กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด บทสวดมนต์ และ คาถา => บทสวดมนต์ และ คาถา => คาถาอาคม => ข้อความที่เริ่มโดย: adangookpop009 ที่ 29 ต.ค. 2554, 11:14:31

หัวข้อ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: adangookpop009 ที่ 29 ต.ค. 2554, 11:14:31
ตามหัวข้อครับ
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: โยคี ที่ 29 ต.ค. 2554, 11:32:41
ไม่สักให้ เยาวชน
โดยเฉพาะ หลวงพี่ติ่ง ไม่สักให้เยาวชน อายุไม่ถึง 20 ปี แม้นว่า ผู้ปกครองจะอนุญาต
เพื่อ ป้องกัน ท่านเยาวชน ทั้งหลาย ที่ไปเสพยาเสพติดแล้ว มีอาการทางจิต แต่ผู้ปกครอง
ไม่ทราบ เกิดอาละวาดขึ้นมา ท่านผูปกครอง ก็จะไปกล่าวหาโทษพระ ว่าสักอะไรให้ ทำให้
ของขึ้น เกิดอาละวาด ควบคุมตัวเองไม่ได้
เรื่องจริง นะครับ เกิดขึ้นมาแล้ว
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่า
เริ่มหัวข้อโดย: tum_ohayo ที่ 29 ต.ค. 2554, 11:40:40
อยากให้ไปศึกษาอะไรให้มากกว่านี้นะครับ เยาวชนสมัยนี้เห็นการสักยันต์ เหมือนการใส่เหล็กดัดฟัน อยากสักเป็นแฟชั่น พูดไม่ออกจริงๆ

ขออนุญาตแสดงความเห็น เพราะเห็นว่าอายุน้องแค่15เท่านั้นนะครับ
อยากให้ศึกษาอะไรให้มากกว่านี้เกี่ยวกับสิ่งที่น้องสนใจ เหมือนคนจะทำงานกับต่างชาติ ต้องเรียนภาาาของชาตินั้นๆ
พี่ขออนุญาตอัญเชิญพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าร.6 คือ มงคลสูตรคำฉันท์ ให้น้องอ่านทำความเข้าใจก่อน

๑. อเสวนา จ พาลานํ      ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล      เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต      เพราะจะพาประสพผล
หนึ่งกราบและบูชา      อภิบูชะนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ      ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความอยู่ประเทศซึ่ง      เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญญะการที่      ณ อดีตะมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร      ณ สะภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๓. พาหุสจฺจญฺะ สิปฺปญฺจ      วินฺโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก      และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี      จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน      นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน      ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน      จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๔. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ      ปุตฺต ทารสฺส สํคโห
อนากุลา จ กมฺมนฺตา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
บำรุงบิดามา-      ตุระด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี      ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป      บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๕. ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ      ญาตกานญฺจ สํคโห
อนวชฺชานิ กมฺมานิ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ให้ทาน ณ กาลควร      และประพฤติสุธรรมศรี
อีกสงเคราะห์ญาติที่      ปฏิบัติบำเรอตน
กอบกรรมะอันไร้      ทุษะกลั้วและมัวมล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๖. อารตี วิรติ ปาปา      มชฺชปานา จ สํยโม
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความงดประพฤติบาป      อกุศลบ่ให้มี
สำรวมวรินทรีย์      และสุราบ่เมามล
ความไม่ประมาทใน      พหุธรรมะโกศล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๗. คารโว จ นิวาโต จ      สนฺตุฏฺฐิ จ กตญฺญุตา
กาเลนฺน ธมฺมสฺสวนํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร      จะประณตและน้อมศีร์
อีกหนึ่งมิได้มี      จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน      บ่มิโลภทยานปอง
อีกรู้คุณาของ      นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา-      ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๘. ขฺนตี จ โสวจสฺสตา      สมณานญฺะ ทสฺสนํ
กาเลนฺน ธมฺมสากจฺฉา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
มีจิตตะอดทน      และสถิต ณ ขันตี
อีกหนึ่งบ่พึงมี      ฤดิดื้อทนงหาญ
หนึ่งเห็นคณาเลิด      สมณาวราจารย์
กล่าวธรรมะโดยกาล      วรกิจจะโกศล
ทั้งสี่ประการล้วน      จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ      อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
เพียรเผากิเลสล้าง      มละโทษะยายี
อีกประการหนึ่งประพฤติดี      ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์
เห็นแจ้ง ณ สี่องค์      พระอะรียะสัจอัน
อาจนำมนุษผัน      ติระข้ามทเลวน
อีกทำพระนิพพา-      นะประจักษะแก่ชน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๑๐. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ      จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
จิตใครผิได้ต้อง      วรโลกะธรรมศรี
แล้วย่อมบ่พึงมี      จะประหวั่นฤกังวล
ไร้โศกธุลีสูญ      และสบายบ่มั่วมล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๑๑. เอตาทิสานิ กตฺวาน      สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ      ตนฺเตสํ มํคลมุตฺตมนฺติ
เทวามนุษทำ      วรมงคะลาฉนี้
เป็นผู้ประเสริฐที่      บ่มิแพ้ ณ แห่งหน
ย่อมถึงสวัสดี      สิริทุกประเทศดล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

ถ้าน้องเข้าใจหมดแล้ว ค่อยสักก็ไม่สายไปครับ เพราะสมัยโบราณผู้ชายผ่านการบวชเรียนศึกษาธรรมมาแล้ว
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: adangookpop009 ที่ 29 ต.ค. 2554, 01:24:15
ขอบคุณนะครับ ที่ช่วยเตือนช่วยบอก

งั้นผมรอ 20 ก่อนก็ได้ครับ  :002:
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pheter ที่ 30 ต.ค. 2554, 11:11:20
ผมก็อายุ16ปีผมอยากสักน้ำมันครับผมอยากช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าผมควรจะสักอะไรดีครับ ผมไม่ได้อยากสักตามแฟชั่นนะครับ
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ต้นน้ำ~ ที่ 30 ต.ค. 2554, 11:26:37
ผมก็อายุ16ปีผมอยากสักน้ำมันครับผมอยากช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าผมควรจะสักอะไรดีครับ ผมไม่ได้อยากสักตามแฟชั่นนะครับ

พี่โยคีบอกไว้แล้วครับ ด้านบน
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pheter ที่ 30 ต.ค. 2554, 11:29:53
แต่ผมไม่เสพสิ่งเสพติดนะครับ
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ตั้นคนเมืองโอ่ง ที่ 01 พ.ย. 2554, 09:36:32
คือ...ความคิดผมนะ..
คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนจะทำอะไรครับ.
ถามตัวเองว่า .... สักมาแล้วรักษาได้ใหม... ผิดคำครูใหม... ถ้าผิดไปก็เท่านั้นครับ..
อย่างที่น้องบอกว่าต้องการเอาไปช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่านั้น ในความคิดผมภาวะในวัยนี้ึคนที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุดคือ "พ่อ แม่"
ลองเปิดอกคุยกับ "พ่อ แม่" ดูครับว่าเค้าจะบอกเราว่ายังไง
บอกเค้าไปอย่างที่บอกกับพวกพี่ในเว็ปบอร์ดครับ...
แล้ว "พ่อ แม่" ท่านจะให้คำตอบที่น้องต้องการมาเองครับ. เชื่อผมจะทำอะไรคิดดีๆ ก่อนครับ..
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: time329 ที่ 02 พ.ย. 2554, 10:06:06
 แขวนพระเครื่อง หรือเครื่องรางไปก่อน คนดีย่อมมีสิ่งดีๆ คุ้มครอง
เมื่อถึงเวลา สิ่งที่ต้องการจะตามมาครับ
 ผิดพลาดคำใดขอ อภัยด้วย :054: :054: :054:
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: 0817275412 ที่ 02 พ.ย. 2554, 12:42:29
ผมก็ 15นะครับ เรื่องพวกนี้ผมชอบนะ ชอบมานานแล้ด้วยล่ะ

เอ่อคุณ tum_ohayo ครับ บทเหล่านี้ เป็นบทชี้นำคนใช่หรือไม่ครับ ผม่านเข้าใจแล้วนะ ลึกซึ้งกินใจมาก ....
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tum_ohayo ที่ 02 พ.ย. 2554, 01:22:38
เป็นบทมงคลสูตรครับ อันนี้คือมงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ร.6
ส่วนเรื่องสักยันต์อยากจะบอกแค่ว่าผมไม่ห้าม แต่อยากถามว่ารับประกันได้ไหมว่าตนเองจะไม่ทำเรื่องที่ผิดศีลธรรมอันเป็นเหตุให้พลังอำนาจของยันทร์ที่สักมันเสื่อม สาเหตุที่เสื่อมเพราะผู้สักละเลยที่ปฏิบัติ ดื่มเหล้าเมาตบตีนลูกเมีย หรือผิดลูกเมียคนอื่น ถ้ายังประพฤติตนแบบนี้ การสักยันต์ก็มีค่าแค่การสักสวยงาม มีค่าแค่หมักที่จารึกบนผิวหนักเป็นคาถาต่างๆซึ่งไม่มีอานุภาพอะไร เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่เข้าถึงไม่เข้าใจหลักธรรมใดๆ ซึ่งถือเป็น"ด่าน"แรกของการสักยันต์ คือมีความเข้าใจในหลักธรรมพื้นฐาน อันเป็นสิ่งที่ช่วยให้"ยันต์"บนร่างกายมีอานุภาพและมีความขลังโดยไม่ต้องไปปลุกเรื่อยๆ การปลุกให้ขลังแสดงถึงความเสื่อมอย่างหนึ่ง ของมันไม่เที่ยงเป็นธรรมชาติ คนเรามันยังง่วงได้ ประสาอะไรกับยันต์ที่สักมันจะไม่เสื่อม ยันต์เสื่อมต้องมีการปลุกเรื่อยๆ พอไปให้อาจารย์ปลุกก็กำชับถึงข้อห้ามนั่นนู่นนี่นั่น แรกๆก็รับปากรับคำพอนานๆเผลอไปหน่อย ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ยันต์ แต่อยู่ที่ผู้รับการสักยันต์มากกว่า ถ้าเป็นคนดีมีศีลธรรมไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ยันต์และนานาอักขระมันขลังเองโดยไม่ได้ไปเที่ยวตรัเวณปลุกตามสำนักนั้นสำนักนี้ อีกอย่างหนึ่ง พุทธคุณไม่มีคำว่า"เสื่อม"การสักยันต์ที่อาศัยอำนาจ"พุทธคุณ"มีความขลังในตัวเองอยู่แล้ว สิ่งใดที่มีพุทธคุณสิ่งนั้นนำความสุขความเจริญแก่ผู้ประพฤติดี

สมณะชีพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทาง ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ควรแก่กราบกราบไหว้ ตรัสสิ่งใดสิ่งนั้นย่อมมีความเจริญเสมอ ความเป็นมงคลไม่ใช่ความเป็นสมณะชีพราหมณ์ แต่อยู่ที่การปฏิบัติตนตามหลักการของสมณะชีพราหมณ์อันพึงมีพึงปฏิบัติ
ลายยันต์อยู่บนร่างผู้ใด หรืออยู่บนร่างสมณะชีพราหมณ์ทุศีล ยันต์ก็ไม่มีความขลังใดๆ พระสงฆ์ถือศีล227ข้อ ถ้าเที่ยวผู้หญิงดื่มเหล้าหรือประพฤติตนผิดวินัยปาราชิกนับร้อยๆข้อ ต่อให้สักยันต์เต็มตัวมันก็เสื่อมครับ ถ้าสมณะชีพราหมณ์ปฏิบัติดีชอบ ต่อให้สักมากแค่ไหนก็มีความขลังอยู่แล้วแม้อักขระตัวเดียวก็ขลังได้
หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 02 พ.ย. 2554, 02:05:48
ไปเจอคำถามนี้ตอนสอบเข้าปริญญาโท

"อริยสัจ ๔ สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างไร?"

ก็ต้องขยายความกันก่อนในเบื้องต้นว่า อริยสัจ ๔ คืออะไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? และสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์อะไร,ได้อย่างไร?

   อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมความจริงอันประเสริฐ ประกอบด้วย

๑.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก จึงเรียกว่า"ทุกข์"

๒.สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี ๓ ประเภทคือ กามตัณหา(ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่)๑ ภวตัณหา(ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่)๑ วิภวตัณหา(ความไม่อยากมีไม่อยากเป็นโน่นนี่)๑ ตัณหาทั้ง ๓ กองนี้เอง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

๓.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หมายถึงความดับตัณหาได้อย่างสิ้นเชิง จนทำให้ทุกข์ดับหมดไป จึงได้ชื่อว่า"นิโรธ"

๔.มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
โดยการใช้ปัญญาอันเห็นชอบพิจารณาว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ นี้ชื่อว่า"มรรค" มี ๘ ประการคือ

สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ),สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ),สัมมาวาจา(เจรจาชอบ),สัมมากัมมันตะ(การงานชอบ),สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ),สัมมาวายามะ(เพียรชอบ),สัมมาสติ(ระลึกชอบ),สัมมาสมาธิ(ตั้งใจมั่นชอบ)

ซึ่งธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นสามัคคีธรรมที่ต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้มีกำลังมาก และสามารถยังใหผู้ปฏิบัติบรรลุผลอันเลิศ คือ อริยมรรค อริยพล และพระนิพพานในที่สุด ตามสมควรแก่การปฏิบัติ

เมื่อเข้าใจความหมายและหัวข้อธรรมต่างๆที่ประกอบรวมอยู่ในอริยสัจ ๔ ดังนี้แล้ว จึงมาสู่การวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามในข้างต้นต่อไป

ํํํํํํํํํํํํัํํํํ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

คำตอบ - อริยสัจ ๔ ไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้!!!

เหตุเพราะ อริยสัจ ๔ เป็นธรรมในโลกุตระ เป็นธรรมชั้นสูง เป้าประสงค์เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏฏะ สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ โสดาบัน,สกิทาคามี,อนาคามี,อรหันต์ จึงไม่สามารถนำมาใช้กับทาง"โลกียะ"ได้ เหตุผลที่นำมาสนับสนุนได้เป็นอย่างดีมีมาในธรรมข้อ "โพธิปักขิยธรรม ๓๗" หมายถึงธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เรียกอีกอย่างว่า "อภิญญาเทสิตธรรม" หมายถึง ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อให้บุคคลรู้แจ้งเห็นจริงใน"อริยสัจ" ประกอบด้วย

สติปัฏฐาน ๔,สัมมัปปธาน ๔,อิทธิบาท ๔,อินทรีย์ ๕,พละ ๕,โพชฌงค์ ๗,มรรคมีองค์ ๘ รวม ๓๗ ข้อ

จึงเป็นที่มาของข้อสรุปที่ว่า "อริยสัจ ๔ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ในที่สุด"

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ย้อนกลับมาพิจารณา จะเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิ เปลี่ยนกันได้ยาก

ยิ่งนำศีลมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความขลังในเรื่องข้อปฏิบัติต่างๆ ,เพื่อนำความบริสุทธิ์ไปข่มผู้อื่น ,ประพฤติพรตเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อม

ก็เท่ากับว่า รักษาศีลไปเพื่อเพิ่มพูนกิเลส ทำให้มีกิเลสเกิดมีมากขึ้น

กิเลสกองนี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกมัดสัตว์ไว้ให้ติดอยู่ในภพเป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน

ที่เรียกว่า"สังโยชน์" จัดเข้าในข้อ "สีลลัพพตปรามาส" นั่นเอง

ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของศีลนั้น มีไว้เพื่อละเพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง มิใช่นำศีลมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ปฏิบัติกันอยู่แต่อย่างใด.


ไม่ผิดศีล...แต่ผิดธรรม

"ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ"  แปลว่า "ธรรมแลย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม"

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

น้อมระลึกบูชาคุณอดีตพระอาจารย์ผู้สอนธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติทุกท่าน ด้วยควมเคารพยิ่ง

หัวข้อ: ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ
เริ่มหัวข้อโดย: 0817275412 ที่ 02 พ.ย. 2554, 02:17:50
ขอบคุณครับพี่ tum_ohayo สรุปง่ายๆว่า ของขรัง จะขรังเมื่อ เราอยู่ในธรรมอันควร ใช่หมครับ

ถ้าไมม่มีธรรม ก็จะ ไม่มีอะไรคุ้มครองเราได้.....

ก็เหมือนกับเราเป็นคนกำหนดเอง หนอ....