ผู้เขียน หัวข้อ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง  (อ่าน 6680 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jakkrit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 182
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 09:29:29 »


หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน
ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง
เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน
อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ
หลวงพ่อโหน่งศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม
วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน
วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ
โหน่งเขาแทนข้าได้”
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี
(หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและ พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก
มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป
ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป
แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น
แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้น
และหล่อตามที่พระบอก (ปัจจุบันองค์พระนี้ยังอยู่สามารถไปกราบได้ที่วัดครับ)
เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว
ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง
ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน
พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน
ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ
หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ
เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง
ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด
แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ
ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา
ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ
เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า
อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย
หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย
ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน
สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว
ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน 
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖
โดยท่านมรณภาพในปางไสยาสน์แบบอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑
ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย
 ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเอง
ก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี
คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์
บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย
แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาส
ในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์
ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน
ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย
พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีพุทธคุณเด่นทางเมตตา มหานิยมมากและแคล้วคลาด จากอันตราย เป็นเลิศ จึงเป็นที่เสาะหาของบรรดานักสะสม เพื่อเอาไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งของประเทศไทย

ขอขอบคุณ http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-hnong-hist.htm
นิราศวัดบางพระ
ถึงวัดบางพระเรามีพระอยู่ในจิตสุจริตสถิตดั่งสรวงสรรค์มีพระธรรมเลิศล้ำนำชีวันสุขนิรันด์พลันสว่างกระจ่างใจ

ออฟไลน์ Jakkrit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 182
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 09:33:16 »










หลวงปู่แสง เจ้าอาวาสรูปแรกของวัด


ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 09:34:51 »
มนัสการหลวงพ่อโหน่ง  :054:
ขอบคุณข้อมูล และ ภาพบรรยากาศมากครับ  :015:

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 09:39:04 »
ขอกราบนมัสการหลวงพ่อโหน่ง หลวงปู่แสง และพระคุณเจ้าทุกรูปครับ
ขอบคุณพี่ Jakkrit สำหรับประวัติหลวงพ่อโหน่ง และรูปภาพสวยๆ ด้วยครับ

ออฟไลน์ Jakkrit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 182
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 10:17:37 »
พระพุทธรูปที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ครับ



หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนท่านครับ



วัตถุมงคลที่วัดสร้างครับ






ออฟไลน์ Jakkrit

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 182
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 10:24:17 »
สมเด็จพุทธคุณที่วัดยังมีให้บูชา นับว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณสูงรุ่นหนึ่งก็ว่าได้เลยที่เดียว
เพราะอธิฐานจิตด้วยพระคณาจารย์ที่มีพลังจิตสูงทั้งสิ้น สร้างแต่ปี 2520





พระสมเด็จพุทธสังเวชนีย๔. (สมเด็จพุทธคุณ.) “พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร” พ.ศ.๒๕๒๐ เนื้อผงสมเด็จพุทธคุณ/พร้อมเลี่ยมกรอบเข็มกลัดกะไหร่ทอง(กรรมการ.) สภาพสวย เก็บเก่าพร้อมกล่องเดิมๆ ของดี/น่าใช้…

พระผงพิมพ์นี้จัดสร้างขึ้นมาหลังจากที่พระอาจารย์ไสวเดินทางไปประเทศอินเดีย และนำผงสถานที่สำคัญทั้ง๔แห่ง โพธิพุทธประวัติ ฯลฯ นำมาผสมสร้างเป็นเนื้อพระพิมพ์นี้ด้วย บรรดาพระพิมพ์เนื้อผงของพระอาจารย์ไสวไม่ค่อยปรากฏแก่สายตามากเหมือนพระ กริ่ง อาจจะเป็นเพราะจำนวนการสร้างน้อยเลยไม่ค่อยแพร่หลายนัก…
สังเวชนีย์ ๔. คือ สถานที่สำคัญ ๔ แห่งของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย…
๑). สถานที่ประสูติ
๒). สถานที่ตรัสรู้
๓.) สถานที่แสดงปฐมเทศนา
๔..) สถานที่ปรินิพพาน

พระสมเด็จพุทธสังเวชนีย ๔ ตำบล(สมเด็จพุทธคุณ.) ปลุกเสกโดยเกจิย์คณาจารย์ดังแห่งยุค หลายรูป
๑.) สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. (สมเด็จพระสังฆราชฯองค์ปัจจุบัน.)
๒.) หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
๓.) ลพ.พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
๔.) ลป.แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
๕.) ลพ.เต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๖.) ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๗.) ลป.ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
๘.) พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดศิริสารวัน จ. อุดรธานี
๙.) ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
๑๐.) ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
๑๑.) ลพ.สุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
๑๒.) ลพ.สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
๑๓.) ลพ.แพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๑๔.) ลป.คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๕.) ลพ.เอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี
๑๖.) ลป.มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ จ.อุบลราชธานี
๑๗.) ลป.คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่
๑๘.) ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๑๙.) ลป.อินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี เป็นต้น…

ขอขอบคุณ
http://www.dd-pra.com/pages/auction/detail.aspx?id=617537


ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 01:05:02 »
กราบนมัสการหลวงพ่อโหน่งครับ ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นมัสการหลวงพ่อโหน่ง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 10 ก.ย. 2553, 02:25:08 »
มนัสการหลวงพ่อโหน่งครับ

เมื่อ 5 ปีที่แล้วมีคนให้พระมาองค์หนึ่ง  บอกว่าเป็นหลวงพ่อโหน่ง  พิมพ์พระรอด   แต่สงสัยว่าคนที่ให้พระมาจะจำผิด เพราะพระที่ให้มาเป็น  พระรอด หลวงพ่อมุ่ย  วัดดอนไร่  เพิ่งรู้มาเมื่อ 2-3 วันนี้เองครับ หลังจากที่เข้าใจผิดมานาน  :010: :010: :010: