ผู้เขียน หัวข้อ: ของดี ๆ  (อ่าน 1447 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ joker

  • ใจและจิตต้องดูแลให้สดใสและมีกำลังเสมอ
  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 218
    • ดูรายละเอียด
ของดี ๆ
« เมื่อ: 23 พ.ย. 2550, 05:41:12 »
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakl6TVRFMU1BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd055MHhNUzB5TXc9PQ==




 จำนวนคนอ่านล่าสุด 16 คน  วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6203 ข่าวสดรายวัน


พรขอกันได้ไหม

ธรรมะใต้ธรรมาสน์

ไต้ ตามทาง



ดูอย่างนางวิสาขาขอพร พระพุทธเจ้า 10 ประการคือ

ขอให้ตนมีโอกาสถวายสิ่งต่างๆ แก่พระสงฆ์ เช่น พระภิกษุกำลังจะเดินทาง, พระภิกษุอาคันตุกะ, พระภิกษุไข้, พระภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้, ถวายยารักษาโรคแก่ภิกษุไข้, ถวายข้าวยาคูประจำ, ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุ และภิกษุณี

ล้วนแต่ขอโอกาสให้ได้ "กระทำ" เหตุที่จะให้เกิดสิ่งที่ดีงาม อันจะตามมาภายหลัง มิได้ขอ "ผลโดยไม่อยู่บนพื้นฐานของการกระทำ"

พระอานนท์ ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากประจำพระพุทธองค์ ก็ขอ "พร" ไว้แปดประการ คือฝ่ายอย่า 4 ฝ่ายจง อีก 4

- 1-4. อย่าพาไปในที่ทรงรับนิมนต์แล้ว, อย่าให้อยู่ในพระคันธกุฎีของพระพุทธองค์, อย่าประทานอาหารอันประณีตแก่ท่าน, อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน

- 5-8. จงพาไปฟังด้วยถ้าเสด็จไปเทศน์ที่ไหน, จงแสดงซ้ำให้ฟังด้วย ถ้าท่านไม่มีโอกาสไปฟัง, จงเปิดโอกาสให้ทูลถามทันทีเมื่อเกิดความสงสัย, จงอนุญาตให้พาอาคันตุกะแต่ไกลเข้าได้ทันที พรสี่ข้อข้างต้น เพื่อป้องกันครหาว่า ท่านพระอานนท์รับตำแหน่งเพราะเห็นแก่อามิส สี่ข้อสุดท้าย เพื่อป้องกันพระเกียรติยศของพระพุทธองค์ และตัวท่านเองด้วย เขาจะกล่าวหาว่า อยู่กับพระพุทธเจ้า ยังไม่รู้อะไรเลย สูตรนี้ตรัสแก่ใครที่ไหน ถามอะไรไม่รู้สักอย่าง, หรืออาจครหาว่า พระพุทธเจ้านี่อะไร กระทั่งศิษย์รับใช้ใกล้ชิดก็ไม่สอนอะไร แล้วจะไปสอนคนอื่นได้อย่างไร

พร หรือการขอพรอย่าง ขอให้ได้โอกาส ที่จะกระทำสิ่งที่ดีงาม ที่พึงประสงค์ ผู้ให้พร ก็ให้โอกาสให้ผู้ขอได้กระทำเหตุอันที่จะอำนวยผลในทางดี ในทางที่พึงประสงค์นั้น

พร และการขอพร ในแง่พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้จริงนั้น ไม่ขัดกับหลักกรรม คืออยู่บนพื้นฐานของการกระทำของผู้นั้นเอง การให้พร ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้เขาได้ทำเอง หรือสนับสนุนให้กำลังใจเท่านั้น

พูดเรื่องพร ขอโยงไปถึง บารมี บารมีเดิมแปลว่า คุณสมบัติหรือคุณธรรมที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง คุณธรรมเหล่านี้เราต้องกระทำ ต้องบำเพ็ญด้วยตัวเราเอง จนกระทั่งครบสมบูรณ์ ท่านจึงเรียกบารมีสมเด็จพระเทพฯ เมื่อทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่องทศบารมีในคำสอนเถรวาท พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตไว้ว่า

บารมี เดิมเป็นเหตุให้ถึงความเต็มเปี่ยม เป็นแนวทาง ต่อมาบารมีกลายมีความหมายเป็น ความเต็มเปี่ยม เป็นจุดหมายเสียเอง (ในพระบาลีท่านเรียกบารมีสอบว่า พุทธการกธรรม-ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า มิใช่พุทธธรรม ธรรมของพระพุทธเจ้า)

ข้อนี้น่าคิด ในเรื่องพรนี้ก็เช่นเดียวกัน เดิมเป็นการเลือกที่จะกระทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อให้ได้ผลที่ดีงาม หรือเลือกที่จะสร้างเหตุ ที่จะอำนวยผลในทางที่ดีงาม ผู้ให้พร ก็คือผู้เปิดโอกาสให้ผู้นั้นๆ ได้เลือกกระทำตามปรารถนา และ/หรือเป็นผู้ให้กำลังใจเท่านั้น

แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น การขอในสิ่งดีๆ ที่ตนอยากได้ คือขอตามที่ตนอยาก ไม่อยู่บนพื้นฐานของการกระทำ เข้าข่าย การอ้อนวอนร้องขอ ดุจคนขอทานขอข้าวขอเงินทองจากคนอื่น อันเป็น "แนวคิด" ของลัทธิที่เชื่อถือพระเจ้า เชื่อในอำนาจสูงสุดของพระเจ้า

สรุปแล้ว พรแบบพุทธ เดิมก็สอดคล้องกับหลักการพึ่งตน หลักกรรม ทำเหตุเพื่อให้ผลที่สอดคล้องกับเหตุ กลายมาเป็นขอในสิ่งที่อยากได้ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ กลายจากแนวคิดของพุทธแท้ เป็นพุทธผสมพราหมณ์ฮินดู

ดีอยู่หน่อยที่ไม่ขอในสิ่งที่เป็นอกุศล ขอในสิ่งที่จะเป็นการเบียดเบียนรังแกคนอื่น ดังลัทธินับถือเทพเจ้า ดังกรณีนนทุก ผู้เฝ้าประตูสวรรค์ ถูกเทวดาชั้นผู้ใหญ่เขกศีรษะทุกครั้งที่เข้าเฝ้าพระอิศวร เจ็บใจ จึงไปขอพรให้มีนิ้วเพชรจากพระอิศวร พระอิศวรก็มิได้ถามไถ่ว่าขอไปทำไม เอาไปเพื่อสร้างสรรค์หรือทำลาย ก็ให้ไป พอได้นิ้วเพชรแล้วก็ชี้เทวดาที่ทำให้ตนเจ็บใจ ตายเป็นเบือ

ถึงการขอพรของชาวพุทธยุคหลังจะเพี้ยนไปจากแนวคิดเดิม ก็ไม่เพี้ยนขนาดขอพรเพื่อไปทำลายคนอื่น สัตว์อื่น ไม่มีการสาปการแช่งในพระพุทธศาสนา นอกจากให้แสดงเมตตาอย่างเดียว ข้อนี้เป็นลักษณะเด่นและดีงามยิ่งของพระพุทธศาสนา

พูดถึงเมตตา และการแผ่เมตตา เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องพร และให้พร เราจะเห็นว่า นี้เป็นวิธีการขอพรและให้พรอย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้แผ่เมตตา แล้วจะได้ผลดีหลายประการ เช่น นอนเป็นสุข หลับเป็นสุข ไม่ฝันร้าย ใบหน้าผ่องใส เทวดารักใคร่ มนุษย์ทั้งหลายรักใคร่ ไม่ต้องอาวุธ ยาพิษ หรือไฟไหม้ จิตเป็นสมาธิเร็ว ไม่ใหลตาย (คือตายด้วยอาการสงบ) ถ้าไม่บรรลุคุณธรรมชั้นสูง ตายไปอย่างน้อยก็เกิดในพรหมโลก

การจะแผ่เมตตาได้ หรือมีคุณสมบัติจะพึงแผ่เมตตา ต้องขอพร คือเลือกที่จะกระทำเหตุที่สมควรแก่การแผ่เมตตา และได้รับผลดังกล่าว

อันนี้ก็คือ ขอโอกาสตัวเอง และให้โอกาสตัว ที่จะสร้างคุณสมบัติพอที่จะแผ่เมตตาและรับผลของเมตตา เช่น

จะต้องเป็นผู้อาจหาญ, ซื่อตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่มีอติมานะ (ความถือตัว), สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีกิจธุระวุ่นวายน้อย, ปฏิบัติเบากายเบาจิต, สำรวมอินทรีย์, มีปัญญา, ไม่คะนอง, ไม่พัวพันในตระกูลทั้งหลาย, ไม่ทำการที่วิญญูชนติเตียนได้

เมื่อเลือกที่จะปฏิบัติดังข้างต้นและได้ปฏิบัติแล้ว (คือเมื่อขอพรและให้พรตนเอง) จากนั้นก็ให้แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทำได้อย่างนี้ผลที่พึงปรารถนาจึงจะเกิดขึ้น

ที่นี้ การขอพร การให้พรนั้น มองให้กว้างให้ลึก จะเห็นว่า สอดคล้องกับการปฏิบัติธรรม พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมที่ปฏิบัตินั้น ต้องปฏิบัติให้หลักการกับเป้าหมายสอดคล้องกัน ดังคำว่า "ธัมมานุธัมมปฏิปันโน" = ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยธรรมใหญ่, ปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกันระหว่างหลักการและเป้าหมาย"

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป้าหมายคือความร่ำรวย มั่นคงทางเศรษฐกิจ หลักการปฏิบัติก็ต้อง อุ.อา ก.ส. (ขยันหา-เก็บออม-คบคนดีเกื้อกูลแก่อาชีพ-เป็นอยู่เหมาะสมแก่ฐานะ)

การให้พร ที่พระท่านให้นั้น ท่านจะบอกเป้าหมายก่อน แล้วบอกการกระทำที่ให้บรรลุเป้าหมายนั้น และเน้นตลอดว่า จะได้ตามนั้น ต้อง "ขอพร" คือเลือกปฏิบัติอะไรบ้าง

เช่น ในจูฬกัมมวิภังคสูตรตรัสว่า

อยากอายุยืน ต้องไม่ฆ่าสัตว์

อยากสุขภาพดีไม่มีโรค ต้องไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น

อยากผิวพรรณงาม ต้องไม่มักโกรธ

อยากมีอำนาจมาก ต้องไม่มักอิจฉา

อยากร่ำรวย ต้องไม่ตระหนี่ ให้ทานเสมอ

อยากเกิดในตระกูลสูง ต้องไม่เย่อหยิ่งจองหอง

อยากฉลาดมีปัญญา ต้องหมั่นเสวนาผู้รู้ สนใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ

คือต้องทำเหตุให้สอดคล้องกับผล และต้องทำจริงๆ จึงจะได้ผลนั้น

เวลาท่านให้พร ท่านไม่กล่าวในทำนอง "ขอร้อง" หรือ "อ้อนวอน" ท่านจะสอนหลักแห่งการกระทำให้ทำตามนั้น แล้วผลจะมีมาเอง ดังคำอวยพรที่พระท่านให้ประจำคือ

อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้ที่นบไหว้เสมอ

มีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลเป็นนิจ

ให้สังเกตว่า ท่านใช้ปัจจุบันกาล (ย่อมเจริญ) ไม่ใช่ในทำนองขอร้อง (จงเจริญ) แต่ปัจจุบัน มีผู้เปลี่ยนให้เพี้ยนไปเป็น "จงเจริญไปก็มี เท่ากับทำแนวคิดเดิมให้เขวไป

หน้า 29

 

 
 
 
 

 

 

 

 
   
   
 
 
Copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved

ออฟไลน์ prathomsak

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 631
  • เพศ: ชาย
  • โอม หนุมานะ
    • MSN Messenger - prathomsak-pong@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • www.hi5.com
    • อีเมล
ตอบ: ของดี ๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 พ.ย. 2551, 11:34:53 »
สาธุ
เวลาของเรามีน้อยนัก หมั่นทำบุญทำกุศลกันเถิด จักเกิดผล