ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปเชียงแสน  (อ่าน 15169 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
พระพุทธรูปเชียงแสน
« เมื่อ: 19 เม.ย. 2551, 11:39:36 »
บทความโดย - อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์





ในประเทศไทยนั้นมีพระพุทธรูปมากมายหลายแบบหลายสมัย ซึ่งแต่ละแบบแต่ละสมัยก็จะมีความแตกต่างทางศิลปะตามอิทธิพลของถิ่นกำเนิดและศิลปะต้นแบบ "พระพุทธรูปเชียงแสน" เป็นพระพุทธรูปอีกศิลปะหนึ่งที่สำคัญและมีต้นกำเนิดจากทางภาคเหนือครับผม

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาคเหนือของประเทศไทยเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่ชื่อว่า "อาณาจักรเชียงแสน" ในราวรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทมหาราชแผ่อำนาจเข้ามาปกครองเมืองเชียงแสน พระองค์ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน (เถรวาท) อย่างพุกามเข้ามาเผยแผ่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลัทธิหินยานที่เข้ามาทางประเทศอินเดียฝ่ายเหนือผ่านมอญและพม่า

อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เอง การสร้างพระพุทธรูปจึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียสกุลช่างปาละ ซึ่งมีพุทธลักษณะที่สำคัญคือ พระรัศมีทำเป็นแบบดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาทำเป็นก้นหอยใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอูมสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือพระอังสาซ้ายสั้นและปลายแตกเป็นปากตะขาบ นิยมสร้างเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และปรากฏพระบาททั้งสองข้าง และตั้งชื่อพระพุทธรูปศิลปะแบบนี้ว่า "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน" เชื่อกันว่าเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ของไทย

"พระพุทธรูปเชียงแสน" ไม่ได้มีจำกัดอยู่เฉพาะที่เมืองเชียงแสนเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงเมืองเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน และเลยเข้าไปยังเมืองหลวงพระบางและนครเวียงจันทน์ ด้วยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้เข้ามามีอำนาจอยู่ในนครเชียงใหม่ช่วงระยะหนึ่ง และกวาดต้อนชาวเชียงใหม่ที่มีฝีมือในการสร้างพระพุทธรูป ไปสร้างพระพุทธรูปในเขตเมืองหลวงพระบางและเมืองเวียงจันทน์ จึงได้เกิดเป็นพุทธรูปศิลปะอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "พระเชียงแสนลาว" หรือ "พระพุทธรูปแบบเชียงแสนนอกเมือง" มีอายุเทียบได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประมาณอายุใกล้เคียงกับ "พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์ 3" หรือสมัยอยุธยา ยังมีการค้นพบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยทั่วไป ซึ่งเป็นต้นแบบฝีมือสกุลช่างปั้นพระพุทธรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยต่อมา พระพุทธรูปเชียงแสนยังได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากพุทธศิลปะประเทศลังกา ซึ่งเผยแผ่เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกิดเป็นพุทธศิลปะอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนลังกาวงศ์"

สรุปว่าพระพุทธรูปเชียงแสนนั้น มีมาก มายหลายสกุลช่าง และได้มีการสืบสานการสร้างตลอดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี พุทธลักษณะหลักมีดังนี้ พระเกศทำเป็นพระเกศบัวตูม พระศกทำเป็นขมวดก้นหอย และเม็ดพระศกค่อนข้างเขื่อง พระพักตร์อวบอูมดูสมบูรณ์ และปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย พระเนตรเป็นแบบเนตรเนื้อ (ไม่ฝังมุก) พระหนุเป็นรอยหยิก พระวรกายอวบอ้วนสมบูรณ์ ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวนมและแตกเป็นปากตะขาบ ซึ่งจะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1" ถ้ายาวเลยราวนมลงมาเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 2" และสุดท้ายถ้ายาวลงมาจรดพระหัตถ์ จะเรียกว่า "พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 3" ครับผม


ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระพุทธรูปเชียงแสน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 เม.ย. 2551, 09:58:51 »
 :) สุดยอดจิงๆ ครับ .........เยี่ยมเลย ครับ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระพุทธรูปเชียงแสน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 เม.ย. 2551, 02:59:14 »
เยี่ยมครับ บทความดีดีจาก สิบทัศน์ อีกแล้ว  ;D

ออฟไลน์ ลูกชายพ่อสังวรณ์

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 351
  • เพศ: ชาย
  • พุททังกันตัง
    • MSN Messenger - pom_146@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระพุทธรูปเชียงแสน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 เม.ย. 2551, 08:40:37 »
ที่ไหนครับนี่อยากไปมั่งจัง :-*
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นเรื่องธรรมดา
ยากดีมีจนก็แล้วแต่กรรมที่ทำมา