ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง  (อ่าน 1609 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตถตาอาศรม ริมฝั่งโขง
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
     การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็นมงคลของชีวิต
ซึ่งต้องดูที่ดำริ เจตนาในการปฏิบัติ ว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนาอะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้น
และสิ่งที่ตั้งใจปรารถนานั้น เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไปเพื่ออกุศล
คือความอยากดี อยากเด่น อยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญ ลาภสักการะ ประโยชน์ส่วนตน
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความเข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อน เพื่อให้ไม่หลงทาง
เพราะว่าถ้าผิดแต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมาผิดทาง ไปผิดทาง
     การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์ให้มีความพร้อม
โดยเริ่มจากการให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจให้มีความอ่อนโยน มีความเมตตา โอบอ้อมอารี
มีความเสียสละ ละความเห็นแก่ตัวลงเสียก่อน ควบคู่กับการรักษาศีล เพราะการรักษาศีลนั้น
คือการเจริญสติ ควบคุมกายและจิตไม่ให้ผิดข้อวัตรปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล
สิ่งที่ได้จากการรักษาศีล คือสติและองค์แห่งคุณธรรม คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
เพราะเรามีคุณธรรมข้อนี้ เราจึงไม่ล่วงละเมิดผิดศีลทั่งในที่ลับและในที่แจ้ง
    เมื่อเข้าสู่การภาวนาเพื่อให้เกิดสมาธินั้น ก็เป็นไปตามกรรมฐานที่เรามีความชอบมีความศรัทธา
คือศรัทธาในครูบาอาจารย์ที่เป็นต้นแบบ ศรัทธาในการประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์
ท่านแนะนำ คือทำในสิ่งที่ชอบ ทำในสิ่งที่ใช่ แล้วเราจะทำได้อย่างมีความสุขและจะมีความเจริญ
และควรลองปฏิบัติให้ทุกแนวทาง ทุกกองกรรมฐาน เพื่อหาธรรมะที่เหมาะสมกับจริตของเรา
ซึ่งถ้าถูกกับจริตของเราแล้ว กรรมฐานแนวนั้นจะมีความเจริญในธรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเรา
อย่าไปปฏิบัติตามกระแสนิยม อาจารย์ท่านนั้นมีชื่อเสียงคนขึ้นมาก ดังมากแล้วเราก็ไปปฏิบัติตาม
สำนักนั้น พอมีสำนักอื่น อาจารย์ท่านอื่นดังขึ้นมาใหม่ก็เปลี่ยนไปปฏิบัติตามแนวของอาจารย์ท่านใหม่
เรียกว่าแห่กันไปตามกระแสนิยม ติดอยู่ในตัวบุคคล ไม่ได้สนใจในธรรมอย่างแท้จริง
    สิ่งที่ควรจะระวังก็คือเมื่อปฏิบัติพอเริ่มรู้เริ่มเข้าใจธรรม ให้ระวังตัวมานะทิฐิว่าคนอื่นนั้นไม่ดีเท่าเรา
เราดีเรากว่าเขาขาดความเคารพ แม้ภายนอกจะดูอ่อนน้อม แต่ภายในจิตใจนั้นเย่อหยิ่งถือตัวถือตน
มันเป็นจิตวิปลาส สัญญาวิปลาส อันเกิดจากการปฏิบัติที่ลัดขั้นตอน คือข้ามเรื่องทานและศีลไป
มาเริ่มที่สติ ที่สมาธิ ที่ธรรม ขาดพื้นฐานแห่งคุณธรรม  คือสติที่มีองค์แห่งคุณธรรมคุ้มครองจิต
และจิตใจที่ยังไม่ถูกขัดเกลาให้มีความเมตตาเสียสละ ละความเห็นแก่ตัว คือจิตของผู้ปฏิบัตินั้น
ยังหยาบกระด้างอยู่ เมื่อปฏิบัติพอเริ่มรู้ เริ่มเข้าใจจึงเกิดอัตตามานะทิฐิ คิดว่าตนดีกว่าผู้อื่นเก่งกว่า
ผู้อื่น จาบจ้วงล่วงเกินผู้อื่นทางจิต ไม่มีความเคารพ ศรัทธาอยู่ภายในจิต เรียกว่าจิตวิปลาส สัญญาวิปลาส
เพราะขาดการเริ่มต้นที่ถูกวิธี ไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่ได้ปรับกาย ปรับจิต ปรับความคิด ให้มีความพร้อม
เสียก่อน จิตนั้นจึงไม่สามารถที่จะรองรับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นได้ และตามอารมณ์ธรรมที่เกิดขึ้นได้ไม่ทัน
ไม่เห็นการเกิดดับของอารมณ์ธรรมที่เกิดขึ้น นำไปสู่ความหลงตัวหลงตน เพิ่มพูนซึ่งอัตตามานะทิฐิ
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติทั้งหลายควรพึงจะสังวรระวังมิให้เกิดขึ้นแก่ตน
    สำรวจกาย สำรวจจิต ดูความคิด ดูการกระทำ คือหัวใจของผู้ปฏิบัติธรรมที่ควรกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อไม่ให้เกิดการหลงทาง หลงอารมณ์ เพื่อความเจริญในธรรมที่ถูกต้องตามธรรมตามวินัยในหลักของ
พระพุทธศาสนา การภาวนานั้นคือการทำให้ดีขึ้นเจริญขึ้น สิ่งที่ดีขึ้นเจริญขึ้นนั้นก็คือความเป็นกุศลทั้งหลาย
ความดีทั้งหลาย ทั้งภายนอกและภายใน คือความเจริญของคุณธรรมที่เพิ่มขึ้น
   จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ให้นำไปคิดพิจารณา เพื่อให้เกิดปัญญา
มีความเจริญก้าวหน้าในทางธรรม น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติกัน ตามกำลังศรัทธาของแต่ละท่าน
             ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิตแด่มิตรในทางธรรม
                    รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๗.๒๐ น. ณ ริมฝั่งโขง ชายขอบประเทศไทย
   
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 07:47:17 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

มองเห็นได้ว่า ขั้นตอนการการปฏิบัติธรรมต้องเริ่มจากเจตนาในการปฏิบัติว่าเราต้องการอะไรการจากปฏิบัติ

เหตุใดต้องเริ่มไปตามขึ้นตอน จากการบริจาคทาน การรักษาศีล  การภาวณาสมาธิ

...ขอบพระคุณที่เมตตาสอนครับ...


ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ The_Crow13

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 99
  • เพศ: ชาย
  • ยึดติดทำไม ตายไปเอาไปไม่ได้สักอย่าง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 09:58:01 »
กราบนมัสการครับ  ผมมีเรื่องสอบถามนิดนึงนะครับ คือผมเป็นคนที่อาจจะมีสมาธิสั้น ทำให้เมื่อนั่งสมาธิ ไม่ค่อยจะสงบได้เลย แม้นจะกำหนดลมหายใจแล้ว แต่ก็ได้ไม่นาน  พอจะสอนผมได้ไหมว่า จะมีวิธีไหนบ้างที่จะนั่งสมาธิแล้วสงบจิตได้นานๆจนจิตนิ่งได้บ้าง  มากสุดสงบจิตได้ประมาณ 5-10 นาที หลังจากนั้น เรื่องทุกอย่างจะเกิดแล่นผ่านหัวตลอด
รบกวนแนะนำผมด้วย
เราทำอะไร เรารู้แก่ใจ เราต้องยอมรับผลในสิ่งที่เราทำ

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 09:59:52 »
กราบมนัสการพระอาจารย์   :054:

ขอบคุณที่ชี้แนะแนวทางครับในการปฏิบัติครับ

 สาธุ อนุโมธนาครับ  :054:

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 11:44:29 »
กราบนมัสการครับ  ผมมีเรื่องสอบถามนิดนึงนะครับ คือผมเป็นคนที่อาจจะมีสมาธิสั้น ทำให้เมื่อนั่งสมาธิ ไม่ค่อยจะสงบได้เลย แม้นจะกำหนดลมหายใจแล้ว แต่ก็ได้ไม่นาน  พอจะสอนผมได้ไหมว่า จะมีวิธีไหนบ้างที่จะนั่งสมาธิแล้วสงบจิตได้นานๆจนจิตนิ่งได้บ้าง  มากสุดสงบจิตได้ประมาณ 5-10 นาที หลังจากนั้น เรื่องทุกอย่างจะเกิดแล่นผ่านหัวตลอด
รบกวนแนะนำผมด้วย
ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป และบางครั้งเราตั้งใจมากเกินไปจนเป็นการกดดันตัวเอง เป็นการกดจิตให้มันนิ่งสงบ
เมื่อจิตมันหมดกำลังที่จะกดมันก็จะระเบิดและฟุ้งซ่าน เราต้องกลับมาฝึกพื้นฐานคือการฝึกเจริญสติใหม่ให้สติมีกำลังมั่นคงขึ้น
การฝึกสติคือการฝึกการระลึกรู้มีสติกับการเคลื่อนไหวของร่างกายในชีวิตประจำวันตามปกติ  เราต้องเริ่มฝึกสติจากของที่หยาบ
สามารถที่จะจับต้องได้เห็นได้เสียก่อน แล้วจึงไปฝึกกับของละเอียดอย่างเช่นลมหายใจ หรือความรู้สึกต่างๆภายในใจ
ก่อนที่เราจะเข้าสู่การปฏิบัตินั้น เราต้องปรับกาย ปรับจิตของเราให้มีความพร้อมเสียก่อน ไม่เกร็ง ไม่เคร่ง จนทำให้เครียด
ทำใจให้โปร่ง โล่งเบา สบายๆ นั่งไปเรื่อยๆ ทันบ้างไม่ทันบ้าง ดูไปเรื่อยๆ กำหนดไปเรื่อยๆ มันจะเพิ่มกำลังสมาธิไปเอง
เหมือนนักยกน้ำหนัก ก่อนที่เขาจะเป็นแชมป์โลก เขาก็ฝึกยกน้ำหนักเพิ่มไปทีละนิดๆจนร่างกายกล้ามเนื้อมันมีความพร้อม
ต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใจเย็นๆทำไปเรื่อยๆขอให้เรามีความตั้งใจจริง ไม่ทิ้งธุระ มีความมานะอดทน ความสำเร็จย่อมไม่
ไกลเกินความใฝ่ฝัน ของเพียงมีความตั้งมั่นและมีศรัทธาอยู่เสมอไม่เสื่อมคลาย จุดหมายนั้นย่อมไม่ไกล...

ออฟไลน์ อภิรัตน์

  • เห็นรอยเท้าพ่อก้มลงดู เห็นรอยเท้าครูก้มลงกราบ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 692
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 12:51:28 »
กราบนมัสการครับ วันนี้โชคดีที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ จึงได้มีโอกาสได้รับความรู้เพิ่มเติม ขอบพระคุณครับ  :054:

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมควรระวัง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 19 มิ.ย. 2553, 01:20:09 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมจะนำไปปฎิบัติครับ ทุกครั้งที่ได้อ่านบทความคำสอนของพระอาจารย์ผมจะได้แง่คิดที่เป็นประโยช๋นกับตัวผมทุกครั้งครับ สิ้นเดือนนี้คงมีโอกาศที่ได้กราบพระอาจารย์น่ะครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา