ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"  (อ่าน 20428 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 08:54:48 »
  เหตุที่ผมใช้ชื่อ "สิบทัศน์" เป็นเพราะว่า บ้านผมตั้งอยู่บนพื้นที่ "โคกยายหอม" หรือ "เนินพระ" อันเป็นต้นกำเนิดของ "พระพิมพ์สิบทัศน์ วัดดอนยายหอม"  ( สำนึกรักบ้านเกิด ) จึงขอนำประวัติมาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขปครับ
   

   โคกยายหอม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า "เนินพระ" ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิด "พระสิบทัศน์" ของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ หลวงพ่อเงินท่านริเริ่มจะสร้างพระอุโบสถ วัดดอนยายหอม ท่านจึงไปขุดอิฐทำรากที่บริเวณ โคกยายหอม ก็บังเอิญ พบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนาอันล้ำค่ามากมาย อายุนับพันปี เช่น เสาหินแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่,รูปปั้นกวางเหลียวหลัง,เสมาธรรมจักร (ทั้งหมดนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดดอนยายหอม)   นอกจากนี้ ยังได้พบแม่พิมพ์พระเครื่อง มีพระพุทธรูป 10 องค์  อยู่ในแม่พิมพ์เดียวกัน  ต่อมาทางวัด ได้นำแม่พิมพ์นี้ไปพิมพ์พระเครื่องสำหรับแจก แล้วขนานนามพระเครื่องนั้นว่า "พระสิบทัศน์" มาจนบัดนี้

   พระสิบทัศน์นี้ จัดอยู่ในพระเครื่องชุดแรกๆที่หลวงพ่อเงิน ท่านได้สร้างเอาไว้เพื่อ แจกแก่ชาวบ้านที่มาร่วมสรางพระอุโบสถ วัดดอนยายหอม ( ประมาณ พ.ศ 2480 ) เริ่มแรก สร้างได้ราว 100 องค์ สำหรับแจกแก่ผู่ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ช่วยเหลือวัดในการสร้างพระอุโบสถ
   ในระยะเวลาเดียวกันนั้น มีผู้นำแท่งเงินที่ขุดเจอ มาถวายหลวงพ่อเงิน คณะกรรมการวัดจึงได้นำไปใช้ทำพระชนิดต่างๆ รวมถึงพระสิบทัศน์ด้วย 

   ต่อมา ราวๆปี พ.ศ.2496 ทางวัดจะจัดสร้างโรงเรียนประชาบาล ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ และต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อที่ดิน ( 3 ไรเศษ ตารางวาละ 130 บาท เป็นเงิน 175,550 บาท ) ทางวัดได้สร้างพระสิบทัศน์ ( มีทั้งเนื้อดิน และเนื้อโลหะ แจกแก่ผู้มาร่วมการกุศลตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป พระอื่นๆก็กำหนดมูลค่าลดหลั่นกันไป เข้าใจว่าถือขนาดพระ )และพระเครื่องอื่นๆ

ราวๆปี พ.ศ.2505 ทางวัดได้สร้างพระสิบทัศฯขึ้นอีกคราวหนึ่ง เป็นเนื้อโลหะ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ คุณนายริ้ว กรรณสูตร ได้นำใบจักรของเรือรบหลวงศรีอยุธยา มาถวายหลวงพ่อเงิน ( เพื่อเป็นการแทนคุณ ที่หลวงพ่อเงินช่วยกู้เรือรบหลวงศรีอยุธยา ที่ถูกระเบิดจมลงในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดอรุณราชวราราม คราวกบฏแมนฮัตตันที่กรุงเทพฯ ) เพื่อจะหล่อเป็นระฆัง เมื่อหล่อระฆังเสร็จแล้ว ยังเหลือเนื้อโลหะอยู่อีกส่วนหนึ่ง หลวงพ่อเงินจึงได้นำมาสร้างพระเครื่อง ( รวมถึงพระพิมพ์สิบทัศน์ด้วยส่วนหนึ่ง ) น้อยท่านนักที่จะทราบเรื่องนี้

   พ.ศ.2512 เป็นปีที่มีเสาร์5 ประกอบกับลายรดน้ำและหน้าบรรพ์โบสถ์ของวัดทรุดโทรม คณะกรรมการวัดจึงมีมติสร้าง พระสิบทัศน์ แต่หลวงพ่อเกรงว่าจะเป็นการฉวยโอกาส ท่านจึงไม่เห็นด้วย แต่ด้วยความจำเป็นและทนต่อคำเรียกร้องของลูกศิษย์ไม่ไหว ท่านจึงอนุญาตืให้จัดสร้างขึ้น มีพระสิบทัศน์และพระพุทธรูปบูชา   พระสิบทัศน์ มี 3 แบบ จัดทำอย่างละ 10,000 องค์ พระบูชา จำนวน 200 องค์ ) นอกจากนี้ยังมีพระผงจากอินเดียจำนวนหนึ่งด้วย 
   พระที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2512 นี้ กล่าวกันว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวัดดอนยายหอมเลยทีเดียว ปลุกเสกโดยคณะสงฆ์วัดดอนยายหอม (หลวงพ่อเงิน,หลวงพ่อแช่ม,หลวงพ่ออวยพร) สมกับคำที่ว่า "ชาติเสือ ไม่ขอเนื้อใครกิน"

   9 มีนาคม พ.ศ. 2517 ทางวัดได้สร้างพระเครื่องขึ้น ในงานทำบุญอายุ 84 ปี ( 7 รอบ ) พระราชธรรมาภรณ์ ทางวัดได้จัดสร้างพระสิบทัศน์ด้วย มีทั้งเนื้อดินผสมผงใบลานเผา และเนื้อผงพุทธคุณสีขาว อีกวาระหนึ่ง

   เมื่อหลวงพ่อเงินถึงกาลมรณะภาพไป หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สานต่อวิชาที่หลวงพ่อเงินได้ฝากฝังไว้ หลวงพ่อแช่ม ท่านได้สร้างพระเครื่องไว้มากมาย 1 ในนั้น ก็มีพระพิมพ์สิบทัศน์ด้วย
   ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม ได้ละสังขารไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้สืบสานต่อวิชาของหลวงพ่อเงินไว้ได้เป็นอย่างดี คือ หลวงพ่อประพันธ์ ( เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ) และ หลวงพ่ออวยพร ( รองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม )  ท่านก็ได้สร้าง พระสิบทัศน์ สืบต่อมา ตำนาน "สิบทัศน์" จึงได้เล่าขานมาสู่ทุกวันนี้

   


คติธรรม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
"จิตหาญ ใจพ้นทุกข์ สุขด้วยธรรม"
"รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน"

ออฟไลน์ punkzilla

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 147
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 09:00:25 »
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนมากๆค่ะ  ;)
ความดีเหมือนกางเกงใน ต้องมีติดตัวไว้ แต่ไม่ต้องโชว์ ^^*

ออฟไลน์ ๛ตี๋ใหญ่๛

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 97
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - unif_cyber@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 09 เม.ย. 2551, 09:47:00 »
ขอบคุณครับ ได้ความรู้อีกแว้วว
เมตตาอยู่หน้าสุด มหาอุดดุจดวงแก้ว คลาดแคล้วเป็นเครื่องกัน คงกระพันอยู่ข้างใน

ออฟไลน์ แดง ไบเล่

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 109
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 เม.ย. 2551, 03:47:33 »
สวัสดีพี่สิบทัศ นานๆ มา ที อิอิ  :)

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 10 เม.ย. 2551, 08:03:51 »
สมชื่อเลยนะจ้ะ  ;D

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 10 เม.ย. 2551, 10:52:20 »
 ;) ครับ ขอบคุณข้อมูลมากๆเลย ครับ .....เรื่องมีอยู่ว่าแบบนี้นี่เอง

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10 เม.ย. 2551, 11:10:57 »
บารมี 30 ทัศน์ ประกอบไปด้วย ตัวบารมีเอง อุปะบารมี และ ปรมัตถ์บารมี
1.ทานบารมี
2.ศีลบารมี
3.เนกขัมบารมี
4.ปัญญาบารมี
5.วิริยะบารมี
6.ขันติบารมี
7.สัจจะบารมี
8.อธิฐานบารมี
9.เมตตาบารมี
10.อุเบกขาบารมี

ออฟไลน์ sunjiaa

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 55
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 11 เม.ย. 2551, 03:42:25 »
เยี่ยมไปเลยครับพี่ ไว้ว่าง ๆ ไปวัดด้วยกันมั๊ยคับ
หุหุ

ออฟไลน์ ภานุวัฒน์

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 41
  • เพศ: ชาย
  • มีของดี ทำดี แล้วจะได้ ดี
    • MSN Messenger - gangster_poppylove_74@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ความเป็นมาของ "สิบทัศน์"
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 11 เม.ย. 2551, 08:00:36 »
ขอบคุงครับ