ผู้เขียน หัวข้อ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...  (อ่าน 2471 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 04:23:54 »
กุฏิทรงไทยชายน้ำวัดบางพระ นครชัยศรี
    ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔
                น้องๆขึ้นไปรับที่บนเขาเพื่อลงมางานไหว้ครูที่วัดบางพระตั้งแต่ตอนเช้า
ลงมาฉันข้าวที่รามอินทรา นัดหมายสมาชิกเพื่อจะเดินทางมาร่วมงานไหว้ครูพร้อมกัน
มาถึงวัดบางพระเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. มาพักที่กุฏิทรงไทยริมน้ำกับหลวงพี่เว็บ
พอจะมีเวลาว่างเพราะลูกศิษย์ยังไม่มากัน จึงมีเวลาที่จะเขียนบทความบทกวี...
                       :059: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง  :059:
(กลอน ๙ )           คิดว่าใช่    อาจไม่ใช่   อย่างที่คิด
                        ถูกหรือผิด   ใครตัดสิน   ในปัญหา
                        ความคิดเห็น  ที่เป็นไป   ตามอัตตา
                        ใช่จะว่า      สิ่งที่เห็น     นั้นเป็นจริง
                                เมื่อเห็นธรรม  ก็จะเห็น  ความเป็นโลก
                                สุขหรือโศก   นั้นมีใน   สรรพสิ่ง
                                เมื่อเห็นโลก  และเห็นธรรม  ตามความจริง
                                สรรพสิ่ง     นั้นล้วนเป็น   " ตถตา "
                         ตถตา     คือแบบว่า   เป็นเช่นนั้น
                         ล้วนผูกพัน  ก่อกำเนิด  เกิดปัญหา
                         มีเหตุผล     และปัจจัย  มีที่มา
                         ก็เพราะว่า   มันเป็น   เช่นนั้นเอง
                                สรรพสิ่ง   ล้วนมีกรรม   นั้นกำหนด
                               ไปตามบท  กฏแห่งกรรม ที่เหมาะเหมง
                               ดีหรือชั่ว    ตัวเรารู้       ด้วยตนเอง
                               อย่าอวดเก่ง  และอวดรู้  ไม่สู้ดี
                         เพราะศักดิ์ศรี    คือที่มา  ของมานะ
                         เมื่อเป็นพระ    ควรลดละ  เรื่องศักดิ์ศรี
                         ถอนมานะ     ละอัตตา    อย่าให้มี
                         เป็นสิ่งที่      สมณะ      ควรกระทำ
                               โลกทัศน์    นำไปสู่   ชีวทัศน์
                                ควรฝึกหัด   มองให้เห็น   ความเหลื่อมล้ำ
                                เพราะทุกอย่าง  นั้นมันเป็น  เรื่องของกรรม
                                คิดแล้วทำ    ทำให้เห็น   "ตถตา "
                         ทุกสิ่งอย่าง   มันก็เป็น   ไปเช่นนั้น
                         กรรมจัดสรรค์  ให้เป็นไป  ตามเนื้อหา
                         เกิดจากกรรม  ที่กระทำ    นั้นนำมา
                         ทุกชีวา   ไปตามบท    กฏแห่งกรรม
                                ความเหลื่อมล้ำ   เกิดจากกรรม  นั้นกำหนด
                                นี้คือกฏ        ธรรมชาติ        อันลึกล้ำ
                                พระไตรลักษณ์  นั้นคือหลัก  สัจจธรรม
                                กฏแห่งกรรม     มันจึงเป็น   เช่นนั้นเอง....
                                      ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต
                                            รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๖.๒๖ น. ณ กุฏิทรงไทยชายน้ำ วัดบางพระ นครชัยศรี
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 06:44:42 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ พรุ่งนี้เช้าจะไปกราบและให้พระอาจารย์สั่งสอนครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ รุท หมัดหนักครับ

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 2312
  • เพศ: ชาย
  • ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    • MSN Messenger - bassudza501@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 07:38:19 »
กราบนมัสการหลวงพี่ครับ :054: :054: :054:
รักและศรัทธา

ออฟไลน์ aekaluk.s

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 17
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงพ่อ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 08:34:52 »
กราบนมัสการครับ เป็นกลอนที่ผมอ่านแล้วชอบมากครับ :054: :054: :054:

ออฟไลน์ be_ning

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 183
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 18 มี.ค. 2554, 11:41:49 »
สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง...
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 19 มี.ค. 2554, 09:37:00 »
กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ :054: ที่สั่งสอนครับ
คำว่า.... "โลกทัศน์    นำไปสู่   ชีวทัศน์"
มีความหมายที่ต้องขยายความ.....
=========

  ปรัชญา ไม่ว่าจะเป็นของชนชาติใดล้วนเกิดจากความสงสัยในธรรมชาติ  และหาวิธีที่จะเข้าใจธรรมชาติ  เพื่อสนองความใคร่รู้และกำหนดวิถีทางชีวิตและสังคมมนุษย์ พิจารณาถึงเนื้อหาและพัฒนาการด้านปรัชญา บ่อเกิดความคิดทางด้านปรัชญามาจาก   ๒  ปัจจัยหลัก  คือ

๑.     การมองชีวิตออกไปหาธรรมชาติ    เป็นความสงสัยในชีวิตว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร  เกิดแล้วทำไมต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย   พร้อมกับสืบค้นต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย  แล้วขยายอกไปสู่สรรพสิ่งว่าล้วนตั้งอยู่ในรูปแบบเดียวกันกับชีวิต   เป็นที่มาของความพยายามที่จะหาวิธีการที่จะให้มีชีวิตนิรันดร  สูงสุดหมายถึงการเข้าถึงพรหม  การเข้าถึงพระเจ้า  และการเข้าถึงนิพพาน

 ๒.  การมองธรรมชาติเข้ามาหาชีวิต   เป็นความสงสัยในธรรมชาติว่าธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร  ดำรงอยู่อย่างไร  ใครเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของธรรมชาติ  และเราจะรู้ผู้กำหนดความเป็นไปของธรรมชาติได้อย่างไร   ธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตหรือไม่  ถ้ามีอิทธิพลมีอิทธิพลในรูปแบบใด ตลอดจนกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับชีวิตมนุษย์ว่าควรจะเป็นอย่างไร

                ชีวิตจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความคิดด้านปรัชญา หากไม่มีชีวิตก็ไม่มีความคิดที่จะขยายขอบเขตโลกทัศน์ออกไปสู่โลกและจักรวาล

คำว่า "ชีวิต" เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากยิ่ง   แม้จะมีนักปราชญ์ทุกยุคทุกสมัยพยายามอธิบายความหมายของคำว่า "ชีวิต"   แต่คำอธิบายเหล่านั้นก็ยังเป็นสิ่งที่คลุมเครือไม่แจ่มแจ้งชัดเจนพอที่จะทำให้เราเข้าใจคำว่า "ชีวิต" ได้

แท้จริงแล้วคืออะไร  ชีวิตเกิดมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ลิขิตให้ชีวิตเกิด  ชีวิตควรจะดำรงอยู่ในรูปแบบใด และเป้าหมายชีวิตควรจะเป็นอย่างไร    มนุษย์ทุกชนชาติจึงพยายามอธิบายชีวิตด้วยภาษาปรัชญา   

                  มนุษย์มีความเชื่อว่าจุดหมายปลายทางของชีวิตคือความสุข การเดินทางของชีวิตมนุษย์คือการเดินเข้าหาความสุข   และการจะเข้าถึงความสุขได้ก็ต้องมีวิถีทาง  มนุษย์จึงมีแนวคิดหรือโลกทัศน์และชีวทัศน์(1) เป็นของตนเอง    และดำเนินชีวิตไปตามวิถีทางของตน   ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นจุดหมายให้เข้าถึงความสุข 

แนวคิดหรือโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่เชื่อว่าจะเป็นวิถีทางให้เข้าถึงความสุขได้ดังกล่าวนี้เองเรียกว่า "ปรัชญา"   เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามเป้าหมายของตน  เพื่อให้ชีวิตของตนเป็นสุข  มนุษย์จึงเริ่มส่อแววแสวงหาความหมายของคำว่า "ชีวิต" ตั้งแต่ปฐมวัย ความอยากรู้อยากเห็นในวัยเด็กเป็นบ่อเกิดความคิดแบบปรัชญา  เพราะธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์คือความอยากรู้อยากเห็น และพยายามแสวงหาคำตอบที่ตนสงสัยโดยเริ่มจากความครุ่นคิดคำนึงที่มีต่อธรรมชาติ   ความรู้สึกพิศวงในความร้อยเรียงเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง  ตลอดถึงสภาพแวดล้อม   สังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมนั้น ๆ

กล่าวได้ว่า  บริบททางด้านสังคมนั่นเอง   เป็นเบ้าหลอมแนวคิดทางด้านปรัชญาที่สำคัญของปัจเจกบุคคล   แต่เนื่องจากปัจเจกบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แนวคิดหรือปรัชญาในการดำเนินชีวิตของเขาจึงแนบแน่นอยู่กับสังคมอย่างแยกออกจากกันไม่ได้   เพราะวิถีชีวิตของปัจเจกบุคคลดำเนินไปภายใต้อิทธิพลของขนบธรรมเนียมประเพณี    ศาสนา ระบบค่านิยมในสังคม   และสภาวะของชีวิตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย    ซึ่งระหว่างที่มีชีวิตอยู่ปัจเจกบุคคลได้แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมากมายสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ คำพูด หรือความคิดอันเป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่สำคัญๆ

พฤติกรรมดังกล่าว   ล้วนออกมาจากทัศนะอันเป็นพื้นฐานของสังคม   เป็นจุดยืนหรือความเชื่อร่วมกันของสังคมที่เขาเป็นอยู่   อาศัยการสั่งสมและสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่งด้วยวันเวลาอันยาวนาน   หล่อหลอมขัดเกลาแนวคิดของปัจเจกบุคคล         จนกลายมาเป็นปรัชญาที่ยอมรับร่วมกันของคนในสังคม สร้างทัศนคติในการเผชิญหน้ากับชีวิตและจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีหลักการ

                ปรัชญาจึงเป็นหลักการในการดำเนินชีวิตของคนๆ หนึ่งในรอบวงจรชีวิต เริ่มตั้งแต่เกิดเป็นทารก   เป็นเด็ก   เป็นหนุ่มสาว   เป็นผู้ใหญ่   การทำงาน   ความคิด   ความเชื่อ   การเจ็บไข้ได้ป่วย   และการตายเป็นกระบวนการสุดท้าย  เป็นวิธีการมองโลกและชีวิต  อันว่าด้วยจักรวาลหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มนุษย์มีความสัมพันธ์ด้วย  เป็นระบบทั้งหมดของความคิด    ความเชื่อ  ทัศนคติ  ที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมหนึ่งๆ มีร่วมกัน   อันเกี่ยวกับปัญหาทั้งหมดของโลกและชีวิต ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิตแต่ละคนและเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคมมนุษย์ด้วยทำให้เข้าใจแนวทางในการดำเนินชีวิต   ความสำเร็จในชีวิต  ธรรมชาติของชีวิต  การทำงาน  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและมนุษย์กับโลก ซึ่งแสดงออกมาเป็นจุดยืนร่วมกันของสังคมนั้นๆ  มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีการศึกษาหรือไม่ก็ตามย่อมมีความด้านด้านปรัชญาด้วยกันทุกคน

บ่อเกิดปรัชญาไม่ว่าจะเป็นของชนชาติใดย่อมจะมีความคล้ายคลึงกัน  เพราะเกิดจากพื้นฐานทางด้านจิตมนุษย์  ถึงกระนั้นวิธีคิดทางปรัชญาก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่าง

นักปรัชญาตะวันตกศึกษาค้นคว้าปัญหาต่างๆ เฉพาะเรื่อง ทั้งทางด้านอภิปรัชญา  ญาณวิทยา จริยศาสตร์  ตรรกศาสตร์  และสุนทรียศาสตร์ นักปรัชญาตะวันตกแยกปรัชญาออกเป็นส่วนหนึ่งจากการดำเนินชีวิต ในขณะที่ปรัชญาไทยศึกษาค้นคว้าปัญหาต่างๆ เหล่านั้นรวมกัน และไม่ได้แยกปรัชญาออกเป็นส่วนหนึ่งจากการดำเนินชีวิต ซึ่งนับได้ว่าระหว่างปรัชญาตะวันตกและปรัชญาไทยนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านระบบความคิดและวิธีการนำเสนอ


[1]  ระวี  ภาวิไล  กล่าวว่า  "คำว่า ทัศน์ แปลว่า ความคิดเห็น คำว่า โลก  หมายถึง สภาวะทั้งปวงที่รับรู้ได้  แม้ยังไม่รู้ ก็ครอบคลุมถึงที่อาจรู้ได้ ดังนั้น คำว่าโลกทัศน์ จึงมุ่งถึงความคิดเห็นว่าสภาวะทั้งปวงเป็นอย่างไร  คำว่า ชีวทัศน์ หมายถึง ความเห็นว่าชีวิตเป็นอย่างไร  การนำสองคำมาเรียงต่อกัน คือ โลกทัศน์ ชีวทัศน์  มุ่งแสดงด้วยถึงความสัมพันธ์ที่แยกไม่ออกระหว่างโลกกับชีวิต โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ที่มีช่องทางรับรู้และสติปัญญาคิดตริตรอง  พิจารณาในขั้นต้นจะเห็นว่า  ถ้าไม่มีชีวิตที่รับรู้ได้แล้ว การมีอยู่ของโลกย่อมไม่ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีความคิดเห็นใดๆ ไม่ว่าในเรื่องของโลกหรือชีวิต ความคิดเห็นเรื่องโลกและชีวิตจึงควรดำเนินไปด้วยกัน"  (ระวี  ภาวิไล, โลกทัศน์ชีวทัศน์เปรียบเทียบวิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม ๒๕๔๓), หน้า  ๑).

ศาสตราจารย์  ดร.วิทย์  วิทศเวทย์  กล่าวว่า  "โลกทัศน์ก็คือ ความเชื่ออันเป็นระบบ ในวิถีชีวิตของคนๆ  หนึ่ง เขาอาจพูดคิด ทำอะไรต่ออะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลายหลากนี้จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของทัศนะพื้นฐานเดียวกัน ทัศนะพื้นฐานนี่แหละคือโลกทัศน์ของคนๆ นั้น  ทุกคนมีโลกทัศน์ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม"  (วิทย์  วิศทเวทย์, ศาสตราจารย์ ดร., ปรัชญาเบื้องต้น, จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์,  ๒๕๔๐), หน้า  ๑๗๖).

ที่มา จากหนังสือ ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชาไทย ผู้แต่ง ญาณวชิระ
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ