ผู้เขียน หัวข้อ: พระอัจฉริยะภาพด้านการศาสนาของ...สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (อ่าน 4940 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด





[พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ประดิษฐาน ณ พระตำหนัก วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา]


พระอัจฉริยะภาพด้านการศาสนา
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เรียบเรียงโดย : เพิ่มศักดิ์ วรรยางกูร

ในรัชกาล สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช นั้น
กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดี
ความร่วงโรยของพระศาสนานั้นย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เพราะพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิถูกกวาดต้อนไปกรุงหงสาวดีเป็นอันมาก

ยิ่งกว่านั้นยังมีพระสงฆ์ต่างชาติ เช่นพระรามัญ
ซึ่งพระเจ้ากรุงหงสาวดีสนับสนุนให้เข้ามาอยู่ในเมืองไทย
กระจัดกระจายอยู่ทั้วไปทั้งในกรุงและหัวเมือง
พระสงฆ์ต่างชาติเหล่านี้คงไม่ได้ขึ้นแก่คณะสงฆ์ไทย
จึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นอิสระ

ความเสื่อมโทรมของวงการศาสนายิ่งทวีขึ้น
การพระศาสนาไทยต้องได้รับความขมขื่นอยู่ตลอดเวลา ๑๕ ปี
ที่ไทยเสียอิสรภาพให้แก่พม่า
นับตั้งแต่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ. ๒๑๒๗
โดยความอนุเคราะห์ช่วยเหลือของ พระมหาเถรคันฉ่อง

ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรมาพำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุใกล้กับพระราชวัง
และสถาปนาขึ้นเป็น พระอริยวงศ์ ครองวัดมหาธาตุ
มีตำแหน่งในคณะสงฆ์เป็นที่ สมเด็จพระสังฆราชาคณะ
ปกครองพระสงฆ์ชาวต่างประเทศทั้งหมด
สังกัดอยู่ในคามวาสี คณะคามวาสี จึงเกิดมีเป็น ๒ ฝ่าย

คือคณะคามวาสีใหม่ที่ตั้งขึ้นถวาย สมเด็จพระอริยวงศ์ (มหาเถรคันฉ่อง)
ปกครองครั้งนี้ เรียกว่า คณะ “คามวาสีฝ่ายซ้าย”
คณะคามวาสีเดิมซึ่งขึ้นต่อ สมเด็จพระวันรัตน วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล)
เรียกว่า คณะ “คามวาสีฝ่ายขวา”
ส่วน คณะอรัญวาสี มี สมเด็จพระพุทธาจารย์ เป็นสังฆราชา
ต่างฝ่ายต่างปกครองไม่ก้าวก่ายกัน

แต่ละคณะก็มีพระราชาคณะ
และพระครูปกครองรองลงมาเป็นชั้นๆ ทั้งในกรุงและหัวเมือง
การพระศาสนาที่ทรุดโทรมมาแต่ครั้งเสียกรุง
จึงเริ่มเรียบร้อยละดีขึ้นโดยลำดับ

อย่างไรก็ดี ตำแหน่งประมุขสงฆ์ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น
รองศาสตราจารย์สิริวัฒน์ คำวันสา มีความเห็นว่า ปรากฏอยู่ ๒ ตำแหน่ง คือ

๑. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จะเป็นประมุข ฝ่ายคามวาสี
๒. สมเด็จพระวันรัตน น่าจะเป็นประมุข ฝ่ายอรัญวาสี
๓. ถ้ารูปใดมีพรรษามากกว่า รูปนั้นก็จะได้เป็น สมเด็จพระสังฆราช

ต่อมาเมื่อคณะป่าแก้วเพิ่มมากขึ้นทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้
คณะคามวาสีจึงแบ่งเป็น ๒ คือ คามวาสีฝ่ายซ้าย และ คามวาสีฝ่ายขวา
และสับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ดังนี้

๑. พระวันรัตน เป็น เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา
๒. พระพุทธโฆษาจารย์ เป็น เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย
๓. พระพุทธจารย์ เป็น เจ้าคณะอรัญวาสี

(ตำแหน่งนี้ตั้งขึ้นใหม่ เป็นเจ้าคณะแทนพระวันรัตน
ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ตำแหน่งนั้นเปลี่ยนเป็น พุฒาจารย์)

คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย รวมเอาวัดในหัวเมืองฝ่ายเหนือเข้าไว้ด้วย
ทำนองเดียวกันคณะคามวาสีฝ่ายขวา
ก็รวมเอาวัดในหัวเมืองฝ่ายใต้มาไว้ด้วย



ขอขอบคุณ...(ที่มา : สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ชัยมงคล, เพิ่มศักดิ์ วรรยางกูร เรียบเรียง,
อัมรินทร์พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๔๘)

ออฟไลน์ dekaccount

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 28
  • สุขทุกข์อยู่ ที่ใจ มิใช่หรือ ถ้าใจถือ ก็เป็นทุกข์
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณท่านธรรมะรักโข สำหรับบทความนะครับ... :016:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณท่านธรรมะรักโข นะครับที่นำบทความมาให้อ่านกัน ส่วนตัวเป็นคนเมืองพิษณุโลก ...  :016: