ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง  (อ่าน 6345 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 10:20:28 »


พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็นที่โด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เห็นจะไม่มีพระสูตรใดเกิน "สูตรของท่านเว่ยหล่าง" เพราะได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาและได้รับความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของปัญญาชนเนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้ สูตรของท่านเว่ยหล่างได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่หมวด 1 ถึง 7 ส่วนหมวด 8 ถึง 9 คุณประวิทย์ รัตนเรืองศรี เป็นผู้แปล ทำไมจึงต้องศึกษาสูตรของท่านเว่ยหล่าง คำตอบก็คือ พระสูตรนี้ใครได้ศึกษาแล้วก็เป็นการเปิดสติปัญญาของตนให้สว่างไสวและมมีทัศนคติต่อพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มชัดว่า แท้ที่จริงแล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา โดยแท้จริง สำเนียงที่เรียกพระสังฆปรินายกองค์นี้ว่า "เว่ยหล่าง" ก็ดีหรือชื่อของท่านผู้บำเพ็ญอื่นใดในพระสูตรนี้ ล้วนแต่ใช้ทับศัพท์ อ่านออกเสียง เป็นภาษาจีน "กวางตุ้ง" ส่วนภาษาจีนกลางเรียกว่า "ฮุ่ยเหนิง" ท่านฮุ่ยเหนิงมีแซ่สกุลว่า "หรู" เป็นชาวมณฑลกว่างตง บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆ อยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า "พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ" เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า "ท่านกำลังสวดอะไร" "เรากำลังสวดวัชรสูตร" "ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน" "เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ" ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหย่น ท่านก็ถามว่า "เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร" "กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย" "เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน" "ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย" คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงได้ให้คำตอบในตัวเสร็จสรรพ โดยชี้ให้เห็นสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ในโลกนี้ล้วนมีความเป็นพุทธะอยู่ในตัวเองทุกชาติทุกภาษา เพียงแต่ว่าเขารู้หรือยอมรับความเป็นพุทธะในตัวเองหรือไม่เท่านั้น คนจีน ไทย ฝรั่ง แขก นิโกร เสียงแต่ความดีใจและตกใจล้วนเปล่งออกมาเหมือนกัน นั่นแหละ เสียงของพุทธะในตัวเอง ซึ่งเป็นสากลไม่แตกต่างกันเลย
ที่มา
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/wenglang/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.พ. 2554, 10:22:11 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 10:51:11 »
เว่ยหลาง (ฮุยเหนิง)
เกริ่นเรื่อง: ประวัติบุคคลสำคัญในวงการพุทธศาสนามหายาน

 
ท่านเว่ยหลาง
สรีระธาตุขันธ์ ไม่เน่าเปื่อยมาหลายร้อยปี
ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดหนันฮว๋า ประเทศจีน

        ท่านเวยหลาง (พระฮุ่ยเหนิงโจวซือ/ลักโจ๊ว/หลักจ้อ) เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซน สมณศักดิ์ของท่านที่ได้รับพระราชทาน คือ "ไท่ก่ำเซียงซือ"
         ถือกำเนิดเมื่อ ๘ ค่ำ เดือน ๒ พ.ศ. ๑๑๘๑ ตรงกับรัชสมัย "ถังไท่จง" ท่านเกิด ณ ตำบลชินโจว มณฑลกว่างตง ในครอบครัวที่่ยากจน บิดาชื่อ เซ่งเทา แซ่โ่ล่ว มาดาชือหลี่ลี เนื่องจากความยากจน นอกจากนั้นบิดายังได้มาเสียชีวิตลงไปอีก ท่านจึงไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างคนมีฐานะมั่งมีทั่วไปได้รับ ทั้งยังต้องทำงานในเรือกสวนไร่นา ช่างเวลาว่างก็จะตัดไม้ ผ่าฟืน หาบไปขายในตลาด ท่านจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านมีคือความเฉลียวฉลาด มีไวพริบปฏิภาณ และยังมีความจำเป็นเลิศ


ที่มา
http://group.dek-d.com/young-buddha/blog/?blog_id=10110151
อ่านต่อ
http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=196&txtmMenu_ID=7
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.พ. 2554, 10:52:33 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 11:20:33 »
วิปัสสนาปัญญา

ท่านฮุ่ยเหนิง เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง สภาพชีวิตที่แร้นแค้นจึงไม่ได้รับการศึกษา อ่านหนังสือไม่ออก แต่เหตุไฉนเพียงได้ฟังวัชรสูตรเท่านั้น ปัญญาสว่างไสวและเกิดความศรัทธาในพุทธธรรม ประการแรกลองพิจารณาจากวัชรสูตรซึ่งเป็นสูตรสำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งใจความสำคัญว่าด้วยการปล่อยวางเครื่องร้อยรัดทั้งปวงให้หมด ไม่ยึดถือทั้งความดีและความชั่ว ไม่ปรารถนาในบุญ และบาป พระสูตรนี้สอนให้ วางทั้ง รูป และ นาม ถ้าเทียบเคียงกับพระสูตรในพุทธศาสนาฝ่ายหินยานก็ได้แก่ อนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นการประกาศให้ปรากฎแก่เวไนยสัตว์ทั้งปวงถึง "ความไม่มีตัวตน" การพูดว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่เป็นความว่างที่ปราศจากตัวตนจึงเป็นเรื่องยากที่ปุถุชนจะเกิดความเข้าใจ แต่ท่านที่บำเพ็ญให้จิตถึงซึ่งสภาวะแห่งธรรมชาติเดิมแท้แล้วก็เข้าใจแจ่มแจ้งได้เองว่า รูปที่มีอยู่นั้นในที่สุดก็ปราศนาการกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ นามที่หลงยึดถือ เกียรติยศ ชื่อเสียง ในที่สุดก็เสื่อมถอยหมดไป ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพที่เกรียงไกรที่สุดในโลก สามารถนำกองทัพปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ได้ราบคาบอยู่ภายใต้อำนาจ ของตนเอง บัดนี้ทั้งตัวแม่ทัพและชื่อเสียงนั้นก็ไม่มีใครรู้จักเลยแม้แต่คนเดียว ความมีอยู่ในสิ่งทั้งปวง จึงเกิดขึ้นแต่ "จิตผูกพันติดยึด" ทั้งสิ้นถ้าตัดความยึดถือลงไปได้หมดโดยเด็ดขาด สรรพสิ่งทั้งปวง จึงเป็น "อนัตตา" โดยแท้จริง สภาวะเช่นนี้ต้องใช้ปัญญาตัดความผูกยึดอันเป็น "อุปาทาน" การใช้ความรู้อย่างเดียว จึงไม่อาจตัดความยึดถือได้ เพราะเป็นการตัดแต่เพียงลมปากหากแต่จิตยึดอยู่เหนียวแน่น คุณนายคนหนึ่งได้เข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์แห่งสำนักวิปัสสนา เธอจึงไปฝึกนั่งสมาธิจนจิตสว่างไสวเงียบสงบแสนดีใจยิ่งนัก จึงเข้าไปกราบ เรียนพระอาจารย์ว่า "อาจารย์เจ้าคะ อะไร ๆ อิฉันก็วางได้หมดแล้ว" "ยังงั้นเรอะ อีตอแหล" พระอาจารย์ตอบรับ ส่วนผู้ปล่อยวางด้วยลมปากพอได้ฟังวาจาของพระอาจารย์โทสะจริตเข้าครอบงำลุกขึ้นกระทืบเท้าแล่นลงจากอาศรมวิปัสสนาไปทันที การปล่อยวางใน "รูป" คือสิ่งที่มองเห็นได้นั้นไม่ยากจนเกินไป แต่การปล่อยวาง "นาม" อันสถิตอยู่ในจิตจึงเป็นเรื่องยากลำบากนัก ประการที่สองพิจารณาจากท่านฮุ่ยเหนิง ซึ่งมิได้เข้าเรียนพุทธธรรมที่ไหนเลย แม้แต่พรระสูตรต่าง ๆ ก็มิได้ศึกษา แต่พอได้ฟังวัชรสูตรเท่านั้น จิตที่ติดยึดในสรรพสิ่งทั้งปวงก็หลุดพ้น เป็นเพราะ "ปัญญา" ของท่านสว่างไสวขึ้นมาเอง "ปัญญา" ที่ตัด อุปาทาน ความยึดถือทั้ง "รูป" และ "นาม" ลงไปได้นั้นย่อมมิใช่ปัญญาอย่างธรรมดาต้องผ่านการสั่งสมมานับหลายชาติ ในปัจจุบันมักได้ยินข่าวว่า เด็กอัจฉริยะ อายุเพียง 7 ขวบ สามารถศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ได้แต่สามารถคำนวณได้เก่งกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างนี้เอาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาวิจัยก็เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ แต่ตามหลักแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันนี้เป็นสัจธรรมของสรรพชีวิต สามารถอธิบายปรากฎการณ์เช่นนี้ได้ สมัยราชวงศ์ชิงมีขุนนางตรวจการทท่านหนึ่งแซ่สกุลว่า "เฉิน" เดินทางมาตรวจราชการทางภาคใต้ ระหว่างทางที่พักนั้นก็ฝันเห็นทางเดินในตรอกแคบ ๆ แห่งหนึ่ง เมื่อเดินเข้าไปก็พบหญิงชราคนหนึ่งกำลังผัดเส้นหมี่ด้วยกลิ่นที่หอมหวลชวนกินนัก ท่านขุนนางผู้นี้ฝันติดต่อกันถึงสามคืน เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่ตรงตามฝันจึงเดินเข้าไปในตรอกเล็กๆ พบบ้านมีคุณยายคนหนึ่งกำลังผัดเส้นหมี่อยู่จึงเข้าไปถามว่า "คุณยายครับ ผัดเส้นหมี่ทำไม" "ยายผัดเอาไปไหว้ลูกสาวของยาย เขาชอบกิน" ขุนนางเฉินจึงขอเข้าไปดูห้องของลูกสาวที่ยายเก็บเอาไว้เพราะเป็นลูกสาวคนเดียวที่แกแสนรักแต่ก็หากุญแจห้องเปิดไม่ได้ แต่ขุนนางเฉินพลัน ก็บอกคุณยายว่า อยู่บนหลังตู้เสื้อผ้ามั้ง คุณยายก็หากุญแจพบตามที่ขุนนางเฉินบอกและแกก็พูดต่อไปว่า "ปกติยาย ผัดหมี่ไหว้ลูกสาวเพียงสองวันเท่านั้น แต่ทำไมครั้งนี้จึง อยากผัดอีกวันก็ไม่รู้" เมื่อเปิดเข้าไปในห้อง ขุนนางเฉินพบสมุดบันทึกที่แต่งโคลงกลอนเอาไว้ และก็ประหลาดนักเป็นโคลงกลอนอย่างเดียวกันที่ขุนนางแซ่เฉิน เคยแต่งเข้าสอบไล่ตำแหน่งจอหงวนท่านจึงเขียนต่อท้ายกลอนในสมุดเล่มนั้นว่า "วิชาความรู้เรียนแล้วสามารถเอาไปใช้ในชาติต่อไปได้" ท่านฮุ่ยเหนิงจึงไม่ต่างอะไรกับผู้ที่เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีมาแล้วหลายชาติ ท่านจึงถามพระอาจารย์หงเหยิ่นว่า "หลวงพ่อครับ วิปัสสนายานเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ เมื่อจิตมิได้ลอยเลื่อนไปจากธรรมญาณเดิมก็ควรเรียกเขาว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลกเช่นกัน หลวงพ่อจะให้กระผมทำอะไรครับ" ในครั้งนั้นพระอาจารย์หงเหยิ่นไล่ให้ท่านฮุ่ยเหนิงไปตำข้าวผ่าฟืนในครัวถึงง 8 เดือน โดยท่านยอมรับในความรู้ทางทางพุทธธรรมของท่านฮุ่ยเหนิง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 11:35:53 »
จิตเดิมแท้

"ธรรมญาณ" เป็นรากฐานเดิมตามธรรมชาติแท้ของจิต ยากที่จะอธิบายสภาวะนั้นด้วยภาษาคนเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า "จิตเดิมแท้" แต่ในที่นี้เรียกว่า "ธรรมญาณ" อันเป็นญาณที่มาจากธรรมชาติดั้งเดิมแท้จึง การค้นพบภาวะ "ธรรมญาณ" ของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ลึกล้ำและยากนัก

ท่านหงเหยิ่นพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า จึงเรียกประชุมศิษย์ทั้งปวงแล้วกล่าวว่า "การเวียนว่ายตายเกิดเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่มีใครเอาใจใส่แทนที่จะหาหนทางพาตัวเองให้พ้นไปจากทะเลทุกข์แห่งการเวียนเกิดและเวียนตายอันไม่มีที่สิ้นสุด กลับพากันหมกมุ่นอยู่แต่บุญกุศล ที่มีตัณหาชักนำอันเป็นต้นเหตุให้เกิดใหม่ ถ้าธรรมญาณยังมืดมัวอยู่ บุญกุศลทั้งปวงก็หามีประโยชน์อันใดไม่ จนตั้งใจค้นหาปัญญาของตนเองแล้วเขียนโศลกว่าด้วยเรื่องของ "ธรรมญาณ" ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า "ธรรมญาณ" นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่ง พระสังฆปริณายก พร้อมทั้งธรรมะอันเป็นคำสอนเร้นลับแห่งนิกายเซ็น และจะสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งนิกายเรา อย่ามัวรีรอตรึกตรองเพราะไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์อะไร ผู้ที่รู้แจ้งชัดใน "ธรรมญาณ" จะพูดได้ทันทีที่มีใครมาชวนคุยด้วยและมันไม่เลื่อนลอยไปจากธรรมจักษุของเขา แม้จะชุลมุนวุ่นวายอยู่ท่ามกลางสนามรบก็ตาม " วจนะของท่านหงเหยิ่นเป็นความจริงจนถึงการสมัยปัจจุบันมนุษย์ยังคงเวียนว่ายอยู่ในทะเลทุกข์โดยมิได้รู้สึกว่ากำลังจมอยู่ในห้วงทะเลแห่งการเกิดและตาย เขาเหล่านั้นจะรู้สึกถึงปัญหานี้ ก็ต่อเมื่อความตายมาเยือนอยู่ตรงหน้า และพากันบอกหนทางโดยหวังว่าจะช่วยให้พ้นไปจากนรกอเวจีและเชื่อว่าบุญกุศลที่ได้สั่งงสมเอาไว้ทำให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเก่า การสร้างบุญกุศลเช่นนี้กระทำได้ง่ายกว่าการใช้ปัญญาค้นคิดหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์อันเกิดจากเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์จึงมี "บุญ" และ "บาป" เป็นเหตุปัจจัยให้ไปเวียนเกิด-ตายเพื่อไปรับผลอันมาจากเหตุที่ตนเองสร้างไว้ไม่มีที่สิ้นสุด การสร้างบุญจึงไม่ต่างอะไรกับการหาเงินฝากธนาคารเอาไว้เป็นของตน เมื่อใช้จนหมดแล้ววิถีแห่งชีวิตก็ต้องยากจนลงไปเหมือน "กินบุญ" หมดแล้วจึงไป "รับบาป" ชดใช้หนี้สินหมดแล้วจึงไป "กินบุญ" เวียนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ที่ไม่เข้าใจทุกข์แห่งการเกิดและตาย จึงทำบุญด้วยการอยากเกิดใหม่ เพื่อให้ได้ชีวิตที่ดีกว่าเท่านั้นเอง วิถีแห่งชีวิตจึงไม่พ้นไปจากวัฎสงสาร เพราะตัณหาเป็นตัวชักนำ

แต่พระพุทธองค์ทรงเบื่อหน่ายการเกิด-ตาย ทรงเล็งเห็นเป็นความทุกข์อันแท้จริงจึงทรงสละฐานันดรกษัตริย์ ซึ่งปุถุชนเห็นเป็นความสุขสมบูรณ์อันสูงงสุดทิ้งเสีย และทรงค้นคว้าหาหนทางที่สามารถไปพ้นจากทะเลทุกข์ ทรงลำบากตรากตรำทั้งปฏิบัติและศึกษานานถึง 6 ปี เมื่อกลางคืนวันเพ็ญเดือนหก พระพุทธองค์ทรงค้นพบ "ญาณทวาร" และ "วิถีจิต" อันเป็น "อนุตตรสัมมาสัมโพธิ" "ญาณทวาร" เป็นประตูวิเศษอันเร้นลับ ซึ่งพระพุทธทีปังกรเคยพยากรณ์ว่าสุเมธดาบสจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปน์ได้นิมิตเป็นแสงดาวสว่างวาบตรงจุดนั้น "วิถีแห่งจิต" เป็นหนทางอันตรงต่อประตูวิเศษซึ่งเป็นทางสายกลาง "อนุตตรสัมมาสัมโพธิ" เป็นปัญญาอันยิ่งเพราะรู้ถึง "ธรรมญาณ" ซึ่งพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดอันแท้จริง เพราะสภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" นั้น มิได้ "เกิด" จึงมิได้ "ตาย" และไม่อาจนำเอาบัญญัติใดๆ ในโลกนี้มาเทียบเคียงหรืออธิบายให้ใครเข้าใจได้เลย เพราะสภาวะนั้นพ้นไปจาก "รูป" และ "นาม" "อนุตตรธรรม" ที่พุทธองค์ตรัสรู้จึงเป็นเรื่องรับรสได้เฉพาะตนแต่เหตุไฉนตลอด 45 พรรษา พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ชี้แนะหนทางเท่านั้น ส่วนการเดินไปสู่จุดหมายปลายทางล้วนต้องประคองจิตด้วยตนเองทั้งสิ้น และเพื่อมิได้ "อนุตตรธรรม" สูญหายไปจากโลกนี้ พระพุทธองค์ทรงถ่ายทอดประตูวิเศษนี้ไว้ด้วยวิธีอันเร้นลับ มิได้ถ่ายทอดโดยเปิดเผย สมกับคำกล่าวโบราณที่ว่า "ไม่รู้ถึงหูที่หก"

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์สาวกล้วนเป็นพระอรหันต์ 1,250 รูป ณ ภูเขาคิชฌกูฏ แห่งกรุงราชคฤห์ และมิได้ตรัสประการใด จึงมีผู้ทูลอาราธนาว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไฉนวันนี้ พระองค์จึงมิได้ตรัสเทศนาโปรดเวไนยสัตว์เลย" ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งแล้วตรัสว่า "ตถาคตมีธรรมจักษุอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์ใด ๆ อยู่ในครรโภทร…" ที่ประชุมสงฆ์สาวกทั้งนั้น มีแต่พระมหากัสสปะซึ่งเป็นผู้สูงอายุหน้าตายับยู่ยี่ด้วยเร่งบำเพ็ญเพียรจนไม่เคยยิ้มเลยตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรมอยู่ เมื่อเห็นพระพุทธองค์ทรงแสดงรหัสตรัสเช่นนี้จึงรู้ได้ด้วยไวปัญญา พระมหากัสสปะจึงยิ้มครั้งแรกในชีวิตและแสดงกริยาก้มหน้าเป็นการตอบรับ พระพุทธองค์ทรงกล่าวต่อไปว่า "ตถาคตได้ส่งมอบธรรมะนี้แก่พระมหากัสสปะแล้ว" พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่าเป็นผู้มีปัญญาอันเลิศ จึงทรงแลกบาตรและจีวรกับพระมหากัสสปะ ปัญหาที่น่าพิจารณาคือบรรดาพระอรหันต์ทั้ง 1,249 รูป นั้นมิได้รู้อนุตตรธรรม เหตุไฉนจึงสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์พ้นเวียนว่ายตายเกิดได้เล่า คำตอบอยู่ที่บรรดาสงฆ์สาวกทั้งปวงล้วนปฏิบัติตรงตามทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและประคองจิตของตนเองมิได้พ้นไปจากเส้นทางสายนี้ เช่นเดียวกับพระมหากัสสปะจึงเป็นผู้ได้หนทาง แต่มิได้รู้ถึง "ประตูวิเศษ" แต่พระพุทธองค์ทรงรู้ถึง "ทวารวิเศษ" บรรดาสงฆ์สาวกซึ่งรักษาจิตของตนเองในหนทางสายกลางย่อมเดินไปจนถึง "ทวารวิเศษ" นี้ ในวันสุดท้ายของการทิ้งกายสังขาร เมื่อพระมหากัสสปะได้รับการถ่ายทอด "ทวารวิเศษ" และประคองจิตของตนเองอยู่ในหนทางสายกลาง จึงย่อมเสมอเหมือนพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรของพระพุทธองค์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการถ่ายทอด "ทวารวิเศษ ของอนุตตรธรรม" สืบต่อกันมาจนถึงพระธรรมาจารย์ หงเหยิ่น องค์ที่ห้า ในครั้งนั้นพระมหากัสสปะจึงเป็นพระธรรมาจารย์องค์ที่หนึ่งซึ่งได้รับรู้ "ประตู" ของ "ธรรมญาณ" อันเป็นหนทางแห่งอนุตตรธรรม นั่นเอง


ไม่เข้าใจตรงนี้
อ้างถึง
"ตถาคตมีธรรมจักษุอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์ใด ๆ อยู่ในครรโภทร…"

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 11:59:08 »
อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

ปัญญาอันวิเศษสุดย่อมพาตนเองพ้นไปจากวงเวียยนแห่งการเวียนนว่ายตายเกิด ทุกคนมีอยู่พร้อมแล้วเสมอกันมิแตกต่างกันเลยแม้แต่น้อย ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเปล่งวาจายืนยันสัจธรรมข้อนี้ไว้ว่า "แปลกจริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมดทุกคน ต่างกันแต่เพียงมีผู้รู้กับไม่รู้เท่ากัน" อนุตตรสัมมาสัมโพธิ จึงเป็นปัญญาสูงสุดที่ไม่มีสิ่งใดมาเทียบเคียงได้ แต่เพราะปุถุชนไม่รู้ถึงภาวะแห่งปัญญาอันสูงสุด จึงปราศจากศรัทธาในตัวเอง หนี้สินเวรกรรมที่สร้างไว้ จึงเป็นเสมือนเมฆหมอก บดบัง "ธรรมญาณ" ให้ถูกล่อหลอกและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ อายตนะหกได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชักจูงให้ลืมเลือน "ธรรมญาณ" อันแท้จริงมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนแห่งความหลงใหล และดูแคลนตนเอง

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์หงเหยิ่น สังฆปริณายก ประกาศให้ศิษย์ทั้งปวงเขียนโศลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาวะที่เข้าถึง "ธรรมญาณ" ของตนจึงไม่มีใครแสดงความกล้าหาญ เพราะต่างเชื่อว่าหัวหน้าศิษย์ นามว่าเสินซิ่ว ย่อมมีความสามารถเหนือกว่าตน ขืนส่งโศลกเข้าประกวดย่อมไม่มีทางสำเร็จได้ ศิษย์ทั้งปวงจึงพากันกล่าวว่า "เราจะไปทำให้เหนื่อยเปล่าไปทำไม ต่อไปนี้คอยติดตามท่านเสินซิ่ว หัวหน้าของเราท่านไปทางไหนเราก็ตามไปทางนั้นก็พอแล้ว" สัจธรรมข้อนี้ได้พิสูจน์ตัวเองมมาจนถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์มิได้ศรัทธาในตัวเอง ขาดความเป็นอิสระไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมทั้งปวงให้เห็นถึงสัจธรรม แต่เชื่อฟังคำสอนชนิดที่ไม่มีวันโต้แย้ง ยึดถือคัมภีร์บุคคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยไม่เชื่อว่าตนเองเป็นคัมภีร์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งตนมนุษย์จึงตกอยู่ในวิถีชีวิตสองประเภท คือ คอยติดตามผู้อื่น บูชาสิ่งอื่นนอกจากตัวเอง และประเภทที่ไม่เชื่อถือสิ่งใดเลย ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีคัมภีร์ และไม่มีหนทางแห่งการหลุดพ้น คนทั้งสองประเภทนี้เดินอยู่บนหนทางสุดโต่งทั่งสองด้านซึ่งจัดว่าเป็นความหลงงมงายด้วยกันทั้งคู่ พึ่งสิ่งอื่นมิได้พึ่งตนเอง ดังนั้นจึงไม่อาจพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลย

สมัยพุทธกาล มีบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง นามว่า วักกลิ หลงใหลในพระพุทธะสรีระ ติดตามพระพุทธเจ้าไปขอบวชอยู่ด้วยเพื่อจะได้ยลพระสิริโฉมมิได้ปฏิบัติสมณกิจใดๆ เอาแต่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า วันหนึ่งพระพุทธองค์จึงทรงตำหนิว่า "วักกลิ เธอจะเฝ้ามองร่างกายตถาคต หาประโยชน์อันใดมิได้เธอจึงไสหัวออกไป" พระวักกลิเสียใจที่หลงบูชาพระพุทธองค์ จึงกลับไปป่วยหนักและบ่นด้วยความน้อยใจอยากตายสถานเดียว พระพุทธองค์จึงเสด็จไปโปรดว่า "ผู้ใดดวงตาเป็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ไม่จำเป็นต้องเฝ้ามองดูแต่สรีระ ดวงตาไม่เห็นธรรม แม้เกาะจีวรตถาคตก็ได้ชื่อว่าไม่เห็นตถาคต" พระวักกลิดวงตาเห็นธรรมในทันที หายป่วยและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมจึงหมายถึงเป็นผู้รู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิของตนเองและเป็นที่พึ่งแห่งตนได้

บรรดาศิษย์ของท่านหงเหยิ่นจัดเป็นประเภทไม่เชื่อถือในตัวเองแต่ยึดถือเอาหัวหน้าศิษย์ เสินซิ่ว เป็นที่พึ่งซึ่งท่านเสินซิ่วรู้ดีว่าไม่มีใครกล้าเสนอตัวเข้ามาเป็นคู่แข่งขัน แต่ก็สงสัยในตัวเองยิ่งนักจะเขียนโศลกดีหรือไม่ ถ้าหากตนเองไม่เขียนไปถวายอาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่า ความรู้ทางธรรมของตนนั้นลึกซึ้งหรือผิวเผินเพียงใด ท่านเสินซิ่วสงสัยแม้เจตนาของตนเองว่าเจตนาแห่งการเขียนโศลกนี้ ถ้าทำไปด้วยความต้องการทราบธรรมะจากพระสังฆปริณายกก็เป็นเจตนาบริสุทธิ์ แต่ถ้าเขียนโศลก เพราะต้องการตำแหน่งพระสังฆปริณายกก็มีเจตนาชั่ว และเป็นการกระทำเยี่ยงโจรปล้นชิงบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระสังฆปริณายก ผู้ที่ไม่รู้จัก "ธรรมญาณ" แห่งตนจึงมีแต่ความคิดฟุ้งซ่านลังเลไม่แน่ใจแม้แต่ความคิดของตนเอง ความรู้ทั้งปวงไม่ว่าเป็นทางธรรมหรือทางโลกล้วนกลายเป็น "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" ด้วยกันทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ท่านเสินซิ่วแม้เป็นหัวหน้าศิษย์และเป็นครูช่วยสอนธรรมะ จัดเป็นผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าศิษย์ทั้งปวงแต่ก็ไม่แน่ใจในความรู้ยังข้องติดอยู่ในอารมณ์ของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงตัดสินใจเขียนโศลกด้วยความยากลำบากนัก แต่ใครก็ตามที่รู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ แห่งตนเขาไม่มีความลังเลหรือสงสัยเจตนาของตนเอง ความคิด และตัดสินใจเป็นไปอย่างอิสระเหนือข้อผูกมัดรัดตรึงใดๆ ทั้งสิ้น และนั่นเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ด้วยตนเอง อันแท้จริง


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 12:06:26 »
ตอนที่ 5....ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

      ความรู้แจ้ง "ธรรมญาณ" แห่งตนไม่อาจใช้ภาษาคนอธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน เพราะสื่อภาษามีขอบเขตจำกัดเท่าที่มนุษย์ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อยู่นอกเหนือขอบเขตการกำหนดของมนุษย์ เพราะเป็นภาวะที่ปราศจากรูปลักษณ์ทั้งปวง
ภาษาจึงเป็นเพียงรอยทางให้ผู้ใฝ่ใจศึกษาได้เดินตาม ส่วนรสชาติเป็นเรื่องที่แต่ละคนสัมผัสรับรู้ได้เอง แม้ใช้ภาษาอธิบายจนหมดสิ้นก็ไม่มีใครสามารถรับรสชาตินั้นได้เลย จึงเปรียบเหมือนน้ำคนไหนดื่มคนนั้นรับรู้รสชาติได้ด้วยตนเอง
ท่านเสินซิ่วหัวหน้าศิษย์จึงใช้การศึกษาสะท้อนให้เห็นเป็นเพียงความรู้แต่มิได้ไหลออกมาจาก "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นจึงจับจ้องว้าวุ่นใจในการเขียนโศลกถวายต่อพระอาจารย์หงเหยิ่น ด้วยไม่แน่ใจในความรู้ของตนเอง
เมื่อเขียนโศลกเสร็จแล้วไม่มั่นใจจึงไม่กล้านำไปถวายพระอาจารย์ได้แต่เดินกลับไปกลับมาเสียเวลาไป 4 วันเดินเสีย 13 เที่ยว
ในที่สุดก็ตัดสินใจเขียนเอาไว้บนฝาผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ซึ่งพระอาจารย์เดินผ่านไปมาจะได้หยั่งทราบถึงปัญญาญาณที่ตนเองได้บรรลุ
ข้อความแห่งโศลกนั้นมีว่า
"กายคือต้นโพธิ์
จิตคือกระจกเงาใส
หมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยาม
จึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ"
   

  เมื่อเขียนเสร็จแล้ว เสินซิ่วก็หามีความสุขแต่ประการใดไม่ มีแต่ความปริวิตกด้วยหวั่นเกรงว่าได้สะท้อนความไม่รู้แจ้งให้ปรากฎออกไป
แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เสินซิ่วยังไม่ได้รับรสชาติแห่งธรรมญาณของตน จึงกล่าวแก่ หลูเจิน จิตกรเอกแห่งราชสำนักซึ่งเขียนภาพต่างๆ จากลังกาวตารสูตรและชาติวงศ์ของพระสังฆปริณายกทั้ง 5 องค์ว่า
"เสียใจที่รบกวนท่าน บัดนี้ผนังเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนภาพเพราะสูตรนี้ได้กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่งอันมีรูป หรือปรากฎกริยาอาการล้วนเป็นอนิจจังและมายา จึงควรปล่อยโศลกนี้ไว้บนฝาผนังเพื่อให้มหาชนได้ท่องบ่น และถ้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้ เขาก็จะพ้นทุกข์ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติตามได้รับนั้นมีมากนัก"
ความหมายแห่งคำพูดของพระอาจารย์หงเหยิ่นพิจารณาโศลกบทนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สภาวะที่ปรากฎ "ความมี" ย่อมจะ "ไม่มี" ในที่สุด
ต้นโพธิ์ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่จิตก็เกิดดับไม่แน่นอน การหมั่นเช็ดกระจกจึงเปรียบเสมือนการทำความดีและขจัดอาสวะกิเลส
ดังนั้นทั้งกายและจิต จึงเป็นสภาวะแห่งอนิจจัง ย่อมไม่ใช่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันแท้จริง
ในเที่ยงคืนนั้นเอง พระสังฆปริณายกหงเหยิ่น จึงเรียกเสินซิ่วเข้าไปรับทราบถึงผลแห่งการเขียนโศลกนั้นว่า
      "โศลกนี้แสดงว่าเจ้ามิได้รู้แจ้งใน "ธรรมญาณ" เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้ว แต่มิได้ก้าวข้ามธรณีประตู การแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้อันสูงสุดด้วยความเข้าใจที่แสดงออกมานั้น ยากที่จะสำเร็จได้"
ความหมายอันแท้จริงคือ การติดในรูปลักษณ์ พระอาจารย์หงเหยิ่นได้อธิบายด้วยว่า "การบรรลุ อนุตตรสัมโพธิ์ได้ ต้องรู้แจ้งด้วยใจเองใน "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสร้างขึ้นได้ทำลายก็ไม่ได้ ชั่วขณะจิตเดียวผู้นั้นเห็นธรรมญาณก็เป็นอิสระจากการถูกขังตลอดกาล พ้นจากความหลง และไม่ว่าสภาวะรอบตัวเป็นเช่นไร ใจของตนเองก็อยู่ในสภาพของ "ธรรมญาณ" สถานะเช่นนี้แหละคือตัวสัจธรรมแท้ เป็นการเห็น "ธรรมญาณ" อันเป็นการตรัสรู้นั่นเอง"
เสินซิ่วได้ฟังแล้ว จึงถึงแก่อาการงงงวยนอนนั่งไม่เป็นสุข

      การที่ภาวะจิตยังตกอยู่ในรูปและนามย่อมหวั่นไหว เพราะยังยึดอยู่ในความดีและความชั่ว หรือ "มี" กับ "ไม่มี" จึงเห็นได้ทั่วไปในหมู่ของพุทธศาสนิกชนติดอยู่กับการสร้างบุญจึงกลายเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกันได้เสมอ
สร้างบุญต้องได้หน้าตามีชื่อเสียงทำให้เกิดความฟูใจ รื่นเริงใจเมื่อเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจัง ความทุกข์จึงปรากฎขึ้นแทนที่ เพราะไม่มีและไม่ได้บุญตามที่ปรารถนา

ส่วนท่านฮุ่ยเหนิง เมื่อได้ยินโศลกนี้ก็ได้ทันทีว่าเป็นเพียงโศลกที่ยังติดข้องอยู่ในรูปลักษณ์ แม้ว่าตำข้าวอยู่ในครัวถึง 8 เดือน โดยไม่ได้รับคำอธิบายใดๆ จากพระอาจารย์หงเหยิ่นเลย จึงขอให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งพาไปยังช่องกำแพงนั้นและพบกับเสมียนแห่งตำบลเจียงโจวชื่อว่าจางยื่อย่ง ให้ช่วยอ่านโศลกให้ฟัง เพราะท่านฮุ่ยเหนิงไม่รู้จักหนังสือ
เมื่อเสมียนผู้นี้ได้ฟังว่าท่านฮุ่ยเหนิงมีโศลกเหมือนกันก็อุทานในเชิงดูถูกภูมิปัญญาว่า "ประหลาดแท้ ท่านก็มาแต่งโศลกกับเขาด้วย"
คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นสัจธรรมจนถึงบัดนี้ว่า
      "ถ้าเป็นผู้แสวงหาบรรลุธรรม อย่าดูถูกคนที่เริ่มต้น คนที่จัดว่าเป็นคนชั้นต่ำก็อาจมีปฏิภาณสูงได้ ส่วนคนชั้นสูงก็ปรากฎว่าขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคนจึงจัดว่าทำบาปหนัก"

เราจึงไม่อาจแบ่งคนหรือตัดสินใครๆ ได้ที่รูปลักษณ์ซึ่งแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ "ธรรมญาณ" ซึ่งมีศักยภาพเหมือนกันทุกคนและเท่าเทียมกัน

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 12:11:17 »
ตอนที่ 6....โศลกอันลือเลื่อง

      มนุษย์ที่ยังไม่ได้พบหนทางแห่ง “ธรรมญาณ” ย่อมสับสนถ้อยคำว่า “ความรู้” กับ “ปัญญา” เพราะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน แท้ที่จริงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
“ความรู้” เป็นความจำ อ่านมากฟังมากย่อมมีความรู้มากเป็น “สัญญาขันธ์” ที่ตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง พอมีกิเลสมากระทบความรู้ย่อมหายไปได้ง่ายๆ
ส่วน “ปัญญา” เป็นอานุภาพของ “ธรรมญาณ” สามารถแยกแยะ “ผิด” หรือ “ถูก” ได้ แต่เพราะไม่พบหนทางแห่งธรรมญาณอันแท้จริงจึงมีปัญญาทั้งที่ถูกและผิดต่อสัจธรรม
ถ้าเปรียบไปแล้วเหมือนกองไฟมีเชื้อเพลิงคือฟืนโหมใส่มากเท่าใดความสว่างไสวก็ย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
“ความรู้” จึงเปรียบเสมือนฟืน
ส่วน “ปัญญา” คือแสงสว่างแห่งกองเพลิง ถ้าได้ฟืนดีแสงสว่างก็โชติช่วง แต่ถ้าได้ฟืนไม่ดี แสงสว่างก็มืดมัว
ความรู้ดี ย่อมส่งผลให้เกิดปัญญาดี
ความรู้ชั่ว จึงก่อให้เกิด ปัญญาชั่ว
      ส่วนท่านฮุ่ยเหนิงมิได้ร่ำเรียนพุทธธรรมมาก่อนเลย ครั้นได้ยินโศลกของท่านเสินซิ่วก็แยกเเยะออกด้วย สัมมาปัญญาว่า ยังเป็นโศลกที่ติดยึดอยู่ในรูปและนาม จึงวานให้เสมียน จาง ยื่อย่ง ช่วยเขียนโศลกซึ่งมีข้อความดังนี้
“ไร้กาย ไร้ต้นโพธิ์
ไร้จิต ไร้บานกระจก
เดิมที่ไม่มีใดใด
ฝุ่นจะจับลงที่ตรงไหน”


      ข้อความแห่งโศลกนี้ทำให้มหาชนในที่นั้นตื่นเต้นส่งเสียงสรรเสริญดังไปถึงพระอาจารย์หงเหยิ่น จึงออกมาดู
ครั้นเห็นคนเหล่านั้นพากันเต็มตื้นด้วยความอัศจรรย์ใจ จึงถอดรองเท้าออกมาลบโศลกนั้นเสีย เพื่อแสดงให้ชนทั้งหลายเข้าใจว่า ท่านฮุ่ยเหนิงก็ยังมิใช่ผู้ค้นพบ “ธรรมญาณ” แห่งตน คนทั้งหลายจักได้พอใจไม่ทำร้ายด้วยจิตริษยา
แต่โศลกอันลือเลื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงสภาวะแห่งรากฐานของธรรมมญาณแท้ตาม
ธรรมชาติเป็น สุญญตา ไม่เกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น จัดเป็นความว่างจาก “นาม” และ “รูป” โดยสิ้นเชิงและถ้าท่านฮุ่ยเหนิงมิได้เข้าถึงสภาวะนั้นย่อมไม่มีปัญญาแยกแยะชี้ให้ชนทั้งปวงเห็นถึงสัจธรรมแห่ง “ธรรมญาณ”
วันรุ่งขึ้นพระอาจารย์หงเหยิ่นจึงรอบมาที่โรงครัวซึ่งขณะนั้นท่านฮุ่ยเหนิงกำลังใช้สากหินตำข้าว ซึ่งตามประวัติความเป็นมาได้บันทึกเอาไว้ว่า ท่านฮุ่ยเหนิงเป็นคนร่างเล็กเตี้ย แต่การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องต้องใช้น้ำหนักของตัวเองเหยียบกระเดื่องให้สากตำข้าว ท่านจึงใช้แผ่นหินผูกเอวเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
ตามตำนานเล่าว่า ท่านฮุ่ยเหนิงตำข้าวจนเชือกบาดไหล่เป็นแผลมีน้ำเหลืองไหล หนอนที่กินน้ำเหลืองหล่นลงไปท่านยังจับให้หนอนขึ้นมากินน้ำเหลืองต่อไป โดยไม่ได้แสดงถึงความเจ็บปวด
เหตุการณ์ตอนนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะจิตเป็นหนึ่งอันเป็นสมาธิจิตสูงสุด ปล่อยวางตัวตนให้เหลือแต่ “ธรรมญาณ” แท้ๆ ที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีกต่อไป
พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงถามว่า
“ข้าวได้ที่หรือยัง”
      “ได้ที่นานแล้ว รออยู่แต่ตะแกรงสำหรับร่อนเปลือกเท่านั้น” ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
      คำโต้ตอบมีความหมายแฝงเร้นที่รู้เฉพาะกันสองท่านคือ ของพระอาจารย์หงเหยิ่นมีความนัยว่า สภาวะแห่งจิตได้เข้าที่วิปัสสนาญาณอย่างแท้จริงแล้วหรือ
      ส่วนคำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมอธิบายว่า มีปัญญาญาณอันนิ่งสงบรออยู่แต่การชี้แนะหนทางของการปลดปล่อยให้เป็นอิสระอย่างแท้จริงเท่านั้น
พระอาจารย์หงเหยิ่น จึงใช้ไม้เท้าเคาะครกตำข้าวสารทีแล้วเอามือไขว้หลังหันหลังเดินจากไป
      ปริศนาแห่งการเคาะครกตำข้าว ท่านฮุ่ยเหนิงก็ทราบดีถึงการบอกใบ้เพราะตามภาษาจีนอ่านออกเสียงว่า “ซันจิง” ปั้นเอวี้ย” ก็ความหมายว่า ยามสามเที่ยงคืนให้ไปพบ
มือไขว้หลัง ก็หมายถึงเข้าทางประตูหลัง
      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงไปถึงห้อง พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงใช้จีวรคลุมเพื่อบังมิให้ใครเห็นและถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับ พิธีเช่นนี้คงมิได้มีความเพียงมิให้รู้ไปถึงบุคคลที่สามเท่านั้น เพราะการใช้จีวรคลุมทั้งๆ ที่อยู่ในห้องของพระอาจารย์หงเหยิ่น ซึ่งเร้นลับอยู่แล้ว ย่อมต้องมีความหมมายไปถึงการป้องกันภูติผีปิศาจ หรือมารร้ายทั้งปวงล่วงรู้ประตูแห่ง “อนุตตรธรรม” ซึ่งเป็นการถ่ายทอดจากจิตสู่จิตอันเป็นต้นกำเนิดแห่ง “ธรรมญาณ” ซึ่งหมายถึง ต้นธาตุต้นธรรม
พิจารณาจากรูปลักษณ์ย่อมหมายถึงศูนย์กลางกายอันเป็นต้นกำเนิดแห่งกายสังขาร และโยงใยไปถึงประตูเข้าออกของ “ธรรมญาณ” ซึ่งพระอาจารย์หงเหยิ่นเป็นผู้เปิด “ทวารแห่งธรรมญาณ” ให้แก่ท่านฮุ่ยเหนิง และอาศัยวัชรสูตรอธิบายให้เห็นถึงสภาวะแห่ง “ธรรมญาณ” อันเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง พ้นไปจากความดีและความชั่ว
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงรู้ “ญาณทวาร” สภาวะความเป็นแห่ง “ธรรมญาณ” จึงปรากฎขึ้น นับเป็นการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ ท่านจึงเปล่งวาจาออกมาว่า
“แท้จริงทุกสิ่งอย่างในจักรวาลก็คือ ธรรมญาณมิใช่อื่นไกลเลย”
ถ้อยคำนี้มีความหมายเช่นเดียวกับพระพุทธวจนะทรงกล่าวไว้ว่า “เราคือจักรวาล จักรวาลคือเรา”
      ความหมายอันแท้จริงคือ “ธรรมญาณ” มาจากศูนย์พลังแห่งธรรมชาติ ซึ่ง ก่อกำเนิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้ในจักรวาลนี้
ท่ามกลางฟ้าดิน มนุษย์จึงมีความศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ที่สุด


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ก.พ. 2554, 12:11:45 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 12:45:54 »
ตอนที่ 7.... ต้นธาตุ ต้นธรรม

      มนุษย์มีความสับสนเพราะไม่รู้จักตัวเองอย่างชัดเจนว่าประกอบไปด้วย “ตัวปลอม” และ “ตัวจริง”
      “ตัวปลอม” มองเห็นได้ มีต้นกำเนิดมาจากพ่อแม่ และเสื่อมไปตามสภาพจึงตกอยู่ในกฎของอนิจจัง ดังนั้นจึงมี “วันเกิด” และ “วันตาย” ที่สุดจึงเปลี่ยนแปลงเป็น ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีโอกาสเวียนว่ายตายเกิด
     ส่วน “ตัวจริง” มีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภาวะคือ ความว่างอันไร้ขอบเขตจึงไม่ตกอยู่ในเขตของนิจจัง ดังนั้น จึงไม่มี “วันเกิด” และ “วันตาย” แต่กลับมีโอกาส เวียนว่ายตายเกิดตามเหตุปัจจัย

      มนุษย์รู้จักยึดถือแต่ “ตัวปลอม” ว่าเป็น “ตัวจริง” จึงปฏิบัติต่อตัวปลอมด้วยวิธีผิดๆ จนกลายเป็นเวรกรรมผิด ต่อสัจธรรมของฟ้าดินและในที่สุด “ตัวจริง” ต้องเวียนว่ายไปในวัฏสงสารจนกว่าจะรู้จัก “ตัวจริง”

      ท่านฮุ่ยเหนิงรู้จัก “ตัวจริง” และได้รับการปลดปล่อยโดยพระอาจารย์หงเหยิ่น ได้ชี้ตรงไปที่ประตูของ “ตัวจริง” นั้น ท่านจริงอุทานขึ้นต่อหน้าพระอาจารย์หงเหยิ่นว่า

“ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นของบริสุทธิ์เหนือความบริสุทธิ์ใดๆ
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของการเกิดและดับสูญอย่างแท้จริง
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์แห่งความเปลี่ยนแปลง
ใครจะไปคิดว่าสรรพสิ่งที่ปรากฎออกมานี้ล้วนมาจาก “ธรรมญาณ”
      “ตัวจริง” คือ “ธรรมญาณ” ที่อาศัยอยู่ใน “ตัวปลอม” มีสภาวะเป็น อสังขตธรรมไร้การปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้น จึงมิอาจเอากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ ไปกำหนดได้เลย และสรรพสิ่งมิอาจเข้าไปมีอิทธิพลบ่งการใดๆ ไม่มีสิ่งใดเพิ่ม ขึ้นหรือลดลงด้วยสภาพเช่นนี้เอง “ธรรมญาณ” จึงเป็นต้นธาตุ ต้นธรรม อันแท้จริง

พระอาจารย์หงเหยิ่น รู้ว่าท่านฮุ่ยเหนิงบรรลุถึงความรู้แจ้งในธรรมญาณ จึงกล่าวว่า
      “ผู้ที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนจึงป่วยการศึกษาศาสนาพุทธแต่ถ้าใครรู้จักธรรมญาณและเห็นด้วยปัญญาอย่างซึม ซาบว่าคืออะไรแล้วบุคคลผู้นั้นคือ วีรมนุษย์ เป็นครูของมนุษย์ เทวดาได้ และเขาคือ พุทธะ”

ความเป็น “พุทธะ” คือผู้รู้ทุกข์ รู้สุข และเห็นความสิ้นสุดทั้งทุกข์และสุข จึงเปรียบเช่นคนที่ตื่นจากความหลับ ไหล ดังนั้นจึงเป็นผู้เบิกบานอันแท้จริง

ในครั้งนั้นท่านฮุ่ยเหนิง จึงได้รับมอบบาตรและจีวรอันเป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ หก และพระอาจารย์หงเหยิ่น กำชับให้ช่วยสอนมนุษย์สืบอายุคำสอน อย่าให้ขาดตอนพร้อมทั้งให้โศลกไว้บทหนึ่งว่า

      “สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เราหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ลงในเนื้อนาด้วยอำนาจของเหตุผล จะเก็บเกี่ยวผล ไปจนถึงพุทธภูมิ
ส่วนวัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นสิ่งว่างเปล่าตามธรรมชาติแห่งพุทธะย่อมไม่หว่านพืชพันธุ์ ดังนั้นจึง ไม่หวังที่จะเก็บเกี่ยวเลย”

      การกำหนดแนวทางแห่งการเผยแผ่ไว้ดังนี้ก็เพราะเล็งเห็นว่าอนุตตรธรรมล้วนเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญาทั้ง นั้น และไร้รูปลักษณ์ใดๆ มนุษย์รู้ได้และปฏิบัติให้ถึงซึ่งการตรัสรู้เยี่ยงเดียวกับพระพุทธองค์เพราะพระพุทธเจ้ามีสภาพ เช่นเดียยวกับมนุษย์ มีข้อแตกต่างกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือการใช้สติปัญญาและเหตุผลเพื่อค้นหา “ตัวจริง”

พระอาจารย์หงเหยิ่น กล่าวถึงสัญลักษณ์การส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์ว่า
      “ในครั้งที่พระโพธิธรรมาถึงเมืองจีน ไม่มีใครเชื่อถือ ผ้ากาสาวพัสตร์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ส่งมอบจากพระสังฆ ปริณายก องค์หนึ่งสู่อีกองค์หนึ่ง ส่วนธรรมะก็ส่งมอบจากจิตสู่จิต ซึ่งไม่เกี่ยวกับคัมภีร์ใดๆ ผู้รับมอบธรรมะ จักต้อง เป็นผู้ที่เห็นแจ้งในธรรมะด้วยความพยายามของตนเอง จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่อดีตกาล ที่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จะมอบหัวใจแห่งคำสอนของพระองค์แก่ผู้ที่จะสืบอายุ พระพุทธศาสนาต่อไป”

คำกล่าวของพระอาจารย์หงเหยิ่นได้ยืนยันให้เห็นความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า “หัวใจ” ของธรรมะย่อมไม่เกี่ยว พันกับตำราหรือธรรมะที่ผู้นั้นปฏิบัติอยู่ เปรียบเสมือน บาตร กับจีวร เป็นเพียงตัวแทนของธรรมะ แต่มิใช่ธรรมะอัน แท้จริง
การถ่ายทอด “หัวใจ” แห่งธรรมะสูงสุดจึงไม่อาจบัญญัติเป็นตำราใดๆ ได้เลย แต่อยู่ที่จิตใจของผู้นั้นรู้แจ้งเป็น ธรรมะของตนเองเสียก่อน จึงสามารถปลดปล่อย “ธรรมญาณ” ให้หลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้

เมื่อสภาวะแห่งธรรมญาณเป็นอิสระแท้จริงแล้ว การรู้ถึง “หัวใจ” แห่งธรรมะ จึงกลายเป็นอนุตตรภาพที่หา ขอบเขตมิได้ ดังคำกล่าว ของพระอริยะเจ้าว่า
      “อ่านจนเจนจบแปดหมื่นสี่พันคัมภีร์สาส์น สู้พระวิสุทธิอาจารย์ประทานหนึ่งจุดมิได้”
เมื่อรู้หนึ่งแล้วจึงรู้ไปถึงหมื่นแสน
บาตร กับ จีวร จึงสิ้นสุดการเป็นสัญลักษณ์ของการส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์เพียงแค่ท่านฮุ่ยเหนิง แต่ หัวใจของธรรมะ จิตสู่จิต ยังส่งมอบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันกาล

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 08:07:53 »
ตอนที่ 8....ศูนย์กลางจักรวาล

      ตามตำนานพุทธศาสนาหินยานเล่าว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูตรทรงดำเนิน 7 ก้าวแต่ละก้าวมีดอกบัวรองรับพระบาท
      ส่วนตำนานแห่งมหายานกลับมีเรื่องราวแตกต่างกันไปโดยเล่าว่าเจ้าชายสิทธัตถะยกพระหัตถ์ขวาชี้ฟ้า หัตถ์ซ้ายชี้ดินแล้วเปล่งพระวาจาว่า "ท่ามกลางฟ้าดิน เราเป็นใหญ่"
ตำนานทั้งสองฝ่ายคงไม่มีใครเชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์เช่นนี้จริงๆ เพราะพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ย่อมมีสภาพเฉกเช่น เดียวกับมนุษย์ทั้งปวง แต่ทั้งสองตำนานมีความประสงค์เพียงเพื่อแสดงปริศนาธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมพุทธบารมีเท่านั้นเอง
ปริศนาธรรมที่กล่าวว่า "ท่ามกลางฟ้าดิน เราเป็นใหญ่" นั้นความหมายที่พิเคราะห์กันในภายหลังล้วนชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่ามนุษย์เป็นหนึ่งในจักรวาล เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งเหมือนอย่างที่ท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ว่า
      "สรรพสิ่งล้วนมาจากธรรมญาณทั้งสิ้น"
ความว่างเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง หากปราศจากความว่างเสียแล้ว ดวงดาวในจักรวาลมิอาจสร้างขึ้นมาได้เลย

     สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้นั้นเป็นความว่างอันยิ่งใหญ่ มีอานุภาพสร้างสรรพสิ่งให้เกิดขึ้นมากมาย เหมือนอย่างที่ท่านเหลาจื้อพูดถึง เต๋า ว่า
"เต๋า อยู่นิ่งๆ ไม่เกิดสรรพสิ่ง แต่พอเต๋าขยับตัว สรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น"
      เต๋า คือ ธรรมะ สภาพเดิมเป็นความว่าง ไม่มีสรรพสิ่งอะไรอยู่เลยเหมือนกับ ลมพายุทอนาโด นักวิทยาศาสตร์เคยทดลองด้วยการบินทะลุเข้าไปสู่ศูนย์กลางของทอนาโด ปรากฎว่าเรือบินมิได้ขยับเขยื้อนเลย แต่รอบความว่างของพายุทอนาโดกลายเป็นแรงพลังมหาศาลทำลายทุกอย่างได้ชั่วพริบตา
เหมือนอย่างสภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อยู่นิ่งๆ เป็นความว่างไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอขยับตัวคือ เริ่มต้นคิด จึงเกิด เรือบิน รถยนต์ รถไฟ ตู้เย็น พัดลม ทีวี โทรศัพท์ เป็นต้น
โลกนี้ก้าวหน้าไปไกลแค่ไหนก็ล้วนแต่ไหลออกมาจากสภาวะ "ธรรมญาณ" ขยับตัวกลายเป็นจิตคิดและ "จิต" ตัวนี้จึงเป็น อนิจจังนั่นเอง
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิง กราบเรียนถามพระอาจารย์หงเหยิ่นว่าควรจะเดินทางไปที่ใดซึ่งได้รับคำตอบว่า
"จงหยุดอยู่ที่ตำบล ไฮว๋ แล้วซ่อนตัวแต่ผู้เดียวที่ตำบล ฮุ่ย"
      พระอาจารย์หงเหยิ่น เดินทางเป็นเพื่อนท่านฮุยเหนิงมาจนถึงจิ่วเจียง และลงเรือลำหนึ่งโดยพระอาจารย์หงเหยิ่นแจวเรือด้วยตนเองท่านฮุ่ยเหนิงจึงขอร้องให้นั่งลงโดยจะแจวเรือเอง แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นกลับกล่าวว่า
"เป็นหน้าที่ของเราแต่ผู้เดียวที่จะพาท่านข้ามไป"
      "เมื่อกระผมยังตกอยู่ในอำนาจแห่งโมหะท่านอาจารย์จึงมีหน้าที่พากระผมข้ามไป แต่บัดนี้กระผมได้บรรลุธรรมจึงควรข้ามด้วยตนเอง"

ท่านฮุ่ยเหนิงตอบพระอาจารย์หงเหยิ่นแล้วอธิบายต่อไปว่า
      "กระผมได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ ได้รับมอบธรรมะ แปลว่ากระผมได้บรรลุธรรมแล้ว จึงมีหน้าที่พาตัวเองข้ามไปให้พ้นจากทะเลแห่งความเกิด-ตายด้วยการเห็นแจ้งในธรรมญาณของตนเองแล้ว"

คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นการชี้ให้เห็นสัจธรรมแห่งการพึ่งตัวเองอย่างแท้จริง โดยอาศัยการรู้แจ้ง "ตัวจริง" จึงสามารถเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ แต่บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมที่มิได้เห็นแจ้งใน "ธรรมญาณเดิม" จึงไม่อาจพึ่งพาตัวเองให้พ้นจากวิถีแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์ได้เลย ล้วนต้องพึ่งพาผู้อื่นเสมอไป
พระอาจารย์หงเหยิ่น กล่าวรับรองคำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงและพยากรณ์ว่าต่อจากนี้ไปอาศัยท่านฮุ่ยเหนิงเป็นเหตุ พุทธศาสนาจะแผ่ไปกว้างใหญ่ไพศาลนัก
      การรู้แจ้ง "ธรรมญาณ" แห่งตนจึงตกอยู่ในสภาวะศูนย์กลางแห่งจักรวาล เพราะ "ธรรมญาณ" เดิมมีต้นกำเนิดมาจากศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งหาขอบเขตแห่งความสิ้นสุดมิได้ และหาเส้นผ่าศูนย์กลางในจุดเล็กๆ ไม่ได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าไม่ถึงสภาวะแห่งธรรมญาณของตนเองจึงกลายเป็นผู้ที่หนาแน่นไปด้วยอุปาทานเพราะยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวงจึงขาดความเป็นอิสระที่แท้จริงไม่อาจพึ่งพาตนเองได้เลย
การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงอาศัยคัมภีร์ทั้งปวงและเพราะยึดคัมภีร์จึงกลายเป็นเหตุมีความเห็นแตกต่างกันจนทะเลาะวิวาทแตกแยกเป็นนิกายร้อยแปดต่างผูกมัดรัดรึงตนเองอยู่กับความเชื่อที่ตำราเหล่านั้นบ่งชี้ไว้โดยเห็นเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เลย
แต่บางรายก็ตีความตามอารมณ์ปรารถนาของตนฝ่ายเดียวและยึดถือว่าถูกต้อง ใครมีความเห็นแตกต่างกลายเป็นศัตรูอันทำลายให้ย่อยยับลงไป
ความเห็นแก่ตัวเยี่ยงนี้จึงมิใช่ธรรมะ

      อักษรจีนคำว่า "เต๋า" มีความหมายล้ำลึกดังนี้ / หมายถึง ชั่ว หรือลบ / หมายถึง ดีหรือบวก รวมเป็น หนึ่ง จึงไม่มีทั้งดีและชั่วและอยู่ที่หัว ของตนเอง และต่างต้องเดินไปด้วยตนเอง
การพึ่งตัวเองจึงมีความหมายชัดเจนว่า สภาวะจิตเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลเมื่อใดเมื่อนั้นแหละจึงเป็นที่พึ่งแห่งตนและชนทั้งหลาย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 08:41:24 »
ท่านที่อ่านเรื่องเกี่ยวกับ "พระสูตรของท่านเว่ยหล่าง" อ่านแล้วอาจจะมึนงง!!
ขอให้อ่านเรื่องย่อทั้งหมดก่อน จากที่นี้ก่อน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องต่างๆดียิ่งขึ้น
http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=196&txtmMenu_ID=7
ขอขอบคุณ คุณสมบูรณ์ แก่นตะเคียน จากเวป http://www.somboon.info/

==========================

ตอนที่ 9....ดวงตาเห็นธรรม

      ปุถุชนเป็นผู้หนาแน่นไปด้วยความไม่รู้จักตัวเอง ถ้ารู้ก็เป็นเพียงรูปร่างหน้าตาภายนอกเท่านั้น คนเหล่านี้จึงติดยึดอยู่แต่รูปลักษณ์และเห็นเป็นที่พึ่งอันแท้จริงยิ่งกว่าตนเอง จัดเป็นประเภทบัวใต้ดินเพราะถูกอารมณ์ครอบงำชีวิตเป็นไปตามอารมณ์
ส่วนผู้ที่รู้จักอารมณ์แต่ไม่อาจแก้ไขได้เป็นประเภทบัวเหนือดินยังเป็นเหยื่อของอารมณ์แห่งตนทำให้หลงได้ เพราะทำตามอารมณ์ปัญญาไม่มีอานุภาพ
ผู้ที่สามารถแก้ไขอารมณ์ได้จึงจัดว่าเป็นบัวใต้น้ำได้รับคำชี้แนะก็สามารถพันจากภัยพิบัติแห่งตนได้ เพราะเป็นผู้ใช้ปัญญาแต่ยังข้องอยู่ในอารมณ์

      สำหรับประเภทบัวเหนือน้ำรอรับอรุณคือผู้ที่เห็นธรรมญาณแห่งตน จัดเป็นผู้รู้จักหน้าตาดั้งเดิมโดยแท้เพียงได้ยินคำพูดหรือสะกิดเพียงนิดเดียวก็หลุดพ้นเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพราะดำรงชีวิตโดยใช้ปัญญาเหนืออารมณ์
ท่านฮุ่ยเหนิงกว่าจะเดินทางมาถึงภูเขาต้าหยูก็ใช้เวลาถึงสองเดือน แต่ก็มีผู้ที่ปรารถนายื้อแย่งผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรติดตามมาไม่น้อย เพราะคนเหล่านั้นเข้าใจว่าใครที่สามารถครอบครองผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรก็ได้ชื่อว่าเป็น พระสังฆปริณายก
ในจำนวนผู้ติดตามลงมาทางใต้มีภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่า ฮุ่ยหมิง เมื่อครั้งเป็นฆราวาสใช้แซ่สกุลว่า "เฉิน" เคยเป็นนายทหารยศนายพลมีกริยาหยาบคายและเต็มไปด้วยโทสะจริต แต่สะกดรอยเก่งที่สุดตามมาจนใกล้ท่านฮุ่ยเหนิง
เมื่อจวนตัว ท่านฮุ่ยเหนิง จึงวางบาตรและจีวรลงบนก้อนหินแล้วประกาศว่า
      "ผ้าผืนนี้เป็นเพียงเครื่องหมายเท่านั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่มายื้อเเย่งเอาด้วยกำลัง"

ท่านฮุ่ยเหนิงจึงซ่อนตัว ภิกษุฮุ่ยหมิง พยายามยกบาตรและผ้ากาสาวพัสตร์ก็ยกไม่ขึ้นจึงร้องขึ้นว่า
      "น้องชาย น้องชาย ฉันมาเพื่อหาธรรมะ มิใช่มาเพื่อเอาผ้า" คำเรียกขานนี้เป็นพยานยืนยันว่าท่านฮุ่ยเหนิงซึ่งบรรลุธรรมแล้วยังมิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ
ครั้นออกจากที่ซ่อนนั่งลงบนก้อนหิน ภิกษุฮุ่ยหมิง ทำความเคารพแล้วกล่าวว่า
"น้องชาย ช่วยที ช่วยแสดงธรรมให้ฉันฟังหน่อย"
      "เมื่อต้องการฟังธรรม จงระงับใจมิให้คิดถึงสิ่งใดๆ แล้วทำใจให้ว่างเปล่า เมื่อนั้น ข้าพเจ้าจะสอนท่าน" ท่านฮุ่ยเหนิงบอกแก่ภิกษุฮุ่ยหมิงต่อไปว่า
"ท่านทำในใจมิให้คำนึงถึงสิ่งดีหรือสิ่งชั่ว ในเวลานั้นเป็นอะไรนั่นแหละธรรมชาติอันแท้จริงที่เรียกว่าหน้าตาดั้งเดิมของท่าน มิใช่ หรือ"
ภิกษุฮุ่ยหมิงได้ฟังดังนั้นจิตใจก็สว่างไสวบรรลุธรรมในทันทีและถามว่า
      "นอกจากคำสอนอันเร้นลับที่พระสังฆปริณายกส่งมอบต่อๆกันมาแล้วยังมีคำสอนเร้นลับอีกบ้างไหม"
"สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนให้ท่าน มิใช่ข้อเร้นลับอะไรเลย แต่ถ้าท่านมองย้อนส่องเข้าข้างใน ท่านก็จะพบกับสิ่งเร้นลับซึ่งมีอยู่ในตัวท่านแล้ว"
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวเช่นดังนี้ ภิกษุฮุ่ยหมิงจึงกล่าวขึ้นว่า

      "แม้ฉันอย่ที่หวงเหมยมานานนมก็ไม่เห็นแจ้งในตัวธรรมชาติแท้ของตนเองเลย บัดนี้รู้สึกขอบคุณเหลือเกินในการชี้แนะของท่าน ฉันรู้สึกถึงสิ่งนั้นชัดเจนเสมือนคนที่ดื่มน้ำย่อมรู้แจ้งชัดว่า น้ำนั้นร้อนเย็นอย่างไร น้องชายเอ๋ย บัดนี้ท่านเป็นครูของฉันแล้ว"
"ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท่านกับข้าพเจ้าก็เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันของพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านจงคุ้มครองตัวเองให้ดีเถิด"
      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวตอบดังนี้ ภิกษุฮุ่ยหมิงจึงถามว่าต่อจากนี้ไปควรจะไปทางไหน ท่านฮุ่ยเหนิงบอกว่า ให้หยุดอยู่ที่ตำบลเอวียนแล้วพำนักอยู่ที่ตำบลเหมิงจากนั้นก็ได้ทำความเคารพท่านฮุ่ยเหนิงแล้วจากกัน
ภิกษุฮุ่ยหมิงได้ดวงตาเห็นธรรม มิได้เป็นรูปลักษณ์แห่งดอกบัวหรือพระพุทธรูปหรือแสงสว่างใดเลย
      หากมองเห็นรูปลักษณ์ใดๆ ย่อมมิใช่ธรรมะอันเป็นหน้าตาดั้งเดิมของตนเอง ซึ่งหมายถึงธรรมญาณ เพราะฉะนั้นการเห็นธรรมะเป็นรูปลักษณ์ใดก็ตามล้วนมิใช่ดวงตาเป็นธรรม แต่เป็นการสร้างสรรค์ของจิตหลอกลวงให้ตนเองหลงใหลมืดมัวตลอดไป
พระพุทธวจนะได้กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า
"ธรรมะอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์"
      นักนั่งสมาธิวิปัสสนาทั้งปวงพยายามหลอกลวงหรือบังคับจิตของตนเองให้เห็นรูปลักษณ์ต่างๆ จึงเป็นที่หลอกลวงตนเองอย่างแท้จริงอย่างที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระนักปฏิบัติท่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการนั่งภาวนาแล้วเห็นพระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเรา สิ่งที่เห็นนี้เป็นจริงหรือไม่ว่า
"ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" ดวงตาเห็นธรรมที่แท้จริงจึงไม่ต้องเห็นอะไร เพราะธรรมญาณไม่มีรูปลักษณ์ให้เห็นได้เลย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 10:22:44 »
ตอนที่ 10.... สัจธรรมแห่งการกินเจ

      ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปในประเทศจีนแยกออกเป็นนิกาย "อาจารยวาท" หรือ "มหายาน" และขยายมาทางใต้ของอินเดียถือว่าเป็นเถรวาท หรือหินยาน
ฝ่ายมหายานยึดหลักแห่งเมตตาธรรมมีวัตรปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งคือฉันภัตตาหารเจ คัมภีร์สำคัญของมหายาน 4 พระสูตรซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธวจนะ ได้บัญญัติห้ามการกินเนื้อสัตว์คือ หัสติกักสยะ, มหาเมฆะ, นิรวาณางคุลี มาลิกา แลละ ลังกาวตาร

ท่านพุทธทาสได้แปลบางตอนในลังกาวตารสูตรมีความว่า
      "โอ มหาบัณฑิต ในวัฏสงสารอันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไปในการเวียนว่าย ในการเกิดอีก ตายอีก ไม่มีสัตว์แต่ตัวเดียวที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่ชาย น้องชาย พี่หญิงน้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์ สองเท้า สัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนกฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติ ของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะทำลงไปได้อย่างไรหนอ จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นภราดรของตน แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของมันอีกหรือ"

และอีกบางตอนมีความว่า
"..เพราะฉะนั้น เนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิต ทั้งเพื่อตนเอง และผู้อื่น
นักกินเนื้อย่อมเป็นเหยื่อแห่งโลกหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน ใครเจ็บในท้อง ฯลฯ
      โอ มหาบัณฑิต เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดั่งนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิตเป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วย มลทิน ปราศจากคุณธรรมใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาดโดยประการทั้งปวง"

และปัญหาที่ถกเถียงกันไม่เป็นข้อยุติคือ ระหว่างผู้ฆ่า กับผู้กิน ใครคือผู้รับบาป ในลังกาวตารสูตรได้กล่าวเอาไว้ชัดเจนว่า
      "เขาผู้ฆ่าสัตว์ชนิดใดๆ ก็ตามเพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้น ทั้งสองพวกได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบอกุศลกรรม จักจมลงในนรกโรรวะ และนรก ฯลฯ

ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายหินยานยึดถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งแต่งเมื่อประมาณ พ.ศ.900 ได้กำหนดโดยอ้างว่าเป็นพระพุทธวจนะห้ามเสพเนื้อสัตว์สิบอย่างคือ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเนื้อเสือดาว
นอกนั้นฉันได้แต่ต้องไม่อยู่ในข้อกำหนดอีกสามประการคือได้ยิน ได้เห็น และเจาะจง

      แต่ตามหลักฐานค้นพบใหม่กล่าวว่า พุทธศาสนาหินยานแต่เดิมนั้น มิได้ฉันเนื้อสัตว์ โดยมีหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงลังกา 3 ครั้ง พระสายลังกาวงศ์แท้ จึงไม่เสพเนื้อสัตว์ แต่พอไปจากสยามวงศ์ในภายหลังจึงหันมาฉันเนื้อสัตว์
ปัญหาที่ค้างคาใจพุทธศาสนิกชนก็คือ
พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ หรือไม่
      ผู้ที่ตอบว่า "เสวย" กับ "ไม่เสวย" ต่างไม่เคยเห็นพระพุทธองค์เสวย เพราะฉะนั้นผู้ไปจึงเป็น "ทุวาจา" คือ คำพูดชั่วก่อนรกให้แก่ตัวเอง
แต่มีข้อควรพิจารณาด้วยปัญญาของตนเองอยู่ 3 ประการคือ
      ประการแรก อาหารสามมื้อของพระพุทธองค์เป็น ภัตตาหารมังสวิรัติ ทั้งสิ้น คือ
ก่อนตรัสรู้เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งนางสุชาดานาถวายรุกขเทวดา
ตรัสรู้แล้วนายวานิชสองพี่น้องนำข้าว สัตตุผงมาถวาย
และมื้อสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือ "สุกรมัทวะ" ที่นายจุนทะนำมาถวายนั้นแปลกันว่า "เนื้อสุกรอ่อน" เป็นคำแปลที่ผิดท่านพุทธทาสภิกขุ แปลว่า "สิ่งที่หมูชอบ" คือเห็ดชนิดหนึ่งฝังอยู่ใต้ดินภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า "ลูกบุก" ภาษาอังกฤษเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า Truffle มีสีดำกับสีน้ำตาล เวลาหาเห็ดชนิดนี้ต้องพาหมูไปด้วย เพราะจมูกหมูไวต่อกลิ่นเห็ดนี้เป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่า ภัตตาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธองค์เป็นหมู หรือ เห็ด

      ประการที่สองปัญหาที่พระเทวทัตทูลขอต่อพระพุทธองค์ให้บังคับสาวกทั้งปวงฉันอาหารมังสวิรัติ และพระพุทธองค์ ทรงไม่อนุมัติตามคำขอนี้มาแปลความว่า พระภิกษุฉันอาหารเนื้อสัตว์เป็นปกติ

ทำไมจึงไม่แปลความหมายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงไม่อนุมัติเพราะการบังคับย่อมเป็นไปไม่ได้ เนื่องด้วยการกินเป็นเรื่องเฉพาะตัวบังคับกินไม่ได้ถ้าหากกฎขึ้นมาแล้ว ย่อมมีผู้รักษากฎการกินเป็นเรื่องที่ต้องคุมตัวเองไม่มีใครคุมใครได้

ประการสุดท้ายพระพุทธองค์ทรงสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวงให้รักษาเบญจศีลซึ่งข้อที่หนึ่งคือ ห้ามเบียดเบียนชีวิตสัตว์ เมื่อพระพุทธองค์สอนเช่นนี้ ย่อมปฏิบัติได้เป็นนิจศีลอยู่แล้ว หากเสวยเนื้อสัตว์ย่อมอยู่ในฐานะสอนอย่างหนึ่งแต่ปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ย่อมถูกตำหนิติเตียนจากผู้คนของลัทธิอื่นอย่างแน่นอน
ถึงจะกินโดยจิตว่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็ลองใคร่ครวญจากคำพูดต่อไปนี้
"กินหมูก็อย่าหมายความว่าเป็นหมู ก็ไม่บาป" คนกินหมูพูดอย่างนี้
"หมูมันยินยอมพร้อมใจให้หมายอย่างนี้หรือ" คนไม่กินหมูตอบ

การกินเนื้อกับกินผักเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไม่มีข้อยุติเพราะต่างก็มีเหตุผลของตนเอง       เพราะฉะนั้นควรยุติปัญหานี้ด้วยการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันใครมีสติปัญญาเห็นอย่างไรก็กินไปตามที่ตนเองเชื่อเพราะตามสัจธรรมใครประกอบกรรมเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้นไม่จำเป็นต้องมาทะเลาะกันด้วยความเห็นที่แตกต่างกันเลย

เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงมาถึงตำบลเฉาซี คนใจบาป พยายามตามมาจองเวรเพื่อหวังทำลายล้าง ท่านฮุ่ยเหนิงจึงต้องหลบซ่อนอยู่ที่ ซื่อฮุยกับพวกพรานป่า นานถึง 15 ปี
ช่วงเวลานี้ท่านก็พยายามสั่งสอนพรานป่าเท่าที่จะสอนได้ แต่บางเวลาพรานป่าใช้ท่านฮุ่ย- เหนิงนั่งเฝ้าตาข่ายดักจับสัตว์ พอเห็นสัตว์มาติดตาข่ายท่านก็ปลดปล่อยให้สัตว์นั้นรอดชีวิตไป
ท่านฮุ่ยเหนิงกินเจเวลาหุงต้มอาหาร ท่านก็นำผักใส่ตะกร้าแล้วใส่ไปในหม้อต้มเนื้อของพรานป่า
      "และถ้าผักแกงรวมอยู่กับเนื้อจะทำอย่างไร"
      "เราก็จะเลือกกินแต่ผักอย่างเดียว"
ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
ท่านฮุ่ยเหนิงบรรลุธรรมจึงแจ้งชัดในสุจธรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิดมิได้มีความสงสัยในชาติกำเนิดสี่ภูมิวิถีหก ที่สรรพสัตว์ต้องไปเวียนว่ายเพราะฉะนั้นจึงตัดพันอันต้องเกี่ยวพันกันโดยการไม่กินเนื้อสัตว์
ประการสำคัญแสดงให้เห็นถึงมหาเมตตายอมลำบากด้วยตัวเอง แทนที่ให้สรรพสัตว์ทั้งปวงต้องทุกข์ยาก บาดเจ็บ สูญเสียชีวิต ด้วยความอาฆาตพยาบาทและจองเวรกันไม่มีที่สิ้นสุด
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผักที่ท่านฮุ่ยเหนิงแช่ลงไปในหม้อต้มเนื้อของพรานป่าคงได้ชื่อว่า "ผักขะน้า" มาจนถึงทุกวันนี้


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=5

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 10:32:45 »
ตอนที่ 11.... เอกธรรมมรรค

      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงเห็นว่าถึงเวลาเผยแพร่ธรรมะจึงเดินทางมาถึงวัดฝ่าซิ่งแห่งนครกว่างตง ในขณะนั้นพระธรรมาจารย์อิ้นจงซึ่งเป็นเจ้าอาวาสกำลังเทศนาว่าด้วยมหาปรินิรวาณสูตร และธงริ้วกำลังโบกสะบัดพริ้วๆ พระภิกษุสองรูปก็โต้เถียงกันว่า

"ผมว่าธงกำลังสั่นไหว"
      "หลวงพี่เข้าใจผิด แท้ที่จริงลมมันไหวต่างหาก"


พระทั้งสองรูปต่างโต้เถียงไม่ยอมแพ้แก่กันและไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ เพราะต่างยึดถือความเห็นของตนเองเป็นใหญ่และถูกต้อง
      ท่านฮุ่ยเหนิงจึงเสนอข้อตัดสินว่า
"ผมว่าท่านทั้งสองเข้าใจผิดแล้ว สิ่งที่สั่นไหวนั้นไม่ใช่ธงและลม แท้ที่จริงเป็นจิตของท่านทั้งสองต่างหาก"

      ที่ประชุมในขณะนั้นต่างตื่นตะลึงต่อถ้อยคำของท่านฮุ่ยเหนิงเจ้าอาวาสอิ้นจงจึงอาราธนาให้ขึ้นนั่งบนอาสนะอันสูง แล้วซักถามปัญหาสำคัญๆ ในพระสูตรต่างๆ เมื่อได้รับคำตอบอันชัดแจ้งซึ่งมีค่าสูงกว่าความรู้ที่ได้จากตำรา พระธรรมาจารย์อิ้นจงจึงกล่าวว่า
"ท่านต้องเป็นบุคคลที่มิใช่ธรรมดา อาตมาได้ฟังข่าวมานานแล้วว่า บุคคลผู้ซึ่งได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ และธรรมะจากพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า บัดนี้ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้เห็นทีท่านจะเป็นบุคคลผู้นั้นแน่แล้ว"

      ท่านฮุ่ยเหนิงแสดงกริยาตอบรับโดยอ่อนน้อม เจ้าอาวาสอิ้นจงจึงทำความเคารพและขอให้นำเอาผ้าและบาตรที่ได้รับมอบออกมาให้ที่ประชุมดูพร้อมทั้งซักถามว่า
"เมื่อครั้งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้ามอบธรรมะอันเร้นลับสำหรับพระสังฆปริณายกให้แก่ท่านนั้น ท่านได้รับคำสั่งสอนอย่างใดบ้าง"
      "นอกจากการชี้ให้เห็นแจ้งชัดในธรรมญาณแล้ว ท่านมิได้ให้คำสอนอะไรเลย ท่านมิได้เอ่ยแม้คำว่าฌาณและวิมุติ" ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
"เอ๊ะ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น" อาจารย์อิ้นจงสงสัย
     
"เพราะมันจะทำให้เกิดความหมายว่า มีหนทางขึ้นทั้งสองหนทาง ในทางพุทธธรรมจะมีสองทางไม่ได้ มันมีแต่ทางเดียวเท่านั้น"
"ที่ว่ามีแต่ทางเดียวนั้นคืออะไร อาจารย์อิ้นจงถาม

      "ก็ในมหาปรินิรวาณสูตรที่ท่านเทศนาอยู่นั่นเองก็ชี้ให้เห็นอยู่แล้วว่าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของทุกคน นั่นแหละคือทางเดียว ตัวอย่างตอนหนึ่งของพระสูตรนั้นมีว่าพระเจ้าเกากุ้ยเต๋อ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระภิกษุผู้ล่วงปาราชิกสี่อย่างหรือทำอนันตริยกรรมห้าอย่างและพวกมิจฉาทิฏฐินอกศาสนาก็ดี คนเหล่านี้จะได้ชื่อว่าถอนรากเง่าแห่งความมืดและทำลายธรรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของตนเสียแล้วโดยสิ้นเชิงหรือไม่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า รากเง่าแห่งความดีนั้นมีอยู่สองชนิดคือ ถาวรตลอดอนันตกาล กับไม่ถาวร แต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นจะเป็นของถาวรตลอดอนันตกาลก็ไม่ใช่จะว่าไม่ถาวร ก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นรากเง่าแห่งความดีของเขาจึงไม่ถูกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิง
 
      ท่านฮุ่ยเหนิงได้อธิบายสืบต่อไปว่า
"บัดนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพุทธธรรมมิได้มีสองทาง แต่ที่ว่ามีทางฝ่ายดีและฝ่ายชั่วนั้นจริงอยู่ แต่เหตุเพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นของไม่ดี ไม่ชั่ว เพราะฉะนั้นพุทธธรรมจึงไม่มีถึงสองทางตามความคิดของปุถุชนย่อมเข้าใจว่าส่วนย่อยๆ ของขันธ์และธาตุทั้งหลายย่อมแบ่งออกเป็นสองทาง แต่ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าสิ่งเหล่านั้นตามธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่เป็นของคู่เลย"
     
    เหตุแห่งปาราชิกมี 4 อย่างคือ
1. เสพสังวาสกับมนุษย์หรือสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือเป็นศพ
2. ฆ่ามนุษย์
3. ขโมยหรือคดโกงทรัพย์ตั้งแต่ 1 บาสก
4. อวดธรรมวิเศษที่ไม่มีในตนเอง
     
      ความชั่วที่ถือว่าเป็นอนันตริยกรรมมีอยู่ 5 อย่างคือ
ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้เกิดสังฆเพทคือพระสงฆ์ แตกแยกและทำให้พระพุทธองค์ห้อพระโลหิต
กรรมทั้งห้าประการนี้ถือว่าหนักหนาสาหัสที่สุด แต่ธรรมชาติของพระพุทธะก็มิได้ถอนทิ้งไปจากใครเลย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ พระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ได้รับคำสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่เลิศฤทธิ์
ในอดีตชาติเคยกระทำ ปิตุฆาต และ มาตุฆาต คือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง เพราะหลงคำยุยงของภริยาที่รังเกียจพ่อแม่ตาบอดพระโมคคัลลานะ จึงลวงพ่อแม่ของตนไปฆ่าด้วยการผลักตกเหว ด้วยอนันตริยกรรมในครั้งนั้นมีผลให้พระโมคคัลลานะต้องตกอยู่ในอเวจีนรกนับเป็นกัปกัลป์แต่เมื่อมาเกิดเป็นพระโมคคัลลานะก็ได้บวชในพระพุทธศาสนาและสำเร็จเป็นพระอรหันต์
      พระโมคคัลลานะระลึกอดีตชาติได้อย่างนี้จึงยอมให้โจรจับแล้วทุบด้วยท่อนไม้จนกลายแหลกและละเอียดดับขันธ์ปรินิพพานแต่สภาวะแห่งธรรมญาณเดิมมิได้แหลกละเอียดไปด้วย กายเนื้อถูกทำลาย แต่เพียงอย่างเดียว
ธรรมชาติของธรรมญาณ ไม่มีใครทำลายลงไปได้เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตก่อกรรมหนักเพียงใดก็ไม่มีผลแห่งการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของธรรมญาณเลย
ธรรมญาณ เป็น ธรรมะอันแท้จริงของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงเป็นแต่เพียงหนทางเดียว มิได้เป็นหนทางคู่ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะดั้งเดิมของธรรมญาณ

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้
      คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่า เพราะธรรมญาณ เป็น อสังขตธรรมไม่มีรูปลักษณ์ใดๆ เพราะเหตุนี้จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้เลย
หนทางอันแท้จริง ของธรรมญาณจึงเป็น "เอกธรรมมรรค"


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 10:40:43 »
ตอนที่ 12.... บรรลุอย่างฉับพลัน

      นับแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเผยแผ่คำสอนอยู่ 45 พรรษา และถ่ายทอด "ประตูอนุตตรธรรม" แก่พระมหากัสสปะเพื่อรักษาสายธรรมะอันสูงสุดเอาไว้แต่เพียงท่านเดียว
ภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว คำสั่งสอนได้เผยแผ่ออกไปทุกทิศานุทิศและแบ่งออกเป็นสองนิกายใหญ่ๆ โดยแผ่จากอินเดียทางเหนือเข้าสู่ประเทศจีนกลายเป็นมหายานและแตกออกเป็นนิกายต่างๆ อีกมากมาย
ส่วนที่แผ่ลงมาทางใต้ของอินเดียนั้นล้วนเป็นภาษาบาลีและกลายมาเป็นหินยานซึ่งก็แบ่งออกเป็นหลายนิกายอีกเช่นกัน

      แต่ทั้งสองนิกายใหญ่นี้มีจุดศูนย์รวมอยู่ที่การนับถือพระพุทธองค์เป็นพระศาสดาเหมือนกัน
การสังคายนาคำสอนของพระพุทธองค์และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบจนกลายมาเป็น
      พระไตรปิฎก แปลว่าคัมภีร์สามอย่างคือ
      พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของพระภิกษุ ภิกษุณี
      พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป
      พระอธิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะอันยิ่ง

      ในส่วนของพระวจนะของพระพุทธองค์ซึ่งกลายมาเป็นพระธรรมคำสอนนั้น มิใช่สภาวะแห่งการตรัสรู้แต่เป็นผลแห่งการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ "อนุตตรธรรม" เท่านั้น

คำสอนในพระไตรปิฎกจึงเป็นเพียงความรู้ มิใช่ปัญญาอันแท้จริงที่ทำให้ตัดกิเลสทั้งปวงได้
ตัวอย่างที่ชัดเจนมีอยู่สองเรื่อง คือ
      พระโปฐิละ อันเป็นฉายาที่ได้มาจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญในคำสอนของพระพุทธองค์นำมาสั่งสอนผู้คนจนมีลูกศิษย์มากมาย แต่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "คุณใบลานเปล่า"
และในที่สุดต้องไปหาศิษย์ซึ่งเป็นเณรอายุ 7 ขวบ ผู้บรรลุธรรมแล้วเพื่อปฏิบัติให้บรรลุธรรมด้วย
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ พระอานนท์ พุทธอุปฐากซึ่งพระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นผู้มีความจำดีเลิศ แต่ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่พระอานนท์มิได้บรรลุธรรมใดๆ เลย

      เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วในเวลาสามเดือนได้เพียรพยายามปฏิบัติจนบรรลุได้ก่อนที่จะมีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งแรก
คำสอนของพระพุทธองค์ที่ตกทอดกันมาแต่โบราณกาลจึงเป็นเพียงความรู้

      ส่วนปัญญาตรัสรู้เป็นอีกสภาวะหนึ่งอันไม่สามารถบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจาใดๆ ได้เลย แต่มีการถ่ายทอดสสายแห่งการตรัสรู้เพื่อเป็นการสืบสายอนุตตรธรรมไว้แต่เพียงสายเดียว นับแต่พระมหากัสสปะได้รับถ่ายทอดจากพระพุทธองค์และสิ่งต่อๆ กันมาตามลำดับ นับได้จนถึงพระโพธิธรรมเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่ 28

พระโพธิธรรมได้เดินทางไปสู่ประเทศจีนจึงถือว่าเป็นองค์ที่หนึ่งของจีนและถ่ายทอดต่อไปจนถึงองค์ที่ 6 คือ ท่านฮุ่ยเหนิง
      หลังจากที่ท่านเจ้าอาวาสแห่งวัดฝ่าซิ่งได้สดับอรรถาธิบายจากท่านฮุ่ยเหนิงแล้วจึงกล่าวว่า
"คำอธิบายพระสูตรที่ข้าพเจ้าอธิบายไปแล้ว ไร้ค่าเปรียบได้เช่นกองขยะมูลฝอยเกะกะไปหมด ส่วนคำอธิบายของท่านมีคุณเปรียบประดุจดังทองคำอันบริสุทธิ์"

      หลังจากนั้นท่านอิ้นจงจึงจัดการอุปสมบทให้ท่านฮุ่ยเหนิงได้เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาและขอร้องให้รับท่านเอาไว้เป็นศิษย์คนหนึ่งด้วย
      ท่านฮุ่ยเหนิงได้กล่าวว่าเป็นเพราะบุญสัมพันธ์แต่อดีตชาติบรรดาสาธุชนทั้งปวงจึงได้สดับคำสอนแห่ง "สำนักบรรลุฉับพลัน" อันเป็นคำสอนที่ได้สืบทอดต่อๆ ลงมาจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อนๆ มิใช่เป็นคำสอนที่ท่านคิดขึ้นเอง

      "ผู้ปรารถนาสดับพระธรรมชั้นแรกจึงควรชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ ครั้นได้ฟังแล้วจึงควรชะล้างความสงสัยให้เกลี้ยงเกลาไปเฉพาะตนเยี่ยงเดียวกับพระอริยะทั้งหลายที่ได้กระทำมาในกาลก่อน"

การบรรลุอย่างฉับพลันอันถือเป็นต้นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนานิกายเซ็น ซึ่งแพร่หลายจากเมืองจีนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้นกล่าวได้ว่า คำสอนของท่านฮุ่ยเหนิงล้วนมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางนัก เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งเข้าสู่จิตเพียงสถานเดียว
มีปริศนาธรรมให้ใช้ปัญญาขบคิดจนกว่า ปัญญาของตนสว่างขึ้นมาเอง ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแห่งความรู้แจ้งชัดในธรรมญาณของตน

      ตัวอย่างของปริศนาธรรมหรือ โกอาน มีอยู่มากมายล้วนแต่ต้องใช้ปัญญาและเวลาในการขบคิดบางเรื่องใช้เวลา สิบปี ยี่สิบปี ก็ขบไม่แตก แต่บางคนเพียงแวบเดียวก็สว่างไสวในธรรมญาณของตนเป็นผู้รู้แจ้ง ทันที
บางอาจารย์ใช้วิธี "ตบและตี" จนปัญญาของศิษย์สว่างขึ้นมาก็มี
"อาจารย์ครับ ธรรมะคืออะไร" ลูกศิษย์อาจารย์เซ็นถาม

      อาจารย์เซ็นไม่ตอบตรงๆ แต่กลับใช้ฝ่ามือฟาดเปรี้ยงจนลูกศิษย์ล้มคว่ำลงไป แต่ลูกศิษย์ก็ยังคงงงๆ อยู่อาจารย์จึงหยิบไม้เท้าฟาดโครมซ้ำลงไปอีกที คราวนี้ลูกศิษย์ร้องโอยและรู้แจ้งในทันทีว่า "ธรรมะคืออะไร"
ความเจ็บตัวทำให้เกิดความรู้และ "บรรลุอย่างฉับพลัน" เพราะเกิดความเข้าใจในทันทีว่า
"อ๋อ ตัวที่ร้องโอ๊ยและเจ็บก็คือ ธรรมญาณ นั่นเอง"

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 12:27:35 »
ตอนที่ 13.... มหาปรัชญาปารมิตา

      บรรดาผู้ที่ยึดมั่นแต่ความรู้อย่างเดียวจึงเกิดความสับสนต่อคำว่า "ปัญญา" และมีความเชื่ออย่างงมงายว่า ความรู้เป็นหนทางแห่งความสำเร็จพาให้มนุษย์พ้นจากทุกข์ทั้งปวงและดูแคลนผู้ที่ปราศจากความรู้ว่าโง่เง่า
ความจริงแล้วระหว่าง "คนฉลาด" กับ "คนโง่" ต่างมีโอกาสทัดเทียมกันในอันที่จะพาตนเองไปสู่หนทางอบายภูมิ
แต่ "คนโง่" และ"ฉลาด" ต่างมีปัญญาเท่าเทียมกัน
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายข้อความใน "มหาปรัชญาปารมิตาสูตร" โดยรับรองว่า
"ปัญญาที่ทำให้เวไนยสัตว์เข้าสู่สภาวะตรัสรู้นั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่เป็นเพราะมือวิชชาความมืดบอดครอบงำจิตของเราไว้ จึงมองไม่เห็นปัญญาด้วยตัวเอง จนต้องเที่ยวเสาะแสวงหาคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น ที่เขาเห็นแจ้งรู้ธรรมญาณก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก ธรรมญาณของเราเอง"

วจนะตอนนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของมนุษย์ทุกคนมีธรรมญาณอย่างเดียวกันและมีอานุภาพเท่ากัน แต่เพราะความหลงที่ครอบงำอยู่นั้นชักพาให้ผู้คนสูญเสียความศรัทธาในตัวเอง กลับไปศรัทธาภายนอกและยึดถือเป็นที่พึ่งแห่งชีวิตของตนเอง จึงพ้นไปจากเส้นทางแห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นสภาวะเฉพาะตน ไม่มีผู้ใดช่วยหรือทำให้ตนเองรับรสแห่งการตรัสรู้นั้นได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนที่รู้แจ้งธรรมญาณของตนเอง กับผู้ที่ไม่รู้ว่า
"ถ้าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะถูกห่อหุ้มอยู่ด้วยอวิชชาแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้รู้แจ้งกับผู้มืดบอด ข้อแตกต่างอยู่ที่ผู้หนึ่งรู้แจ้งธรรมญาณส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่"
มนุษย์ไม่มีความแตกต่างแห่งปัญญาเพราะฉะนั้นพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงได้นำเอา มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มาชี้แจงให้ผู้ที่ปรารถนาพ้นไปจากความมืดบอดแห่งอวิชชา โดยกล่าวว่า

"บรรดาคนที่ร้องแต่คำว่า "ปัญญาๆ" อยู่ทั้งวันโดยไม่ทราบเลยว่าแท้ที่จริงปัญญามีอยู่ในธรรมชาติเดิมแท้ของตนเองแล้ว เหมือนกับการพูดถึงอาหาร ย่อมไม่สามารถแก้หิวได้ฉันใด คนที่เอ่ยถึงปัญญาแต่ปากจึงไม่อาจพ้นไปจากความมือบอดได้ฉันนั้น เราอาจพูดถึงความว่างเป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ แต่การพูดถึงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในธรรมญาณได้ และในที่สุดก็ไม่ได้อะไรตามที่ตนเองประสงค์เลย"
ในกรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่า การบำเพ็ญเพื่อให้รู้แจ้งจึงมิได้อยู่ที่ความสามารถทางด้านการพูด เขียน อ่าน แต่ประการใดเลย เพราะฉะนั้นมักเป็นความเข้าใจผิดเสมอว่าคนที่เก่งทางด้านพูด เขียน อ่าน เป็นผู้ที่รู้แจ้งในธรรมญาณของตนซึ่งความจริง ทั้งสองประการนี้เป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวข้องกันเลย

      ผู้ที่รู้แจ้งในธรรมญาณของตนเองอาจเป็นผู้ที่ไม่รู้จักหนังสืออย่างพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง อ่านหนังสือไม่ออกเลยแต่เป็นผู้ตรัสรู้ได้เฉกเช่นพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึง "มหาปรัชญาปารมิตา" ว่าเป็นคำสันสกฤตมีความหมายถึง "ปัญญาอันใหญ่หลวง" เพื่อพาให้พ้นไปจากฝั่งแห่งทะเลสังสารวัฏซึ่งต้องปฏิบัติด้วยใจ จะท่องบ่นสูตรนี้หรือไม่มิใช่ข้อสำคัญ

"การท่องบ่นสูตรนี้เฉยๆ โดยปราศจากการปฏิบัติด้วยใจก็จะได้ผลเหมือนไปเล่นกับอสุรกาย หรือ เป็นเช่นการพรางตาของนักเล่นมายากลด้วยเวทย์มนต์ เหมือนกับสายฟ้าแลบเหมือนกับหยาดน้ำค้างบนใบหญ้า"

คนที่ชอบสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นบทใด โดยมากไม่รู้ความหมายของมนต์ ในทำนองเดียวกันผู้รู้ความหมายของมนต์ก็นำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริงตามมนต์นั้นมิได้เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงสอนให้ปฏิบัติทั้งสองอย่างทั้งท่องบ่นและปฏิบัติด้วยใจ เมื่อนั้นแหละจึงพบกับธรรมชาติแท้แห่งความเป็นพุทธะซึ่งนอกเหนือไปจากนี้แล้วมิต้องไปค้นหาพุทธะที่ไหนอีกเลย

แต่เป็นเพราะภาวะจิตที่หลงงมงายจึงพากันไปค้นหาแต่พุทธะนอกตัว จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และหลงไปนับถือแต่สิ่งที่จอมปลอมว่า เป็นพุทธะเห็นใครแต่งกายประหลาดและมีวิธีบำเพ็ญชนิดที่คนธรรมดาทำไม่ได้ก็หลงยึดถือว่าเป็นพุทธะ อย่างเช่น ฤาษีที่มีผู้นำเข้ามาจาก อินเดีย เพื่อปักหลักให้คนหลงงมงายกราบไหว้บูชาให้ประสิทธิ์ประสาทบุญบารมีความดีงามหรือความเป็นศิริมงคลให้บังเกิดขึ้นแก่ตน

      นอกจากความหลงงมงายในบุคคลแล้วยังตกต่ำลงไปถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เห็นลักษณะผิดแผกแปลกประหลาดต่างก็พากันกราบไหว้บูชาเห็นเป็นความศักดิ์สิทธิ์
การปฏิบัติของคนทั่วไปจึงอยู่ที่การกราบไหว้เพียงสถานเดียวเพราะฉะนั้นจึงมีพระเครื่องออกมามากมายหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์ใดโด่งดังขึ้นมาก็กลายเป็น "ธุรกิจวัตถุมงคล" สร้างความร่ำรวยให้แก่ผู้ที่ทำมาหากินจากเหยื่อที่หลงงมงายอย่างประมาณจำนวนมิได้เลย

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดสิ้นดีที่ภาวะแห่งความหลงงมงายได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมประหลาดขึ้นในหมู่ของผู้ที่กราบไหว้บูชาพระพุทธองค์ โดยมิได้คำนึงถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้ได้พึ่งพาพุทธะในตัวเอง

พุทธะ ซึ่งเป็น ผู้รู้ทุกข์ รู้ที่สุดแห่งทุกข์ และตัดทุกข์ทิ้งได้ด้วยตนเอง ผู้คนเหล่านี้จึงงยังคงลอยคออยู่ในทะเลทุกข์ถูกหลอกลวงจากคนฉลาดเจ้าเล่ห์ไม่มีที่สิ้นสุด


http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=7

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 12:39:33 »
ตอนที่ 14.... ความว่างที่ไม่รู้จักเต็ม

      ถ้าเรากำหนดรูปลักษณ์ความว่าง ย่อมมีขอบเขตแห่งความสิ้นสุดของความว่างนั้นตามรูปลักษณ์ที่กำหนดขึ้นมา จึงมิใช่ความว่างอันแท้จริงตามธรรมญาณ

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้นำเอาคำว่า "มหา" มาอธิบายว่าเป็นความ "ใหญ่หลวง" ขนาดของธรรมญาณใหญ่หลวงเยี่ยงเดียวกับอวกาศ จึงไม่อาจบัญญัติออกมาด้วยภาษาหรือรูปลักษณ์ใดๆ ได้เลย

"ธรรมญาณมิใช่ของกลมหรือของเหลี่ยมไม่ใช่ของโตหรือของเล็กไม่ใช่ของเขียวหรือเหลือง แดงหรือขาว ไม่มีบนไม่มีล่าง ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว ไม่ใช่ความชังหรือความชื่น ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด มิใช่ของอันแรกหรืออันสุดท้าย"

ธรรมญาณซึ่งเป็นตัวจริงแท้ของเราจึงยิ่งใหญ่จนประมาณมิได้ซึ่งพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้เปรียบเทียบกับพุทธเกษตรว่างเหมือนกับอวกาศฉันใด ธรรมญาณของเราก็ว่างเช่นเดียวกันฉันนั้น และจึงมิใช่ภูมิธรรมอันเดียวเท่านั้นที่ต้องบรรลุถึงด้วยการตรัสรู้ เพราะสภาวะเช่นนี้มันเป็นสิ่งเดียวกับธรรมญาณ ซึ่งเป็นภาวะแห่ง"ความว่างเด็ดขาด" เป็นความว่างของสิ่งซึ่งมีอยู่อย่างแท้จริง

เมื่อสภาวะแห่งจิตคืนสู่สภาพเดิมแท้แห่ง "ธรรมญาณ"จึงมิใช่การตรัสรู้ใดๆ ทั้งสิ้น แต่คนมักสับสนเกี่ยวกับ "ความว่าง" ว่าเป็นการขาดสูญไม่มีอะไรเลย ถ้าเข้าใจอย่างนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงท่านบอกว่าเป็นพวก "ความเห็นผิด" เพราะคนเรานั่งอยู่เงียบๆ ทำใจให้ว่างๆ ก็ตั้งอยู่ในภาวะแห่ง "ความว่างเพราะว่างเฉย" ได้เหมือนกัน

      ความว่างอันแท้จริงจึงเหมือนกับสากลจักรวาลเพราะไม่มีขอบเขตอันจำกัด สามารถบรรจุสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง ซึ่งมีรูปพรรณสันฐานแปลกๆ เข้าไว้ในตัวเองได้ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดีคนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย ในสิ่งเหล่านี้มีความว่างซึมเข้าไปอยู่ทั่ว "ความว่าง" แห่งธรรมชาติแท้ของเราก็สามารถเข้าไปอยู่ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "ที่ว่าธรรมญาณของเราเป็นของใหญ่หลวงก็เพราะมันสามารถรวมสิ่งต่างๆ เข้าไว้ได้หมดโดยที่ทุกสิ่งนั้นอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรานั่นเอง" ข้อความตอนนี้ถ้านำเอาพระพุทธวจนะเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาเทียบเคียงแล้วก็เห็นได้ว่าตรงกันคือ

"เราคือจักรวาล จักรวาลคือเรา"

      "ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นความดีหรือความชั่วของคนอื่น แล้วเราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบหรือไม่ถูกผลักดันให้ชัง หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมันเมื่อนั้นแหละลักษณะแห่งจิตของเราเป็นของว่างเยี่ยงเดียวกับความว่างของอวกาศ
ดังนั้นจึงกล่าวว่า ธรรมญาณของเราใหญ่หลวงนักและไม่มีขอบเขตอันจำกัดเช่นเดียวกับอวกาศ จึงเรียกว่า "มหา" นั่นเอง"

แต่ในปุถุชนที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนเองสภาวะแห่งจิตใจของเราเปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสในตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งดีหรือชั่วที่มากระทบ แม้สิ่งนั้นเป็นความชั่ว ถ้าเขาชอบก็ถูกความชั่วดูดเข้าไป แต่เป็นความดีจิตไม่ปรารถนาเขาก็หลีกหนีไป สภาวะจิตเช่นนี้จึงมิใช่ "มหา" เพราะเต็มไปด้วยชอบและชังเสียแล้ว

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวเอาไว้ว่า
"สิ่งใดที่พวกคนโง่เขลาพากันพูดถึงอย่างไม่เกิดประโยชน์ สิ่งนั้นผู้มีปัญญาได้นำไปปฏิบัติด้วยจิตใจจนเกิดเป็นมรรคผล"
"ยังมีคนโง่เขลาอีกจำพวกหนึ่ง ชอบนั่งนิ่งๆ เงียบๆ และพยายามทำจิตของตนให้ว่างโดยไม่คิดถึงสิ่งใดๆ ทั้งหมดแล้วก็เรียกตนเองว่า"มหา" เมื่อคนเหล่านั้นมีความเห็นนอกลู่นอกทางถึงเพียงนี้ ก็เป็นการยากที่จะกล่าวถึงพวกเขาว่าเป็นอย่างไรถึงจะถูกตรงได้"
ความว่างจึงมิได้อยู่ที่การกำหนดจนเห็นความว่าง เพราะเป็นของจอมปลอมที่ไม่มีสภาวะอันแท้จริงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถนำมาประกอบการงานใดๆ ได้เลย จึงเป็นความว่างที่ไร้สาระประโยชน์อย่างแท้จริงที่สุด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยหนิงอรรถาธิบายถึงธรรมญาณอันกว้างขวางใหญ่โตจนเป็น "มหา" นั้นว่า
"ธรรมญาณนั้นมีขนาดแห่งความจุอันใหญ่หลวงเพราะเป็นความว่างอันมีอยู่ทั่วสากลธรรมธาตุเมื่อนำมาใช้ก็ทราบในหลายสิ่งหลายอย่างและถ้าใช้เต็มขนาดก็จะได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือรู้ทุกๆ สิ่งภายในสิ่งหนึ่งและสิ่งหนึ่งในทุกๆ สิ่ง เมื่อใดธรรมญาณของเราทำหน้าที่โดยไม่ติดขัดเป็นอิสระที่จะ "ไป" หรือ "มา" เมื่อนั้นได้ชื่อว่าอยู่ในภาวะแห่ง "ปัญญา" แท้จริง"

ข้อความตอนนี้มีความลึกล้ำจนยากผู้ที่มิได้ใส่ใจศึกษาธรรมะสามารถทำความเข้าใจได้ แท้ที่จริง "ธรรมญาณ" ซึ่งอยู่ในภาวะเดียวกันความว่างในสากลจักรวาลจึงแทรกตัวอยู่ในสรรพสิ่งได้เช่นเดียวกัน เพราะสรรพสิ่งล้วนอยู่ในภาวะแห่งความว่างเช่นเดียวกัน ตกอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลง เมื่อมีธาตุอย่างเดียวกันย่อมมีความเข้าใจในทุกสิ่ง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในสภาวะใดๆ

      เมื่อธรรมญาณมิได้ถูกสิ่งใดยึดเหนี่ยวเอาไว้ย่อมเป็นอิสระซึ่งมีสภาวะแห่งความว่างอันแท้จริง
เพราะฉะนั้นจึงสามารถคิดหรือรู้ได้ถึงความเป็นไปในสรรพสิ่งและสามารถแยกแยะได้ สภาวะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็น "ปัญญา"

แต่ถ้าติดยึดอยู่ในสิ่งหนึ่งอย่างหนาแน่นแล้ว ธรรมญาณนั้นย่อมไม่อาจคิดหรือรับรู้สิ่งอื่นได้ สภาวะเช่นนั้นจึงเรียกว่า "มืดทึบ โง่เขลา ไร้ปัญญา" โดยสิ้นเชิง
ความว่างแห่งธรรมญาณจึงสามารถรับทุกอย่างได้โดยไม่รู้จักเต็ม

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 01:37:06 »
ขอขอบคุณอาจารย์ไซ ผู้ชี้ทาง(ลัด)แห่งปัญญา ทางสว่าง


ตอนที่ 15.... สัมมาปัญญา

      หนทางแห่งสัมมาปัญหาเท่านั้นจึงได้ชื่อว่าไม่เป็นผู้หลงมัวเมาต่อความชั่วทั้งปวง เพราะสัมมาปัญญาเกิดจาก สัมมาสมาธิ
ความจริงแล้ว "ปัญญา" ไม่มีสภาวะแห่ง "สัมมา" หรือ "มิจฉา" เพราะเป็นศักยภาพอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมญาณของทุกคน แต่พอสำแดงอานุภาพออกมาย่อมเป็นไปตามปัจจัยเกื้อหนุนถ้าปัจจัยเป็นไปด้วยความชอบก็แสดงไปในทางที่ถูกต้องชอบธรรมแต่ถ้าปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม อานุภาพที่สำแดงออกมาย่อมเป็นไปในทางที่ผิด
เพราะฉะนั้นในโลกนี้จึงยังมีผู้คิดผิดเห็นผิดไม่ตรงตามหลักสัจธรรม แม้ทุกคนมีภาวะแห่งปัญญามาแต่เดิมแล้วก็ตามที

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า ปัญญาทั้งหมดย่อมมาจากธรรมญาณและมีอยู่แล้วภายในมิได้มาจากวิถีแห่งภายนอกเลย เพราะฉะนั้นโดยตัวของมันเองย่อมเป็นประโยชน์ตามสภาวะอยู่แล้ว เพราะมันเป็น "ตถตา" ความเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีเป็นอย่างอื่นและไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงสภาวะแท้จริงของมันได้เลยเพราะฉะนั้นใครเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมญาณเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเขาก็เป็นอิสระจากความหลงทั้งปวงไปชั่วนิรันดร

ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้ให้ทำงานเพียงนิดเดียว เช่นนั่งเงียบๆ ทำใจให้ว่างเฉยๆ เพราะเหตุที่ธรรมญาณมีรัศมีแห่งการทำงานกว้างขวางใหญ่หลวงนัก คนที่ใช้ปากพูดถึงความว่างโดยที่สภาวะแห่งจิตไม่เคยพบความว่างเลย จึงเปรียบเสมือนผู้ประกาศความเป็นใหญ่ด้วยปากแต่แท้ที่จริงเขาเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดาเท่านั้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีโอกาสเป็นผู้ใช้ปัญญา

ความหมายที่แท้จริง ท่านฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นว่า ปัญญาจึงมิได้อยู่ที่การใช้พูดด้วยปากคนพูดเก่งมิได้หมายความว่าเป็นผู้มีปัญญาแท้จริงเพราะปัญญามิได้มาจากการพูดด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงพบคนที่พูดด้วยความโง่ เขลา อวดฉลาดรอบรู้โดยที่ตนเองหารู้สิ่งใดไม่

      การพูดเป็นเพียง ผลแห่งการใช้ "ปัญญา" ฉะนั้นจึงมิใช่ตัว "ปัญญา" ตามความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงเลย
"ปัญญาหมายถึงความรู้แจ้งชัด เมื่อใดเราสามารถรักษาจิตไม่ให้ผูกพันด้วยตัณหาความทยานอยากที่โง่เขลาได้ทุกกาลแล้วไซร้ การกระทำทุกอย่างจึงเป็นไปด้วยปัญญา ในบัดนั้นจึงได้ชื่อว่ากำลังอบรมปัญญาให้เจริญงอกงามออกมา แต่ความรู้สึกที่โง่เขลาเพียงแวบเดียว ก็สามารถทำให้ปัญญาหายวับไป แต่มีความคิดที่ปรีชาฉลาดย่อมสามารถดึงปัญญากลับคืนมาได้อีก ดังนั้นใครที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอวิชชาหรือความหลง ย่อมมองไม่เห็นปัญญาเพราะฉะนั้นจึงพูดถึงปัญญา ด้วยลิ้น แต่มิได้พูดด้วยใจเพราะภายในจิตยังเต็มไป ด้วยความงมงาย เช่นเดิม"
ในคัมภีร์ "คุณธรรม" ของท่านเหลาจื๊อ ได้กล่าวเอาไว้ว่า
      "ผู้ที่เข้าใจคนอื่นชื่อว่าเป็นผู้รอบรู้
      ผู้ที่เข้าใจตนเองจึงชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้ง"


ผู้รอบรู้อาจรู้สิ่งทั้งปวงนอกตัวเองมากมาย แต่เขาไม่อาจรู้จักจิตของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงมิใช่ปัญญาอันแท้จริงที่จะพาตัวเองให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือแก้ทุกข์ได้เลย เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นผู้รอบรู้เวลาเกิดทุกข์ต่างวิ่งเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะอยู่ ในรูปลักษณ์ของต้นไม้ รูปเคารพหรือวัตถุอื่นใด กราบไหว้อ้อนวอนขออิทธิฤทธิ์มาช่วยแก้ทุกข์ของตนเอง

แต่ผู้รู้แจ้งใช้ปัญญาของตนเองแก้ทุกข์ เขาเหล่านั้นจึงพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง เพราะดับทุกข์ที่ต้นเหตุเพราะทุกข์ที่จิต จึงดับเสียที่จิต
ส่วนผู้รอบรู้แต่ภายนอกจึงวิ่งไปหาปลายเหตุคือพยายามดับผลเพราะฉะนั้นจึงวุ่นวายและทุกข์หนักยิ่งขึ้น แม้เอาอิทธิฤทธิ์มาดับผลแห่งทุกข์ ก็เป็นเพียงชั่วครึ่งชั่วคราวในที่สุดก็ยังคงวิ่งวนอยู่ด้วยความทุกข์นั้นไม่สิ้นสุด คนเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้หลงงมงาย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงคนเหล่านี้ว่า
"เขาชอบพูดเสมอว่าประพฤติปัญญา และพูดถึงความขาดสูญไม่หยุดปาก แต่เขาไม่ได้พบหรือทราบถึงความว่างเด็ดขาดเลย หัวใจแห่งความรู้ชัดแจ้ง จึงถือเป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้รูปร่างไม่มีท่าทางให้สังเกตเห็น ดังนั้นถ้าเราตีความหมายของปัญญากันในทำนองนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นความรอบรู้แจ้งชัดของปัญญาตัวจริงอย่างถูกต้อง"

ท่านขงจื๊อได้กล่าวถึงปัญญาเอาไว้ในคัมภีร์ทางสายกลางว่า
"ปัญญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด เมื่อได้ดำเนินกิจต่างๆ ไปตามปัญญาที่มีอยู่ในตัวเอง จึงเรียกว่า ธรรมะ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมะจึงเรียกว่าเป็น อารยธรรม

      ธรรมะเป็นสิ่งที่คนเราละทิ้งไปไม่ได้แม้ชั่วขณะเดียว ถ้าสิ่งใดที่ละทิ้งได้สิ่งนั้นจึงมิใช่ธรรมะ"
เพราะฉะนั้น ปัญญาตามความหมายของท่านขงจื๊อจึงเป็นไปตามธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่งจากปัจจัยภายนอก ปัญญาชนิดเช่นนี้ย่อมแยกแยะ "ดี" และ "ชั่ว" ได้หรือรู้ถึง "นรก" หรือ "สวรรค์"

เมื่อแยกแยะได้เช่นนี้ย่อมนำพาตนเองพ้นไปจากความชั่วหรือนรก ด้วยตนเอง โดยมิต้องอาศัยสิ่งอื่นนอกตัวเองมาเป็นปัจจัยกำหนดเลย
     
 พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธภาษิตเอาไว้ว่า
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
ผู้ที่มีปัญญาตามธรรมญาณของตนเองเช่นนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น "สัมมาปัญญา" เพราะสามารถหลุดพ้นไปจากทะเลทุกข์ได้ด้วยปัญญาอันชอบนั่นเอง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 08:05:17 »
ตอนที่ 16.... กิเลสคือโพธิ
      ชีวิตของมนุษย์ปุถุชนเสมือนลอยคออยู่ในมหาสมุทรซึ่งเต็มไปด้วยสายน้ำ โลภ โกรธ หลง คนที่ได้อาบดื่มกินน้ำเช่นนี้ล้วนติดใจและติดตรึงอยู่จนยากที่จะตัดความยากนั้นลงไปได้ง่ายๆ
สองฝั่งของมหาสมุทรนี้มีสภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ฝั่งขวาเป็นโลกโลกีย์ มี กิน กาม เกียรติ เป็นรสอร่อยใครได้ลิ้มรสจึงยากตัดใจล้วนแต่เพิ่มความอยากให้มากยิ่งขึ้นไปอีกจึงมีภาวะเกิด-ดับไม่สิ้นสุด
ส่วนฝั่งซ้ายพ้นโลกีย์ไม่มี กิน กาม เกียรติ เป็นความว่างเปล่า ไม่มี เกิด-ดับ เป็นวิมุติสุขอันแท้จริง หาคนขึ้นฝั่งทางนี้ยากนักหนา
      ผู้ที่ลอยคอในมหาสมุทรนี้ก็ถูกกระแสความโลภ โกรธ หลง พัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่างแสวงหาการกิน หลงอยู่ในกามรสและติดเกียรติยศชื่อเสียงจนหมดลมหายใจแล้วก็ถูกเหวี่ยงลงไปสู่มหาสมุทรแห่งโลภ โกรธ หลง และไหลพัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่อไป
ปุถุชนเหล่านี้ตกอยู่ในอาการดีใจเสียใจไม่สิ้นสุดวนเวียนเช่นนี้โดยไม่รู้ตัวจึงเป็นความหลงอันร้ายกาจ

      พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวถึงการพ้นไปจากฝั่งแห่งการเกิด-ดับด้วยการตัดอุปาทานเสียให้เด็ดขาดอันหมายถึงการยึดถือในขันธ์ทั้งปวง ถ้าตัดได้ขาดสิ้นจึงพ้นจากภาวะเกิด-ดับ สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง อาการเช่นนี้แหละจึงทำให้ปัญญานี้ได้นามว่า "ปารมิตา" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต

การว่ายทวนกระแสโลภ โกรธ หลง จึงต้องใช้ปัญญาอย่างแท้จริงจึงสามารถข้ามสู่ฝั่งซ้ายอันเป็นวิมุติสุข
แต่คนเป็นอันมากที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความหลงจึงท่องบ่น "มหาปรัชญาปารมิตา"ด้วยลิ้น แม้ขณะที่กำลังท่องอยู่ควรคิดงมงายอันเป็นกรรมชั่วก็เกิดแก่เขา แต่ถ้าสามารถปฏิบัติได้ด้วยจิตโดยไม่หยุดหย่อนย่อมรู้ชัดถึง "ตัวจริง" ของมหาปรัชญาปารมิตา

      การรู้ธรรมะเช่นนี้จึงเป็นความรู้ธรรมชาติของปัญญา เพราะฉะนั้นผู้ที่ใช้ปัญญาอันแท้จริงจึงได้ชื่อว่า พุทธะ แต่ผู้ที่มิได้ประพฤติด้วยปัญญาจึงเป็น ปุถุชน
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "คนสามัญธรรมดาคือพระพุทธเจ้าและกิเลสก็คือ โพธิ"
ความหมายที่ท่านกล่าวเช่นนี้ ก็คือ คนทุกคนล้วนมีพุทธจิตธรรมญาณ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีโอกาสสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน หากเขาเหล่านั้นสามารถตัดกิเลสหมดสิ้นก็จักเกิดความสว่างไสวเช่นเดียวกับความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
กิเลส กิน กาม เกียรติ ที่ผ่านเข้าออกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนมีอิทธิพลทำให้เป็น ปุถุชนธรรมดาสามัญ แต่เมื่อใดความคิดที่ทำลายความโง่เขลาเหล่านี้หมดสิ้นไป จึงทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้า

ความคิดที่ผ่านเข้าออกทำให้จิตคิดในอารมณ์นั้น คือ กิเลส
แต่ความคิดที่มาเปลื้องธรรมญาณมิให้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นซึ่งเกิดทีหลังคือ โพธิ อันเป็นปัญญาแห่งการตรัสรู้นั่นเอง
      ถ้าไม่มีกิเลสย่อมไม่เกิดปัญญา
      ถ้าไม่มีปุถุชนไหนเลยจักมีพระพุทธเจ้า


ตัวอย่างของ องคุลิมาล ผู้เป็นบุตรของนางมันตานี พราหมณีถูกอาจารย์แห่งตักกสิลาหลอกลวงให้ฆ่าคนให้ครบพันคนจึงมอบวิชาวิเศษให้
ในครั้งนั้น องคุลิมาล ซึ่งเดิมมีนามว่าอหิงสกะ มีความหมายว่า ไม่เบียดเบียนใครได้กลายเป็นมหาโจรชั่วร้ายฆ่าผู้คนตัดเอานิ้วมือมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอจนชื่อเสียงเลื่องระบือทั่วกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
      วันนั้นพระพุทธองค์เสด็จไปโปรด องคุลิมาล ดีใจเพราะขาดเพียงนิ้วเดียวก็ครบพันตามคำบัญชาของอาจารย์ แต่ออกแรงเดินตามพระพุทธองค์อย่างไรก็ไม่ทัน จึงร้องเรียกว่า "สมณะหยุดก่อน"
"เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด" พระพุทธองค์ตรัสตอบ
"เอ๊ะ เราหยุดเดินแล้ว แต่ท่านยังเดินอยู่ไหนเลยบอกว่าหยุด" องคุลิมาล สงสัยจึงถามออกไป "เราหยุดเบียดเบียนชีวิตสัตว์ วางอาวุธแล้วตลอดไป ส่วนท่านยังไม่หยุดเบียนเบียนชีวิตสัตว์ ถืออาวุธล้างผลาญชีวิตผู้อื่น เราจึงได้ชื่อว่าผู้หยุด และท่านได้ชื่อว่ายังไม่หยุด"

      องคุลิมาล มีรากฐานแห่งปัญญา พอได้สดับพระพุทธวจนะเช่นนี้ จึงได้เกิดสติปัญญา ความสำนึกชั่วตีกลับมาครอบครองจิตอีกครั้งหนึ่ง จึงวางอาวุธติดตามพระพุทธองค์มายังวัดพระเชตวัน และอุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา อันหมายถึงพระพุทธเจ้าบวชให้เอง และในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ตัวอย่างเช่นนี้จึงเป็นหลักฐานสนับสนุน วจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงที่กล่าวว่า คนธรรมดาเป็น พระพุทธะได้
ในชั่วขณะจิตเดียวที่สำนึกจึงเกิด "มหาปัญญา" พาให้ชีวิตจริงคือ "ธรรมญาณ" ขององคุลิมาล พ้นไปจากมหาสมุทรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 08:15:21 »
ตอนที่ 17.... มหาปัญญา
      ไม่ว่ามนุษย์ถือกำเนิดมาจากฐานะแตกต่างกันอย่างไร ต่างก็มีปัญญาเท่าเทียมกัน แต่เวลาเปล่งอานุภาพกลับต่างกัน ที่เป็นดังนี้เพราะมีกิเลสบดบังจึงทำให้ดูเหมือนปัญญาแตกต่างกันดังนั้นบางคนจึงได้ชื่อว่า "ฉลาด" แต่บางคน "โง่เขลา"
คนธรรมดาสามารถใช้ปัญญาแยกแยะ "ดีชั่ว" ออกจากกันได้แต่กลับติดตรึงอยู่กับ "ความดี" หรือบางคนติดอยู่กับ "ความชั่ว" ปัญญาจึงมิอาจเปล่งประกายอานุภาพออกมาได้อย่างเต็มที่
 
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"มหาปรัชญาปารมิตาเป็นปัญญาอันใหญ่หลวงซึ่งเป็นของสูงสุดใหญ่ยิ่ง อยู่ในสภาวะที่ ไม่หยุด ไม่ไป และไม่มา"
ปัญญาอันใหญ่ยิ่งนี้เมื่อเริ่มต้นคิด ไม่ว่าอานุภาพนั้นดีหรือชั่วก็ "ไม่หยุด" ที่จะตัดทิ้งไปเสีย เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้มีสติอยู่ในสภาวะเดิมที่ "ไม่ไป" และจึงไม่จำเป็นต้อง "มา"

ถ้าเปรียบเทียบกับ "ปัญญาธรรมดา" เมื่อเริ่มต้นคิดสิ่งใดไม่ว่าดีหรือชั่วก็ไม่เคย "หยุด" และกลับคิดไปไกลจนกว่าจะรู้สึกตัว จึงสามารถดึงกลับมาอยู่ในสภาวะเดิม เพราะฉะนั้นมีคนเป็นจำนวนมากต้องตกไปสู่อบายภูมิเพราะไม่มี "สติ" ปล่อยให้ปัญญาความคิดพาตัวกระทำความชั่วจนกิเลสพอกหนาแน่นบดบังปัญญาเดิมแท้ที่ไม่อยู่ในภาวะดีหรือชั่ว

      ความมีสติหยุดนิ่งพร้อมสำแดงศักยภาพตลอดเวลาที่มีผัสสะเข้ามากระทบ ปัญญานั้นสามารถแยกแยะได้ตลอด แต่อำนาจของปัญญาอันสูงสุดหรือที่เรียกว่า "ปัญญา" ย่อมมีอนุภาพยิ่งใหญ่ที่สามารถตัด "ความดี" หรือ "ความชั่ว ทิ้งไปได้ทันที เพราะเหตุนี้เองพระธรรมาจารย์ฮุ่ย- เหนิงจึงยืนยันว่า พระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ล้วนแต่ใช้ "มหาปรัชญาปารมิตา" ทำให้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า
ปัญญาอันสูงสุดเช่นนี้จึงสามารถตัดอุปาทาน ซึ่งยึด "ขันธ์ห้า" อันได้แก่ "รูป" เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ทิ้งไปได้ เมื่อขจัดความผูกพันกับขันธ์ได้เช่นนี้ภาวะเดิมแท้ของธรรมญาณจึง
      เปล่งประกายออกมา
      โลภะจึงกลายเป็น ศีล
      โทสะจึงกลายเป็น สมาธิ
      โมหะจึงกลายเป็น ปัญญา

ความหมายอันแท้จริงกล่าวได้ว่า ภาวะเดิมแท้ของธรรมญาณมีความสำรวมเป็น "ศีล สมาธิ ปัญญา" พร้อมมูลอยู่แล้ว
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ตามวิธีปฏิบัติของพระองค์นั้น ปัญญาดวงเดียวเท่านั้นสามารถสร้างความรอบรู้ถึงแปดหมื่นสี่พันวิถีเท่ากับจำนวนกิเลสที่ต้องใช้ปัญญาดับไป

      พระพุทธองค์ตรัสแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์จึงเริ่มต้นจาก "มหาปัญญาอันสูงสุด" ทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่แล้วครบถ้วนในธรรมญาณโดยไม่อาจแยกปัญญาออกจากธรรมญาณได้เลย
ผู้ใดเข้าถึงหลักธรรมปฏิบัติเช่นนี้จึงไม่มีอาการของความคิดเฉื่อยชาหรือท้อแท้ เพราะสภาวะแห่งธรรมญาณที่เป็นอิสระหรือไม่ติอยู่ในอารมณ์อันทำให้จิตทะเยอทะยานจึงเป็นการปล่อยให้ "ตถตา" อันเป็นธรรมญาณทำหน้าที่โดยการใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงไม่ตกอยู่ในภาวะผลักดันหรือแม้แต่ดึงดูดสรรพสิ่งภาวะเช่นนี้จึงเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมญาณและบรรลุเป็นพระพุทธได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า การเข้าถึงสภาวะเช่นนี้ต้องเจริญด้วยปัญญาและศึกษาวัชรัจเฉทิกสูตรอันเป็นสูตรที่เปรียบประดุจดังเพชร สำหรับตัดกิเลสทั้งปวงและทำให้รู้แจ้งแทงตลอดใน "ธรรมญาณ" ผลดี แห่งการศึกษาพระสูตรนี้มีมากมายนัก และผู้ศึกษาพระสูตรนี้ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างลึกซึ้งก็คือผู้ที่มีปัญญาแก่กล้าและสามารถเข้าใจความหมายอันลึกซึ้งได้ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาน้อย เมื่อได้ฟังพระสูตรนี้ก็จักเกิดความสงสัยและไม่เชื่อถือข้อความในพระสูตรนี้

ท่านได้เปรียบเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า เสมือนหนึ่งฝนตกหนักในชมพูทวีป นครเมือง และหมู่บ้านย่อมไหลเลื่อนไปตามกระแสน้ำ เช่นเดียวกับใบอินผลัม แต่ถ้าฝนนี้ตกหนักในมหาสมุทรก็เหมือนกับไม่ได้รับผลกระเทือนแต่ประการใดเลย

      นักศึกษาฝ่ายมหายานเมื่อได้สดับพระสูตรนี้ใจของเขาจะสว่างโพลงและทราบได้ด้วยปัญญาตนเองว่าปัญญานั้นมีอยู่ในธรรมญาณแล้วและเชื่อว่าตนเองไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎกก็สามารถใช้ปัญญาให้เป็นประโยชน์โดยข้ามพ้นฝั่งแห่งวัฏสงสารได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นนิจนั่นเอง
วิปัสสนาภาวนา มีความหมายถึง การใช้ปัญญาตัดกิเลสได้เสมอไป เช่นตัวอย่างแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว คุณสมบัติส่วนตัวอ่านหนังสือไม่ออกแต่ได้รับรู้พุทธจิตธรรมญาณของตน

วันหนึ่งมีแม่บ้านคนหนึ่งมาซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 กิโลกรัม แต่ขอแถมถั่วงอก 2 กำมือ เต้าหู้ 2 ชิ้น และต้นหอม 10 ต้น
      สิ่งแรกที่แม่ค้าคิดคือ แม่บ้านคนนี้โลภมาก แต่ตนเองเพราะรู้พุทธจิตธรรมญาณ ความคิดที่ตามมาคือ ถ้าไม่แถมให้แม่บ้านเราเองก็โลภเช่นกัน อยากขายน้อยๆ ได้เงินมากๆ

แม่ค้าจึงใช้วิปัสสนาญาณตัดโลภของตนเองทิ้งไปจากการแถมให้ตามที่แม่บ้านขอและกระทำเช่นนี้ถึง 10 ครั้ง จนในที่สุด แม่บ้านจึงเกิดความละอายขอจ่ายเงินในครั้งที่ 11 อันเป็นผลของการตัดกิเลสความโลภของตนเองได้ด้วย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ปัญญาที่มีอยู่ในธรรมญาณของคนเราเปรียบได้ดังฝน ซึ่งความชุ่มชื่นย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งมีชีวิตทุกๆ สิ่ง รวมทั้งต้นไม้พืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดถึงสรรพสัตว์ ดังนั้นเมื่อแม่น้ำและลำธารไหลไปถึงทะเล น้ำฝนที่มันพาไปอันผสมเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร

      แต่ถ้าฝนตกลงมาห่าใหญ่ ต้นไม้ที่รากหยั่งไม่ถึงพอย่อมถูกน้ำพัดซัดถอนรากลอยไปตามน้ำและสูญหายไป ในที่สุดไม่มีอะไรเหลือ จึงเปรียบได้กับคนปัญญาทึบเข้าใจอะไรได้ยาก พอได้ฟังคำสอนของชั้น "บรรลุฉับพลัน" ที่แท้จริง แม้ปัญญาของบุคคลประเภทนี้จักเป็นประเภทเดียวกับพวกปัญญาไว แต่เขาก็ไม่อาจทำตนให้ตรัสรู้ได้ในขณะที่ฟังธรรมะนั้น ที่เป็นดังนี้เพราะเขาถูกครอบงำด้วยคววามคิดผิดเห็นผิดซึ่งลงรากลึกเสียแล้ว
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเปรียบเทียบว่า เหมือนหนึ่งดวงอาทิตย์ถูกบดบังด้วยเมฆไม่สามารถส่องแสงของตนออกมาได้จนกว่าจะมีลมมาพัดพาเมฆหมอกนั้นออกไป แสงสว่างของดวงอาทิตย์จึงปรากฏฉันใดก็ฉันนั้น

ผู้บำเพ็ญจึงไม่อาจแบ่งแยกดูถูกผู้โง่เขลามีแต่เมตตาหาทางขจัดเมฆหมอกแห่งกิเลสของเขาออกไปเท่านั้นเอง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 08:24:42 »
ตอนที่ 18.... เหมือนที่ต่าง

      คนเรามีความแตกต่างกันด้วยรูปลักษณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่เป็นดังนี้ เพราะปัจจัยสองอย่างคือ เวลา และ สถานที่
คนไหนเกิดเวลาเดียวกันต้องเป็นคนละเตียง
คนไหนเกิดเตียงเดียวกันต้องคนละเวลา
      ความเหมือนกันเช่นนี้จึงสร้างความแตกต่างให้แต่ละคนเป็นหนึ่งเดียวในโลกเหมือนกันหมดเพราะต่างมีกรรมเป็นสมบัติของตน ดังนั้นฝาแฝดจึงไม่เหมือนกัน

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า แม้ร่างกายแตกต่างกัน แต่ปัญญาเหมือนเหมือนกันหมดทุกคน ข้อที่แตกต่างกันอยู่ตรงที่ว่า ใจของเขาสว่างไสวหรือมืดมนเท่านั้นเอง
คนที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนเองและมีความเห็นอย่าง โง่เขลาว่าการบรรลุพุทธธรรมมีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆ ที่ประพฤติทางกายภายนอกมิได้เกี่ยวข้องกับจิตเลย คนพวกนี้เข้าใจอะไรได้ยาก

ส่วนคนที่เข้าใจคำสอนของ "นิกายฉับพลัน" และรู้สึกว่าพิธีรีตองต่างๆ ไม่เป็นของสำคัญ มีความคิดเห็นเป็นไปในทางที่เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" อย่างเดียว คือมีความเห็นถูกต้องจนกระทั่งตนเองหลุดพ้นไปจากกิเลสมลทินต่างๆ อย่างเด็ดขาด คนจำพวกนี้แหละที่เรียกว่าเป็นผู้รู้จัก "ธรรมญาณ" ของตนแล้ว

      ความหมายของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นเป็นความจริงถึงพิธีต่างๆ มิได้ทำให้ใครพ้นจากความทุกข์ได้เลยเพราะพิธีการทั้งปวงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติด้วย "กาย" ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นสิ่งที่ "ติดยึด" ได้ง่ายกว่าสิ่งใดทั้งหมด ส่วนทาง "ใจ" นั้นเป็นเรื่องที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะเหตุนี้จึงชอบ "ทำบุญ" มากกว่าการ "บำเพ็ญจิต"

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงการปฏิบัติทางใจว่า
"ขึ้นชื่อว่าใจแล้ว เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ โดยเป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก มีอิสระที่จะไปหรือจะมา ไม่ถูกพัวพัน และใสสว่างโดยทั่วถึงปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว บุคคลที่สามารถจะทำได้เช่นนี้จึงถือว่าดีถึงขนาดบัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของ "ปัญญา"

ความหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือบรรดาคนเล่านี้จึงมีความสามารถในการให้อรรถาธรรมใดๆ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากพระสูตรต่างๆ ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งปวงได้บัญญัติไว้

      ดังนั้นพระสูตรและปิฎกทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายมหายานหรือหินยานรวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัยของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆ นั่นเอง โอวาทที่มีสอนอยู่ในพระคัมภีร์ เหล่านั้นพระอริยะเจ้าบัญญัติขึ้นโดยยึดหลักสำคัญว่า มีตัวปัญญาแฝงอยู่ในทุกๆคนถ้าไม่มีคนก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะด้วยเหตุนี้เราจึงทราบได้ว่าธรรมะบัญญัติขึ้นมาสำหรับคนโดยเฉพาะ

      พระสูตรต่างๆ เกิดขึ้นโดยพระศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาดซึ่งเราเรียกกันว่า "คนเด่น" และบางพวกเป็นคนโง่เขลา ซึ่งเราเรียกกันว่า "คนด้อย" ดังนั้นคนฉลาดจึงแสดงโอวาทแก่คนเขลา ในเมื่อเขาต้องการให้สอนด้วยการกระทำเช่นนี้เอง คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวด้วยความรวดเร็วได้และใจของเขาก็แจ่มแจ้งด้วยเหตุนี้ แล้วคนเขลาเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคนฉลาดอีกต่อไป

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ ความสว่างวาบเดียวเท่านั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ใครก็ได้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า"

      พระวจนะตอนนี้เป็นการยอมรับสภาพความเป็นจริงของมนุษย์ว่าเหมือนกันเพราะ "ธรรมญาณ" เดิมมาจากที่เดียวกัน ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย เพราะสมัยที่พระพุทธเจ้าหรือพระอริยะเจ้าองค์ใดก็ตามที่ยังไม่ตรัสรู้อนุตตรธรรมก็ล้วนเป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ธรรมดา
"ธรรมะเป็นของที่มีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่าเราไม่สามารถเห็นซึมซาบแจ้งชัดในสภาวะแท้ของ "ตถตา" สภาพที่มีแต่ธรรมญาณเช่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้"

ทุกคนจึงมีโอกาสเห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เหมือนกันโดยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ยกเอาข้อความในโพธิสัตว์ศีลสูตรที่กล่าวเอาไว้ว่า
"ธรรมญาณของเราเป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดและถ้าเรารู้จักใจของเราเองและรู้แจ้งชัดว่าตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้วเราก็จะบรรลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน"
หรือในข้อความในพระสูตร วิมลกิรตินิเทศสูตรก็ยืนยันกล่าวว่า "ทันใดนั้น เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา"
      ความหมายตามข้อความนี้ก็คือ คนที่สู้รบปรบมือกับกิเลสของตนเองจนกำหราบได้หมดสิ้นแล้ว "ธรรมญาณ" เดิมแท้อันสะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้วจักปรากฎขึ้นเองก็เสมือนหนึ่งตัวตนที่แท้จริงได้ปรากฎชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ถูกกิเลสครอบงำเอาไว้นานถึงหมื่นปี
ธาตุแท้ของทุกคนเป็นหนึ่งเดียวแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กิเลส
แต่คนมีกิเลสเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันด้วยความหยาบละเอียด

      ดังนั้นในความเหมือนจึงมีความแตกต่าง และในความแตกต่างนั้นเองจึงมีความเหมือนกัน

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 21 ก.พ. 2554, 09:07:15 »
ตอนที่ 19.... ครูที่แท้จริง
      ท่านขงจื๊อกล่าวว่า "สามคนเดินมาจักมีคนหนึ่งเป็นครูของเราได้" ความหมายอันแท้จริงมิได้หมายความแต่เพียงว่ามีคนสามคนเดินมาจริงๆ เท่านั้น แต่หมายถึงสภาวะแห่งการรู้จักธรรมญาณของตนนั่นแหละจึงเป็นครูที่แท้จริงของตนเอง
ครูของตนเองจึงสามารถแยกแยะความดีความชั่วและตัดสินใจได้เองในกรณีที่ต้องที่ต้องเลือกเดินทางระหว่างสองแห่งความดีและชั่วเพราะฉะนั้นเมื่อมีผู้ทูลถามพระพุทธองค์ว่าทรงโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นไปจากวัฏสงสารมากน้อยเท่าไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า
      "ตถาคตมิได้โปรดใครเลย"
ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้คือการยอมรับว่าทุกคนต่างมีปัญญาเป็นของตนเองและเป็นที่พึ่งที่แท้จริง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
      "เมื่อครั้งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าได้แสดงธรรมให้อาตมาฟัง ก็ได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว ตรัสรู้ข้อธรรมะในทันทีที่ท่านพูดจบและทันใดนั้นเองก็ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของ ตถตา"
คำว่าตรัสรู้มิได้มีความหมายเพียง "รู้เอง" แต่เพียงอย่างเดียวแต่มีขอบเขตกว้างขวางไปถึงสภาวะแห่งความเป็นของ "ธรรมญาณ"

      "รู้เอง" และ "เป็นเอง" จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้เลย หรือแม้แต่อิทธิพลการบังคับจากผู้อื่นแต่เป็นภาวะที่ตนเองเท่านั้นที่เข้าใจและเป็นไปตามธรรมชาติแห่ง "ตถตา" หรือ "ธรรมญาณ" นั่นเอง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะที่จะประกาศคำสอนแห่งนิกาย "ฉับพลัน" ต่อไป เพื่อที่ผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิและเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง ด้วยการอบรมจิตใจในวิปัสสนาภาวนา"

การอบรมจิตให้เป็นวิปัสสนามิได้หมายถึงการนั่งหลับตาแล้วภาวนาถ้อยคำใดหรือกำหนดลมหายใจ การเคลื่อนไหวของร่างกายอาการเช่นนี้มิใช้ "วิปัสสนา" แต่เป็นเรื่องของการกำหนดรูปลักษณ์เพื่อหลอกจิตให้ติดพันอยู่กับร่างกายแต่เพียงสถานเดียวและหวังว่าการหลอกเช่นนี้จักทำให้จิตเกิดสภาวะหนึ่งเดียวอันเป็นปัญญาสูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปมิได้
 
การทำงานของจิต ที่อยู่ในสภาวะแห่งการตัดกิเลสที่ไหลเข้าออกทางอายตนะหก หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ จึงถือเป็น "วิปัสสนา" อันจริงแท้และเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเอง โดยไม่มีใครสามารถกระทำแทนได้เลย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ถ้าไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้ เขาจะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารีซึ่งมีความรู้และความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักสูงให้ช่วยชี้หนทางอันถูกต้อง ผู้ที่ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งใน "ธรรมญาณ" จึงอยู่ในตำแหน่งอันสูงสุดและสามารถที่จะนำเอาผู้ที่อยู่ในฝ่ายกุศลเข้าสู่ธรรรมะ
 
หน้าที่อันแท้จริงของผู้คงแก่เรียนก็เป็นเพียงผู้ชี้หนทาง แต่การเดินทางเพื่อพบ "ธรรมญาณ" ยังเป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องเดินด้วยตนเองไม่มีผู้ใดสามารถทำหน้าที่นั้นแทนได้เลย เพราะแต่ละคนล้วนมีปัญญาอันแท้จริงอยู่แล้ว
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจริงรับรองความจริงนี้ว่า
"บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตรวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอนในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวดล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมทั้งสิ้น"

เป็นการรับรองคุณภาพของ "ธรรมญาณ" ของปุถุชนและพระอริยะเจ้าแท้ที่จริงเป็นอย่างเดียวกันไม่มีข้อแตกต่างกันเลย จึงมีแต่ผู้ที่เดินทางไปพบด้วยตนเองกับปุถุชนผู้ไม่ปรารถนาเดินทางไปค้นพบ "ธรรมญาณ" ของตน

      ดังนั้นผู้ที่ไม่สามารถปลุก "ธรรมญาณ" ของตนเองให้สว่างไสวขึ้นมาได้ก็เหมือนหนึ่งผู้ที่ไม่รู้หนทางจึงจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากผู้ที่รู้หนทางนั้น
แต่สำหรับผู้ที่ตั้งต้นเดินทางด้วยตนเองโดยรู้หนทางนั้นย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร เพราะเหตุนี้จึงเป็นความคิดที่ผิดที่ถือคติว่าถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียนแล้ว เราไม่อาจพบวิมุติคือความสุขอันสูงสุดด้วยตนเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะการบรรลุถึง "ธรรมญาณ" นั้นมันเป็นปัญญาภายในของเราเองต่างหากแต่ที่จะทำให้เกิดความสว่างไสวได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกและคำพร่ำสอนของผู้คงแก่เรียน ก็ยังเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน ถ้าเราทำไม่ถูกหลงงมงายเสียแล้วโดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด เพราะฉะนั้นเราควรรู้จิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น และในทันทีทันใดที่เรารู้จักตัว "ธรรมญาณ" เราย่อมบรรลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะทันใดนั้น"

คำแนะนำสั่งสอนจากภายนอกยังต้องใช้ปัญญาตัวจริงพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องหรือทำให้หลงงมงาย ปัญญาตัวจริงนั้นย่อมกำกับด้วย "สติ" ที่ทบทวนใคร่ครวญและทดลองปฏิบัติจนในที่สุดย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า เป็นหนทางอันถูกถ้วนที่สมควรจะเดินต่อไปหรือหยุดเสีย
ในโลกนี้ย่อมมีผู้ที่ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่มากมายและหลายคนยังติดยึดอยู่กับความเห็นผิดและพยายามชักจูงให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างผิดๆ ด้วยการสำคัญตนผิดว่าตนเองบรรลุสู่ความเป็น "ครู" ของคนอื่นได้แล้ว แท้ที่จริงแล้วไม่มีใครเป็นครูของใครได้เลย เพราะต่างมี "ครู" ของตนเองอยู่แล้ว

      พระพุทธองค์จึงทรงเป็นบรมครูที่แท้จริงเพราะพระองค์มิได้ยึดถือว่าเป็น "ครู" ของใครเลย แต่กลับย้ำให้ทุกคนได้รู้ว่าตนเองเท่านั้นแหละที่เป็น "ครู" ของตนเอง

ถ้าใครปฏิบัติตนเป็น "ครู" ของตนเองได้จึงจักได้ชื่อว่าพบ "ครูที่แท้จริง"