ผู้เขียน หัวข้อ: ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์  (อ่าน 7843 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายธรรมะ

  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ำอยู่ที่ทําตัว
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 615
  • เพศ: ชาย
  • เหนื่อย ได้แต่อย่า ท้อ
    • ดูรายละเอียด
ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์
« เมื่อ: 08 มี.ค. 2554, 09:52:51 »
ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์


ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์ ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องมีศีลห้าบริบูรณ์ ศีลห้าจึงเป็นศีลของมนุษย์
มีคำถามถามว่า “มีใครรักษาศีลห้าได้ครบถ้วนตลอดชีวิตบ้าง?”โปรดยกมือขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่มีคนยกมือ นี่ก็แสดงว่าลำพังแต่ศีลเพียงห้าข้อก็รักษากันไว้ไม่ได้เสียแล้ว!
พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า “ให้รักษาใจตัวเดียว” ดังในสมัยพุทธกาล ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐ รูปผู้บวชใหม่ เมื่อบวชแล้วได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อขอลาสิกขา โดยกล่าวว่า ศีลของภิกษุมากเหลือเกิน ปฏิบัติไม่ไหว จึงขอลาสิกขา พระพุทธองค์จึงให้ภิกษุรูปนั้นรักษาศีลเพียงข้อเดียว คือให้รักษาใจ พระภิกษุรูปนั้นจึงรับถือศีลข้อเดียวจนได้สำเร็จอริยบุคคล
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบคำถามที่ว่า “ทราบว่าท่านรักษาศีลเพียงข้อเดียว มิได้รักษาทั้ง ๒๒๗ ข้อ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหม?”
หลวงปู่ฯ ตอบว่า “ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว คือใจ อาตมารักษาใจ ไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่ทรงบัญญัติไว้จะเป็น๒๒๗ ข้อ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็ใจเย็นว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขันมาตลอด นับแต่เริ่มอุปสมบท ฯลฯ”
กลิ่นศีลหอมทวนลม
หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ
หอมแต่ตามลมลือ กลับย้อน
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ ศีลสัตย์ นี้นา
หอมสุดหอมสะท้อน ทั่วใกล้ไกลถึง
โคลงโลกนิติ

ทำอย่างไรจึงจะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตได้?
การรักษาศีล คือ การมีเจตนางดเว้นจากการทำความชั่ว ดังคำพุทธพจน์รับรองว่า “เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วะทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นนั่นแหละคือ ศีล”
การงดเว้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. สมาทานวิรัติ คือ การงดเว้นด้วยการสมาทาน เช่น สมาทานศีลกับพระ
๒. สัมปัตตวิรัติ คือ การงดเว้นเมื่อมีเหตุบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแม้ไม่สมาทาน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่จะผิดศีลและตั้งใจงดเว้นขึ้นในขณะนั้น ถือว่าเป็นศีลเพราะตั้งใจงดเว้นเอาเอง
๓. สมุจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นโดยเด็ดขาด นั่นคือศีลของพระอริยะบุคคลซึ่งเป็นโลกุตตระศีล เป็นศีลขั้นสูง เช่น พระโสดาบันรักษาสิกขาบท๕ หรือศีล ๕ นี้ได้ตลอดชีวิต เป็นศีลที่รักษาได้โดยอัตโนมัติคืองดเว้นโดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทานและไม่ต้องตั้งเจตนา
ศีลนี้ หากใครรักษาดีแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้นั้นมากมายเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คือ มีความเย็นใจไม่เดือดร้อนเพราะเป็นผู้มีศีล ประโยชน์ในชาติหน้าพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงสรุปผลของศีลไว้ ๓ ประการว่า
“สีเลนะสุคะติง ยันติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีล
สีเลนะโภคะ สัมปะทา บุคคลจะมีโภคะได้ก็เพราะศีล
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ บุคคลจะบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล”

นายธรรมะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เว็บบอร์ดพลังจิตด้วยครับ
[shake]ศรัทธา ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ศรัทธา เพื่อ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเกิด ปาฏิหาริย์[/shake]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 มี.ค. 2554, 02:05:11 »
อานิสงส์ของการรักษาศีล 5

1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
3. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
4. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มีแต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

ศีล นั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนา คือ จิตใจ คนเราถ้าจิตไม่มี ก็ไม่เรียกว่าตน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหาหลงขอคนที่หา คนที่ขอ ต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยาก ยากเข็ญยิ่งไม่มี

กายกับจิต เราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้จากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล

ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีล ย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่อยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีลเป็นสมาธิ เป็นปัญญา

ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

ที่มา : คติธรรม คำสอน ของ องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 มี.ค. 2554, 06:59:59 »
ศีล=>คือทางมาแห่งรูปสมบัติ

ศีล หมายถึง ปกติ(๑),ความตั้งใจที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต และสิ่งไม่ดีทุกประการ(๒)

ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า

ศีล คือ เจตนา ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต ๓ (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)

และวจีทุจริต ๔ (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ)

ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งความสงบ ความดีงาม เนื่องจากศีลเป็นคุณธรรมที่ช่วยรักษากาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

การรักษาศีลให้บริสุทธิ์จะทำให้ใจสงบ ปลอดกังวล ช่วยให้บรรลุธรรมได้โดยง่าย

ศีลจึงเป็นคุณธรรมที่จะนำไปสู่กุศลธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิ และปัญญา

ศีล มี ๓ ประเภท คือ ศีล ๕ (เบญจศีล) ศีล ๘ (อุโบสถศีล) และปาริสุทธิศีล (มหาศีล)


ศีล ๕ เป็นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ

มนุษย์ แปลว่าสัตว์ที่มีจิตใจสูงส่ง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล

มนุษย์มีเหตุผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่สัตว์ไม่มีสิ่งเหล่านี้

เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล ๕ ครบ ความเป็นมนุษย์ก็สมบูรณ์ กาย,วาจา,ใจก็เป็นปกติ เมื่อใดศีล ๕ ขาด ความเป็นมนุษย์ก็ลดลง

ศีล ๕ จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ที่ใช้แบ่งแยกความเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ได้

หน้าที่ของศีลจึงมีไว้เพื่อกำจัด"โทสะ"ในจิตใจมนุษย์

...เมื่อเรารักษาศีล ศีลก็จะรักษาเรา...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มี.ค. 2554, 07:00:56 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 มี.ค. 2554, 12:28:13 »
ประโยชน์ของศีล 5

ศีล 5 นั้น มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ

1.) เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม

2.) เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล 5 นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส


        การทำผิดศีลแต่ละครั้ง ก็คือการยอมให้กิเลสสามารถครอบงำจิตใจได้อย่างเต็มที่ จนถึงขั้นส่งผลให้มีการแสดงออกทางกายหรือทางวาจานั่นเอง ดังนั้น การทำผิดศีลแต่ละครั้ง จึงทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น ตามลักษณะของกิเลสที่ครอบงำจิตอยู่นั้น ถ้ายิ่งทำผิดศีลมากครั้ง และบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งหยาบกระด้างขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อจิตหยาบกระด้างขึ้น ก็ทำให้สามารถทำผิดได้รุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้จิตหยาบกระด้างหนักขึ้นไปอีก เป็นวังวนพอกพูนไม่รู้จบสิ้น

        ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปนั้น คนเราจะไม่สามารถทำผิดได้ในขั้นที่หนักกว่าระดับความหยาบกระด้าง หรือระดับความประณีตของจิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ) เว้นแต่จะมีเหตุปัจจัย/สิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงมากๆ มาบีบคั้น เช่นคนที่เคยตบยุงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยฆ่าสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้นเลย จิตของเขาย่อมอยู่ในความประณีตระดับนั้น เขาย่อมสามารถตบยุงได้ ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นธรรมดา เพราะการกระทำนั้น อยู่ในขั้นที่ไม่หยาบเกินกว่าสภาพจิตปรกติของเขา

        แต่ถ้าให้เขาไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่ เขาย่อมจะรู้สึกว่าไม่อยากจะทำ และเมื่อถูกเหตุการณ์บีบบังคับ ทำให้เขาเลี่ยงไม่ได้ เขาย่อมจะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่หยาบกว่าสภาพจิตปรกติของเขานั่นเอง และหลังจากนั้น เมื่อเขาต้องฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, ...... เขาย่อมจะสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกที่ฝืนใจน้อยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่ต้องฝืนใจเลย เพราะจิตของเขาจะหยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ทำลงไป ตั้งแต่ครั้งที่ 1, 2, 3, 4, ...... แล้วหลังจากนั้น เขาก็ย่อมที่จะฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามวังวนเช่นเดียวกันนี้

        ผู้ดำเนินการเคยฟังคำให้สัมภาษณ์ของอดีตมือปืนรับจ้าง ได้ความว่ามือปืนโดยทั่วไปนั้น เมื่อต้องฆ่าคนครั้งแรก จะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจ และทำใจได้ยากลำบากมาก และหลังจากทำงานครั้งแรกนั้นสำเร็จแล้ว ก็จะรู้สึกแย่อยู่หลายวันกว่าจะสงบลงได้ แต่พอทำครั้งที่ 2, 3, 4, 5 ก็จะทำได้โดยสะดวกใจขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งประมาณครั้งที่ 6 หรือ 7 ก็จะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นปรกติ

        ไม่เฉพาะการทำผิดศีลข้อแรก คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเท่านั้นที่อยู่ในวังวนแบบนี้ การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ก็หนีไม่พ้นวังวนนี้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้คนที่ผิดศีลนั้น มีจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น ทำให้เขาต้องห่างไกลจากความสุขอันประณีต ละเอียดอ่อนออกไปทุกที ต้องอยู่กับสภาพจิตที่เร่าร้อน หยาบกระด้างขึ้นทุกขณะ

        ครั้นพอได้มีโอกาสมารักษาศีล กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นจึงครอบงำจิตใจได้น้อยลง เพราะถูกบังคับ ควบคุมไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้แผลงฤทธิ์รุนแรงจนถึงขั้นแสดงตัวออกมาทางกาย หรือทางวาจา กิเลสจึงมีกำลังอ่อนลงเรื่อยๆ ส่งผลให้จิตประณีต ละเอียดอ่อนขึ้นไปเรื่อยๆ

        เช่นคนที่เคยฆ่าเป็ดฆ่าไก่อยู่เป็นประจำนั้น ถ้าเขาว่างเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเวลานานๆ ครั้นต่อมาเขาต้องกลับไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เขาก็ย่อมจะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ยากลำบาก ต้องฝืนใจมากกว่าในครั้งสุดท้ายที่เขาเคยทำมา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาเริ่มประณีตขึ้นมาแล้วนั่นเอง