แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - burt

หน้า: [1]
1
ผมเองสักแต่ยันต์อักขระ ก็เลยสักแค่สังวาลย์ก่อนครับ ตั้งใจจะไปกราบขอเพิ่มจากหลวงพี่แป๊วให้ครบ 9 เส้นเร็วๆนี้ครับ



2
สุขสันต์วันเกิดครับ ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ

3
พระกริ่งสวยมากครับ

4
ต้องขออภัยล่วงหน้านะครับ ถ้าคำตอบอาจจะไม่ตรงใจ

พิมพ์พระถ้ำเสือครับ แต่ไม่ใช่กรุถ้ำเสือครับ และไม่ใช่กรุเขาดีสลักครับ(โดยปกติวงการก็ไม่นับกรุเขาดีสลักอยู่แล้วครับ)

โดยส่วนตัวแล้วขอผ่านครับ

อย่าเสียกำลังใจนะครับ ผมเองก็มีพระมรดกจากคุณพ่อเยอะมาก พอลองเช็คจริงๆเหลือดีๆไม่กี่สิบองค์ครับ

คำแนะนำบางครั้งอาจจะฝาดหูไปบ้าง หากเป็นเว็บอื่นผมก็คงไม่ตอบให้เข้าตัวครับ เพราะเยอะไปที่ตอบแล้วกลับทำให้ตัวเองลำบาก

แต่ในเว็บนี้ผมเห็นว่าเป็นเหมือนพี่น้องร่วมครูบาอาจารย์เดียวกัน ไม่อยากให้หลงหรือเขวไปผิดทางครับ ก็พยายามตอบเท่าที่รู้จักครับ

พระเครื่องต้องพยายามศึกษาครับ ค่อยๆเก็บเกี่ยวความรู้ไปทีละนิดครับ ความเก่า เนื้อพระ อายุการสร้าง ส่วนผสม ถ้าพระกรุก็ต้องดูลักษณะกรุอีกว่าแห้งไหม มีน้ำไหม อากาศยังไง

ฝังดินแบบไหน คราบกรุควรจะเป็นยังไง อาจจะนานหน่อย แต่เป็นแล้วไม่ลืมหรอกครับ ที่พลาดกันเพราะโลภมากกว่าครับ

5
1 ท่านรู้จักวัดบางพระได้อย่างไร

คุณพ่อกับพี่ชายจบจากร.ร.นรต. สามพรานครับ เลยรู้จักวัดแถบนั้นดีครับ

2 เคยเดินทางมาที่วัดบางพระหรือไม่ ประมาณกี่ครั้ง

1 ครั้งก่อนหลวงปู่มรณภาพ ส่วน 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 30 ครั้งครับ

3 ครั้งแรกที่ท่านมานั้นมีโอกาสได้พบหลวงปู่ เปิ่นตอนท่านยังดำรงค์ขันธ์ หรือเปล่า

เคยทันกราบท่าน 1 ครั้งครับ

4 ท่านเคยสักยันต์ที่วัดบางพระหรือไม่ สักหมึก หรือน้ำมัน

เคยครับ สักหมึกครับ

5 ท่านรู้จักเว็บบอร์ด วัดบางพระ ได้อย่างไร

เซิร์ชเจอในอินเทอร์เน็ทครับ

6 ท่านอยากให้มีสิ่งใดเพิ่มเติมในบอร์ด วัดบางพระ

อยากให้มีมีทติ้งกันบ้างครับ

6
สมเด็จหลังตราแผ่นดิน องค์นี้ขอผ่านครับ

ถ้าถามว่าวงการยอมรับไหม  ตอบได้เลยว่าไม่ยอมรับครับ แต่..เอาเป็นว่าผมจะเล่าเรื่องให้ฟังเล่นๆสักเรื่องนะครับ ไม่ต้องเชื่อนะครับ แค่เอาไว้เป็นข้อมูล

สมัยที่ผมเพิ่งเริ่มสะสมพระเครื่องใหม่ๆ ก็ราวๆ 15 ปีก่อน(2537) ผมเคยได้สมเด็จหลังตราแผ่นดินมา 2 องค์ องค์แรกพิมพ์ใหญ่เนื้อเหมือนปูนปลาสเตอร์ มีคราบดำๆทั่วไป องค์ที่ 2 พิมพ์คะแนน เป็นลักษณะเนื้อผงเป็นเม็ดขาวอมเหลือง ค่อนข้างฟู หลวม หมายถึงอัดกันไม่แน่นน่ะครับ มีคราบดำๆติดนิดหน่อย เซียนพระรุ่นใหญ่ช่วงอายุสัก 40 ปี ตีว่าไม่ดีกันหมด

ผมเลยถือพระนั้นไปพบเซียนรุ่นเก่า 2 คน(เป็นผู้มีพระคุณที่ให้ความรู้ผมว่า สมัยก่อนสมเด็จวัดระฆังจะขอแลกชุดกิมตึ๋ง สุพรรณบุรี ต้องโปะเงินครับ) คืออดีตพ่อตาผมกับเพื่อนสนิทของท่าน ขณะนั้นอายุประมาณ 68 ปี ทันทีที่เห็นพระทั้ง 2 องค์ พวกท่านตอบเหมือนกันว่าแท้แค่องค์เดียว มีสร้างจริงๆ สมัยออกมาใหม่ๆท่านก็เคยได้ไว้ (ลืมบอกไปพ่อตาผมย้ายจากกรุงเทพไปอยู่ภาคใต้ราวๆปี 2504 ครับ)

สำหรับองค์แรก แน่นอนครับ..เก๊ไม่มีที่ติ ออกจะปูนปลาสเตอร์ขนาดนั้น แต่องค์ที่ 2 นี่สิครับ พวกท่านบอกว่าเป็นของ ร.ต.อ.อิทธิพล เครือใย(คนสนิท พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์) สร้างเอาไว้ครับ

ปัจจุบันองค์เล็กก็ยังอยู่ครับ ผมเอาน้ำยาวิคซอลล์ล้างซะขาวเลย  ตอนนั้นเห็นท่านค่อนข้างมอมแมมไปหน่อยครับ :004:  :004:

ที่เล่ามาเนี่ย ผมไม่ได้ให้เชื่อนะครับ แค่ให้ลองอ่านเล่นๆ เพราะตัวผมเองก็ไม่เล่นพระชุดตราแผ่นดินครับ เพราะข้อมูลสับสนและเกิดไม่ทันครับ ส่งมาผมตีไม่ดีหมดจริงๆด้วย  :004: :004:

7
ขอบคุณครับ หาชมยากมากๆครับ

8
การจะหาเช่าบูชานั้นค่อนข้างจะยากนิดหน่อยครับ เพราะว่ามีการตีเอาของวัดอื่นลงเป็นของหลวงพ่อม่วงก็เยอะครับ ของเก๊สนามก็เยอะครับ ต้องดูที่ความแห้งเก่าและสีของรัก ลักษณะการถักก็สำคัญครับ
แหวนของหลวงพ่อม่วงของแท้ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเดาะบ้าง รักแตกไปบ้าง ถ้าไม่ติดว่าจะรอสภาพสมบูรณ์ก็น่าจะหาได้ครับ ถ้าจะหาแบบสมบูรณ์ๆต้องรอเวลาครับ วงนี้กว่าผมจะหาได้ก็รอมาหลายปีครับ ราคาเช่าแหวนหลวงพ่อม่วง เค้าดูกันที่สภาพและความยากในการทำแต่ละวงครับ ถักชุบรักจะราคาต่ำสุดครับ ถักพอกผงคลุกรักแล้วชุบรักจะราคาสูงสุดครับ

ส่วนแหวนหลวงพ่อเปลี่ยน มีทั้งแบบชุบรักและไม่ชุบครับ ผมเองใช้เวลาหาไม่ต่ำกว่า 3 ปีครับ ไม่ค่อยได้เจอในสนามครับ ตอนนี้ก็กำลังเก็บเงินไปเช่าเสื้อยันต์หลวงพ่อเปลี่ยนอีก 1 ตัวครับ

เรื่องขนาดแหวนกำหนดยากครับ เพราะหลวงพ่อท่านมรณภาพไปแล้วทั้ง 2 รูป ได้มาวงขนาดไหนก็คงต้องยอมบูชาล่ะครับ

9
ผ้ายันต์รองหมวก,แหวนพิรอด หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้



"เจ้าชู้ต้องวัดเหนือ เป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้"

ประวัติพระวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน อินทสโร)วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) จังหวัดกาญจนบุรี
พระวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน อินทสโร)หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า หลวงพ่อวัดใต้หรือหลวงปู่วัดใต้นั้น เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๐๕ ที่บ้านม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
โยมบิดาชื่อ หมื่นอินทร์รักษา (นิ่ม พูลสวัสดิ์)
โยมมารดาชื่อ จีบ
เมื่อเยาว์วัยมีนิสัยเป็นนักสู้ เข้มแข็ง ทรหดอดทนเพราะเกิดในวันกล้า คือวันเสาร์ห้าจิตใจจึงกว้างขวาง เป็นนักเลงเต็มตัว ถ้าเป็นปัจจุบันนี้ก็ต้องเรียกว่า เป็นผู้กว้างขวาง โยมบิดาโยมมารดาคิดวิตกว่าต่อไปคงจะเอาดีได้ยาก เพราะรูปร่างล่ำสัน ผิวก็ดำ จึงเรียกกันว่า ทองดำ เมื่อโตรุ่นหนุ่ม ด้วยความเป็นผู้ที่มีนิสัยดังกล่าวข้างต้น จึงมีสมัครพรรคพวกมากขึ้นเรื่อยๆ โยมบิดาจึงตัดสินใจนำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดใต้ ก็คือวัดไชยชุมพลชนะสงครามในปัจจุบันนี้นั่นเอง โดยนำไปฝากให้เป็นศิษย์ของ ท่านพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะเมืองกาญจน์ในสมัยนั้น เมื่อหนุ่มทองคำมาอยู่วัด ก็เปลี่ยนเป็นคนสุขุม เยือกเย็น หนักแน่น สุภาพเรียบร้อยและมีความโอบอ้อมอารีผิดไปเป็นคนละคน โยมบิดาเลยเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า เปลี่ยน นับแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาเมื่ออายุครบบวช โยมบิดาจึงนำไปอุปสมบทที่วัดใต้ โดยมีพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอดแห่งวัดทุ่งสมอ กับพระอธิการกรณ์แห่งวัดชุกพี้เป็นคู่สวด
พระอุปัชฌาย์เห็นว่าเป็นคนชะตากล้าแข็งมาก เพราะเกิดในวันเสาร์ห้าตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าจะให้ฉายาเป็นคนวันเสาร์ ก็เกรงว่าจะกล้าแข็งมากเกินไป จึงให้ฉายาเป็นคนวันอาทิตย์ว่า อินทสโร และได้เล่าเรียนทั้งหนังสือขอมและหนังสือไทย ความตั้งใจครั้งแรกจะบวชเพียง ๗ วันเท่านั้น แต่แล้วบุญกุศลก็เสริมให้ปักใจแน่วแน่ในบวรพุทธศาสนาไม่ยอมสึกจวบจนสิ้นอายุขัย
นับแต่พระภิกษุเปลี่ยนได้บวชเรียน ก็ได้ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ร่ำเรียนวิชาไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว พูดจริง ทำจริง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาใดๆ หลวงพ่อช้าง พระอุปัชฌาย์จึงตั้งให้เป็น พระใบฎีกา ฐานาของท่าน จึงเป็นกำลังช่วยท่านตลอดมา
สำหรับหลวงพ่อช้างองค์นี้ เป็นพระที่มีวิทยาอาคมแก่กล้ามาก เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วทั้งเมืองกาญจน์และเมืองใกล้เคียง ก่อนจะได้เป็นเจ้าคณะเมืองกาญจน์ ได้แสดงฝีมือในทางทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่วัดขนอนเหนือ เมืองราชบุรี พร้อมกับหลวงพ่อกลิ่น วัดเหนือ น้ำมนต์ของสองวัดนี้ ทำแล้วไม่หก ไม่ไหล เป็นการสอบไล่ครั้งสำคัญ เพราะแต่เดิมมาการปกครองคณะสงฆ์เมืองกาญจน์ต้องไปขึ้นกับเมืองราชบุรี ครั้นกิตติศัพท์ร่ำลือไปถึง ท่านพระครูธรรมเสนานี (ดี) วัดขนอน ซึ่งปกครองคณะสงฆ์เมืองกาญจน์ในสมัยนั้นว่า ขณะนี้ที่เมืองกาญจนบุรีมีอาจารย์แก่กล้า ๒ องค์ คือวัดใต้และวัดเหนือ เห็นสมควรจะปกครองตนเองได้ จึงได้เรียกมาทดสอบที่วัดขนอนก็เป็นที่ประจักษ์ว่าเก่งกล้าจริงตามที่ร่ำลือต่อหน้าเจ้าบ้านเจ้าเมืองและประชาชนเป็นอันมาก จึงได้รับบาตรที่ทำน้ำมนต์ไม่หกมาเป็นรางวัลคนละลูกเก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ และทางการก็ได้แต่งตั้ง หลวงพ่อช้าง พระครูวิสุทธิรังษี เป็นเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี และให้หลวงพ่อกลิ่น วัดเหนือ เป็นพระสิงคิบุรคณาจารย์รองเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี แต่นั้นมาการคณะสงฆ์เมืองกาญจน์ก็ไม่ต้องไปขึ้นกับเมืองราชบุรีอีก
อยู่ต่อมาหลวงพ่อช้างได้มรณะภาพลง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใต้จึงว่างลง ทางการก็ได้แต่งตั้งให้พระใบฎีกาเปลี่ยน เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อไปและได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวิสุทธิรังษี เมื่อหลวงพ่อเปลี่ยนได้เป็นสมภาร ก็พัฒนาวัดจนสวยงามยิ่งนักทั้งทางการศึกษาและฝ่ายธรรม ฝ่ายกุลบุตรก็เจริญก้าวหน้า โดยได้จัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัด คือโรงเรียนวิสุทธิรังษี เป็นที่เชิดชูอยู่จนกระทั่งบัดนี้ และต่อมาท่านก็ได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยความดีงามของท่าน ทั่วทั้งเมืองกาญจน์ไม่ว่าวัดไหนต้องการอะไรหลวงพ่อจะช่วยจนเต็มสติกำลัง
ส่วนเรื่องทางไสยศาสตร์เวทย์มนต์ ของหลวงพ่อใครๆก็รู้กันทั่วว่าเก่งจริงในกรุงเทพฯ สมัย ร.๕ - ร.๖ จะมีพิธีทางไสยศาสตร์แล้ว จะขาดหลวงพ่อวัดใต้เมืองกาญจน์ไม่ได้เลย ดังปรากฏพัดรองและย่ามที่หลวงพ่อได้รับไปจากกรุงเทพฯ เช่น
งานถวายพระเพลิง ร.๕
เสวยราชย์ ร.๖
ฉลอง ๑๕๐ ปี พัดจักรี ฯลฯ
หลวงพ่อได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ร.๖ กับสมเด็จพระมหาสมณฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรฯ ให้เติมสร้อยต่อท้ายนามของหลวงพ่อว่า "พระวิสุทธิรังษี ชินศาสนโสภีสังฆปาโมกข์"

เครื่องรางของขลัง
เครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อแจกแก่สานุศิษย์ มีตะกรุดลูกอม ทำด้วยเงินและทองแดง มีฤทธิ์ทางคงกระพันและมหาอุดเรื่องเมตตาเป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว กระดาษว่าวลงอักขระม้วนถักแบบหมอน ทารักปิดทองใช้ทางเมตตาและแคล้วคลาด เมื่อพ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อแจกเหรียญรูปอามมีรูปท่านนั่งเต็มองค์บนตั่งด้านหลังมีอักขระยันต์อริยสัจ ๔ คือ ทุ สะ นิ มะ อยู่ในวงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แปลว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หนังสือไทยในเหรียญด้านหน้าเขียนว่า "พระวิสุทธิรังษี วัดไชยชุมพร การบุรีพ.ศ.๒๔๗๒" ตอนนั้นอายุของหลวงพ่อ ๖๗ ปี มีคนนิยมมากมีประสบการณ์มามากเรื่องปืน มีด แล้วรับรองทีเดียว เพราะหลวงพ่อเป็นนักเลงเก่า ชอบทางคงกระพันชาตรีอยู่แล้ว เรื่องเมตตาในคาถาก็แสดงอยู่แล้วว่ามีทัง มรรคผล พร้อม พอหลวงพ่ออายุ ๗๔ ปี ก็มีการฉลองหลวงพ่อโดยคณะศิษย์จัดขึ้น เป็นงานใหญ่มาก เจ้าใหญ่นายโตทางกรุงเทพฯออกไปในงานมากมายเช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยก็เป็นศิษย์ของท่าน มีความเคารพนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ได้เครื่องรางของหลวงพ่อไว้ครบเช่น

ลูกศิษย์ที่ร่ำเรียนวิชาจากท่านและมีชื่อดัง ก็คือ
๑.พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) กาญจนบุรี
๒.พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุทธาราม บางคณฑี สมุทรสงคราม
๓.พระครูธรรมวิถีสถิตย์(โต) วัดคู้บางขันแตก สมุทรสงคราม
๔.พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
๕.พระครูวัตตสารโสภณ(ก้าน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม กาญจนบุรี
๖.พระครูวรวัฒน์วิบูลย์ วัดหวายเหนียว กาญจนบุรี
๗.พระครูยติวัตรวิบูลย์ (พรต) วัดศรีโลหะราษฎร์ ฯลฯ กาญจนบุรี
หลวงพ่อเปลี่ยนได้รับการชมเชยจาก ร.๕ ในคราวเสด็จประพาสเมืองกาญจนบุรีโดยนำพระสงฆ์ ๒๐ รูปมาสวดมนต์รับเสด็จที่พลับพลาว่า "สวดมนต์เก่ง สวดได้ชัดเจน ตลอดจนการลีลา สังโยคน่าฟัง และขัดตำนานได้ไพเราะ" ได้รับของพระราชทานหลายอย่างเป็นที่โปรดปรานของ ร.๕ ลักษณะของหลวงพ่อเป็นมหาอำนาจ ใครได้พบเห็นน่าเกรงขามยิ่งนัก จนถึงกับมีคำขวัญว่า "เจ้าชู้ต้องวัดเหนือ เป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้" วัดเหนือหมายถึงพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี) ในสมัยนั้น ซึ่งต่อมาได้เลื่อนเป็นพระเทพมงคลรังษ๊ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีสืบแทนหลวงพ่อเปลี่ยน
โดยปรกติหลวงพ่อเปลี่ยนเป็นพระเอางานเอาการ ปฏิบัติเคร่งครัดในระเบียบของสงฆ์โดยสมบูรณ์ ขยันทำวัตรสวดมนต์และกวดขันผู้ที่อยู่ในความปกครองอย่างมีความยุติธรรม ใครดีก็ส่งเสริม ใครเลวก็จะเตือน หากเตือนแล้วไม่ฟังก็จะปราบอย่างเด็ดขาด จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวกาญจน์ และเมืองใกล้เคียง สมเด็จพระมหาสมณฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ เขียนชมเชยในตรวจการคณะสงฆ์ จ.กาญจน์ ว่า "หลวงพ่อฉลาดในการปกครองมากแม้เมืองกาญจน์จะมีอาณษเขตกว้างขวาง ก็ปกครองด้วยความเรียบร้อย" หลวงพ่อชอบทางวิปัสสนาธุระได้ฝึกฝนจนมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว วัดไหนจะมีพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง สร้างพระพุทธรูปต้องมานิมนต์หลวงพ่อร่วมลงแผ่นอักขระ หรือถ้าท่านว่างก็จะอาราธนามาร่วมพิธีด้วยเสมอ เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ขุนโจรชื่อดังของเมืองกาญจน์เช่น เสือสาย เสือหัด เสือแก้ว เสือหนอม และรุ่นเก่าคือ อาจารย์บัว อาจารย์บาง ก็เคารพยำเกรงหลวงพ่อมาก
หลวงพ่อถึงแก่กาลมรณภาพเมื่ออายุ ๘๕ ปี และพระราชทานเพลิงศพในปลายปี พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นงานที่ใหญ่ยิ่งของเมืองกาญจน์ทีเดียว
ถึงแม้ท่านจะล่วงลับไปนานแล้วก็ตาม แต่ทว่าเกียรติคุณของท่านยังปรากฏโด่งดังอยู่จนทุกวันนี้
................................................................................

(เรียบเรียงจากข้อเขียนของอาจารย์เภา ศะกุณตะสุต)

ข้อความข้างต้นนี้คัดมาจากหนังสือ"พิธีเททองหล่อพระบูชารูปเหมือน พระวิสุทธิรังษี เปลี่ยน อินฺทสโร หลวงพ่อวัดใต้ ๕ เมษายน ๒๕๒๘ ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี - สมาคมนักเรียนเก่าวิสุทธรังษี"

บทความจาก http://anchalit.multiply.com/photos/album/54/54

ตะกรุดลูกอม เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ธงมหารูด หนังหน้าผากเสือ และตะกรุดชนิดต่าง ๆ // ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า จ.กาญจนบุรีนั้นเป็นทางผ่านที่พวกทหารอักษะ ( พวกญี่ปุ่น ) ได้เกณฑ์เชลยศึกมาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว เพื่อสร้างทางรถไฟไปยังประเทศพม่า // จึงเป็นธรรมดาที่บริเวณนี้จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่พวกทหารสัมพันธมิตรต้องขับเครื่องบินมาทิ้งระเบิดไม่เว้นแต่ละวัน // โดยเฉพาะบริเวณวัดใต้ จะเป็นจุดชุมชนพลุกพล่าน จึงโดนทิ้งระเบิดอยู่บ่อย ๆ จนเป็นที่มาที่ต่อมาได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า " ชุกโดน " ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ซุกก็โดน คือโดยทิ้งระเบิดบ่อยมาก ๆ // หลวงพ่อวัดใต้ท่านก็เป็นที่พึ่งพิงของบรรดาชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อน ท่านจึงได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกไปให้คุ้มครองป้องกันตัว ใครที่มีเสื้อยันต์ และผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดใต้ จะแคล้วคลาดและปลอดภัยจากระเบิดได้ทุกรายไป // และชาวบ้านก็มักจะหนีระเบิดไปอยู่ในบริเวณวัดใต้ เคยมีคนเก่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า เวลาเครื่องบินมาทิ้งระเบิด // หลวงพ่อท่านจะมายืนโบกผ้ายันต์ ลูกระเบิดที่หนักแสนหนักซึ่งกำลังจะตกลงมาก็เหมือนกับมีอะไรมาผลักออกไปตกที่อื่นทุกครั้งไป ซึ่งข้อนี้เป็นข้อยืนยันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่านได้เป็นอย่างดีครับ








10


พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน อ.บ้านทวน(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อ.พนมทวน จ.กาญรนบุรี) จ.กาญจนบุรี
ชาตะเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ณ บ้าน ต.บ้านทวน จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อมั่น โยมมารดาชื่อใย สมัยนั้นไม่มีนามสกุล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน
พออายุได้ ๑๑ ขวบ ซึ่งเป็นวัยควรแก่การเรียน บิดามารดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการศรี วัดบ้านทวนซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เพื่อศึกษาหนังสือไทยและขอมอย่างโบราณ สมัยนั้นต้องไปเรียนที่วัด กุลบุตรที่ไปเรียนต้องปรนนิบัติอุปฐากอาจารย์ คือเป็นศิษย์พระ รับใช้ท่าน กินนอนที่วัดเสร็จ ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใดเลย การเรียนมิใช่จะเรียนแต่หนังสือแต่อย่างเดียว ยังได้ฝึกวิชาการต่างๆ เช่น การช่างและวิทยาคนอื่นๆ ซึ่งนิยมกันในครั้งนั้นเนื่องจากวัดเป็นแหล่งกำเนิดศิลปะวิทยาการทั้งปวง

ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้สมควรแก่ความนิยมในสมัยนั้นแล้ว ก็ได้ลาอาจารย์ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ได้เป็นกำลังของครอบครัว ด้วยนิสัยท่านว่านอนสอนง่าย ขยันขันแข็ง ทั้งยังเป็นคนมีร่างกายแข็งแรงใจคอกว้างขวาง กล้าหาญ มีสติปัญญา จะเล่าเรียนวิชาแขนงใด ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยเหตุนี้ พอรุ่นหนุ่มก็มีสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก มีลักษณะเป็นหัวหน้าคน พูดจริงทำจริง เด็ดขาด แต่ใจบุญ เพราะไปอยู่วัดหลายปี

เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านทวน โดยมี พระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ช้าง วัดบ้านทวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์ยังหาหลักฐานอยู่ ยังไม่ทราบแน่ว่าเป็นใคร เพราะเป็นเรื่องเก่าแก่หาคนรู้ยากจริง เพียงแต่คนนี้เล่า คนโน้นเล่า ฟังแล้วยังสับสนอยู่ พอจะเชื่อได้ว่าท่านเป็นพระธุดงค์มาจากจังหวัดสมุทรสงคราม มีวิชาทำแหวนพิรอดอันลือชื่อ ถักลวดลายได้งดงาม มีทั้งแหวนพิรอดใส่นิ้วและสวมแขน ดังจะได้กล่าวต่อไป

ท่านม่วง ได้ฉายาว่า จันทสโร บวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นสวดมนต์ได้แม่นยำจนจบพระปาฏิโมกข์ เป็นที่น่าสังเกตว่า พระภิกษุในชนบทสวดมนต์เก่ง จะเอาบทไหนได้ทั้งนั้น ไม่เคยสวดแล้วล้ม เสียงดังฟังชัด การทำนอง สังโยค ลีลาไพเราะน่าฟัง จะเอาเร็วก็เพราะ ช้าก็เพราะ สมัยนั้นนอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังชอบเรียนธรรมกรรมฐาน สมถะ วิปัสสนาธุระ และไปฝึกพลังจิต คือการเดินรุกขมูลธุดงค์ในป่าลึกเข้าผจญต่อความทุกข์ทรมานและเสี่ยงกับสัตว์ร้าย เรียกว่าใครดีใครอยู่ ถ้าพลาดก็ไม่ได้กลับวัด เอาชีวิตไปทิ้งเสียกลางป่าก็มาก ด้วยโรคภัยไข้เจ็บมันรุนแรง สมัยก่อนมันทุรกันดารจริงๆไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ อาณาเขตเมืองกาญจน์ติดต่อกับประเทศพม่า การเดินธุดงค์ก็นิยมไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองเมืองร่างกุ้ง พระมุเตาเมืองหงสาวดี และพระภิกษุม่วงองค์นี้ก็ธุดงค์ไปถึงพม่าดังกล่าว นับว่าท่านมีความอดทนต่อความยากลำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

ท่านเป็นผู้ที่ขยันและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ไม่เคยขาดทำวัตรสวดมนต์ สนใจในการศึกษาเล่าเรียน พอบวชได้ ๘ พรรษา ก็ได้เป็นคู่สวดประจำวัดบ้านทวน พอพรรษา๑๒ เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนว่างลง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบล เรียกว่าเจ้าอธิการม่วง ท่านมีความสามารถทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ จึงมีคนเลื่อมใสเคารพนับถือเป็นอันมาก พรรษา๒๑ ได้เป็นพระอุปัชฌายะ อุปสมบทกุลบุตรปีหนึ่งๆมากมาย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านทวน
ต่อมาสมัย ร.๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลราชบุรี เสด็จเมืองกาญจนบุรี ทรงเห็นความเป็นไปของคณะสงฆ์ในจังหวัดกาญจนบุรีเรียบร้อย ก็โปรดและทรงยกย่องเจ้าวัดเจ้าคณะนั้นๆ นับแต่พระครูวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) เจ้าคณะเมือง ตลอดมาถึงเจ้าคณะ แขวงอำเภอและพระคณาธิการ

อนึ่ง ในการนี้ เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน อายุเวลานั้นชราถึง ๘๑ ปีแล้ว ได้เดินทางไปรับเสด็จถึงเมืองกาญจนบุรี และทูลการงานได้คล่องแคล่ว ทรงโปรดว่า ไม่วางตนว่าเป็นผู้ชราและอยู่เฉยเสีย ยังมีน้ำใจอยากรู้อยากเห็นหาความรู้ สมกับคำของพระพุทธเจ้าที่ว่า เด็กที่เล่าเรียนมีความรู้ สติปัญญาย่อมดีกว่าคนแก่ที่ไม่ได้เล่าเรียนไม่มีความรู้ ดีแต่มีอายุแก่แต่อย่างเดียว จะเห็นได้ว่า เจ้าอธิการม่วงท่านไม่ถือความมีอายุของท่าน ท่านสนใจเรื่องวิชาความรู้เป็นสำคัญ
ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงเสด็จตอบถึงวัดบ้านทวน เป็นการแสดงน้ำพระทัยและรับสงเคราะห์ในเรื่องตำรับตำราที่จะเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแต่งไว้ เช่นนวโกวาท วินัยมุข บุพสิกขาวรรณา ฯลฯ นับว่าเจ้าอธิการม่วงได้เห็นการณ์ไกล ทำให้วัดบ้านทวนเจริญด้วยการศึกษาเป็นอันมาก ด้วยคุณงามความดีของเจ้าอธิการม่วง

ครั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จกลับ พ.ศ.๒๔๘๘ ได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน เจ้าคณะแขวงฯ เป็นที่พระครูสิงคิคุณาธาดา อันชื่อนี้เดิมชื่อ สิงคีบุรคณาจารย์ เป็นรองเจ้าคณะเมือง อยู่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เมื่อพระครูสิงคีบุรคณาจารย์(สุด) มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๔ ในการตั้งใหม่ครั้งนี้ได้ทรงแก้เป็นพระครูสิงคิคุณธาดา ให้ได้ลำดับสัมผัสกัน ในยุคนั้นตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดลงมา ดังนี้
วิสุทธิรังสี วัดใต้
สิงคิคุณธาดา วัดบ้านทวน
จริยาภิรัต วัดหนองขาว
ยติวัตรวิบูล วัดศรีโลหะราษฎรบำรุง
อดุลยสมณกิจ วัดเหนือ
นิวัฐสมาจาร วัดหนองบัว
วัตตสารโสภณ วัดดอนเจดีย์(เดิมชื่อวัดประจันตคาม)

ในการเลื่อนสมณศักดิ์หลวงพ่อม่วงคราวนั้น เมืองกาญจน์ได้เลื่อนทั้งหมด ๔ องค์ด้วยกันคือ พระครูวิสุทธิรังสี(เปลี่ยน) วัดใต้ เป็นพระราชาคณะ มีนามว่า พระวิสุทธิรังสี ชินศาสนโสภี สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี
ตั้งเจ้าอธิการพรต วัดศรีโลหะราษฎรบำรุง เป็นพระครูยติวัตรวิบูล เจ้าคณะหมวด
ตั้งพระอธิการดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เป็นพระครูอดุลยสมณกิจ ชื่อนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงคิดสำหรับพระอธิการดี เพราะโปรดว่าการปฏิบัติและกิจวัตรดีพร้อม เรียกว่าดีสมชื่อ ท่านองค์นี้ต่อมาได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ คือพระเทพมงคลรังสีเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ต่อจากหลวงพ่อเปลี่ยนวัดใต้ นับว่าเป็นพระราชาคณะชั้นเทพองค์แรกของเมืองกาญจน์เลยทีเดียว

ทีนี้จะเล่าถึงหลวงพ่อม่วง เมื่อได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสิงคิคุณาธาดา บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใส ได้แสดงมุทิตาจิตทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ ด้วยอายุท่านก็ชรามาก ได้ออกเหรียญรูปไข่เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ห่มลดไหล่
เหรียญหลวงพ่อม่วงนั้น มี ๒ แบบ คือแบบเหรียญหล่อ และเหรียญปั๊ม เหรียญหล่อเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ มีอักขระขอมรอบเหรียญ ๘ ตัว ด้านหลังมีข้อความว่า ?ที่ระฤก อุปชาวัดบ้านทวน? และมีอักขระขอมว่า อิโส มิโส โมอะ นะลือ มีทั้งเงินและสำริด ส่วนเหรียญปั๊มนั้นเป็นรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ มีอักขระขอมรอบเหรียญ ๑๖ ตัว ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ สัง วิ เพา ปุ กะ ยะ ปะ แปลว่า อิติปิโส มงคลฯ กับหัวใจพระธรรม ๗ คัมภีร์ ด้านหลัง มีข้อความว่า ?ที่ระฤก อุปชาวัดบ้านทวน? และมีอักขระขอมว่า อิโส มิโส โมอะ นะลือ เช่นเดียวกัน มีเฉพาะเหรียญทองแดงเท่านั้น

เหรียญของหลวงพ่อม่วงมีคนนิยมมาก มีประสบการณ์ในทางมหานิยม และแคล้วคลาดอันตรายเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี ก็มีคนเห็นฤทธิ์มามาก เหนียวดีจริงๆ ขณะนี้ชักหายากแล้ว ด้วยเป็นเหรียญยุคก่อน ออกมานานแล้ว มีคำขวัญว่า ?ใครมีเหรียญวัดบ้านทวน ใครจะมาก่อกวนก็ไม่ต้องกลัว?

จะขอกล่าวถึงอุปนิสัยของท่านบ้าง ท่านเป็นพระใจดีมีพรหมวิหารธรรม ใครได้พบได้สนทนาด้วย ก็รู้สึกอิ่มเอิบใจ ไม่ถือตัวถือชั้นวรรณะ เป็นกันเองแก่คนทั่วไป นอกจากเหรียญของท่านแล้ว ท่านยังทำแหวนพิรอดดังมาก จนมีคำขวัญว่า ?ของดีของขลังของเมืองกาญจน์ก็มีลูกอมวัดหนองบัว แหวนพิรอดวัดบ้านทวน? ซึ่งดีทางคงกระพันชาตรี เวลาแจกเอาใส่เตาไฟ ไฟไม่ไหม้ จึงหยิบมาแจก นับว่าใช้อาคมกล้ามาก
อันตำราทำแหวนพิรอดถักนี้เป็นของโบราณ สืบแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยนั้นในราชสำนักมีอาจารย์ฆราวาสชื่อดัง ๒ คน คือ พระวิชาจารย์มนตรี(อาจารย์ชาตรี) กับหลวงราชปรีชาหาญ(อาจารย์พิรอด) อาจารย์ ๒ คนนี้เคยไปกับ พระวิสูตรสุนทร(ปาน)หรือโกษาปาน ถึงประเทศฝรั่งเศส และได้ลองวิชาอาคมให้พระเจ้าหลุยส์ ประเทสฝรั่งเศสเป็นที่พอพระทัยมาก ได้รับรางวัลกลับเมืองไทยมากมาย
หลวงพ่อม่วง(พระครูสิงคิคุณธาดา) บำรุงศาสนกิจมาด้วยความเรียบร้อย ท่านไม่เคยเจ็บป่วยออดแอด แต่พอชรามากก็หนีกฎธรรมดาไม่พ้น ได้ถึงมรณภาพด้วยโรคชรา สิริอายุได้ ๘๙ ปี ได้ทิ้งคุณงามความดีไว้เป็นที่ร่ำลือมาจนทุกวันนี้.

ประวัติหลวงพ่อม่วง จันทสโร พระครูสิงคิคุณธาดา วัดบ้านทวน โดยคุณเภา ศกุนตะสุด
(จากหนังสือที่ระลึกงานบรรจุศพนายกิตติ เหลืองไพบูลย์)

บทความจาก http://anchalit.multiply.com/photos/album/58/58

มงคลแขนแหวนพิรอด ของพระครูสิงคิคุณธาดา (หลวงพ่อม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี เป็นเครื่องรางที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของเค รื่องราง ที่นักสะสมเครื่องรางต่างก็ใฝ่ฝันที่จะได้มาไว้ในครอ บครอง เพราะคนที่มีก็ต่างหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง
มงคลแขน และแหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง สร้างจากตำราโบราณ เมื่อใครอยากจะได้ก็จะไปขอให้ท่านเมตตาทำให้ ท่านก็จะพิจารณาทำให้เป็นรายบุคคลไป เวลาท่านทำเสร็จแล้ว ก็จะทดสอบความขลังโดยการโยนมงคลแขน หรือแหวนพิรอดวงนั้นเข้ากองไฟ วงใดที่ไหม้ไฟถือว่ายังไม่ได้ที่ก็จะต้องทำให้ใหม่ ถ้าวงใดไม่ไหม้ไฟก็ถือเป็นอันใช้ได้ ท่านก็จะมอบให้แก่ผู้ที่มาขอไป ซึ่งบางคนกว่าจะได้ต้องรอนานหลายเดือน จนกว่าท่านจะมีเวลาทำให้ คนที่ได้นำไปใช้ก็มีประสบการณ์ จึงมีผู้นิยมเสาะหากันมาก แหวนของหลวงพ่อม่วงจะมีทั้งถักแล้วชุบรัก ถักพอกผงแล้วชุบรัก และ ถักพอกผงคลุกรักแล้วชุบรัก

วงในรูปนี้เป็นแบบถักพอกผงคลุกรักแล้วชุบรักครับ
















12
ดอกใหญ่อาจจะเป็นตะกรุดโทนของหลวงพ่อสุดก็ได้นะครับ แบบเดียวกับที่ตี๋ใหญ่ใช้ล่ะครับ ถ้าใช่ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วยครับ ครบชุดแบบนี้หายากมากๆครับ ผมหามานานยังมีแค่แบบตะกรุด 108 ไม่มีตะกรุดโทนเลยครับ




13
บอกกรุค่อนข้างยากครับ เพราะพระชินเขียวมีขึ้นหลายที่ครับ อีกอย่างผมก็ไม่นิยมเช่าพระชินเขียว ไว้จะลองถามเพื่อนๆที่สะสมเนื้อชินเขียวให้นะครับ

14
พระสวนสี่ เนื้อชินเขียวครับ เรื่องเนื้อชินเขียววงการพระเครื่องบางส่วนจะไม่ค่อยยอมรับครับ และบางพวกยอมรับแค่บางพิมพ์และบางกรุเท่านั้นครับ

ว่าแต่..ที่บอกว่าให้ช่วยด้วยจะให้ช่วยอะไรหรือครับ

15
ขอโทษนะครับ แต่วัดที่คุณบอกน่ะ อยู่ที่ไหนอำเภออะไรในจังหวัดนครศรีครับ ผมอยู่ที่นั่นหลายปี ไม่เคยได้ยินเลย

ถ้าจะบอกว่าหลวงพ่อสุด ที่เป็นอาจารย์ของตี๋ใหญ่ ท่านอยู่ที่วัดกาหลง สมุทรสาครครับ

เมื่อปี 2521 หลวงพ่อสุดอาพาธและมรณภาพด้วยอาการสงบเมื่อ 14 สิงหาคม 2526 รวมอายุ 81 ปี 3 เดือน 7 วัน

16
ใช้ประจำคอ ตามนี้ครับ

หลวงพ่อทวดเม็ดแตง ณ แตก ปี08 วัดช้างให้ 2 เหรียญ , แสตมป์นาคปรก ทอดน้ำมันเสือ หลักเมืองนครศรี ปี32 , ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป ขนาด 9 ม.ม. อาจารย์นอง วัดทรายขาว ปี14 , พระพุทธศรีวิชัยอันนำโชค(พระพุทธสิหิงค์) ปี30 เนื้อเทา พิมพ์นิยม , ปรกใบมะขาม เปิดศาลหลักเมืองนครศรี ปี43 เนื้อทองแดง

สลับแขวนเส้นนอกเสื้อ ทีละองค์ ตามนี้ครับ

ปิดตา 3 เกลอ หลวงพ่อทา พะเนียงแตก เนื้อสัมฤทธิ์เงิน , พระพุทธศรีวิชัยอันนำโชค(พระพุทธสิหิงค์) ปี30 เนื้อดำ พิมพ์ราหูไม่ทรงเครื่อง , เหรียญหยดน้ำ หลักเมืองประจวบ ปี36 เนื้อนวะ

เครื่องราง-ของขลัง ที่ใช้ประจำตัว

ตะกรุดมหารูด หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม , ตะกรุดนางพิม หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร , ตะกรุดพิชัยสงคราม อ.ชุม ไชยคีรี แบบดอกเดียว , ผงช้างผสมโขลง อ.ชุม ไชยคีรี , ตะกรุดหนังเสือ หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม , ตะกรุด เทพนิมิตร หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม , ตะกรุดโทน หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย , ตะกรุดคอหมา หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน , ตะกรุด 9 กุ่ม ครูบาวัง วัดบ้านเด่น , ผ้ายันต์ม้าเสพนาง 2 ผืน , มีดครูเทพอาวุธ อ.ชุม ไชยคีรี (ได้มาพร้อมปลอกมีด ชิ้นนี้ภูมิใจมากๆครับ สร้างปี 2519 จำนวน 2519 เล่ม มีปลอกประมาณ 1,000 เล่มครับ เพราะสร้างปลอกไม่ทัน)

ถ้าฟูลออพชั่นก็จะมีเครื่องราง-ของขลัง ประเภทตะกรุด ผ้ายันต์ เพิ่มอีกนิดหน่อยครับ ตอนนี้กำลังทาบทามจะเก็บ ไม้เท้า ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ของ อ.ชุม ไชยคีรี สร้างปี 2524 ตามตำราเขาอ้อครับ

หน้า: [1]