ผู้เขียน หัวข้อ: ท่องเเดนเปรตภูมิ  (อ่าน 3099 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายธรรมะ

  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ำอยู่ที่ทําตัว
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 615
  • เพศ: ชาย
  • เหนื่อย ได้แต่อย่า ท้อ
    • ดูรายละเอียด
ท่องเเดนเปรตภูมิ
« เมื่อ: 25 มี.ค. 2554, 10:32:34 »
ท่องเเดนเปรตภูมิ


เปรตภูมิ เป็นที่อยู่ของพวกที่ทำบาปเบากว่า พวกที่ไปเกิดในนรกภูมิ เพราะนรกเป็นเรื่องการถูกทรมาน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามกรรมที่ได้ทำไว้ ส่วนเปรตเป็นเรื่องของการถูกทรมาน ด้วยการอดอยากหิวโหย เช่น การอดข้าวอดน้ำ เปรตบางชนิด ต้องกินหนองเลือด เสมหะ อุจจาระ เป็นอาหาร
ที่อยู่ของเปรต
เปรตไม่มีที่อยู่โดยเฉพาะ จะอยู่ทั่ว ๆ ไปตามป่า ภูเขา เหว เกาะ แก่ง ทะเล มหาสมุทร ป่าช้า เป็นต้น เปรต เป็นประเภทโอปปาติกกำเนิด ประเภทกายละเอียดที่ผลุดขึ้นโตทันที เราจึง มองไม่เห็น นอกจากเขาจะใช้พลังจิต กำหนดกายให้หยาบจึงจะมองเห็นได้
ชนิดของเปรต
เปรตมีหลายจำพวก มีทั้งพวกที่ตัวเล็ก ตัวใหญ่ บางพวกแปลงกายได้ เป็นเทวดา มนุษย์ผู้ชาย มนุษย์ผู้หญิง ดาบส พระ เณร หรือชี ทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจว่า เป็นเทวดา เป็นชายหญิง หรือพระ เณร จริง ๆ เจตนาของการแปลงกาย ก็เพื่อจะช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้พบเห็นนั้น ส่วนการแปลงกายที่มุ่งจะทำร้าย ให้เกิดความเกรงกลัวเสียขวัญตกใจ ก็จะแปลงกายเป็น วัว ควาย ช้าง สุนัข มีทั้งสีดำ แดง เทา รูปร่างใหญ่โตน่าเกลียดน่ากลัว พระธุดงค์หรือผู้ปฏิบัติธรรมในป่า มักจะพบเห็นกันเสมอ ๆ
อาหารของเปรต
เปรตทั้งหลายต้องเสวยทุกขเวทนา คือการอดข้าวอดน้ำ เปรตบางพวกจึง เข้าไปกินเศษอาหารที่ชาวบ้านเขาทิ้งไว้ บางพวกกินเสมหะ น้ำลาย ของโสโครกต่าง ๆ ท่านได้กล่าวไว้ว่า เปรตที่อาศัยอยู่ตามภูเขา เช่น ที่ภูเขาคิชฌกูฎ นอกจากจะอดอาหารแล้ว ยังต้องถูกทรมานเหมือนสัตว์นรกด้วย
เปรตประเภทต่าง ๆ ตามที่พระอรรถกถา และพระคัมภีร์ แสดงไว้
   แสดงเรื่องเปรตไว้ ๔ จำพวก คือ
๑.   ปรทัตตุปชีวิกเปรต   เป็นเปรตที่มีชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยส่วนบุญที่ญาติมิตร เขาอุทิศให้ ถ้าไม่มีผู้อุทิศให้ ก็ต้องอดอยากหิวโหย ได้รับทุกขเวทนาอยู่เช่นนั้น
๒.   ขุปปีปาสิกเปรต   เป็นเปรตที่อดอยาก หิวข้าวหิวน้ำอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีเรี่ยวแรงแม้จะลุกขึ้น ต้องนอนแซ่วอยู่เหมือนคนป่วยที่ใกล้จะตาย
๓.   นิชฌามตัณหิกเปรต   เป็นเปรตที่มีไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
๔.   กาลกัญจิกเปรต   เป็นเปรตจำพวกอสุรกาย หรือ อสุรา
ปรทัตตุปชีวิกเปรต

ประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถจะรับส่วนกุศลที่มนุษย์แผ่ไปให้ได้
เพราะอยู่ใกล้ๆ กับมนุษย์ และสามารถที่จะรู้ว่าเขาแผ่ส่วนกุศลให้ และอนุโมทนาส่วนบุญนั้น ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้อนุโมทนา ก็ไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรแผ่ไปให้
พระโพธิสัตว์เมื่อได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าจะเกิดเป็นเปรต ก็จะเกิดเป็นเปรตได้ประเภทเดียวเท่านั้นคือ ปรทัตตุปชีวิกเปรต เปรตอีก ๓ ชนิดที่เหลือ จะไม่ไปเกิด
เปรตปรทัตตุปชีวิกเปรตนี้ นับว่าเป็นเปรตที่โชคดีจำพวกเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถรับส่วนบุญกุศล ที่พวกญาติมิตรของตนอุทิศให้ เพราะมีอกุศลบางเบา จึงมีจิตยินดีที่จะอนุโมทนาส่วนกุศล โดยที่ตนมีความอยากข้าว และน้ำเป็นกำลัง จึงท่องเที่ยวซัดเซไปมา นึกถึงหมู่ญาติของตนว่า ใครอยู่ที่ไหนบ้าง เมื่อนึกได้ก็จะคอยอยู่ใกล้ ๆ คอยท่าอยู่ว่า   
“เมื่อใดญาติของเรา จะทำบุญทำกุศลแล้วอุทิศมาให้เราบ้าง”
ครั้นญาติทำบุญทำกุศลแล้ว ลืมอุทิศให้ หรืออุทิศให้แต่คนอื่น ไม่ได้อุทิศให้ตน เขาก็จะเดินวนเวียนไปมา ด้วยใบหน้าหม่นหมอง เศร้าสร้อยด้วยความผิดหวัง บางทีก็มีความน้อยใจ ถึงกับเป็นลมฟุบสลบลงไป ด้วยความหิวโหย ด้วยความทรมาน และก็ได้แต่หวังอยู่อีกว่า “ครั้งต่อไป เขาคงไม่ลืมเรา เขาคงอุทิศให้แก่เราบ้าง ในครั้งต่อไป เขาคงไม่ลืมเรา เขาคงมีแก่ใจอุทิศให้แก่เราบ้าง” เปรตพวกนี้ได้แต่หวังอย่างนี้มาแสนนาน บางทีก็ได้สมประสงค์ บางทีก็ไม่ได้ตามประสงค์ เพราะพวกญาติมิตรที่ตนฝากความหวังไว้นั้น ไม่ประกอบการกุศล เพราะเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบุญเชื่อบาป หรือว่าญาติมิตรเป็นคนมีศรัทธาทำบุญ แต่หลงลืมไม่อุทิศให้ เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ย่อมไม่ได้รับผลบุญ ต้องทนทุกข์อดอยากหิวโหย อยู่นานแสนนาน

บรรดาเปรตทั้งหลาย ที่ได้กล่าวมาแล้ว เปรตที่มีโอกาสได้รับส่วนบุญจากผู้อื่นก็คือ ปรทัตตุปชีวิกเปรต เพราะอยู่ใกล้กับมนุษย์ ซึ่งเกิดอยู่ในบริเวณบ้านเรือนของญาติมิตรนั้น เนื่องจากเวลาใกล้จะตาย มีความห่วงใยอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สินเงินทอง ห่วงใยในสามีภรรยา ลูกหลานหรือมิตรสหาย เมื่อตายก็จะอยู่ในบริเวณบ้านเรือนนั้นเอง ที่เราเรียกว่า ผีหรือเปรต แม้ว่าจะอยู่ในบริเวณนั้นก็ดี ถ้าไม่รู้ว่าเขาอุทิศส่วนกุศลให้ และไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาทาน ก็จะรับส่วนบุญที่เขาอุทิศมาให้ไม่ได้
ส่วนผู้ที่เกิดในนรก เปรตประเภทอื่น เช่น อสุรกาย เดรัจฉาน ซึ่งเกิดด้วยอำนาจของอกุศลกรรม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากหมู่มนุษย์ ก็ไม่มีโอกาสที่จะรู้และอนุโมทนาในส่วนบุญที่เขาอุทิศมาเลย เช่น ญาติของตนตายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือสุนัขในบ้านของเรา แม้จะอุทิศส่วนกุศลให้ ก็ไม่สามารถจะรับส่วนกุศลนั้น ๆ ได้ แม้แต่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็เช่นเดียวกัน
บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายแล้วนั้น หากไม่ถึงหรือไม่สำเร็จ ก็ไม่สูญหายไปไหน คงเป็นบุญที่ติดตัวแก่ผู้อุทิศให้นั้น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความสุขความเจริญ ในชาติต่อ ๆ ไป

ในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ได้แสดงเรื่อง เปรตที่อาศัยอยู่ ที่เชิงภูเขาหิมาลัยในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อว่า วิชฌาฏวี มี ๑๒ จำพวก คือ
๑. วันตาสเปรต   เปรตที่กินน้ำลาย เสมหะ และอาเจียน เป็นอาหาร
๒. กุณปาสเปรต   เปรตที่กินซากศพคน หรือสัตว์ เป็นอาหาร
๓. คูถขาทกเปรต   เปรตที่กินอุจจาระต่าง ๆ เป็นอาหาร
๔. อัคคิชาลมุขเปรต   เปรตที่มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
๕. สูจิมุขเปรต   เปรตที่มีปากเท่ารูเข็ม
๖. ตัณหัฏฏิตเปรต   เปรตที่ถูกตัณหาเบียดเบียน ให้หิวข้าวหิวน้ำอยู่เสมอ
๗. สุนิชฌามกเปรต   เปรตที่มีตัวดำเหมือนตอไม้ที่เผา
๘. สัตถังคเปรต   เปรตที่มีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
๙. ปัพพตังคเปรต   เปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
๑๐. อชครังคเปรต   เปรตที่มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
๑๑. เวมานิกเปรต   เปรตที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน
๑๒. มหิทธิกเปรต   เปรตที่มีฤทธิ์มาก
   แสดงเรื่องเปรตไว้ ๒๑ จำพวก คือ
๑. อัฏฐิสังขสิก   เปรตที่มีกระดูกติดกันเป็นท่อน ๆ แต่ไม่มีเนื้อ
๒. มังสเปสิก   เปรตที่มีเนื้อเป็นชิ้น ๆ แต่ไม่มีกระดูก
๓. มังสปิณฑ   เปรตที่มีเนื้อเป็นก้อน
๔. นิจฉวิริส   เปรตที่ไม่มีหนัง
๕. อสิโลม   เปรตที่มีขนเป็นพระขรรค์
๖. สัตติโลม   เปรตที่มีขนเป็นหอก
๗. อุสุโลม   เปรตที่มีขนเป็นลูกธนู
๘. สูจิโลม   เปรตที่มีขนเป็นเข็ม
๙. ทุติยสูจิโลม   เปรตที่มีขนเป็นเข็มชนิดที่ ๒
๑๐. กุมภัณฑ   เปรตที่มีลูกอัณฑะใหญ่โตมาก
๑๑. คูถกูปนิมุคค   เปรตที่จมอยู่ในอุจจาระ
๑๒. คูถขาทกเปรตสเปรต   เปรตที่กินอุจจาระ
๑๓. นิจฉวิตก   เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง
๑๔. ทุคคุนธ   เปรตที่มีกลิ่นเหม็น
๑๕. โอคิลินี   เปรตที่มีร่างกายเป็นถ่านไฟ
๑๖. อสีส   เปรตที่ไม่มีศีรษะ
๑๗. ภิกขุ   เปรตที่มีรูปร่างเหมือนพระ
๑๘. ภิกขุณี   เปรตที่มีรูปร่างเหมือนภิกษุณี
๑๙. สิกขมาน   เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสิกขมานา
๒๐.สามเณร   เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสามเณร
๒๑.สามเณรี   เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสามเณรี

การที่มนุษย์ทั้งหลาย จะได้มีโอกาสไปอุบัติเป็นเปรต ต้องเสวยความทุกข์ทรมาน เพราะความอดอยาก ได้รับความหิวกระหายอย่างแสนสาหัสนั้น เนื่องจากบาปที่ตนได้กระทำไว้ ได้แก่ บาป ๑๐ ประการ เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
การทำบาปทางกาย ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม
การทำบาปทางวาจา ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ
การทำบาปทางใจ ๓ อย่าง คือ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา และมิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรมซึ่งบาปอกุศล ๑๐ ประการนี้ เมื่อตายไปแล้ว ก็ต้องไปเสวยทุกขเวทนาเป็นเปรต และยังสามารถที่จะนำไปสู่นรกภูมิได้ด้วย ซึ่งจะต้องได้รับความทุกข์ทรมาน จากนรกก่อน เมื่อสิ้นกรรมจากนรกแล้ว เศษบาปยังมี จึงจะต้องไปเกิดเป็นเปรตอีกในภายหลัง

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ เทวดา หรือพรหม ที่ได้กระทำกรรมในส่วนที่เป็นบาป หรือในส่วนที่เป็นบุญก็ดี ผลของกรรมก็จะนำเกิดอีก ในภพใหม่ชาติใหม่ โดยจะเกิดนิมิต หรืออารมณ์ก่อนตาย ๓ ประการด้วยกัน คือ
๑. กรรมอารมณ์
ก่อนตายจะทำให้เราระลึกถึงบุญหรือบาป ที่ได้กระทำไว้ ให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ตนเคยฆ่าเขาไว้ก็จะนึกถึงภาพ ที่ตนได้ฆ่าเขาไว้อย่างชัดเจน ใจก็จะเศร้าหมองหวาดกลัว เมื่อตายไปก็จะเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ในทำนองเดียวกันถ้าทำบุญไว้มาก ๆ เมื่อใกล้จะตาย ก็จะนึกถึงบุญที่ตนได้กระทำไว้ เช่น ทำบุญใส่บาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร รักษาศีล เจริญภาวนา เมื่อตายลงก็ย่อมไปสู่สุคติ คือ ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา กรรมอารมณ์นี้ เป็นนิมิตให้เกิดได้ เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น
๒. กรรมนิมิตอารมณ์[/b]
คือการเห็นภาพเครื่องมือในการทำบาป หรือทำบุญ เช่น เคยฆ่าสัตว์ ก็จะเห็นเครื่องมือของการทำบาป เช่น ดาบ มีด ปืน แห อวน อาวุธต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือในการฆ่า อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็นภาพปรากฏให้เห็น เมื่อตายลงก็ย่อมไปสู่ทุคติ ในทำนองเดียวกัน เมื่อทำบุญ ก็จะเห็นเครื่องใช้ในการทำบุญ เช่นเห็นขันข้าว หรือทัพพี เห็นศาลาการเปรียญ เป็นต้น เมื่อตายลง ก็ย่อมไปสู่สุคติด้วยอำนาจของบุญนั้น หรือผู้เจริญภาวนา ถ้าได้ฌานก็จะไปเกิดเป็น พรหม
๓. คตินิมิตอารมณ์
ได้แก่ภาพซึ่งเป็นสถานที่ ที่ผู้ทำบุญหรือทำบาปไว้ จะต้องไปเกิดนั้นมานิมิตให้เห็นก่อนตาย เช่น เห็นหมู่สัตว์นรกกำลัง ถูกทรมาน เห็นไฟนรก เห็นหมู่เปรตที่หิวโหย เห็นหมู่สัตว์เดรัจฉาน เมื่อตายลง ก็ย่อมไปเกิดในสถานที่ ที่เห็นนั้นด้วยอำนาจของบาปที่ทำไว้ ถ้าเห็นเป็นวิมานเทวดา เห็นหมู่เทวดา หรือเห็นครรภ์ของมารดา เห็นมวลหมู่มนุษย์ที่กำลังทำบุญ ทำกุศลกัน เมื่อผู้นั้นตาย ก็จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ตามภูมิที่ได้เห็นนั้น
อารมณ์หรือนิมิตทั้ง ๓ เหล่านี้ย่อมปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนที่บุคคลหรือสัตว์เหล่านั้นใกล้จะตาย นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งไม่ต้องเกิดอีก ก็จะไม่มีนิมิตทั้ง ๓ ปรากฏให้เห็น

บุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ เมื่อเกิดมาแล้วได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะต้องชดใช้กรรม พร้อมกันนั้นก็จะต้องกระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ทั้งในส่วนที่เป็นบุญและเป็นบาป จึงได้จำแนกการดำเนินชีวิตของคนไว้ ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. ทำบาปมากกว่าทำบุญ
๒. ทำบุญมากกว่าทำบาป
๓. ทำบุญกับทำบาปเสมอกัน

สำหรับบุคคลที่ทำบุญและทำบาปใกล้เคียงกัน เสมอกันนั้น เมื่อตายลง จะยังไม่ตรงไปเกิดในนรกภูมิ ด้วยอำนาจของอกุศลกรรม หรือตรงไปบังเกิดเป็นเทวดา ด้วยอำนาจของกุศลกรรมทันที ด้วยอำนาจแห่งความประมาท ที่ไม่ค่อยจะเชื่อบุญหรือเชื่อบาป เมื่อเขาตายลง ก็ย่อมจะได้ไปเกิดในแดนยมโลกนรก พบกับ ยมฑูต ย่อมจะถูกยมฑูตนำไปสู่สำนักของพญายมราช เพื่อให้พญายมราช ซึ่งเป็นใหญ่ในยมโลกนรก สอบถามถึงเทวทูต ๕ ประการเสียก่อน แล้วจึงจะเสวยผลกรรมดีหรือชั่ว ที่ตนได้กระทำไว้

เทวฑูตที่ ๑
พญายมราชผู้มีจิตกรุณาก็จะไต่ถามว่า “ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ?”
ถ้าตอบว่า เห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่กระทำความดีทาง กาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยหรือว่า การเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่ เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยบาลจะทำการลงโทษท่าน พญายมราชก็จะปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหา
เทวฑูตที่ ๒
เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่ ๒ ว่า “ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่าน เคยเห็นคนแก่ อายุ ๘๐, ๙๐, ๑๐๐ ปี หลังโก่งคดงอ ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้าตอบว่า เห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราช ก็จะกล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล ตั้งอยู่ในความประมาท นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชก็จะพูดปลอบใจและถามปัญหาต่อไป
เทวฑูตที่ ๓
พญายมราชจะถามว่า “ ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ?” ถ้าตอบว่า เห็นแต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่า การเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชจะพูดปลอบใจเอาอกเอาใจ และถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป
เทวฑูตที่ ๔
พญายมราชได้ถามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า “ ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด ซึ่งถูกทำการลงโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วย กระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดสาร พิษเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิต บ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ? ” ถ้าตอบว่า เห็นแต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราช จะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล เพื่อให้พ้นจากวัฏฏทุกข์เหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชก็จะพูดปลอบโยน เอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป
เทวฑูตที่ ๕
พญายมราชก็จะถามปัญหาว่า “ ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ?” ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือ เห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวาย ในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้น ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่เป็นความผิดของบิดามารดา ญาติพี่น้อง มิตรสหาย หรือเทวดาดลใจ แต่เป็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาล ก็จะจับผู้ประมาทเหล่านั้นทำการจองจำ ๕ ประการด้วยกัน คือ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๒ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่เท้าข้างที่ ๑ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่เท้าข้างที่ ๒ และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลาง สัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาแรงกล้า อยู่ในนรกนั้นแต่ก็ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น

อ่านจบแล้วก็แผ่เมตตาไปให้พวกเขาบ้างนะครับ พวกเขาอาจจะรอรับอยู่ก็ได้ครับ

นายธรรมะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เว็บบอร์ดพลังจิต และ http://www.buddhism-online.org/Section06A_08.htm ด้วยนะครับ
[shake]ศรัทธา ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ศรัทธา เพื่อ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเกิด ปาฏิหาริย์[/shake]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ท่องเเดนเปรตภูมิ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 มี.ค. 2554, 11:27:11 »
ขอบคุณครับ สำหรับความรู้
=======
ทางลัดที่จะพาไปเที่ยวดูได้
[youtube=425,350]Hfxy_CNKAiA[/youtube]
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ท่องเเดนเปรตภูมิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27 เม.ย. 2554, 11:10:16 »
กฎแห่งกรรมในพระไตรปิฎก : เปรตไร่อ้อย?

ความดีที่ได้กระทำไว้แล้วย่อมไม่สูญเปล่า ย่อมตามส่งผลให้เราได้พบเจอแต่สิ่งที่ดี ในทางตรงกันข้าม หากกระทำความชั่ว ผลของกรรมชั่วก็จะทำให้เราต้องไปเกิดในสถานที่ที่ได้รับแต่ความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนทั้งทางกายและทางใจ? คนที่มีปัญญาจึงเลือกทำแต่สิ่งที่ดี รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิ และเจริญปัญญา ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้

กรรมที่เรากระทำไว้นั้นเป็นของใครของมัน ไม่มีใครสามารถทำแทนกันได้ หากอยากได้มีความสุข ก็ต้องทำกรรมดีด้วยตนเอง เหมือนกับเราหิวจะต้องกินข้าวเอง คนอื่นกินแทนไม่ได้?

ความสุขความทุกข์ของตัวเราจึงขึ้นอยู่กับผลกรรมของเราเป็นสำคัญ สิ่งที่เรามีเราเป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เป็นผลจากกรรมที่เราเคยกระทำไว้ทั้งนั้น กรรมอันใดที่เราไม่ได้กระทำไว้ ถึงเราอยากจะได้เราก็จะไม่ได้ เพราะเราไม่เคยสร้างไว้ ดังเรื่องของเปรตตนหนึ่งที่เกิดอยู่ในไร่อ้อย แต่ไม่สามารถกินอ้อยได้ เรื่องมีอยู่ว่า


ครั้งหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร มีชายคนหนึ่งมัดลำอ้อย เดินกัดกินอ้อยไปตามถนน ขณะนั้นมีอุบาสกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม เดินผ่านมาพร้อมกับเด็กเล็กๆ คนหนึ่ง พวกเขาได้เดินตามหลังชายคนนั้น เด็กที่มาด้วยมองเห็นอ้อยที่เขากำลังกินอยู่ จึงร้องไห้อยากจะกินอ้อยบ้าง

อุบาสกเห็นเด็กร้องไห้ จึงเกิดความสงสาร อยากจะให้เด็กได้กินบ้าง จึงขอแบ่งอ้อยจากชายคนนั้นสักเล็กน้อยมาให้เด็ก แต่ชายคนนั้นกลับเงียบเฉยไม่พูดจาอะไรเลย และไม่ยอมให้อ้อยแม้แต่นิดเดียวแก่เด็ก อุบาสกจึงอ้อนวอนเขาว่า “ดูสิ เด็กร้องไห้ใหญ่แล้ว ขอท่านจงแบ่งอ้อยสักนิดหน่อยให้เด็กบ้างเถิด เด็กจะได้หยุดร้องไห้สักที”

ชายคนนั้นทนฟังคำอ้อนวอนไม่ได้ เกิดความขัดเคืองจิตขึ้นมาอย่างแรง จึงขว้างอ้อยลำหนึ่งไปข้างหลังโดยไม่ได้ตั้งใจให้เด็ก

ต่อมาชายคนนั้นก็เสียชีวิตลง หลังจากที่เขาตายแล้วก็ไปบังเกิดในหมู่เปรต ด้วยอำนาจของความโลภที่ครอบงำอยู่ในจิตใจมานานแสนนาน รวมทั้งผลแห่งกรรมชั่วที่เขาเคยทำไว้นั่นเอง ส่งผลให้เขาได้รับกรรมสมกับที่เคยทำไว้ กรรมชั่วที่ทำไว้นั้นทำให้ต้องไปเกิดอยู่ในไร่อ้อยใหญ่อันแน่นทึบไปด้วยอ้อย ประมาณเท่าท่อนสาก มีสีเหมือนดอกอัญชัน เต็มสถานกว้างใหญ่ไพศาล ครั้นเมื่อเขาเข้าไปจะหักเอาอ้อยมากิน ก็จะถูกตี จนกระทั่งสลบล้มลงนอนกองกับพื้น เป็นอย่างนี้อยู่ประจำ เขาจึงไม่สามารถจะกินอ้อยที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้นได้เลย!!

ต่อมาวันหนึ่ง?ท่านพระมหาโมคคัลลานะ?เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้เห็นเปรตนั้นในระหว่างทางเปรตก็เห็นพระเถระ จึงถามถึงกรรมที่ตนได้กระทำไว้ว่า

“ไร่อ้อยใหญ่นี้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญไม่น้อย แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะกินอ้อยเหล่านั้นได้เลย ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอกหน่อยเถิดว่า นี้เป็นผลจากกรรมอะไร ข้าพเจ้าจึงได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกใบอ้อยบาด ข้าพเจ้าพยายามตะเกียกตะกายเพื่อที่จะกินอ้อยสักลำ แต่พยายามอย่างไรก็ไม่สามารถที่จะกินได้ จึงรู้สึกท้อแท้ใจเหลือเกิน ข้าพเจ้าเคยกระทำกรรมอะไรไว้จึงได้รับผลเช่นนี้

นอกจากนั้นแล้ว ข้าพเจ้ายังรู้สึกมีความหิวและความกระหายอย่างมากอยู่ตลอดเวลา รู้สึกเวียนศีรษะจนหัวหมุนล้มลงนอนกองอยู่กับพื้นดิน กลิ้งเกลือกไปมาเหมือนปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำร้อน หากข้าพเจ้าร้องไห้หลั่งน้ำตาออกมา สัตว์ทั้งหลายก็จะพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าได้รับแต่ความทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้หิวกระหายลำบากขนาดนั้น ทำไมต้องได้รับทุกข์ทรมานดิ้นรนไปมาอย่างนั้น ทั้งไม่เคยได้พบสิ่งที่น่าปรารถนาน่ายินดี หรือสิ่งที่มีความสุขเลย ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงโปรดบอกข้าพเจ้าหน่อยเถิดว่าข้าพเจ้าจะบริโภคอ้อยนั้นได้อย่างไร”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เม.ย. 2554, 11:15:40 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ท่องเเดนเปรตภูมิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 เม.ย. 2554, 11:11:53 »
พระมหาโมคคัลลานเถระถูกเปรตถามอย่างนั้นแล้ว จึงเล่าให้ฟังว่า เมื่อชาติก่อนท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้เคยสร้างเวรสร้างกรรมไว้ด้วยตัวท่านเอง ในอดีตชาติท่านเคยเดินกัดกินอ้อยไปตามถนน และมีชายคนหนึ่งเดินตามหลังท่านมา เขาอยากจะกินอ้อย จึงได้เอ่ยปากขออ้อยจากท่าน แต่ท่านก็ไม่พูดอะไรกับเขาเลย ทั้งยังไม่ได้ให้อ้อยแก่เขาแม้สักนิดเดียว เขาพยายามพูดขอร้องวิงวอนจากท่าน

เมื่อท่านทนคำอ้อนวอนไม่ไหวจึงได้โยนอ้อยไปข้างหลังให้แก่บุรุษคนนั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ นี้เป็นผลแห่งกรรมที่ท่านเคยทำไว้ในอดีต

“ถ้าท่านอยากจะกินอ้อย ก็จงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ หากถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำสำราญเถิด เพราะท่าน เคยให้อ้อยผู้อื่นข้างหลัง ท่านจึงต้องถือเอาอ้อยข้างหลัง?

เมื่อท่านรู้วิธีกินอ้อยอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้ท่านจงมีความสุข เบิกบาน ร่าเริง บันเทิงใจเถิด”

เปรตได้ฟังเช่นนั้นแล้ว จึงได้ทำตามที่พระเถระแนะนำ จึงสามารถกินอ้อยได้จนอิ่มหนำสำราญตามที่ตนปรารถนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เปรตจึงได้เป็นผู้เบิกบาน ร่าเริง บันเทิงใจ เพราะได้รับคำแนะนำจากพระเถระผู้มีเมตตาคุณอันยิ่งใหญ่นั่นเอง

พระเถระเกิดความสงสารเปรต ต้องการจะอนุเคราะห์เปรตยิ่งขึ้น จึงบอกให้เปรตเอาอ้อยมัดหนึ่งไปถวายพระพุทธเจ้า เปรตจึงได้ทำตามคำแนะนำ ได้ถือเอามัดอ้อยเดินทางมุ่งหน้าไปยังมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้าในขณะนั้น แล้วได้ถวายอ้อยแก่พระพุทธเจ้า ครั้นพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายฉันอ้อยที่เปรตนำมาถวายแล้ว ได้ให้พรอนุโมทนาบุญแก่เปรต เมื่อเปรตได้รับอนุโมทนาแล้วก็มีจิตเลื่อมใส กราบลาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้วจากไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เปรตก็สามารถกินอ้อยได้ตามที่ตนเองต้องการ อยากจะกินตอนไหนก็ได้ โดยไม่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนเหมือนที่เคยเป็น

ในเวลาต่อมา หลังจากที่เปรตตายจากอัตภาพของตนแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ได้รับแต่ความสุขสบาย เพราะบุญที่เคยได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง ประวัติของเปรตตนนี้จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟังในโลกมนุษย์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติของคนที่ทำชั่วทั้งหลายให้ได้ระมัดระวังไม่หลงทำในสิ่งที่ผิดอีกต่อไป

พวกชาวบ้านได้ยินได้ฟังเรื่องราวของเปรตตนนี้ต่อๆ กันมา จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อกราบทูลถาม พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเล่า

เรื่องทั้งหมดให้ฟังอย่างละเอียด แล้วจึงแสดงธรรมให้ฟัง หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ทุกคนก็ได้เป็นผู้เว้นขาดจากความตระหนี่ถี่เหนียว รู้จักทำบุญให้ทาน มีจิตเบิกบานในการทำความดี ตั้งอยู่ในศีลในธรรมตลอดไป

เมื่อผลของความชั่วปรากฏให้เห็นเช่นนี้แล้ว ก็จงหลีกเว้นจากความชั่วให้เด็ดขาด จงหมั่นให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเป็นประจำ
เพื่อชีวิตของเราจะได้พบแต่ความสุขความเจริญ ไม่ตกไปสู่สถานที่ที่มีความทุกข์ยากลำบาก ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่จะสามารถคุ้มครองป้องกันเราได้เท่ากับความดี ความดีเท่านั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ที่จะตามรักษาคุ้มครองป้องกันเราให้พ้นภัยไปทุกภพทุกชาติ??

ขอบคุณ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=19880
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เม.ย. 2554, 11:19:28 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ท่องเเดนเปรตภูมิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 29 เม.ย. 2554, 10:07:39 »
กรรม ไม่อยากเป็นเปรต 29; 29;
                                                   
บาป ๑๐ ประการ เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

การทำบาปทางกาย ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม

การทำบาปทางวาจา ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ

การทำบาปทางใจ ๓ อย่าง คือ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา และมิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรมซึ่งบาปอกุศล
                                                                                                                                                         
ขอขอบคุณท่าน นายธรรมะ และ ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :054: :054:  
 
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้ความรู้ดีมากๆครับผม :053: :053:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณครับผม) :054: :054:
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เม.ย. 2554, 10:10:02 โดย saken6009 »

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ