ผู้เขียน หัวข้อ: ...ทุกข์...  (อ่าน 1077 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
...ทุกข์...
« เมื่อ: 26 ม.ค. 2554, 12:08:12 »
เวลาทุกข์เกิดขึ้นให้ดูเข้าข้างใน (ดูจิต) อย่าไปดูข้างนอก อย่าไปโทษคนโน้นคนนี้ ให้ดูกายกับใจของเรานี่แหละ ดูให้เห็นว่าตัณหา อุปาทาน นี้แหละเป็นตัวต้นเหตุให้ทุกข์เกิด เป็นมาร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุด ให้มีขันติ อดทนสู้อารมณ์นั้นๆ ตามรู้อารมณ์นั้นๆ รู้แล้วก็ไม่หวั่นไหว ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์ รู้แล้วไม่หลง ไม่ติด มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั่นแหละ พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี่เอง ไม่ต้องไปหาที่ไหน แม้จะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ยอม ต้องเอาชนะให้ได้ อาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอาวุธ ดูให้เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ ความไม่แน่นอน



พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...ทุกข์...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 ก.พ. 2554, 08:51:19 »
เหตุแห่งความสุข - เหตุแห่งความทุกข์ - เหตุแห่งการพ้นทุกข์
:
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

ธรรมะในพระพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องของกรรม
กรรม คือ การกระทำ
กรรม มีทั้งกรรมดี กรรมชั่ว กรรมกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่ว
กรรม หรือ การกระทำ เป็น 'เหตุ' ที่จะ 'ให้ผล' ในอนาคต
อาจจะเป็นอนาคตใกล้ ทันควัน เห็นผลทันตา
หรืออาจจะเป็นอนาคตไกลจนลืมไปแล้วว่าทำอะไรไว้

ดังนั้น กล่าวกันในเชิงพระพุทธศาสนาแล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลหรือสรรพสัตว์กำลังเป็นอยู่
หรือกำลังได้รับอยู่ในปัจจุบัน
ก็ล้วนเป็นผลจากกรรม (การกระทำ) ที่ตนทำมาเองในอดีต
ไม่ว่าจะอดีตใกล้ที่พอนึกออกจำได้
หรือว่าอดีตไกลที่ลืมไปแล้วนึกไม่ออก ก็ตาม

ในเชิงพระพุทธศาสนานั้น
สภาพหรือสิ่งที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลของกรรม(การกระทำมาเอง)ในอดีต
และ
สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้เอง
จะส่งผล จะให้ผล ในอนาคต
หรือที่ใช้คำกันว่า
'อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล'
'ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล'
หรือสั้นๆ ว่า
'อดีตเหตุ - ปัจจุบันผล'
'ปัจจุบันเหตุ - อนาคตผล'

เหตุแห่งความสุข

ความสุขทางกายก็ตาม ความสุขทางใจก็ตาม
ที่บุคคลได้รับอยู่ในปัจจุบัน อาทิ ได้เกิดดี ได้อยู่ในที่ดี
ร่างกายดี ฐานะดี ผิวพรรณผ่องใส
ได้พบแต่คนดีๆ สิ่งดีๆ
จิตใจสัมผัสแต่สิ่งดีๆ มีแต่ความสุขความสบายใจ
ทั้งหมดหรืออย่างหนึ่งอย่างใด
ล้วนเป็นผลมาจากการกระทำดีมาในอดีต
อาทิ รักษาศีลมาดี ทำทานกุศลมาดี
มีจิตใจสะอาด เมตตา มีความเพียร อดทน บากบั่น
ขยันขันแข็ง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
ทำ-คิด-พูด แต่สิ่งที่ดีงาม ฯลฯ

ดังนั้น
การจะสร้างอนาคตให้เป็นอนาคตที่ดี มีแต่ความสุข
ได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งเจริญตาเจริญใจ
ทำอะไรไม่มีอุปสรรคขัดขวาง
ก็คือ ในวันนี้ ในปัจจุบันนี้ พึงทำแต่สิ่งที่ดีทั้งปวง
อะไรก็ตามที่สามัญสำนึกบอกว่าไม่ดี ไม่ควร
ก็หลีกเลี่ยง
ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นๆ
ไม่ว่าในแง่มุมใดๆ ฯลฯ

เหตุแห่งความทุกข์

ในทางตรงกันข้าม
ทุกข์ต่างๆ ที่บุคคลหรือสรรพสัตว์แต่ละชีวิต
กำลังได้รับอยู่ในปัจจุบัน
ก็เป็นผลมาจากการกระทำไม่ดีต่างๆ
ที่ทำมาเองในอดีตใกล้และอดีตไกล
อาทิ ทำ-คิด-พูด ในสิ่งอันไม่ดี ไม่งาม เป็นอกุศล
ศีลข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อพร่องหรือขาด (ศีลห้า)
เป็นคนตระหนี่ ไม่อดทนอดกลั้น ไม่มีความเมตตา
เบียดเบียนตน เบียดเบียนชีวิตอื่นๆ
มาในทางใดทางหนึ่ง ฯลฯ

บุคคลนั้นหรือชีวิตนั้น
ก็จะมีชีวิตปัจจุบันที่ไม่(ค่อยจะ)มีความสุข
อาจจะมีแต่ทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ
อาจจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่เจริญตา ไม่เจริญใจ
ไม่เจริญปัญญา อยู่ในหมู่คนพาลที่มีแต่จะ
ชักพากันไปในทางที่เสื่อม (เสื่อมจากความดี)
ร่างกายไม่ดี สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง
ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสถูกต้อง
ที่ไม่ดี ที่ไม่ประณีต ที่ไม่สบายตาไม่สบายหู
ไม่สบายจมูก ไม่สบายลิ้น ไม่สบายกาย
ไม่เป็นที่สบายใจ ไม่น่าพออกพอใจ
มีแต่น่าขัดใจ ฯลฯ

ดังนั้น บุคคลใดอยากจะมีชีวิตที่ดี
ได้เกิดดี ได้มีสภาพแวดล้อมที่ดี
ได้พบได้สัมผัสแต่สิ่งที่ดี เจริญตาเจริญใจ
ก็มีวิธีง่ายๆ ที่ทำได้เดี๋ยวนี้
คือ ทำเหตุแห่งความสุขให้มากๆ :)
ทำ 'ปัจจุบันเหตุ' ให้ดี
เพื่อมุ่งหวัง 'อนาคตผล' ที่ดี

ส่วนขณะนี้ คือสิ่งที่กำลังได้รับอยู่
หรือสภาพที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
เป็นสิ่งที่เป็น 'ผล' จากสิ่งที่ได้กระทำมาเองในอดีต
จึงไม่พึงคิดมาก เพราะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
เป็นการรับผลกรรม (คือ ผลจากการกระทำ
ดีหรือไม่ดีที่ล้วนทำมาเอง)

สิ่งที่พอทำได้ในวันนี้ ในปัจจุบันแต่ละขณะๆ นี้
ก็คือ 'สร้างเหตุใหม่' ที่ดีๆ
ทำแต่สิ่งดีๆ คิดแต่สิ่งดีๆ กล่าวแต่คำดีๆ ไม่มีโทษ
เพื่อให้อนาคตไม่ว่าใกล้หรือไกล
ไม่ว่าจะทันได้เห็นในชีวิตนี้หรือไม่
จะเป็นอนาคตที่ดี มีแต่ความสุขความเจริญ

เหตุแห่งการพ้นทุกข์

ทั้งหมด ๒ ส่วนแรกนั้น ทั้งเหตุแห่งความสุข
และเหตุแห่งความทุกข์ เป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด
เป็นแนวทางการเวียนว่ายตายเกิดให้ดี ให้มีความสุข
และปลอดภัย

ก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในระดับหนึ่ง
เพราะอย่างน้อยก็เป็นแนวทางพัฒนาตน
เพื่อให้เจริญก้าวหน้า เพื่อไม่ให้ย่ำอยู่กับสิ่งไม่ดี
ไม่ให้ย่ำอยู่กับนิสัยไม่ดีเก่าๆ ที่ควรปรับปรุงแก้ไข
เพื่อว่าจะได้มีอนาคตในการมีชีวิตอยู่
หรือได้มีอนาคตในการเวียนว่ายตายเกิด ที่ดีขึ้นๆ
ดียิ่งๆ และยิ่งขึ้นตามลำดับ หนีให้ไกลๆ จากทัศนคติที่ผิด
หนีให้ไกลจากสิ่งที่จะนำพาหรือชักนำ
ไปสู่ความเสื่อมทั้งปวง ทั้งทางกายและทางใจ

แต่ก็ยังเป็นความสุขทุกข์แบบโลกๆ ที่ล้วนไม่จีรังยั่งยืน
เพราะถึงแม้จะยิ่งเกิดดี มีความสุข ขนาดไหน
ถึงแม้จะได้พบแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ขนาดไหน
ถึงแม้จะได้ประสบแต่สิ่งน่าเจริญตาน่าเจริญใจขนาดไหน
แม้จะได้เกิดมาเป็นคนดี มีแต่ชีวิตที่ดีๆ
มีแต่ความสุข มีแต่ความเจริญ ขนาดไหน
แม้จะได้มีร่างกายที่ดี สุขภาพแข็งแรง จิตใจที่งดงาม ขนาดไหน

แต่ทว่าให้ทุกอย่างดีเลิศพร้อมมูลขนาดไหน
แต่ทุกๆ ชีวิตที่แสนดีเลิศนั้น ก็มิอาจหลีกหนีไปจากสัจธรรม
ไม่มีทางหลีกพ้นจากกฎเหล็ก
อันเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวของสังสารวัฏ
ไปได้เลย

กฏเกณฑ์ตายตัวของสังสารวัฏ
ก็คือ พระไตรลักษณ์
คือ ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์
และไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน ไม่มีอะไรที่ใครสามารถสั่ง
หรือบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้จริงๆ

ดังนั้น ต่อให้ผู้ที่มีความสุขที่สุดในโลก
เพียบพร้อมสมบูรณ์ที่สุดในโลกใดก็ตามในสังสารวัฏ
ก็ยังหนีไม่พ้นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
และความไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถสั่งหรือบังคับให้อะไรๆ
เป็นไปตามปรารถนาได้จริง
แม้ผู้ที่มีชีวิตที่สุขและสมบูรณ์พร้อมที่สุด
ก็มีอันจะต้องจากพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ
ก็มีอันต้องแตกดับไป
ต้องตายจากชีวิตอันแสนสุขนั้น
ไปในที่สุด

แม้มีแต่สิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ที่น่าพอใจ ที่ชื่นตาชื่นใจ
แต่สิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น
ก็จะต้องมีอันผันแปรเสื่อมสภาพไป
ดับสลายไปในที่สุด
ไม่สามารถอยู่คงสภาพเดิมยั่งยืน
ให้ได้ชื่นชมให้ได้ครอบครองไว้ตราบชั่วนิรันดรได้เลย

ด้วยเหตุว่าสุขในสังสารวัฏนี้ไม่เที่ยง
มีแต่ความทุกข์ (คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้)
และมิอาจเข้าไปควบคุม มิอาจสั่ง
หรือบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจได้จริง
พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า
ทุกสิ่งทุกอย่าง สรรพสิ่งทั้งปวงในสังสารวัฏ
ล้วนเป็นทุกข์

ทรงบำเพ็ญเพียรมาช้านาน
และแสวงหาทางออกจากทุกข์
ที่เป็นทางออกที่แท้จริง
และทรงค้นพบได้สำเร็จ

เหตุแห่งการพ้นทุกข์
คือ ออกจากทุกข์ทั้งปวงในสังสารวัฏ
มีอยู่ทางเดียว
คือ สติปัฏฐานสี่
คือ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่

การเจริญสติ คือ มีสติรู้เท่าทันอาการต่างๆ ของกายและใจ
ในแต่ละขณะวินาทีที่เป็นปัจจุบันอยู่จริงๆ
ต้องเป็นการมีสติด้วยท่าทีและวิธีการที่ถูกต้อง
เจริญสติด้วยจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
มีสติไปอย่างสบายๆ ไม่เคร่งตึง
เป็นการเข้าไปสังเกต เข้าไปลองทำความรู้จัก
กับอาการต่างๆ ณ กายและใจตนเอง ในแต่ละขณะๆ

วิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้น ที่เป็น 'เหตุแห่งการพ้นทุกข์'
เป็นการสร้างเหตุในปัจจุบัน เพื่อหวังผลในอนาคตคือ
การออกจากทุกข์ทั้งปวง

เหตุผลที่การเจริญสติ (สติปัฏฐานสี่และวิปัสสนากรรมฐาน
ตามแนวสติปัฏฐานสี่) พาออกจากทุกข์ได้นั้น
ก็ด้วยการที่แต่ละขณะๆ ที่มีสติอยู่นั้น
จิตใจจะปราศจากความโลภ โกรธ หลง
ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
จิตใจประกอบด้วยปัญญา

เมื่อพากเพียรเจริญสติ (ด้วยวิธีการและท่าทีที่ถูกต้อง)
ให้บ่อยๆ ต่อเนื่องอยู่เนืองๆ
กิเลส (โลภ โกรธ หลง) ก็จะมีโอกาสเกิดได้น้อยลงๆ
สติเกิดมากขึ้นๆ
สติมีกำลังแข็งกล้ามากขึ้นๆ
ปัญญาก็จะค่อยๆ เกิด

ปัญญาตัวนี้ จะค่อยๆ ทำให้ผู้พากเพียรเจริญสติ
เริ่มเข้าใจความเป็นจริงแท้ๆ เกี่ยวกับกายและใจตน
เริ่มเข้าใจถึงความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
ของกายและใจ
จะค่อยๆ ได้ประจักษ์ว่า
ที่ยึดที่คิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา
สิ่งที่ยึดที่คิดว่าดี ว่าสวย ว่าเป็นที่รัก ว่าน่าพอใจ
หรืออะไรก็ตามทั้งปวงในสังสารวัฏนี้
ล้วนไม่ได้เที่ยงอย่างที่คิด (อนิจจัง)
ล้วนเป็นทุกข์ (คือ ล้วนทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) ทั้งสิ้น (ทุกขัง)
มีอันต้องพลัดพราก ผันแปร เสื่อมสลายไป ดับไป (อนัตตา)
ล้วนเป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้
สั่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ได้ ทั้งสิ้น
จึงได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจ
ว่าไม่มีแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยในสังสารวัฏนี้
ที่จะสามารถยึดมั่นถือมั่นได้จริง

สติและปัญญายังจะนำพาไปรู้จักกับตัวตนของกิเลส
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ในตน
ตัณหา อุปาทาน ในตน ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

เมื่อก่อนเราหลง เราตกอยู่ใต้อำนาจของพระไตรลักษณ์
(อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา) อย่างไม่มีทางสู้
เพราะไม่รู้จักตัวตนของพระไตรลักษณ์
เมื่อก่อนเราหลง เราตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ก็เพราะไม่รู้จักตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
เมื่อไม่รู้จัก ก็เลยไม่รู้จริง ว่าเป็นเพียงเล่ห์กลของกิเลส
เป็นกับดักของกิเลส ตัณหา อุปาทาน

ต่อเมื่อได้เจริญสติเจริญปัญญา
สะสมเหตุแห่งการพ้นทุกข์ พ้นกิเลส ออกจากกิเลส
ให้เนืองๆ ให้บ่อยๆ ให้ต่อเนื่อง ให้ยิ่งๆ
เกิดปัญญายิ่งๆ สติคมชัดยิ่งๆ
จนได้เข้าใจในความเป็นจริงทั้งปวงเหล่านี้
ก็จะเป็นทีของปัญญา :)
ที่เข้าไปรู้จักและรู้ทันสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ตามความเป็นจริง

เมื่อเข้าไปรู้จักจริงๆ รู้จักอย่างแท้ๆ ว่าอะไรเป็นอะไร
สิ่งเหล่านี้ (อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา และ กิเลส
ตัณหา อุปาทาน) ก็หลอกเราไม่ได้อีกต่อไป
ลวงล่อให้หลงยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ต่อไป

ก็จะค่อยๆ เกิดความเบื่อ หน่าย คลายกำหนัด
คลายความยินดีพอใจ เพราะรู้เท่าทันเสียแล้วว่าไม่จริง
ไม่ยั่งยืน มีอันต้องเปลี่ยนแปลง ผันแปร พลัดพราก
เสื่อมสภาพ ดับสลาย สูญสิ้น ไปทั้งหมดทั้งสิ้น

เมื่อถึงวันหนึ่งที่สะสมเหตุแห่งการพ้นทุกข์คือการเจริญสติ
เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไว้จนเต็มเปี่ยมแล้ว
ปัญญาที่แก่กล้าพร้อมองค์ประกอบ
แห่งการประหารกิเลสให้ขาดสะบั้น พรักพร้อมกันเมื่อใด
ก็จะรวบรวมพลังกันทั้งหมด สมัครสมานสามัคคี
ฟันกิเลสให้ขาดสะบั้นลงได้เป็นลำดับๆ ไป
บุคคลนั้นๆ ก็จะถึงซึ่งความพ้นทุกข์
หรือเที่ยงแล้วต่อการจะพ้นทุกข์ได้แน่นอน
ในอนาคตอันทำนายได้ พอจะรู้ได้ :)
(เพราะพระพุทธองค์ทรงบอกไว้ชัดเจนแล้ว)

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

เหตุอันเป็นกุศล เป็นเหตุดี เป็นกรรมดีใดๆ ก็ตาม
ที่ได้กระทำมาแล้วในอดีตและกำลังเพียรกระทำอยู่ในปัจจุบันก็ตาม
ขอแผ่กุศลทั้งปวงจากเหตุดีๆ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้
ให้กับสรรพชีวิตทั้งปวงผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย
ให้ได้มาพบพระพุทธศาสนา
ได้มาสัมผัสรสพระธรรม
ได้รู้วิธีการสร้างเหตุแห่งความสุข
รู้วิธีละเหตุแห่งความทุกข์
และได้รู้วิธีแห่งการสร้างเหตุแห่งการพ้นทุกข์
สร้างเหตุแห่งการออกจากทุกข์ทั้งปวง
ทั้งขอให้ได้มีโอกาสสร้างเหตุแห่งการพ้นทุกข์
คือได้เจริญสติ (สติปัฏฐาน)
ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ให้ยิ่งๆ
ได้เกิดปัญญาเห็นโลกเห็นธรรม
รู้เท่าทันสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
รู้ว่าอะไรไม่ใช่สาระที่แท้จริง รู้ว่าอะไรคือสาระที่แท้จริง
เกิดความเบื่อหน่ายละคลายจากกิเลส ตัณหา อุปาทานให้ยิ่งๆ
จนได้บรรลุถึงซึ่งมรรคผลและความพ้นทุกข์คือพระนิพพาน
โดยเร็วที่สุดตามที่ปรารถนา
และตามสมควรแก่เหตุ (บุญบารมีสู่การพ้นทุกข์)
ที่แต่ละชีวิตได้พากเพียรสะสมมา
ด้วยกันทุกๆ ชีวิต ทุกรูปทุกนาม ด้วยเทอญ

เจริญในธรรม

:)

โดยคุณ : deedi - อีเมล์ deedi_deedi@email.com - 21/04/2002 17:41

ลอกมาจาก
http://board.dserver.org/e/easydharma/00000097.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...ทุกข์...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 10 มี.ค. 2554, 09:23:06 »
มีเหตุให้ดูกายกับใจของเรา