ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) วัดพลับ  (อ่าน 7777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ job@love

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 793
    • ดูรายละเอียด
เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) วัดพลับ
« เมื่อ: 25 ต.ค. 2554, 11:01:35 »

ประวัติของ เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) ท่านเกิดที่บ้าน ต.เกาะท่าพระ อ.บาง กอกใหญ่ จ.ธนบุรี
เมื่อวันพุธที่ 16 พ.ย. 2396 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับปีฉลู จ.ศ.1215
ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประสูติ

เป็นบุตรของนายอ่อนและนางขลิบ เยาว์วัยได้เรียนอักขรสมัยในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม
ตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ จนอายุ 13 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ)
และศึกษาเล่าเรียนในสำนักนี้ตลอดมา
อายุ 21 ปี เข้าอุปสมบท มีพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านปลัดโต
และพระสมุห์กลัด เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่หลายปี
แต่ไม่เคยสมัครเข้าสอบไล่หรือบาลีในสนามหลวง
เมื่อแตกฉานแล้วจึงหันมาเรียนและขึ้นกรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ เริ่มจากวิชาธรรมกายจนถึงถอดรูปได้
เรียนอยู่นานจนพระอุปัชฌาย์เชื่อมือ และได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญที่สุดในบรรดาศิษย์ทั้งหมด
จนกระทั่งปีพ.ศ.2422 ได้เป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ)
หลังพระอุปัชฌาย์มรณภาพ ท่านก็รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนและบอกกรรมฐานพระเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป
และมีโอกาสได้ออกไปรุกขมูลและถือธุดงค์บ่อยครั้ง สถานที่ที่ท่านชอบไปคือแถบพระพุทธบาทห้ารอย จ.เชียงราย
ไปจน ถึงเมืองหงสาวดีและย่างกุ้ง ในประเทศพม่า
ถึงปีพ.ศ.2431 เลื่อนเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมในพระสังวราฯ (เอี่ยม) ต่อมาในปีพ.ศ.2451
ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระสังวรานุวงษ์เถร ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก
พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) รับพระราชทานนิตยภัตเพิ่มอีกเดือนละสามตำลึงเสมอด้วยชั้นราช
รุ่งขึ้นอีกปีได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เพิ่มนิตยภัตขึ้นอีกเดือนละสองบาทรวมเป็นสามตำลึงครึ่ง
เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) เป็นพระมหาเถระที่มีพรหมวิหารสี่ครบถ้วน จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนอย่างมาก
เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิต มีอุบาสกอุบาสิกาและประชาชนทั่วไปมาฟังธรรมในวัดและเล่าเรียนทางวิปัสสนาธุระกันมาก
ต่อมาก เพราะท่านมีความรู้ความสามารถจึงอบรมสั่งสอนถ่ายเทความรู้ให้จนหมดสิ้น
ทั้งนี้ ท่านเป็นพระเถระรูปสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานพัดหน้านางงาสานต่อจากเจ้าคุณเฒ่า
หรือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ซึ่งหลังจากท่านแล้วก็ไม่มีรูปใดได้รับพระราชทานอีกเลย
อาจจะเป็นเพราะไม่มีพระราชาคณะรูปใดเหมาะสม หรือเพราะวัสดุและชิ้นส่วนงาสานนี้มีราคาแพงและหาได้โดยยาก
จึงไม่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นอีก

นอกจากนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ของ พระเกจิอาจารย์สำคัญทางฝั่งธนบุรีหลายรูป
เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อพริ้งวัดบางปะกอก และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น

เครื่องรางของขลังที่ถือกันว่ามีพุทธานุภาพ เข้มขลังในด้าน “ป้องกันอัคคีภัยตามเคหสถานบ้านเรือน”
ก็คือเครื่องรางของขลังในรูปแบบของ “น้ำเต้า” และน้ำเต้าที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายและมีประสบการณ์
จนขึ้นชื่อลือชาที่สุดเห็นจะได้แก่ น้ำเต้ากันไฟของ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) หรือ ท่านเจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม)
อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 16 ของวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พระอารามหลวงเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งมีพระกรุ พระเก่ายอดนิยมที่นักสะสมพระเครื่องต่างหมายปอง
และมีราคาเช่าหาที่แพงมิใช่น้อย อดีตเจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เจ้าอาวาสองค์แรก
ท่านเจ้าคุณพระสังวรา (ชุ่ม) เป็นพระเถระที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน
และสร้างพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องรางอย่าง “น้ำเต้ากันไฟ”
ซึ่งท่านได้วิชานี้มาขณะออกเดินธุดงค์ โดยได้ไปพบศาลาพักร้อนกลางป่าหลังหนึ่ง
ซึ่งโดยรอบศาลาถูกไฟไหม้เสียหายไปทั้งหมด แต่ตัวศาลากลับไม่ได้รับความเสียหาย
เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงเดินดูรอบๆ พบบริเวณอกไก่ มีน้ำเต้าแขวนไว้ลูกหนึ่ง
เมื่อเทออกดูพบคาถากันไฟบทหนึ่งบรรจุอยู่ภายใน ได้นำติดตัวกลับมาด้วย
ภายหลังกลับไปพบว่าศาลาดังกล่าวถูกไฟป่าไหม้เสียหายแล้ว เมื่อประจักษ์ในอภินิหารดังกล่าว
ท่านจึงได้สร้างน้ำเต้าบรรจุคาถาแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์ จนมีชื่อเสียงถึงทุกวันนี้
น้ำเต้าของท่านจะเลือกเอาแต่น้ำเต้าตรงตามลักษณะที่ตำราบ่งบอกไว้และแก่จัดมากๆ
มาควักเอาเนื้อในและเม็ดออกให้หมดแล้ว นำมาลงอักขระเลขยันต์ และปลุกเสกตามสูตรโบราณ
ที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ ที่เคยพบบางลูกก็มีการถักเชือกและลงรักปิดทองไว้
บางลูกก็ไม่มี ไม่เป็นที่แน่นอนเสมอไป แต่ชาววงการมักจะนิยมและเล่นหาแบบถักเชือกและลงรักมากกว่า
ส่วนขนาดนั้นก็ไม่แน่นอนเนื่องจากการสร้างน้ำเต้ากันไฟนี้ถ้าจะสร้างให้ถูกต้องตามแบบโบราณนั้นสร้างยากมาก
นับตั้งแต่หาวัสดุ จนถึงขั้นตอนการปลุกเสก เป็นผลให้น้ำเต้าของท่านเจ้าคุณสังฆ วรา (ชุ่ม)
นี้มีจำนวนน้อยมาก นานๆ จะพบสักลูกหนึ่ง

มีเรื่องที่ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังเรื่องหนึ่งเมื่อท่านธุดงค์ไปสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
โดยท่านกะว่าเมื่อนมัสการแล้วจะออกไปแสวงหาวิเวกนอกเมือง ด้วยพระธุดงค์สมัยก่อน
ไม่นิยมการอยู่ในเขตบ้านเรือนหรือในเมืองเพราะเป็นที่ไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนา
ครั้นไปถึงแล้วปรากฏว่าเป็นเวลาเย็น พระวิหารหลวงพ่อโตปิดลั่นดาลทั้งนอกและใน
แล้วด้านหน้าใส่สลักดาล ด้านหลังใส่กุญแจ ท่านก็เที่ยวเดินหาคนที่คอยดูแลพระวิหาร
แต่ไม่พบ จึงตั้งใจว่าจะกราบนมัสการข้างนอก โดยนึกในใจว่า วาสนาของเราไม่มีในคราวนี้จักต้องไปที่อื่น
คราวหน้าจะหาโอกาสมานมัสการใหม่ แล้วทรุดตัวลงนั่งกราบ พลันหูก็ได้ยินเสียงดาลประตูลั่นดังแกร๊กจากทางด้านหน้า
และประตูพระวิหารก็แง้มออกพอมีช่องให้เข้าไปได้
ท่านจึงเดินเข้าไปผลักประตูออก แล้วเข้าไปนมัสการหลวงพ่อโตด้วยความอิ่มใจ
และเดินดูจนทั่วพระอุโบสถว่าใครเปิดพระวิหารให้เข้าไป แต่ก็ไม่พบ เดินวนจนอ่อนใจ
จึงกราบนมัสการลาหลวงพ่อโต แล้วผลักบานประตูให้สนิทกัน พลันก็ได้ยินเสียงลั่นดาล
เมื่อเอามือผลักดูก็พบว่าดาลข้างในปิดตายแล้ว ท่านว่าเทพยดานิมิตให้ได้เข้าไปนมัสการ

เจ้าคุณสังวรา(ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธารามอยู่ 12 ปีจึงมรณภาพ เมื่อปีพ.ศ.2470 รวมอายุได้ 74 ปี
ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ สิริวัฑฒโน)
วัดราชบพิธฯ เสด็จเป็นประธานพระราชทานเพลิงศพด้วย นับเป็นงานที่ใหญ่โต โดยสร้างเมรุลอยบนภูเขาจำลอง
มีมหรสพสมโภชถึง 3 วัน 3 คืน
ในงานมีเหรียญที่ระลึกแจก เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรูปไข่ หูเชื่อม ซึ่งแม้จะเป็นเหรียญตาย
แต่ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาเหรียญที่สวยๆ ประมาณหมื่นบาท ที่สำคัญ
ปลุกเสกโดยสุดยอดพระคณาจารย์ดังในยุคนั้น อาทิ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นต้น
สำหรับวัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ตะกรุดสามกษัตริย์,น้ำเต้ากันไฟ,
พระพิมพ์เล็บมือ หรือพิมพ์ซุ้มกอ เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา,พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา และเนื้อสำริด,
พระพิมพ์สองหน้า เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา,พระพิมพ์เนื้อเงิน และเนื้อทองฝาบาตร,พระปิดตา เนื้อตะกั่วอาบปรอท

ตัวอย่างพระเนื้อชิน




เครดิต: ประวัติโดย bloggerวัดราชสิทธิ
      "สุญญตา"  "มีชีวิตโดยไม่มีตัวตน หรือ การมีตัวตนซึ่งมิใช่ตน"

ออฟไลน์ Jennapan

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) วัดพลับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 10 ธ.ค. 2561, 04:09:12 »
น่าเลื่อมใสมากเลยครับ