ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์  (อ่าน 3010 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 02:11:05 »


ประเพณีสงกรานต์
ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม ฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า ?สงกรานต์? มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนไทยมาช้านาน

การย้ายของพระอาทิตย์เข้าไปจักรราศีใดราศีหนึ่ง จะเป็นราศีใดก็ได้ แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้ หมายเฉพาะวันและเวลา ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่านั้น

 ตำนานเกี่ยวกับกำเนิดวันสงกรานต์
กล่าวไว้ว่า ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐี สบประมาทในความมีทรัพย์มาก
แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไร จึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรม ท่านจึงไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจน แต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ

นับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนา จนวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ ?ธรรมบาล? ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร
เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท ยังมีเทพองค์หนึ่งชื่อ


?ท้าวกบิลพรหม? ได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า

1. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
2. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
3. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด

 

เ มื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัด วันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า ?พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน? นกสามีก็ตอบว่า ?พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้? นางนกถามว่า ?ปัญหานั้นว่าอย่างไร? นกสามีตอบว่า ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ และหมายถึง

ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ข้อสาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน

 
ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง 7

ของตนอันเป็นบริจาริกาคือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรร
มบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ นางทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก

 

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 02:14:21 »
นางสงกรานต์
นางสงกรานต ์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า ?นางสงกรานต์? ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้



 นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง



ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 02:16:19 »
กิจกรรมวันสงกรานต์
วันจ่ายสงกรานต์
ในวันจ่ายสงกรานต์ นอกจากเตรียมเครื่องเสื้อผ้าใหม่ๆ ไว้แต่ง เขายังทำขนมกวน สำหรับทำบุญถวายพระ และแจกชาวบ้าน ขนมนั้นโดยมากเป็นขนมเปียกข้าวเหนียวแดง และขนมกะละแมเป็นพื้น การแจกนอกจากจะเป็นเครื่องแสดงไมตรียังเป็นเรื่องอวดฝีมือด้วยว่าใครกวนขนมได้ดีกว่ากัน

การทำขนมในวันนี้นั้น ถ้าบ้านไหนเจ้าบ้านเป็นผู้มั่งคั่งก็ต้องกวน ขนมอย่างนั้นกันเป็นจำนวนมาก จึงจะพอแจกจ่ายให้สมกับฐานะที่เขากวนในวันสงกรานต์ เพื่อแจกแก่ชาวบ้านเพื่อนบ้าน ก็เพราะ สมัยนั้นหาซื้อได้ยาก จึงต้องทำช่วยตัวเองคนแต่ก่อนไม่มีขนมมาขาย อยากกินก็ต้องทำกินเอง เหตุนี้ในวันสงกรานต์หรือว่าในงานอะไร จึงต้องกวนขนมกันเป็นงานใหญ่ สำหรับเลี้ยงพระ และแจกแก่ผู้ที่นับถือและเพื่อนบ้าน จึงได้มีการกวนขนมกันในเทศกาลสงกรานต์และตรุษสารท มีประเพณีสืบกันมาที่ชาวตะวันตกทำเค้กปีใหม่ไปให้กันหรือกำนัลใคร ที่เรานำแบบอย่าง ชาวตะวันตกมาเพราะสะดวก



 ทำบุญตักบาตร
สงกรานต์วันต้นหรือวันมหาสงกรานต์ ชาวบ้านลุกขึ้นแต่ไก่ขัน เพื่อเตรียม ไปตักบาตรถวายพระ พอหุงหาอาหารเสร็จ ก็จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระ บรรจุลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามอย่างดี แล้วแต่จะมี แล้วเอาวางเรียงลงในถาด หรือภาชนะอย่างอื่นๆ ที่นิยมในท้องถิ่น เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตนเรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใหม่ ซึ่งเตรียมหาไว้ ก่อนหน้าวันสงกรานต์หลายวัน โดยเฉพาะหญิงสาวจะได้แต่งตัวให้สวยพริ้ง เพื่อไปอวดตามวิสัยของคนหนุ่มคนสาวที่รักสวยรักงาม และหญิงสาวพวกนี้ และที่เป็นคนยกเครื่องไทยธรรมของทำบุญ หลังจากตักบาตรเสร็จแล้ว มีเลี้ยงพระฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ โดยมัคนายกเป็นผู้จัดการเรื่องปูเสื่อสาดอาสนะ พอพระฉันเสร็จ ยถาสัพพีอนุโมทนาแล้ว ชาวบ้านก็กลับบ้านกันไป



 ก่อพระเจดีย์ทราย
ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะต้องก่อในวันสงกรานต์ ถึงวันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับ สงกรานต์ ก็มีก่อกัน และไม่จำเป็นต้องก่อที่ในวัดบางแห่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ตอนเหนือๆ ก่อพระเจดีย์ทรายที่หาดทรายในแม่น้ำก็มี เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ในวันก่อ เขามีทำบุญเลี้ยงพระที่หาดทรายด้วย เรียกกันว่า ก่อพระทรายนำไหล เสร็จแล้วก็มีเลี้ยงพระและเลี้ยงดูกันส่วนทางภาคอีสาน บางแห่งเขาทำบุญสงกรานต์เป็นสองระยะ ระยะแรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์

ทางอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตรกลางบ้านเหมือนกัน คือเลี้ยงพระกันที่สองข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการตักบาตรจะทำกันที่ไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวกและนัดกัน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการก่อพระเจดีย์ทราย เป็นสองตอน ตอนที่หนึ่งก่อที่ลานวัดในวันตรุษ และอีกตอนหนึ่งก่อที่ลานบ้านในวันมหาสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทรายที่กลางลานบ้านเขาก่อแต่องค์เดียวเป็นส่วนรวม จะขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็แล้วแต่กำลังที่จะไปหาบขนเอาทรายมาได้มากน้อยเท่าไหร่สำหรับก่อ

ทรายที่จะนำมาก่อนั้นเอามาจากลำห้วยลำธารหรือตามหาดทรายในแม่น้ำ แล้วแต่จะสะดวก การขนทรายก็ไม่ต้องจ้างใครที่ไหน พวกหนุ่มๆ สาวๆ และเด็กๆ นั่นแหละเป็นผู้โกยไปขนใส่กระบุงหาบคอนกันมาเวลาเย็น



 ปล่อยนกปล่อยปลา
เรื่องปล่อยนกปล่อยปลานั้น ที่ทำกันมากคือปล่อยปลา เพราะในกรุงเทพฯ ถ้ามีเงินก็หาซื้อเอาไปปล่อยได้สะดวก ปลาที่ปล่อยโดยมากเป็นปลาชนิดที่เขาไม่กินกัน เพราะเป็นลูกปลาตัวเล็กๆ จับเอามามากๆ ได้สะดวกเพราะ มันตกคลักจับเอามาได้ก็รวมเอามาขายส่ง โดยมากเป็นลูกปลาหมอ เพราะมันอดทน ไม่ตายง่ายเหมือนปลาชนิดอื่น

การแห่ปลา พวกผู้ชายจะไม่แห่ปลาในตำบลของตน แต่มีประเพณีว่า ชายตำบลนี้ต้องเข้าร่วมแห่ปลาตำบลโน้นเพื่อเชื่อมสามัคคีกัน

เรื่องปล่อยนกปล่อยปลา ที่มักทำกันในวันสงกรานต์ เพราะก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็นห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย

 บังสุกุลอิฐ
นอกจากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอัฐญาติ ผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียวจะทำในวันสงกรานต์วันไหนแล้วแต่จะสมัครใจและนัดหมายกัน โดยมากทำในวันสรงน้ำพระ หรือไม่ก็ทำกันใน วันท้ายวันสงกรานต์ ถ้าจะทำกันในวันแรกของสงกรานต์ เมื่อพระฉันเพลแล้ว ให้เสร็จธุระกันไปก็ได้ ตามประเพณีแต่ก่อนเขาไม่เอาอัฐิเข้าบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านมักฝังญาติผู้ใหญ่ไว้ใต้โคนต้นโพในวัด ฝังไส้ตรงเหลี่ยมไหนรากไหนของต้นโพเขาจำเอาไว้ และนิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น

เรื่องบังสุกุลอัฐิในวันสงกรานต์ ถ้าว่าถึงประเพณีชาวฮินดูก็ไม่มี เพราะเมื่อเขาเผาศพแล้ว ตามปกติก็ทิ้งอัฐิ
และเถ้าถ่านลงในแม่น้ำ โดยเฉพะแม่น้ำคงคา เพราะฉะนั้นเรื่องบังสุกุลอัฐิก็คงเป็นประเพณีเดิมของเรา
ไม่ใช่ได้มาจากอินเดีย ในท้องถิ่นเราบางแห่ง เมื่อถึงวันสงกรานต์ เขามีพิธีบวงสรวงผีปู่ย่าตายาย ประจำหมู่บ้าน ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า ผีปู่ตา และภาคพายัพเรียกว่า ผีปู่ย่า ภาคปักษ์ใต้เรียกว่า ผีตายาย และผีประจำเมืองคือผีหลักเมือง และ ผีเสื้อเมืองด้วย

ทางภาคกลางมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำ ข้าวเก็บผักหักฟืน อันเป็นงานประจำวันครัวเรือนและเป็นงานอยู่ในหน้าที่ของผู้หญิง จะต้องเตรียมหาสำรองเอาไว้ให้พร้อม
ก่อนถึงวันสงกรานต์ จะได้ไม่กังวล



 สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ
การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

สรงน้ำพระเสร็จแล้ว ก็ชวนกันเล่นสนุก สาดน้ำ และเลี้ยงกันที่ลานวัด ของที่เลี้ยงมีขนมปลากริมไข่เต่า และลูกแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งชาวบ้านเรี่ยไรออกเงิน และจัดทำเอามาเลี้ยงกันด้วยความสามัคคี

เหตุที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค ฯลฯ



 รดน้ำดำหัว
เครื่องดำหัวของภาคพายัพ ที่เขานำไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพญาวัน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าใหม่สำหรับผลัด เขายังมีหมากพลูไปด้วย เพราะหมากพลูเป็นเครื่องแสดงความเคารพนับถือ และเป็นเครื่องแสดงไมตรีจิตด้วยอีกโสดหนึ่งและยังมีน้ำส้มป่อยและน้ำอบ

น้ำส้มป่อยเป็นของใช้แทนสบู่ที่เมื่อก่อนยังไม่มีสิ่งนี้ สำหรับสระผมและชำระร่างกาย ผู้ใหญ่เมื่อรับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อยและน้ำอบประพรมบนศีรษะพอเป็นกิริยา ว่าได้ดำน้ำสระหัวแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ศีลให้พร กันตามประเพณี

อนึ่งในวันนี้บางคนยังนำเสื้อผ้าของเขาสำรับหนึ่ง ต่างคนเอาบรรจุลงขันของตน พร้อมด้วยเครื่องบริขาร มีกล้วย มีอ้อย มีใบขนุน มีใบแก้วเป็นต้น นำไปตั้งที่ลานวัดภายในมณฑลวงด้ายสายสิญจน์ แล้วพระสงฆ์ จะประพรมเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ของเสื้อผ้าเพื่อใช้ในปีใหม่ เสร็จแล้วนำกลับมาเก็บไว้อย่างนั้นหลายๆ วัน

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 02:32:45 »
ขอบคุณครับ :016: :015:

ปี๋ใหม่เมือง  <ตั้ม>
1. 13 เมษา วันปี๋ใหม่เมือง กานกุ่งรุ่งเรือง มาถึงแล้วเล้า?.สืบกั๋นมาโบราณแต่เก๊า  จักขอเล่าประวัติเก่าสืบสาน วันนี้เปิ้นฮ้องสังขาลล่อง บอกปี้บอกน้องจะไปหน่ายไปจัง?นายเจ้าแม่นัง ไค่หันปู่สังขาลหื้อสูลุกมาผ่อ??ลูกหลานเหยจะไปหลับลุกขวาย มานั่งยังยายผ่อปู้สังขาลว่าอั้น หาบก๋วยล่องกองมานั้น หื้อสูลุกเจ๊าเตรียมถ้ากอยผ่อ?.นายมอน?หมู่ละอ่อนก่ตั้งหน้าตั้งต๋า ปอล่วงเลยเวลา บ่ก๋ายมาซักเต้อ
2. ตี้แต้ เป๋นกุสโลบาย บ่หื้อหลับลุกขวายหื้อลุกมาเจ้า เจ้า?.จ้วยอี่แม่ตักน้ำหนึ่งเข้า เจ๊ดหอ ยอเฮือน บ่หื้อเศร้าหม่นหมอง ฝึกเขาตั้งแต่ยามน้อย หื้อฮู้ฮีตฮอยต๋ามแบบครรลอง?นาเจ้าแม่นาย?ถ้าละอ่อนลุกขวายบ่ได้หยังซักอย่าง?
วันต่อไปตี้จะกล่าวอ้างหลัง เลยวันสังขาล 14 ว่าอั้น ความสำคัญเป๋นอย่างใดนั้น
เปิ้นเลยอู้กั๋นว่าเป๋นวันเน่า?นารี..เน่าแก๋งป๋า กะว่าเน่าแก๋งปี๋ หรือเน่าสิ่งบ่ดี กำเดียวจะบอก?.
   3. ต๋ามประวัติคนเฒ่าเล่าเมินมา มันเป๋นพญาหัวเน่าหัวจ้า?..
พระยาธรรมวิบาล เปิ้นฮับกำต้า ของพรหมจั้นฟ้า หื้อมา 3 ประก๋าร ยามเจ๊าศรีอยู่ไหนฮั้น ยามบ่ายไปนั้น ผดแผวยามแลง?นอเจ้าแม่นาย?ถ้าตอบบ่ได้ จะโดนตัดคอเป๋นแน่?ธรรมวิบาลปัญญาบ่ปอหลาย แก้ปัญหาบ่ได้ว่าอั้น เลยหนีเข้าป่าไปนั้น ไปหยุดไปยั้งอยู่เก๊าไม้ใหญ่?ป๋ายใบ..กึ๊ดไตร่ตรอง เฮาจะเยี๊ยะอย่างใด
จีวิตเฮาคงจักต๋ายเป๋นแน่?.
   4. ไปได้ยิน แฮ้งเฒ่าคุยกั๋น ดังฟ้าประธาน เฮาจะรอดเป๋นแต้?..
แฮ้งแม่ มันก่ถามแฮ้งปู้ พรุ่งนี้บ่ฮู้เฮาจะเอาหยังกิ๋น แฮ้งปู้บอกบ่ต้องเป๋นห่วง
จะได้กิ๋นซากหลวง ของธรรมวิบาล?.นานแม่นาน?..
ก่เลยจ๋าขาน ถึงเหตุก๋ารเป๋นแน่?.
แฮ้งเฒ่าก่เลยบอกจ๋า เฮาลุกเจ๊ามา ศรีอยู่หน้าว่าอั้น ต้องเอาน้ำมาซะซ่วยล้าง
เจ๊ดหน้าถูต๋า หื้อมันใสมันผ่อง?.งามดี?ยามบ่ายคล้อย มันฮ้อนเต็มที
เอาน้ำใสดีลูบ อกตบบ่า?.
   5. ยามเมื่อแลง ขึ้นเฮือนเยี๊ยะกิ๋น ศรีอยู่ตี้ตี๋น เอาน้ำซ่วยล้าง?.
ธรรมวิบาลได้ยินกำกล่าวอ้าง เลยรวดลาร้างจากป่าไม้ดงหนา ไปตอบปัญหา
ของพรหม สมดั่งใจ๋เลยบ่เสียชีวา?หนะเจ้าต่านหนะ?กำนั้นศรีษะ พรหมเลยหลุดจากบ่า?.เป๋นว่าปี๋นี้ ปี๋ม้าหนา ศกสง้า เปิ้นฮ้องว่าอั้น ไปเล่าก็นวันนี้วันนั้น
บ่ดีไปแจ้ง บ่ดีไปด่า ?.นอนาย?มันจะสุขก๋าย มันจะสุขใจ๋ เยี๊ยะหื้อร่างก๋าย
มันขาวใสสะอาด?.
   6. วันตี้ 15 เป๋นพญาของวัน มีความสำคัญอยู่นักบ่หน้อย?.
หมู่ลูกหมู่หลาน หยิบแต่ง แฝงห้อย เตรียมน้ำส้มป่อย ไว้สละสลุง
ปากัน ไปปักตุงปักจ้อ ยกมือขึ้นขึ้นยอ ต่านเจ้าจะปั๋นปอน?วอนเจ้าแม่วอน?
ฮับศีลฮับปรต๋ามฮีตเดิมฮอยเก่า?.ปิ๊กมาบ้าน เตรียมเนื้อเตรียมตั๋ว ไปดำหัวคนแก่คนเฒ่า ตึงบ่ว่าลูกหลานต๋านเต้า คนหนุ่มคนเฒ่า มารวมมิตรรวมญาติ?.ป๋ายใบ..
มันตึงม่วนอก มันตึงม่วยใจ๋ ปี้น้องวงศ์ใย พร้อมเปียงเรียงหมู่?..
   7. สิบหกสิบเจ็ด ปากปี๋ ปากเดือน บ่เลื่อนบ่รอ กั๋นในวันนี้??
ขออวยพรหมู่น้องหมู่ปี้ ขอหื้ออยู่ดี สุขบานหวานใจ๋ ตึงบ่ว่าคนไปคนอยู่ ขอเดินทางด้วยความปลอดภัย?นายเจ้าแม่นาย?ปรารถนาสิ่งใด สมใจทุกอย่าง?..
กำปรจ้างซอบ่ปอใคร่หวาน บ่เหมือนอาจารย์ ต่านเจ้ากล่าวอ้าง ฮักษาประเภณี 
บ่ดีหลีกม้าง เล่นต๋ามประเภณี หื้อมันมีขอบเขต?.แต้นา..บ่ดีเอาน้ำซะหน้า
กาว่าซะต๋า สมกำผาทะนา อย่างตู๋ข้าเขาว่า?..วางงง..เพลงงง


ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 02:41:05 »
กระทู้นี้ 2 in1 ได้ความรู้ เต็มๆเลยครับ

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 03:36:47 »
ร่วมมือร่วมใจกันเล่นน้ำสงกรานต์ให้สุภาพ ไม่โป๊ไม่สั้น ใส่ชุดดำ เน้นผ้าไทย เพื่อในหลวงและประเทศไทยของเรา มาร่วมมือร่วมใจกัน รณรงค์แต่งกายให้สุภาพในการเล่นน้ำสงกรานต์ ไม่เล่นแป้ง ไม่เล่นสี มีมารยาทในการเล่นน้ำ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงเมาไม่ขับด้วยเช่นกัน

ในการเล่นน้ำสงกรานต์นั้น ผู้หญิงควรแต่งการให้สุภาพ ใส่ชุดโทนดำ ไม่ควรใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อกล้าม เอวลอย กางเกงหรือกระโปรงสั้นเต๋อ เป็นต้น และต้องใส่เสื้อในด้วย (เคยเห็นน้องผู้หญิงเล่นน้ำโนบราแบบสาวฝรั่ง ซึ่งมันน่าเกียดมากๆ) จะได้ไม่ล่อแหลมสายตาพวกหื่น ที่จ้องจะลวนลามเอาได้ เพราะเป็นกุลสตรีหญิงไทย ต้องงดงามกว่าหญิงใดในโลก

ส่วนผู้ชาย ควรเล่นน้ำอย่างสุภาพต่อสุภาพสตรี เช่น ไม่จับ ไม่ถู ไม่ลูบไม่คลำ  เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จริงๆแล้วผู้ชายไทยมีความเป็นสุภาพบุรุษ มีมารยาทกว่าผู้ชายต่างชาติมาก เพราะคนไทยมีการเรียนรู้ปลูกฝังมารยาทให้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงกันมาตั้งแต่เด็กๆ เพียงแต่เราไม่ค่อยนำมาใช้เท่านั้นเอง ต่อไปนี้ควรแสดงให้เห็นไปเลยว่า ชายไทยจริงๆแล้วนั้นเป็นสุภาพบุรุษ จิตใจดี มีมารยาทกว่าชายชาติไหนๆ

 

ที่สำคัญช่วงนี้ เป็นช่วงแห่งความโศกเศร้าเสียใจของปวงชนชาวไทย ในการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระพี่นางฯ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระพี่นางฯ ร่วมมือกัน ใส่ชุดโทนดำเล่นน้ำสงกรานต์ เน้นผ้าไทย และร่วมรณรงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวันสงกรานต์ พร้อมทั้ง ร่วมกันสืบสานความงดงามมีเสน่ห์ ในวัฒนะธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทย ให้คงอยู่สืบไป.......

 

อยากเห็นคนไทยมีความสามัคคีกันทั้งชาติ เพื่อให้คนทั้งโลกได้รับรู้ว่า คนไทยมีดีจริงๆ

 
ที่มาของข้อความ : http://talk.mthai.com/topic/5981

ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 04:29:41 »
ใกล้วันสงกรานต์แล้วครับ อย่าลืมรดน้ำ ดำหัว พ่อแม่และผู้หลักผู้ใหญ่นะครับ
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 05:31:19 »
"ปี๋เก่าก็ล่วงไปแล้วปี๋ใหม่แก้วก็มาฮอดมาเติง"ตอนนี้สียงเพลงนี้กำลังกระหึ่มทั่วเมืองเมืองเจียงใหม่ บรรยากาศคึกคักรับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง คือ เทศกาลสงกรานต์

ปี๋ใหม่เมือง หมายถึง ปีใหม่ของคนเมือง มีความสำคัญต่อคนเมือง ก็ด้วยเป็นการเปลี่ยนแปลงจากปีเก่าสู่ปีใหม่

เป็นการเตือนตนให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของ วัน วัยและสังขาร เป็นการตั้งจิตตั้งใจ ชำระสะสางสิ่งที่ไม่ดีที่ล่วงแล้วออกไปให้ล่องไปกับสังขาร เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เกิดแรงตั้งใจใหม่ ตั้งความหวังความพยายามใหม่ให้แก่ชีวิต

ที่เชียงใหม่เรามีการรณรงค์ให้มีการพูดภาษากำเมือง แต่งเสื้อผ้าเมือง ถือว่าเป็นวาระของจังหวัดเลยทีเดียว เพื่อรักษาขนบประเพณีอันดีงาม ทุกภาคส่วนให้การร่วมมือกันอย่างดียิ่งน่าภาคภูมิใจจริงๆ

ปี๋ใหม่เมืองหรือเทศกาลสงกรานต์ขอให้ทุกท่านมีความสุข ในวันครอบครัวและขอเชิญชวนให้มาแอ่วเจียงใหม่มาชื่นชมและสัมผัสถึงประเพณีอันดีงามนี้ตี้เจียงใหม่

"ยินดีต้อนฮับ..เจ้า" :017:








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เม.ย. 2552, 05:32:45 โดย porvfc 인성 노래를 열창 »

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 08:10:59 »
ขอบคุณครับผม ช่วยกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านี้ไว้นะครับ อยากไปเชียงใหม่จัง  :077: :026: :080: :025: :090: :114:

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 08:15:41 »
เข้ามาอ่านกระทู้นี้เอาซะจนตาลายเลยครับ จะไม่อ่านให้ครบก็กลัวเจ้าของกระทู้จะใสเจีย  เสียใจเอาครับ  อ่านจบแล้วก็ได้ความรู้มากมาย พร้อมกับอาการมึนเล็กน้อยครับ  ฮุฮุ
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 08:19:51 »
เข้ามาอ่านกระทู้นี้เอาซะจนตาลายเลยครับ จะไม่อ่านให้ครบก็กลัวเจ้าของกระทู้จะใสเจีย  เสียใจเอาครับ  อ่านจบแล้วก็ได้ความรู้มากมาย พร้อมกับอาการมึนเล็กน้อยครับ  ฮุฮุ
ขอโทษครับ พอดีผมพิมพ์เป็นคำเหนือนะครับ เพราะว่าพิมพ์แล้วได้อารมยิ่งพิมพ์ยิ่งได้ครับ
ถ้าทานใดไม่เข้าใจ ส่งข้อความถามผมได้ครับ  :054:

ออฟไลน์ MJ“lln ้มป่oJ”•—

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 47
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 05 เม.ย. 2552, 10:33:04 »
ใส่ชุดไทยเล่นสงกรานต์กัน^^
ไม่ลืมไม่มีหรอก มีแต่ลืมช้ากับลืมเร็ว

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: ต้นกำเนิดประเพณีสงกรานต์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 05 เม.ย. 2552, 11:16:33 »
ขอบคุณครับ :016: :015:

ปี๋ใหม่เมือง  <ตั้ม>
1. 13 เมษา วันปี๋ใหม่เมือง กานกุ่งรุ่งเรือง มาถึงแล้วเล้า?.สืบกั๋นมาโบราณแต่เก๊า  จักขอเล่าประวัติเก่าสืบสาน วันนี้เปิ้นฮ้องสังขาลล่อง บอกปี้บอกน้องจะไปหน่ายไปจัง?นายเจ้าแม่นัง ไค่หันปู่สังขาลหื้อสูลุกมาผ่อ??ลูกหลานเหยจะไปหลับลุกขวาย มานั่งยังยายผ่อปู้สังขาลว่าอั้น หาบก๋วยล่องกองมานั้น หื้อสูลุกเจ๊าเตรียมถ้ากอยผ่อ?.นายมอน?หมู่ละอ่อนก่ตั้งหน้าตั้งต๋า ปอล่วงเลยเวลา บ่ก๋ายมาซักเต้อ
2. ตี้แต้ เป๋นกุสโลบาย บ่หื้อหลับลุกขวายหื้อลุกมาเจ้า เจ้า?.จ้วยอี่แม่ตักน้ำหนึ่งเข้า เจ๊ดหอ ยอเฮือน บ่หื้อเศร้าหม่นหมอง ฝึกเขาตั้งแต่ยามน้อย หื้อฮู้ฮีตฮอยต๋ามแบบครรลอง?นาเจ้าแม่นาย?ถ้าละอ่อนลุกขวายบ่ได้หยังซักอย่าง?
วันต่อไปตี้จะกล่าวอ้างหลัง เลยวันสังขาล 14 ว่าอั้น ความสำคัญเป๋นอย่างใดนั้น
เปิ้นเลยอู้กั๋นว่าเป๋นวันเน่า?นารี..เน่าแก๋งป๋า กะว่าเน่าแก๋งปี๋ หรือเน่าสิ่งบ่ดี กำเดียวจะบอก?.
   3. ต๋ามประวัติคนเฒ่าเล่าเมินมา มันเป๋นพญาหัวเน่าหัวจ้า?..
พระยาธรรมวิบาล เปิ้นฮับกำต้า ของพรหมจั้นฟ้า หื้อมา 3 ประก๋าร ยามเจ๊าศรีอยู่ไหนฮั้น ยามบ่ายไปนั้น ผดแผวยามแลง?นอเจ้าแม่นาย?ถ้าตอบบ่ได้ จะโดนตัดคอเป๋นแน่?ธรรมวิบาลปัญญาบ่ปอหลาย แก้ปัญหาบ่ได้ว่าอั้น เลยหนีเข้าป่าไปนั้น ไปหยุดไปยั้งอยู่เก๊าไม้ใหญ่?ป๋ายใบ..กึ๊ดไตร่ตรอง เฮาจะเยี๊ยะอย่างใด
จีวิตเฮาคงจักต๋ายเป๋นแน่?.
   4. ไปได้ยิน แฮ้งเฒ่าคุยกั๋น ดังฟ้าประธาน เฮาจะรอดเป๋นแต้?..
แฮ้งแม่ มันก่ถามแฮ้งปู้ พรุ่งนี้บ่ฮู้เฮาจะเอาหยังกิ๋น แฮ้งปู้บอกบ่ต้องเป๋นห่วง
จะได้กิ๋นซากหลวง ของธรรมวิบาล?.นานแม่นาน?..
ก่เลยจ๋าขาน ถึงเหตุก๋ารเป๋นแน่?.
แฮ้งเฒ่าก่เลยบอกจ๋า เฮาลุกเจ๊ามา ศรีอยู่หน้าว่าอั้น ต้องเอาน้ำมาซะซ่วยล้าง
เจ๊ดหน้าถูต๋า หื้อมันใสมันผ่อง?.งามดี?ยามบ่ายคล้อย มันฮ้อนเต็มที
เอาน้ำใสดีลูบ อกตบบ่า?.
   5. ยามเมื่อแลง ขึ้นเฮือนเยี๊ยะกิ๋น ศรีอยู่ตี้ตี๋น เอาน้ำซ่วยล้าง?.
ธรรมวิบาลได้ยินกำกล่าวอ้าง เลยรวดลาร้างจากป่าไม้ดงหนา ไปตอบปัญหา
ของพรหม สมดั่งใจ๋เลยบ่เสียชีวา?หนะเจ้าต่านหนะ?กำนั้นศรีษะ พรหมเลยหลุดจากบ่า?.เป๋นว่าปี๋นี้ ปี๋ม้าหนา ศกสง้า เปิ้นฮ้องว่าอั้น ไปเล่าก็นวันนี้วันนั้น
บ่ดีไปแจ้ง บ่ดีไปด่า ?.นอนาย?มันจะสุขก๋าย มันจะสุขใจ๋ เยี๊ยะหื้อร่างก๋าย
มันขาวใสสะอาด?.
   6. วันตี้ 15 เป๋นพญาของวัน มีความสำคัญอยู่นักบ่หน้อย?.
หมู่ลูกหมู่หลาน หยิบแต่ง แฝงห้อย เตรียมน้ำส้มป่อย ไว้สละสลุง
ปากัน ไปปักตุงปักจ้อ ยกมือขึ้นขึ้นยอ ต่านเจ้าจะปั๋นปอน?วอนเจ้าแม่วอน?
ฮับศีลฮับปรต๋ามฮีตเดิมฮอยเก่า?.ปิ๊กมาบ้าน เตรียมเนื้อเตรียมตั๋ว ไปดำหัวคนแก่คนเฒ่า ตึงบ่ว่าลูกหลานต๋านเต้า คนหนุ่มคนเฒ่า มารวมมิตรรวมญาติ?.ป๋ายใบ..
มันตึงม่วนอก มันตึงม่วยใจ๋ ปี้น้องวงศ์ใย พร้อมเปียงเรียงหมู่?..
   7. สิบหกสิบเจ็ด ปากปี๋ ปากเดือน บ่เลื่อนบ่รอ กั๋นในวันนี้??
ขออวยพรหมู่น้องหมู่ปี้ ขอหื้ออยู่ดี สุขบานหวานใจ๋ ตึงบ่ว่าคนไปคนอยู่ ขอเดินทางด้วยความปลอดภัย?นายเจ้าแม่นาย?ปรารถนาสิ่งใด สมใจทุกอย่าง?..
กำปรจ้างซอบ่ปอใคร่หวาน บ่เหมือนอาจารย์ ต่านเจ้ากล่าวอ้าง ฮักษาประเภณี 
บ่ดีหลีกม้าง เล่นต๋ามประเภณี หื้อมันมีขอบเขต?.แต้นา..บ่ดีเอาน้ำซะหน้า
กาว่าซะต๋า สมกำผาทะนา อย่างตู๋ข้าเขาว่า?..วางงง..เพลงงง



ไหนๆก้อเขียนเป็นภาษาเหนือแล้ว ก้อช่วยแปลให้ด้วยจิคะ ไม่รู้เรื่องเลยอ่า 555  (คนอื่นน่ะที่เค้าไม่ใช่คนอื่นน่ะคะ) แต่ปอร์อ่ะ ชิวๆๆๆอยู่แว้วววว :095:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 เม.ย. 2552, 11:17:01 โดย porvfc 인성 노래를 열창 »