กระดานสนทนาวัดบางพระ

หมวด มิตรไมตรี => บทความ บทกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 13 พ.ค. 2552, 02:30:22

หัวข้อ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~@เสน่ห์เอ็ม@~ ที่ 13 พ.ค. 2552, 02:30:22
?คำถาม-คำตอบ เรื่องน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา?

โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ


พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของนิกายอื่นๆ อยู่ ๒ นิกายด้วยกัน คือ

๑) นิกายหินยาน

๒) นิกายมหายาน

นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้ หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้
นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย
พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น

นิกายมหายาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอาจริยวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ในแต่ละสำนักเป็นหลักและแก้ไขพระวินัยให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นเหตุการณ์และตามความประสงค์ของตนเองได้ โดยยึดถือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้เมื่อครั้งใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า ?หากสงฆ์ประสงค์จะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ให้ถอนได้?
เพราะฉะนั้น ในนิกายนี้จึงมีการแก้ไขพระวินัยหลายข้อด้วยกัน และบางสาขาในนิกายนี้แก้ไขพระวินัยถึงขนาดที่ว่า พระมีครอบครัวได้
ต่อมา นิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุตตรนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายเหนือ หมายความว่า เป็นนิกายที่แพร่หลายขึ้นไปในแถบภาคเหนือของอินเดีย คือ กำหนดเอาตั้งแต่แคว้นปัญจาปขึ้นไปจนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศอาฟกานิสถานในปัจจุบัน
นิกายมหายานได้เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และปัจจุบันได้รับความนิยมกว้างขวางอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป

(หมายเหตุ ในเมืองไทยเรา ก็มีพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกัน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ ๑. อนัมนิกาย (ญวน หรือเวียดนาม) และ ๒. จีนนิกาย)

อย่างไรก็ตาม นิกายทั้งสองนี้ แม้จะมีข้อวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระและฆราวาสแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อพูดถึงจุดหมายปลายทางแล้วก็มุ่งพระนิพพานเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน และนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเช่นเดียวกัน


ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในเมืองไทยเรานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ

๑. มหานิกาย

๒. ธรรมยุติกนิกาย

ซึ่งนิกายทั้งสองนี้เรานิยมเรียกพระแต่ละนิกายว่า พระมหานิกาย พระธรรมยุต นิกายทั้งสองนี้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย จนเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยไม่ว่าจะเป็นในด้านวินัยบัญญัติ หลักธรรม ที่สำคัญพระในนิกายทั้งสองยังสามารถปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกันได้ โดยยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาร่วมกัน
ส่วนในด้านการปกครอง สมเด็จพระสังฆราช (จากนิกายไหนก็ได้) ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์
ข้อเพิ่มเติม นิกายหินยาน นั้นในทางวิชาการเรามักจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูกที่นิกายมหายานยัดเยียดให้นิกายหินยาน เพราะคำว่า หิน (อ่าน หิ-นะ) หมายถึง ต่ำช้า เลวทราม สาเหตุเพราะมุ่งความบริสุทธิ์เฉพาะตัวเป็นหลักก่อนจึงค่อยสอนผู้อื่น แต่นักปราชญ์ฝ่ายหินยานก็เลี่ยงเสียใหม่ แปล หิน ว่า เล็ก เพราะฉะนั้น หินยาน จึงแปลว่า ยานเล็ก หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้น้อยกว่า ส่วน มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้มากกว่า
มหายานท่านว่าอย่างนี้ จะจริงเท็จแค่ไหนก็ต้องปฏิบัติดู


จาก... วารสาร พ.ส.ล. ปีที่๓๙ ฉบับที่ ๒๕๖ กรกฎาคม ? กันยายน ๒๕๔๙  

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป  http://anamnikay.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=126
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: gottkung ที่ 13 พ.ค. 2552, 02:34:27
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแฝงด้วยสาระเต็มเปี่ยมครับเพื่อนเอ็ม
ตามความเข้าใจของผม ถ้าหินยานก็หมายถึงแบบพระสงฆฺหรือพระเกจิอาจารย์อย่างที่เราๆ
ท่านๆกราบไหว้กันอยู่ (สืบเนื่องจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ฉันเนื้อสัตว์ได้)
แต่ถ้าเป็นมหายาน ก็ต้องเป็นแบบพระสงฆ์จีน(แต่งกายเหมือนพระวัดเส้าหลินที่เคยเห็นในหนัง) :095:
พระสงฆ์นิกายจีนนี่ห้ามฉันเนื้อสัตว์ครับ  :009:
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ต้นน้ำ~ ที่ 13 พ.ค. 2552, 03:17:06
ขอบคุณเพื่อนเอ็มมาก
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: tum72 ที่ 13 พ.ค. 2552, 03:48:15
ขอบคุณท่านเอ็มมากครับ

ตามที่ผมเคยทราบมา นิกายมหายานของไทยเราก็คือพระภิกษุสงฆ์ แต่จะต่างกับพระภิกษุสายธรรมยุต
คือพระสายะรรมธุตจะโกนศีรษะทุกๆสัปดาห์หรือทุกๆวันพระ แต่นิกายมหายานจะโกน1เดือนครั้งหรือแล้วแต่ความยาวของผม
พระสายธรรมยุตจะไม่มีผ้ารัดอกในตอนห่มจีวรแต่จะพาดสังฆาฏิอย่างเดียว แต่สายมหานิกายเวลาห่มดองแล้วจะพาดสังฆาฏิแล้วมีผ้ารัดอก
รัดออกอีกทีอ่ะครับ
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) ที่ 13 พ.ค. 2552, 08:20:54
ขอบคุณมากครับท่านเอ็ม กระจ่างมากครับ
 ไม่ว่าจะนิกายใดจุดหมายปลายทางเดียวกันคือ
" พระนิพพาน " สาธุครับ :054:
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: อชิตะ ที่ 13 พ.ค. 2552, 08:23:13
หินยาน คือ หนักแน่นในของเดิม

มหายาน ยานใหญ่คล้อยตามสังคม

ธรรมยุติ ยึดแบบจากมอญและพม่าโดดเด่นด้านวินัยและปฎิบัติ

มหานิกาย ของดั้งเดิมในสยาม เด่นด้านปริยัติหรือวิชาการ  :016:
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ ที่ 13 พ.ค. 2552, 09:41:03
นิกายในพระพุทธศาสนานั้นแบ่งกันถึง 18 นิกาย

แต่จะมีนิกายใหญ่ๆอยู่ 2 นิกาย คือ

1. นิกายมหายาน  คือ มหายาน แปลว่า ยานลำใหญ่  ขนสรรพสัตว์ไปได้มาก  เป็นนิกายเน้นการปฏิบัติตนบำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตว์  เน้นการช่วยเหลือมนุษย์ไปมรรคผลนิพพานให้มากที่สุด    จุดมุ่งหมายดี เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็บำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์เหมือนกัน แต่ช่วงหลัง นิกายมหายาน เริ่มย่อหย่อนในพระธรรมวินัย  การปฏิบัติมีน้อยมาก

2. นิกายหินยาน หรือ นิกายเถรวาท  คือ หินยาน  แปลว่า ยานลำเล็ก ขนสรรพสัตว์ไปได้น้อย  หรือ เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ เป็นนิกายที่เน้นการปฏิบัติตนให้ออกจากกองทุกข์เสียก่อน  ทำตนให้เข้าสู่มรรคผลนิพพานเสียก่อน  จะปลีกวิเวกปฏิบัติตามลำพัง  เพื่อให้ตนบรรลุธรรมตามที่ตั้งไว้  เป็นการสลัดตนให้ออกจากทุกข์  ประมาณว่าเบื่อการเวียนว่ายตายเกิดเต็มทีแล้ว   

ขอขยายความในนิกายหินยาน หรือ เถรววาท   ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกายคือธรรมยุตนิกาย กับมหานิกายในสมัยรัชกาลที่  3  โดยรัชกาลที่ 4 ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏในตอนนั้น

โดยรัชกาลที่ 4 ท่านเห็นว่าพระสงฆ์ในประเทศไทย  ต่างย่อหย่อนพระธรรมวินัยกันมาก  ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก ประจวบกับมีพระสงฆ์ชาวมอญ(ผมจำไม่ผิดน่าจะสองรูปนะครับ)ธุดงค์มาปักกลดอยู่แถวป่าบางลำภู (บริเวณวัดบวรราชนิเวศปัจจุบัน)  มีคนว่าท่านเป็นพระมอญ ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ  รัชกาลที่ 4 ในตอนดำรงตำแหน่งเจ้าฟ้ามงกุฏ  ได้ส่งคนไปดูลาดเลา และตอนหลังก็ได้เสด็จไปเอง  ฟังธรรมจนเกิดความเลื่อมใสต่อพระธุดงค์ชาวมอญ   ท่านจึงคิดตั้งนิกายขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อว่า "ธรรมยุต"

คำว่า "ธรรมยุต" แปลว่า นิกายที่ยึดหลักธรรมเป็นใหญ่

ส่วนพระที่เหลือให้ชื่อว่า "มหานิกาย" แปลว่า นิกายที่มีพระหมู่มาก มีพระพวกมาก

ซึ่งในยุคนั้น พระสงฆ์ที่ไม่ญัตติเป็นพระนิกายธรรมยุตต่างไม่พอใจกับคำว่า "มหานิกาย" เป็นอย่างมาก ที่ยัดเหยียดให้ใช้ชื่อว่า นิกายพวกมาก   จนเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง และพระเถระในมหานิกายหลายรูป ท่านบอกว่า เราเป็นพุทธบริษัท  อย่าไปคิดมากเรื่องพวกนี้ มันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ  ธรรมมันอยู่ในใจ  ให้ยึดธรรมเป็นพระศาสดาก็พอ   ต่อมาเรื่องก็ยุติลง

นิกายธรรมยุตได้มีวัดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์ เนื่องจากท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  และต่อมาได้โปรดให้แต่งตั้งพระสังฆราชจากนิกายธรรมยุตเป็นองค์แรก  ให้ส่งพระธรรมฑูตจาริกทั่วประเทศ  สร้างวัดป่ามากมายที่เห็นกันในปัจจุบันครับ  ไม่ว่าจะเป็นธรรมยุตนิกาย หรือมหานิกาย ต่างก็ได้สั่งสอนคนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล นิพพานสืบกันมา  ทั้งสองนิกายนี้มีคำสอนที่ไม่แตกต่างกันเลย  นอกจากเสขิยวัตรบางข้อเท่านั้นครับ


ไม่ว่าจะมหายาน หรือ หินยาน 

ไม่ว่าจะธรรมยุต หรือ มหานิกาย

หากบุคคลพึงเข้าใจในพระธรรมอย่างถ่องแท้  คำว่านิกายไม่มีผลต่อมรรค ผล นิพพานเลยแม้แต่น้อย

หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: derbyrock ที่ 13 พ.ค. 2552, 09:44:51
สีจีวรของ ธรรมยุต จะแตกต่างน่ะครับ สีจะเข้ม ผมเคยบวชวัดท่าข้าม สายธรรมยุทธ ครับ หลังเที่ยงจะฉันนมใดๆไม่ได้เลยน่ะครับ
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ~เสน่ห์ack01~ ที่ 13 พ.ค. 2552, 10:15:43
ขอบคุณท่านเอ็มครับ แยกแยะได้ชัดเจนจริงๆ.. :016:
หัวข้อ: ตอบ: หินยานและมหายานเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ŽŽลูnxมูll๑J ŽŽ ที่ 14 พ.ค. 2552, 02:46:33
ขอบคุณมากครับ ข้อมูลเพียบ สงสัยแฟนผมต้องเสียผมให้ธรรมะส่ะแล้ว :054: :054: :054: :114: