ผู้เขียน หัวข้อ: เจดีย์ยุทธหัตถี - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง  (อ่าน 5564 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
                                                        เจดีย์ยุทธหัตถี


(คัดจากเทปที่หลวงพ่อ เล่า ในเดือนเมษายน 2522)

วันหนึ่ง เดินผ่านอำเภอศรีประจันต์ คำว่า ศรีประจันต์ เป็นชื่อของบุคคลคนหนึ่งในเรื่องขุนช้างขุนแผน อำเภอนี้ เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ตอนหนึ่ง คือ พระนเรศวรมหาราช ยาตราทัพ ทำยุทธหัตถี กับ พระมหาอุปราชคู่ปรับ

มีคนเขาถามว่า เจดียุทธหัตถี เป็นจุดที่ทำยุทธหัตถีกันจริงๆ ใช่ไหม ครั้งหนึ่ง ก็เป็นการบังเอิญ นอนๆ อยู่ อยากจะอ่านประวัติศาสตร์ อยากจะอ่านเรื่องของ ขุนเหล็ก และ เรื่องพระนเรศวรมหาราช อ่านไปก็มีอารมณ์เคลิ้ม เมื่อเคลิ้ม ก็มีภาพปรากฏ เป็นชาย รูปร่าง หน้าตาสวย เอวบางร่างน้อย อ้อนแอ้น คล้ายสตรี แต่แข็งแรง ผิวกายนี้ ไม่ใช่ว่าเป็นคนผิวดำ แต่ว่า ดำกว่าอีกคนหนึ่งซึ่งขาวกว่า ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านเอกาทศรถ

ทั้งสองท่าน ปรากฏ ยกมือพนม บอกว่า ที่เจดีย์ยุทธหัตถีที่ทำไว้ในปัจจุบันนี้ ความจริงไม่ใช่ จุดที่ชนช้างกัน แต่ที่ทำเจดีย์ไว้ เป็นอนุสรณ์นั้น ใช่องค์นี้ ถ้าขุดลงไปกลางเจดีย์ จะมีเป็นอุโมงค์ ที่เก็บอาวุธยุทธหัตถีของพระมหาอุปราช แล้วก็มีแผ่นจารึกประวัติศาสตร์ไว้เป็นหลักฐาน

ถามท่านว่า จุดที่ทำยุทธหัตถีจริง ๆ อยู่ตรงไหน ท่านบอกให้ตั้งศูนย์จากอำเภอศรีประจันต์ จากตัวอำเภอ ลากเส้นไปยังที่ว่าการจังหวัดกาญจนบุรี เดินทางไป 60 กิโลเมตรแล้วทำมุมเฉียงออกไป 15 องศาเดิน ไปอีก 6 กิโลเมตร บริเวณนั้น จะเป็นบริเวณที่รบกัน กับ พระมหาอุปราช ที่เรียกว่า ยุทธหัตถี นี่ ประวัติศาสตร์ของผีในเรื่อง ที่คนเถียงกัน จะถูกหรือไม่ถูกไม่รับรอง


อ้างอิง .. เรื่องจริงอิงนิทาน ๓


***************เจดีย์ยุทธหัตถี อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี***********************


เจดีย์ยุทธหัตถี อยู่ที่ไหน?


เจดีย์ยุทธหัตถี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ ม.2 ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เชื่อกันว่า
เป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า
ดังปรากฎหลักฐานพอสรุปได้ดังนี้

1. ในพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถี และ บริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านพบ กระดูกช้าง กระดูกม้า
กรามช้าง กระโหลกช้าง และกระดูกคน มากมาย ซึ่งแสดงว่า สถานที่แห่งนี้ จะด้องเป็นสถานที่กระทำสงคราม
ครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคงไม่มีกระดูกมากมายเช่นนี้

2. ชาวบ้านดอนเจดีย์ พบ เครื่องศาสตรวุธ เครื่องม้า เครื่องช้าง ซึ่งประกอบด้วย หอก ดาบ ยอดฉัตร
โกลนม้า ขอสับช้าง โซ่ล่ามช้าง แป้นครุฑจับนาค ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้แสดงไว้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฎกาญจนบุรี

3. ชาวบ้านดอนเจีย์ส่วนใหญ่ ใช้นามสกุล คชายุทธ มาลาพงษ์ และ ดอนเจดีย์ นามสกุลเหล่านี้มีความหมาย
เกี่ยวข้องกับองค์เจดีย์แห่งนี้ และการตั้งนามสกุลได้ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มในการค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี

4. ชื่อตำบล ตะพังตรุ หนองสาหร่าย ที่ระบุใน พระราชพงศาวดารเป็นสถานที่ ที่มีอยู่ใน อ. พนมทวน จ.กาญจนบุรี
ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับแขวง เมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งเขตการปกครอง โดย อ.พนมทวน มาขึ้นอยู่กับ
จ.กาญจนบุรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3

5. เส้นทางการเดินทัพของ พม่า-ไทย โดยทัพ พม่า จะข้ามมาทางด่านเจดีย์ 3 องค์ ผ่านทุ่งลาดหญ้า ผ่านเขาชนไก่
ผ่านเมืองกาญจนบุรีเก่า ผ่านปากแพรก ผ่านบ้านทวน ผ่านอู่ทอง สุพรรณบุรี ผ่านป่าโมก เข้า อยุธยา จะเห็นได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถี
องค์นี้ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือ ที่อำเภอ พนมทวน

6. เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดช้าง จ.อยุธยา ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เจดีย์องค์นี่
น่าจะสร้างในสมัย อยุธยา

7.ในพงศาวดาร ได้กล่าวไว้ว่า ช้างศีกได้กลิ่นน้ำมันคชสารก็ ตกมัน ตลบปะปนกันเป็นอลหม่าน พลพม่ารามัญ ก็โหมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟ
ระดมเอาพระคชสารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และ ธุมาการตลบมืด เป็นหมอกมัวไป แสดงว่าที่ทรงกระทำยุทธหัตถี
พื้นที่จะด้องเป็น ดินปนทราย จึงมีฝุ่นคลุ้งไปทั่ว จากพงศาวดารที่กล่าวมา ทำให้สอดคล้องกับพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้
เนื่องจากบริเวณรอบองค์เจดีย์ เป็นที่ดอน และดินปนทรายซึ่งมีหลักฐานประจักษ์คือ หมู่บ้านที่ติดกับองค์พระเจดีย์
ชื่อว่า หมู่บ้านหลุมทราย แสดงว่าพื้นที่แถบนั้นต้องมีทรายมาก

8. ที่ดอนเจดีย์แห่งนี้มีต้นข่อย ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นข่อยที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
อยู่ห่างจากเจดีย์ประมาณ 100 เมตร ดังพระราชพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าครั้งเหลือบไป ฝ่ายทิศขวาของพระหัตถ์
ก็เห็นช้างเศวตฉัตรหนึ่งยืนอยู่ ณ ฉายาข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่า ช้างมหาอุปราชา
พระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง ก็ขับพระคชสารตรงเข้าไป ทหารหน้าข้าศึกก็วางปืนจ่ารงคมณฑกนกสับตระแบงแก้ว ระดมยิง
มิได้ต้องพระองค์และคชสาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า
" พระเจ้าพี่ ใยจะยืนอยู่ในร่มเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็น เกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิดภายหน้าไป
ไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมหาอุปราชา ได้ฟังดังนั้นแล้วละอายพระทัย มีขัตติยราชมานะก็ป้ายพระคชสารออกรบ

9. เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฟันพระมหาอุปราชา ขาดคาคอช้างแล้ว ทัพไทยได้ไปทันพอดี จึงไล่ฆ่าฟัน
ทหารพม่าอย่างหนัก จาก ตะพังตรุ ถึง กาญจนบุรี คาดว่า ทหารไทยฆ่าทหารพม่า ประมาณ 20,000 คน
จับช้างใหญ่สูง 6 ศอก ได้ 300 เชือก ช้างพลายพัง 500 เชือก ม้าอีก 2,000 เศษ
จะเห็นได้ว่า จากเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ไปกาญจนบุรี มีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร จึงเป็นไปได้ที่ทหารไทย
จะไล่ฆ่าฟัน ทหารพม่าในวันเดียวถึงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งระยะทางห่างกันไม่มากนัก

10. ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วันวลิต ได้กล่าวไว้ว่า ในการกระทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
กับพระมหาอุปราชาได้ กระทำใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับสภาพพื้นที่เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์แห่งนี้
ยังมีวัดร้าง อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันคือ วัดบ้านน้อย และยังมีเจดีย์ โบสถ์เก่าแก่
ให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้

จากหลักฐานดังที่ได้กล่าวอ้างมานี้ น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
เป็นเจดีย์องค์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาเมื่อ พ.ศ.2135

(จากหนังสือ "เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่ไหน เขียนโดย นเรศ นโรปกรณ์ และ คณะ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 และคัดเนื้อความบางส่วน

จากหนังสือกระแสพระ ฉบับที่ 38 เดือน ตุลาคม 2548)

สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

   ผิดถูกประการใดต้องขออภัยด้วยครับ

  ขอบคุณที่มา  เว็บบอร์ด พลังจิต