉวยเอา ตัวแท้ของพุทธศาสนา ไว้ไม่ได้เลย
อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างน่าขบขัน ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่น ที่ห่างไปไกลถึง นอกเปลือกของ
พุทธศาสนา ชาวยุโรปบางคน ที่ได้รับยกย่องว่า เป็นศาสตราจารย์ ทางฝ่ายพุทธศาสนาได้
ยืนยันว่า เขาเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง เพราะเขาเป็น นักเสพผัก หรือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์ เขา
เสียใจที่ภรรยาของเขา เป็นพุทธบริษัทไมไ่ด้ เพราะไม่สามารถเป็นนักเสพผักได ้นั่นเอง เรื่องนี้
นึกดูก็น่าสมเพช คงเป็นที่น่าหัวเราะเยาะ ของพวกอาซิ้ม ไหว้เจ้าตามโรงกินเจ เพราะอาซิ้ม
เหล่านั้น นอกจากไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังเว้นผักที่มีรสจัด หรือกลิ่นแรง อีกหลายชนิด
ส่วนพวกมังสะวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์ก็จริง แต่ก็ยังกินไข่ กินนม และกินผักทุกชนิด นี่เป็นเพราะ
ความยึดมั่นถือมั่น ในทางประเพณีแห่งพิธีรีตอง นั่นเอง แม้ในหมู่ชาวไทย ที่อ้างตนว่า เป็นพุทธ
บริษัท เป็นภิกษุ เป็นพระเถระ เป็นมหาบาเรียน เป็นคนสอนศาสนาพุทธ แก่ประชาชน ได้ดี
ขึ้นมา ก็เพราะอาศัยพุทธศาสนา แล้วยังกล้ายืนยัน อย่างไม่ละอายแก่ใจว่า บ้านของชาวพุทธ
ต้องมีศาลพระภูมิ ไว้ทำพิธีกราบไหว้บูชา ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ก็เป็นคนนอกพุทธศาสนา ข้อนี้ เป็น
เครื่องแสดงอยู่แล้วในตัวว่า "โมษะบุรุษ" ประเภทนี้ ยังเข้าใจผิด หรือ บิดผันศาสนาของตน
เพียงไร พุทธศาสนาของคนในยุคนี้ จึงมีแต่พิธี และวัตถุ ที่นึกวา่ ศักดิ์สิทธ์ิ เทา่ นั้นเอง หลงกราบ
ไหว้ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสากลโลก โดยคิดว่า นั่นก็เป็นพุทธศาสนา แล้วก็สั่งสอน
กัน ต่อๆไป แม้โดยพวกที่ประชาชนเชื่อว่า รู้จักพุทธศาสนาดี เพราะมีอาชีพในทางสอนพุทธ
ศาสนา
คนบางพวก มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เขาจะเข้าถึงพุทธศาสนาได้ ก็โดยทำตนให้เป็นผู้
แตกฉานในคัมภีร์ เท่านั้น เพราะเวลาล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ ๒,๕๐๐ กว่าปี สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป
มาก จะต้องศึกษาเอาจากคัมภีร์ทั้งหมด เพื่อให้ทราบว่า พุทธศาสนาเดิมแท้ แห่งครั้งกระโน้น
เป็นอย่างไร ฉะนั้น การศึกษาพระไตรปิฎก พระอภิธรรม และคัมภีร์อื่นๆ ก็อาจกลายเป็น
อุปสรรค ไปได้เหมือนกัน จริงอยู่การที่จะพูดว่า ไม่ต้องศึกษาเสียเลยนั้น ย่อมไม่ถูกต้องแน่ แต่
การที่จะพูดว่า ต้องศึกษาพระคัมภีร์เสียให้หมด แล้วจึงจะรู้จักพุทธศาสนา ยิ่งไม่ถูก มากขึ้นไป
อีก หรือไม่ถูกเอาเสียเลย ทีเดียว ถึงธรรมะที่แท้จริง จะถ่ายทอดกันไม่ได้ทางเสียง หรือ ทางตัวหนังสือ แต่ว่า วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ธรรมะปรากฏแก่ใจนั้น เราบอกกล่าวกันได้ ทางเสียง หรือ
ทางหนังสือ แต่ถ้าจิตใจของเขา เหล่านั้น ไม่รู้จักความทุกข์แล้ว แม้จะมีการถ่ายทอดกัน ทาง
เสียง หรือทางหนังสือ สักเท่าไร เขาก็หาอาจจะถือเอาได้ไม่ ยิ่งเมื่อไปยึดมั่นที่เสียง หรือ
ตัวหนังสือ เข้าด้วยแล้ว ก็จะยิ่งกลายเป็นอุปสรรค ต่อการที่จะเข้าใจพุทธศาสนา มากขึ้นไปอีก
คือ กลายเป็นผู้เมาตำรา มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ปริยัติได้กลายเป็นงูพิษ ดังที่พระพุทธ
องค์ ได้ตรัสไว้ ชาวต่างประเทศ ที่มีมันสมองดี ได้กลายเป็นนักปริยัติ ประเภทนี้ไป เสียมากต่อ
มาก ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวถึง ชาวไทยที่เรียน ปริยัติธรรม อภิธรรม เพื่อประโยชน์ทางโลกๆ หรือ
ทางวัตถุ กันจนเป็นของธรรมดา ไปเสียแล้ว ถึงขนาดเป็นกบฏ ไม่รู้คุณพระพุทธเจ้า ก็มีมาก เช่น
การกล่าวว่า การไหว้พระภูมิ ยังไม่เสียการเป็นพุทธบริษัท เป็นต้น
เราไม่จำเป็น จะต้องศึกษาเรื่องราว ทางปริยัติ ทางอภิธรรม อย่างมากมาย เพราะเหตุว่า
คัมภีร์เหล่านั้น เป็นที่รวม แห่งเรื่องต่างๆ ทั้งหมด หลายประเภท หลายแขนงด้วยกัน ในบรรดา
เรื่อง ตั้งหลายพันเรื่องนั้น มีเรื่องที่เราควรขวนขวายให้รู้ เพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องความดับทุกข์
โดยแท้จริง หรืออย่างมากที่สุด ก็ควรขยายออกเพียง ๒ เรื่อง คือ เรื่องความทุกข์อันแท้จริง
พร้อมทั้งต้นเหตุของมัน (อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ความมีขึ้นไม่ได้แห่งความทุกข์นั้น พร้อมทั้ง วิธีทำ
เพื่อให้เป็นเช่นนั้นได้จริง) ถ้าผู้ใดสนใจเฉพาะ ๒ ประเด็นเท่านี้แล้ว ชั่วเวลาไม่นาน เขาก็จะเป็น
ผู้รู้ปริยัติ ได้ทั้งหมด คือ สามารถเข้าถึง หัวใจของปริยัติ ในลักษณะที่เพียงพอ สำหรับจะนำไป
ปฏิบัติ ให้ถึงความหมดทุกข์ได้
เราต้องไม่ลืมว่า ในครั้งพุทธกาลโน้น การศึกษาปริยัติ ในลักษณะที่กล่าวนี้ เขาใช้เวลากัน
ไม่กี่นาที หรือไม่กี่วัน คือ ชั่วเวลาที่พระพุทธองค์ ทรงซักไซร้ สอบถาม แล้วทรงชี้แจง ข้อธรรมะ
ซึ่งถูกตรงกับ ความต้องการแห่งจิตใจของเขา เขาก็สามารถบรรลุธรรมะ อันเป็นตัวแท้ของพุทธ
ศาสนาได้ ในที่นั่งนั้นเอง หรือในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า นั่นเอง บางคนอาจแย้งว่า
นั่นมันเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนเอง และเป็นเรื่องในยุคโน้น จะนำมาใช้ในยุคนี้
อย่างไรได้ คำแย้งข้อนี้ นับว่ามีส่วนถูกอยู่ แต่ก็มีส่วนผิด หรือส่วนที่มองข้ามไปเสีย อยู่มาก
เหมือนกัน คือมองข้ามในส่วนที่ว่า ธรรมะไม่ได้เกี่ยวเนื่องอยู่กับเวลา และไม่ได้เนื่องอยู่ที่บุคคล
ผู้สอน ไปเสียทั้งหมด หมายความว่า ถ้าใครมีต้นทุนที่เพียงพอ เขาก็สามารถเข้าถึงธรรมะได้
เพราะได้ฟังคำพูด แม้เพียงบางประโยค
สำหรับข้อที่ว่า มีต้นทุนมาแล้วอย่างเพียงพอนั้น หมายความว่า เขามีความเจนจัด ในด้าน
จิตใจมาแล้วอย่างเพียงพอ คือ เขาได้เข้าใจชีวิตนี้มามากแล้ว ถึงขั้นที่มองเห็น ความน่าเบื่อ
หน่าย ของการตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ต้องทนทรมานอยู่ อย่างซ้ำๆ ซากๆ รู้สึกอึดอัด เพราะถูกบีบคั้น และไร้อิสรภาพ มองเห็นชัดอยู่ว่า ตนยังปฏิบัติผิด ต่อสิ่งทั้งปวง อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงเอาชนะกิเลสไม่ได้ เขารู้สิ่งต่างๆ มามากแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงจุดเดียว ที่เขายังคว้าไม่พบ ซึ่ง
ถ้าคว้าพบเมื่อใด ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ก็จะมีได้โดยง่าย และทันที เหมือนเราคว้าพบ สวิตซ์
ไฟฟ้า ในที่มืด ฉันใดก็ฉันนั้น
ต้นทุนดังที่กล่าวนี้ ไม่ค่อยจะมีแก่บุคคลแห่งยุคที่มัวเมา สาละวนอยู่แต่ ความ
เจริญก้าวหน้าในทางวัตถุ คนเหล่านี้ถูกเสน่ห์ของวัตถุ ยึดใจเอาไว้ และลากพาตัวเขาไป ไม่มีที่
สิ้นสุด จึงไม่ประสีประสา ต่อความจริง ของธรรมชาติ โดยเฉพาะ ในด้านจิตใจ ว่ามันมีอยู่
อย่างไร เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า เขาจะเป็นคนเฉลียวฉลาด และมีการศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มา
มากแล้ว สักเพียงใด ก็ยังไม่แน่ว่า เขาเป็นผู้มีต้นทุนพอ ในการที่จะเข้าถึงธรรมะตามแบบ หรือ
วิธี แห่งยุคพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ย่อมปรากฏ หลังจากที่ธรรมะปรากฏ แก่ผู้นั้น
แล้วเสมอไป ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ เราไม่ต้องพูดถึงพระพุทธเจ้าก่อนก็ได้ ขอแต่ให้เรา พิจารณา
อย่างแยบคายที่สุด ในการมองดูตัวเอง มองดูชีวิต มองดูสภาวะ อันแท้จริงของชีวิต ให้รู้อยู่
ตามที่เป็นจริง เรื่อยๆไป ก็พอแล้ว วันหนึ่ง เราก็จะบรรลุถึงธรรมะ ด้วยเครื่องกระตุ้นเพียงสักว่า
"ได้ยินคำพูดบางประโยค ของหญิงทาสที่คุยกันเล่นอยู่ตามบ่อน้ำสาธารณะ" ดังที่พระพุทธเจ้า
ทรงยืนยันไว้ หรือ ยิ่งกว่านั้น ก็ด้วยการได้เห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ของมดหรือแมลง นกหรือ
ต้นไม้ ลมพัด ฯลฯ แล้ว บรรลุธรรมะถึงที่สุดได้ ตามวิธีง่ายๆ เฉพาะตน
ยังมีความเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำคนให้เข้าใจพุทธศาสนาผิด จนถึงกับไม่สนใจพุทธ
ศาสนา หรือ สนใจอย่างเสียไม่ได้ ข้อนี้คือ ความเข้าใจที่ว่า พุทธศาสนามีไว้สำหรับ คนที่เบื่อ
โลกแล้ว หรือ เหมาะแก่ บุคคลที่ละจากสังคม ไปอยู่ตามป่า ตามเขา ไม่เอาอะไรอย่างชาวโลกๆ
อีก ข้อนี้ มีผลทำให้คนเกิดกลัวขึ้น ๒ อย่าง คือ กลัวว่า จะต้องสลัดสิ่งสวยงาม เอร็ดอร่อย
สนุกสนาน ในโลกโดยสิ้นเชิง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ กลัวความลำบาก เนื่องจาก การที่จะต้องไปอยู่
ในป่า อย่างฤษีนั่นเอง ส่วนคนที่ไม่กลัวนั้น ก็กลับมีความยึดถือบางอย่าง มากขึ้นไปอีก คือ
ยึดถือการอยู่ป่า ว่า เป็นสิ่งจำเป็น ที่สุด สำหรับผู้จะปฏิบัติธรรม จะมีความสำเร็จก็เพราะออกไป
ทำกันในป่าเท่านั้น การคิดเช่นนี้ เป็นอุปสรรคขัดขวาง ต่อการปฏิบัติธรรมะ เพราะโดยปกติ คน
ย่อมติดอยู่ใน รสของกามคุณ ในบ้านในเรือน หรือ การเป็นอยู่อย่างโลกๆ พอได้ยินว่า จะต้อง
สละสิ่งเหล่านี้ไป ก็รู้สึกมีอาการ เหมือนกับ จะพลัดตกลงไปในเหวลึก และมืดมิด มีทั้งความ
เสียดาย และ ความกลัวอยู่ในใจ จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์ จากพุทธศาสนา เพราะมีความ
ต่อต้าน อยู่ในจิตใจ หรือมีความรู้สึกหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
เมื่อคนคิดกันว่า จะเข้าถึงตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ได้ถ้าไม่ไปอยู่ในป่า จึงมีแต่เพียงการ
สอน และการเรียน เพื่อประโยชน์ แก่อาชีพ หรือ เพื่อผลทางวัตถุไป จะสอน หรือ จะเรียนกันสัก
เท่าไรๆ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงตัวแท้ ของพุทธศาสนาได้ พุทธศาสนาจึงหมดโอกาส ที่จะทำ
ประโยชน์แก่ บุคคลผู้ครองเรือน ได้เต็ม ตามที่พุทธศาสนาอันแท้จริง จะมีให้ บางคนถึงกับเหมา
หรือเดาเอาเองว่า บุคคลใด หรือ สำนักไหน มีการสั่งสอนพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแล้ว ที่นั่น ก็
จะมีแต่การชักชวนคน ให้ทิ้งเหย้าเรือน บุตรภรรยา สามี ออกไปอยู่ป่า เขาเองไม่อยากจะ
เกี่ยวข้องกับสำนักนั้นๆ แล้วยังกีดกันลูกหลาน ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องดว้ ย เพราะเกรงว่า จะถูก
ชักจูง หรือ เกลี้ยกล่อม ให้ไปหลงใหลอยู่ในป่า นั่นเอง พุทธศาสนา ไม่ได้มีหลักเช่นนั้น การที่มี
คำกล่าวถึง ภิกษุอยู่ในป่า การสรรเสริญ ประโยชน์ของป่า หรือแนะให้ไปทำกรรมฐานตามป่านั้น
มิได้หมายความว่า จะต้องไปทนทรมานอยู่ในป่าอย่างเดียว แต่หมายเพียงว่า ป่าเป็นแหล่งว่าง
จากการรบกวน ป่าย่อมอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการกระทำทางจิตใจ ถ้าใครสามารถ
หาสถานที่อื่น ซึ่งมิใช่ป่า แต่อำนวยประโยชน์ อย่างเดียวกัน ได้แล้ว ก็ใช้ได้
แม้ภิกษุในพุทธศาสนา ก็ยังเกี่ยวข้องอยู่กับชาวบ้าน มิใช่อยู่ป่าชนิดไม่พบใครเลย จนตลอด
ชีวิต เพราะจะต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ให้อยู่ในโลกได้ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ถ้าจะพูดโดยสำนวน
อุปมา ก็กล่าวได้ว่า "ให้รู้จักกินปลา โดยไม่ถูกก้าง" พุทธศาสนามีประโยชน์แก่โลกโดยตรง ก็คือ
ช่วยให้ชาวโลก ไม่ต้องถูกก้างของโลกทิ่มตำ ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ก็เป็น
ผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับโลกตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน หรือ ศึกษาโลกพร้อมกันไปในตัว
จนกระทั่ง รู้แจ้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า "โลกวิทู" จนสามารถขจัดความทุกข์ ทางโลกๆ ออกไปได้ และ
ต้องการให้ ทุกคนเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ให้หนีโลก หรือพ่ายแพ้แก่โลก แต่ให้มีชีวิตอยู่ในโลก อย่าง
มีชัยชนะ อยู่ตลอดเวลา
ฉะนั้น การที่ใครๆ จะมากล่าวว่า ถ้าจะปฏิบัติธรรมะแล้ว ต้องทิ้งบ้านเรือน เปิดหนีเข้าป่า ก็
เป็นการกล่าวตู่พุทธศาสนา ด้วยคำเท็จ อย่างยิ่ง เพราะสถานที่ใด ที่มีการพิจารณาธรรมะได้ ที่
นั้นก็มีการศึกษา และปฏิบัติธรรมะได้ พุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัว หรือ หลบหลีก สิ่งต่างๆ
ในโลก และไม่ได้สอนให้ มัวเมาในสิ่งเหล่านั้น แต่สอนให้รู้จัก วิธีที่จะทำตัวให้มีอำนาจ อยู่เหนือ
สิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น เป็นอันกล่าวได้ว่า จะเป็นใครก็ตาม ย่อมสามารถใช้ พุทธศาสนาเป็น
เครื่องมือ ให้ตนอยู่ในโลกได้ โดยไม่ถูกก้างของโลกทิ่มแทง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้สนใจพุทธ
ศาสนาทั้งหลาย ไม่ได้มองเห็นกันในแง่นี้ แต่กลับไปเห็น เป็นศาสตร์ หรือ เป็นปรัชญา หรือเป็น
วิชาความรู้ อย่างหนึ่ง ในบรรดาวิชาความรู้ ที่มีอยู่ในโลก แล้วก็ศึกษา เพื่อจะเอาพุทธศาสนา
มาทำมาหากินกัน เมื่อผู้สอนเอง ก็ไม่รู้ว่า พุทธศาสนาประสงค์อะไร ผู้ถูกสอน ก็จะยิ่งมืดมัวขึ้น
ไปอีก ฉะนั้น จึงใคร่ขอปรับความเข้าใจผิด กันเสียก่อนที่จะศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป


" หมู่นกจ้อง มองเท่าใด ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูต ที่ดูดกิน
คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย "