แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - jommiez

หน้า: [1]
1
สวัสดีปีใหม่ครับ

3
การทำสังคายนาครั้งแรก เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น

มูลเหตุในการทำสังคายนาครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อพระมหากัสสปเถระทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน บรรดาลูกศิษย์พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ แต่มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ ซึ่งเป็นภิกษุแก่ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ ยังปรากฏผู้มีใจวิปริตจากธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ถ้าปล่อยไว้นานเข้า คำสอนทางพระพุทธศาสนาอาจถูกบิดเบือนไปได้ จึงริเริ่มวางแผนการทำสังคายนา


ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81


พี่ pepsi  ของผมละเอียดที่สุดแล้ว

ขอผมเถอะ

4
เป็นของ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จังหวัดเลย

ท่านกล่าวไว้ว่า...อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ)
                  ...อย่านอนบนไฟ (โลภ โกรธ หลง)
                  ...ให้ไปอย่างแร้ง (ไม่ยึดติด ไม่สะสม)
                  ...แสวงหาบริสุทธิ์ (ของที่ชอบธรรม)
กิเลสตัณหาทั้งหลาย ล้วนเป็นของร้อน เป็นไฟเผาไหม้อยู่ภายในจิตในใจของเราเสมอมา ใจเรารุ่มร้อนกระวนกระวายเพราะกิเลสตัณหา
ความอยากมีอยากได้ ความพอใจและไม่พอใจในสิ่งที่มี การยึดถือในตนเองจนมากเกินไป ความรัก ความใคร่ ความลุ่มหลง เสน่หา
ล้วนแล้วแต่พาให้ใจเรารุ่มร้อน เหมือนมีไฟมาสุมอยู่ในใจเรา
พยายามเตือนตน เตือนจิต ปรับความคิด ยกเอาการประพฤติปฏิบัติของหลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ท่านทั้งหลายมาเป็นแบบอย่าง
ปรับให้เข้ากับตัวเราเพื่อความเหมาะสมในการประพฤติปฏิบัติธรรม แบบอย่างที่ดีมีอยู่มากมายที่จะให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้ดูเป็นตัวอย่าง
การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นพระภิกษุตามแนวทางปฏิปทาของครูบาอาจารย์ก็คือ...มีน้อยใช้น้อย มีมากเอาไว้สงเคราะห์
ผู้ที่ไม่มี อยู่ไปตามมีตามได้ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ร้องขอใคร ยินดีกับความเพียรเพื่อหวังความพ้นทุกข์....
 ...เคารพศรัทธาในคำครู ที่สอนให้รู้ถึงความพอดีและความเพียงพอ...


อ้างอิงจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11141.0

ขอบคุณครับ   ขอด้วยคนครับคนที่สอง

5
พระพุทธเจ้าครับ

http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-02.htm

หน้า: [1]