ผู้เขียน หัวข้อ: กินเหล้าอย่างมีสตินั้นเสียหายอย่างไร?  (อ่าน 1650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ถาม – ตามหลักธรรมะเท่าที่ทราบ การทำบาปคือการทำตัวเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ผมกินเหล้าอย่างมีสติเป็นประจำ ไม่ทำให้ตัวเองและคนรอบข้างเดือดร้อน แต่พระก็บอกว่าผิดศีลข้อ ๕ อยู่ดี รู้สึกเหมือนเป็นคนไม่ดีเพียงเพราะถือศีล ๕ ไม่ครบน่ะครับ ขอเหตุผลชัดๆ หน่อยได้ไหมว่ากินเหล้าอย่างมีสตินั้นเสียหายอย่างไร

การละเมิดศีล ข้อ ๕ นั้น ถ้าว่ากันตามจริงก็ถือว่าเบากว่าการละเมิดศีลข้ออื่น คือนอกจากจะอยู่ในข้อสุดท้ายของศีล ๕ แล้ว พระพุทธเจ้ายังกำหนดบทลงโทษสถานเบาแก่ภิกษุผู้ละเมิดวินัยด้วยการเสพสุรา ขอเพียงไม่เสพสุราเป็นอาจิณ ก็จะไม่ขาดจากความเป็นภิกษุ แต่หากพระทำผิดศีลข้ออื่น คือฆ่ามนุษย์หรือลักทรัพย์เกินหนึ่งบาท ก็จัดเป็นผู้แพ้ภัยตนเอง ตามวินัยสงฆ์ถือว่าตายจากความเป็นพระทันที ต้องสึกสถานเดียวเบี้ยวไม่ได้

พูดแบบรวบรัดตัดความ คุณยังไม่เป็นคนเลวอย่างแน่นอน ตราบเท่าที่ยังครองสติอยู่กับตัวได้ แม้เหล้าจะเข้าปากบ้างก็ตาม แต่แม้เหล้าไม่เข้าปาก ถ้าสติขาดลอย ยอมตัวให้กับบาปอกุศลแล้ว อย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นคนเลว และเป็นการตัดสินใจเลวเอง ไม่ใช่ถูกเหล้าย้อมใจให้เลว

จากภาพที่ เห็นด้วยตาเปล่านั้น การดื่มเหล้าไม่ทำให้ร่างกายใครเสียหาย เหล้าต้องมีปริมาณมากพอสมควรจึงจะทำให้มึนจนขับรถออกนอกทาง หรือทำให้ตับแข็งตายในระยะยาว เพราะฉะนั้นในสังคมมนุษย์จึงไม่ติเตียนผู้บริโภคเหล้าพอประมาณ แต่กลับจะส่งเสริมด้วยซ้ำ เพราะเหล้ามีข้อดีประการต่างๆ เช่นทำให้เลือดลมแล่น และเป็นตัวปรุงรสในการชุมนุมสังสรรค์เสวนา หลายกลุ่มหลายเหล่าถึงกับตั้งข้อรังเกียจผู้หลีกเลี่ยงเหล้ายาในงานเลี้ยง ถือว่าทำตัวแปลกแยกไม่เป็นกันเองเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็งมาที่จิตซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะพบว่าเหล้าทำความฟกช้ำให้กับจิตทุกครั้งที่คุณปล่อยให้มันล่วงลำคอลงไป หากเอาผู้ที่ ‘คอบริสุทธิ์’ มากินเหล้าอึกแรกๆจะรู้เลยครับ ว่าจิตผิดปกติไป เหมือนฤทธิ์ของพิษร้ายที่ซ่านสู่สมองมันบีบสติให้เล็กลง แล้วขับดันกิเลสประเภทต่างๆ ให้พองโตขึ้นเรื่อยๆ สติที่เริ่มแหว่งวิ่นและกิเลสที่เริ่มกำเริบง่ายนั่นแหละ ตัวชี้ว่าจิตเริ่มช้ำแล้ว หากปล่อยให้เกิดความช้ำกับจิตมากๆ ไม่เอาบุญมาชะล้างหรือสมานแผลเสียบ้าง ในที่สุดจิตจะช้ำถาวร จิตที่บอบช้ำถาวรจะมีสภาพเหมือนคนสะบักสะบอม ยามใกล้ตายคงประคองตัวขึ้นบันไดสวรรค์ไม่ไหว แต่กลับมีแนวโน้มว่าจะทนแรงฉุดของอบายไม่อยู่

กรณีของคุณนั้น ถ้ากินเหล้าเป็นประจำแบบไม่ขาดสติเลย ไม่เคยเมาสุราอาละวาดเลย ในทางธรรมก็ต้องถือว่า ‘ไม่เลว’ ครับ แต่อย่างไรจิตของคุณก็มีความฟกช้ำดำเขียวอยู่ดี เพราะการกินเหล้าน้อยๆ เป็นประจำก็คล้ายถูกทุบเบาๆ ไม่ขาดระยะ ร้อยหนเหมือนไม่เป็นไร แต่พอขึ้นหลักพันก็ชักช้ำเข้าจนได้

อยากให้มองว่าถ้าคุณทำทานเป็น ปกติ และศีลข้ออื่นบริสุทธิ์สะอาดหมด บุญแห่งทานและศีลจะช่วยให้ ‘กล้ามเนื้อจิต’ เกิดความแข็งแรง ฟกช้ำยาก รวมทั้งคืนสภาพได้เร็ว เมื่อใกล้ตายก็อาจแทบไม่ได้รับผลร้ายจากการสั่งสมเหล้าสักเท่าไร

แต่ หากคุณเป็นคนตระหนี่ มีศีลที่บกพร่องทุกข้อ บาปทั้งหลายทำให้จิตอ่อนแอและ ‘ขี้โรค’ อยู่โดยเดิม ยิ่งเพิ่มเติมแรงทุบ แรงกระแทกจากเหล้ายาเสริมเข้าไป พอใกล้ตายโอกาสรอดจากนรกก็คงยาก

นั่นคือการพูดตามเนื้อผ้า แต่ถ้าไม่อยากให้พูดคล้ายเอาเรื่องมองไม่เห็นข้างหน้ามาขู่กัน จะลองพิจารณาความจริงที่เป็นปัจจุบันก็ได้ครับ การกินเหล้าจะทำให้คุณมองอะไรอย่างหนึ่งผิดจากความเป็นจริงเสมอ บางทีก็รู้ได้ยากครับว่าอะไรที่ผิด ยกตัวอย่างอย่างนี้ก็แล้วกัน กายที่หนักไม่ปลอดโปร่ง กับจิตที่ขุ่นมัวไม่ใสสะอาดนั้น ไม่อาจยินดีในเหตุแห่งการพ้นทุกข์ พูดง่ายๆ คือจิตไม่ใส ใจไม่เบาพอจะรับธรรมะใสๆได้ถนัดถนี่นัก คุณอาจฟังเรื่องทานแล้วยินดี อาจฟังเรื่องศีลข้ออื่นๆแล้วคล้อยตาม แต่จะไม่เห็นด้วยกับการสละต้นเหตุแห่งความมัวเมา เห็นชัดๆว่าเหล้าทำให้มัวเมา เป็นต้นเหตุแห่งความมัวเมาตรงๆ คุณยังทิ้งมันไม่ได้ แล้วจะไปทิ้งเหตุแห่งความมัวเมาอื่นๆอย่างไรไหว?

เท่า ที่ผมทราบว่ามีตัวตนจริงๆคือขี้เหล้าหลายรายฟังธรรมะเข้าใจจริงๆ ถึงระดับที่จิตเห็นโทษภัยของการผิดศีลผิดธรรมแล้ว จิตก็ปฏิวัติตัวเอง เกิดความรังเกียจเหล้าบุหรี่โดยไม่มีใครบังคับ เหมือนเกิดใหม่กลายเป็นอีกคนที่ไม่อยากให้มลทินมาแปดเปื้อนตน

พูด ง่ายๆ บางคนเมื่อเข้าใจธรรมะจริงจะเลิกเหล้า แต่บางคนต้องเลิกเหล้าเสียก่อนถึงจะเข้าใจธรรมะ อะไรจะมาก่อนมาหลังไม่สำคัญครับ สำคัญที่ธรรมแท้ไม่เข้ากับเหล้ายาแน่นอน

ถ้า ชีวิตคุณยังมาไม่ถึงคำถามว่าทำไมต้องเข้าใจธรรมะขั้นสูง หรือยังถูกเป่าหูอยู่ว่าธรรมะขั้นสูงไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนรุ่นใหม่ อันนี้ก็อาจคุยกันยากหน่อย ความจริงธรรมะขั้นสูงไม่ใช่เรื่องเกินตัวสำหรับใครๆ เพราะธรรมะขั้นสูงคือวิธียุติทุกข์ สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ประการหนึ่งคือตราบเท่าที่เรายังรักษาเหตุแห่ง ทุกข์เอาไว้ ให้แสนดีเพียงใดก็ต้องเสวยทุกข์อยู่วันยังค่ำครับ จะวันหนึ่งวันใดเร็วหรือช้าเท่านั้น

ที่มา
http://www.yorbor.com/index.php?topic=3919.0
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: กินเหล้าอย่างมีสตินั้นเสียหายอย่างไร?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 มี.ค. 2554, 08:35:54 »
นำเสนอ อธิบายได้น่าอ่านดีครับ  เข้าใจตามได้ไม่ยาก  จดจำไว้ใช้อาจจะยากอีกนิด แต่มีสติตามเตือนก่อนยกแก้วสุรา อันนี้ยากสุด

แต่อยากน้อยก็เป็นปูพื้นใจให้คุ้นกับความดี อ่านบ่อยๆ ไม่แน่อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่่มให้ลดลงได้บ้าง 

ขอบคุณครับ ที่นำมาฝากกัน

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: กินเหล้าอย่างมีสตินั้นเสียหายอย่างไร?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 มี.ค. 2554, 09:28:58 »
แม้คนขี้เมาก็อาจเป็นพระโสดาบันได้

ปัญหา เมื่อเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นพระโสดาบัน พ้นจากอบายภูมิอย่างเด็ดขาด มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าศากยะเป็นจำนวนมากประชุมกันแล้วพูดตำหนิว่า เจ้าสรกานิศากยะประพฤติย่อหย่อนในศีลธรรมและชอบดื่มน้ำเมา ถ้าท่านเป็นพระโสดาบันได้ ใคร ๆ ก็เป็นโสดาบันกันทั้งบ้านทั้งเมือง ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงชี้แจงอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนานจะไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ? เมื่อจะพูดให้ถูก ควรพูดถึงเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะมาเป็นเวลานานแล้ว จะพึงไปสู่วินิบาตได้อย่างไร ?
“ ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลมและไม่บรรลุถึงวิมุต แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคลผู้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก....ทุคติวินิบาต
“ ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้ สุภาษิต และทุพภาสิต
อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ได้ว่า เป็นโสดาบัน จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะช่วยกล่าวไปไยถึงเข้าสรกานิศากยะ
“ดูก่อนท้าวมหานาม เจ้าสารกานิศากยะสมาทานสิกขาได้ในเวลาสิ้นพระชนม์แล”

สรกานิสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๕๒๘-๑๕๓๖ )
ตบ. ๑๙ : ๔๗๐-๔๗๔ ตท. ๑๙ : ๔๒๖-๔๒๘
ตอ. K.S. ๕ : ๓๒๔-๓๒๖