ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ  (อ่าน 2165 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« เมื่อ: 04 มี.ค. 2554, 05:29:56 »
ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี
  ๔ มีนาคม ๒๕๕๔
     วันนี้ฝนตกเกือบทั้งวัน ตกมาตั้งแต่เมื่อวานตอนเย็น วันนี้คนงานก่อสร้างเลยหยุดงาน
ฝนตกทำให้ลงไปเดินจงกรมหน้ากุฏิไม่ได้ ได้แต่นั่งภาวนาอยู่บนกุฏิ ตอนเย็นฝนหยุดตก
จึงลงมาเปิดเครื่ิองปั่นไฟของคนงาน เพื่อจะได้พิมพ์งาน
                         :059: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ  :059:
         มีคำถาม มากมาย ให้ขบคิด         ถามเรื่องจิต เรื่องกาย เพราะอยากรู้
    จงบอกว่า  ถ้าสงสัย   ให้ทำดู            แล้วจะรู้  กายจิต  คิดอย่างไร
    อจินไตย  คิดไป  ก็ปวดหัว                มาดูตัว   ดูจิต    แล้วคิดใหม่
    ดูให้รู้  ดูให้เห็น   เป็นอย่างไร            ให้รู้ใจ    รู้กาย   รู้จิตตัว
    จิตส่งออก   สมุทัย  ให้เกิดทุกข์         จิตเป็นสุข เพราะรู้พร้อม น้อมไปทั่ว
    มีสติ   ระลึกรู้  อยู่กับตัว                    รู้ดีชั่ว     สิ่งที่จิต   ควรคิดทำ
    อันกายนี้   อยู่ไม่นาน  ก็ต้องดับ          เหมือนอาทิตย์  ลาลับ  ในยามค่ำ
    ต้องเวียนว่าย  ตายเกิด อยู่ประจำ         สิ่งที่นำ  ติดตัวไป  ใช่เงินทอง
    สิ่งที่ตาม  ติดไป  ในดวงจิต                คือนิมิต  แห่งกรรม  นำสนอง
    ถ้าจิตดี   ก็มีสุข   อยู่คุ้มครอง              จิตเศร้าหมอง  ก็ต้องทุกข์  ไม่สุขใจ
    รู้อะไร    ก็ไม่สู้   เท่ารู้จิต                  รู้ถูกผิด   ดีและชั่ว  แล้วแก้ไข
    เจริญจิต  ภาวนา  พาสุขใจ                 ทำจิตไร้  อกุศล   เป็นต้นทุน
    คือต้นทุน  ชีวิต   นิมิตหมาย               เมื่อยามตาย  ความดี  มีเกื้อหนุน
    มีกรรมดี   คือกุศล เป็นผลบุญ             ช่วยค้ำจุน  ส่งจิต   นิมิตดี
    อย่าสงสัย  ในสิ่ง  ไร้สาระ                  ควรลดละ  ความคิด  ชนิดนี้
    ความสงสัย คือนิวรณ์  ถอนความดี        จิตไม่มี  สมาธิ  เพราะนิวรณ์
    เมื่อสงสัย  ก็ต้องทำ  นำพิสูจน์            อย่าเพียงพูด  เพียงคิด  จิตสังหรณ์
    ต้องลองทำ  ศึกษา  ตามขั้นตอน          เพื่อจะถอน  ความสงสัย  ให้มันคลาย
    ไม่มีใคร     รู้ซึ้ง    เท่าหนึ่งจิต            สิ่งที่คิด   จิตใจ   ในเป้าหมาย
     คิดอะไร   ก็ให้รู้   อยู่กับกาย             ไม่วุ่นวาย   ควบคุมจิต  ให้คิดดี
     คิดให้ดี  คิดให้เห็น  เช่นที่คิด             ไม่เป็นพิษ  เป็นภัย   ในทุกที่
     ควบคุมจิต  ให้คิด  แต่สิ่งดี                ทำอย่างนี้   แล้วจิต  จะสบาย
     สบายใจ   คือสบาย  ทั้งกายจิต           นั่นคือกิจ  ที่ทำ  ตามเป้าหมาย
     เพราะคิดดี  มีสติ อยู่กับกาย               ไม่วุ่นวาย  เพราะจิต  นั้นคิดดี....
                                ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต
                                      รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม 
๔ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๗.๓๒ น. ณ ตถตาอาศรม บ้านบึง ชลบุรี         
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ salawit_sangsanit

  • กายะวาจะจิตตัง อะหังวันทา พระยาภุชงค์ นาคราชเจ้า วิสุทธิเทวา ปูเชมิ
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 272
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 มี.ค. 2554, 08:37:47 »
กราบนมัสการพระอาจารย์

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 มี.ค. 2554, 11:15:22 »
 :054:ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ขอโพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้อง เพื่อ(กระผมเอง)ไว้ประกอบการศึกษาครับ
----------------------
สังโยชน์ 10
      สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

สักกายทิฏฐิ  เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
วิจิกิจฉา     ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
สีลัพพตปรามาส   รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
กามฉันทะ    มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
พยาบาท    มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
รูปราคะ     ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
อรูปราคะ    ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
มานะ     มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
อุทธัจจะ    มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
อวิชชา     มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
      นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง
สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

อ่านเพิ่มเติม
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/sangyot.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 05 มี.ค. 2554, 11:37:38 »
ถ้าจิตดี   ก็มีสุข   อยู่คุ้มครอง       จิตเศร้าหมอง  ก็ต้องทุกข์  ไม่สุขใจ
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ กราบขอบพระคุณที่สั่งสอนครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ knight1978

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 22
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 05 มี.ค. 2554, 07:10:24 »
กราบนมัสการ พระอาจารย์ ครับ ขออนุญาตคัดลอกโคลงกร เพื่อนำไปสอนใจนะครับ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 10 มี.ค. 2554, 10:06:24 »
ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ขยายความ คำสมมติ

อจินไตย แปลว่าสิ่งที่ไม่ควรคิด หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก่
พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของฌาน
กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม ที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ รวมถึงการให้ผล และการรับวิบากกรรม
โลกวิสัย วิสัยการมีอยู่ของโลก[1]

ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น[2]

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2

นิวรณ์ (อ่านว่า นิ-วอน) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มี.ค. 2554, 10:10:27 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 12:35:38 »
คลิป สังโยชน์ 10

[youtube=425,350]3KOMZGjTsFY[/youtube]
[youtube=425,350]cEd0Ar8IKgU[/youtube]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มี.ค. 2554, 12:36:47 โดย ทรงกลด »