ผู้เขียน หัวข้อ: รวมคาถา 79 บทของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง  (อ่าน 61474 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
                                              
                              รวมคาถา 79 บทของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ  วัดท่าซุง


รวมคาถา 79 บท ของหลวงพ่อฤาษี เช่น สูตรเร่งรัดอภิญญา ฝึกมโนกันตายโหงตายอย่างสุคติสวรรค์ที่ไป และคาถาอีก 70 บท


คำสวดธัมมะจักร


ธัมมะจักรนี้ถ้าท่านใดได้สวดจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงาน แขนงไหนที่ทำอยู่จะมีความเจริญก้าวหน้า เพราะว่าธัมมะจักรเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโปรดนัก บวชปัญจวคีย์ และยังเป็นวงล้อที่หมุนเป็นครั้งแรกของพระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวด และยังจะเป็นการเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆ นานาได้อีกด้วย สิ่งร้ายจะกลายเป็นดีและยังทำให้มีอายุยืน มีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ยามานัง เทวานัง
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พรหมะปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปุโร หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
มะหาพรหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง มะหาพรหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อาภัสสะระ เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อสัญญะสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อสัญญะสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ


พุทธชัยมงคลคาถา


พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้าง
ครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน
มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจ
ไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา, )
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย
มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์, )
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์
เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมาย
ในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธี
บอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะนั้น,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท,
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรือง
ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
(ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
(บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุก ๆ
วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ)

เสริมสร้างทางสวรรค์-นิพพาน


พุทธะ พุทธา พุทเธพุทโธ
พุทธังอะระหังพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา
นะโมพุทธายะ
จะทำให้ท่านมีความสุข - อายุยืน - นิพพาน


สืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน


พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ


พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัณชรให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะณายะ
เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ



ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสังเย ปิวิงสุ นะราสะภา.



ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.



สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.



หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.



ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.



๑เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.



กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.



ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตานะลาเฏ ตีละกา มะมะ.



๒เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

๑๐

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิวาเม อังคุลิมาละกัง.

๑๑

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะธะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

๑๒

ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

๑๓

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

๑๔

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

๑๕

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร


ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความศิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ สำเร็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์


ตั้งนะโม ๓ จบ

๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา บทนี้ชื่อ กระทู้ ๗ แบก ประจำอยู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง บทนี้ชื่อว่า ฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท บทนี้ชื่อ นารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ (ทิศใต้)
๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ บทนี้ชื่อ นารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ บทนี้ชื่อ นารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ บทนี้ชื่อ นารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา บทนี้ชื่อ ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
๘. อา วิช สุ นุต สา นุส ติ บทนี้ชื่อ นารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้ง เดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว


คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒.
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระนัง คัจฉามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ

๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก


๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า


๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส


๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า


๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว


๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์


๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ


๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ


๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค


๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล


๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร


๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต


๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี


๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี


๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน


๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง


คาถาพาหุง
พุทธคุณ พาหุง มหากา


จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลยสติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)    
                                                                                      

 ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)


๕. มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

) * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า


กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้

คาถาแผ่เมตตาตนเอง    
                                                                                                    
 อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

<<จบบทสวด>>


-------------------

คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

 บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรนอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำ อธิบายบทต่างๆ
ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจเราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน

ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
คำแปล - พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือ คู่ต่อสู้
คำแปล - อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามารเข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
คำแปล - ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่าถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่ องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและ ยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
คำแปล - โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้ จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
คำแปล - นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้าองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้าจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
คำแปล - สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
คำแปล - องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
คำแปล - พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่าง แน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


คำแปล มหาการุณิโก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุก ๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ


เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว


คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว" ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่างมีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตายคนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลาน ชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะและจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต" อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำ ยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืน ไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิ ปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดาจากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวัน จะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบท พาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติ ต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวร มหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้า เพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ" เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม ชะยะมังคะลานิ"


คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์

พุทธมังคลคาถาถือเป็น อีกหนึ่งบทคาถา ของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

พุทธมังคลคาถา

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ

-----------------

คาถาบูชาพระสมเด็จ


ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

คาถาอารธนาพระสมเด็จ

โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง


คาถาบูชาพระสมเด็จ

โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง

(เมตตามหานิยมประเสริฐนัก)



คาถาชุมนุมเทวดา

ชุมนุมเทวดา
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ
เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา
ปะริตตัง ภะณันตุ
สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ
จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ
คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา
ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง
สาธะโว เม สุณันตุ
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
โองการเทพชุมนุม
สาธุ อุกาสะ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระพุทธะคุณณัง
พระธัมมะคุณณัง พระสังฆะคุณณัง พระศรีรัตนตรัย
และสมณาจารย์ ครูอาจารย์ เดชะบรมโพธิสมภารมาอยู่
เหนือเกศเกล้าแห่งข้าพเจ้า ผู้จะตั้งนมัสการ
เชิญพระพุทธองค์ ทรงพระสูตร พระวินัย
พระอภิธรรม พระกัมมัฏฐาน พระธัมมามูล
ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนทั้งพระไตรปิฎก
กัณฑ์ไตร พระเตมียน์ใบ้ พระมหาชนก
พระมโหสถ พระโพธิสัตย์ พระพุทธสิหิง
พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ
พระจตุโลกบาล พระโมกคัลลาณญาณ
พระสารีบุตร พระพุทธกุ กุกสันโธ
พระโกนาคุมะโน พระพุทธกัสสโป พุทโธ
พระศรีสากะยะมุนีโคดม พระพุทธบรรทม
พระนารอด ยอดพระตัณหัง
อัฏฐะอรหันตัง พระสุวรรณสามปัณฑิตา
พระแท่นศิลาอาสน์ พระมุนีนาถ
พระศาสดา พระยาธรรมิกราช
พระศรีอารินไมตรี พระฤาษีทั้งแปดหมื่นพระองค์
อันนั่งจมกรมภาวนาอยู่ในถ้ำพระคูหาสวรรค์
พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระไตรสรรณคมน์
พระบรรทม พระโกณทัญญาณาณสุวรรณเสน
พระสุเมรุราช พระธาตุจุฬามณี
พระศรีมหาโพธิ พระหัตถ์ พระโอษฐ
พระหฤทัย พระไตรปิฎก พระปัจเจกโพธิ์
ท้าวสิริสุทโทธนะ พระนางสิริมหามายาอันเป็น
พระพุทธมารดาแห่งพระพุทธองค์
อันทรงพระนามกรชื่อพระสิทธารถชาติ
เป็นที่สุด พระพุธ พระพฤหัส พระสัชชนู
พระเสาร์ พระราหู พระสมุทรทั้งห้า
ทั้งแผ่นฟ้า ทั้งพสุธาชล ทั้งปลาอานนท์
นางเมขลา พระยาพาลีทรพี อินทรชิต
สุครีพ ทศกัณฑ์ กุมภัณฑ์ พระลักษณ์
พระราม พระหนุมาณ พระรามสูร
พระวิฑูรบูริกา สุนันทยักษา พระยานาค
พระยาครุฑ พระราหู พิเภก ชมภูทีเปหิมะอันตัง
พระพุทธเทวดาอยู่ในชั้นฟ้า จตุมหาราชิกาสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดาวดึงสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้ายามาสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดุสิตาสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้านิมมานรดีสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าปรนิมมิตวสวัดดีสวรรค์
เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าอกนิฏฐโลกมหาสวรรค์
พระตัณหัง พระพุทธวิปัสสี ปิตุมารดา วาสุกรี
มังกร ครุฑ กินนร กินรี การเวก ปักษา
มหากุมภัณฑ์อนันทยักษา มหากะบิลราช
พระโคอุสุภราช พระสารีริกธาตุ
พระเพลิงอันรุ่งเรืองรัศมี
พระศรีรัตนตรัยแก้วและสมณาจารย์
ทั้งพระรัตนญาณ พระบารมีตาวติงสาตีสูน
นะโมพุทธายะ ธัมโมพุทธายะ สังโฆพุทธายะ
ธัมมะปัชชา จะวันทะนา เมตตาติ


คำไหว้พระธาตุรวม

วันทามิ เจติยัง สัพพัฏฐาเนสุ
ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุง มะหาโพธิง
พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา นาคะโลเก
เทวะโลเก ตาวะติงเส พรัหมะโลเก
ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
สะรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อะระหันตา
ธาตุโย เจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสี-
ติสะหัสสะธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง
นะระเทเวหิ ปูชิตา อะหัง วันทามิ
ธาตโย อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ สัพพะโส


คำไหว้ปาระมี 30 ทัส

ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทานะปะรามัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา ไมตรี กรุณา มุฑิตา อะเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละปาระมี สัมปันโน , สีละอุปะปาระมี สัมปันโน , สีละปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนขัมมะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะอุปะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญาปาระมี สัมปันโน , ปัญญาอุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตีปาระมี สัมปันโน , ขันตีอุปะปาระมี สัมปันโน , ขันตีปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะปาระมี สัมปันโน , สัจจะอุปะปาระมี สัมปันโน , สัจจะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะอุปะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตาปาระมี สัมปันโน , เมตตาอุปะปาระมี สัมปันโน , เมตตาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขาปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาอุปะปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะปาระมี สัมปันโน , ทะสะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทะสะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหังฯ

คำพรรณนาพระบรมธาตุ

อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

มงคลจักรวาฬทั้ง 8 ทิศ


มงคลจักรวาฬใหญ่

สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ อะสีตยานุพยัญชะนานุภาเวนะ อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ เกตุมาลานุภาเวนะ ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาะเวนะ สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ เตชานุภาเวนะ อิทธานุภาเวนะ พะลานุภาเวนะ เญยยะธัมมานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะ ธัมมักขันธานุภาเวนะ นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ สัพพะปะริตตานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทา ฯ อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุ ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะ มังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ

เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ
เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ กะตะเม เอกาทะสะ ฯ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ ฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ ฯ มะนุสสานัง ปิโย โหติ ฯ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติฯ เทวะตา รักขันติ ฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ฯ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ ฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ ฯ อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ

คาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง    
 
 พระสยามมินโธ วะโรอิติ พุทธสังมิ อิติอรหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ
(หรืออาจว่าคาถาแบบเต็มรูปแบบดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ
พระสยามมินโท วะโรอิติ
พุทธะสังมิ อิติอะระหัง
สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ
นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง
(หรือจะช่วยกันรวมจิตอธิษฐานภาวนาพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
โดยขอพรจากพระองค์ท่านเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้)
ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ...(ชื่อ) ขอถวายบังคมองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ขออัญเชิญพระบารมีแห่งพระองค์โปรดดลบันดาล ให้ข้าพระพุทธเจ้า
มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งชีวิตครอบครัว และธุรกิจการงาน
หวังสิ่งใดขอให้สมปรารถนา ขออัญเชิญพระบารมีแห่งพระองค์
โปรดดลบันดาลพิทักษ์รักษา ปกแผ่ให้ปวงชนชาวไทยทั้งชาติ
ปราศจากภยันตราย อันก่อความแตกแยกสามัคคี ให้มีแต่สันติสุข
ขอให้ชาติไทยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย เพื่อให้ปวงชนชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
ภายใต้พระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมแห่งองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระมหากษัตราธิราชไทยทุกพระองค์ด้วยเทอญ


คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม


(เป็นการออกเสียงตามภาษาจีนแต้จิ๋วที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแปลไว้ทั้ง สองบท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสามารถอธิษฐานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ได้ เพราะว่าการสื่อความหมายจะใช้แรงอธิษฐาน ที่เกิดจากความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้กราบไหว้ในขณะสวดบริกรรมนั่นเองที่ สำคัญที่สุด)
บทสรรเสริญพระคุณ
นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)
บทมหากรุณาธารณีสูตร
โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)
นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
ซูตัน นอตันเซ
นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
นำมอ นอลา กินซี
ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
สะพอ ออทอ เตาซีพง
ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
นำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเย
นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
งันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ
(เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จอันพึง ปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัยพยันตรายให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ต.ค. 2553, 05:13:09 โดย NONGEAR44 »

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
พระคาถาป้องกันภัยทั้ง10ทิศ
ของอาจารย์ฝั้น

เมื่อสวดคาถานี้ก็อาจสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่านานาชนิด และภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ถ้าผู้ใดสวดเป็นประจำ ก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย จงตั้งใจสวดทุกเช้าทุกเย็น ก่อนออกจากบ้านไหนก็ตาม ถ้าสวดคาถานี้จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคมีลาภและป้องกันอันตรายต่างๆ
บูระพารัสมิง พรพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อาคะเนยรัสมิง พรพุทธะคุณัง อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ทักษิณรัสมิง พรพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
หรดีรัสมิง พรพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ปัจจิมรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
พายัพรัสมิง พรพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อุดรรัสมิง พรพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อิสานรัสมิง พรพุทธะคุณัง อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง อิสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อากาศรัสมิง พรพุทธะคุณัง อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง อากาศรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ปฐวีรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ


คาถาสารพัดนึก

พระพุทธเจ้า
ทานะปาระมี สีละปาระมี เนกขัมมะปาระมี ปัญญาปาระมี วิริยะปาระมี ขันติปาระมี สัจจะปาระมี อธิษฐานะปาระมี เมตตาปาระมี อุเบกขาปาระมี
ทานะอุปปะปาระมี สีละอุปปะปาระมี เนกขัมมะอุปปะปาระมี ปัญญาอุปปะปาระมี วิริยะอุปปะปาระมี ขันติอุปปะปาระมี สัจจะอุปปะปาระมี อธิษฐานะอุปปะปาระมี เมตตาอุปปะปาระมี อุเบกขาอุปปะปาระมี
ทานะปะระมัตถะปาระมี สีละปะระมัตถะปาระมี เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี ปัญญาปะระมัตถะปาระมี วิริยะปะระมัตถะปาระมี ขันติปะระมัตถะปาระมี สัจจะปะระมัตถะปาระมี อธิษฐานะปะระมัตถะปาระมี เมตตาปะระมัตถะปาระมี อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี
บารมี 30 ทัศ
อานิสงค์ : สารพัดนึก

รวมคาถาอื่น ๆ


คาถาเมตตามหานิยม
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ
(ใช้ภาวนาคาถาก่อนออกจากบ้าน จะทำให้คนที่พบเจอมีความรู้สึกที่ดี การติดต่อใดๆก็จะราบรื่นไม่ติดขัด) หรือของอีกสำนักหนึ่งว่าสั้นๆ ดังนี้
เมตตา คุณะณัง อะระหัง เมตตา

คาถาเจ้านายเมตตา
ปัญจะมังสิระสังขาตัง นาหาย นะกาโร โหติ สัมภะโว อิสวาสุ
(ให้สวดท่องภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วเจ้านายจะเมตตา)

คาถาขุนแผน
เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
(ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล)

คาถาเอ็นดู
วิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
ปิยะเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะ มุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปัณณานัง
ปิณินทะริยัง นะมามิหัง
นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู
(ให้ท่องคาถาก่อนไปพบผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความรักใคร่เอ็นดู)

คาถาคนนิยม
เอหิสาลิกา ยังยัง พุทธัง อาคัจฉาหิ สาลิกาถิง กะระณัง ตาวังคาวา
เอหิมะมะ สุวะโปตะโก อะยัง ราชา สุวัณณะวัณณา สาลิกานัง มะโหสะโต ปิยังมะมะ
(ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องการติดต่อเจรจาในเรื่องสำคัญ ค้าขาย เพื่อให้คนนิยมชมชอบ)

คาถาสมัครงาน
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะริรัญ ชีวิตัญวิทัง
นะโมมิตตามนุสสาจะ นะเมตตา โมกรุณา
(ใช้ท่องก่อนออกจากบ้านไปสัมภาษณ์หรือสมัครงานจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่ประทับใจ)

คาถาค้าขายดี
โอมอิติพุททัตสะ สุวันนัง วารัชชะคัง วามะนีวาวัตตัง วาพัพพะยัน ละเอหิคาคัชวันติ
(ให้เอาใบไม้แช่น้ำใส่ขันไว้แล้วสวดภาวนา เลร็จแล้วนำน้ำไปประพรมให้ทั่วร้าน จะทำให้ขายคล่อง)
หรืออีกคาถาหนึ่งก็ว่ากันว่าทำให้ทำมาค้าขึ้นเหมือนกันคือ
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา
และอีกคาถาหนึ่งสำหรับพ่อค้า แม่ค้าที่นิยมเสกเป่า ๓ จบ กับสินค้าเหมือนกันคือ
พุทธัง พะหุชะนานัง เอหิจิตตัง เอหิมะนุสสานัง เอหิลาภัง เอหิเมตตา
ชมภูทีเป มะนุสสานัง อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธังเอหิ

คาถาสาริกาลิ้นทอง
พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ
พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ
พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ
อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต
(ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง)

คาถาการเจรจา
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ยะธาพุทโมนะ อุอะอะ อิสวาสุ สัพพะทัสสะ อะสังวิสุ โลปุสะพุภะ
(ใช้ภาวนากับน้ำล้างหน้าตอนเช้าก่อนออกจากบ้านไปติดต่อเจรจาเรื่องสำคัญ จะทำให้สำเร็จในสิ่งที่หวังไว้)

คาถาอัญเชิญพระเครื่อง
พุทธัง อาราธนานัง รักษา ธัมมัง อารธนานัง รักษา สังฆัง อาราธนานัง รักษา
(ใช้สวดภาวนากับพระเครื่องก่อนออกจากบ้าน พระจะคุ้มครองเป็นสิริมงคลกับตัวเอง)

คาถาอุปถัมภ์
อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญมาคะตา อิติโพธิ มนุปปัตโต อิติปิโส จะตมะโน
นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู ยะหันตวา ธามัวเมา พุทพาเอา นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องก่อนออกจากบ้าน จะทำให้เจ้านายสงสาร ช่วยเหลืออุปถ้มภ์ดี)

คาถารักแท้
โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ สังฆัง สะระติ
จิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอมแล้วอมขณะที่คุยกับคนที่เรารัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมา)

คาถามัดใจ                                                                                                                                     พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึงคะเร โอมสวาหะ
(ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ทำให้คนรักคิดถึง)

คาถามนต์รัก
โอม นะ ปะ โร รันนะขุเภติ
พุทธัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
ธัมมัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
สังฆัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
(ใช้ภาวนากับดอกไม้ก่อนที่จะส่งให้กับคนรัก เมื่อเขาหรือเธอสูดดมดอกไม้ก็จะรักเราตอบ)

คาถาใจอ่อน
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโว
ตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
(ใช้ท่องก่อนที่จะพบเจรจากับคนที่เป็นเจ้าหนี้หรือใครก็ตาม จะทำให้ได้รับการผ่อนปรน ใจอ่อนได้ทุกที)

คาถาผูกใจคน
โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ใช้สวดเมื่อต้องการให้คนทั่วไปรักใคร่ยินดี ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้)

คาถามหาเสน่ห์
จันโทอะภกันตะโร
ปิติ ปิโย เทวะมนุสสานัง
อิตภิโยปุริ โส
มะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
(ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่)


หมวดป้องกันภัยต่างๆ    

 คาถาป้องกันผี
นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะ
สัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะ
ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา
ปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธัง
เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง
อะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง
ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง
อิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
(ใช้สวดภาวนาเมื่อเกิดความกลัวผีขึ้นมา วิญญาณจะไม่มารบกวนเข้าใกล้)

คาถาป้องกันผีพราย
ตานังเลนัง สัพพะปาณีนัง เลนังตานัง สัพพะปาณีนัง
(ใช้สวดภาวนาเพื่อให้ปลอดภัยจากการรบกวนของวิญญาณ ภูตผีต่างๆ หรือภาวนากับน้ำนำไปพรมกับคนที่คิดว่าจะถูกวิญญาณสิงสู่)

คาถาป้องกันงู
ปะถะมังพันธุ กังชาตัง ทุติยังทัณฑะ เมวะจะ
ตะติยังเภทะกัญเจวะ จะตุตถังอังกุ สัมภะวัง
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะงู นะกาโร โหติสัมภะโว
(ใช้ภาวนาเมื่อต้องเข้าป่า ที่รก หรือแม้แต่เมื่อขณะพบเจองู จะทำให้คุณปลอดภัย)

คาถากันสุนัข
นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ อิสวาสุ อุอะมะ
(ใช้ท่องแล้วเป่าเบาๆ เวลาเจอสุนัขดุ)

คาถาป้องกันตัว
ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโว
พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)

คาถาคงกระพัน
อะสังวิสุ โลปุสะภุพะ
สังวิทาปุกะยะปะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ อะระหัง
(ใช้ท่องกับพระเครื่องและวัตถุมงคลและนำติดตัวไว้เพื่อป้องกันตัว คุ้มครอง)

คาถาป้องกันภัยพิบัติ
ระตะนัตตะ ยังปุเชมิ คุณะวันตา นะราปิจะ
เตโสตตะมา นุภาเวนะ ปุญญานิ ปะกะตานิเม
(ใช้สวดภาวนาก่อนเดินทางหรือกระทำการใดๆที่อาจเกิดอันตราย จะช่วยให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ)

คาถาสกัดโจรผู้ร้าย
เจโรอัตนะรถา ยิควา ภูมิยัง
จักขุมัง ปรมานู ภัควโต อิทธิยา อัตตะโน
สิริเร มังสัง จักขะ อวสุสตุ
อวะสุสเต สริเว มังสัง โลหัตตัง
(ใช้ท่องเพื่อให้ปลอดจากโจรผู้ร้าย)

คาถาคับขัน
พุทโธเมสะระณัง เลนัง
ตาณังชีวิตัง ปะริยันตะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
นะปิดหู โมปิดตา พุทมิเห็น
ธาดลซ่อนไว้ ยะหายไป
(ใช้ท่องบริกรรมเมื่อตกอยู่ในยามคับขัน ศัตรูหรือคนที่ไม่ประสงค์ดีจะมองไม่เห็น)

คาถาหนังเหนียว
สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
(ใช้สวดภาวนาคาถานี้กับน้ำมันทาถูร่างกายจะทำให้อาการฟกช้ำหายเร็ว หรือก่อนออกศึกใดๆ จะทำให้หนังเหนียวไม่บาดเจ็บง่าย)

คาถาต่อสู้
นะกาโรปะถะมังฌานัง
โมกาโรทุติยาฌานัง
พุทกาโร ตะติยฌานัง
ธากาโร จะตุตถังฌานัง
ยะกาโร ปัญจะมังฌานัง
ปัญจะอักขระรานิ ชาตานิ นะโมพุทธายะ ลักขะนัง
(ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องเผชิญหน้าศัตรูหรือกำลังจะต้องต่อสู้ เพื่อให้พ้นจากอันตราย)

คาถารอด
นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระเทเรหิปูชิตัง นะรานัง กะมะปังเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้สวดภาวนาเมื่อสถานการณ์ไม่ค่อยดีเช่น รู้สึกว่ามีคนสะกดรอยตาม ถูกปองร้าย อันตรายกำลังเข้าใกล้ก็ให้ท่องคาถานี้เพื่อให้รอดพ้นอันตรายได้อย่างไม่คาด ฝัน)

คาถากำบัง
ปะถะมังพินธุกังชาตัง ตรีนิกัตวา นะนะ การังปัญจะสัมภะวัง
นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระ เทเวหิปูชิตัง นะรานัง กามะปิเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้สวดภาวนาเพื่อหลบศัตรู หรือคนที่กำลังคิดปองร้าย ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองไม่เห็นหรือคลาดสายตาไปได้)

คาถาแคล้วคลาด
พุทธาอะนุนามะริยาสุขังเขยเย
พุทธาอะนินาสุหะลาลิสังเขยเย
พุทธาริโยเคมะกุลักขะกัปปะเก
วันทามิเตสุระนะรักกะเมสะเม
(ให้ท่องคาถานี้ ๓ จบเวลาต้องการให้แคล้วคลาดในสิ่งใดๆที่อาจเป็นอันตราย หรือเสี่ยง เช่นก่อนเดินทางไกลหรือขึ้นเครื่องบิน)

คาถากันปืน
นะอุ เออัด

   ขอบคุณที่มา  เว็บบอร์ด  dhammajak