แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทรงกลด

หน้า: 1 2 [3]
1999
ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ขยายความ คำสมมติ

อจินไตย แปลว่าสิ่งที่ไม่ควรคิด หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก่
พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของฌาน
กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม ที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ รวมถึงการให้ผล และการรับวิบากกรรม
โลกวิสัย วิสัยการมีอยู่ของโลก[1]

ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น[2]

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2

นิวรณ์ (อ่านว่า นิ-วอน) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C

2000
การให้นั้นเชื่อว่าคงมีคนไม่มากนักที่จะให้ได้ถูกต้อง
ให้เกิดประโยชน์  ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ   เป็นการให้แบบสัตบุรุษ  คือคนดีทั้งหลาย   ตามที่พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้  ถ้าไม่ได้ศึกษาเรียนรู้มาก่อน  น้อยคนนักที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง
 แม้แต่ทรัพย์ที่เราขวนขวายแสวงหามา  เราก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้ทรัพย์นั้นไปในทางใดจึงจะเกิดประโยชน์ 
ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดง เรื่องการใช้ทรัพย์ ไว้ในอังคุตตรนิกาย  ปัญจกนิบาต  อาทิยสูตรที่ ๑
(ข้อ  ๔)  ๕ ประการ  คือ

   ๑.  ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม  บำรุงเลี้ยงตนเอง  บิดา  มารดา  บุตร  ภรรยาและบ่าว
ไพร่ให้มีความสุข  ไม่อดยาก


   ๒.  ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม  เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ

   ๓.  ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม  ป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ จากน้ำ พระราชา โจร
หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก  เพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายนั้นๆ

   ๔.  ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม  ทำพลี  คือบูชา  หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน  คือ  ญาติพลี บำรุง
ญาติ  อติถิพลี ต้อนรับแขก  ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษี
อากรเป็นต้น  และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา  เพราะว่าเทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้นด้วยคิดว่า 
"คนเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นญาติของเราเขาก็ยังมีน้ำใจให้ส่วนบุญแก่เรา  เราควรอนุเคราะห์เขาตามสมควร"

   ๕.  ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม  บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ  เกื้อกูลแก่สวรรค์  มีวิบาก
เป็นสุข   ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท  มัวเมา  ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้
สงบระงับจากกิเลส  ในข้อ   ๕   นี้ตรัสสอนให้ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้ทานแก่ผู้มีศีล   ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ 
ปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส  ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล  เพราะทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก  ทำให้เกิดใน
สวรรค์  ได้รับความสุขอันเป็นทิพย์  นอกจากนั้นผู้ถวายยังอาจบรรลุคุณวิเศษ  เพราะธรรมที่ท่านผู้ประพฤติ
ดีปฏิบัติชอบเหล่านั้นยกมาแสดงให้ฟังได้อีกด้วย  ผู้มีปัญญาย่อมไม่เสียดายทรัพย์ที่หมดเปลืองไปเพราะเหตุ
เหล่านี้  เพราะว่าท่านได้ใช้ทรัพย์นั้นถูกทางแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นแล้ว  โดยเฉพาะทรัพย์คือบุญที่
ท่านถวายไว้ในผู้มีศีลเหล่านั้น  ยังสามารถติดตามตนไปในโลกหน้าได้อีกด้วย

ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

2001
สนทนาภาษาผู้ประพฤติ / ตอบ: ...ทุกข์...
« เมื่อ: 10 มี.ค. 2554, 09:23:06 »
มีเหตุให้ดูกายกับใจของเรา

2002
ขออนุญาตพระอาจารย์ สรุปสั้นๆ ผิดถูกประการใดกรุณาชี้แนะสั่งสอนด้วยครับ

ใช้หลักธรรมในอริยสัจ ๔ มาประกอบในการคิดและพิจารณาแล้วลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
ความเคลื่อนไหว=เกิด ตั้งอยู่ ดับ

2003
สัพเพ ธัมมา อนัตตา=ธรรมชาติ

ใช่หรือไม่ครับ

2004
ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ สรุปและย่อคำสอนของท่านดังนี้ ถูกผิดประการใดกรุณาชี้แนะด้วยครับ :054:

ความประมาท=ขาดสัมมาสติ
1.จิตใจเป็นกุศล
2.รู้ในสิ่งที่ควรคิดและในสิ่งที่ควรทำ
3.มีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต
4.คิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ตามเหตุและปัจจัยที่มี=ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ้งซ่าน

2005
อย่าท้อแท้ อย่าท้อถอยกันนะครับ

ยอดคลิกyoutubeถล่ม คลิป"สมศักดิ์ แขนเดียว"พิการแขนซ้ายโชว์ดีดกีต้าร์-ร้องเพลง ทำผู้ชมน้ำตาไหล
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:49:08 น.

[youtube=425,350]xM1gPkdTQzI[/youtube]

กลายเป็นที่โด่งดังในโลก Social Network ภายในพริบตา ภายหลังจากที่รายการ Thailand′s got talent พรสวรรค์ บันดาลชีวิต เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ซึ่งออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งในเทปดังกล่าวนั้น มีผู้พิการทางแขนซ้าย หนึ่งในผู้เข้าประกวด แสดงความสามารถดีดกีต้าร์ พร้อมร้องเพลงโชว์ เขาคือ สมศักดิ์ เหมรัญ หรือ สมศักดิ์ แขนเดียว ซึ่งเมื่อสมศักดิ์ ใช้มือข้างขวาที่ยังใช้งานได้ปกติ จับคอร์ดกีตาร์ที่วางไว้บนหน้าตัก พร้อมดีดจังหวะดนตรีเป็นเพลง "ใจสู้หรือเปล่า" ปรากฎสู่สายตาผู้ชมในห้องส่ง และผู้ชมทางบ้าน ทำให้ผู้คนในห้องส่ง รวมถึงคณะกรรมการตัดสิน และผู้ดำเนินรายการถึงกับอึ้งในความสามารถ จนบางคนถึงกับน้ำตาไหล และพากันยกย่อง พลังสู้เต็มร้อยของสมศักดิ์ แขนเดียว ที่พยายามฝึกฝนเล่นกีต้าร์ด้วยมือเดียวพร้อมกับร้องเพลงได้อย่างไพเราะและจับใจ ซึ่งปรากฎว่า ภายหลังจากที่รายการออกอากาศไป ยอดคลิกในเว็บไซต์ youtube ที่มีผู้นำรายการดังกล่าวมาลงย้อนหลังถึงกับพุ่งไปเป็นแสนคลิก เนื่องจากมีคนบอกต่อและส่งกันไปให้ดูต่อๆ กันอย่างถล่มทลาย

หนุ่มวัย 29 ปี จากจ.สงขลาผู้นี้ กำลังศึกษาอยู่ที่เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา จ.สงขลา โดยเขามิได้พิการมาแต่กำเนิด แต่ด้วยอุบัติเหตุ เมื่อปี 2544 ภายหลังรถจักรยานยนต์ที่เขาขี่พาแม่ซ้อนท้ายมา โดนรถยนต์ชน ทำให้เส้นประสาทแขนด้านซ้ายของเขาขาดกลายเป็นอัมพาต และแม่ของเขาต้องเสียชีวิต ส่งผลให้ช่วงนั้นสมศักดิ์มืดมน ไร้ทางออก จากที่เคยชื่นชอบการเล่นดนตรี โดยเฉพาะกีตาร์ที่เคยดีดได้สองมือตามปกติ ก็ทำไม่ได้ แต่ความท้อแท้สิ้นหวังในโชคชะตาของเขา ได้เปลี่ยนขับเคลื่อนเป็นพลังแห่งการต่อสู้ทำให้สมศักดิ์ พยายายามฝึกฝนเล่นกีต้าร์ด้วยมือข้างขวาที่ยังใช้งานได้ปกติเพียงข้างเดียว จนสามารถจับคอร์ดและบรรเลงเพลงได้ประหนึ่งการใช้2มือบรรเลงจังหวะ เขาจึงตั้งใจมาประกวดรายการ Thailand′s got talent เพื่อมาเป็นกำลังใจให้กับผู้อื่นที่ไม่ยอมท้อถอยกับความโชคร้ายที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อการแสดงความสามารถเสร็จสิ้น ผู้คนในห้องส่งต่างลุกขึ้นยืนปรบมืออย่างกึกก้องให้กับสมศักดิ์แขนเดียว ขณะที่คณะกรรมการการตัดสินได้แก่ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, ภิญโญ รู้ธรรม และพรชิตา ณ สงขลา ต่างชื่นชมความสามารถของเขาอย่างไม่หยุด และตัดสินให้สมศักดิ์ผ่านเข้ารอบการประกวดไปอย่างที่ผู้ชมทั้งในห้องส่งและทางบ้านต่างก็ยินดีกับหนุ่มสมศักดิ์ แขนเดียวผู้นี้เป็นอย่างมาก โดยหลังจากที่รายการออกอากาศไปแค่วัน-สองวัน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ยอดคลิกยังอยู่แค่ 2 หมื่นคลิก แต่พอวันที่ 9 มี.ค. นี้ ยอดคลิกกับพุ่งไปเหยียบแสนคลิกแล้ว


สำหรับ ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ เป็นรายการประกวดที่เฟ้นหาคนที่มีความสามารถโดดเด่นโดยไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน รวมทั้งประเภทของโชว์ โดยผู้ชนะจะได้รับรางวัลมูลค่ามหาศาลร่วม 10 ล้านบาท นับเป็นรางวัลการประกวดความสามารถที่มีมูลค่าที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมารวมทั้งได้สิทธิ์ในการเซ็นสัญญาในสังกัดโซนี่ มิวสิค และรางวัลพิเศษจากซัลซิลและเรโซน่า ที่สำคัญผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 12 คน จะมีโอกาสได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับบริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) ทั้งนี้ ความสนุกสนาน และสีสันของรายการอยู่ที่การแสดงความสามารถที่หลากหลายบนเวที ซึงการแสดงจะสิ้นสุดลงเมื่อกรรมการทั้งสามท่านกดปุ่ม X ครบทุกคน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้เข้าประกวดจะตกรอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการโดยการกดปุ่ม X ซึ่งมีพิธีกรคู่ยอดนิยม อย่าง กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์
และ น้าเน็ค- เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สำหรับ 3 กรรมการที่จะทำหน้าที่ชี้ชะตาของผู้เข้าแข่งขัน ได้แก่ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, ภิญโญ รู้ธรรม และ เบ็นซ์ -พรชิตา ณ สงขลา

ที่มา
http://www.matichon.co.th/

2006
ดูง่าย ฟังง่าย เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้เลย
[youtube=425,350]TeAodVZtXq4[/youtube]

2007
ประโยชน์ของศีล 5

ศีล 5 นั้น มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ

1.) เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม

2.) เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล 5 นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส


        การทำผิดศีลแต่ละครั้ง ก็คือการยอมให้กิเลสสามารถครอบงำจิตใจได้อย่างเต็มที่ จนถึงขั้นส่งผลให้มีการแสดงออกทางกายหรือทางวาจานั่นเอง ดังนั้น การทำผิดศีลแต่ละครั้ง จึงทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น ตามลักษณะของกิเลสที่ครอบงำจิตอยู่นั้น ถ้ายิ่งทำผิดศีลมากครั้ง และบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งหยาบกระด้างขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อจิตหยาบกระด้างขึ้น ก็ทำให้สามารถทำผิดได้รุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้จิตหยาบกระด้างหนักขึ้นไปอีก เป็นวังวนพอกพูนไม่รู้จบสิ้น

        ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปนั้น คนเราจะไม่สามารถทำผิดได้ในขั้นที่หนักกว่าระดับความหยาบกระด้าง หรือระดับความประณีตของจิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ) เว้นแต่จะมีเหตุปัจจัย/สิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงมากๆ มาบีบคั้น เช่นคนที่เคยตบยุงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยฆ่าสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้นเลย จิตของเขาย่อมอยู่ในความประณีตระดับนั้น เขาย่อมสามารถตบยุงได้ ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นธรรมดา เพราะการกระทำนั้น อยู่ในขั้นที่ไม่หยาบเกินกว่าสภาพจิตปรกติของเขา

        แต่ถ้าให้เขาไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่ เขาย่อมจะรู้สึกว่าไม่อยากจะทำ และเมื่อถูกเหตุการณ์บีบบังคับ ทำให้เขาเลี่ยงไม่ได้ เขาย่อมจะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่หยาบกว่าสภาพจิตปรกติของเขานั่นเอง และหลังจากนั้น เมื่อเขาต้องฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, ...... เขาย่อมจะสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกที่ฝืนใจน้อยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่ต้องฝืนใจเลย เพราะจิตของเขาจะหยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ทำลงไป ตั้งแต่ครั้งที่ 1, 2, 3, 4, ...... แล้วหลังจากนั้น เขาก็ย่อมที่จะฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามวังวนเช่นเดียวกันนี้

        ผู้ดำเนินการเคยฟังคำให้สัมภาษณ์ของอดีตมือปืนรับจ้าง ได้ความว่ามือปืนโดยทั่วไปนั้น เมื่อต้องฆ่าคนครั้งแรก จะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจ และทำใจได้ยากลำบากมาก และหลังจากทำงานครั้งแรกนั้นสำเร็จแล้ว ก็จะรู้สึกแย่อยู่หลายวันกว่าจะสงบลงได้ แต่พอทำครั้งที่ 2, 3, 4, 5 ก็จะทำได้โดยสะดวกใจขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งประมาณครั้งที่ 6 หรือ 7 ก็จะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นปรกติ

        ไม่เฉพาะการทำผิดศีลข้อแรก คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเท่านั้นที่อยู่ในวังวนแบบนี้ การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ก็หนีไม่พ้นวังวนนี้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้คนที่ผิดศีลนั้น มีจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น ทำให้เขาต้องห่างไกลจากความสุขอันประณีต ละเอียดอ่อนออกไปทุกที ต้องอยู่กับสภาพจิตที่เร่าร้อน หยาบกระด้างขึ้นทุกขณะ

        ครั้นพอได้มีโอกาสมารักษาศีล กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นจึงครอบงำจิตใจได้น้อยลง เพราะถูกบังคับ ควบคุมไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้แผลงฤทธิ์รุนแรงจนถึงขั้นแสดงตัวออกมาทางกาย หรือทางวาจา กิเลสจึงมีกำลังอ่อนลงเรื่อยๆ ส่งผลให้จิตประณีต ละเอียดอ่อนขึ้นไปเรื่อยๆ

        เช่นคนที่เคยฆ่าเป็ดฆ่าไก่อยู่เป็นประจำนั้น ถ้าเขาว่างเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเวลานานๆ ครั้นต่อมาเขาต้องกลับไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เขาก็ย่อมจะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ยากลำบาก ต้องฝืนใจมากกว่าในครั้งสุดท้ายที่เขาเคยทำมา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาเริ่มประณีตขึ้นมาแล้วนั่นเอง

2008
ขอบคุณ คุณเจ สาEบาJwsะ
ที่ดึงกระทู้มาให้อ่าน เป็นคำถามที่ผมคุยกับเพื่อนเมื่อค่ำนี้เอง กะว่าจะเรียนถามพระอาจารย์.....ตอนนี้ได้คำตอบแล้วครับ

2009
อานิสงส์ของการรักษาศีล 5

1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
3. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
4. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มีแต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

ศีล นั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนา คือ จิตใจ คนเราถ้าจิตไม่มี ก็ไม่เรียกว่าตน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหาหลงขอคนที่หา คนที่ขอ ต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยาก ยากเข็ญยิ่งไม่มี

กายกับจิต เราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้จากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล

ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีล ย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่อยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีลเป็นสมาธิ เป็นปัญญา

ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

ที่มา : คติธรรม คำสอน ของ องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร

2010
ขอแจมด้วยครับ
(สร้างพระจากคนธรรมดา)
อานิสงส์ของการบวช
 
๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง
 
อานิสงส์ที่ ๑ ที่ว่า ในส่วนตัวเขานั้น ต้องได้รับอะไรใหม่เป็นของใหม่ และดีที่สุดที่เขาจะได้รับ คือให้ได้ มีการบรรพชาจริงนั่นแหละ เรียกว่าบวชจริง ให้เรียนจริง ให้ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลจริงๆ นี้เรียกว่า บรรพชาจริงๆ ได้ผลจริง ในระหว่างที่เขาบรรพชาอยู่ ได้สิ่งที่ดีที่สุด ที่เขาควรจะได้ คือเรื่องของพระธรรมที่ทำให้บุคคลพ้นจากความทุกข์ นี่ประโยชน์ส่วนตัวของเขา ก็มีอยู่อย่างนี้แล้วขอให้เขาได้รับ
 
อานิสงส์ที่ ๒ ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น จะพึงได้อานิสงส์นี้ก็เพราะลูกของเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงได้ผลจริง หรือว่าสอนผู้อื่นได้จริงด้วยก็ยิ่งดี ถ้าลูกหลานของเราบวชจริงอย่างนี้แล้ว บิดามารดาก็มีความปีติปราโมทย์ พอใจในธรรม ใน ศาสนานี้มากขึ้น การบวชของลูกจะทำให้มีอะไรๆ เกิดขึ้นหลายประการ เช่น ที่ว่า บิดามารดาจะมีศรัทธามากขึ้นมีความมั่นคงในพระศาสนามากขึ้น เรียกว่าเป็นญาติในพระศาสนามากขึ้นนั่นเอง เขาใช้คำอย่างนั้นมาแต่โบราณกาลแล้ว ที่ว่าพอลูกบวชแล้วพ่อแม่เป็นญาติในพระศาสนามากขึ้น เพราะฉะนั้นอานิสงส์ข้อนี้ได้แก่ ญาติทั้งหลาย มีบิดา มารดาเป็นต้นด้วย
 
อานิสงส์ที่ ๓ ก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา กระทั่งสากลจักรวาล และได้แก่ศาสนาด้วย ข้อนี้มันสัมพันธ์กันที่ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกับศาสนานั้นสัมพันธ์กัน อยู่ ถ้าศาสนายังมีอยู่ในโลก สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ปลอดภัยสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจะปลอดภัย ก็เพราะมีศาสนาอยู่ในโลก ฉะนั้นเราทำศาสนาให้มีอยู่ในโลก ก็คือทำประโยชน์ให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ศาสนานี้จะมีอายุอยู่ได้ไม่สูญหายไปเสีย ก็เพราะว่า
๑. มีคนบวชคนเรียน
๒. มีคนปฏิบัติถูกต้อง
๓.มีคนได้ผลของการปฏิบัติ
ทั้งหมดนี้ที่เขาเรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นภาษาบาลี เราควรจะขอบใจคนที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เขาสืบอายุพระศาสนาไว้จนมาถึงเรา เราต้องช่วยกันสืบต่อไป บวช ๓ เดือนก็สืบ ๓ เดือน บวช ๒ เดือนก็สืบ ๒ เดือน พอเราสึกออกไป ยื่นมอบหมายให้คนอื่นต่อไปอีก อย่าให้ขาดตอนได้ ฯ
 
 กล่าวโดยย่ออานิสงส์ของการบวชแบ่งออกได้ ๒ ประการ คือ
 
ประการที่ ๑ อานิสงส์หลัก ได้แก่
๑.     กรณีของผู้ที่หมดกิเลส สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์คือ
ก.      ทุกข์เก่าหมดไป
ข.      ทุกข์ใหม่ไม่เกิดขึ้น คือ หมดกิเลส
ค.      เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ได้ทำบุญให้ทาน และถวายสักการะแก่ท่าน
๒.     มองถึงด้านคุณธรรมในตัวของผู้บวช
ก.      ทำให้ตัวเองเป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ
ข.      จะได้น้ำใจงาม ที่เรียกว่า เป็นคนมีน้ำใจ
ค.      เป็นผู้มีปัญญา
 
ประการที่ ๒ อานิสงส์พลอได้ ได้แก่
๑.     อานิสงส์ที่เกิดแก่ผู้อื่น
ก.      ช่วยให้บิดามารดาได้มีโอกาสใกล้ชิดพระศาสนา เช่น ได้ฟังธรรม เป็นต้น เพราะต้องไปเยี่ยมเยียนผู้บวชอยู่เสมอ
ข.      แม้สึกออกไปแล้ว ลูกเมียก็เป็นสุข เพราะได้นิสัยดี ๆ ที่เกิดจากการขัดเกลาติดตัวไป เมื่อก่อนเคยขี้เหล้าเมายา เมาขึ้นมาก็อาละวาด พอบวชแล้วสึกออกไปนิสัยดีขึ้น
ค.      ประเทศชาติได้พลเมืองที่ดีเพิ่มขึ้น
 
๒.             อานิสงส์ทางธรรม เป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
 http://www.watpaknam.org/knowledge/view.php?id=10

2011
จิตล่วงเกินพ่อแม่
[youtube=425,350]HtfWrzfw9oE[/youtube]

แรงกตัญญู
[youtube=425,350]g6iQHOflvsA&NR[/youtube]

2012
เปิดปมในใจอดีตสาวขายบริการ
วันพุธ ที่ 02 มีนาคม 2554 เวลา 0:00 น 

ในสังคมไทยมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อของการขายบริการทางเพศที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ทว่ายังแพร่หลายไปทั่วโลก สาเหตุของการเดินเข้าสู่วงจรดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากผู้หญิงหลายคนรักความสุขสบาย ไม่อยากทำงานหนัก ๆ จนหันเหชีวิตมาสู่วงการขายบริการทางเพศที่ได้เงินง่าย ๆ แต่ความเป็นจริงอาชีพนี้ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เหมือนตกนรกทั้งเป็นเหมือนชีวิตของ “ธนัดดา สว่างเดือน” อดีตหญิงขายบริการวัย 42 ปี  ที่คลุกอยู่กับอาชีพขายบริการเกือบ 20 ปี โดยก้าวเข้ามาสู่วงการขายบริการทางเพศ ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.3 เพราะชิงสุกก่อนห่ามจนตั้งครรภ์ ทำให้ต้องดิ้นรนหาเงินมาเลี้ยงลูก เนื่องจากฐานะยากจนประกอบกับการศึกษาน้อยจึงเดินไปทำงานในร้านอาหารที่พัทยา แต่กลับถูกหลอกให้ขายบริการทางเพศ
   
“ตอนแรกตั้งใจว่าถ้าเก็บเงินค่ารถได้เมื่อไหร่จะเดินทางกลับบ้านเกิดทันที แต่ด้วยความหลงระเริงว่าทำงานง่าย ๆ แต่ได้เงินมาก จนถอนตัวออกจากวงการนี้ไม่ได้ ชีวิตจึงเดินเข้าสู่การขายบริการข้ามชาติทั้งประเทศฮ่องกง ญี่ปุ่น และบาห์เรน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เพราะการขายบริการในต่างประเทศเลวร้ายกว่าประเทศไทยมาก นอกจากโดนหลอกมาขายบริการแล้วยังต้องทำงานชดใช้หนี้อีก บางครั้งต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายทั้งหนีตำรวจและพวกที่มีอิทธิพลในพื้นที่ บางวันถูกซ้อมจนปางตาย ถูกบังคับให้เสพยาเสพติดจนต้องติดคุกอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นนานกว่า 4 ปี” คือความในใจของอดีตหญิงขายบริการ
   
แม้หมดหนทางกลับสู่เมืองไทย ทว่า ธนัดดาพยายามดิ้นรนต่อสู้ เพื่อขอโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ จนในที่สุดได้อิสระและกลับมาใช้ชีวิตที่เมืองไทยอีกครั้ง โดยเริ่มต้นชีวิตใหม่กับชายคนหนึ่งช่วยกันทำมาหากิน เปิดร้านขายข้าวแกง แต่โชคชะตากลับเล่นตลก ทำให้ครอบครัวเป็นหนี้นอกระบบหลายแสนบาท มิหนำซ้ำสามียังไปมีผู้หญิงคนใหม่ ทำให้เหลือตัวคนเดียวไร้ที่พึ่ง ถึงขนาดคิดฆ่าตัวตายแต่เลือกเดินกลับไปเข้าสู่วังวนเดิม ๆ อีกครั้ง เพียงแค่เหตุผลที่ว่า “เลิกไม่ได้” แต่ด้วยความโชคดีได้พบกับชายชาวอเมริกันคนหนึ่งที่สงสารซึ่งคอยช่วยเหลือทุกอย่างและเตือนสติให้ออกจากวงการอันโหดร้ายนี้
   
“ทุกวันนี้ถึงแม้ตกงานแต่ไม่คิดจะกลับไปทำอาชีพเดิมอีก เพราะไม่อยากทำร้ายตัวเองและความหวังดีของคนที่คอยช่วยเหลือ แต่อย่างไรก็ยังเชื่อว่าอาชีพขายบริการไม่มีวันเลือนหายไปจากสังคม ตราบใดที่มนุษย์ยังมีกิเลสอยู่” คำสารภาพของผู้หญิงที่เคยพาชีวิตดิ่งลงเหว ติดตามเรื่องราวแบบเจาะลึกของ “ธนัดดา สว่างเดือน” หญิงที่ถูกสาปให้เป็น “เหยื่อค้ากามข้ามชาติ” ด้านมืดของสังคมได้ในรายการ “เจาะใจ” ในวันที่ 3 มี.ค. เวลา 22.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=124294

2014
โกหกแล้วทำให้ผู้อื่นสบายใจ รวมถึงตัวเราสบายใจ  ดีกว่าบอกความจริงแล้วเกิดปัญหา

อันที่จริงสิทธฺิการลาของเรามีควรจะใช้นะครับ เคลียงานที่ค้างซะแล้วลาพักร้อนอย่างสบายใจ

ทำงานแลกเงินไม่ใช่ไปขอเงินเขาฟรีครับ
เห็นด้วยครับ (ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมจะพูดว่า..."เจ้านายรู้หรือยังว่า เค้าเลิกทาสกันแล้ว")

ฝากธรรมะ ไปให้เจ้านาย

พรหมวิหาร 4

    
ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์
หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา   ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา   ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา   ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา   การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

2015
แนะนำสมาทานศีลวันละสองครั้ง เช้าค่ำ

บทสวดสมาทานศีล 5 และคำแผ่เมตตาโดยแม่ชีทศพร

บทสวดมนต์ก่อนการนั่งสมาธิ
และก่อนนอน ต้องอาราธนาศีล 5
และสมาทานศีล 5 โดยเริ่มจาก

คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)

คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

หัดทำไปทุกวัน ทุกเช้าและก่อนนอน หากใครกลัวว่า
ทำไปแล้วเราก็ต้องออกไปผิดศีลอยู่ดี แนะนำให้ทำก่อนนอน
เพราะเราไม่ต้องไปเจอสังคม
ไปต้องไปผิดกับใครจึงทำให้เกิดกุศลมากที่สุด

คัดลอกจาก
http://www.dhammajak.net/kram/5-2.html

ฟัง
http://www.dhammajak.net/audio/prayer/index.php

2016
กฎแห่งกรรม / ตอบ: วิธีลดกรรม 45 อย่าง
« เมื่อ: 06 มี.ค. 2554, 11:08:57 »
ขอบคุณครับ
หมั่นทำดีละความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส

2017
ธรรมะ / ตอบ: อานิสงส์ "เผาศพพระ"
« เมื่อ: 06 มี.ค. 2554, 03:26:26 »
ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

"สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"


ทำบุญกุศลแล้วอย่าลืมแผ่เมตตาอุทิศด้วยนะครับ

2018
พ่อแม่เป็นทั้งพระและครูของเรา บุตรควรแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านเสมอ

ขอบคุณครับ

2019
อ้างถึง
1.โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
ไม่เข้าใจข้อนี้ครับ
ท่านใดที่ทราบความหมายกรุณา อธิบายด้วยครับ
ขอบคุณครับ :054:

2020
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าเองทรงแบ่งไว้เป็น ๒ ส่วน เรียกว่าธรรมส่วนหนึ่ง และวินัยส่วนหนึ่ง

         ธรรม คือหลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลาย พร้อมทั้งข้อประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสแสดงไว้โดยสอดคล้องกับความจริงนั้น

        ส่วนวินัย คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการเป็นอยู่ หรือกฎระเบียบต่างๆ ของสงฆ์ ที่จะดำรงไว้ซึ่งภาวะอันเกื้อหนุนให้ภิกษุและภิกษุณีประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้นอย่างได้ผลดี และรักษาพระศาสนาไว้ได้

        ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระพุทธศาสนา ด้วยคำสั้นๆ ว่า ธรรมวินัย

        ฝ่ายธรรมนั้น ผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะติดตามพระองค์ไป อยู่ใกล้ชิด เป็นผู้อุปัฏฐากของพระองค์ ก็คือพระอานนท์ ที่ประชุมก็ให้พระอานนท์เป็นผู้นำเอาธรรมมาแสดงแก่ที่ประชุม หรือเป็นหลักของที่ประชุมในด้านธรรม

        ส่วนด้านวินัย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีไว้ว่าเป็นเอตทัคคะ ที่ประชุมก็คัดเลือกพระอุบาลีให้มาเป็นผู้นำในด้านการวิสัชนาเรื่องของวินัย

         ธรรมวินัย หรือหลักคำสอนที่สังคายนาไว้นี่แหละ เป็นตัวพระพุทธศาสนา เพราะได้บอกแล้วว่า พระพุทธศาสนา ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือเรานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนนั้น พร้อมทั้งดูแลจัดสรรทำการต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้เรียนรู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น

        การปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสไว้ คือเมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้เองว่า พระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระภิกษุสาวกองค์ใดให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่พระองค์ตรัสไว้เป็นภาษาบาลีว่า

        โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา. (ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘)

        แปลว่า : ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป

        หมายความว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์นี้ เป็นศาสดาแทนพระองค์

        เพราะฉะนั้น การสังคายนาจึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามพุทธพจน์ ที่เหมือนกับได้ทรงฝากฝังสั่งเสียไว้ว่า ให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์ด้วย

        เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ต้องรักษาพระธรรมวินัย ไว้ให้ดี เพราะการรักษาพระธรรมวินัยที่สังคายนาไว้ ก็คือรักษาพระศาสดาของเราไว้ คือรักษาพระพุทธเจ้าไว้นั่นเอง


2021
กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ ที่ท่านกล่าวข้างต้นนี้มิทราบว่าใช่เรื่องนี้หรือไม่ครับ
กรุณาด้วยครับท่านฯ
-----------------------
ฆราวาสธรรม 4 สำหรับผู้ครองเรือน
"ฆราวาสธรรม" คือ หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ที่จำเป็นต้องมีอยู่ประจำ เพื่อเสริมให้มีความสุขยิ่งขึ้น พระพุทธองค์ได้ตรัสกะยักษ์ ชื่ออาฬวกะ ปรากฎอยู่ในอาฬวกสูตร (๑๕/๒๙) มี ๔ ประการ คือ

๑. สัจจะ  คือ ความจริง ดำรงมั่นอยู่ในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง เป็นเหตุนำมาซึ่งความเชื่อถือ หรือไว้วางใจได้
๒. ทมะ   คือ ฝึกตน ปรับปรุงตน บังคับควบคุมตนเองได้รู้จักปรับตัว และแก้ไขปรับปรุงตน ให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ รวมทั้งการยอมรับและแก้ไขสิ่งบกพร่องของตนด้วย
๓. ขันติ   คือ อดทน อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย ทนตรากตรำ ทนต่อความเจ็บใจ ทนข่มอารมณ์ของตนได้ ทนต่อความยั่วยวนต่าง ๆ อดทนต่ออำนาจฝ่ายต่ำ อดทนต่อการทำการงาน
๔. จาคะ  คือ เสียสละ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ สละความโกรธ ความเห็นแก่ตัว มีใจกว้างร่วมงานกับคนอื่นได้ สละอารมณ์ขุ่นมัวภายในจิตใจได้

2022
 :054:ขออนุญาตท่านพระอาจารย์ ขอโพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้อง เพื่อ(กระผมเอง)ไว้ประกอบการศึกษาครับ
----------------------
สังโยชน์ 10
      สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

สักกายทิฏฐิ  เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
วิจิกิจฉา     ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
สีลัพพตปรามาส   รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
กามฉันทะ    มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
พยาบาท    มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
รูปราคะ     ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
อรูปราคะ    ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
มานะ     มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
อุทธัจจะ    มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
อวิชชา     มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
      นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง
สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

อ่านเพิ่มเติม
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/sangyot.html

2023
กราบนมัสการพระอาจารย์

ตั้งแต่ฝึกหัดฝึกจิตคิดปฏิบัติ ตัวอัตเข้มแข็งแรงดีนัก รู้สึกได้เลยว่าแม้จะมีปัญหา
หนักหนาเท่าขุนเขา แต่ใจเราไม่หวั่นและพรั่นพรึง

2024
กฎแห่งกรรมกับศีล5
[youtube=425,350]h7ril_6z7g4[/youtube]

2025
แม่ชีทศพร สอนเรื่องกฎแห่งกรรม 1

[youtube=425,350]IL6aL-1GJkg[/youtube]

แม่ชีทศพร สอนเรื่องกฎแห่งกรรม 2

[youtube=425,350]5V4lv5LQaNg[/youtube]

แม่ชีทศพร สอนเรื่องกฎแห่งกรรม 3

[youtube=425,350]V9Nx8iLgmsg[/youtube]

2026
กฎแห่งกรรม_ตอน_ทานชีวิต
[youtube=425,350]YYBIRSVAL84[/youtube]

2027
กฎแห่งกรรม (2533) ตอน ดงบาป

[youtube=425,350]0zhGg9UzCgg[/youtube]

กฎแห่งกรรม (2533) ตอน คนมีบาป
[youtube=425,350]tNxBWgANt-E[/youtube]

2028
สำหรับท่านที่จะไปกราบนมัสการท่านฯ และมี GPS
เมื่อวานนี้ผมบันทึก coordinate บริเวณลานจอดรถไว้ คือ N13-8-55
E101-10-32

2029
เพื่อคติเตือนใจ กรณีศึกษา...ตายแล้วไปไหน...กฎแห่งกรรม

ระลึกชาติ  1/5
[youtube=425,350]icCHWmPz30c[/youtube]
ระลึกชาติ  2/5
[youtube=425,350]OgG8LjkCo-4[/youtube]
ระลึกชาติ  3/5
[youtube=425,350]05iJ2IrTH6k[/youtube]
ระลึกชาติ  4/5
[youtube=425,350]lTRRJTdPxRs[/youtube]
ระลึกชาติ  5/5
[youtube=425,350]qINLO1nuPTg[/youtube]

2030
การนอนเจริญวิปัสสนาสมาธิ - Lying meditation
[youtube=425,350]2WfgPv-bD9A[/youtube]

2031
วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ

              ทำสมาธิ   เพื่อให้จิตใจสงบ มีพลัง มีประโยชน์ในปัจจุบันคือทำให้ใจสบาย คลายทุกข์ (ไม่ต้อง ใช้เงิน)
หนักแน่น มั่นคง อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน สมองแจ่มใส ความจำดี ทำงานมีประสิทธิภาพ สุขภาพดี นอนหลับสบาย
รักษาโรคได้หลายอย่าง เรียนหนังสือเก่ง ที่สำคัญคือ " ได้บุญมาก "

ทำสมาธิเช้ามืดดีมาก

    วิธีทำสมาธิ  ทำได้หลายวิธี สะดวกที่สุดคือวิธีกำหนดลมหายใจ (อาณาปาณสติ)
เพราะเรา หายใจอยู่แล้ว ทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอริยาบท แม้ยืน-นั่ง-นอนบนรถ


...   ท่านั่งดีที่สุด

- นั่งขัดสมาธิแบบพระพุทธรูป
 
- เท้าขวาทับซ้าย มือขวาทับซ้าย ตัวตรง หน้าตรง

- มีสติสัมปชัญญะ หลับตาตาม สบาย ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องข่มตา ทำใจให้สบายที่สุด

- รวมความรู้สึกทั้งหมดไปอยู่ที่ปลายจมูก

- พยายามรู้ที่ลม หายใจ ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ เพียงแต่รู้เฉยๆ

- ไม่ต้องปรับแต่งลมปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

- สิ่งที่ทำหน้าที่รู้คือ ให้จิตรู้เฉยๆ   [/b]   

ทำดังนั้นเรื่อยไปตามปรารถนา 5 - 10 - 20 นาที     
หมั่นทำบ่อยๆ   ถ้า จิตบริสุทธิ์จะเกิดสมาธิได้เร็ว   
เด็ก 6 - 12 ขวบสามารถทำให้เกิดสมาธิได้ใน 10 - 15 นาที

             เมื่อจิตเริ่มสงบลง มือจะรู้สึกอุ่นขึ้น จะรู้สึกกายเบา มือเบา
จะรู้สึกเริ่มสว่างขึ้น อาจรู้สึกขนลุกชันขึ้น
บางคนจะรู้สึกหลับ (เพราะสติตามไม่ทัน) เมื่อจิตสงบมากขึ้นจะรู้สึกตัวลอย
บางคนจะรู้สึกตัว โยกโคลง อาจรู้สึกน้ำตาไหล บางคนอาจรู้สึกตัวพองหรือตัวเล็ก
คือจิตเกิดปีติหรือขั้นอุปจารสมาธิ จิตสงบ ขึ้นไปอีก
บางคนจะรู้สึกลมหายใจน้อยลงๆ คือลมละเอียดขึ้น จนที่สุดเหมือนไม่ได้หายใจ
และจะรู้สึกกาย ที่อยู่นั้นหายไป นั่นคือสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิ
อย่าสนใจภาพหรือสิ่งใดที่เกิดขึ้น สนใจแต่เพียงลมหาย ใจเท่านั้น
...
  ...   หมายเหตุ
ถ้ามึนศีรษะหรือปวดศีรษะ เอาจิตไปไว้ที่ท้ายทอยหรือสะดือ (นึกถึงท้ายทอย)
ถ้านอนไม่หลับเอาจิตไปไว้ที่ลำคอใต้ลูกกระเดือก
ถ้าต้องการเสริมสร้าง (ไอคิว) เอาจิตไปไว้ที่กลางกระหม่อม

                  * นึกถึงพุทโธบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อออกนอกบ้านจะแคล้วคลาดปลอดภัย

2032
ในหนังสือ  ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ ของ ดร.สนอง  วรอุไร
กล่าวถึง อุบายทำให้จิตสงบ 10 ประการ  ดังนี้


1. มักน้อย 
ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติเราต้องมักน้อย  ปรารถนาน้อย
เหมือนพระที่พอใจในอัฐบริขารเพียง 8 ประการ 
เมื่อมักน้อยแล้วจิตจะนิ่งง่าย 
เพราะสิ่งกระทบใจให้เกิดความโลภ โกรธ หลงลดน้อยลง 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการกิน  หากรู้จักกินอย่างพอดี
เพียงแค่พอให้ร่างกายนี้อยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรม 
ความอิ่มที่พอดีย่อมจะเกื้อกูลการปฏิบัติ 
ไม่ใช่สร้างความง่วงเหงาหาวนอนมาขัดขวาง 
เหมือนกับการกินจนพุงกางด้วยความมักมาก 
หรือติดใจในรสชาติแล้วกินมากจนเกินอิ่ม



2. สันโดษ 
หากต้องการให้จิตสงบต้องสันโดษ  คือ รู้จักพอ 
พอใจในสิ่งที่ตนเป็น ตนมี ตนได้รับ  ทำเต็มที่เท่าที่จะทำได้ 
แต่พอใจกับผลที่ได้รับ แล้วจิตจะสงบ  มีความสุข ไม่ว้าวุ่น ไม่ดิ้นรน




3. ความสงัด   
พยายามหาโอกาสอยู่ในที่ที่สงบเงียบ  สงัดกาย สงัดใจ 
เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ  แล้วจะทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น 
ด้วยเหตุนี้  พระธุดงค์จึงเลือกที่จะออกไปสู่ป่าเพื่อหาที่สงัด 
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม



 ...   
4. ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ 
ที่บางคนเรียกว่าการปลีกวิเวกนั้น 
สามารถสร้างความสงบให้เกิดขึ้น 
และช่วยเพิ่มพลังสติ สมาธิ 
และปัญญาให้มากขึ้นได้ 
หากต้องการประพฤติปฏิบัติธรรม
ให้ได้มรรคผลก้าวหน้า 
จึงต้องพยายามปลีกตัวอยู่ห่างจากหมู่คณะ 
เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดคุยและทำในเรื่องที่ไร้สาระ 
กระตุ้นให้เกิดกิเลสตัณหา
ที่จะทำให้พลังจิตอ่อนลง 
จิตจึงสงบยาก



5. ความเพียร 
เป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทุกประเภท 
ความเพียรจึงเป็นองค์ประกอบของหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ
อย่างอิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 และพละ 5 
ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ผู้ปฏิบัติพึงนำมาใช้ในการฝึกฝนตนเอง 
ฉะนั้น  หากต้องการให้จิตสงบเพื่อความก้าวหน้าในมรรคผล 
จึงต้องเจริญความเพียรให้มาก


6. ศีล
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ศีลเป็นพื้นฐานของความสงบนิ่ง
และเป็นปกติของจิต



 ...    
7. สมาธิ 
เมื่อฝึกฝนจนเกิดเป็นสมาธิแล้ว 
ต้องรู้จักนำสมาธิแต่ละชนิด
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเกื้อกูล
ต่อการประพฤติปฏิบัติ 
เช่น  ใช้ขณิกสมาธิเป็นพื้นฐาน
ในการศึกษาเล่าเรียน   
การทำกิจการงาน 
การสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 

และใช้อุปจารสมาธิเป็นพื้นฐานของ
การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
จนเห็นสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 
และเกิดปัญญาเห็นแจ้งในที่สุด



8. ปัญญา 
เมื่อเกิดสมาธิขึ้นแล้ว  ต้องรู้จักนำปัญญาที่เกิดจากสมาธิมาพิจารณาสิ่งกระทบ
จนปัญญาญาณเห็นแจ้งเกิด  เพื่อให้จิตปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา
ไม่มีตัวตน และสงบนิ่งอย่างแท้จริงด้วยอุเบกขา



9. ความหลุดพ้น 
เมื่อปฏิบัติแล้วต้องโยนิโสมนสิการจนกระทั่งจิตสามารถเห็นแจ้ง
ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตาของสรรพสิ่ง 
แล้วความหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง  คือกิเลสใหญ่ทั้ง 3 ตัว
คือโลภ โกรธ หลง  จึงจะเกิด  และสามารถนำจิตพ้นไปจากกิเลสที่เหลือได้



10.  ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
นั้นมีด้วยกันมากมายหลายแนวความเชื่อ 
บ้างเชื่อว่าบุคคลสามารถหลุดพ้นได้ด้วยศรัทธา 
หากศรัทธาในพระพุทธเจ้ามากพอจะหลุดพ้นได้
ก่อนตายจึงกอดพระพุทธเจ้าไว้แน่น   
เพราะเชื่อว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า 
โดยลืมพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่า  จริง ๆ แล้วศรัทธาแบบนั้น
ไม่ได้ทำให้ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง หมดไปได้เลย 
แต่กลับเป็นศรัทธาที่อยู่บนพื้นฐานของความหลงเสียเอง 
จึงยังห่างไกลนักจากความหลุดพ้น 

ในขณะที่บ้างก็เข้าใจว่า  สมาธิจะทำให้หลุดพ้นได้เหมือนอาจารย์ทั้งสองของเจ้าชายสิทธัตถะ 
คือ อุทกกดาบสและอาฬารดาบส  ซึ่งตายในอรูปฌาณสมาบัติ  ด้วยเข้าใจผิดว่านั่นคือนิพพาน



ความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความหลุดพ้น 
จึงสามารถสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติ 
เพราะฉะนั้นก่อนจะเชื่ออะไร  จึงต้องอาศัยปัญญาโยนิโสมนสิการพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน 
อย่าเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงด้วยตนเอง


2033
วิสุทธิมรรค ภาคสมาธิ

1. สมาธิ คืออะไร

สมาธิ คือ อารมณ์จิตมีความฉลาดตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐาน 40 ตั้งมั่นอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร อันใดอันหนึ่งใน 40 อย่างนั้น

2. จิตตั้งมั่น หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า มีสติความรู้อยู่ตลอดเวลากับลมหายใจเข้าออก โดยที่จิตไม่วอกแวกไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่นๆ นอกจากรู้ลมหายใจเข้าออก หรือกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกว่า มีสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวไม่ส่ายไปส่ายมา

3. อะไรเป็นลักษณะ อะไรเป็นรส อะไรเป็นอาการปรากฏ และอะไรเป็นผลของสมาธิ

ตอบ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของสมาธิ

ความมีพลังจิตเป็นหนึ่ง เป็นรสของสมาธิ

ความไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัว เป็นอาการปรากฏของสมาธิ

ความสุข สงบ สดชื่น เป็นผลของสมาธิ

4. สมาธิมีกี่อย่าง

สมาธิมี 2 อย่าง คือ

1. มิจฉาสมาธิ สมาธิฝ่ายดำ ฝ่ายทำลายล้างกัน ฝ่ายเพิ่มทุกข์ ไสยศาสตร์เป็นต้น เป็นฝ่ายไม่ฉลาดมีอวิชชา ตัณหา อุปทาน ตายไปจิตก็ไปรับโทษทุกข์ทรมานในนรก

2. สัมมาสมาธิ สมาธิฝ่ายขาว ฝ่ายฉลาด ฝ่ายเมตตา คือพุทธศาสตร์ ฝ่ายเข้ากระแส

นิพพาน ฝ่ายเพิ่มความสุขกาย ใจเป็นบุญกุศล มีหลายแบบคือ

1. ขนิกสมาธิ 3. อัปปนาสมาธิ (ฌาณ)
2. อุปจารสมาธิ 4. โลกุตตระสมาธิ(ญาณ)
อารมณ์สมาธิแบ่งตามระดับขั้นองค์ฌานทั้ง 5 คือ

1. ปฐมฌาน มีอาการของจิต 5 อย่าง คือ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ ข้อสังเกต ลมหายใจเบาลงในเยือกเย็นสบายไม่มีความรำคาญในเสียงรอบนอก

2. ทุติยฌาน มีอาการของจิต 4 อย่าง คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ ลมหายใจช้าลงเบาลงมากจิตเป็นสุขชุ่มชื่นไม่ค่อยสนใจรู้ลมเข้าลมออก

3. ตติยฌาน มีอาการของจิต 3 อย่าง คือ ปีติ สุข เอกัคคตาสมาธิ สังเกตง่ายขึ้น ลมหายใจน้อยลงๆ ร่างกายคล้ายตึงเหมือนโดนมัดแน่นิ่งไม่กระดุกกระดิก อารมณ์แนบสนิท

4. จตุตถฌาน มีอาการของจิต 2 อย่าง คือ สุข เอกัคคตาสมาธิ จิตนิ่งเป็นหนึ่ง ลมหายใจละเอียดจนไม่รู้สึกว่าหายใจ จิตแยกจากกายจนไม่รู้สึกว่าหายใจ หูได้ยินเสียงข้างนอกเบามาก

5. ปัญจมฌาน มีอาการของจิต 2 อย่าง คือ อุเบกขา และจิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียว จิตแยกจากกายไม่มีความรู้สึกทางกายเลยไม่ได้ยินเสียงจิตมีความสุขแน่นิ่ง และวางเฉย

5. อะไรเป็นความเศร้าหมองของสมาธิ

กิเลสนิวรณ์ 5 มี กามราคะ ปฏิฆะ ความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจ ความเกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน เป็นความเศร้าหมองของสมาธิ

6. อะไรคือความผ่องแผ้วเบิกบานของสมาธิ

ความสุขในการเข้าใจในธรรมชาติของกาย และจิตเป็นคนละส่วนกัน เป็นคุณวิเศษทำให้จิตสะอาดฉลาดเข้าถึงกระแสพระนิพพานได้ไม่ยากเลย เป็นจิตที่อยู่ในฌานมีความสุขสดชื่น

เบิกบาน

7. สมาธินั้นจะพึงเจริญภาวนาอย่างไร

ตอบ วิธีภาวนาสมาธิ เริ่มแรกให้ตัดเครื่องกังวล 10 ประการออกจากจิตใจ

ไม่กังวลเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่กังวลเรื่องชาติตระกูล ไม่ห่วงใยเรื่องลาภสักการะ

ไม่ห่วงใยเรื่องหมู่คณะ ไม่กังวลเรื่องการงานที่ยังทำไม่เสร็จ

ไม่กังวลเรื่องการเดินทาง ไม่กังวลเรื่องญาติครอบครัว

ไม่กังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ไม่กังวลเรื่องการเล่าเรียน

ไม่กังวลเรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์ความดีความเด่นไม่สนใจในความสุขทางโลก เพราะเป็นของชั่วคราว

สมาธิกรรมฐาน 2 อย่าง ที่ต้องทำตลอดเวลา คืออะไร

ตอบ 1. สมาธิกรรมฐานในการแผ่เมตตาตลอดเวลา แผ่ให้ตนเอง ผู้อื่นทั้งโลกทั่วจักรวาลทั่ว 3 โลก คือ นรกโลก มนุษย์โลก เทวโลก ให้มีความสุขความเจริญ

2. มรณานุสติกรรมฐาน ระลึกนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออกเป็นการไม่ประมาทตามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้

จริยา หรือจริต หรืออุปนิสัยของคนมี 6 ประเภท

1. ราคะจริต มีนิสัยรักความเป็นระเบียบงดงาม รักความสวยงาม

2. โทสะจริต เป็นคนมีนิสัยโมโหหงุดหงิดง่ายชอบทำอะไรเร็วไว

3. โมหะจริต ชอบหลงรักง่ายๆ

4. ศรัทธาจริต เป็นคนว่าง่ายสอนง่ายเชื่อฟังง่ายไม่ดื้อ

5. พุทธะจริต มีนิสัยอยากรู้ อยากเห็น อยากพิสูจน์ชอบค้นคว้า

6. วิตกจริต เป็นคนชอบคิดมาก วิตกกังวลด้วยเรื่องเล็กเรื่องใหญ่เก็บมาคิด

ทั้งหมด

http://www.dhammakid.com/board/eaoo-cone1oaaao1/coeooaaa-aaao1-40-i/

2034
หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,1
[youtube=425,350]-iaeFsbn6SI[/youtube]
หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,2
[youtube=425,350]y52gXkGWXr8[/youtube]
หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,3
[youtube=425,350]AnePxI6AWGk[/youtube]

2035
       กรรมฐาน 40 วิธี

แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้                                                                         


หมวดกสิน ๑๐
เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

๑. ปฐวีกสิน  เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ  เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ  เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน  เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน  เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ  เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ  เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ  เพ่งอากาศ

 

 หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
  เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

๑๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๑๒. วินีลกอสุภ  วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว 
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
๑๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน  เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๑๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๑๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๑๖. วิกขิตตกอสุภ  เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๑๗. หตวิกขิตตกอสุภ  คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๑๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๑๙. ปุฬุวกอสุภ  คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๒๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

 

อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน  ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน  เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน  ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

 

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

หมวดจตุธาตุววัฏฐาน

๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

 

หมวดพรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

 ๓๓. เมตตา  คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน  ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕. มุทิตา   มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย


มวดอรูปฌาณ ๔
เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

 

http://www.vimokkha.com/krammathan.htm

2036
นมัสการพระอาจารย์
========
สรุปว่า ถ้ามีสติก็สามารถควบคุมได้ ถ้าควบคุมไม่ได้แสดงว่าเป็นอุปทาน ซึ่งต้องหยุดและทบทวนใหม่ใช่ไหมครับ

2037
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298969686&grpid=no&catid=54
.........
บางทีจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่ตลอดชีวิตของแฟรงคลินซึ่งใช้เวลาเพื่อศึกษาความลึกลับของโลก  ในที่สุดความสนใจของแฟรงคลินได้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรื่องที่ไม่มีใครทราบ นั่นก็คือชีวิตหลังความตาย  ในจดหมายของเขาหลายฉบับ เขามักจะกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวในลักษณะที่เป็นเรื่องขบขัน (จอห์น อดัมส์ได้รำลึกถึงเมื่อครั้งแฟรง-คลินเคยพูดติดตลกว่า "พวกเราทุกคนได้รับการต้อนรับสู่ความบันเทิงอันยิ่งใหญ่  รถม้าของท่านมาถึงประตู แต่พวกเราจะได้พบกันอีกที่นั่น")หรือเป็นดังสวรรค์ซึ่งความรักของเขาที่มีต่อสุภาพสตรีชาวฝรั่งเศสที่มิสามารถเข้าถึงได้ ในท้ายสุดได้เกิดขึ้น  หนึ่งในบุคคลที่แฟรงคลินชื่นชอบคือ มาดามบริลลง เดอ โชย (Madame Brillon de Jouy) ซึ่งได้เคยร่วมกับแฟรงคลินในการจินตนาการถึงสถานที่ที่ซึ่งในภายหลัง"เมสแมร์จะพอใจในการบรรเลงอาร์โมนิกาโดยไม่ทำให้พวกเราเบื่อด้วยการรักษาโดยใช้ของไหลไฟฟ้า"  แฟรงคลินได้เขียนถึงเพื่อนของเขาชื่อจอร์จ วัทลีย์ว่าข้าพเจ้าเห็นว่าความตายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของเราเช่นเดียวกับการนอนหลับ  เราจะตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นในตอนเช้าŽ และเขาได้ตอบเอซรา สไตลส์ซึ่งถามความเห็นเกี่ยวกับศาสนา  โดยแฟรงคลินได้ยืนยันในศรัทธาของเขาในพระเจ้า แต่ยอมรับว่ายังคงสงสัยเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู  "แม้ว่ามันเป็นคำถามที่ข้าพเจ้าไม่มีหลักการในการตอบ เนื่องจากไม่เคยศึกษามันมาก่อน และคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวข้าพเจ้าต้องวุ่นวายไปกับเรื่องนี้ในตอนนี้  เมื่อข้าพเจ้าคาดว่าในไม่ช้าก็จะได้มีโอกาสทราบความจริงโดยไม่ต้องลำบากเลย"
 
                "ข้าพเจ้าไม่สามารถสงสัยในการสูญหายไปของจิตวิญญาณ" เขาเขียนไว้ "หรือเชื่อว่า (พระเจ้า) จะลำบากในการทำลายจิตวิญญาณของคนนับล้าน ซึ่งท่านได้สร้างให้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วของคนนับล้านในแต่ละวัน และทำให้ท่านต้องลำบากในการสร้างจิตวิญญาณขึ้นมาใหม่  ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น"
เขาสรุปความด้วยการทำนายอันแม่นยำว่า
ข้าพเจ้าจะยังคงอยู่ต่อไป ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ



2038
ต้นสะเดา (ต้นนิมพะ)

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ สุเมธพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 14 พระนามว่า พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์ให้พ้นจากเครื่องผูกเป็นอันมาก ได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สะเดา หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม

ในบ้านเรานั้นสะเดามี 3 พันธุ์ คือ

1. สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลมเรียวแคบมากคล้ายเส้นขร ผลสุกในเดือน ก.ค.- ส.ค.

2. สะเดาไทย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกในเดือน เม.ย.- พ.ค.

3. สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม ขอบใบจะเรียบ หรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม ขนาดใบและผลใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก ผลสุกในเดือน พ.ค.- ส.ค.

ในที่นี้จะพูดถึง ต้นสะเดาอินเดีย ที่เป็นโพธิญาณพฤกษาของพระสุเมธพุทธเจ้า สะเดาอินเดีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Azadirachta indica A. Juss.” อยู่ในวงศ์ “Meliaceae” ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นนิมพะ” หรือ “ต้นมหานิมพะ” ชาวฮินดูเรียกว่า “นิมะ” มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ กะเดา (ภาคใต้), สะเลียม (ภาคเหนือ), คินินหรือขี้นิน (ภาคอีสาน), ควินิน, ควินนิน, จะตัง, ไม้เดา, เดา เป็นต้น

ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า ในพรรษาที่ 11 พระพุทธเจ้าได้จำพรรษาภายใต้จิมมันทพฤกษ์ คือไม้สะเดา อันเป็นมุขพิมานของเพรุยักษ์ ใกล้นครเวรัญชา



สะเดาเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-16 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา ลำต้น เปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบประกอบแบบขนนก มีสีเขียวเข้ม และหนาเป็นมันวาว ขอบใบหยัก เป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลมเรียว ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ผลกลมรี ผิวบาง มีเมล็ดภายในเมล็ดเดียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอม



สรรพคุณด้านพืชสมุนไพรนั้นมีมากมาย ใบอ่อนและดอกนำมารับประทาน เพื่อบำรุงโลหิตและน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร แก้ลม แก้พยาธิ แก้เลือดกำเดาไหล แก้ริดสีดวงในคอ แก้ลม บิดมูกเลือด, ผล ใช้บำรุงหัวใจที่เต้นไม่เป็นปกติ, รใช้แก้โรคผิวหนัง ยางใช้ดับพิษร้อน, เปลือกใช้แก้ไข้มาเลเรีย และน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช

ทางคติอินเดียถือว่า ผู้ใดนอนใต้ต้นสะเดาแล้วโรคภัยไข้เจ็บจะหายไป เพราะสะเดาเวลาคายน้ำออกจะมีสารระเหยบางชนิด ที่เข้าใจว่ามีคุณสมบัติทางยาใช้รักษาโรค ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่า ภรรยาชาวอินเดียที่ไม่ยอมให้สามีออกไปต่างบ้าน พยายามสั่งสามีว่า เมื่อจะไปให้ได้ก็ไม่ว่า แต่ในระหว่างเดินทางไปจะพักนอนที่ไหน ขอให้นอนใต้ต้นมะขาม เมื่อนึกจะกลับบ้านก็ขอให้นอนใต้ต้นสะเดา สามีก็เชื่อฟังภรรยา เมื่อออกจากบ้านก็นอนใต้ต้นมะขามเรื่อยไป ต้นมะขามกล่าวกันว่าเป็นต้นไม้ที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ เมื่อนอนใต้โคนอยู่เรื่อยๆ ก็เกิดอาการไม่สบาย ไม่สามารถจะเดินทางต่อไปได้จึงคิดเดินทางกลับบ้าน

เมื่อนึกถึงคำภรรยาสั่งไว้ว่าขากลับให้นอนใต้ต้นสะเดา จึงนอนใต้ต้นสะเดาเรื่อยมา ฤทธิ์ทางยาของไม้สะเดาก็รักษาอาการไข้ของชายคนนั้นให้หายไปทีละน้อยๆ และหายเด็ดขาดเมื่อกลับมาถึงบ้านพอดีนับว่า หญิงอินเดียมีกุโศลบายดีมาก การที่พระพุทธเจ้าจำพรรษาใต้ต้นสะเดาจะเกี่ยวข้องกับคติดังกล่าวหรือไม่คงไม่มีใครทราบ

แต่คตินี้ก็น่าจะให้ข้อคิดบางอย่าง เพราะแพทย์แผนปัจจุบันพยายามสกัดสารพวกอัลคอลอยด์บางอย่างไปใช้ผสมยา เช่น ทำยาธาตุ ยาแก้ท้องเสีย ฯลฯ ฉะนั้น เวลากลางคืนสะเดาจะคายน้ำรวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ย่อมจะมีสารระเหยพวกนี้ออกมาด้วย เมื่อสูดเข้าไปเรื่อยๆ ก็อาจเป็นการบริโภคได้ทางหนึ่ง

มะขามมักจะอยู่ตามโคกและตามโคกมักจะมีสัตว์พวกงูพิษซุ่มอยู่ คนนอนก็จะต้องคอยระมัดระวัง จะไม่เป็นอันหลับอันนอน ก็ย่อมจะเพลียไม่มีแรงเดินทางต่อ และพาลจะเจ็บป่วยไปด้วย แต่สะเดาชอบขึ้นตามที่ราบโล่ง บรรดาสัตว์ร้าย เช่น งูไม่ชอบอาศัย คนนอนก็นอนสบายทำให้มีกำลังแข็งแรง คนเราถ้านอนได้เต็มที่ก็สามารถสร้างภูมิต่อสู้กับโรคภัยได้เช่นกันก็เป็นได้


สะเดาอินเดีย ค่อนข้างจะหายาก แหล่งปลูกใหญ่คือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการตอนกิ่งปักชำ

ปัจจุบัน สะเดาเป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุทัยธานี

ข้อมูล : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12398

2039
ไปเจอมาแบบนี้


อ้างถึง
พระคาถาเทพรัญจวน

นะ พุทธัง เทพรัญจวนกวนจิต
นะ ธัมมัง เทพรัญจวนกวนใจ
นะ จังงง โมจังงง พุทธหลงใหล อ่อนระทวยไปทั้งกายา
ธา ท้าวพญา เสน่หารักใคร่
ยะ หญิง สาวแก่แม่หม้ายก็ร้องไห้หลงใหล

กอดรัดมัดสวาทติด เห็นหน้ากูนั่งนิ่งอยู่บ่มิได้ ร้องให้มาหากู เอหิพุทธัง เอหิธัมมัง เอหิสังฆัง พุทธังรักจนตาย ธัมมังอย่างคลาย สังฆังตามมา นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ สัพพะเมตตา สัพพะกรุณา สัพพะเสน่หา ประสิทธิเม

หลวงปู่อั้น วัดโรงโค จ.อุทัยธานี

และ


อ้างถึง
คาถาเทพรัญจวนอีกบทนึงครับ ลองท่องกันดูนะครับ
พุทธัง  ยัตตัง  จะสุนะสิ  ธัมมัง  ยัตตัง  จะสุนะสิ  สังฆัง  ยัตตัง  จะสุนะสิ  นะอุดโมอัดพุทปัดโมปิด   พระเจ้าแผลงฤทธิ์ ปิดด้วย นะโมพุทธายะ   นะมะพะทะ  นะมะนะอะ    กอ   ออ   นอ  อะ   นะอะกะอัง   อุมิอะมิ        นะมะพะทะ    นะชาลีติ  พุทธะสังมิ   นะเมตตาโมกรุณาพุทปราณี   ธายินดียะเอ็นดู   มะอะอุ   อิติปิโสวิเสเสอิ     อิเสเสพุทธะนาเมอิ   อิเมนา  พุทธะตังโสอิ   อิโสตังพุทธะปิติอิ   อิตะระชา  ติหังจะโตโรเจมิ

ที่มา
http://www.XXXXXXX.com/board2/thread-135-1-1.html

ห้ามวางลิงค์ หรือ เว็บบอร์ดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุมงคลโดยเด็ดขาด

2040
แบบนี้เข้าข่ายผิดศีลไหมอะ
ถ้าเป็นศีล5 ยังไม่พบว่าผิดตรงไหนเลยครับ

แล้วคลิปที่เห็นนั้นเป็นการจัดทำขึ้นมาแหงๆ สังเกตุนางตานีสวมเสื้อไหล่เว้า ทันสมัยซะด้วย

2041
ธรรมะ / ตอบ: คลิป นานาธรรมะ
« เมื่อ: 28 ก.พ. 2554, 09:23:23 »
แนะนำเวปเกี่ยวกับธรรมะ
มีทั้งอ่าน ฟัง และดู
http://www.fungdham.com/book/buddhatas.html

ท่านพุทธทาส, ธรรมบรรยาย
[youtube=425,350]spsG8NPkqsc[/youtube]

ว.วชิรเมธี-ธรรมะสำหรับคนทั่วไป
[youtube=425,350]VVvYy_qt8WE[/youtube]

ท่านว. - ธรรมะสำหรับคนรวย 9-10-9
[youtube=425,350]T_ni6mgEplc[/youtube]


2042
แย่ค่ะโหลดทางมือถือไม่ได้เครื่องกระเเป๋งไม่ยอมรับ ต้องลองแอบโหลดเน็ตที่ทำงานแล้ว
ไม่ต้องโหลดไฟล์นะครับ
เมื่อตอนค่ำไปทำให้เพื่อน แค่เปิดbrowser IE แล้วเข้าเวป http://imageshack.us/
ให้เพื่อนไปลงทะเบียน ลงเสร็จก็ล็อคอิน เสร็จแล้วก็เปิดหน้าเวปใหม่ คราวนี้ก็ดูได้เลยครับ ง่ายๆครับ

ถ้าเปลี่ยนเครื่องก็ต้องไปล็อคอินในเครื่องนั้นๆ

2043
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์
ตอนนี้ ฟัง อ่าน แล้วปฏิบัติตามครับ

คู่มือมนุษย์ - ตอนที่ 3
http://www.fungdham.com/download/read/buddhatas/humanhandbook/humanhandbook03.mp3

2044
สรุปคือมีจิงหรอครับ
ไม่เคยเจอครับ

แต่ระวังเรื่องอุปทานนะครับ ในข้อธรรมะกล่าวไว้ชัดเจน

2045
อ้างถึง
พวกชายหนุ่มที่ยังเป็นโสดอยู่ ถ้าเป็นผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับพรายนางตานี ก็จะไปทำพิธีเซ่นวัก เป็นทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วไปที่ต้นกล้วยตานีนั้นในเวลากลางคืนทุกคืน สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ พอไปถึงก็กล่าวคำเกี้ยวประเล้าประโลมพรายนางตานี ต้องตั้งความเพียรไปเกี้ยว จนกว่าพรายนางตานีจะใจอ่อนเห็นอกเห็นใจ แล้วเอามีดเฉือนตอนโคนกล้วยที่มีลักษณะเป็นเหมือนเหง้า เอามาก้อนหนึ่งแกะสลักเป็นรูปผู้หญิงใส่ตลับหรือภาชนะอื่นไว้ และต้องเซ่นวักทุกเช้าเย็น ทำอย่างนี้อยู่หลาย ๆ วัน พรายนางตานีก็จะมาปรากฏร่างให้เห็นในความฝัน เป็นผู้หญิงสาวรูปร่างหน้าตาสวยสดงดงาม สมดั่งใจที่เคยนึกเคยพะวงเป็นจินตนาการมาก่อน แล้วนางจะยอมตนเป็นเมียผู้นั้น อันเป็นความฝันอีกเหมือนกัน เมื่อได้นางพรายตานีเป็นเมียแล้ว ชายคนนั้นจะไปมีเมียอื่นอีกไม่ได้ ถ้ามีก็มักเป็นอันตราย ถ้าต้องการจะมีเมียจริง ๆ ก็อาจทำได้ โดยบอกกล่าวขออนุญาตพรายนางตานีเสียก่อน พรายนางตานีเป็นเมียที่ดี เมื่อเห็นสามีซื่อสัตย์ไม่ปิดบังความจริง ก็จะอนุญาตให้มีได้ ซ้ำยังจะช่วยเหลือเพื่อให้การนั้นสำเร็จไปด้วยดีอีกด้วย ไม่มีหึงหวงแยกเขี้ยว หรือร้องไห้ตีโพยตีพายเหมือนเมียมนุษย์

ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5

2046
ดูในคลิป...ดูออกไหมครับ
[youtube=425,350]p4aBJLQu8us[/youtube]



2047
พุทธทาส ภิกขุ A_13 ผีมีจริงหรือ?
[youtube=425,350]iOuY9z304Mw[/youtube]


2048
ธรรมะ / ตอบ: คลิป นานาธรรมะ
« เมื่อ: 28 ก.พ. 2554, 12:15:02 »
ท่าน ว. พูดถึงธรรมะใกล้มือ
[youtube=425,350]WkoSF3I2dMg[/youtube]

พระไพศาลพูดถึงธรรมะสำหรับทั่วไป
[youtube=425,350]FdXCSu3pn2M[/youtube]

พระไพศาลพูดถึงธรรมะใกล้มือ
[youtube=425,350]24URe7Xb5cE[/youtube]

2049
ธรรมะ / คลิป นานาธรรมะ
« เมื่อ: 28 ก.พ. 2554, 12:07:10 »
นานาธรรมะ
[youtube=425,350]dmTG33Lf8RQ[/youtube]

น่าฟังน่าสนใจดีครับ

2050
ผมใช้GOOGLECROME กับIE   ถ้าสมัครสมาชิกเว็บimageshack ดูได้หมดครับ :001:
สมัครแล้ว และต้องlogin ใน google chrome ด้วยถึงจะดูได้ครับ
ตอนนี้เห็นหมดแล้ว ขอบคุณครับ

2051
ขอบคุณ คุณhackerneo1
ผมมี browser 4 ตัว
กว่าจะดูได้ ต้องโหลด add on ใน firefox


2052
ทไวไลท์โชว์ ดร. สนอง 1/5
[youtube=425,350]y94Qd423IIE[/youtube]

ทไวไลท์โชว์ ดร. สนอง 2/5
[youtube=425,350]JWbO-PumPwc[/youtube]

ทไวไลท์โชว์ ดร. สนอง 3/5
[youtube=425,350]YhhmMBYZxfE[/youtube]

ทไวไลท์โชว์ ดร. สนอง 4/5
[youtube=425,350]-3e6JOVk7jM[/youtube]

ทไวไลท์โชว์ ดร. สนอง 5/5
[youtube=425,350]HtA-DSSTA20[/youtube]

2053
สติ สมาธิ ปัญญา1 ดร.ดาราวรรณ
[youtube=425,350]SPqky32GT3c[/youtube]

สติ สมาธิ ปัญญา2 ดร.ดาราวรรณ
[youtube=425,350]w2tfiCgr-zQ[/youtube]

สติ สมาธิ ปัญญา3 ดร.ดาราวรรณ
[youtube=425,350]idMApdSusM4[/youtube]

สติ สมาธิ ปัญญา4 ดร.ดาราวรรณ
[youtube=425,350]sfDFPRL3pgE[/youtube]

2054
การฝึกสมาธิในทุกอิริยาบถ1.1

[youtube=425,350]K-dMMcC401M[/youtube]

สาธิตการนั่งสมาธิในแนวสติปัฏฐาน ๔
[youtube=425,350]HLnHq0j1AiQ[/youtube]

12 สาธิตวิธีนั่งสมาธิ ตอน ๑
[youtube=425,350]DIe0aUFL0Sw[/youtube]



2055
รูปใครครับ เหมือนพระจีนเลย
ท่านเว่ยหล่างครับ

ทำไมผมดูได้ ไม่ได้บ้าง งง!!
ใช้ิ browser : Google Chrome

2056
ธรรมะ / ตอบ: พระอรหันต์จี้กง (1)
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 11:24:40 »
พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง
[youtube=425,350]O-ncDkJcZ9I[/youtube]

2057
ธรรมะ / ตอบ: พระอรหันต์จี้กง (1)
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 11:22:47 »
ประวัติพระอรหันต์จี้กง

• คำนำโดยพระอรหันต์จี้กง
• ตอนที่ 1การไหวติงในความสงบ พระอรหันต์ได้ปฏิสนธิขึ้น
• ตอนที่ 2 กระท่อมสองพยางค์ลุพุทธจิต จุดญาณหนึ่งรั้งปริศนาธรรม
• ตอนที่ 3 ใกล้อาลัยบุพถการี กตเวทิตาถึงที่สุด
• ตอนที่ 4 ทุกข์ทรมานนั่งไม่สำเร็จ บรรลุแจ้งแสร้งทำเพี้ยน
• ตอนที่ 5 อภิญญาร้องเพลงโปรดผู้คน ไม่ยึดติดล้มกระดานสู่นิพพาน
• ตอนที่ 6 เมื่อปลงเสียได้ก็จากไป เมื่อวางไม่ลงก็กลับมาใหม่
• ตอนที่ 7 สัมมาสติไม่หลงรูป ธรรมจิตรู้ตื่นไม่เมาเหล้า
• ตอนที่ 8 จี้กงถูกขับไล่โดยรับหน้าที่หาผู้อุปัฎฐาก
• ตอนที่ 9 หนีการถูกข่มเหงสู่วัดเจิ่นฉือ
• ตอนที่ 10 แสดงอภินิหาร พระจักรพรรดินีบริจาคทรัพย์
• ตอนที่ 11 แก้สงฆ์โลภอยากฉันหน่อไม้ กระทบกับควายเหล็กนายอำเภอทำโทษสน
• ตอนที่ 12 พุทธานุภาพรับเฉินอี้เป็นศิษย์ในความเมาธรรมจิตชี้ความไร้แสง
• ตอนที่ 13 เจ้าอาวาสซ่งปีติยินดีในปริศนาธรรมจี้กงโกรธตีไหเหล้าแตก
• ตอนที่ 14 ใบประกาศก้องฟ้าโอรสสวรรค์ศรัทธา สุรานำปริศนาธรรมปรับใจผู้กำกับ
• ตอนที่ 15 แสดงอภินิหารในการปิดทองพระ แก้หนี้กรรมคนตายเดินได้
• ตอนที่ 16 ตัวเปลือยเปล่ารักษาโรคปอด ถูกหาว่าไร้มารยาทพูดจาภาษาเมา
• ตอนที่ 17 สามีภรรยาตายร่วมกันสมานรักกันชาติหน้า
• ตอนที่ 18 ผู้บำเพ็ญศีลฉือเสาะหาใบสุทธิ จางถี่เตียนเมาเสาะหากลอน
• ตอนที่ 19 ช่วยคนไม่สำเร็จ พุทธานุภาพสู้กรรมานุภาพไม่ได้
• ตอนที่ 20 ไปมากระจ่างเพียงหนึ่งยิ้มคืนสู่สัจจะ



คำนำโดยพระอรหันต์จี้กง
อรหันต์จี้กง เสด็จลงประทับทรง กลอนนำเสด็จว่า
����ทะเลสาบซีหู   ประทับรอยนามศักดิ์สิทธิ์
แสร้งบ้าทำบอบิด    บพิตรหวังลบรูปซ้อน
สัทธรรมกัลยาณมิตร    กระตุ้นจิตประภัสสร
นอกตำราพลิกสอน   หวังผู้รับประสพศรี
����รอยยิ้มในสุรา   มีวาจาแฝงคติ
ปุถุสงฆ์ไร้สติ   ต่างโจษขานว่าทุศีล
ตีกระเจิงจารีต   ทุบรูปลักษณ์มลายชีพ
ไร้ฝุ่นกิเลสลีบ    ไฉนเลยกับสมณศักดิ์
����พระเสด็จมาเยือน    เอื้อนวจีแด่สำนัก
แต่งตำนานตำหนัก   สำรับใหม่ให้คลี่คลาย
ทรงเพิ่มเติมจัดทำ   แทรกหลักธรรมแล้วแย้มพลาย
ยกเป็นบทอธิบาย    รวมทั้งหมดครบยี่สิบ

หนังสือ "ชีวประวัติพระอรหันต์จี้กง"ได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร SENG TE MAGAZINE (SENG TE MAGAZINE เป็นนิตยสารทางธรรมะ ออกโดยสมาคมเซิ้งเต๋อ เมืองไถจง ไต้หวัน) เป็นตอนๆจนอวสาน บัดนี้สานุศิษย์ที่มีใจศรัทธาจะจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เพื่อเผยแผ่ให้กว้างขวางขึ้นเพื่อโปรดผู้มีบุญสัมพันธ์ ทั้งได้พิมพ์เพิ่มเติมคำอธิบายท้ายบท เพื่อให้ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ลึกซึ้งถึงความหมายที่ซ่อนเร้น เพื่อเตือนเวไนยสัตว์ให้ตื่น ช่วยให้เข้าใจในข้อธรรมเพื่อปฏิบัติให้จริงจัง ดังนั้นอาตมาจึงลงประทับทรงที่สำนักเซิ้งเต๋อถัน ช่วยเขียนคำอธิบายท้ายบท เพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงพฤติกรรมที่แสดงออกในสมัยนั้น
ดังนั้นนับจากเดือนนี้ไป อาตมาจะมาประทับทรงติดต่อกันเพื่ออธิบายสภาพจิตในตอนนั้น เปิดเผยปริศนาธรรมให้ชาวโลกได้เข้าใจ อาตมาขายสัจธรรมแห่งความโง่เขลา เพื่อให้บรรลุถึงหน้าตาดั้งเดิมแห่งตน ทำลายรูปลักษณ์ชนิดต่างๆกัน เพื่อค้นหาตนเองที่แท้จริงจนกว่าจะบรรลุเองสำเร็จเอง อาตมาได้ชื่อว่าเป็นพระอาจารย์ฝ่ายเซน ได้ถ่ายทอดวิถีจิตตามหลักแห่งเซน โดยไม่ถ่ายทอดแก่พวกนอกรีต ดังนั้นจึงมีพฤติกรรมด่าทอถึงพุทธะบ้างหลวงพ่อบ้าง มิใช่เพราะอาตมามีความขัดแย้งกับพุทธะหรือหลวงพ่อเหล่านั้น อันที่จริงทุกๆคนล้วนมีพุทธจิตของตนเอง แต่ละจิตก็สมบูรณ์ อย่าได้เที่ยวเสาะแสวงหาจากภายนอกเลย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือพระพุทธเจ้าย่อมมีจิตที่เสมอกัน ดังนั้นการด่าทอพุทธะหรือหลวงพ่อก็เพื่อปลุกให้จิตของเวไนยสัตว์ตื่นขึ้น ดังคำที่กล่าวว่า ตีเพราะรัก ด่าเพราะห่วง ดังนั้นพุทธะหรือหลวงพ่อ ก็คงไม่กล่าวโทษหรอกแต่กลับจะปิติยินดีเป็นที่สุด สำหรับผู้ที่มีปัญญามากก็จะเข้าใจในความหมายแห่งเซน อย่าใช้ปัญญาปุถุชนมาเข้าใจ อาตมาปลื้มใจแม้โพธิสัตว์จะเมามาย แต่พุทธจิตตื่นเสมอ ที่ว่า"คุณธรรมไม่โดดเดี่ยว มีพวกพ้องเสมอ" โชคดีที่ใต้หล้ามี "ผู้สืบทอดจี้กง" หากไม่ติว่าอาตมาน่ารังเกียจละก็ หนังสือนี้ก็มีคุณค่าพอที่จะอ่าน ถึงไม่มีฝนทิพย์ บุปผาสวรรค์โปรยลงมา ก็ขอรับรองว่าเพียงเปิดพลิกดูก็ได้สาระ หน้าร้อนก็พบว่าตาลี่ขายแตง หน้าหนาวก็เจอะอาตมาขายเหล้า เหลือพอที่จะให้ลิ้มชิมรส ดุจคนดื่มน้ำ จะร้อนหรือเย็นรู้ได้ด้วยตนเอง!
สงฆ์เพี้ยนเต้าจี้ประทับทรง ณ สำนักเซิ้งเต๋อถัน
เมืองไถจง ไต้หวัน

ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=206

2058
ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ตอนที่5 พลังจิต คลิปวีดีโอ
[youtube=425,350]AYLUjKNDbFs[/youtube]

2059
ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ตอนที่3 พลังจิต คลิปวีดีโอ
[youtube=425,350]7a8jxzTKTpo[/youtube]

ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ตอนที่4 พลังจิต คลิปวีดีโอ
[youtube=425,350]PC1KhmWNc54[/youtube]

2060

ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ตอนที่1 พลังจิต คลิปวีดีโอ
[youtube=425,350]HUEI_FQsLdw[/youtube]

ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ตอนที่2 พลังจิต คลิปวีดีโอ
[youtube=425,350]oIRq9JPKtFs[/youtube]

2061
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเวลา
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 11:06:00 »
เก็บไว้สอนตน เตือนตน

ทางออกของความขี้เกียจ

[youtube=425,350]pnlXg-wvAsY[/youtube]

2062
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเวลา
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 11:00:06 »
11 เรื่องที่โรงเรียนไม่เคยสอนคุณ ข้อคิดดีๆ จาก บิล เกตต์

[youtube=425,350]Enij32mpF4s[/youtube]

ปล..ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด
แต่สามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้อยู่

ถ้าบิลเกต เป็นฝรั่งจนๆ คนหนึ่ง...ข้อความข้างต้นมันจะฟังขึ้นไหม :005:

2063
ธรรมะ / ตอบ: คุณค่าของเวลา
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 10:18:52 »
ค่าของเวลา

[youtube=425,350]xKLEiQs_1u0[/youtube]


[youtube=425,350]w9Vux5vOp-k[/youtube]

2064
ธรรมะ / คุณค่าของเวลา
« เมื่อ: 27 ก.พ. 2554, 10:12:39 »
คลิป  คุณค่าของเวลา

[youtube=425,350]RMEii07yq1I[/youtube]

2065
กระแสวงจรจิต

[youtube=425,350]hpwydcrA-rE[/youtube]


2066
คู่มือฝึกจิต

[youtube=425,350]KHrg45HqxTo[/youtube]

การฝึกสมาธิ ความสงบ ทางสายกลาง

[youtube=425,350]ZsY0PXb-GSY[/youtube]

แผ่เมตตาหลังปฏิบัติธรรม

[youtube=425,350]Vt9V6Ap5Zo8[/youtube]


2067
หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 7/9

[youtube=425,350]oDd5czanzyg[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 8/9

[youtube=425,350]_OMeohCf7a4[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 9/9

[youtube=425,350]_B1Nu7Vb_rg[/youtube]

2068
หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9

[youtube=425,350]QqaZ6Q6bu88[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 5/9

[youtube=425,350]sA8VTccix8A[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 6/9

[youtube=425,350]6inYSTXjS_o[/youtube]

2069
หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 1/9

[youtube=425,350]krD2u7wCPQk[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 2/9

[youtube=425,350]B8xMg8IMhNA&NR[/youtube]

หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9

[youtube=425,350]hCAB0-_Ffy4[/youtube]

2071
ทุกชีวิตต้องสู้ครับ
ขอบคุณครับ

2073
หนังสือของพระอาจารย์มีเยอะเหมือนกัน
ลองอ่านดูครับ
http://phrajumnean.com/60-s

2074
ถูกต้องอย่างที่สุดการให้ที่ยิ่งใหญ่คือการให้อภัยครับ
เห็นด้วยครับ :016:

2075
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

2076
แหม! เสียดายดูภาพไม่ได้เลยครับ
ได้เห็นความยากในก่อสร้างที่ต้องขนวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขึ้นทางชันบนภูเขา
แต่ทุกคนทำงานด้วยความเปี่ยมด้วยศรัทธามั่น งานจึงเดินได้ไวและคาดว่าคงสำเร็จลุล่วงก่อนกำหนดการแน่นอน :015:

2077
ภาพจากแหล่งอื่น


2078
ธรรมะ / ตอบ: พระอรหันต์จี้กง (1)
« เมื่อ: 26 ก.พ. 2554, 06:13:05 »
อีกมุมมองหนึ่ง

ประวัติพระอรหันต์จี้กง
 

พระนามเดิมของท่าน คือ ชิวอ้วง แซ่ลี้ เป็นชาวเมืองเทียนไท้เกิดในสมัยราชวงศ์ช้ง ท่านได้บวชอยู่ที่วัดเล่งอุ้ง ตำบลไซโอ้ว เมืองหางโจว ประเทศจีน และใช้พระนามทางศาสนาว่าเต้าจี้ ท่านโปรดสัตว์โลกโดยวิธีพิสดาร จนชาวบ้านขนานพระนามว่า "พระสติเฟื่อง" (จี้เตียง) ท่านเป็นองค์อวตารของพระอรหันต์ได้บรรลุพระธรรม ๓ ประการ ที่สำคัญได้แก่ "สรรพสิ่งเกิดจากจิต" ท่านยึดมั่นแต่ พุทธจิตไม่คำนึงถึงเคร่องทรงภายนอก ดังคำกล่าวที่ว่า "รักษาศีลทางจิต ไม่ถือศีลทางปาก ปฏิบัติตนตามสบาย" (หมายความว่า พระภิกษุในประเทศจีนต้องฉันเจ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านไม่เคร่งครัดกับการฉันอาหารสุดแท้แต่โอกาส) ที่ท่านประพฤติเช่นนี้ เพราะว่าในสมัยนั้นได้แต่ถือศีลปาก คือฉันเจ แต่ไม่รักษาศีลทางใจ เพื่อเป็นการสอนธรรมะโดยใช้วิธีรุนแรง เหมือนเอาไม้กระบองตีให้เจ็บจนรู้สึกตัว ท่านพยายามทำให้ภิกษุสมัยนั้นให้ตื่นจากผู้ติดอยู่ในพิธีกรรม ให้มาพิจารณาทางวิปัสสนาธุระ

ท่านมีอิทธิฤทธิ์กว้างขวาง โปรดช่วยมวลมนุษย์มากมายโดยอาศัยวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านพ้นภัย ช่วยกอบกู้พวกที่ดูภายนอกเหมือนผู้มีบุญ แต่ใจบาป กลั่นแกล้งจนคนเหล่านั้นรู้สึกสำนึกตัว และกับผู้ที่โหดร้ายทารุน จะถูกตอบโต้จนไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ ทำให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข ดังนั้น ทุกผู้ทุกนามจึงสรรเสริญว่าเป็น "พระศักดิ์สิทธิ์" เหมือนพระพุทธที่ยังมีชีวิต ซึ่งไม่ใช่สิ่งธรรมดาสามัญ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ

พระอรหันต์จี้กงเคยอยู่วัด "เจ็งชื้อ" ต่อมาวัดนี้ถูกไฟไหม้จำเป็นต้องได้รับการปลูกสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งต้องการได้ไม้จากเขา "เงี้ยมเล้ง" ท่านแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ โดยใช้จีวรกางออกไปฉับพลันนั้น จีวรก็ปกคลุมเขาเงี้ยมเล้งทั้งหมด ไม้จากเขาถูกถอนขึ้นมาหมด แล้วถูกนำลงแม่น้ำล่องสู่เมืองหางโจว เสร็จแล้วท่านก็มาบอกชาวบ้านวา ไม้ที่จะใช้ก่อสร้างนั้นบัดนี้อยู่ในบ่อธูป (บ่อธูปนี้เป็นบ่อที่ขุดขึ้น ใช้สำหรับเทขี้ธูปและก้านธูป) ทั้งพระและชาวบ้านต่างไปดูที่บ่อธูป ก็ปรากฎว่าเป็นเช่นนั้นจริง สิ่งที่เล่าต่อๆ กันมานี้ ยังมีหลักฐานปรากฎอยู่อีกมากมาย

พระอรหันต์จี้กงได้นั่งสมาธิ จนเข้าฌานปลงสังขาร ในรัชสมัยพระจักรพรรดิ "เกียเตีย" อัฐิของท่านถูกบรรจุไว้ในเจดีย์ "เสือผ่าน" ก่อนที่ท่านจะปลงสังขาร ท่านได้ให้ปริศนาธรรมไว้ว่า "หกสิบปีมานี่ กำแพงตะวันออกล้มทับกำแพงตะวันตก รวบรวมจนถึงบัดนี้ ก็ยังคงเหมือนเดิม ท้องน้ำก็ยังจดขอบฟ้าเช่นเดิม" หลังจากท่านปลงสังขารแล้วไม่นาน ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้พบพระอรหันต์จี้กงนั่งอยู่ใต้เจดีย์ชื่อ "หลักฮั้ว" และยังได้ฝากหนังสือให้บทหนึ่งว่า "หวนรำลึกถึง สมัยก่อน มีศรยิงมาทางด้านหน้า จนบัดนี้ยังรู้สึกหนาวเหน็บกระดูกไปทุกขุมขน เนื่องจากไม่มีใครรู้จักหน้าตาแล้ว ยังขึ้นไปวิ่งเล่นบนดาดฟ้าหนึ่งรอบ" ที่ท่านลงมาอีกครั้งเป็นพระประสงค์ของมหาโพธิสัตว์

ตลอดพระชนมชีพของท่าน ได้ช่วยเหลือและอบรมชาวบ้าน โดยวิธีการเสแสร้างต่างๆ กันมาตลอดเวลาโดยไม่มีอุปสรรค ตัวท่านเป็นพระภิกษุ และมีจิตที่เป็นมหาโพธิสัตว์ ท่านมีแต่จีวรขาดๆ รองเท้าขาดๆ คู่หนึ่ง โดยไม่สนใจว่ามันจะเปื้อนโคลนหรือไม่ มือก็ถือพัดเล่มหนึ่ง ไม่กลัวทั้งที่ต่ำและที่สูง ศีรษะก็โล้น ลมไม่พัดฝนก็ไม่ตก ไม่จำเป็นต้องมีหมวกงอบ เท้าก็เปลือยเปล่า ความหนาวก็ไม่ระคายความร้อนก็ไม่รู้สึก ไม่ต้อย่าม ไม่ต้องบิณฑบาตเพราะไม่หิวไม่กระหาย ไม่ต้องแต่งทรง เพราะศีรษะไม่มีผม พบใครก็เอาแต่ยิ้ม เพื่อจะได้แผ่บุญ ไม่หลยสังคม ค้นหาเสียงทุกข์เพื่อจะได้ช่วยเหลือชาวนับถือ ทุกครัวเรือนมีแต่พระอรหันต์ หลักการของท่านพระภิกษุทั่วไปไม่ชอบ เนื่องจากความไม่สำรวมของท่าน ทำให้พระภิกษุที่มีความรู้ รู้สึกเสียหน้าไม่สบายใจ ดังนั้นพระภิกษุผู้ใหญ่จึงไม่กล่าวขานถึง ไม่พูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน

สืบเนื่องจากพระอรหันต์จี้กงมีเมตตาจิตไม่ถือสา การปรากฎตนของท่านเอาแน่นอนไม่ได้ กิริยาวาจาล้วนเป็นปริศนาธรรม ซึ่งทำให้ธรรมะของท่านเป็นที่กล่าวขาน จนได้รับการยกย่องว่าเป็นอาจารย์ทางพระกัมมัฏฐาน แม้ว่าท่านละสังขารจากโลกไปแล้วก็ตาม แต่ธรรมะของท่านยังมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์เสมอมา ดังนั้น จึงได้สมัญญาว่า เป็นพระพุทธที่ยังมีชีวิต (พระชนม์พุทธ) ก็เนื่องด้วยเหตุฉะนี้

ในสมัยกลียุคนี้ มวลชนหลงใหลอยู่ในกิเลส วนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์ อรหันต์ใจร้อนรนและเพื่อจะกอบกู้ชาวโลกอีกวาระหนึ่ง ท่านจึงยอมลงมาประทับทรง ที่สำนักธรรมเชิ่งเศียร โดยนำเอาวิญญาณคุณหยางเชิงไปเที่ยวสวรรค์ เปิดเผยความลี้ลับของสวรรค์เพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้

ชาวโลกนับว่าโชคดี ดั่งอาบน้ำฝนอันศักดิ์สิทธิ์ ออกจากทางมารโดยตลอด สาธุ! หนังสือเล่มนี้สำเร็จลง สืบทอดนับหมื่นปีอันนับว่าเป็นผลงานของท่าน

บทสรรเสริญ :

เริ่มแรกต้องตีหัว   เพื่อปลุกตัวตื่นจากหลง
ยิ้มยื่นดอกไม้ดง   ยังคงเป็นปริศนาธรรม
ชีวิตคือละคร   สะท้อนได้เหมือนจริงจัง
สรรพสิ่งสู่จิตดัง   ท่องสวรรค์และยมบาล
 

ที่มา
http://www.vithi.com/menu02-10-00-1.html

2079
ธรรมะ / พระอรหันต์จี้กง (1)
« เมื่อ: 25 ก.พ. 2554, 11:19:54 »
ประวัติพระอรหันต์จี้กง

หลายคนถ้าพูดถึงคำว่า 'พระบ้า' แล้ว ก็ไม่พ้นที่จะนึกถึงพระรูปหนึ่ง .....นามว่า จี้กง (济公) ละครจีนชุดเรื่องจี้กง เคยถูกนำมาฉายและได้รับความนิยมอย่างสูง ภาพพระจี้กง คือ พระที่สวมรองเท้าสานขาดๆ ถือพัดใบลานที่เป็นรู ใส่เสื้อผ้ารุ่งริ่ง มีหมวกโทรมใบเล็ก และที่สำคัญ ขี้ไคลของท่านรักษาได้สารพัดโรค .... แต่นั่นก็เป็นเพียงภาพที่ละครโทรทัศน์ผลิตออกมาเพื่อความบันเทิงเป็นหลักเท่านั้น

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน จี้กง ถูกจัดเป็น อรหันต์ (罗汉) แต่เป็นพระอรหันต์ที่แปลกประหลาดเสียจนผู้คนงุนงง จนผู้คนให้ฉายานามว่า พระบ้า หรือ พระเพี้ยน (疯和尚) สาเหตุก็ คือ จี้กงเป็นพระที่รับประทานเนื้อสัตว์ ดื่มสุราอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้ยังลักษณะท่าทางยังปราศซึ่งความสำรวม ผิดแผกกับ พระสงฆ์ทั่วไปโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตาม 'เปลือกนอก' กับ 'เนื้อใน' หรือ 'สิ่งที่เห็น' กับ 'สิ่งที่เป็น' นั้นบางครั้งก็มิใช่เรื่องเดียวกันเสียหมด อรหันต์จี้กง ก็ถือเป็นหนึ่งในข้อยกเว้นนั้น
จี้กง (济公) หรือ จี้เตียน (济颠) มีตัวตนอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ปกครองประเทศจีน โดยใช้ชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1148-1209 เดิมแซ่หลี่ นามซินหย่วน (李心远) นอกจากนี้ยังมีนามอื่นๆ อีก เช่น หูหยิ่น (湖隐) และ ฟังหยวนโส่ว (方圆叟) เกิดที่ หมู่บ้านหย่งหนิง ตำบลเทียนไถ มณฑลเจ้อเจียง ในตระกูลของผู้มีอันจะกิน*
อย่างไรก็ตามหลังจาก บิดา-มารดา เสียชีวิต จี้กงก็ตัดสินใจละทางโลก สละเพศฆราวาส ออกบวชที่วัดหลิงอิ่น (灵隐寺) แห่งเมืองหางโจว โดยได้ฉายานามว่า เต้าจี้ (道济) ทั้งนี้เต้าจี้ได้รับการอุปสมบทโดยมีพระสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงในเวลานั้น คือ พระอาจารย์ฮุ้ยหย่วน
หลังจากจี้กงออกบวช และ ต่อมาก็ออกลาย กลายมามีพฤติกรรมพิเรนทร์ผิดกับพระทั่วไป จนเป็นที่ติฉินนินทาของพระสงฆ์รูปอื่นๆ แต่ด้าน พระอาจารย์ กลับทราบดีว่า แม้ภายนอกจี้กงจะมีกิริยาไม่สำรวมผิดกับพระทั่วไป ทั้งผิดศีล เล่นซุกซนกับเด็กๆ ประพฤติ-พูดจาไม่สำรวม ดื่มสุรา บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ลึกลงไปภายใน จี้กงกลับเป็น - - - บุคคลที่ตื่นแล้ว!
นอกจากนี้ด้วยการกระทำหลายๆ ประการของ จี้กง แม้จะเป็นการกระทำที่ดูเหมือนจะผิดศีลธรรม ผิดประเพณีดั้งเดิม แต่เมื่อพิจารณาจาก เนื้อแท้ จุดมุ่งหมายและผลลัพธ์ แล้ว การกระทำเหล่านั้นของจี้กงกลับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และ ก่อคุณประโยชน์

สรุปความสั้นๆ ตามความเชื่อของพุทธมหายานก็คือ จี้กงเป็นอรหันต์ที่จุติมาเกิดอีกครั้ง เพื่อสั่งสอนมนุษย์โลก

สำหรับ วัดหลิงอิ่น อันเป็นสถานที่แรกซึ่ง จี้กง ก้าวเข้าสู่ เส้นทางแห่งร่มผ้ากาสาวพัสตร์ นับเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปี และถึงปัจจุบันก็ยังเป็นสถานที่ซึ่งผู้ซึ่งมาถึง หางโจว ต้องไปเยือนด้วยประการทั้งปวง
วัดหลิงอิ่น (灵隐寺) แปลความหมายเป็นไทยได้ว่า "วัดซ่อนใจ" มีประวัติย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ.326 เมื่อพระอินเดียรูปหนึ่ง ธุดงค์มาถึงทิวเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบซีหู และพบหุบเขาที่สามด้านล้อมรอบด้วยป่างาม เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา ท่านจึงสร้าง วัดซ่อนใจ แห่งนี้ขึ้น** ขณะที่พระอินเดียรูปดังกล่าวเดินสำรวจพื้นที่ก็พบเข้ากับภูเขาหินขนาดมหึมาที่ดูแล้ว ลักษณะโดดออกจากภูมิประเทศโดยรอบ ท่านจึงพรรณาขึ้นว่า "มิทราบว่าเขายอดนี้บินมาจากหนใด" และนี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ ยอดเขาบิน ณ วัดหลิงอิ่น (灵隐-飞来峰)***

ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาด้วยความศรัทธาต่อ พระจี้กง ชาวบ้านหางโจวจึงโยงใยที่มาของยอดเขาบินที่วัดหลิงอิ่นเข้าเกี่ยวพันเป็นหนึ่งในตำนานอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของ พระจี้กง แต่งเป็นนิทานขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง โดยนิทานพื้นเมืองของชาวหางโจวเรื่องนั้นระบุเอาไว้ว่า
เดิมยอดเขาประหลาดดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณดินแดนแถบตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน .... เช้าวันหนึ่งเมื่อพระจี้กง มีญาณบอกล่วงหน้าว่า ราวเที่ยงวันยอดเขาดังกล่าวจะบินมาตกทับหมู่บ้านข้างวัดหลิงอิ่น และจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ด้วยเหตุนี้พระจี้กงจึงตัดสินใจวิ่งเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อบอกมหันตภัยดังกล่าวให้กับชาวบ้านได้รับทราบ เพื่อที่จะได้พากันอพยพไปยังที่ปลอดภัย
"เที่ยงวันจะมีภูเขาหล่นลงมาทับหมู่บ้าน ทุกคนรีบเก็บข้าวข้องเร็ว ไม่งั้นก็ไม่ทันแล้ว" จี้กงกระหืดกระหอบ มาตะโกนบอกชาวบ้านโดยทั่ว
อย่างไรก็ตามด้วย ความที่ชาวบ้านมองว่า จี้กง เป็นเพียงพระบ้ารูปหนึ่งที่กล่าวอะไรไร้สาระไปวันๆ ทุกคนจึงส่ายหัว พร้อมกับด่าทอว่า "พระบ้าเอ้ย! จะหาเรื่องอะไรมาเล่นสนุกอีกละ ภูเขาบินมีที่ไหนกันเล่า!"
ตะวันยิ่งลอยยิ่งสูง .... ใกล้ถึงเวลาเที่ยงวันที่ยอดเขาจะตกลงมายังหมู่บ้านเข้าไปทุกที พอดีในวันนั้นมีการจัดงานมงคลสมรส จึงมีเสียงของงานรื่นเริงดังขึ้นที่มุมหนึ่งของหมู่บ้าน
เมื่อจี้กงเห็นว่าไม่มีใครยอมเชื่อสิ่งที่ตนเองกล่าวเตือน จี้กงจึงตัดสินใจแอบลอดตัวเข้าไปในงาน หลบหลีกผู้คน อุ้มเจ้าสาวหนีออกจากงานเสีย
จี้กงอุ้มเจ้าสาวและวิ่งอย่างว่องไวออกไปนอกหมู่บ้าน ขณะที่ชาวบ้านที่มาร่วมงานต่างก็วิ่งไล่จับ พร้อมกับตะโกนป่าวร้อง ให้ทุกคนช่วยกันคว้าตัว 'พระบ้าขโมยเจ้าสาว' อย่างไรก็ตามด้วยอิทธิฤทธิ์ จี้กงก็มีฝีเท้าเร็วพอที่จะไม่ถูกใครไล่ตามจับได้ทัน
จี้กงกวดฝีเท้าออกมาๆ พร้อมกับผู้คนทั้งหมู่บ้านที่วิ่งไล่ตาม ออกมาไกลสิบกว่าลี้จนกระทั่งเลยรัศมีของยอดภูเขามหันตภัย เห็นดังนั้นจี้กงจึงวางเจ้าสาวลง เมื่อหยิบพัดใบลานขึ้นมาโบกคลายร้อน ก็บังเกิดเสียงดังลั่นสนั่นพสุธา!!! .... ยอดเขาตกลงมาทับหมู่บ้านอย่างที่คาดไว้
ชาวบ้านที่วิ่งตามมา เมื่อหันกลับไปมองสภาพภูเขายักษ์หล่นมาทับหมู่บ้านของตนเสียแบนก็ทราบว่าสิ่งที่จี้กงกล่าวเตือนนั้นเป็นความจริง ส่วนการที่จี้กงอุ้มเจ้าสาวหนีออกมาจากงานมงคลนั้นก็เพื่อช่วยชีวิตชาวบ้านทั้งมวลนั่นเอง แต่ทั้งนี้หลังจากเห็นบ้านช่อง ทรัพย์สมบัติถูกทับแบนอยู่ใต้ภูเขา ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยก็เกิดความเสียดายและเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ ตีอกชกเท้า กันเป็นพัลวัน
ด้วยสภาพดังกล่าว จี้กงจึงหันไปกล่าวกับชาวบ้านเหล่านั้นว่า "ร้องไห้ไปทำไม พวกเจ้าที่ดินที่มัวแต่เสียดายสมบัติต่างก็ถูกทับจมอยู่ใต้ภูเขาไปแล้ว จากนี้ต่อไปทุกคนก็กลับไปทำไรทำนาของตัวเอง ทำเท่าไหร่ได้เท่านั้น ชีวิตก็ยังมี จะยังกลัวสร้างเรือนใหม่ไม่ได้ไปใย"
ชาวบ้านพอได้ยินก็สำนึกได้ว่าท่ามกลางความทุกข์ก็ยังพอมีประกายแสงแห่งความสุขเรืองรองอยู่บ้าง ท่ามกลางความสูญเสียอย่างน้อยที่สุดพวกตนก็ยังรักษาชีวิตให้รอดอยู่ได้ เมื่อเห็นชาวบ้านพอจะคลายทุกข์ลงได้แล้ว จี้กงก็รั้งเหล่าชาวบ้านเอาไว้ และกล่าวต่อว่า
"อย่างเพิ่งไป ทุกคนฟังอาตมากล่าวก่อน ยอดเขาก้อนนี้เดิมลอยไปลอยมา จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หลังทับทลายหมู่บ้านของพวกเราแล้วก็อาจจะบินไปทับหมู่บ้านอื่น อาจทำให้คนเสียชีวิตอีกมากมาย อาตมาขอร้องให้พวกเราช่วยกันสลักพระอรหันต์ 500 องค์ไว้บนภูเขาลูกนี้ เพื่อที่จะทำให้ภูเขาลูกนี้ไม่บินไปสร้างอันตรายให้กับผู้อื่นอีก" ชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงรีบกลับไปช่วยกันสลักพระอรหันต์ 500 องค์ไว้บนยอดเขาบินกันคนละไม้ละมือ ...... โดยนับจากนั้น ยอดเขาดังกล่าวก็ไม่บินไปสร้างอันตรายให้ใครอีก และถูกเรียกขานกันต่อๆ มาว่า ยอดเขาบิน ณ วัดหลิงอิ่น

ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวก็ยังคงสามารถเข้าชม ยอดเขาบินและพระพุทธรูปสลัก 500 อรหันต์ได้ ทั้งนี้ พระพุทธรูปสลักที่ยอดเขาดังกล่างนี้ถูกจัดว่าอยู่ในส่วนของ วัฒนธรรมถ้ำหินสลัก (石窟文化) โดยถ้ำหินสลัก ที่นี่แม้จะไม่ถูกจัดให้เป็น 3 สุดยอดแห่งถ้ำหินสลักแห่งแผ่นดินจีน เหมือนกับ ถ้ำหินสลักโม่เกา (莫高石窟) แห่งตุนหวง, ถ้ำหินสลักหลงเหมิน (龙门石窟) แห่งลั่วหยาง หรือ ถ้ำหินสลักหยุนกัง (云冈石窟) แห่งต้าถง (大同) มณฑลซานซี แต่ ถ้ำหินสลักที่นี่ก็ยังมีดีไม่น้อย เนื่องจากนับว่าเป็นตัวแทนหนึ่งของ วัฒนธรรมถ้ำหินสลักของจีนภาคใต้ แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ที่สืบเสาะประวัติศาสตร์ย้อนรอยกลับไปได้นานกว่า 1,000 ปี


ที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=picha-mon&date=15-02-2009&group=12&gblog=4

2080
สวดมนต์ทำไม สวดมนต์แล้วได้อะไร

ปุจฉา     - สวดมนต์ทำไม สวดมนต์แล้วได้อะไร
วิสัชนา  - เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวสรรเสริญ บูชาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆเจ้า ผู้มีคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งใดยิ่งกว่า เพราะท่านนำพาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึงมนุษย์ตลอดจน เทพเทวดา พรหม และสัตว์ในทุคติ ตลอด 31 ภพภูมิ ได้เรียนรู้พระธรรมอันนำให้เกิดปัญญา สามารถพาตนให้พ้นทุกข์ได้
                - การสวดมนต์ทำให้เกิดอานิสงส์ยิ่งใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่เกิดจากการสรรเสริญคุณของคนดีและความดี ซึ่งจริง ๆ แล้วแม้เพียงการยกมือขึ้นไหว้หรือกราบลงด้วยใจที่เคารพบูชา ก็เกิดอานิสงส์อันเรียกว่า ผลแห่งบุญ ขึ้นแล้ว แม้ยังมิทันได้เอ่ยปากสวดมนต์ใด ๆ ออกมา
                - การสวดมนต์ ทำให้จิตเป็นสมาธิอันเกิดจากการจดจ่ออยู่ที่คำสวด อยู่ที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงทำให้จิตใจผ่องใส คลายความทุกข์ความเศร้า ความกังวลห่วงใยได้ในทันทีที่ สวดมนต์
                - เหนือยิ่งกว่าสิ่งที่สามารถจับต้องมองเห็นได้ก็คือ การสวดมนต์ทำให้เกิด พลานุภาพแผ่ปกคลุมช่วยปกป้องคุ้มครองรักษาผู้สวดมนต์นั้นเอง ดังจะเคยได้ยินผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านพ้นวิกฤตอันตรายมาได้หลาย ๆ ท่านที่เล่าให้ฟังว่า เมื่อพบภัยอยู่เบื้องหน้า ด้วยความกลัวตายเพียงสวดพุทโธ ๆ หรือสวด อิติปิโส สั้น ๆ ด้วยจิตมุ่งมั่นศรัทธาในพระพุทธคุณ ก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัตินั้นได้อย่างปาฏิหาริย์
คัดลอกจากบทความของ คุณฐาปนา  รักติประกร
ผู้ประสานงานงานรวมพลังสวดพระปริตรอธิษฐานจิตเพื่อแผ่นดินไทย


http://www.oknation.net/blog/Phra-parit/2010/07/10/entry-1

2081
สวดมนต์ทำไม .. เพื่ออะไร ... สวดเพื่อใคร


ทุกครั้งที่สวดมนต์ มักจะมีคำถาม ขึ้นมาเสมอ
"สวดมนต์ทำไม .. เพื่ออะไร ... สวดเพื่อใคร"
ทดลองสวดมนต์ตามหนังสือที่ได้รับมาบ้าง ตามที่อ่านคำแนะนำมาบ้าง ก็ทำไปตามประเพณีนิยม
ผลทีได้รับกลับมาคือ

๑. ความสงบ (เพราะจิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับคำสวด)
๒. มีสมาธิ เพิ่มขึ้น (สวดไม่ผิด)

แต่การสวดมนต์เหมือนต้องฝืนทำไปเพราะ ชีวิตประจำวันค่อนข้างเหนื่อยล้า จากการขับรถ การงาน
และละครโทรทัศน์ (เกี่ยวกันไหมเนี่ย!!! )

จนเมื่ออาจารย์เสริมศิลป์ ครั้งแรกมาสวดมนต์ที่บ้าน โหยยยย .... ทำไม ทำไมคะ ทำไมสวดเร็วเป็น
รถด่วนขบวนสุดท้ายขนาดนั้น เราว่าเราอ่านหนังสือได้ไวแล้ว เจอกลุ่มอาจารย์ฯ สวดมนต์ ขอบอก
ได้แต่ยิ้มเพราะ ...ดูตามยังไม่ทันเลยค่ะ ... (ฮั่นแน่ .. หลายคนแอบพยักหน้า เพราะยกมือด้วย...
ชิมิ ชิมิคะ!)

หลังจากนั้นก็เกิดความสนใจว่า
* เพราะเหตุใดต้องสวดกันเร็ว
* ทำไมบทสวดมนต์ถึงสวดกันยาวนานขนาดนั้น
* ทำไมต้องนั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้คนเยอะแยะไปหมด และ
* ทำไม??????? อีกหลายข้อ
จึงลองสังเกตุจากการที่ตามกลุ่มฯ ไปสวดมนต์จึงได้คำตอบ..

อาจารย์ : "สวดมนต์เร็วๆ ได้ประโยชน์อะไรบ้าง?"
Admin : " ๑. เหมือนได้ออกกำลังกาย เพราะสวดมนต์เร็ว ออกเสียง แล้วเหงื่อออก ปอดขยาย
๒. มีสติ เพราะสวดเร็วต้องมีสติตามรู้ ๓. ได้สมาธิ เพราะจิตนิ่งตามบทสวดมนต์"

เวลาสวดมนต์ทุกครั้งอาจารย์จะสอบถามว่าสัมผัสอะไรไหรือไม่ .. บางท่านก็สามารถสื่อได้ ก็จะเห็นพระ
แสงสว่าง บ้างก็วิญญาณ ฯลฯ แล้วแต่สถานที่ แต่อาจารย์จะย้ำทุกครั้งว่า การสวดมนต์ด้วยศรัทธาเป็นการ
เปิด ๓ โลก การสวดมนต์เมตตาใหญ่พิสดารเป็นการสวดมนต์ส่งวิญญาณผู้ตาย และเทวดาเขาชอบฟัง...

คราวนี้ สงสัยหนักกว่าเก่าเลย ...
* อะไร ๓ โลก
* ใครมาฟัง??!!
* ฟังแล้วทำไมไปเกิด??!!
* ทำไมเทวดาต้องมาฟัง??!! สวดเองไม่ได้เหรอ??
เพราะไม่เข้าใจ จนในที่สุดความสงสัยก่อตัวมากเสียจนไปพบประสบการไปสวดมนต์กับกลุ่มฯ อาจารย์
หลายครั้ง จนวันหนึ่งไปร่วมงานหล่อพระพุทธรูป ที่วัด ......... และอาจารย์ไปสวดมนต์ในโบสถ์ที่กำลัง
ก่อสร้างอยู่

ที่มา
http://jit-jai-d.blogspot.com/2009/01/blog-post_10.html

2082
อ่านต่อ


การสวดมนต์เพื่อให้ได้อานิสงส์สูงสุด

   1.อย่าสักแต่ว่าสวดเป็นนกแก้วนกขุนทอง  คือท่องๆ บ่นๆ ไปตามอักขระที่อ่านหรือนึกได้
   ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องให้รู้ความหมายด้วย  ไม่จำเป็นขนาดนั้น  เพราะการรู้ความหมาย
เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น (แต่ถ้ารู้ความหมายด้วย  ก็เป็นเรื่องดี)
   จะรู้ความหมายหรือไม่รู้ความหมายก็ไม่สำคัญเท่ากับการสวดมนต์อย่างมีสมาธิ

   2.ต้องสวดมนต์อย่างมีสมาธิ  หมายความว่า  เวลาที่จะสวดมนต์นั้น  ต้องรู้ก่อนว่าสวดมนต์
บทไหน (จะรู้ความหมายหรือไม่รู้ก็ได้)  แต่เวลาที่สวดมนต์นั้น  ให้รู้ว่าอักขระหรือตัวหนังสือที่เรากำลังจะ
ท่องนั้น คือตัวอะไร
   ฟังดูอาจจะเข้าใจยาก  เอาอย่างนี้ เวลาที่จะสวดมนต์ เช่น นะโม  ตัสสะ ฯลฯ  ก็ต้องรู้ว่าตอนนี้
กำลังสวดคำว่า นะ  คำว่า โม  คำว่า ตัส  คำว่า สะ
   คือให้รู้ตัวทุกตัวอักขระว่ากำลังสวดคำไหน
   ทำได้มั้ยครับ  ถ้าทำได้..คือรู้ตัวว่าสวดอักขระตัวไหน  เราก็จะมีสติใจจดจ่อกับคำสวดตามอักขระ 
   เมื่อมีสติเราก็จะมีสมาธิ
   การมีสติ  และมีสมาธิในเวลาสวดมนต์นั้น  จะได้รับ "พลังงาน" ที่ดี
   ทำให้ได้  แล้วจะได้รู้ว่า  สวดมนต์เวลาที่มีสติและสมาธิ  จะ "ดีกว่า" สวดมนต์แบบนกแก้วนก
ขุนทองอย่างมากมายมหาศาล

    การเรียงการสวดมนต์  ตามที่ได้ลงในเวบนี้
   ให้สวดมนต์ตามที่ได้ลงเอาไว้  ตั้งแต่ บทสวดมนต์ที่เกี่ยวกับพระรัตนตรัย  บท
ชัยมงคลคาถา (บทพาหุง ฯ)  และจบด้วยพระคาถาชินบัญชร
   จะท่องโดยไม่ต้องดูตัวหนังสือก็ได้  แต่อย่าขี้เกียจ  หมั่นท่องจำไว้ให้ได้ก็ดี  อย่านึกว่ามีหนังสือ 
มีตำรา  แล้วเอาแต่เปิดหนังสือ  เปิดตำราท่อง
   แรกๆ ก็เปิดได้   เพราะคนไม่เคยท่องจะให้จำได้อย่างไร
   แต่ถ้านานๆ ไป  ควรท่องจำเองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือหรือตำรา
   เพราะการท่องด้วยจิตใจที่จดจ่อกับคำที่เราท่อง  สิ่งที่เราได้ก็คือ จิตจะมีสมาธิ
   การสวดมนต์ก็คือการปฏิบัติสมาธิอย่างหนึ่งเช่นกัน

2083
วิธีสวดมนต์ที่ถูกต้อง

   บทสวดมนต์หลายบทนั้นมีอานุภาพในตัวเองมากมายมหาศาล  แต่ต้องขึ้นอยู่กับ "ผู้สวด" ด้วย
   มีหลายท่านได้ยินได้ฟังมาว่า  คนนั้นคนนี้สวดมนต์บทนั้นบทนี้แล้วจะได้รับสิ่งที่ดีๆ อย่างนั้น
อย่างนี้  จึงมีผู้เลือกเอาบทสวดมนต์ต่างๆ มาบอกเล่ากันว่าควรสวดบทไหน
   ขอเรียนให้ท่านทราบด้วยความจริง....ว่า...
   การที่สวดมนต์ตามบทสวดมนต์ต่างๆ แล้วได้สมหวังตามความปรารถนา  หรือสวดแล้วได้โชค
ลาภต่างๆ นั้น  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "บทสวดมนต์" แต่เพียงอย่างเดียว  มีองค์ประกอบอย่างอื่นด้วย
   องค์ประกอบของการได้ทุกอย่างตามที่ปรารถนานั้น  มีส่วนสำคัญอยู่ 3 ส่วน
   1. กรรม      2.ตัวเราเอง        3.ผู้ช่วยหรือสิ่งต่างๆ ช่วย

   1.กรรม  มีอัตราส่วน 50 %
   ถ้าคนเราไม่มีส่วนของการกระทำที่ได้เคยทำไว้ในอดีตมาเป็นพื้นฐานแล้ว  ไม่มีทางที่จะดีขึ้นมาได้ 
เปรียบเทียบว่า กรรม ดีที่เราทำนั้น  เป็นกำลังพื้นฐานที่รองรับเรื่องราวต่างๆ

   2.ตัวเราเอง  มีอัตราส่วน 25 %
   ถ้าเราเองไม่ทำตัวให้ดี  เพื่อรองรับ  หรือรอรับสิ่งที่ดีๆ แล้ว  ก็ไม่มีทางที่จะได้ดีขึ้นมาได้

   3.ผู้ช่วยหรือสิ่งที่มาช่วย  มีอัตราส่วน 25 %
   ผู้ช่วยในที่นี้  รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นครูบา  อาจารย์  ผู้ที่มีจิตดี   จิตบริสุทธิ์  พรหม
เทพ   เทวดา  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  บทสวดมนต์  พระคาถา  เครื่องราง  ของขลัง  วัตถุมงคล ฯลฯ
   สิ่งเหล่านี้  เป็น "อุปกรณ์" เสริมที่มีความจำเป็น  เพื่อให้สิ่งที่เราต้องการ  สิ่งที่เราปรารถนา  สม
ตามความต้องการ
   นี่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นชัดๆ
   สมมติว่า  ถ้าเป็นการสอบ  ต้องการคะแนน 50 เพื่อ "ผ่าน"
   ลองคิดดูง่ายๆ ว่า  ถ้าเราจัดอัตราส่วนแล้วเราต้องใช้ส่วนไหนมากที่สุด
   ถ้าใช้ส่วนที่มากที่สุด  ก็คือ ส่วนที่เป็น "กรรม"  เรามีอัตราส่วนถึง 50 %
   ถ้าเราเคยทำกรรมดีไว้พอสมควร  คือทำกรรมดีไว้เต็มเปี่ยมได้ครบ 50 % เราก็ไม่จำเป็นต้องไป
หาคะแนนมาจากไหนมาเพิ่ม  เพราะได้ครบ 50 % แล้ว
   เคยสังเกตหรือไม่ว่า  คนบางคนแค่เพียง "นึก" ก็ได้สมตามความปรารถนาแล้ว
   ไม่จำเป็นต้อง "ร้องขอ" จากสิ่งใดๆ อีก  ก็ได้ทุกอย่างตามที่ปรารถนา
   นั่นก็แสดงว่า  บุคคลนั้นได้กระทำ "กรรม" ที่ดีๆ มาอย่างเต็มเปี่ยมแล้วในอดีต

   แต่ถ้าท่านยังทำความดีไม่เพียงพอ  กระพร่องกระแพร่ง  หรือขาดตกไปบ้าง  สมมติว่ามี "กรรมดี"
ได้คะแนนเพียง 30 %  จำเป็นที่จะต้องหาคะแนนจากที่อื่นมาเพิ่มให้ครบ 50 คะแนน
   จะไปเอาจากไหน ก็จากที่เหลือ 2 ส่วนที่เหลือ คือจากตัวเราเองและผู้ช่วยเหลือหรือสิ่งช่วยเหลือ
   การที่จะไปหาให้ครบ 50 คะแนนนั้น  ถ้าเอามาจากตัวเองน่าจะง่ายกว่าไปหาจากคนอื่น  เพราะ
การที่ทำเอง  ก็จะได้เอง  และได้มากกว่าคนอื่นมาทำให้
   แต่ถ้าถามว่า  เราทำเองนั้น  ทำดีได้แค่ไหน  จริงใจกับการทำความดีได้แค่ไหน  หรือทำไปแล้ว 
ผลที่ได้จะเพียงพอกับคะแนนที่ต้องการหรือไม่
   สมมติว่าทำได้อีก 10 คะแนน (จาก 25 คะแนน)  เราก็ได้เพิ่มแล้วเป็น 40 คะแนน
   ยังขาดอยู่ 10 คะแนน  เราก็ต้องอาศัยผู้ช่วยเหลือ  หรือสิ่งช่วยเหลือ เช่น ครูบา  อาจารย์  ผู้ที่มี
"จิต" ดี   "จิต" บริสุทธิ์ เทพ  เทวดา  พรหม  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  บทสวดมนต์  พระคาถา  เครื่องราง  ของขลัง 
วัตถุมงคล ฯลฯ
   เหล่านี้ก็สามารถช่วยท่านได้อีก 10 คะแนน  รวมแล้วครบ 50 คะแนน  ถือว่า "ผ่าน"
   นี่เป็นเพียงการเปรียบเทียบ  และแสดงให้เห็นว่า  ทุกส่วนต้องมีการเกื้อหนุนและประกอบกัน
   ถ้าแค่ผ่าน  ก็ใช้เพียง 50 % หรือ 50 คะแนน
   แต่ถ้าจะให้ "เยี่ยม" ต้องใช้คะแนนมากๆ
   บางคนทำคะแนนได้มากถึง 90 หรือเกือบร้อย
   เช่น  ทำแต่กรรมดี  มาตั้งแต่อดีต  เป็นคนที่ทำตัวเองดี  และได้ผู้ช่วยเหลือดี
   เลยทำให้ได้ดี  มากยิ่งขึ้น
   จำเอาไว้ว่า  กรรม 50  ตัวเอง 25  ผู้ช่วยเหลือ 25
   ไปจัดสัดส่วนเอาเอง
   ถ้าจะมานั่งรอแต่ให้คนอื่นช่วย (25 คะแนน  ซึ่งความเป็นจริง  ใครหรืออะไรจะมาช่วยได้ครบ
25 คะแนน) แล้วไม่ทำตัวเองให้ดีๆ  ไม่ทำกรรมดีมาแต่ก่อน
   จะไปได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ  หรือจะได้รับสิ่งที่ดีๆ ได้อย่างไร
   เพราะฉะนั้นความเป็นจริง  ตัวเราเองเป็นส่วนสำคัญ
   มีคะแนนถึง 75 % หรือ 75 คะแนน
   จากการกระทำดีของเราที่ได้เคยทำไว้  ซึ่งก็คือ "กรรม" 50
   ตัวเราเองทำดีด้วย 25
   ถ้าทำได้แค่นี้  75 คะแนนแล้ว  ผ่านได้อย่างสบายๆ
   จะมานั่งรอผู้ช่วยเหลือ  หรือสิ่งช่วยเหลือทำไม  แค่เพียง 25 คะแนนเอง
   เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว  ทำไมไม่ฝึกตัวเองก่อน
   ให้ตัวเองมี "ดี" พอก่อน  ก่อนที่จะไปหา "ดี" จากที่อื่น

   บทสวดมนต์ก็เช่นกัน  จัดอยู่ในข้อที่ 3 คือผู้ช่วยเหลือ  หรือสิ่งช่วยเหลือ
   อย่าลืมว่าเป็นเพียง "ส่วนประกอบเท่านั้น"
   คนที่ไม่มี "กรรม" ดีมาก่อน  ไม่ได้ทำตัวให้เป็นคนดีก่อน  ไม่ทำบุญทำกุศลมาก่อน   ให้สวด
พระคาถาชินบัญชร 100 จบ 1000 จบก็ไม่ได้อย่างที่ตัวเองต้องการ
   หรือเรียกง่ายๆ ว่า อาจจะไม่ได้ดีตามที่หวัง
   แต่การสวดมนต์ก็ได้ "กุศล" แล้ว  แต่ได้อย่างมากที่สุดก็ไม่เกิน 25 คะแนน
   
   รู้อย่างนี้แล้วจะมามัวมานั่งทำอย่างใดอย่างหนึ่งทำไมกัน
   ทำทั้ง 3 ส่วนให้สมดุลย์กันไม่ดีกว่าหรือ ?
   ทั้งทำ "กรรม" ดี  ทำตัวเองให้ดี (รวมถึงการทำบุญกุศล  ปฏิบัติภาวนา ฯลฯ)  และ
หาผู้ช่วยเหลือสิ่งช่วยเหลือที่ดี
   แล้วสิ่งที่คุณต้องการ...ก็จะไม่ไกลเกินความจริง

ปล..อ่านแล้วโปรดพิจารณา
ที่มา/อ่านต่อ.........
http://www.extrasoul.com/pray.html

2084
บทสวดมนต์ / ไหว้พระสวดมนต์ทำไม??
« เมื่อ: 25 ก.พ. 2554, 10:24:54 »
ไหว้พระสวดมนต์ทำไม??

                  ผู้ที่มีรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของชีวิต ควรปฏิบัติกิจวัตรนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ และ...

                  ๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
                  ๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
                  ๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
                  ๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
                  ๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
                  ๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
                  ๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
                  ๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
                  ๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์

ประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์...

                  ๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
                  ๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
                  ๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
                  ๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
                  ๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
                  ๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
                  ๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
                  ๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
                  ๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ


ขอบคุณ/ที่มา
http://www.mongkoltemple.com/page02/articles004.html

2085
พระมาโปรด!!! สำหรับนักฝึกปฎิบัติมือใหม่อย่างผม

กราบนมัสการพระคุณเจ้าขอรับ

2086
สนทนาภาษาผู้ประพฤติ / ตอบ: ใจ.....
« เมื่อ: 25 ก.พ. 2554, 08:54:14 »
สมถะ-วิปัสสนา แตกต่างกันอย่างไร ?

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amatamahanippan&month=29-12-2005&group=5&gblog=1

2087
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์.......ผมจะเริ่มฝึกหัดปฎิบัติบ้างแล้ว
ตอนนี้มีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะก็สบายใจแล้วครับ

2088
ตอนที่ 43.... หนึ่งเป็นสองต้องมีทุกข์

      พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาหกปีค้นจนพบหนทางแห่งการดับทุกข์คือ "สายกลาง" ซึ่งมีทางปฏิบัติอยู่แปดประการเรียกว่า "อริยะมรรค" ใครประคองจิตให้อยู่ในจิตให้อยู่ในหนทางนี้ได้จักพ้นทุกข์อย่างแท้จริงโดยเริ่มต้นดังนี้
1. ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสัจธรรม
2. ความคิดที่ต้องการพ้นไปจากโลกีย์กรรม
3. การสำรวมวาจา
4. การกระทำที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
5. มีอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
6. มีความเพียรที่ถูกต้อง
7. มีสติถูกต้อง
8. มีสมาธิถูกต้อง
      "ทางสายกลาง" สามารถปฏิบัติได้ในมนุษย์เพียงแต่รักษาสภาวะจิตของตนเองให้เป็น "หนึ่ง" ความทุกข์ย่อมไม่เกิด แต่ปุถุชนเกิดความทุกข์ เพราะชอบเปรียบเทียบ จาก "หนึ่ง" จึงไปเป็น "สอง" เพราะฉะนั้นจึงมี "ดี" หรือ "ชั่ว" และจึงเกิด "ชอบ" หรือ "ชัง" พ้นไปจากทางสายกลาง
ความวิตกทุกข์ร้อนจึงเกิดขึ้นไม่ว่าอยู่ในภาวะ "ต้องการ" หรือ "ไม่ต้องการ"
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายกรณีนี้ว่า
"ทำไมเราจึงถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" มาเป็นผลที่จำนงหวังของเราเพราะเหตุที่มีคนเขลาบางประเภทได้โอ้อวดได้เห็นแจ้ง ธรรมญาณ แต่กำลังถูกอารมณ์ที่แวดล้อมลากเอาตัวไปวิตกต่างๆ เกิดขึ้นในใจของเรา ถูกแวดล้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิอันเป็นกระแสแห่งความหลงและกิเลสทุกๆ ชนิด ทั้งนี้เพราะใน "ธรรมญาณ" นั้นไม่มีอะไรสำหรับให้ใครลุถึงเสียเลย ฉะนั้นการที่มาเอ่ยอ้างว่ามีการลุถึงและกล่าวพล่อยๆ ถึงความดีหรือความชั่วเหล่านั้นแล้วล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฏฐิและกิเลส เพื่อผลอันนี้เอง เราจึงได้ถือเอา "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่จำนงหวังของเรา"
      พระวจนะตอนนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นตัวสำแดงความว่างไม่มีอะไรให้บรรลุถึง เพราะฉะนั้นตราบใดที่ภายในจิตใจยังวิตกหรือยินดีต่ออารมณ์ทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว ย่อมเป็นหนทางแห่งความหลงโดยแท้เพราะสำคัญผิดคิดว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เที่ยวคุยอวดหรือแสดงเป็นนัยให้คนอื่นรู้ว่าตนเองสำเร็จบรรลุธรรมแล้ว
ความรู้สึกที่ผุดขึ้นในจิตเพียงนิดเดียวก็พอแล้วที่จะฉุดให้คนหลงเหล่านั้นลืมตัวและพ้นไปจาก "ทางสายกลาง" ของจิต
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้หนทางพ้นไปจากวิตกจริงทั้งปวงว่า
"การที่จะพ้นอำนาจของวิตก อะไรเล่าเป็นสิ่งที่เราควรสลัดเสียให้สิ้นเชิง และอะไรเล่าที่เราควรปักใจของเราลงไปเราควรสลัด "ของที่เป็นคู่ๆ อย่างตรงกันข้าม" เสียให้สิ้นเชิงพร้อมทั้งอกุศลเจตสิกทุกๆ อย่าง"
ความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวคือ สิ่งที่เป็นคู่กัน เช่น ดี-ชั่ว สวรรค์-นรก สำเร็จ-ไม่สำเร็จ โง่-ฉลาด เพราะตราบใดที่ยังมีคู่ย่อมมีการเปรียบเทียบก่อให้เกิดอารมณ์จนบดบังธรรมญาณตราบนั้นย่อมพ้นไปจากความเป็น "หนึ่ง"
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"เราควรปักใจของเราลงไปที่ภาวะแท้จริงของ ตถตา เพราะเหตุว่า ตถตา นั่นแหละเป็นตัวการแท้ของวิตก และวิตกเป็นผลแห่งการไหวตัวของ ตถตา"
"ตถตา" มีความหมายว่า มันคงมีสภาพเป็นอย่างนั้นเองเป็นอย่างอื่นไม่ได้เพราะฉะนั้นมันจึงก่อเกิดสรรพสิ่งเพราะเป็นความว่างอันแท้จริง ถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนเกียร์ของรถยนต์การที่สามารถขับเคลื่อนไปได้ เพราะมีเกียร์ว่าง หากปราศจากเกียร์ว่างเสียแล้ว รถยนต์ย่อมใช้ประโยชน์มิได้เลย
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอธิบายว่า
"ตัวแท้ของตถตา ซึ่งเบ่งบานขึ้นถึงระดับเด่นชัดนั้นต่างหากที่ทำให้วิตกนั้นเกิดขึ้น หาใช่อวัยวะรู้สึกอารมณ์นั้นๆ ไม่ ตถตา ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณ์ของตัวมันเอง ฉะนั้นมันจึงสามารถให้กำเนิดแก่วิตก ปราศจากตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์และอารมณ์นั้นๆ ย่อมสลายลงทันที เพราะเหตุที่คุณลักษณะของตถตาต่างหากที่ทำให้เกิดแก่วิตก ฉะนั้นอวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ของเราไม่จำเป็นต้องด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไปด้วย ในทุกๆ เหตุการณ์แม้มันจะเป็นหน้าที่ใน การดู การฟัง การสัมผัส การรู้ ก็ตาม และตัวภาวะแท้ของเราก็อาจยัง "แสดงตัวเองให้ปรากฏได้" ทุกเวลา"
เมื่อ ตถตา ขยับตัวด้วยสื่อสัมผัสใดๆ มากระทบโดยอาศัยช่องทางตา หู จมมูก ลิ้น กาย ใจ ก่อให้เกิด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์ ตัวการแท้จึงอยู่ที่ ตถตา มิได้อยู่ที่อวัยวะใดๆ หากปราศจาก ตถตา ก็เสมือนหนึ่งเวลาเรานอนหลับสนิท ควรมีแสดงอาการอย่างไรก็ไม่มีปฏิกริยาโต้ตอบ หรือ คนจีนที่ไม่รู้จักภาษาไทยแต่กลับถูกด่าด้วยภาษาไทยย่อมฟังไม่รู้เรื่องจึงไม่เกิดการโต้ตอบและมีอารมณ์โมโห

ตัวอย่างเด็กทารกที่ยังไม่รู้ความ ใครจะด่าว่าอย่างไร อาการโต้ตอบก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมญาณ ยังมิได้เรียนรู้เป็นสัญญาขันธ์ว่า นั่นคือ คำหยาบคาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอารมณ์โกรธ
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเอาไว้โดยชี้ให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งว่า
"พระสูตรจึงกล่าวว่า ผู้ที่คล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการเพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้ จักเป็นผู้ที่ตั้งอยู่อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนใน ธรรมอันเอก"
เพราะฉะนั้นการรักษาความเป็นหนึ่งของสภาวะจิตย่อมไม่มีการเปรียบเทียบจึงไม่เกิดทุกข์
แต่เมื่อใดมีสอง เมื่อนั้นความทุกข์ย่อมเข้าครอบงำทันที

หมดแล้ว!!

ขอบคุณ ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=21

2089
ตอนที่ 41.... หลงข้ามภพข้ามชาติ

      ความไม่รู้จัก "ธรรมญาณ" ของตนเองก่อให้เกิดความหลงอย่างร้ายแรงกลายเป็นอวิชชาสร้างภพสร้างชาติวนเวียน เกิด-ตาย ไม่สิ้นสุด
ตัวเร่งที่ก่อให้เกิดความหลงนั้นคือ ตัณหาความทะยานอยากไม่ว่าจะเป็นความสุข ความดี ความดัง ความรวย ล้วนเป็นตัวที่ทำให้ "จิต" ของคนหลงวนเวียนติดยึดอยู่กับสิ่งเหล่านี้และเป็นปัจจัยทำให้มี "อาการเกิด" ไม่สิ้นสุด
ผู้ฝึกนั่งสมาธิพอนิ่งสงบเกิดความสุขล้วนติดยึดกับความสุขนั้นและเพราะเกิดความอยากเห็นสวรรค์ นิพพาน นรก จิตจึงเนรมิตให้ตนเองได้พานพบ แต่เพราะขาดปัญญาญาณพิจารณาโดยสัจธรรมจึงหลงคิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน
ตัวอุปาทานความติดยึดจึงสำแดงเดช ยึดเอาสวรรค์นิพพานเป็นที่หมาย พอเกิดทุกข์นั่งหลับตาไปนิพพาน หนีความทุกข์ได้ทุกครั้งไป
      ความหลงเช่นนี้ไม่มีใครสามารถแกะออกมาได้เลย ถ้ามิได้ใช้ปัญญาของตนพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรม
เหตุใดคนเหล่านี้จึงมิได้ใช้ปัญญา เพราะอุปาทานบดบังปัญญาเสียสิ้น
      ปัญญาจึงไม่อาจแยกแยะให้เห็นชัดในเหตุปัจจัยทั้งปวงที่จิตได้ก่อขึ้นด้วยความหลงผิด เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่ติดยึดในมิจฉาสมาธิล้วนเป็นผู้ที่ได้สั่งสมเอาไว้แล้วในชาติปางก่อน กลายเป็นจริตที่ติดจิตญาณมาจนแกะไม่ออก
ชาติที่แล้วก็นั่งหลับตาภาวนาเป็นฤาษี
ชาตินี้เกิดมาก็ยังคงนั่งหลับตาภาวนาเป็นผู้ถือศีล
ปฏิบัติอย่างนี้ชาติแล้วชาติเล่าหาได้ไปถึงไหนไม่ เพราะไม่อาจค้นพบจุดกำเนิดที่เป็นต้นเหตุแห่งการเกิดได้เลย เพราะฉะนั้นจึง เกิด-ตาย ไปเรื่อยๆ
แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสิ่งที่ไม่เกิด เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการตาย การค้นพบเช่นนี้มิได้แต่เฉพาะการใช้ปัญญาญาณเท่านั้น
 
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ว่า
"อาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคน สอนศิษย์ของตนเองให้เฝ้าระวังจิตของตนให้นิ่งเงียบ ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียทีเดียว เมื่อเป็นดังนั้น พวกศิษย์ก็พากันเลิกถอนการระดมกำลังจิตเสียสิ้นเชิง คนหลงผิดเหล่านี้พากันฟั่นเฟือน เนื่องจากมีความเชื่อถือในคำแนะนำนั้นเกินไป"
ความหมายแห่งพระวจนะนี้น่าจะชัดเจนว่าการกำหนดให้จิตของตนนิ่งเงียบปราศจากความเคลื่อนไหวนับเป็นหนทางแห่งความหลงผิดโดยแท้เพราะตัวการของจิตคือ "ธรรมญาณ" มิได้มีหน้าที่ใช้ปัญญาซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้เกิดประโยชน์เลย เพราะไม่อาจหยั่งรู้ได้ถึงความเคลื่อนไหวของ "จิต" ว่าดีหรือชั่ว มีกิเลสหรือไม่มี
กำลังของจิตญาณคือ การใช้ความคิดซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติและเราเรียกกันว่าปัญญาโดยตัวของมันเองแล้วมีพลานุภาพที่สามารถตัดขาดจากกิเลสทั้งปวงได้
แต่เพราะมันถูกบังคับให้อยู่นิ่งๆ มันจึงไร้อานุภาพโดยสิ้นเชิงเหมือนถูกกักขังเอาไว้
      สภาวะดั้งเดิมของ "ธรรมญาณ" มีความเงียบสงบอยู่แล้วแต่การขยับตัวของธรรมญาณ จึงกลายเป็น "จิต" ที่เกิดความคิดอ่านในขณะเดียวกันคุณลักษณะของธรรมญาณ คือมีปัญญาแยกแยะ แต่สภาวะแห่งจิตนั้นกระสับกระส่ายวิ่งวนมิอยู่นิ่ง การบังคับให้ต้องอยู่นิ่งๆ จึงเป็นการหลงคิดว่าเป็นความว่าง แท้ที่จริงมิใช่ความว่างตามธรรมชาติแห่ง "ธรรมญาณ"
เมื่อ "จิต" อยู่นิ่งไม่เป็น ความคิดฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้นและสามารถสร้างสรรค์ไปทั้งในทางดีและร้ายได้เสมอกัน
เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสเกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเวียนว่ายไม่สิ้นสุดว่า........

ความไม่รู้เป็นเหตุให้เกิด ความคิดปรุงแต่ง
ความคิดปรุงแต่งจึงเป็นเหตุให้เกิด วิญญาณความรับรู้
วิญญาณความรับรู้จึงเป็นเหตุให้เกิดนามรูป
นามรูปจึงเป็นต้นเหคุให้เกิด อายตนะหก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะหกจึงเป็นเหตุให้เกิดสัมผัส
เมื่อสัมผัสแล้วจึงเป็นเหตุให้เกิด อารมณ์
อารมณ์จึงเป็นเหตุให้เกิดความอยากและตัณหา
ตัณหาจึงเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน
อุปาทานจึงเป็นเหตุให้เกิดภพ
ภพจึงเป็นเหตุให้มีความเกิดคือชาติ
เมื่อมีการเกิด จึงเป็นเหตุให้ แก่
แก่แล้วจึงถึงซึ่งความตาย
      เมื่อความตายมาถึงจึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์โศก เสียใจ และเพราะเสียใจคับแค้นใจจึงกลายเป็น "ความไม่รู้" และเริ่มต้นเวียนวนไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นทะเลทุกข์ที่ท่องกันไปชาติแล้วชาติเล่า

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ท่านจึงกล่าวเตือนไว้ว่า
"ความหลงผิดเช่นนี้มิได้เกิดขึ้นนานๆ ครั้ง แต่มีอยู่ทั่วไปและมีมานานแล้ว และจึงถือเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงที่สอนให้ผู้อื่นระวังจิตของตนให้นิ่งเงียบ"


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=21

2090
ตอนที่ 40.... หลอกตัวเอง

      การนั่งสมาธิอาจนำไปสู่การหลอกตัวเองได้ง่ายๆ แต่ถอนออกจากอุปาทานคือการยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งที่จิตตนเองสร้างเอาไว้นั้นเป็นเรื่องยากที่สุด
ฤาษีจึงหลงติดอยู่ในญาณสมาบัติจนสำเร็จขึ้นไปเป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหม นับเป็นแสนกัลป์ ครั้งเสื่อมจากญาณก็ต้องจุติตกลงมาเกิดกายในภูมิวิถีหก ชาติกำเนิดสี่อีกเช่นกัน
      สมัยที่พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนเข้าฌาณกับพระอาจารย์สององค์คือ อุทกดาบส และอาฬารดาบส จึงทรงรู้ได้ด้วยปัญญาของพระองค์ว่ามิใช่หนทางแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดอย่างแท้จริง พระพุทธองค์จึงทรงละวิธีนั้นเสียโดยปฏิเสธคำเชิญชวนของอาจารย์ทั้งสองให้รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนสมาธิ ฌาณสมาบัติ
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงทรงบัญญัติและปฏิบัติสัมมาสมาธิ ซึ่งย่อมมีภาวะแตกต่างไปจากมิจฉาสมาธิอย่างแน่นอน หากเป็นอย่างเดียวกันไหนเลยจักต้องลำบากค้นหาหนทางสายกลางและบัญญัติออกมาเป็นมรรคมีองค์ 8 เล่า
หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ "ธรรมญาณ" แล้วพระองค์มิได้นั่งสมาธิเฉกเช่นฤาษีอีกต่อไปคือพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะการนั่งเข้าญาณสมาบัติ ย่อมไม่อาจมีคำสอนใดๆ ถ่ายทอดมาสู่ชนรุ่นหลังได้เลย แต่ตลอดระยะเวลา 47 พรรษา พระพุทธองค์เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ มีเวลาพักผ่อนวันละไม่เกินสามชั่วโมง
ใน "วิมลกีรตินิเทศสูตร" ได้กล่าวเอาไว้ตอนที่พระสารีบุตรนั่งเงียบๆ ท่านวิมลกีรติกล่าวว่า
      "เมื่อกล่าวถึงการนั่งเงียบๆ แล้วมันควรจะหมายถึงว่าเขาไม่เกิดในโลกทั้งสามอีกต่อไป มันควรจะหมายถึงว่าขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น เขาก็สามารถทำการเคลื่อนไหวต่างๆ ทางกายได้เช่น การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ มันควรจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องหันเหออกจากทางแห่งบัญญัติ เขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทางวิสัยโลกได้มันควรหมายถึงว่า เขาคอยอยู่ข้างในก็หามิได้ ข้างนอกก็หามิได้ มันควรจะหมายถึงว่า เขาบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการอยู่ โดยปราศจากความหวั่นไหวด้วยอำนาจของมิจฉาทิฏฐิ มันควรจะหมายถึงว่าโดยไม่ต้องมีการทำลายล้างกิเลสอีกต่อไป เขาก็สามารถเข้าถึงนิพพาน       ผู้ที่นั่งได้เช่นนี้แหละจะได้รับความรับรองจากพระพุทธเจ้า"
ถ้อยความในพระสูตรนี้ ยืนยันได้ว่า การนั่งเงียบๆ โดยไม่ไหวติงแม้ในจิตของตนเองนั้นเป็นการนั่งเงียบแบบก้อนหิน
แต่การนั่งสมาธิอย่างที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ สภาวะแห่งจิตยังมีโอกาสเกิดในสามภพอีกกล่าวคือ ยังมีความรู้สึกติดอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ
อารมณ์ของกามภพคือ รัก-เกลียด โกรธ-หลง
อารมณ์ของรูปภพคือ ติดอยู่ในรูปลักษณ์ทั้ง รูปธรรมและนามธรรม
อารมณ์ของรูปภพคือ ติดอยู่ในรูปของความว่างโดยไม่รู้ตัว
สมาธิอย่างที่รู้ตัวทั่วพร้อมตั้งมั่นรับรู้ผัสสะทั้งปวง สามารถตัดอารมณ์ที่มากระทบได้ทันทีที่บังเกิดขึ้นนั่นแหละ เป็น สัมมาสมาธิ

      ส่วนการนั่งหลับตาทำสมาธิอย่างที่นิยมกัน มักมีภาพนิมิตให้หลงใหลจนกลายเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง และน่าเสียหายนักผู้ที่ติดไม่รู้ตัวว่าได้ติดร่างแหแห่งความงมงายไปเสียแล้ว มีผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งพื้นฐานทางโลกจบปริญญาเอก อาชีพเป็นอาจารย์ บรรยายวิชาการในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ท่านชอบนั่งสมาธิจนกระทั่งฝึกถอดจิตได้เห็นกายเนื้อของตนเองนั่งหลับตาเหมือนท่อนเนื้อ ภรรยาสุดที่รักของท่านเสียชีวิตด้วยโรคร้าย
      ท่านมีความรักและผูกพันกับภรรยามากแต่ท่านก็สามารถแก้ไขปัญหาความคิดถึงด้วยการถอดจิตไปคุยกับภรรยาบ่อยๆ นับเป็นเดือนเป็นปี
ปัญหาที่สงสัยกันคือ ท่านอาจารย์ผู้นี้พบกับวิญญาณของภรรยาจริงๆ หรือไม่
คำตอบนี้น่าจะเป็นการแก้ข้อสงสัยได้ดีที่สุดคือ ทุกชีวิตที่พ้นไปจากกายสังขารนี้แล้วย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่ง ถ้าเป็นกุศลปัจจัยก็ไปสู่สุขคติ
ถ้าเหตุเป็นอกุศลก็ไปสู่ทุกขสติ ถ้าวิญญาณภรรยาผู้นี้ยังคงมาคุยกับสามีอยู่เสมอๆ เธอก็ไม่ตกอยู่ในกฎแห่งการเวียนว่าย และอีกเรื่องหนึ่งน่าเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการนั่งสมาธิถอดจิตนั้นมีผลเป็นอย่างไร
ชายหนุ่มคนหนึ่งมีความรักต่อภรรยาของตนอย่างสุดซึ้ง แต่ภรรยากำลังป่วยหนักใกล้ตาย จึงขอคำมั่นสัญญาจากสามีว่า ชาตินี้จะเป็นเธอคนเดียวตลอดชีวิต แม้ชีวิตเธอจะหาไม่แล้วก็จักไม่แต่งงานใหม่ ถ้าผิดสัญญาเธอจะมาอาละวาด
เมื่อชายหนุ่มสูญสิ้นภรรยาไปแล้ว เขาก็รักษาคำมั่นสัญญาไม่ข้องแวะกับสตรีใดเลย จวบจนเวลาล่วงเลยไปหนึ่งปี ชายผู้นี้จึงพบกับหญิงสาวสวยรายใหม่ จิตใจของชายผู้นี้หวั่นไหว และเห็นว่าภรรยาตายไปนานแล้วจึงจัดการมั่นหมาย
      ครั้นตกกลางคืน ผีภรรยาจึงมาปรากฏแล้วต่อว่าต่อขานอย่างรุนแรงจนสามีหมดปัญญาไม่ว่าจะแก้ตัวอย่างไร ผีภรรยาก็ไล่ต้อนจนมุมได้ทุกทีไปทั้งๆ ที่สมัยเป็นคนไม่มีสติปัญญาเอาเสียเลย ชายหนุ่มจนหนทางได้แต่ตรอมตรมใจผ่ายผอม เพราะผีภรรยามารบกวนอยู่ทุกคืน จนกระทั่งญาติพี่น้องต้องพาไปหาหลวงพ่อซึ่งบำเพ็ญปฏิบัติอยู่บนภูเขา หลังจากหลวงพ่อซักไซร้ไล่เลียงกันแล้วจึงมอบถั่วเหลืองให้หนึ่งทะนานแล้วสั่งว่า
"คืนนี้เมื่อผีมาก็ให้ถามว่าเจ้าเป็นผีรู้ทุกอย่างใช่ไหมแล้วจงกำถั่วเหลืองให้ผีเมียเจ้าทาย แล้วเจ้าก็จะรู้อะไรเป็นอะไร"
ครั้นตกกลางคืนผีภรรยาก็มาตามเคย สามีก็ยกย่องถึงความฉลาดของผีและถามว่า
"เธอรู้ทุกอย่างใช่ไหม"
"อ๋อ แน่นอน ตอนกลางวันพี่ขึ้นไปหาหลวงพ่อ น้องก็รู้"
"ถ้ายังงั้นเธอลองทายซิว่า ในกำมือของพี่มีถั่วเหลืองกี่เม็ด"
      ผีงงงันตอบไม่ถูกและทันใดนั้นก็หายวับไปกับตาซึ่งเป็นช่วงจังหวะเดียวกันที่ดวงตาของชายหนุ่มทอแสงเจิดจรัส เพราะเข้าใจชัดเจนว่าแท้ที่จริง ผี ที่มาหาทุกคืนก็คือสิ่งที่จิตสร้างเอาไว้หลอกตัวเอง
บางสำนักขยันถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้ายังแดนนิพพานและโด่งดังถึงขนาดยกขบวนญาติโยมขึ้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันทีเดียว
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ไม่เป็นปัญหา แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ไปเฝ้าใครกันแน่ พระพุทธะ หรือ พระยามาร
ครั้งที่พระพุทธศาสนาล่วงมาแล้ว 200 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์แห่งชมพูทวีปมีพระราชศรัทธาสร้างพระสถูปเจดีย์แปดหมื่นสี่พันองค์ แต่กริ่งเกรงว่าพระยามาร วสวัตตี จักมารังควานจึงทรงปรึกษากับพระเถระทั้งปวงว่าควรป้องกันอย่างไรดี
      พระเถระมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรไปนิมนต์พระกีสนาอุปคุตเถระซึ่งตามพุทธพยากรณ์ได้กล่าวเอาไว้ว่า
"ภายหน้าจักมีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าอุปคุตเถระ จักปราบพระยามารให้ละพยศ พ่ายแพ้แล้วจะกล่าวปฏิญาณปรารถนาพุทธภูมิ"
      ครั้งพระยามารวสวัตตีลงมากลั่นแกล้งในกองบุญครั้งนี้จึงต่อสู้กับพระอุปคุตด้วยสามารถจนพ่ายแพ้ถูกพระอุปคุตใช้ประคตวิเศษผูกพระยามารไว้กับภูเขาลูกหนึ่งจนสิ้นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน พระยามารร่ำรำพันด้วยความคับแค้นใจจนประกาศก้องว่า
"หากบุญกุศลที่สั่งสมไว้ ในเบื้องหน้าจักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกนี้ ขอถึงซึ่งการเป็นพระพุทธเจ้า อันจักได้เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งปวง"
      พระอุปคุตเถระได้ยินดังนี้จึงแก้มัดและขอให้พระยามารนิรมิตกายเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อชมบุญ "ถ้าข้าพเจ้านิรมิตแล้วพระคุณเจ้าอย่าได้ไหว้เพราะจักเป็นบาปแก่ข้าพเจ้า"
ครั้นพระยามารแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้า พระอุปคุตเถาระยังก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ถวายสักการะบูชา
เพราะฉะนั้นการถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอาจหลงไปเฝ้าพระยามาร
      การเห็นรูปลักษณ์ทั้งปวงจึงมิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์แต่กลายเป็นทุกข์หนัก เพราะจิตหลอกลวงตัวเองโดยไม่รู้ตัว จึงเปรียบเป็นการทำลายชะตาชีวิตอย่างน่าเสียดายนัก เมื่อจิตมีความยินดีปรารถนาเสียแล้วย่อมถอนออกจากความโง่เง่าได้ยากนัก
ใครก็ตามบำเพ็ญธรรมแล้วตกอยู่ในภาวะแห่งการหลอกลวงตัวเองจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าใจนัก เพราะเขายึดถืออาการหลอกลวงนั้นด้วยความมั่นคงตราบชั่วชีวิตทีเดียว

2091
ตอนที่ 39.... สมาธิที่ถูกวิธี

      วิธีทำสมาธิย่อมมีทั้งวิธีที่ถูกและผิด แต่เพราะมิได้นำมาพิจารณาแยกแยะให้ชัดเจน จึงไม่รู้ว่าวิธีใดถูกและผิด ขอแต่เพียงเป็นสมาธิก็เหมาเอาว่าเป็นของพระพุทธองค์และยินดีรับมาปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเพราะหลงปฏิบัติผิดไปนานแสนนานก็ไม่รู้ตัวกลายเป็นการยึดมั่นและถือมั่นเป็น
อัตตาตัวตนเหมือนกับสำนวนที่ว่า "สมาธิข้าใครอย่าแตะ"

      ถ้ามีใครมาบอกว่าการนั่งสมาธิของตนเองผิด ความไม่พอใจก็เกิดขึ้นและพาลหาว่าคนเหล่านั้นกระทำการเหมือนคนนอกศาสนาไปโน่น
สมัยที่ฝึกหัดนั่งสมาธิอัตตาก็แค่ตัวคนเดียว เล็กนิดเดียวแต่เผอิญนั่งไปนานๆ เข้าเกิดนิมิตเห็นเป็นพระพุทธรูป ขยายให้ใหญ่เต็มท้องฟ้าหรือเล็กนิเดียวเท่าเมล็ดงาก็ทำได้  เมื่อรูปนิมิตขยายใหญ่เท่าไร อัตตาของคนเห็นก็ใหญ่ขึ้นเท่านั้น ความหลงก็เกิดขึ้นจนประมาณขอบเขตของความหลงนั้นมิได้ ยิ่งมีคนมาบำเพ็ญปฏิบัติด้วยมากเท่าไร อัตตาของตนเองก็ขยายออกไปมากเท่านั้น คนหลงเป็นล้านกับคนหลงหนึ่งคนต่างก็มีค่าเป็นความหลงเช่นเดียวกัน
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวเอาไว้ว่า
"การบำเพ็ญ "สมาธิที่ถูกวิธี" นั้นได้แก่การให้เป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาสไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน วิมลกีรตินิเทศสูตร มีข้อความว่า
"ความเป็นผู้ตรงแน่วนั่นแหละคือ เมืองอริยะ แดนบริสุทธิ์"
"เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้ใจคดเคี้ยวไปมา และอย่าประพฤติความตรงแน่วเพียงลมฝีปาก"
"เราต้องบำเพ็ญให้ตรงแน่วจริงๆ และไม่ผูกพันตัวเองไว้กับสิ่งใดๆ คนมี่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชา ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงไปตามธรรมลักษณะฉะนั้นเขาจึงรั้นที่จะแปลเอาตามชอบใจของตัวเอง"
      พระวจนะของท่านฮุ่ยเหนิงได้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า สมาธิที่ถูกวิธีนั้นมิใช่เป็นการนั่งแต่เป็นการคุมจิตให้มีพฤติกรรมออกมาอย่างตรงต่อสัจธรรมในทุกอริยาบถ คนที่นั่งนิ่งๆ ไม่ไหวติงมิอาจกล่าวได้ว่าจิตใจตรงแน่วต่อสัจธรรมเฉกเช่นเดียวกับคนที่ปากบอกว่าตรงต่อสัจธรรมก็ไม่อาจประเมินว่าเป็นคนตรงแน่วจริงแท้ ความตรงแน่วจึงไม่อาจตัดสินกันได้ด้วยวาจาหรือการกระทำด้วยอาการของร่างกายเท่านั้น แต่ความตรงแน่วย่อมต้องเป็นผู้ที่รู้ถึงความเคลื่อนไหวของจิตที่ผลิตออกมาจากธรรมญาณ สติ จึงเป็นตัวคุมที่ดีที่สุด
      แต่การนั่งหลับตาจนมองเห็นพุทธรูปหรือดอกบัวตลอดจนเห็นวิมานชั้นสวรรค์ย่อมเป็นอาการของคนหลงซึ่งไม่ต่างไปจากคนในโลกนี้ที่เดินเที่ยวตามศูนย์การค้าและเพลิดเพลินกับสินค้าที่ตัวเองเกิดจิตปรารถนามองทุกครังที่เป็นศูนย์การค้านั้น ปุถุชนจึงชอบที่ประกาศความตรงแน่วของตนเองทุกเวลาเพื่อยืนยันให้ผู้มีปัญญารู้ว่า ตนเองนั้นมิได้มีความตรงแน่วแต่ประการใดเลย

ส่วนผู้ที่บำเพ็ญปฏิบัติที่แท้จริงและมีปัญญา จักเกิดความเข้าใจได้ว่า ความตรงแน่วตามหลักสัจธรรมนั้นไม่สามารถประกาศออกมาได้ด้วยวาจา แต่เกิดขึ้นจากจิตที่รู้จักธรรมญาณของตนเองเท่านั้น บุคคลเหล่านี้จึงเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยจิตใจและสำนึกถึงความผิดของตนเองบ่อยครั้งจนกลายเป็นหลักปฏิบัติของตนเองไป
แต่คนที่ปฏิบัติตามความตรงแน่วด้วยรูปลักษณ์หรือด้วยวาจาย่อมพิจารณาทุกสิ่งอย่างตามสภาพแห่งความหลอกลวงที่ตนเองหลงเข้าไปติดยึดว่าถูกต้อง
คนที่หลงตกอยู่ในอวิชชาคือความไม่รู้อันแท้จริงนั้นย่อมแปลความหมายแห่งการปฏิบัติธรรมของตนไปตามที่ได้พบเห็นและยึดถือว่าถูกถ้วน
บางท่านแปลการทำสมาธิต้องนั่งนิ่ง ภาวนาถ้อยคำเพื่อให้จิตนั้นสงบนิ่ง
      ครั้งจิตสงบนิ่งแต่ได้สร้างภาพมายามากมาย ครั้นพบภาพที่สวยงามพึงใจ จิตจึงติดยึดไม่ปล่อยวาง จึงตีความว่าวิธีการบำเพ็ญของตนเองนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว มีความสงบ มีความสบาย อย่างชนิดที่ไม่เคยได้พบมาก่อนเลยเพราะฉะนั้นจึงยึดมั่นถือมั่นและเห็นเป็น "ธรรมลักษณะ" ที่ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์สั่งสอน ความหลงเช่นนี้ยากที่จะมีใครไปถอนให้ได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"ในการแปลคำว่า "สมาธิที่ถูกวิธี" จึงพากันแปลว่านั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ยอมให้ความคิดอันใด อันหนึ่งเกิดขึ้นในจิตการแปลความหมายเช่นนี้เป็นการจัดตัวเราเองลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับวัตถุที่ไร้ชีวิตวิญญาณทั้งหลายและกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง ซึ่งเราสมควรทำให้เปิดโล่งอยู่เสมอ ถ้าทำใจของเราให้พ้นไปจากการข้องแวะในสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งได้แล้ว ทางนั้นก็จะเตียนโล่งถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็ได้ชื่อว่า ขังตัวเราเอง
ถ้าหากแปลคำว่านั่งอย่างเงียบติดต่อกันไปเป็นคำแปลที่ถูกต้องแล้วทำไมในคราวหนึ่งท่านสารีบุตรจึงถูกท่านวิมลกีรติขนาบเอาเนื่องจากนั่งเงียบๆ ในป่านั่นเอง"
      การนั่งเงียบๆ จึงไม่ผิดอะไรกับก้อนหิน ท่อนไม้ที่ตายแล้วเพราะวัตถุเหล่านี้ก็นั่งเงียบๆ เหมือนกัน และถ้าจิตที่มีสติคอยควบคุมให้อยู่ในอาการของการตื่นตัวและรู้เท่าทันกิเลสทั้งปวงที่ผ่านเข้ามาทุกวินาที และกำหราบกิเลสเหล่านั้นลงไปได้ สมาธิเช่นนี้ต่างหากจึงเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์โดยแท้

2092
ตอนที่ 38.... หลงสุขจึงไม่เห็นทุกข์

      ทางแห่งความหลงมีหลายแยกแต่ละทางแยกยังมีทางแยกออกไปอีกหลายสาย จนคนหลงทางมองไม่เห็นถึงความหลงนั้นและเดินไปด้วยคิดว่าเป็นหนทางแห่งความถูกต้องเพราะตรงกับจริตของตนเอง ทางเช่นนี้จึงสมควรเรียกว่า "ทางแห่งอวิชชา" เพราะเป็นความไม่รู้ที่แท้จริง กล่าวคือไม่รู้ว่าตนเองยังหลงอยู่ สมาธิที่ทำให้ผู้ลุ่มหลงทั้งหลายต้องจ่ายเงินตราให้แก่ผู้แสวงหาลาภสรรเสริญมากมายจนกลายเป็น "สมาธิพาณิชย์" ที่ทำกำไรมหาศาลยิ่งกว่ากิจการค้าใดๆ ในโลกนี้
มีหลวงพ่อองค์หนึ่งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เข้าฌาณสมาบัติถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้แล้วยังพาผู้อื่นขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ ได้อีกด้วยจึงกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมีผู้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ มากมาย เงินทองจึงเดินสะพัด
      "โยมเงินทองมิได้ช่วยให้ไปถึงนิพพาน ใส่ไว้ทำไมให้จิตใจลุ่มหลงมัวเมา ผู้ที่ถอดได้คือ ผู้ที่ตัดได้ จึงได้ชื่อเป็นผู้ละวางความลุ่มหลงลงไปได้ เอ้าถอดสายสร้อย แหวน ใส่ลงไปในบาตรของอาตมาแล้วจะปลุกเสกให้กลายเป็น อริยะทรัพย์ฝากไว้ในพระพุทธศาสนา"
ญาติโยมฟังจนเพลินและไพเราะหนักหนาต่างพากันถอดทรัพย์สินใส่ลงไปในบาตรทั้งหมด โดยหวังว่าเมื่อปลดระวางทรัพย์ทั้งหลายลงไปแล้วจิตใจจักได้เบาสบายและสามารถเกาะจีวรหลวงพ่อขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์ได้   ญาติโยมถอดแก้วแหวนเงินทอง แต่หลวงพ่อกลับไปติดที่โบสถ์สวยงามดังวิมานบนชั้นฟ้า ทั้งหลวงพ่อและโยมจึงกลายเป็นผู้ติดความสุขไปโดยไม่รู้ตัว

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"สำหรับบุคคลที่ลิ้นของเขาพูดได้ไพเราะ แต่ใจของเขาไม่สะอาดสมาธิและปัญญาไม่มีประโยชน์อะไรแก่เขา เพราะสมาธิและปัญญาของเขาไม่มีทางสมดุลย์หรือสัมพันธ์กันได้เลย ส่วนอีกทางหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามคือถ้าดีทั้งใจและดีทั้งถ้อยคำที่พูดทั้งกริยาอาการภายนอกกับความรู้สึกในใจประสานกลมกลืนกันแล้วนั่นแหละ คือกรณีสมาธิและปัญญาได้สัมพันธ์กันอย่างสมดุลย์"
ความหมายแห่งพระวจนะนี้ได้ชี้ให้เห็นความเป็นจริงที่ชัดเจนว่า
สมาธิและปัญญา แม้เป็นของอย่างเดียวกัน แต่การสำแดงออกมาถ้าปราศจากสมาธิควบคุม ก็อวดอ้างว่าตนเองสำเร็จบรรลุธรรมพ้นไปจาก โลภ โกรธ หลง แล้ว เขาเหล่านี้จึงกลายเป็น โมฆะบุรุษ คือ ผู้มาเปล่าและกลับไปเปล่านั่นเอง

ส่วนผู้ที่สามารถทำให้ภายนอกและภายในจิตใจของตนเองมีความสมดุลย์กัน เพราะ สติ เป็นกำลังสำคัญ สมาธิจึงสำแดงปัญญาออกมาต่อสัจธรรมแห่งธรรมญาณซึ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่แล้วตามธรรมชาติ  แม้ผู้นั้นบรรลุถึง ธรรมญาณเดิม ของตนแล้วจึงมิใช่ผู้ที่จะมาอวดอ้างยกตนเหนือผู้อื่นว่า พ้นไปแล้วจากโลกียกรรมทั้งปวง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงให้อรรถาธิบายว่า
"การโต้แย้งจึงไม่เกิดขึ้นแก่นักศึกษาผู้ที่มีความสว่างไสวแล้ว แต่ถ้ายังโต้แย้งถกเถียงกันว่า ปัญญาเกิดก่อน หรือสมาธิเกิดก่อนนั่นแหละ  จะทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับคนที่ถูกอวิชชาครอบงำเพราะการเถียงกันย่อมหมายถึงความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะย่อมเสริมกำลังให้แก่ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน และย่อมผูกพันเราไว้กับความยึดถือ ด้วยความสำคัญว่าตัวตนว่าสัตว์ ว่าชีวะ ว่าบุคคล"
เพราะเหตุนี้เองใครที่อวดอ้างว่าตัวเองสำเร็จธรรม และเห็นผู้อื่นไม่สำเร็จธรรม คนผู้นั้นจึงเป็นผู้โง่เขลาที่แท้จริง และแบ่งแยกดูถูกคนทั้งปวง
"อรหันต์" ตั้งตัว และลูกศิษย์ตั้ง จึงกลายเป็น "อรหันต์จับฉ่าย" ไปด้วยประการเช่นนี้ เพราะทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างยังตกอยู่ในวังวนของ "อวิชชา"

ความไม่รู้ของผู้สนใจศึกษาธรรมะและหลงติดใน สมาธิจึงไม่รู้ถึงความเป็นจริงระหว่างสมาธิกับปัญญาว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด

      พระสังฆปริณายกฮุ่ยเหนิงได้เปรียบเทียบเอาไว้อย่างน่าสนใจและชัดเจนว่า
"สมาธิและปัญญานั้น ควรเปรียบเทียบกับอะไรดีเล่า ธรรมะ สองชื่อนี้ควรเปรียบกับตะเกียงและแสงของมันเอง มีตะเกียง ก็มีแสงไม่มีตะเกียง มันก็มืด ตะเกียงนั่นแหละคือตัวการแท้ของแสงสว่างและแสงสว่างเป็นแต่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียงโดยชื่อฟังดูเป็นสองอย่างแต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นของอย่างเดียว และเป็นทั้งของอย่างเดียวกันด้วย กรณีเช่นนี้แหละเปรียบได้กับ สมาธิปัญญา"

ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิจึงตกอยู่ในภาวะสองอย่าง คือ หลงติดกับตัวตะเกียงหรือแสงสว่างของตะเกียง ถ้าเฝ้าดูเพลิดเพลินไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเป็นผู้ติด  ธรรมดาเมื่อตะเกียงจุดแสงสว่างย่อมนำไปใช้ประโยชน์เพื่อส่องทางแต่บัดนี้บรรดาผู้ปฏิบัติสมาธิขั้นหลงลมอาจารย์หรือหลงสมาธิต่างมีความสุขเพลิดเพลินไปกับแสงสว่างบ้าง ความนิ่งบ้าง จนลืมความทุกข์ที่แท้จริงของชีวิตอันเป็นวิบากกรรมที่ตนเองสร้างเอาไว้
คนหลงเหล่านี้เชื่อว่าการพ้นหนี้เวรกรรมของตน ใช้สมาธิเป็นหนทางหนีรอดได้ ถ้าความสุขทำได้ง่ายเช่นนี้ กฎแห่งกรรมก็มิใช่สัจธรรมอีกต่อไป
ทำร้ายชีวิตอื่นอย่างทารุณก็สามารถนั่งสมาธิหนีหนี้ได้สบายมากจริงไหม

2093
จิตล่วงเกินพ่อแม่
[youtube=425,350]HtfWrzfw9oE[/youtube]

2094
ตอนที่ 37.... นั่งเฝ้าก้อนเนื้อ

      พุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ดูเหมือนมีความเชื่ออย่างเด็ดขาดมั่นคงว่า วิธีบำเพ็ญให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงจนบรรลุมรรคผลนิพพานต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญคือ "นั่งสมาธิ" และยังเชื่อกันต่อไปว่า เป็นการปฏิบัติบูชาตามที่พระพุทธองค์สรรเสริญกิจกรรมสมาธิ จึงบานสะพรั่งเต็มเมืองไทย
วัดไหน อาจารย์ไหนไม่รู้เรื่องสมาธิ
วัดนั้นอาจารย์นั้นล้าหลังหาความเจริญรุ่งเรืองมิได้

      "สมาธิ" จึงกลายเป็น "พุทธพานิชย์" อีกแบบหนึ่งซึ่งสร้างความร่ำรวยให้แก่วัดและอาจารย์เหล่านั้นที่กำหนดรูปแบบสมาธิขึ้นมาแล้วยืนยันว่าเป็นวิธี ที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติและสั่งสอนสืบต่อกันมาและในที่สุดอาการ "งมงายสมาธิ" หรือ "สมาธิแบบงมงาย" จึงส่งผลให้ผู้ปฏิบัตินั้นยังเร่าร้อน ลุ่มหลง โทสจริต โมหคติ ยังแรงกล้า
ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิแบบงมงายจึงเต็มไปด้วยอาการยึดมั่นถือมั่นและก่อกรณีรุนแรงร้าวฉานขึ้นกับตัวเองและผู้อื่น

      ส่วนผู้ที่ปฏิบัติสมาธิแบบรู้แจ้ง จิตใจเบิกบาน ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงได้ ชีวิตดำเนินไปด้วยปัญญา ความสงบสันติในตัวเองและผู้อื่นจึงปรากฏขึ้น
สมาธิ จึงมีอยู่สองวิธี คือ "มิจฉาสมาธิ" เป็นสมาธิที่หลงงมงายไม่สามารถพาให้จิตญาณของตนพ้นเวียนว่ายตายเกิด แม้มีอิทธิฤทธิ์มากมายแค่ไหนก็ไม่อาจพ้นนรก
"สัมมาสมาธิ" เป็นสมาธิที่พาให้จิตญาณพ้นไปจากความหลงงมงาย และดำรงตนมั่นอยู่ในสัจธรรมอันเป็นผลมาจากปัญญาที่มีกำลังกล้าแข็งตัดความทุกข์ได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเอาไว้ในพระสูตร "ว่าด้วยสมาธิและปัญญา" ว่า
"ในระบบคำสอนของอาตมา สมาธิปัญญา นับเป็นหลักสำคัญแต่ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าใจผิดไปว่าธรรมะสองข้อนี้แยกจากกันเป็นอิสระ เพราะเหตุว่ามันเป็นของรวมอยู่ด้วยกัน แยกจากกันไม่ได้และมิใช่ของสองอย่าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความเป็นตัวของตัวเอง"
ความหมายแห่งคำสอนนี้ถ้าเอา "น้ำ" มาเปรียบเทียบจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น น้ำ มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเย็น และ “เหลว” เราไม่อาจแยก "เหลว" ออกจาก "น้ำ" ได้ ฉันใด สมาธิ และปัญญาก็แยกจากกันมิได้ฉันนั้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่า
"สมาธิ นั่นแหละคือ ตัวจริง ของปัญญา ในเมื่อปัญญาเป็นแต่เพียงอาการไหวตังของสมาธิ ในขณะที่เราได้ปัญญา สมาธิก็มีพร้อมอยู่ในนั้นแล้ว หรือกล่าวกลับกันว่า เมื่อมีสมาธิ เมื่อนั้นก็มีปัญญาดังนี้ก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจหลักดังนี้ก็แปลว่าท่านเข้าใจความสัมพันธ์อันมีส่วนเสมอกันระหว่างสมาธิกับปัญญา
ผู้ศึกษาไม่ควรไปคิดว่า มันมีอะไรแตกต่างกันระหว่างคำว่า "สมาธิทำให้เกิดปัญญา" กับคำว่า "ปัญญาทำให้เกิดสมาธิ" การถือว่าความเห็นแยกกันได้นั้นย่อมสำแดงว่ามันมีอะไรแตกต่างเด่นๆ รู้ถึงสองฝักสองฝ่ายในธรรมะนี้"

      พุทธศาสนิกชนที่ศึกษาสมาธิของพระพุทธศาสนาต่างมีความเชื่อว่า สมาธิ และ ปัญญา เป็นเรื่องที่แยกจากกันและเป็นคนละส่วนกันแต่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพราะเราเชื่อกันตามที่อรรถาจารย์ได้ตีความและแยกแยะออกมาว่า การปฏิบัติธรรมต้องมี "ศีล สมาธิ ปัญญา"
เพราะความเชื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดอาการงมงายกันคนละแบบ
บางสำนักบางอาจารย์ก็ เคร่งศีลนกลายเป็น "บ้าศีล"
บางสำนักบางอาจารย์ก็ เคร่งสมาธิจนกลายเป็น "สมาธิบ้า"
บางสำนัก บางอาจารย์ก็หลงไหลปัญญา จนกลายเป็น "ยโสโอหังมลังการ"
 
      "อาการบ้าศีล" มิได้มีแต่ในปัจจุบันสมัยเท่านั้น แม้แต่อดีตกาลคนบ้าศีลก็ปรากฏอยู่ทั่วไป คนเหล่านี้ไร้ปัญญาพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรม เมื่อสมาทานศีล "ปาณาติปาตา" เว้นจากการฆ่าสัตว์น้ำก็ดื่มไม่ได้เพราะในน้ำมีชีวิตสัตว์ อากาศมีเชื้อโรคหายใจเข้าไปก็ฆ่าเชื้อโรค ล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น คนบ้าศีล จึงอยู่ในโลกนี้ และตายไปความทุกข์ทรมาน

อาการ "สมาธิบ้า" นับว่าอันตรายที่สุด เพราะนั่งกันจนเพลิดเพลินหลอกหลอนตัวเองงว่าได้พบ สวรรค์วิมาน ระลึกชาติได้ พบพระพุทธองค์ขนาดได้นั่งฟังพระพุทธองค์เทศนาให้ฟังจนบรรลุมรรคผลนิพพาน  เมื่อสำเร็จเป็นอรหันต์จึงอยู่ในโลกนี้ไม่ได้ต้องตายภายใน 7 วัน คนบ้าสมาธิจึงพากันฆ่า ลูก ฆ่าเมีย และตัวเองตายตกนรกไป

      ส่วนคน "บ้าปัญญา" ก็ไม่อาจแยกแยะให้เห็นสัจธรรมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า ตามที่อาจารย์บอกเล่าและยึดแต่คำสอนของอาจารย์เป็นสรณะ คำสอนอื่นๆ ไร้สาระ
คนบ้าปัญญาไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่าง "ความรู้" กับ "ปัญญา" เพราะฉะนั้นจึงมีอาการน้ำล้นแก้ว ไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่นเลย
ความจริงแล้ว "สมาธิ" และ "ปัญญา" ถ้าเข้าใจความสมดุลย์ถูกต้องย่อมยังประโยชน์มหาศาลแก่มนุษย์ แต่เพราะความเข้าใจผิดชีวิตของผู้ปฏิบัติสมาธิจึงมีความมืดอยู่ในความสว่าง เพราะเราพากันนั่งเฝ้าก้อนเนื้อกันมานานแล้วนานแสนนานโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โภคผลใดๆ แก่ตัวเองและผู้อื่นเลย


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=19

2095
ตอนที่ 36.... เงินบังโพธิปัญญา

      มนุษย์ผู้หนาแน่นไปด้วยความหลงจึงเชื่อว่า เงินคือพระเจ้าที่สามรถดลบันดาลทุกสิ่งอย่างให้เราได้ เพราะฉะนั้นจึงพากันหลงหาเงินจนไม่มีเวลาแม้แต่จะรู้จักตัวเองสักนิดหนึ่ง ผู้หลงเงินจึงทุ่มทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาเงินตราโดยไม่เชื่อว่า เงินไม่อาจติดสินบนลดหย่อนโทษของตนในนรกได้เลย เงินยิ่งทำให้คนสร้างบาปเวรกรรมได้รวดเร็วและร้ายแรงจนประมาณไม่ได้

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เงินคืองูพิษ"
      แต่ทุกวันนี้ไม่มีใครเชื่อพระพุทธองค์ จึงทุ่มเทหาเงินเพื่อซื้อความสุข และเพิ่มพูนกิเลสจนกลายเป็นการทำร้ายตัวเองมากมาย และตกนรกหมกไหม้เพราะอำนาจของเงินตรานี่เอง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงประทานพระวจนะเอาไว้ในโศลกหนึ่งว่า
" ในวันหนึ่งๆ ที่ชีวิตล่วงไป เราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่เสมอ เพราะพุทธภาวะ ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน"
ความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เราได้รู้ว่าการปฏิบัติให้ถึงซึ่งพุทธภาวะนั้นมิได้อาศัยเงินตราเป็นผู้ดลบันดาลแต่ประการใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเงินตราล้วนแต่ถูกเงินตราหลอกล่อให้สูญเสียสภาวะแห่งความเป็นพุทธะกลายเป็น "อสุรกาย" เพราะเขาจักเป็นผู้ที่ทำบุญและมากไปด้วยอารมณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคนที่มีนิสัย ยโสโอหังมมังการ ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนโดยสิ้นเชิง บุญกริยาทั้งปวงจึงกลายเป็นอกุศลกรรม

      คนมีเงินมักทำบุญเพราะต้องการชื่อเสียง มีหน้ามีตาจึงเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัวและได้รับเสียงสอพลอจากผู้ที่นับถือเงินตราเป็นพระเจ้าเช่นเดียวกัน
ประการสำคัญผู้ที่มีเงินตราไม่ได้สำนึกว่า แท้ที่จริงแล้วเงินตราเหล่านี้ล้วนเป็นผลบุญที่ตนเองเคยสร้างมาเอาไว้ในอดีตชาติด้วยความนอบน้อมและศรัทธาแต่คนหลงเงินตรา จึงกลายเป็นศัตราวุธประหารความศรัทธา และความนอบน้อมไปจนหมดสิ้นเพราะเขาเชื่อว่า สวรรค์วิมานสามารถใช้เงินตราซื้อมาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้พ้นจากกองกิเลส อำนาจเงินตราดลบันดาลให้ได้  ผู้ที่ถูกอำนาจเงินตราครอบงำจึงเป็นเพียงผู้สร้างชื่อเสียงในหมู่คนเอาไว้เพียงชาตินี้เท่านั้น ชาติต่อไปจึงกลายเป็นผู้ยากจนเข็ญใจและโง่เขลาเบาปัญญา

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ในโศลกว่า
"โพธิปัญญานั้น หาพบได้ภายในใจของเราเอง และไม่มีความจำเป็นเสาะแสวงหาความจริงอันเด็ดขาดของสัจธรรมจากภายนอก"
สัจธรรมล้วนอยู่ในใจของเราทุกคน แต่คนที่เห็นแก่ตัวและละโมบในบุญ จึงเป็นผู้ที่พ้นไปจากหนทางแห่งสัจธรรม เพราะเขาไม่ชอบปฏิบัติจิตเพื่อชำระล้างคราบไคลแห่งความโลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเพียรพยายามฝืนความเคยชินของกายสังขารซึ่งต้องชำระล้างด้วยตนเอง ไม่อาจใช้ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นแทนได้เลย

      เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากราชสมบัติพระองค์ได้สลัดตัดทิ้งทรัพย์สินเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งปวงโดยสิ้นเชิงและเผชิญหน้าต่อความยากลำบากด้วยพระองค์เองเพื่อฝึกฝนกำหราบความเคยชินของความสุขสบายทั้งปวง ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงมีแต่กายสังขารที่ห่อหุ้มด้วยผ้าห่อศพและมีผืนดินโคลนต้นไม้เป็นที่อาศัยพักพิงจึงเป็นผู้ที่ยากจนเข็ญใจที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระองค์ประสงค์แสวงหาหนทางแห่งจิต มิได้ต้องการอาศัยหนทางแห่งกายสังขารเพื่อเสพสุข หนทางแห่งกายและจิต สวนทางกันเสมอ กายมีความสุขสบายจิตใจตกต่ำและลุ่มหลง
แต่จิตใจสูงส่งขึ้นเมื่อไร กายย่อมไม่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยปัจจัยต่างๆ อีกต่อไป

      เมื่อพระองค์ทรงค้นพบ "ธรรมญาณ" พระวรกายย่อมสดใสและพ้นไปจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง พระธรรมญาณ ควบคุมกายสังขาร
หนทางแห่งการบำเพ็ญของพระพุทธองค์จึงกล่าวได้ว่าพระองค์อาศัยพระวรกายบำเพ็ญเพื่อค้นหาหนทางแห่ง "ธรรมญาณ" แต่บรรดาผู้ที่หลงใหลต่อทรัพย์สินทั้งปวงล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในอำนาจของความโลภ ความหลง ความโกรธ อย่างเอกอุ เพราะปรนเปรอความสุขให้แก่กายจึงทำให้สภาวะแห่ง "พุทธะ" หายไปจาก ธรรมญาณ ความสุขสบายของกายจึงกลายเป็นอุปสรรคที่ไม่อาจค้นพบ "ธรรมญาณ" ได้เลย

      ในคัมภีร์ใบเบิลแห่งศาสนาคริสต์ ในมัดธาย บทที่ 24 ได้กล่าวเอาไว้ว่า
"ถ้าผู้ใดใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเองและรับกางเขนของคนแบกตามเรามา...ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด"
การเอาชนะตนเองจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝืนต่อความเคยชินของกายสังขาารโดยแท้ เพราะฉะนั้นตั้งแต่บรรพกาลมาแล้ว ผู้บำเพ็ญล้วนเป็นผู้ที่ต้องละทิ้งเครื่องผูกมัดของทรัพย์สินทั้งปวงจึงจักพบพุทธภาวะของตนเอง แต่การแสวงหาหนทางเช่นนี้ย่อมยากลำบากนัก ส่วนอาศัยเงินตราสร้างบุญ จึงเป็นเรื่องง่ายดายเพราะฉะนั้นผู้ที่แสวงหาแต่หนทางแห่งความง่าย  จึงหลงใหลต่อทรัพย์สมบัติทั้งปวงและเชื่อว่าการทำบุญด้วยเงินมหาศาลย่อมนำพาจิตญาณของตนเข้าสู่พุทธภูมิได้ ถ้าความจริงเป็นเช่นนี้ฟ้าดินย่อมไร้สัจธรรมเพราะคนรวยย่อมขึ้นสวรรค์ตลอดกาล คนจนย่อมตกนรกไม่สิ้นสุด :015:

2096
ตอนที่ 35.... บัวสีแดงเหนือตมสีดำ
 
      ผู้ปฏิบัติธรรมด้วยการหลับหูหลับตาย่อมมองไม่เห็นสัจธรรมมีแต่พบความผิดของผู้อื่นตลอดกาลแต่ไม่เคยค้นพบความผิดของตนเองจึงถือว่าเป็นผู้หลงทางอันแท้จริง
สมัยหนึ่งพระเยซูได้อัญเชิญมาตัดสินคดีความหญิงคบชู้นางหนึ่งซึ่งชาวบ้านได้มัดไว้กลางลานรอคำพิพากษาจากพระเยซู
เมื่อพระเยซูเสด็จมาถึงจึงตรัสแก่หมู่ชนเหล่านั้นว่า
"นางผู้นี้สมควรได้รับโทษทัณท์สถานหนักตามประเพณีโดยใช้หินขว้างจนตายไป แต่ขอถามหน่อยว่า ใครคิดว่าตนเองบริสุทธิ์ไม่มีความผิดบาปเลย จงหยิบหินก้อนแรกปาไปที่นางคนนี้เถิด"
 
พระวจนะเพียงเท่านี้ได้เปิดให้จิตใจของคนขณะนั้นได้รู้สำนึกทันทีว่าแท้ที่จริงเรามีผิดบาปด้วยกันทั้งนั้นต่างจึงถอยหนีไปไม่มีใครกล้าหยิบก้อนหินปาแม้แต่คนเดียว หญิงผู้นั้นจึงรอดตายไปด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้า

      สมัยนั้นการศึกษามิได้เจริญเช่นสมัยนี้ และพระเยซูได้รับการศึกษาไม่ว่าจะเป็นศิลปศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ แต่เหตุไฉนปัญญาของพระองค์จึงมีอานุภาพเช่นนี้ ถ้าไม่เป็นเพราะพระองค์ทรงได้รับศีลจุ่มจากนักบุญโยฮัน ณ แม่น้ำจอร์แดน ก็ยากที่จะหาคำอธิบายถึงปัญญาอันประเสริฐนี้ได้เลย
การได้รับศีลจุ่มในขณะนั้น พระเยซูได้เปล่งพระวาจาออกมาว่า
"ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เบิกกว้างขึ้น พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมารวดเร็วดั่งนกพิราบเข้ามาสถิตในพระองค์" พระผู้เป็นเจ้าก็คือ "ธรรมญาณ" ของตนเองและมีจุดกำเนิดมาแต่เบื้องบนซึ่งทุกคนมีเหมือนกันหมดและทรงอานุภาพเท่าเทียมกันเพียงแต่ว่าใครค้นพบความมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ของตนได้เท่านั้นเอง
ถ้าปัญญาอันเกรียงไกรนี้มีแต่เฉพาะพระเยซูเท่านั้น บรรดาชนทั้งปวงฟังพระวจนะจะไม่มีปัญญาแยกแยะได้เลยว่า ตนเองนี้ล้วนมีผิดบาปเฉกเช่นหญิงคบชู้รายนั้น ชนทั้งปวงก็ไม่สะเทือนใจและคิดว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ พระวจนะของพระเยซูย่อมไร้ความหมายอย่างแน่นอน

      ท่านฮุ่ยเหนิง พระธรรมาจารย์จึงกล่าวเอาไว้ในโศลกว่า
"ถ้าเรามีความเพียรรอคอยจนได้ไฟซึ่งเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน เมื่อนั้นบัวสีแดงอันเป็นพุทธภาวะก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ"
ความหมายแห่งพระวจนะนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าภาวะแห่งการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานจนกิเลสมีอยู่แล้วในทุกตัวตน ไม่ว่าผู้นั้นจักต่ำต้อยด้วยฐานะแห่งกายสังขารหรือปัญญาญาณเพียงแต่ว่า ผู้นั้นมีความเพียรพยายามขัดสีให้ กิเลส ทั้งปวงหลุดออกไปจากธรรมญาณก็สมารถใช้ปัญญาอันยิ่งยงได้เท่าเทียม เพราะต่างมีอยู่แล้วอย่างสมบูรณ์เท่ากัน

การขัดสีเพื่อให้กิเลสลดน้อยลงไปย่อมต้องอาศัยผู้อื่นเป็นสะพานเพื่อให้เห็นถึงความผิดบาปของตนเองอันเป็นความมืดบอดทางปัญญาเสมือนหนึ่งเมฆหมอกปิดบังความสว่างไสวของดวงอาทิตย์ ดังนั้นคำตักเตือนหรือแม้แต่คำตำหนิของผู้อื่นจึงเป็นประโยชน์มหาศาลในอันที่จะขจัดกิเลสของตนเอง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"สิ่งที่เป็นรสขมย่อมถูกใช้เป็นยาที่ดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหูนั้น คือคำเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง เพื่อแก้ไขความผิดให้กลับเป็นของถูก
เราย่อมได้สติปัญญา


      แต่การต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวเองไว้ เราได้แสดงความหมายแห่งความมีจิตผิดปกติออกมา"
คนในโลกนี้ต่างมีความต้องการเหมือนกันคือ คำสรรเสริญและเสียงตำหนิว่ากล่าวผู้อื่นเสมอ แต่ผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นหนทางแห่งการรู้แจ้งในธรรมญาณย่อมต้องปฏิบัติตรงข้ามกับปุถุชนคือความยินดีในเสียงตำหนิตนเอง และเสียงสรรเสริญผู้อื่น
เสียงตำหนิว่ากล่าวผู้อื่นย่อมเป็นเฉกเช่น ยาชำระล้างความสกปรกภายในจิตญาณ แต่เสียงยกย่องเป็นเช่นยาพิษ เพราะทำให้กลายเป็นผู้ที่ยะโสโอหังได้ง่ายที่สุด เห็นตนเองอยู่ในฐานะเหนือกว่าผู้อื่นจึงกลายเป็นผู้หลงทางอย่างแท้จริง เมื่อมีผู้มาชี้ให้เห็นความผิดเรามักป้องกันตัวด้วยการโต้ตอบด้วยอาการรุนแรงเกินปกติ เพราะฉะนั้นบรรดาชนที่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์ จึงพยายามประกาศความบริสุทธิ์และป้ายสีความสกปรกให้แก่ผู้อื่นเสามอไปเขาเหล่านี้จึงเป็นเช่นคนผิดปกติ ซึ่งมีอยู่มากมายในสังคมทุกวันนี้ เพราะไม่เคยชำระล้างความสกปรกเลอะเทอะของตนเอง แต่กลับนำเอาความสกปรกเหล่านั้นไปป้ายให้ผู้อื่น

      พระพุทธองค์ได้ประทานพระวจนะอันยิ่งใหญ่ไว้ว่า
"ผู้ที่โทษเรา จึงเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์อันประเสริฐ"
ความผิดบาปที่เราหลงสร้างเอาไว้ล้วนเป็นการกระทำที่ไม่รู้ด้วยกันทั้งนั้น ถ้ารู้ก็เป็นความหลงที่คิดว่าเป็นคนดีและความถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงกระทำและสั่งสมผิดบาปเอาไว้มากมายโดยไม่เคยชำระล้าง  แต่เมื่อใดที่ได้น้อมฟังคำเตือนจากผู้อื่นแล้วนำมาพิจารณาด้วยตนเองปัญญาที่แยกแยะออกย่อมเป็นเสมือนหนึ่ง ดอกบัวสีแดงที่โผล่พ้นมาจากตมสีดำ นั่นเอง

2097
สาธุ นมัสการหลวงพี่ครับ
=======
กำลังศึกษาและเริ่มปฎิบัติในหลักธรรมครับ

2098
สาธุ :054: ขออนุโมทนาต่อหลักธรรมขอรับ

2099
ตอนที่ 34.... ความเป็นธรรม

      มนุษย์มีความเสมอภาคกันด้วยดวงธรรมญาณเพราะเวลาทิ้งกายสังขารไม่ว่ารวยล้นฟ้าก็มได้เขียนเช็คติดมือไปเลย ยาจกเห็นใจตายก็มิได้ถือกะลาติดมือไปด้วยต่างต้องลงไปตัดสินความดี ความชั่ว กันในนรกเยี่ยงเดียวกัน
แต่มนุษย์มาเหยียดหยามแบ่งแยกชนชั้นกันด้วยสิ่งจอมปลอมนอกกายทั้งสิ้น
ใครมีเงินมากกว่าถือว่าดีกว่า
ใครมีความรู้มากถือว่าเก่งกว่า
      ความรู้ในโลกมิอาจช่วยให้ตัวเองพ้นไปจากนรกได้เลย เพราะฉะนั้นความรู้จึงเป็นเพียงสัญญาที่หลงมัวติดยึดเอามาแบ่งแยกเหยียดหยามกันเท่านั้นเอง
ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจึงมองเห็นทุกคนเสมอกันโดยมีทุกข์ร่วมกันเพราะฉะนั้นจึงมีเมตตาต่อกันได้และความเป็นธรรมที่แท้จริงปรากฎขึ้น
     
          พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวโศลกเอาไว้ว่า
"สำหรับหลักของความเป็นธรรมนั้น ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ต่ำต้อยยืนเคียงข้างอาศัยซึ่งกันและกันได้ในยามคับขัน"
เมื่อถึงภาวะที่ไม่อาจช่วยตัวเองได้เพราะตกอยู่ในภัยพิบัติ ความรู้สึกของการแบ่งแยกเหยียดหยามย่อมมลายไปเพราะต่างปรารถนาหาหนทางรอดพ้นจากความตายเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้บำเพ็ญปฏิบัติที่รู้ความเป็นจริงแห่งสัจธรรมย่อมไม่แบ่งแยกชนชั้น แต่บรรดาผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ด้วยสำคัญตนว่าเป็นผู้ที่เหนือกว่าชนทั้งหลายล้วนแต่ไม่เคยปฏิบัติความเป็นธรรมให้เป็นจริงขึ้นมาได้เลย
ผู้ที่รู้ธรรมญาณเท่านั้นจึงเห็นมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน

      สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งญาณไปพบหญิงชราผู้ยากจนอยู่ในกระท่อมใกล้ถึงกาล มรณะแล้ว พระพุทธองค์ทรงเมตตาจึงเสด็จไปหน้ากระท่อมของหญิงชราแล้วตรัสว่า
"เธอจงทำบุญกับตถาคตแล้วสุคติจักเป็นที่หมาย"
"ข้าพระองค์ยากจนเข็ญใจนักไม่มีสิ่งใดจักถวายแด่พระสมณะได้เลย"
"เธอมีน้ำมิใช่หรือ จึงตักน้ำใส่บาตรตถาคตเถิด"

      หญิงชรานั้นมีความศรัทธาปสาทะในกุศลผลบุญครั้งนี้ยิ่งนักเมื่อตักน้ำถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ถึงกาลมรณะจึงได้ไปบังเกิดเป็นเทพธิดาบนสรวงสวรรค์
พระพุทธองค์ทรงยืนเคียงข้างเวไนยสัตว์ด้วยเมตตาพร้อมฉุดช่วยให้พ้นไปจากอบายภูมิ แต่บัดนี้การบำเพ็ญของเหล่าศากยบุตรล้วนผิดแผกและหลงติดอยู่ในความจอมปลอมของนอกกายทั้งสิ้น ใครเป็นเศรษฐีมีโอกาสได้ใกล้ชิดส่วนคนยากจนเข็ญใจไม่มีโอกาสได้รับเมตตาเลย เพราะฉะนั้นนับวันศาสนาก็กลายเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งที่เรียกร้องต้องการเงินมากกว่าการแจกจ่ายพระธรรมคำสอนเพื่อให้ชนทั้งปวงพ้นทุกข์
บางวัดจึงตั้งเป้าของการหาเงินเข้าวัดเป็นร้อยล้านพันล้านเพียงเพื่อเสริมสร้างฐานะยกย่องตนเองอยู่สูงส่งจนขาดความเป็นธรรม เพราะมิได้ยืนอยู่เคียงข้างศาสนิกชนอีกต่อไป แต่ยืนเคียงข้างคนรวยเพียงพวกเดียวเท่านั้น
เพราะฉะนั้นการเผยแพร่ศาสนาบางแห่งจึงขาดความปรารถนาดีต่อศาสนิกชนของตน เลือกที่รักมักที่ชังจนเห็นกันชัดเจน

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวโศลกว่า
"สำหรับหลักแห่งการปรารถนาดีต่อกันผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโสต้องสมัครสมานกัน"
ในวงการของผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีผู้อาวุโสและอ่อนอาวุโสซึ่งในทางธรรมย่อมไม่เพ่งเล็งที่อายุแต่อาศัยการเป็นผู้ปฏิบัติก่อนรู้ก่อนย่อมเป็นผู้อาวุโส
และทั้งสองฝ่ายสามารถสมัครสมานกันด้วยคุณธรรมของทั้งสองฝ่ายคือ อาวุโส ต้องเมตตาต่อผู้อ่อนอาวุโส
ส่วนผู้อ่อนอาวุโสต้องอ่อนน้อมถ่อมตนและเคารพผู้อาวุโสการสมัครสมานจึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติให้เป็นจริงได้
และทั้งสองฝ่ายย่อมต้องอดทนซึ่งกันและกัน

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"สำหรับหลักของขันติ เราไม่ให้มีการทะเลาะกัน แม้อยู่ท่ามกลางของหมู่ศัตรูอั้นกักขฬะ"
      ในหมู่ของผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งยังไม่พบธรรมญาณย่อมต้องอาศัยขันติคือ ความอดทนเป็นที่ตั้งแต่สำหรับผู้ที่พบธรรมญาณความอดทนย่อมเป็นสิ่งว่างเปล่าเพราะเขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็น อนัตตา       แม้ตัวตนของตนก็ว่างเปล่าเพราะฉะนั้นแม้ตกอยู่ท่ามกลางศัตรูอันหยาบช้านักปฏิบัติธรรมก็ไม่จำเป็นต้องทะเลาะแบะแว้งกับใคร
      ผู้เข้าถึงธรรมญาณ สภาวะแห่งความเป็นฟ้าอันกว้างใหญ่หาขอบเขตมิได้ย่อมปรากฏขึ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทะเลาะกันกับใครเลย ดังคำกล่าวที่ว่า
"แม้เราแหงนหน้าด่าฟ้าอย่างไร ฟ้าก็มิเคยตอบโต้เลย"
แต่เมื่อใดความไม่เป็นธรรมปรากฏ เมื่อนั้น ลมพายุร้ายย่อมเป็นสาเหตุสำคัญของภัยพิบัติทั้งปวง เฉกเช่นเดียวกับจิตใจที่ปรวนแปรนั่นแล

2100
แม่ชีทศพร 067-คำพูดลูกทำร้ายพ่อ
[youtube=425,350]Rx2larB91WY[/youtube]

2101
ตอนที่ 33.... ไหว้พระในบ้าน

      ปุถุชนผู้หลงงมงายชอบไหว้แต่พระนอกบ้านด้วยความเคารพและคลั่งไคล้เพราะเชื่อว่าสามารถพึ่งพาความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระที่ไร้รูปลักษณ์แต่สมบูรณ์แบบด้วยนามธรรมแห่งความเป็น "พระ" โดยแท้จริง
"พระในบ้านสององค์คือใคร" ถาม
"พระพ่อกับพระแม่ ยังไง" ตอบ
      แม้พระพุทธองค์ก็ทรงยกย่องพ่อแม่ว่าเป็นพระอรหันต์ของลูกเพราะมีพระคุณล้นเหลือจนยากที่จะหาสิ่งใดมาทดแทนพระคุณอันหาขอบเขตที่สิ้นสุดมิได้เลย

แต่ปุถุชนมองข้ามความสำคัญของพ่อแม่เพราะไม่เห็นเป็นพระแต่เห็นเป็นคนเช่นเดียวกัน ปุถุชนจึงยึดถือรูปแบบมากกว่า นามธรรม เขาเหล่านั้นจึงเป็นคนอกตัญญู แต่กลับขยันไปไหว้พระและรับใช้พระนอกบ้านอย่างสุดหัวใจ ส่วนพระในบ้านกลับทอดทิ้งและดูถูกดูแคลน
ผู้ที่ปฏิบัติพระในบ้านเช่นนี้ แม้ไปไหว้พระนอกบ้านสักหมื่นแสนองค์ก็หาความเจริญรุ่งเรืองหรือปลอดภัยให้แก่ตนเองมิได้เลย
แต่ผู้ที่ปฏิบัติต่อพระในบ้านด้วยความเคารพสูงสุด เอาใจใส่ดูแลด้วยความจริงใจเขาย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญและเป็นสง่าราศรีแก่ตนเอง ชีวิตมีความปลอดภัย ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

      ในสมัยโบราณผู้ที่เป็นทหารออกศึกมิได้แขวนพระเครื่องแต่เอาผ้าถุงของแม่โพกหัวไป ปรากฏว่าปลอดภัยกลับมาทุกคนที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นคนที่กตัญญูต่อบิดามารดาของตนเอง ย่อมเป็นที่สรรเสริญของเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง แม้ไม่ต้องกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นพระองค์ก็อดไม่ได้ที่จะต้องอำนวยชัยให้พรและคุ้มครอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ในสมัยที่เป็นมนุษย์พระองค์มีความกตัญญูจึงย่อมสะเทือนถึงฟ้าดินสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงมีคำกล่าวว่า
"ผู้มีความกตัญญูอันแท้จริงแม้ไม่ปฏิบัติธรรมยังได้อริยะฐานะ"
ความกตัญญูจึงเป็นธรรมอันสูงสุดที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในครัวเรือน และความสันติสุขจักเกิดขึ้นในบ้านของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระองค์ใดมาปกปักรักษา

แท็กซี่คนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า
      วันหนึ่งตอนดึกแล้วรับผู้โดยสารเป็นวัยรุ่น 4 คนไปส่งในที่เปลี่ยวพอรถไปจอดส่งเท่านั้นแหละ วัยรุ่นคนหนึ่งก็สำแดงความชั่วร้ายออกมาทันทีโดยชักมีดปลายแหลมจี้เพื่อปลดทรัพย์สิน ขณะที่ตกใจกลัวอยู่นั้นก็ได้สติรำลึกถึงพ่อแม่ว่า
"คุณพ่อ คุณแม่ช่วยลูกด้วย"
สิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดทันที เพราะวัยรุ่นเหล่านั้นเดินลงจากรถไปโดยไม่แตะต้องทรัพย์สินหรือชีวิตของโซเฟอร์เลย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงได้ให้พระวจนะในเรื่องนี้ว่า
"สำหรับหลักแห่งการกตัญญูกตเวที เราจักเลี้ยงดูรับใช้ท่านอย่างฐานลูก"
ความหมายแห่งคำกล่าวนี้ลึกล้ำนัก ถ้าพิจารณาตามตัวอักษรหามีความหมายพิเศษแต่ประการใดไม่ แต่สมควรนำคำกล่าวของพระศาสดาแห่งศาสนาปราชญ์คือ ท่านขงจื๊อมาพิจารณากัน เพราะท่านได้กำหนดกฏเกณฑ์แห่งการกตัญญูเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนลึกซึ้งถึง 5 ข้อ
1. อยู่กับพ่อแม่หรือ พ่อแม่อยู่กับเรา ต้องให้ความเคารพ
2. เลี้ยงดูต้องให้ได้รับความสุข
3. เมื่อพ่อแม่ป่วยไข้ต้องห่วงใยกังวล
4. เมื่อพ่อแม่สิ้นไปต้องอาลัยโศกเศร้า
5. บูชาเซ่นไหว้ให้สมฐานะ
 
      คนสมัยนี้จิตใจตกต่ำเพราะความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาหลอกลวงจิตให้ใฝ่ต่ำจนเห็นพ่อแม่ของตนเองโง่กว่าเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่กับพ่อแม่หรือพ่อแม่อยู่ด้วย คนส่วนใหญ่ก็มิได้ให้ความเคารพ บางรายกลับใช้พ่อแม่เยี่ยงคนใช้ชั้นดี เพราะพ่อแม่แก่แล้วไม่มีทางไปไหน จึงให้เฝ้าบ้านจึงเลี้ยงลูกของตนเอง ทำครัว ซักเสื้อผ้า
คนที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่เช่นนี้ถือว่าขาดความเคารพอย่างแท้จริงและในที่สุดความตกต่ำเสื่อมทรามก็จะมาเยือนตนเอง
      สมัยโบราณมีฮ่องเต้พระองค์หนึ่งทรงนามว่าโจวอุ๋นอ๋อง พระองค์ได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่า ทรงบารมีคุณอันยิ่งใหญ่ ปกแผ่ถึงลูกหลานยาวนานถึง 837 ปี
พระจริยวัตรอันสำคัญยิ่งของพระองค์คือ ความกตัญญู จนได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ที่มีความกตัญญูอันยิ่งใหญ่
ทุกวันสามเวลา พระองค์ทรงเอาใจใส่ต่อพระบิดา พระมารดาสม่ำเสมอด้วยความเคารพและนอบน้อมจริงใจ
พระองค์สังเกตการเสวยพระกระยาหารของพระบิดามารดาจึงรู้ว่าสิ่งใดทรงโปรดเสวยหรือไม่ แม้เจ็บไข้ก็ทรงดูแลใกล้ชิดมิได้ห่างไกลเลย
"บารมีคุณนี้จึงได้รับการจารึกเอาไว้ชั่วกาลนาน"
 
      แต่คนสมัยนี้ พ่อแม่ รู้ว่าเราชอบกินอะไร แต่ถ้าถามกลับว่าพ่อแม่ของเราชอบกินอะไร คำตอบที่ได้ก็คือ "ไม่ทราบ"
กตัญญุตาธรรม จึงเป็นธรรมคู่กับมนุษย์โดยแท้จริง ใครไม่ปฏิบัติเขาจึงมีค่าต่ำกว่า สัตว์เดรัจฉาน เสียอีก


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=17

2102
ตอนที่ 32.... ถือศีลแต่ตกนรก
 
      ปุถุชนบำเพ็ญธรรมมักมีความเข้าใจผิดจึงปฏิบัติผิดๆ ต่อการรักษาศีลโดยเห็นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสมาทานขอศีลจากพระภิกษุสงฆ์จึงเกิดความบริสุทธิ์และเป็นบุญกุศล
บางรายขณะที่ตั้งจิตรับศีล ถ้าเห็นว่าข้อใดปฏิบัติมิได้ก็ไม่ยอมรับเพราะเห็นว่าการไม่รับแล้วไปปฏิบัติในสิ่งที่พระพุทธองค์ห้ามเอาไว้ไม่เป็นความผิด
ความจริงพระพุทธองค์บัญญัติศีลห้ามิได้กำหนดสิ่งใหม่นอกเหนือสัจธรรมเลย ศีลห้าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติของธรรมญาณ เพราะฉะนั้นใครจะรับ หรือไม่รับ ถ้าปฏิบัติผิดต่อสัจธรรมย่อมได้รับบาปเช่นเดียวกัน

      ท่านบรมปราชญ์ขงจื๊อกล่าวเอาไว้ว่า คุณธรรมสามัญของมนุษย์มีอยู่แล้วห้าประการคือ เมตตา มโนธรรม จริยธรรม ปัญญาธรรม และสัตยธรรม
ในกรณีที่เรานั่งรถไปข้างคนขับรถและหมาขี้เรือนวิ่งตัดหน้าเราจะรีบบอกคนขับทันทีว่า "อย่าทับ อย่าทับ"
วาจาที่เปล่งออกมาโดยตกใจลืมตัว จึงเป็นภาวะของธรรมญาณแท้ๆ ที่มีเมตตาอยู่แล้ว แต่หมาขี้เรื้อนตัวเดิมไปคาบไก่ที่บ้าน เราจะวิ่งไล่ตีเพราะอารมณ์โลภไก่ไปบิดบังเมตตาจนหมดสิ้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวโศลกเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นจริงในข้อนี้ว่า
"ผู้มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นสิ่งจำเป็น"
ความหมายประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีใจเยี่ยงเดียวกับฟ้าดินไม่จำเป็นต้องรักษาศีล เพราะใจเช่นนี้เป็นจิตใจที่มีเมตตาต้องการโอบอุ้มทุกชีวิตเอาไว้เช่นเดียวกับฟ้าและมีความอดทนยอมรับความไม่ดีทั้งปวงได้จึงเหมือนดิน เพราะฉะนั้นผู้มีใจตรงต่อธรรมชาติเดิมแท้ แม้ไม่เคยได้ยินศีลจากภิกษุองค์ใดเลย เขาย่อมไม่ปฏิบัติผิด

      แต่ผู้ที่เห็นศีลเป็นของนอกกายต้องรับจากผู้อื่น ขณะที่รับศีลมาต้องปฏิบัติเคร่งครัดอย่างยิ่งยวด แต่พอสิ้นเวลาของการสมทานจึงปล่อยตัวปล่อยกายกระทำความชั่วเต็มตามอารมณ์กิเลสสทั้งปวง
เพราะฉะนั้นถือศีลจึงมีโอกาสตกนรกได้มากกว่า สู้คนที่ไม่รู้จักศีลแต่ปฏิบัติต่อฟ้าดิน สัจธรรมด้วยความจริงใจมิได้
บางรายยังไม่ลงจากศาลาวัดก็แย่งกันนินทาหรือบางครั้งถึงขนาดตบตีหึงหวงกันวุ่นวายไปหมด บางรายหยาบคายร้ายกาจขาดสำรวม
ที่เป็นดังนี้เพราะเห็นศีลเป็นของนอกกาย ถือได้วางได้

      ศีลจึงมิได้เป็นเครื่องมือที่ขัดเกากิเลสทั้งปวง แต่กลับกลายเป็นเรื่องของการอวดถือเคร่งกว่ากันและกลายเป็นศีลอวดกันเท่านั้นเอง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในทางฌานมั่นมีมาเองแม้เราไม่ตั้งใจทำเพื่อให้ได้ฌาณ"

      ผู้ที่สามารถปฏิบัติได้ตรงแน่วย่อมต้องมีจิตใจตรงต่อสัจธรรมเสมอความสงบไม่หวั่นไหวของจิตจึงเกิดขึ้นได้ซึ่งโดยธรรมชาติเดิมแท้ของ "ธรรมญาณ" มีความสงบเป็นฌานอยู่ในตัวเองแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการบังควรที่หลับตาภาวนาเพื่อให้ได้ฌานเลย
ผู้ที่ปฏิบัติไม่ตรงต่อสัจธรรมจึงเป็นผู้ที่วุ่นวายสับสนหนความสงบได้ยาก เพราะความฟุ้งเฟ้อแห่งจิตที่วิ่งไปตามอายตนะทั้งหกไม่หยุดหย่อน
ผู้ที่ไม่พบธรรมญาณ จึงถูกหลอกลวงด้วยอำนาจจิตของตนเองโดยไม่รู้ตัว เพราะเขาประพฤติปฏิบัติแบบลวงโลกและยึดถือสิ่งลวงเป็นสิ่งจริง
อำนาจจิตสามารถ สร้างรูปมากมายโดยที่ตนเองหารู้ไม่ว่ารูปเหล่านั้นเป็นมายากลับยึดถือเอาไว้และการแสดงออกย่อมผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติแท้ของธรรมญาณ

      การปฏิบัติที่ตรงต่ออารมณ์ความชอบของตนเองย่อมเบี่ยงเบนไปจากสัจธรรม
ความคิดจึงเป็นอย่างหนึ่ง
การกระทำจึงเป็นไปอีกอย่างหนึ่งไม่ตรงต่อความคิด
วาจากลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง
      ถ้าใครที่มีภาวะเป็นเช่นนี้ความสับสนและความทุกข์ย่อมครอบงำธรรมญาณ จนห่างไกลไปจากหลักของสัจธรรมตกไปสู่วัฏจักร์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
คำกล่าวของพระอริยเจ้า เหลาจื๊อ แสดงให้ประจักษ์ชัดมานานนับเป็นพันๆ ปีว่า
"ธรรมแท้ ไม่อาจกล่าวออกมาเป็นวาจาได้ ที่กล่าวออกมาจึงมิใช่ธรรมะ"

      การแสดงออกทั้งปวงที่ที่ปรุงแต่งออกมาจากจิตจึงผิดเพี้ยนไปจากธรรมะเพราะฉะนั้นฌาน ตามธรรมชาติของธรรมญาณ จึงไม่อาจปรากฏออกมาได้
ญาณ ที่กำหนดขึ้นด้วยจิตของตนเอง ย่อมผิดแผกไปจาก ฌานที่มีอยู่แล้วในธรรมญาณ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติบำเพ็ญที่กำหนดญาณด้วยแรงภาวนาของตนเองจึงเป็น ฌาน เกิดขึ้นได้และเสื่อมได้เช่นกัน เพราะเป็นฌาน ที่กำหนดด้วยรูปแบบจึงมิใช่ของจริงตามสัจธรรม
ศีลและฌาน จึงมีอยู่แล้วตามธรรมชาติของธรรมญาณ เพียงแต่ค้นพบธรรมญาณของตน ทุกสิ่งอย่างก็จักบริบูรณ์ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้วมิใช่หรือ

2103
ตอนที่ 31.... บำเพ็ญในครัวเรือน

      การบำเพ็ญธรรมที่ติดอยู่ในรูปแบบได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและปฏิบัติผิดกันมานจนกลายเป็นวิถีชีวิตสองแบบกล่าวคือ ผู้บำเพ็ญธรรมต้องบวชและอยู่ในอารามเฉพาะส่วนแยกออกจากชาวบ้านอย่างหนึ่งกับชีวิตชาวบ้านที่อาศัยคำสอนของนักบวชเหล่านั้นมาปฏิบัติซึ่งก็เชื่อกันว่าวิถีชีวิตของปุถุชนเต็มไปด้วยบาปไม่มีทางพ้นจากนรก อีกอย่างหนึ่ง
      วิถีชีวิตในครัวเรือนเป็นเรื่องของชาวโลกีย์เพราะฉะนั้นครัวเรือนจึงเป็นเสมือนหนึ่งสะพานทอดเดินไปสู่นรกสถานเดียว
ชาวพุทธจึงเชื่อว่าผู้ครองเรือนไม่อาจบำเพ็ญธรรมได้
 
ความเชื่อเช่นนี้เป็นมิจฉาทิฐิคือ ความเห็นผิดโดยแท้ เพราะธรรมะมิใช่ของนอกตัว แต่มีอยู่ในตัวทุกคน

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้วว่า
"ผู้ใดอยากบำเพ็ญธรรมหรือปฏิบัติทางจิต จะทำอยู่ที่บ้านก็ได้ไม่จำเป็นต้องมาอยู่ในสังฆาราม พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น อาจเปรียบได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญส่วนพวกที่อยู่ในสังฆารามแต่ละเลยปฏิบัติธรรมก็ไม่แตกต่างอะไรกับชาวบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตกแต่ใจบาป เพราะฉะนั้นไม่ว่า จักอยู่ที่ใด ถ้าจิตบริสุทธิ์ ณ ที่นั้นก็เป็นแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก ซึ่งหมายถึง ธรรมญาณ ของบุคคลนั้นเอง"

      ความหมายแห่งวจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงย่อมเป็นที่สอดรับกับความเป็นจริงว่า การปฏิบัติบำเพ็ญธรรมมิได้อยู่ที่รูปแบบและสถานที่
เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ มาถึงแม่น้ำอโนมาก็เพียงเปลื้องเครื่องทรงของงกษัตริย์ออกและตัดพระเมาฬีและนำผ้าห่อศพมาพันพระวรกายและมุ่งหน้าหาความรู้เพื่อพ้นจากทะเลทุกข์
การดำรงชีพของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ บัดนี้ไม่ต่างอะไรกับขอทานปราศจจากเครื่องอำนวยความสะดวกและผู้คนทั้งปวง
เหตุไฉนจึงต้องทรงปฏิบัติเช่นนี้ เพราะเป็นไปตามกาลกำหนดของเบื้องบนและความผันแปรของธรรมกาลซึ่งแบ่งออกเป็นสามยุค
ยุคแรก เป็นยุคเขียว ผู้บำเพ็ญปฏิบัติคือ ฮ่องเต้ ซึ่งได้ชื่อว่าโอรสสวรรค์
ยุคสอง เป็นยุคแดง ผู้บำเพ็ญปฏิบัติคือ อริยะบุคคล ซึ่งได้ชื่อว่า ปราชญ์ เมธี
ยุคสาม เป็นยุคขาว ผู้บำเพ็ญปฏิบัติคือ สาธุชน ซึ่งได้ชื่อว่า นักธรรม
 
      พระพุทธองค์ทรงมีพระภารกิจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อนำพาเวไนยสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นไปจากทะเลทุกข์ ในครั้งนั้นสังคมของชมพูทวีปยังแบ่งแยกออกเป็นวรรณะชั้นแตกต่างกันไม่ยอมมีสังคมร่วมกันคือ กษัตริย์ พราหมณ์ ไวทยะ ศูทร และ วรรณะ ที่ต่ำสุดอันเกิดจากกาารผสมข้ามวรรณะกันก็ได้ลูกออกมาเป็นจัณณฑาลจึงเป็นความจำเป็นที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดรูปแบบใหม่ให้ทุกวรรณะสามารถหลอมละลายกลายเป็นชนชั้นเดียวกันได้
รูปแบบนักบวชของพระพุทธองค์ทรงมีความหมายเช่นนี้มิได้มีไว้เพื่อติดยึดแต่ประการใด

      แต่ในชั้นหลังต่างไม่เข้าใจความมุ่งหมายแต่กลับกลายเป็นรูปแบบที่ยึดและเชื่อกันว่าการสำเร็จธรรมต้องอยู่ในรูปแบบของนักบวช
และสัจธรรมก็แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์พยานว่า แม้อยู่ในรูปแบบของนักบวชแต่ไม่ปฏิบัติบำเพ็ญยังต้องจรลีลงนรกโลกันต์มากมายสุดคณานับ
ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า
"พวกเราทั้งลายที่เป็นคฤหัสควรฝึกอย่างไร เมื่ออยู่ที่บ้านจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ" ครั้งนั้นพรระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า
"อาตมาจะสอนโศลกว่าด้วยนิรรูปให้สักหมวดหนึ่ง ถ้าท่านทั้งปวงเก็บเอาไปศึกษาและนำข้อความเหล่านี้ออกมาปฏิบัติแล้ว ก็จักเป็นเช่นเดียวกับพวกที่อาศัยอยู่กับอาตมาเนืองนิจเหมือนกันในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ปฏิบัติท่านก็หาความเจริญทางจิตไม่ได้ แม้ว่าท่านจะโกนหัวสละบ้านเรือนออกแสวงหาบุญ"
      เมื่อการบำเพ็ญธรรมติดอยู่ที่รูปแบบมมิได้ค้นคว้าสนใจปฏิบัติที่จิตความฟั่นเฟือนผิดเพี้ยนจึงเกิดขึ้นมากมาย เพราะรูปแบบมิได้อยู่ที่การมองเห็นจับต้องได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่รูปแบบที่จิตสร้างขึ้นยังมีอีกมากมายจนประมาณมิได้
ผู้บำเพ็ญปฏิบัติจึงเดินผิดหนทางไปตามที่อาจารย์ต่างๆ ได้กำหนดแบบและเหมาเอาว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้
นักบวชฉลาดแต่งตัวประหลาดกว่าคนอื่นๆ ก็กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์จึงแห่แหนกันไปกราบไหว้บูชา
นักบวชแสดงวัตรปฏิบัติเคร่งแต่รูป ส่วนจิตใจสกปรกคนก็แห่แหนกันไปกราบกราน
 
      อาการผิดเพี้ยนทางพระพุทธศาสนาปรากฏขันธ์มากมายจนหนทางแห่งการพ้นทุกข์ก็ลบเลือนไป มีแต่หนทางสร้างลาภยศสรรเสริญกันสถานเดียว
เพราะมิได้ปฏิบัติกันที่จิตอันถูกต้องนักบวชจึงหันมาเอาแบบอย่างของฆราวาสจนศาสนาได้เหลือแต่เพียงรูปแบบ กลายเป็นพุทธพาณิชย์สร้างความร่ำรวยและกิเลสกองท่วมทับพุทธศาสนิกชน
การบำเพ็ญธรรมจึงต้องหันมาที่ตัวเองและในครัวเรือน

2104
ตอนที่ 30.... แสงแห่งพระพุทธะ

      มนุษย์ปุถุชนซึ่งถูกกิเลสครอบงำ "ธรรมญาณ" อย่างหนาแน่นจึงไม่อาจพบแสงแห่งพระพุทธะได้ บุคคลเหล่านี้จึงมีแต่ศรัทธาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก
เมื่อเห็นสิ่งใดที่ตัวเองปฏิบัติไม่ได้ แต่ผู้อื่นกระได้จึงพากันกราบไหว้อ้อนวอนให้ผู้นั้นปกปักรักษา เขาจึงกลายเป็นผู้สูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไปโดยสิ้นเชิง

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน สาธุคุณจิม โจนส์ เจ้าลัทธิวิปริตแห่งสหรัฐอเมริกา เผลแพร่วันสิ้นสุดของโลกจนได้สาวกมากมายและกำหนดหมายให้สาวกทั้งปวงฆ่าตัวตาย เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าปรากฏว่ามีผู้ยอมฆ่าตัวตายหลายพันคน
      ความหลงที่ปิดบัง "ธรรมญาณ" แห่งตนได้ก่อให้เกิดการกระทำที่น่าหัวเราะเยาะมากมาย เช่น ผู้คนพากันเช่ารถบัสมุ่งหน้าไปที่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคใต้เพราะข่าวเล่าลือว่าหมาออกลูกเป็นคนต่างจึงกราบไหว้บูชาเพียงเพื่อขอเลขแทงหวย ทั้งๆ ที่ลูกหมานี้พิการมีสองขาหน้าแบนๆ และตายแล้ว
      ข่าวเช่นนี้ปรากฏขึ้นบ่อย บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หมูออกลูกเป็นหมาหรือเป็นช้าง ต้นไม้แปลกประหลาดพิสดาร ล้วนเครื่องชี้ให้เห็นว่าความหลงมิได้เหือดแห้งไปจากโลกนี้
แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่นับถือตัวเองชนิดหลงใหลในความดีงามหรือความสามารถที่เหนือผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างไปจากผู้หลงสิ่งอื่นเช่นกัน
เขาเหล่านั้นจักสร้างบาปเวรกรรมอย่างประมาณมิได้
มีแต่ผู้พบ "ธรรมญาณ" เท่านั้นจึงมีความเสมอภาคเพราะเห็นผู้อื่นมีทุกอย่างเหมือนตนเอง

      พระพุทธองค์ทรงยืนยันถึงความเสมอภาคของเวไนยสัตว์ว่ามิได้มีอะไรแตกต่างกันเลย เพราะแต่เดิมมา "ธรรมญาณ" มีแหล่งกำเนิดที่เดียวกันแลมีสภาวะ คุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ พระอริยเจ้ากล่าวว่า
"วางมีดลงจึงเป็นพระพุทธะ"

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงให้คำอธิบายเกี่ยวกับ "ความรู้แจ้ง" เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
"ภายในธรรมญาณย่อมมีองค์ตถาคตแห่งความตรัสรู้ซึ่งสามารถส่องแสงอันแรงกล้าออกมาทำความสว่างที่ประตูภายนอกทั้งหกประตูและควบคุมมันให้บริสุทธิ์"
พระวจนะนี้มีความหมายว่าทุกคนมีความสามารถรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง ควบคุมความเคลื่อนไหวแห่งจิตมิให้เกิดกิเลสคือความสกปรกมาทำลายความบริสุทธิ์แห่งพุทธจิต

ประตูทั้งหกซึ่งเปรียบเสมือนมหาโจรคือ ตา หู จมูก ปาก กาย และจิต ซึ่งเป็นหนทางพาให้ความโลภ โกรธ หลง ไหลวนเวียนเข้าไปในธรรมญาณจนกลายเป็นคนหลง

อายตนะทั้งหกประการนี้ล้วนเป็นต้นกำเนิดก่อให้เกิดอารมณ์สามระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด แล้วแต่อำนาจการปรุงแต่งของจิตญาณที่สั่งสมเอาไว้มากมาย ทั้งปัจจุบันชาติและอดีตชาติ

จิตที่ปรุงแต่งอารมณ์ทั้งปวงและสั่งสมจนกลายเป็นอนุสัยนอนเนืองอยู่ในขันธสันดานได้กลายเป็นวาสนาบารมีติดตามไปชาติแล้วชาติเล่าแม้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว วาสนาบารมีก็ติดตามมา เช่น พระสารีบุตร

      ครั้งหนึ่งมีเศรษฐีท่านหนึ่งเกิดจิตศรัทธาใคร่ถวายผ้าจีวรสามผืนแด่พระสารีบุตร จึงนิมนต์ให้พระสารีบุตรไปรับประเคนที่บ้านของตนระหว่างทางต้องข้ามท้องร่อง พระสารีบุตรกระโดดข้ามด้วยความว่องไวเศรษฐีรู้สึกขัดใจจึงคิดว่า สมณะรูปนี้ไม่สำรวมเลย
"เราจักถวายผ้าเพียงสองผืนเท่านั้น" เศรษฐีคิดในใจ

      เมื่อเดินทางผ่านท้องร่องที่สอง พระสารีบุตรก็ยังคงกระโดดข้ามอีก เศรษฐีจึงกำหนดหมายว่าจักถวายผ้าเพียงผืนเดียวเท่านั้น
แต่พอผ่านมาถึงท้องร่องที่สาม พระสารีบุตรไม่กระโดดข้ามกลับเดินอ้อมไปอย่างสำรวม เศรษฐีจึงถามด้วยความแคลงใจว่า
"ทำไมท้องร่องนี้พระคุณเจ้าจึงไม่กระโดดเล่า ขอรับ"
"อ้าว ถ้าอาตมากระโดดข้ามท้องร่องนี้โยมก็ไม่ได้ถวายผ้า แน่ะซี"

      พระสารีบุตรในอดีตชาติได้ถือกำเนิดเป็นวานรเพราะฉะนั้นนิสัยกระโดดโลดเต้นจึงติดตัวมา แม้ในปัจจุบันชาติสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วยังไม่อาจตัดวาสนาแห่งวานรได้อย่างหมดจด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงแสงแห่งการตรัสรู้ว่า
"แสงนี้แรงมากพอที่จะผ่านสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้งหก และเมื่อมันย้อนกลับเข้าไปภายในธรรมญาณมันจะกลับธาตุอันเป็นพิษทั้งสามประการให้หมดไปและชำระล้างบาปที่ทำให้ตกนรกหรืออบายภูมิและทำความสว่างไสวให้เกิดขึ้นแก่เราภายใน ภายนอก จนกระทั่งไม่มีอะไรแตกต่างจากพวกที่เกิดในแดนบริสุทธิ์ ทางทิศตะวันตก แต่ถ้าไม่ฝึกตัวเสียแล้วเราจักบรรลุถึงแดนบริสุทธิ์นั้นได้อย่างไร"

      ความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวไว้เช่นนี้เพราะการรู้แจ้งธรรมญาณแห่งตนเปรียบประดุจดังการตรัสรู้ และตัดการเวียนว่ายตายเกิดหกช่องทางได้เด็ดขาด แม้พิษร้ายสามประการอันได้แก่ โลภ โกรธ หลง ก็ขจัดให้หมดสิ้น
การเกิดในแดนบริสุทธิ์ทิศตะวันตกนั้นได้กำหนดหมายเอาไว้ว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธเกษตร แต่พระธรรมาจารย์ได้ชี้ให้เห็นว่า แท้ที่จริงถ้าไม่พบธรรมญาณของตนเอง มณฑลแห่งจิตของตนเองก็มืดมิดมิใช่พุทธเกษตร ให้กราบไหว้พระพุทธเจ้ากี่แสนพระองค์ก็ไม่อาจพบพุทธภูมิ
พิษร้ายสามประการและการเวียนว่ายทาง หู ตา จมูก ปาก สะดือ และกระหม่อม จึงเป็นหนทางหลงซึ่งไม่มีผู้วิเศษใดสามารถดลบันดาลให้พ้นไปได้เลย


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=15

2105
แม่ชีทศพร 075 แว่วเสียงกรรม
[youtube=425,350]iGrwzAKSRV4[/youtube]

2106
อ้างถึง
การที่จะเข้ามาศึกษาอบรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ก็ควรจะทำความเห็นได้ถูกตรงและทำศีลให้บริสุทธิ์เป็นพื้นฐานขึ้นมาเสียก่อน

2107
ตอนที่ 29.... มนุษย์นคร
 
      ความว่างก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ถ้าปราศจากความว่างเสียแล้วสรรพสิ่งมิอาจถือกำเนิดขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ดาวน้อยใหญ่ในจักรวาลนี้ล้วนมีความว่างเป็นปัจจัยสำคัญ จึงกำเนิดขึ้นมาและดำรงอยู่ได้
ธรรมญาณของมนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกัน เพราะมีความว่างจึงสามารถปรุงแต่งสรรพสิ่งได้มากมายจนมิอาจประมาณได้เลย
ใครสามารถเข้าถึงความสามารถเดิมแท้แห่งธรรมญาณได้ก็จักเข้าใจจักรวาลนี้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจการปรุงแต่งมิได้แตกต่างไปจากความว่างอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติเลย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเปรียบเทียบเอาไว้อย่างน่าศึกษาว่า
"ตัวของเรานี้เป็นนครแห่งหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น เป็นเฉกเช่นประตูเมือง ประตูนอกมี 4 ประตู ซึ่งเป็นอำนาจการปรุงแต่งสำหรับนึกคิด
ใจนั้นเป็นแผ่นดิน ส่วนธรรมญาณเป็นเช่นพระเจ้าแผ่นดินอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ ถ้าธรรมญาณยังอยู่ข้างในก็หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินยังอยู่ กายและใจของเราก็ยังคงอยู่ แต่เมื่อธรรมญาณออกไปเสียแล้วซึ่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินมิได้อยู่ กายและใจของเราก็แตกสลายสาบสูญไป"


ถ้อยความเปรียบเทียบเช่นนี้ย่อมเห็นชัดเจนว่า สิ่งที่เป็นตัวตนแท้ที่จริงของมนุษย์นั้นคือ ธรรมญาณ ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอันแท้จริงตามธรรมชาติเดิมแท้และมีความบริสุทธิ์สะอาดชัดเจนชนิดที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกเลย แต่เพราะตกอยู่ในอำนาจของความดีชั่ว มืดสว่างแห่งโลกนี้ กิเลสทั้งปวงที่วิ่งเข้าสู่ประตูทั้ง 4 จึงก่อให้เกิดการปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด จนลืมเลือนธรรมญาณอันแท้จริงของตนเองไปเสียสิ้น
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"เราต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะในภายในธรรม ญาณและจักไม่แสวงหาธรรมญาณในที่อื่นนอกจากตัวเราเอง
 
ผู้ที่ถูกเขลาครอบงำมองไม่เห็นธรรมญาณนั้นจัดเป็นคนสามัญปุถุชน
ผู้ที่มีความสว่างมองเห็นธรรมญาณของตนเองจัดเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง .
ผู้ที่มีความเมตตากรุณาย่อมเป็นพระอวโลกิเตศวร
ผู้ที่มีความเพลินเพลินในการโปรยทานย่อมเป็นพระมหาสถามะอันเป็นพระโพธิสัตว์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กับพระโพธิสัตว์กวนอิม
ผู้ที่สามารถทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ก็คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า
ผู้ที่มีความสม่ำเสมอตรงแน่วคือพระอมิตาภะ"

อานุภาพแห่งธรรมญาณที่เปล่งประกายออกมาเช่นนี้ย่อมดำเนินอยู่บนเส้นทางแห่งพระพุทธพระโพธิสัตว์โดยแท้จริง แต่ถ้าตกอยู่ในอำนาจการปรุงแต่งทางด้านอบายคติย่อมกลับกลายเป็นภัยอันใหญ่หลวงของตนเอง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงเปรียบเทียบว่า
"ผู้ที่ติดอยู่ในตัวตนและความมีความเป็น คือเขาพระสุเมรุ
ใจที่สามารถต่ำช้าได้แก่ มหาสมุทร มีกิเลสเป็นระลอกคลื่นมีความชั่วเป็นเช่นมังกรร้าย ความเท็จคือผีห่า อารมณ์ภายนอกเป็นเช่นสัตว์น้ำต่างๆ
ความโลภและโกรธคือ นรกโลกันต์
อวิชชาและความมัวเมาทั้งปวงคือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป"
อำนาจการปรุงแต่งจึงมีกำลังอยู่สองประการคือ ร้ายกับดี เพราะฉะนั้นขณะที่มีกายอยู่จึงมิต้องแสวงหา สวรรค์ นรก นอกกายเลย แต่จงค้นหาภายในจิตของตนเอง

      ครั้งหนึ่งมีนายพลท่านหนึ่งสะพายดาบเข้าไปหาพระอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งชอบแสดงธรรมเกี่ยวกับนรกสวรรค์โดยกล่าวกับพระอาจารย์ท่านนั้นว่า
"วันนี้หลวงพ่อต้องแสดง นรก สวรรค์ ให้ชัดเจนมิเช่นนั้นจักต้องได้เห็นดีกันแน่แท้"
"เธอหรือคือนายพล รูปร่างอ้วนพีดั่งหมูตัวหนึ่งแล้วจักสำแดงฝีมือขับไล่ศัตรูได้อย่างไร"
นายพลได้ยินพระอาจารย์กล่าวดังนี้ บันดาลโทสะเพราะถูกสบประมาท จึงชักดาบออกจากฝัก พระอาจารย์ยกมือขึ้นแล้วกล่าวว่า
"อมิตาพุทธ ประตูนรกเปิดแล้วเชิญท่านเดินเข้าไปได้"
นายพลได้สติหากฆ่าฟันพระอาจารย์ถึงแก่มรณภาพย่อมมีนรกเป็นที่ไปจึงสอดดาบกลับคืนสู่ฝัก พระอาจารย์จึงกล่าวต่อไปว่า
"อมิตาพุทธ ประตูสวรรค์เปิดแล้ว เชิญท่านก้าวเข้าไปได้"
นิทานเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นความจริงว่า ตราบใดกายสังขารยังอยู่ นรกย่อมอยู่ในอกสวรรค์ย่อมอยู่ในใจ อาการที่จิตสำแดงออกมานั้นเป็นไปตามความเคยชินแห่งการอาศัยอยู่ในนรกและสวรรค์อย่างแท้จริง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ถ้าประพฤติในกุศล 10 ประการอย่างมั่นคง แดนสุขาวดีก็ปรากฏแก่ตัวเราทันทีเมื่อขจัดความเห็นแก่ตัวตนและปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่ทิ้งไปเสียภูเขาพระสุเมรุก็พังทลายลงมา เมื่อใดจิตพ้นไปจากความชั่วน้ำในมหาสมุทรย่อมเหือดแห้งไปสิ้น เมื่อเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลสทั้งปวงคลื่นลมทั้งหลายก็สงบเงียบ เมื่อใดความชั่วมิกล้าเผชิญหน้า เมื่อนั้นปลาร้ายมังกรร้ายก็ตายสิ้น"

ผู้มีปัญญาจึงแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์ภายในธรรมญาณของตนเองแต่เพียงสถานเดียว


2108
ตอนที่ 28.... ดินแดนแห่งอมิตาภะ

      พระพุทธองค์ตรัสย้ำให้ทรงปฏิบัติแต่ปัจจุบันกาลมากกว่าอดีตและอนาคตกาลเพราะทั้งสองการเวลานั้นหาได้เกิดประโยชน์โภคผลแต่ประการใดไม่
รู้อดีตก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
อนาคตที่มาถึงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจุบันกาลจึงเป็นตัวกำหนดอนาคตที่แท้จริงเพราะฉะนั้นการเอาใจใส่ต่อปัจจุบันจึงเป็นผู้ไม่ประมาท

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ตอบปัญหาของข้าหลวงอุ๋ยที่สงสัยว่าบรรพชิตและฆราวาสต่างเอ่ยพระนามของพระอมิตาภะโดยหวังว่าจะไปบังเกิดในดินแดนทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนบริสุทธิ์ได้หรือไม่ว่า

"เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสพระสูตรที่กรุงสาวัตถีเป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า แดนบริสุทธิ์นั้นมิได้อยู่ไกลไปจากที่นี่เลย เพราะถ้าติดตามระยะทางเป็นไมล์ก็ได้ 108,000 ไมล์เท่านั้น ซึ่งความหมายที่แท้จริงของระยะทางนี้คือ อกุศล 10 และ มิจฉัตตะ 8 ภายใน ตัวเรานั่นเอง สำหรับพวกที่มีใจต่ำมันย่อมอยู่ไกลแสนประมาณ แต่สำหรับพวกมีใจสูงอยู่ใกล้นิดเดียว"

อกุศล 10 ประการนั้นเกิดจาก จิต ถึงสามประการคือ โลภ โกรธ หลง เกิดจากวาจา มีถึงสี่ประการคือ โกหก หยาบ นินทา และเพ้อเจ้อ และกายกระทำชั่ว สามอย่างคือ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักขโมยและผิดในกามตัณหา

      ส่วนมิจฉัตตะหมายถึงหนทางที่ตรงกันข้ามกับ มรรคมีองค์แปดคือมิจฉาปัญญา มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวาจา เป็นต้น
เพราะฉะนั้นในขณะที่คนมีปัญญาชำระใจของตนเองให้บริสุทธิ์เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า
"เมื่อใจบริสุทธิ์ดินแดนแห่งพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์พร้อมกัน"

      แต่คนที่ไร้ปัญญาต่างพากันออกนามพระอมิตาภะและอ้อนวอนขอไปเกิดในแดนบริสุทธิ์ย่อมเป็นไปมิได้
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายอย่างแยบยลว่า
"แม้เป็นชาวตะวันออก ถ้าใจบริสุทธิ์ก็ย่อมเป็นคนไม่บาปแต่ต่อให้เนชาวตะวันตกเสียเองแต่ใจโสมมก็ไม่อาจช่วยให้เป็นคนหมดบาปได้ ถ้าในกรณีที่เป็นคนตะวันออกทำบาปแล้วออกนามพระอมิตาภะแล้วอ้อนวอนเพื่อให้ไปเกิดทางทิศตะวันตก แต่ถ้าคนบาปนั้นเป็นชาวตะวันตกเสียเอง เขาจะอ้อนวอนให้ไปเกิดที่ไหนอีกเล่า"

"คนสามัญและคนโง่ไม่เข้าใจในธรรมญาณ และไม่รู้จักว่าแดนบริสุทธิ์มีอยู่พร้อมแล้วในตัวของตัวเอง ดังนั้นจึงปรารถนาไปเกิดทางทิศตะวันออกบ้าง ทางทิศตะวันตกบ้าง แต่สำหรับคนที่มีปัญญาแล้วที่ไหนๆก็เหมือนกันทั้งนั้น ตามที่พระพุทธองค์ ตรัสเอาไว้ว่า "เขาจะไปเกิดที่ไหนไม่สำคัญเขาคงมีความสุขและบันเทิงรื่นเริงอยู่เสมอ"
 
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"เมื่อใจบริสุทธิ์จากบาป ทิศตะวันตกก็อยู่ไม่ไกลจากที่ตรงนี้แต่มันลำบากอยู่ที่คนใจโสมมต้องการไปเกิดที่นั่น"
"สิ่งที่ควรทำเป็นข้อแรกก็คือ จัดการกับอกุศล 10 ประการเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น ก็เป็นอันว่าเราได้เดินทางเข้าไปแล้ว 100,000 ไมล์ขั้นต่อไปเราจัดการกับมิจฉัตตะ 8 เสียให้เสร็จสิ้นก็เป็นอันว่าหนทางอีก 8,000 ไมล์นั้นเราได้เดินผ่านทะลุไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แดนบริสุทธิ์จะหนีไปไหน ถ้าเราสามารถเห็นแจ้งชัดในธรรมญาณอยู่เสมอ และดำเนินการตรงแน่วอยู่ทุกขณะแล้ว พริบตาเดียวเราก็ไปถึงแดนบริสุทธิ์ได้และพบอมิตาภะอยู่ที่นั่น"
พระวจนะตรงนี้น่าจะเป็นเครื่องยืนยันว่าการเข้าถึงดินแดนอันบริสุทธิ์ถูกต้องนั้นอยู่ที่การบำเพ็ญให้เห็นแจ้งชัดในธรรมญาณของตนเองเพียงสถานเดียวจึงเป็นการที่ตนเองอย่างแท้จริงตรงตามพระพุทธวจนะที่กล่าวว่า ตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน

แต่ความเข้าใจของสาธุชนในสมัยปัจจุบันเชื่อว่า ผู้อื่นสามารถพาเราไปยังแดนบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงคลั่งไคล้ใหลหลงต่อผู้ที่มีวัตรปฏิบัติแปลกประหลาดมหัศจรรย์มากกว่าที่หันมาบำเพ็ญตเองโดยหวังผู้วิเศษเหล่านั้นจักนำพาเข้าไปสู่แดนสวรรค์โดยที่ตนเองมิต้องบำเพ็ญปฏิบัติแต่อย่างใด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ถ้าท่านทั้งหลายเพียงแต่ประพฤติกุศล 10 ประการเท่านั้นท่านก็หมดความจำเป็นที่จะต้องไปเกิดที่นั่น ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าท่านไม่จัดการกับอกุศล 10 ประการให้เสร็จสิ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหนเล่าที่จะพาท่านไปที่นั่นถ้าท่านเข้าใจหลักธรรมอันกล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่มีการเกิด ก็จะพาท่านไปให้เห็นทิศตะวันตกได้ในอึดใจเดียว แต่ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะไปถึงที่นั่นด้วยลำพังการออกนามพระอมิตาภะได้อย่างไรกันหนอเพราะหนทาง 108,000 ไมล์นั้นมันไกลไม่ใช่เล่น"

      หลักธรรมอันกล่าวถึงการไม่เกิดนั้นเป็นสิ่งที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งร่างกายสังขารมีวันเกิดจากพ่อแม่ แต่ธรรมญาณของเราซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริงนั้นไม่มีวันเกิดเพระฉะนั้นจึงไม่มีวันดับ ความเข้าใจเช่นนี้ย่อมทำให้เข้าใจถึงการเวียนว่ายตายเกิดและหักวงจรของการเวียนว่ายเช่นนี้เสียได้
การหลุดพ้นไปจากการเวียนว่ายจึงมิได้อยู่ที่การทำบุญแต่อยู่ที่การปฏิบัติตนเองให้พบสภาวะแห่งธรรมญาณอันเป็นธรรมชาติแท้ที่ไม่เกิดดับและที่ตรงนั้นในตัวเราจึงเป็นดินแดนแห่งอมิตาภะซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นอมตะนิรันดรนั่นเอง


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=14


2109
ได้อ่านแล้วผมคงต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะบางวันที่ดื่มผมก็จะไม่สวดมนต์ เพราะคิดว่าร่างกายไม่บริสุทธิ์ สวดมนต์ทั้งๆที่ปากยังมีกลิ่นของเมาอยู่คงไม่ควร ผมคงต้องไตร่ตรองดูใหม่แล้วครับ
คิดเหมือนกันเลยครับ
พอดีว่าผมได้งดเบียร์(ที่ดื่มต่อเนื่องทุกวัน)มาตั้งแต่วันมาฆบูชา ด้วยปัญหาสุขภาพและอย่างอื่นด้วย
ตอนนี้งดได้ 5 วันแล้ว รู้สึกดีขึ้นเยอะ
ทำให้มีสติมากขึ้น มีเวลาศึกษาธรรมะมากขึ้น
และรู้สึกยินดีที่เข้ามาเวปนี้ได้แลกเปลี่ยนสิ่งดีที่น่าสนใจกับเพื่อนสมาชิก :002:

2110
ตอนที่ 27.... อหังการ

      บุญ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิตฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุด
      กุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้น เพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน
ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก
ส่วนกุศลเป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"การเห็นแจ้งในธรรมญาณเรียกว่า "กง"ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า "เต๋อ" และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งทำหน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ" คำว่า "กงเต๋อ" มีความหมายว่า คุณธรรม หรือ กุศลกรรม เพราะการค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไปให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม
การอธิบาย "กงเต๋อ" จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากอหังการจึงเป็น "กง" แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น "เต๋อ"
การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึงเรียกว่า "เต๋อ"
การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง"
แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึงเรียกว่า "เต๋อ"
      สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมมือนกันหมด
และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว ไม่อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีก
ผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญกุศลใดๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริงๆ กุศลที่ได้รับย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาสเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกตินิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง "กง" ดังนั้น เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อสำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด "เต๋อ"
คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรมคือ "กงเต๋อ" ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป แต่คนที่เย่อหยิ่งจองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปวง
คนสมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คนเหล่านี้จึงเจริญด้วย อหังการ
เพราะฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา
โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ "คุณธรรม" มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่ง "อหังการ" ครอบงำโลกเอาไว้
ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้าใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ทที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย
และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริงๆ หรือแม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมนอย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ "กงเต๋อ" ว่า
"เมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี "กง" เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่ามี "เต๋อ"
เพราะฉะนั้น กุศล จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริง"
การสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริงๆ

2111
แม่ชีทศพร 014 - ผลของการภาวนา

[youtube=425,350]fVeRbvg6IGM[/youtube]

2112
แม่ชีทศพร011 ผลการถวายทานอันเลิศ

[youtube=425,350]BmobFZKJnBc[/youtube]

2113
แถม...........

แม่ชีิทศพร 005-วิธีการปลดหนี้

[youtube=425,350]MaLse7stuk0[/youtube]

2114
แม่ชีทศพร 020 - กรรมของร่างทรง

[youtube=425,350]eQdfexnSGzc[/youtube]

2115
แม่ชีทศพร 023 - คำอธิษฐานคืนขันธ์

[youtube=425,350]siGRLoz6_Ps[/youtube]

2116
แม่ชีทศพร 019 - ฟังไว้ใครรับขันธ์  ๒

[youtube=425,350]fXC_SdzUMvs[/youtube]

2117
แม่ชีทศพร 018 - ฟังไว้ใครรับขันธ์ ๑

[youtube=425,350]dds7c-SRS1Q[/youtube]

2118

แม่ชีทศพร 051-ไม่เต็มบาท<<<<โกงน้ำหนักทองคำ
[youtube=425,350]ROGjNOeKLGU[/youtube]

2119
แม่ชีทศพร 050-เปรตในร่างของคน
[youtube=425,350]4X5n7nlvElk[/youtube]

2120
ธรรมะ / ตอบ: เรื่องจิตนี้...
« เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 11:33:04 »
นิทานเซน : จิตที่เคลื่อนไหว

ชายสองคนกาลังยืนถกเถียงกันในเรื่องการสะบัดไหวของผืนธงท่ามกลางกระแสลม
“เป็นลมต่างหาก ที่เคลื่อนไหว” ชายคนหนึ่งกล่าว
“ไม่ใช่หรอก เป็นผืนธงต่างหาก ที่เคลื่อนไหว”
อาจารย์เซ็นท่านหนึ่ง ซึ่งบังเอิญเดินผ่านชายที่กาลังถกเถียงกันอยู่นั้นไปพอดี เมื่อได้ยิน
เรื่องที่ชายทั้งสองกาลังถกเถียงกันอยู่ก็ขัดขึ้นว่า
“ไม่ใช่ทั้ง ลม และ ทั้ง ผืนธง หรอก ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ “ ท่านอาจารย์พูด “อันที่จริง
เป็น [shake]จิต ของท่านต่างหากล่ะ ที่เคลื่อนไหว[/shake]”

2121
ธรรมะ / ตอบ: เรื่องจิตนี้...
« เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 11:25:06 »
ตัวรู้

ครั้งหนึ่ง ท่านเว่ยหล่างไปพักค้างแรมที่บ้านหลังหนึ่ง ขณะที่กำลังจะนอนพักผ่อนในช่วงบ่าย ได้ยินเสียงคนกำลังสวดมนต์ เลยลุกขึ้นไปถามผู้นั้นว่า
“เจ้าเข้าใจความหมายของบทที่สวดหรือเปล่า ”
“บางตอนเข้าใจยากจริงๆ”

ท่านเว่ยหล่างเลยอธิบายให้ฟังบางตอนของบทสวดว่า
“เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งมายาจอมปลอมนี้จนผมหงอกขาวหมดไปทั้งหัวแล้ว พวกเราต้องการอะไร? และเมื่อไฟแห่งชีวิตกำลังจะมอดลง ใจเต้นอ่อนลง และลมหายใจกำลังจะขาดรอนๆ อะไรคือสิ่งสุดท้ายที่เราหวัง? และเมื่อกายของเรากำลังเน่าเปื่อยอยู่ในสุสาน ธาตุกลับคืนสู่ธาตุ ธาตุดินสู่ดิน
ชีวิตกลายเป็นสิ่งไร้ความรู้สึกในความว่างเปล่า... แล้วเราอยู่ที่ไหน?”

คนที่สวดมนต์นั้นได้ชี้คำหลายคำในคัมภีร์ที่ไม่เข้าใจความหมายแล้วถาม...
ท่านเว่ยหล่างยิ้มๆแล้วตอบว่า
“ข้าพเจ้าไม่รู้หนังสือ ท่านถามมาเลยดีกว่า"

คนๆนั้นรู้สึกแปลกใจแล้วพูดขึ้นว่า
“ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจะเข้าใจความหมาย เข้าใจหลักธรรมได้อย่างไร?”

ท่านเว่ยหล่างตอบว่า
“หลักธรรมของพุทธะ กับตัวหนังสือไม่เกี่ยวกัน ตัวหนังสือเป็นเพียงเครื่องมือที่จะเรียนรู้ สิ่งที่จะเข้าใจหลักธรรมคือจิต คือตัวรู้ ไม่ใช่ตัวหนังสือ"

ท่านเว่ยหล่างรับตำแหน่งพระสังฆนายกโดยที่ยังไม่ได้บวช หลังรับตำแหน่งต้องหนีภัยจากพระที่เป็นศิษย์พี่ ไปอยู่ในป่ากับพรานป่า 15 ปี ถึงจะกลับมาในเมืองแล้วบวช

http://www.dhammajak.net/zen/37.html
 

2122
แม่ชีทศพร -ศีล ๕
[youtube=425,350]51QGnGeeHYA[/youtube]

2123
บทสวดมนต์ก่อนการนั่งสมาธิ
และก่อนนอน ต้องอาราธนาศีล 5
และสมาทานศีล 5 โดยเริ่มจาก


คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)

คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

หัดทำไปทุกวัน ทุกเช้าและก่อนนอน หากใครกลัวว่า
ทำไปแล้วเราก็ต้องออกไปผิดศีลอยู่ดี แนะนำให้ทำก่อนนอน
เพราะเราไม่ต้องไปเจอสังคม
ไปต้องไปผิดกับใครจึงทำให้เกิดกุศลมากที่สุด

ที่มาและเพิ่มเติม
http://www.dhammajak.net/kram/5-2.html

2124
แม่ชีทศพร 085 การอธิษฐานสิ้นสุดกรรม

[youtube=425,350]nOcBgqi8-HM[/youtube]

2125
ฝากเตือนสติ


รายละเอียด
“คนเรามันรักสุขเกลียดทุกข์ หนักก็หนักตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง”

“เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดีอย่าไปรับเอามาหนักไว้ในใจ ปล่อยผ่านไปเสีย...ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นก็เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่”

“...อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบันตัดกิเลส ตัณหา ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนเองให้เสร็จลงก็สงบได้”

(ธรรมะหลวงปู่แหวน สุจินโณ วัดดอยแม่ปั๋ง)

“ไม่มีสิ่งใดทำร้ายเราได้ มีแต่ใจเราที่ทำร้ายตัวเอง ไม่คิดไม่ทุกข์”

“ความสุขอยู่แห่งหนใดไม่ต้องไปตะกายหา อย่าคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ความสุขความทุกข์อยู่ที่ตัวเรา ว่าเราจะทำตัวให้ทุกข์หรือสุข เลือกเอา”

(ธรรมะจากตัวเราเอง)

“Do no wrong is do nothing”

“ทำอะไรไม่ผิดเลยคือไม่ได้ทำอะไรเลย”

“ความผิดเป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำผิดพลาด เพราะความผิดพลาดเป็นอาจารย์ผู้วิเศษ สั่งสอนให้เราเจ็บแล้วต้องจำ”

(เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ)

“อัตตาหิ อัตโนนาโถ...ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”

“ตนทำบาปก็ได้รับทุกข์เอง ตนทำบุญก็ให้ความสุขแก่คนนั้น บุญบาปเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ใครทำบาป บาปย่อมให้ผล ใครทำบุญกุศล บุญกุศลย่อมตามให้ผล แต่บางอย่างบางประการนั้น ไม่ทันกับใจกิเลสมนุษย์ ก็เลยเข้าใจว่าทำบุญก็ไม่เห็นผล แต่ว่าบาปไม่ทันก็เห็นผล”

“อย่าเข้าใจว่า มาทำบุญแล้วจะตัดเวรตัดกรรมได้ บุญส่วนบุญกรรมส่วนกรรมตัดไม่ได้ เว้นแต่กรรมเบา หรืออโหสิกรรมตัดได้ พวกนั้นตัดได้ พระพุทธเจ้ายังตัดไม่ได้ พระโมคคัลลามีฤทธิ์สุดขีด ไม่มีองค์ไหนมาเทียมก็ตัดไม่ได้ต้องชดใช้กรรม”

(หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้น จ.ลำพูน)

“คนเรานั้นเกิดคนเดียว ตายคนเดียว ไม่ได้เอาสมบัติมา ไม่ได้เอาสมบัติไป รักกันเพียงได ก็ต้องพลัดพราก

ยิ่งยึด ยิ่งทุกข์ ลูกผัวตัวกู ของกู สมบัติกู ปล่อยวางได้สบาย ไม่มีอะไรเป็นของใคร ทุกสิ่งเป็นสิ่งสมมุติ ยึดเอาไว้ก็ได้ทุกข์ตอบแทน อยากโง่ก็ยึดต่อไป คิดได้ก็วางเสีย”

“ใครทำดีกับเราจดจำไว้บ้าง ใครทำไม่ดีกับเราลืม ๆ ซะบ้าง จะเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตเรา”

“ไม่มีศัตรูใดร้ายกับเราเท่าจิตเรา ไม่มีมิตรใดดีกับเราเท่ากับจิตเราเอง ฝึกตัวเองให้เป็นผู้ให้ทานดีกว่าฝึกตัวเองให้เป็นขอทาน”




หนังสือ ความในใจ

2126
น้อยใจบุญ


รายละเอียด
มนุษย์ปุถุชนที่ยังมีกิเลส และไม่สามารถตัดมันออกไปจากใจได้ มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “อารมณ์” อยู่คู่กับจิตใจเสมอ แต่กระนั้นก็มี “เหตุผล” หรือ “สติ” เป็นเครื่องช่วย คอยระงับยับยั้งอารมณ์ไว้ แต่คราวใดที่อารมณ์มีพลังเหนือกว่า ก็จะมีคำกล่าวที่ว่า “อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล” นั่นเอง

อารมณ์หลักของความเป็นกิเลสมารนั้น ประกอบไปด้วย รัก โลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ แต่ก็ยังมีแยกย่อยออกไปอีก เช่น ดีใจ เสียใจ ร่าเริง ชื่นใจ หรือน้อยใจ เป็นต้น

วันนี้แม่ชีจะขอกล่าวถึง “ความน้อยใจ”ก่อนค่ะ

เขาว่าคนที่ใจน้อยมักจะน้อยใจง่าย นี่แม่ชีไม่ได้เล่นคำอะไรนะคะ คนใจน้อยไม่ได้หมายถึงหัวใจมีปริมาณน้อย แต่หมายถึงใจไม่หนักแน่น เมื่อใจไม่หนักก็เท่ากับเป็นคนใจเบานั่นเอง... อย่าเพิ่งงงนะคะ

“น้อยใจ” เป็นอาการอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดใจ ความเครียด คิดมาก จิตปริวิตก แต่มักจะเกิดกับคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี หรือคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเป็นบวก แต่กลับได้ผลตอบแทนเป็นลบ เช่น สาวน้อยคนหนึ่งน้อยใจแฟนของเธอ นั่นก็เพราะเธอคิดว่าเธอรักเขามาก เขาก็น่าจะรักเธอมากเช่นกัน นั่นคือคิดว่าน่าจะเป็นบวกแต่ผลที่ได้กลับเป็นลบ เพราะแฟนของเธอกลับไม่ค่อยสนใจเธอสักเท่าไหร่ ก็เลยเกิดอาการน้อยใจ

ทีนี้ก็มาถึงหัวข้อที่แม่ชีตั้งไว้ นั่นคือ “น้อยใจบุญ” ตรงนี้ก็หมายความว่า คุณโยมบางท่านเป็นคนดี มีนิสัยชอบทำบุญสุนทาน ไม่ค่อยคิดจะทำผิดคิดร้ายอะไรใคร ก็เลยมีความหวังอยู่ในใจ ว่าการทำดีนั้นน่าจะส่งผลดีเป็นการตอบแทนให้ตนเองได้ดี หรือเมื่อทำบุญก็หวังจะได้บุญตอบแทน แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ก็เลยเกิดอาการน้อยใจ คือ รู้สึกว่าทำดีไม่ได้ดี หรือทำบุญมามากมายแต่ทำไมไม่ได้บุญ หรือทำไมชีวิตจึงได้ลำบากอยู่อย่างนี้ แล้วถ้าคิดต่อว่าจะเลิกทำบุญเสียดีไหม นี่ก็คืออาการ “น้อยใจบุญ” นั่นเองค่ะ

แม่ชีเคยดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ซึ่งพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการชอบพูดว่า “คุณทำดีแล้ว...แต่ยังดีไม่พอที่จะเข้ารอบต่อไป”

นี่อาจจะเป็นคำตอบสำหรับญาติโยม ที่แม่ชีจะนำมาตอบสำหรับคนที่น้อยใจบุญก็ได้ ว่าโยมทำบุญแล้วแต่ยังทำไม่มากพอ เพราะฉะนั้น...ขอให้ทำต่อไปค่ะ

หนังสือ เกิดแต่กรรม 4


ที่มา
http://www.thossaporn.com/view_media.php?media_id=21

2127
ทำผิดศีลไม่กล้าสวดมนต์

รายละเอียด
“ศีล 5 รักษาให้เคร่งครัด เจริญแน่ แต่ถ้าเกิดโยมทำผิดอะไรไปข้อหนึ่ง ศีลอีกสี่ข้อมันยังค้ำโยมอยู่นะ”

บางคนบอกว่า เพิ่งกินเหล้ามาจะไปสวดมนต์ได้อย่างไร มันรู้สึกผิดในใจ เพราะว่าเพิ่งทำผิดมาหมาด ๆ กลัวทำไม่ได้ มันจะบาปหนักขึ้นไปอีก แต่มันไม่ใช่ ในนาทีนั้น นาทีที่สมาทานศีล โยมไม่ทำบาปแน่ โยมบริสุทธิ์ในนาทีนั้น ชั่วโมงนั้น ขอให้สมาทานไว้ ถึงแม้วันรุ่งขึ้นจะทำผิดอะไรไปข้อหนึ่ง สิ่งที่สมาทานไว้ก็ยังเหลืออีกสี่ข้อ ศีลอีกสี่ข้อมันยังค้ำอยู่นะ ก่อนบวชแม่ชีเป็นคนที่เมา แต่แม่ชีก็สวดมนต์ แม่ชียังมีจิตใต้สำนึก มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าวันไหน ไม่ได้สวดมนต์ ก็จะนอนไม่ได้เหมือนกัน มันเป็นนิสัยถึงจะเมาอย่างไรก็ลุกขึ้นมาสวด อิติปิโส 108 จบ สวดอิติสุคโต 108 จบ สวดยอดพระไตรปิฎก สวดชินบัญชร สวดทุกอย่างเลย สวดธรรมจักรด้วย แต่ก็เจอกรรม เพราะไม่ได้สมาทานศีล 5 ทุกคนก็เลยปฏิเสธ ไม่มีใครทำผิดพร้อม ๆ กันทีเดียวห้าข้อหรอก ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะสวดมนต์

แต่มันจะยากสำหรับคนที่มีทิฐิในใจ ยังไม่ทันจะสวดเลยตั้งป้อมแล้ว ตั้งมุมแล้ว ตั้งมุมสู้แล้ว แต่เรื่องที่จะมาขัดแย้งกับศีลนะ เรื่องที่มันเป็นอบาย พูดเรื่องคนอื่นทั้งคืน ประจานคนอื่นทั้งคืนไม่รู้สึกอะไร ทำไมพูดด่าแช่งคนอื่นพูดได้ เรื่องไม่ดีจะด่าใครไม่ต้องจดไม่ต้องจำ มันออกมาจากจิตใต้สำนึกเลยนะ เรื่องของภูมิของเดรัจฉานคือ มันออกมาแบบเป็นสเต็ปเลย คนมักจะไม่เข้าใจเรื่องดีหรอก เพราะเรื่องดีมันต้องใช้ทั้งจดและทั้งจำ แต่พอจะทำดี ศีลแค่ห้าข้อเนี่ย มันสงสัยเสียจนแบบว่าแทบจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้

ที่ย้ำให้สวดมนต์ก่อนนอนเพราะว่าคืนนี้โยมนอนไป โยมไม่ไปทำผิดแน่ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง หมายถึง ขอรับเป็นข้อ ๆ นะ มันลักษณะห้าอย่างเป็นข้อ ๆ พอวันรุ่งขึ้นอานิสงส์ที่สมาทานไว้ จะส่งผลว่าโยมไม่ต้องตัดสินใจในเรื่องของความโลภเลย

หนังสือ ทำอะไรก็เจริญ

ขอกราบขอบพระคุณ
แม่ชีทศพร บุญเทวาพิทักษ์
http://www.thossaporn.com/
http://www.thossaporn.com/view_media.php?media_id=20&PHPSESSID=2006ea7c283b83f74fb2114021f665fa

2128
บุญเป็นเครื่องชะล้างบาป
[youtube=425,350]1tyZlZX8zls[/youtube]


ตอนที่ 26.... ติดบุญ-บาปพัวพัน

ความหลงได้ทำให้มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าการสร้างบุญเป็นหนทางแห่งการพ้นเวียนว่ายตายเกิด แท้ที่จริงกลับเป็นการถากถางทางการเวียนเกิด-ตาย ไม่สิ้นสุดนั่นเอง
วันหนึ่งเมื่อข้าหลวงอุ๋ยได้ถวายภัตตาหารเจแด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า
"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ"
"ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ
      "แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ตี้ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น"
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า
"ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่คตี้เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ทรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย"
คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่ตี้สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าวว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง

ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียนเกิด-ตาย เลย แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด

      สมัยหนึ่งมีวัดแห่งหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็นสองคณะและต่างก็แข่งขันกันในอันที่ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ก่อนนั้น
พระคณะเหนือตื่นก่อนและสวดมนต์ได้ทันเวลา แต่พระคณะใต้ตื่นสายไม่ทันการณ์
เณรองค์หนึ่งแห่งคณะใต้มีความสงสัยจึงมาแอบดูว่าเป็นเพราะเหตุใดพระคณะนี้จึงตื่นได้
ทันเวลาเสมอ จึงเห็นไส้เดือนตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นมาจากใต้ดินส่งเสียงร้อง ปลุกพระคณะเหนือ เณรจึงไปต้มน้ำร้อนมาราดฆ่าไส้เดือนตัวนั้นเสีย
แต่เป็นเพราะจิตญาณของไส้เดือนเต็มไปด้วยบุญจึงได้ไปถือกำเนิดเป็นชายตัดฟืนและความใจบุญยังคงติดอยู่ในกมลสันดาน ชอบซ่อมแซมสาธารณะสมบัติไม่ว่าจะเป็นสะพานที่ชำรุดหรือศาลาพักร้อนก็ซ่อมแซมให้พ้นจากสภาพทรุดโทรมและชนทั่วไปสามารถใช้การได้เสมอ

      วันหนึ่งชายตัดฟืนเดินเข้าไปในป่าตามปกติ พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งตั้งตากแดดตากฝนอยู่เพราะเพิงได้พังทลายลงไปเสียแล้ว ชายตัดฟืนจึงบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและไปเก็บดอกไม้มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปเสมอมา
แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชายตัดฟืนแปลกใจเป็นยิ่งนัก เพราะผลไม้หรือดอกไม้นั้นหายไปเสมอ วันหนึ่งหลังจากนำผลไม้มาถวายพระพุทธรูปแล้วก็แอบดู จึงเห็นลิงตัวหนึ่งมาขโมยผลไม้แลละดอกไม้ไป ชายตัดฟืนเกิดโทสะ ไล่จับลิงแต่ลิงก็วิ่งหนีไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง
ชายตัดฟืนจึงขนหินมาปิดปากถ้ำขังลิงไว้เจ็ดวันก็ถึงแก่ความตาย
ลิงซึ่งเคยเป็นเณรฆ่าไส้เดือน ตายจากลิงแล้วจึงไปเกิดเป็นโหวจิ่งแม่ทัพแคว้นเว่ย

      ส่วนชายตัดฟืนเมื่อสิ้นอายุขัยได้ไปถือกำเนิดเป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้เพราะผลบุญของการสร้างสาธารณะสมบัติเป็นแรงส่งให้ได้เสวยผลบุญของตน
และจิตที่เต็มอิ่มไปด้วยบุญในชาติที่เป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงใจบุญสนับสนุนให้มีการสร้างวัดมากมาย โดยเฉพาะพระองค์เองได้สร้างวัดไว้อย่างประมาณมิได้  เดินทางไปห้าสิบลี้ก็สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นวัดหนึ่ง ครั้นถึงร้อยลี้ก็สร้างวัดใหญ่ๆ
การสร้างบุญจึงเป็นเสมือนหนึ่งการสะสมเงินตราเอาไว้เป็นธนาคารของตนเอง สามารถเบิกจ่ายมาใช้สอยให้ชีวิตมีความสุข
คนใจบุญจึงต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลบุญของตนเอง
      เมื่อติดอยู่ในบุญแต่เพียงอย่างเดียว ในจิตจึงมีอกุศลตามมาเสมอเพราะบาปเวรกรรมมิได้กำจัดไป เพราะฉะนั้นจึงต้องเผชิญต่อบาปที่ตนเองก่อเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงถูกโหวจิ่งแม่ทัพของเมืองเว่ยปิดล้อมพระราชวัง จนอดอาหารตายเช่นเดียวกับสมัยที่เป็นชายตัดฟืนแล้วขังลิงเอาไว้ในถ้ำนั่นเอง
การสร้างบุญจึงทำให้จิตใจอิ่มเอิบ แต่มิได้มีกุศลอันเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงในจิต สร้างบุญมากเท่าไหร่แต่อารมณ์ทั้งปวงมิได้ถูกกำจัด
ฉะนั้นคนใจบุญจึงยังพัวพันกับบาปไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตจึงยังคงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับบาปและบุญตลอดไปนั่นเอง

2129
หลักการพึ่งตนเอง
[youtube=425,350]R9fb3rPq3Tc[/youtube]

ความเพียรชนะโชคชะตา
[youtube=425,350]Gh5FHcA1dQo[/youtube]

2130
ทาน ศีล ภาวนา [ 1/7 ] www.nirotharam.com

[youtube=425,350]VZCfQ6IAoh0[/youtube]

2131
ทำอยู่กับปัจจุบัน

[youtube=425,350]k-e68VHQLzw[/youtube]

2132
ตอนที่ 25.... มหาธรรมนาวา

      เหตุที่มีผู้กราบไหว้พระพุทธองค์ยาวนานจนประมาณเวลาแห่งความสิ้นสุดมิได้เพราะพระพุทธเจ้าทรงชี้หนทางแห่งการสิ้นเวียนว่ายของจิตญาณ ให้แกเวไนยสัตว์ทั้งปวง  แม้ยังไปไม่พ้นจากทะเลทุกข์แต่เวไนยสัตว์เหล่านั้นได้มีโอกาสสร้างบุญสัมพันธ์กับพระพุทธองค์เป็นอเนกประการ ก่อให้เกิดกุศลจิตอันเป็นเหตุปัจจัยให้เขาเหล่านั้นได้วนเวียนเจริญอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อเสรมสร้างเหตุปัจจัยให้สมบูรณ์พร้อมจนกว่ามีโอกาสได้รู้แจ้งวิถีจิตแห่งตนพ้นเวียนว่ายในธรรมกาลยุคสุดท้าย
 
      พระพุทธองค์จึงทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงเพราะทรงมีวิธีฝึกมนุษย์ให้รู้แจ้งด้วยตนเองได้
ครั้งหนึ่งสมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี มีสองพี่น้องมาบวชศึกษาธรรม พี่ชายชื่อมหาปันถกมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ปัญญาไว ส่วนน้องชายชื่อว่า จุลปันถกแสนโง่ทึบสอนอะไรก็จำไม่ได้

      พระมหาปันถกแสนเบื่อหน่ายจึงบริภาษพระน้องชายและขับไล่ให้สึกเพราะบวชไปก็เป็นบาปเวรกรรม มิอาจเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้
ความล่วงรู้ถึงพระพุทธองค์จึงมีพุทธบัญชา ให้พระน้องชายมาเข้าเฝ้าแล้วพระพุทธองค์ทรงเมตตาสอนให้ขัดถูผ้าผืนหนึ่ง ทำเช่นนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
      พระจุลปันถกพากเพียรขัดถูผ้าจนกระทั่งจิตหนึ่งรวมอยู่ในหนทางสายกลางและในที่สุดก็บรรลุธรรรมด้วยการขัดถูผ้านี่เอง
      พระพุทธองค์จึงเป็นเฉกเช่น "มหาธรรมนาวา" ขนสรรพสัตว์ให้พ้นไปจากทะเลทุกข์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงมีวิธีฉุดช่วยเวไนยสัตว์อย่างแยบยลที่สุด
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ในโศลก "นิรรูปว่า" ว่า
"บุคคลใดตั้งใจเป็นครูสอนคนอื่น เขาเองควรมีความคล่องแคล่วในวิธีอันเหมาะสมนานาประการที่จะนำผู้อื่นเข้าถึงความสว่าง เมื่อศิษย์พ้นไปจากความสงสัยสนเท่ห์โดยประการทั้งปวง ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า เขาพบ ธรรมญาณ ของตนเองแล้ว จักรวรรดิ์ของพระพุทธเจ้าอยู่แต่ในโลกนี้ ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้ในเขตนั้น      การแสะแสวงหาความสว่างในที่อื่นจากโลกนี้ เป็นของพิลึกกึกกือเหมือนการหาหนวดเต่าเขากระต่าย"

ความหมายแห่งโศลกนี้ได้ยืนยันให้เห็นความเป็นจริงว่าแม้เวไนยสัตว์มี "ธรรมญาณ" เหมือนกันหมดแต่เพราะกิเลสที่หนาบาง และสั่งสมมาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงมีกลุ่มคนที่ "รู้ก่อน" และ "รู้ตาม"

ผู้รู้ก่อนจึงมีภาระหน้าที่ทำให้ผู้อื่นรู้ตามและใครที่ทำหน้าที่เช่นนี้ย่อมต้องใช้ความรู้ความสามารถฉุดช่วยผู้ไม่รู้ได้พ้นไปจากทะเลทุกข์ การทำหน้าที่เช่นนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น "ครู" ซึ่งจำต้องพิจรณาให้กระจ่างชัดถึงวิธีที่จะช่วยให้คนเหล่านั้นได้สำนึกรู้ได้ด้วยตนเองและมิได้หมายความว่าตนเองเป็นผู้เก่งกาจกว่าผู้อื่นใด เพราะใครก็ตามสิ้นความสงสัยแล้วพบ "ธรรมญาณ" แห่งตนเขาย่อมอยู่ในสภาวะเยี่ยงเดียวกับ พุทธะ ทั้งปวง
ด้วยเหตุนี้ผู้เป็นครูจึงเป็นเพียงผู้ชี้แนะหนทางเท่านั้นส่วนการเดินทางไปพบ พุทธะ ล้วนต้องเดินด้วยตนเองทั้งสิ้น
ดินแดนพุทธะจึงอยู่ในตนเองและต่างสามารถเข้าไปเฝ้าพระพุทธะของตน โดยไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาพระพุทธะจากที่ไหนเลย
ใครปฏิบัติผิดไปจากนี้จึงเป็นหนทางแห่งความหลงโดยแท้จริง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "เลิศเหนือโลก"
ส่วนความเห็นผิด เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ติดอยู่ในโลก"
เมื่อใดก็ตาม ความเห็นทั้งสองประการไม่ว่า ถูก หรือ ผิด ถูกสลัดทิ้งไป เมื่อนั้น โพธิ แท้ย่อมปรากฏ"

      ความหมายแห่งโศลกนี้ได้ให้ปัญญาแก่สาธุชนทั้งปวงได้รับรู้ว่าใครก็ตามที่ติดอยู่กับความเห็นไม่ว่า "ถูก" หรือ "ผิด" ล้วนไม่พบปัญญา อันแท้จริง หรือ ปัญญาอันแท้ตามธรรมชาติจักไม่สำแดงออกมาได้เลย เพราะติดอยู่ที่ "ถูก" กับ "ผิด" เป็นกำแพงขวางกั้น
"โศลกนี้ถูกขนานนามว่า "มหาธรรมนาวา" เพื่อแล่นข้ามฝั่งวัฏสงสาร กัลป์แล้วกัลป์เล่า ตกอยู่ภายใต้ความมืดบอดแต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงพุทธภูมิ"

      คำกล่าวของพระธรรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ชี้ให้เห็นว่า อันความรู้แจ้งไม่จำเป็นต้องใช้เวลายาวนาน เสมือนหนึ่ง ถ้ำที่มืดมานานเป็นแสนปีเมื่อจุดแสงสว่างภายในถ้ำนี้ขึ้นมาฉับพลันก็สว่างไสว
"ธรรมนาวา" ย่อมแตกต่างไปจาก "โลกียนาวา"
ทุกคนต่างมี "ธรรมนาวา" ที่ต้องภายไปด้วยตัวเอง จึงจักพ้นไปจากทะเลแห่งทุกข์ แต่ "โลกียนาวา" วนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์เพราะอาศัยคนอื่นพาย จึงไม่อาจพ้นไปจากทะเลแห่งทุกข์ได้เลย

2133
ตอนที่ 24.... ทางที่ถูกต้อง

      มนุษย์ในโลกนี้สับสนต่อหนทางแห่งการแก้ไขทุกข์ของตนเองเพราะเอาหนทางของกายมาแก้ไขทุกข์ของจิต ความทุกข์จึงไม่อาจดับได้
หนทางของการดับทุกข์ของ "จิต" มีอยู่แปดหมื่นสี่พันวิธี แต่หนทางที่ถูกต้องเป็นอย่างไรล้วนเป็นปัญหาสำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวถึงปัญหานี้ไว้ในโศลก "นิรรูป" ว่า
"เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆ แบบย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเองทุกแบบ ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่ายหรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเราไปแสวงหาทางอื่นเพื่อรอดพ้น เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึง ในที่สุดเราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่าเราทำพลาดไปแล้ว"

ความทุกข์แต่ละคนก่อรูปและสั่งสมเอาไว้ด้วย "กรรมเฉพาะตน" จึงทำให้ตนเองแตกต่างไปจากผู้อื่นซึ่งพิจารณาได้จากพระพุทธวจนะว่า
      "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและปราณีตได้"

เพราะเหตุนี้ ทุกชีวิตจึงกำหนดเส้นทางของตนเอาไว้แล้ว ในท่ามกลางของการเวียนว่ายในวัฏจักร์อันประมาณมิได้ แต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันด้วยตนเอง และปณิธานของแต่ละคนที่ตั้งใจเอาไว้ก็แตกต่างกันเพราะฉะนั้น การที่เข้าไปก้าวก่ายวิถีชีวิตของแต่ละคนเพื่อให้ใช้วิธีกาารอย่างเดียวกันโดยตลอดจึงเป็นการฝืนต่อสัจธรรม

      แต่ละชีวิตจึงมีหนทางแห่งการบำเพ็ญแตกต่างกัน แต่ต้องเป็นหนทางเฉพาะของตน ตัวอย่างต่อไปนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น

      ครั้งหนึ่งมีผู้บำเพ็ญดีเดินทางผ่านกระท่อมแห่งหนึ่ง พลันก็พบกับแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้าออกมาจากกระท่อมนั้น จึงคิดว่าภายในกระท่อมย่อมมีผู้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จแล้วจึงเข้าไปเพื่อทักทายแลกเปลี่ยนธรรมะกัน ผู้เปิดกระท่อมออกมาพบปะกลายเป็นหญิงชราคนหนึ่ง
"โอ ยายเป็นผู้บำเพ็ญดีมาก มีวิธีการอย่างไรหรือ" ท่านผู้บำเพ็ญชายถามไถ่
"ยายไม่ได้ปฏิบัติอะไรหรอก นอกจากท่องมนต์อยู่บทเดียวเท่านั้น"
"บอกหน่อยได้ไหมครับ"
"ยายท่อง "อมิตาพด" เพียง 20 ปีเท่านั้นแหละ"
"โอ คุณยายท่องผิดเสียแล้วละ ที่ถูกต้องคือ อมิตาพุทธ" ท่านผู้บำเพ็ญบอก

      หญิงชรารู้สึกผิดหวังมากและเป็นกังวลที่ตนเองได้ท่องมนต์ผิดมา 20 ปี พอแก้การท่องใหม่ใจก็อดคิดไม่ได้ว่าตนเองได้ทำผิดมานานแล้วผ่านไปอีกไม่กี่เดือนท่านผู้บำเพ็ญก็ผ่านมาที่กระท่อมอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้วก็ต้องประหลาดใจเพราะกระท่อมนั้นปราศจากแสงสว่างแห่งธรรมโดยสิ้นเชิง จึงแวะเข้าไปเยี่ยมเยือน

      ครั้งพบหน้าหญิงชราซึ่งมีความเศร้าหมองมาก ท่านผู้บำเพ็ญก็รู้ทันทีว่าตนเองได้กระทำผิดอย่างมหันต์ จึงได้กล่าวขอโทษต่อหญิงชราแล้วบอกว่า
"คราวที่แล้ว กระผมจำผิดเอง แท้ที่จริงคุณยายท่องมา 20 ปีน่ะถูกต้องแล้ว"
นับจากนั้นมาแสงสว่างแห่งธรรมก็ปรากฏขึ้นที่กระท่อมอีกครั้งหนึ่ง เพราะคุณยายมีจิตเป็นหนึ่ง จึงเปล่งประกายอานุภาพแห่งธรรมให้ปรากฏได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ร่ายโศลกต่อไปว่า
"ถ้าท่านปรารถนาค้นหาทางที่ถูกต้อง การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น จึงจะนำท่านตรงดิ่งไปถึงได้แล้วถ้าไม่มีความดิ้นรนเพื่อบรรลุถึงพุทธภูมิ ท่านก็มัวคลำอยู่ในที่มืด ซึ่งไม่มีโอกาสพบได้เลย ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้นย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้ ถ้าเราพบความผิดของบุคคลอื่นเราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเองในการที่จะไปรื้อค้นหาความผิด โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่นออกไปเสียจากสันดานเราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลสได้เป็นอย่างดี เมื่อใดความชังและความรักไม่กล้ำกลายใจของเรา เราหลับสบาย"

      หนทางที่ถูกต้องจึงเป็นหนทางของตนเองซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย เพราะถ้าเอาใจใส่พฤติกรรมของคนอื่น เราก็พ้นไปจากวิถีจิตและลืมพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตของตนเองโดยสิ้นเชิง การปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จนั้น พระวจนะของท่านจอมปราชญ์ ขงจื้อ น่าพิจารณาอย่างยิ่งซึ่งมีข้อความดังนี้
      "จงยกโทษให้ผู้อื่นเยี่ยงเดียวกับที่ยกโทษให้แก่ตนเอง แต่จงลงโทษตนเองเฉกเช่นเดียวกับต้องการลงโทษผู้อื่น"
ใครที่ปฏิบัติได้ เช่นนี้ย่อมเป็นผู้ที่เดินหนทางที่ถูกต้องด้วยตนเองอย่างแท้จริง

2134
ตอนที่ 23.... มองหาความผิดตนเอง

      ผู้มีปัญญาอันแท้จริงย่อมค้นหาปัญญาของตนเองมากกว่าที่จะไปค้นหาจากภายนอก เพราะปัญญาภายนอกมิอาจแก้ไขปัญหาทุกข์ของตนได้เลย
โศลกหรือคาถาของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเอาไว้ชัดเจนว่า
"โพธิ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายใน "ธรรมญาณ" ของเรา
คนเขลาเท่านั้นที่พยายามมองหาโพธิจากที่อื่น
เช่นเดียวกับจิตอันบริสุทธิ์ หาพบได้ภายในจิตที่ไม่บริสุทธิ์ของเรานั่นเอง"

      โพธิ หมายถึงปัญญาแห่งการรู้แจ้งของตนเองซึ่งมีมาแล้วตามธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาความทุกข์ของคนในโลกนี้ล้วนต้องพึ่งพาปัญญาของตนเองทั้งสิ้น แต่คนที่ไม่ศรัทธาตนเอง ตนเองจึงมองหาแต่ที่พึ่งจากที่อื่นเสมอไปและเชื่อว่า ผู้อื่นจักช่วยให้ตนเองบริสุทธิ์พ้นไปจากบาปกรรม
ตัวอย่างที่เห็นกันทั่วไปคือผู้ที่ไปอาศัยน้ำมนต์ น้ำหมาก ดอกบัว และเครื่องรางของขลังทั้งปวง ล้วนเป็นผู้ที่ขาดศรัทธาในตัวเองสิ้นเชิงจึงฝากอนาคตแห่งชีวิตไว้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็น "เดรัจฉานวิชา"
วิชาเหล่านี้เป็น "มิจฉาปัญญา" เพราะพาผู้คนให้หลงใหลงมงายพ้นไปจากวิถีแห่งการใช้ปัญญาของตนเองให้รู้แจ้ง จิตญาณจึงต้องไปเวียนว่ายในภูมิวิถีหกไม่มีที่สิ้นสุด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกต่อไปว่า
"ทันทีที่เราดำรงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบังทั้งสามประการคือ กิเลส เวรกรรม และการตกนรก
ถ้าเดินอยู่ในหนทางแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำเป็นต้องกลุ้มใจต่ออุปสรรคที่ทำให้เราสะดุดล้ม
ถ้าเราคอยสอดสายตา ระวังความผิดของตนเองอยู่เสมอ
เราก็จะไม่เดินไถลออกไปจากหนทางที่ถูกต้อง"

      การดำรงจิตให้ถูกต้องหมายถึงตรงต่อสัจธรรมแห่ง "ธรรมญาณ" ซึ่งสภาวะเช่นนั้นมิได้ฝักไฝ่ทั้งความดีหรือความชั่ว ดังนั้นจิตที่อยู่ในหนทางแห่งทางสายกลางย่อมไม่มีบาปกรรมปรากฎขึ้นในจิต เพราะไม่มีเจตนาใดๆ เกิดขึ้นเลย

หนทางชีวิตที่ถูกทาง หมายถึงการเดินอยู่ในปัญญาของตนเองเพื่อใช้ศักยภาพของปัญญาให้รู้แจ้งในความทุกข์ แม้มีอุปสรรคขัดขวางอย่างไร การใช้ปัญญาของตนเองย่อมผ่านพ้นสิ่งขัดขวางนั้นไปได้

อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งคือ มนุษย์เรามีมักไม่เห็นความผิดชั่วของตนเอง แม้มีผู้เมตตาชี้ให้เห็นก็ไม่ยอมรับ แต่ความผิดบาปของผู้อื่นล้วนเห็นกระจ่างชัดและพยายามที่จะช่วยเขาเหล่านั้นโดยอ้างว่าเป็น "ความเมตตา" การเห็นความผิดบาปของคนบาปจึงกลายเป็นอุปสรรคของตนเองเพราะในที่สุดก็ทำให้จิตเศร้าหมองและพ้นไปจากวิถีแห่งการรู้ตนเอง

      ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ซูตงพอเป็นกวีเอก และมีฝ่าอิ้นต้าซือเป็นสหาย ทั้งสองมักสนทนาธรรมกันอยู่เนืองๆ และทุกครั้งซูตงพอพ่ายแพ้แก่ ฝ่าอิ้นต้าซือ เสมอจึงรู้สึกไม่พอใจมาก
      วันหนึ่ง ซูตงพอ จึงถาม พระอาจารย์ฝ่าอิ้นว่า
"ถามจริงๆ เถอะ ท่านเห็นผมเป็นอะไร"
"อมิตาพุทธ อาตมาเห็น ท่านซูตงพอเป็นพุทธะ"
      เมื่อตอบแล้วพระอาจารย์ฝ่าอิ้น จึงถามซูตงพอบ้างว่า
"แล้วท่านเห็น อาตมาเป็นอะไร"
      ซูตงพอหัวเราะก่อนที่จะตอบกลับไปด้วยความพออกพอใจยิ่งว่า
"ท่านแน่ะเรอ ขี้หมากองเดียว"
      พระอาจารย์ฝ่าอิ้นได้แต่ยิ้มแล้วไม่ตอบว่ากระไรเลย ซูตงพอดีใจนักที่เอาชนะหลวงพ่อฝ่าอิ้นได้จึงกลับไปเล่าเรื่องให้น้องสาวฟังโดยละเอียด
"ตั้งแต่เถียงกันมา วันนี้พี่เพิ่งได้ชัยชนะ" ซูตงพอคุยด้วยความภูมิใจ
"วันนี้ก็แพ้อีกแล้ว" น้องสาวตอบ
"แพ้ยังไง ก็พี่เป็นพุทธะ พอพี่บอกว่าท่านเป็น ขี้หมากกองเดียวก็เงียบกริบเลย"
"ภายในจิตของหลวงพ่อฝ่าอิ้น ท่านเป็นพุทธะ เพราะฉะนั้นจึงมองใครๆ เป็นพระพุทธะ แต่ภายในจิตของพี่มีแต่กองขี้หมาจึงเห็นผู้อื่นเป็นกองขี้หมา อย่างนี้มิใช่หรือ"
      คำชี้แจงของน้องสาวย่อมเป็นเครื่องชี้ว่า ภายในจิตของตนเองเป็นอย่างไร ย่อมเห็นผู้อื่นเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นการค้นหาผิดบาปของคนอื่นได้มากเท่าไหร่ก็ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนถึงผิดบาปของตนเองที่สถิตอยู่ภายในจิตมากเท่านั้น
การค้นหาความผิดบาปของผู้อื่นนับเป็นการเสียเวลาอย่างแท้จริงเพราะไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผิดบาป ของคนอื่นได้เลย เพราะเราไม่อาจรู้ซึ้งถึงเหตุแห่งบาปของเขาเหล่านั้น
 
แต่การค้นหา ผิดบาป ของตนเองย่อมก่อให้เกิดความสำเร็จเพราะสามารถสำนึกแก้ไขตัวเองได้ ประการสำคัญ เราย่อมรู้เหตุแห่ง "ผิดบาป" ของตนเองได้ชัดแจ้งที่สุดเปรียบเสมือนหนึ่งเห็นขยะภายในบ้านของเรา ย่อมปัดกวาดทำความสะอาดได้ไม่ยากนัก เว้นเสียแต่ว่าไม่ยอมจัดการเท่านั้นเอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้ามาปัดกวาดทำความสะอาดบ้านของเราได้ดีกว่าตัวเรา

      การเห็น "ความผิด" ของตนเองจึงเป็น "ปัญญา" อันแท้จริงและยิ่งใหญ่ที่สุดเฉกเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ เห็นทุกข์ของตนเองและกำจัดทุกข์ได้เด็ดขาดนั่นเอง

2135
ตอนที่ 22.... พ้นโง่-พ้นฉลาด

      ผู้ปฏิบัติธรรมหรือศึกษาพระพุทธศาสนามีความเข้าใจว่ามนต์อันเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ นำมาท่องบ่นแล้วเกิดความศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ให้พ้นไปจากตนเองได้
มนต์จึงกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่ง
ความจริงแล้วมีคำกล่าวที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า คนที่สวดมนต์ดีกว่าไม่สวด คนที่เข้าใจความหมายของมนต์ดีกว่าคนสวดมนต์ แต่คนที่สามารถปฏิบัติตามมนต์ได้ย่อมดีกว่าคนที่เข้าใจความหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ประทานโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป" เพื่อให้ท่องบ่นกันทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนี้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร แม้จดจำถ้อยคำของท่านได้ก็เสียเปล่า
คำว่า "นิรรูป" หมายถึง ไม่มีรูปและกล่าวได้ว่าสิ่งที่รู้รูปนั้นก็คือ "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นความหมายแห่งโศลกนี้จึงเป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" ที่จะนำพาคนทั้งหลายได้พ้นไปจากบาปกรรมทั้งปวง
     
 พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า
"อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรมรวมทั้งคำสอนในนิกายธยานะอาจเปรียบได้ดังดวงอาทิตย์กำลังแผดแสงจ้าอยู่กึ่งกลางนภากาศ
บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไรนอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เพียงอย่างเดียวและตั้งใจในการที่ท่านกลับมาสู่โลกนี้ก็เพื่อขจัดพวกความเห็นผิด"
 
คำสอนอันเกี่ยวกับ "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกว่า "นิรรูป" เพราะฉะนั้นการอธิบายสิ่งที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งนัก คำสอนทั้งปวงพระอริยเจ้าจึงพุ่งตรงที่จิต เพราะภาวะ "นิรรูป" จึงเป็นสัจธรรมที่นำพาให้ธรรมญาณคืนกลับไปสู่สถานเดิมได้
แต่เพราะเข้าใจยากจึงมีความเห็นผิดเกี่ยวกับภาวะ "ธรรมญาณ" เป็นเรื่องโต้แย้งได้ไม่มีที่สิ้นสุด
ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์สามารถทำให้ท้องฟ้าสว่างไสวได้ฉันใดปัญญาของพระอริยเจ้าย่อมทำให้คนหลงที่ไม่งมงายจนเกินไปอาจพ้นไปจากเมฆหมอกแห่งกิเลสตัณหาบดบังฉันนั้น เพราะแท้ที่จริงทุกคนต่างมี "ธรรมญาณ" เหมือนกันทั้งนั้นเพียงแต่ว่าใครมีเมฆแห่งกิเลสบังเอาไว้หนาทึบมากกว่ากันเท่านั้นเอง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกต่อไปว่า
      "แม้แบ่งแยกธรรมปฏิบัติออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และ "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง แต่ก็ยังมีคนบางพวกที่รู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นเพราะคำสอนของระบอบนี้ มุ่งให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" ซึ่งระบอบที่คนโฉดเขลา เข้าใจไม่ได้"
ความหมายแห่งโศลกตอนนี้มีคำอธิบายได้ว่า

การถ่ายทอดจาก "จิต" สู่ "จิต" นัน้เป็นลักษณะของฉับพลันแต่พื้นฐานของบุคคลเหล่านี้กล่าวได้ว่าต้องมีการปฏิบัติธรรมาอย่างลึกล้ำหลายชาติ ผ่านมาจนบารมีสูงส่งพอรับรู้ก็สว่างไสวในทันทีทันใดเช่นเดียวกับการถูกตบหน้า "ธรรมญาณ" ก็สว่างโพลงฉับพลัน
แต่ผู้ที่ไร้รากฐานทางธรรมะซึ่งเปรียบได้ดังหญ้าที่ปราศจากรากแม้ได้รับน้ำฝนมากแค่ไหน หญ้านั้นก็ไม่อาจปริหน่อเจริญเติบโตเลยบุคคลเหล่านี้แม้ในกายตนมี "ธรรมญาณ" เช่นกัน แต่ไม่มีบารมีเพียงพอที่จะรับได้เพราะกิเลสร้ายบดบังเยี่ยงเดียวกับเมฆบดบังพระอาทิตย์ฉะนั้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "เราอาจอธิบายหลักธรรมระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้งหมื่นวิธี แต่คำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้นในดวงหทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น ต้องดำรงแสงสว่างแห่งปัญญาเอาไว้เนืองนิจ"
การที่อารมณ์ครอบงำ "ธรรมญาณ" ซึ่งหมายถึงภาวะสติปัญญามิได้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ก่อให้เกิดกรรมเวรมากมายซึ่งห่อหุ้มจาก "ธรรมญาณ" มืดมิด แต่แสงสว่างแห่งปัญญาจึงเปรียบเสมือนหนึ่งประทีปที่ทำให้ความมืดหายไป เพราะฉะนั้นใครที่มั่นคงในปัญญาย่อมมีโอกาสที่สว่างไสวด้วย "ธรรมญาณ" ของตนเอง

      "ความเห็นผิดย่อมทำให้เราจมปลักอยู่ในห้วงกิเลส
ส่วนสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นถูกย่อมเปลื้องเราให้พ้นไปจากกองกิเลสนั้น
แต่เมื่อใดก็ตามที่เราอยู่ในฐานะที่พ้นไปจาก "ความเห็นผิด" และ "ความเห็นถูก"
เมื่อนั้นเราจักบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด"

      ความเห็นถูกย่อมสร้างผลผูกพันความถูกเอาไว้เช่นเดียวกับ "ความเห็นผิด" ย่อมสร้างผลผิดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าความเห็นนั้นอยู่ในลักษณะใดก็ตามก็เกิดความยึดมั่นถือม่น เพราะฉะนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่อาจมีภาวะแห่งความบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดได้เลย
"ความถูก" ก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่งซึ่งเราหลงติดยึดโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่นคนยึดติดในการท่องบ่นมนต์ โดยไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงแต่มุ่งมั่นว่าต้องศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลลาภผล โดยที่ตนเองไม่ต้องลงเรี่ยวแรงประกอบการงานเลย
ความเชื่อเช่นนี้จึงเป็นความงมงายที่แท้จริง

2136
ตอนที่ 21.... ความไม่ต้องคิด

      กายสังขารอันประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ ย่อมมีกำเนิดมาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นมนุษย์เหมือนกัน จุดสิ้นสุดของร่างกายนี้เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย กลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปตามธรรมชาติ
ส่วน "ธรรมญาณ" ซึ่งอาศัยอยู่ในตัวปลอมมีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภูมิอันเป็นศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุดแต่เมื่อมาอาศัยกายมนุษย์ได้สูญเสียศักยภาพไปตามอายตนะหก คือ ตา หู จมูก ปาก กาย และ จิต ดังนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่สามารถคืนกลับสู่
ต้นกำเนิดเดิมได้

      ถ้าเปรียบเทียบ "ธรรมญาณ" เป็นเช่นกระแสไฟฟ้าซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ก็ทำหน้าที่ให้ความเย็น หรือเข้ามาสู่หลอดไฟฟ้าก็ให้แสงสว่าง เช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในมนุษย์ซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน จึงทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน กระแสไฟฟ้าไม่อาจกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิมได้เพราะมีการ "ช็อต" ทำให้ไฟฟ้ารั่วจึงอ่อนกำลังลงเช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ไม่อาจคืนกลับแดนอนุตตรภูมิได้เพราะศักยภาพเดิมสูญเสียไปตามกิเลสที่ยั่วย้อมทำลายความสามารถดั้งเดิมลงไปนั่นเอง
ความสมบูรณ์ของ "ธรรมญาณ" อยู่เหนือสภาวะแห่งความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น
      ธรรมญาณ จึงอยู่เหนือปัญญา
      ธรรมญาณ อยู่เหนือ "จิต"

ถ้านำเอาคำกล่าวของเหลาจื่อมาเทียบเคียงแล้วก็จะให้ความหมายอันแท้จริงของ "ธรรมญาณ" กล่าวคือ "ความไม่มีคือภาวะที่แท้ของธรรมะ แต่ความมีเป็นบทบาทของธรรมะ"
ธรรมะ คือความว่างอันไร้ขอบเขต แต่สามารถสร้างสรรพสิ่งแต่สรรพสิ่งทั้งปวงมิใช่ธรรมะ
สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" จึงไม่มี แต่เมื่อเกิดอาการเคลื่อนไหวจึงเป็นจิตที่คิดได้มากมายจนมีสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมิใช่ธรรมะ


      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"บุคคลผู้เข้าถึงวิถีทางแห่ง "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่งและได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกข์พระองค์ได้ดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าต่อไป"
การเข้าถึงสภาวะแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือการคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้และเป็นตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปลักษณ์ใดๆ เลย

ความไม่มีอันแท้จริงเท่านั้นจึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจังแต่สิ่งที่เป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" อันมีสภาวะเป็น "จิต" นั้นจึงตกอยู่ในกฎแห่งการเกิด-ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุไฉน "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
เหตุเพราะ "ความไม่ต้องคิด" เป็นสภาวะแห่งความว่างดั้งเดิมตามธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้
สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีรากฐานมาจากความว่างอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครเข้าถึง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือ การคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนซึ่งตรงต่อสภาวะของต้นกำเนิดเดิม จึงได้ดื่มรสเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงเช่นกัน

      ผู้ที่คืนสู่สภาวะแห่ง"ธรรมญาณ" ของตนย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไปนั้น ถ้านำเอา ปณิธาน ของพระพุทธองค์ในสมัยที่เกิดเป็น สุเมธดาบส มาเทียบเคียงก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเพราะในครั้งนั้น พระพุทธทีปังกร พุทธเจ้าเสวยอายุปกครองธรรมกาลอยู่นั้นได้เสด็จไปพร้อมกับสาวกสู่นครแห่งหนึ่ง ชาวพระนครกำลังตระตรียมปัดกวาดบ้านเมืองเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า สุเมธดาบสรู้ข่าวจึงเข้าร่วมงานบุญนี้ด้วย พอดีพระพุทธทีปังกรเสด็จมาถึง แต่หนทางยังไม่เสร็จ สุเมธดาบส จึงสละกายตนทอดเป็นสะพานให้พระพุทธทีปังกรเสด็จเหยียบไปบนหลังของตนเอง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง

พระพุทธทีปังกรทรงทราบได้ด้วยพระญาณจึงทรงพยากรณ์ไว้ว่า ดาบสผู้นี้จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์
ถ้าสุเมธดาบสมได้ดื่มรสแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ซึ่งหมายถึง "ธรรมญาณ" ของตนเองแล้ว เหตุไฉนจึงมีจิตตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"ผู้ที่ได้รับคำสอนของอาตมาจะให้สัจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่ศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตตนเองทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง "สำนักฉับพลัน" โดยไม่ย่อท้อถอยหลังอันเป็นความตั้งใจขนาดเดียวที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักบรรลุถึง วิสุทธิมรรคาโดยไม่มีความล้มเหลวเป็นแน่แท้"

      ในขณะเดียวกันพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ถ่ายทอดคำสอน "รู้อย่างฉับพลัน" ต่อๆ กันไป โดยไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นแม้แต่น้อยแต่สำหรับบุคคลผู้อยู่ในนิกายอื่นซึ่งมีความเห็นและจุดมุ่งหมายผิดไปจากนี้ไม่ควรถ่ายทอดหลักธรรมะนี้ให้ เพราะจักเกิดผลร้าย เพราะเกรงว่าพวกคนเขลาเหล่านี้ นอกจากไม่เข้าใจแล้วยังจะให้ร้ายป้ายสีหลักธรรมะอันจักเป็นผลร้ายทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะให้เหือดแห้งเป็นหมันไปหลายร้อยกัลป์พันชาติ

"ความไม่ต้องคิด" จึงเป็น "ความว่างอันสมบูรณ์" เพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากนักที่ผู้ไม่ใช้ปัญญาจะทำความเข้าใจได้และยังหัวเราะเยาะทำลายคุณธรรมของตนลงไปแต่กลับสร้างบาปกรรมโดยไม่รู้ตัวด้วย


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=11

2137
ตอนที่ 20.... วิมุติปัญญา

      ธรรมญาณ" ของมนุษย์มีพลานุภาพยิ่งใหญ่นัก แต่ที่ด้อยศักยภาพเพราะกิเลสทั้งปวงที่พัวพันและทำให้ด้อยค่าลงไปจึงกลายเป็นปุถุชนที่มีความ "ติดยึด" ทุกสิ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในสภาพเช่นไร ด้วยเหตุนี้ปัญญาจึงไม่มีอิสระ ความคิดที่เกิดขึ้น จึงปนเปไปตามสภาพของสิ่งที่ "ติดยึด"ทั้งสิ้น
ภาวะ "ธรรมญาณ" จึงไม่อาจปรากฎได้
      ความทุกข์จึงเกาะกุม "ธรรมญาณ" เอาไว้อย่างเหนียวแน่นจนแม้แต่ตัวเองก็ไม่อาจรู้ว่านั่นเป็น "ความทุกข์" เพราะไม่อาจใช้ปัญญาดั้งเดิมรู้ปัญหาได้เลย
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้บอกเอาไว้ว่า
"เมื่อเราใช้ปัญญาดั้งเดิมเพ่งพิจารณาภายในได้ ย่อมเกิดความสว่างไสวแจ่มแจ้งทั้งภายในและภายนอกและอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเองการรู้จักเช่นนี้จึงถือว่าเป็นกาารลุถึงวิมุติคือการหลุดเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ภาวะการลุถึงวิมุติก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปัญญา ซึ่งเป็น "ความไม่ต้องคิด" อันหมายถึงการเห็นและรู้สิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน"
การใช้ "ความไม่ต้องคิด" นั้นหมายความว่าใจมิได้กำหนดทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จึงมิได้ติดอยู่กับภาวะดีหรือชั่ว
      เมื่อ "ธรรมญาณ" ขยับจึงเกิดเป็น "จิต" และไหลเลื่อนกลายเป็นความคิดดีหรือชั่วตามเหตุปัจจัยที่เกาะเกี่ยวเอาไว้ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากเหตุปัจจัยภายนอกทำให้ "จิต" แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแห่งการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงเกิด "ทุกข์" และ "สุข" เสมอ
"ทุกข์" และ "สุข" ที่จิตกำหนดหมายเอาไว้ไม่ยั่งยืนไปได้เพราะความแปลเปลี่ยนของ "จิต" ไม่มีที่สิ้นสุด มี "เกิด" และ "ดับ" อยู่ตลอดเวลา
ภาวะที่เป็นเช่นนี้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปัญญาดั้งเดิม" และถ้าใช้พิจารณาภายในของตนเองก็ไม่อาจพบพบความสว่างแจ่มแจ้งภายในได้เพราะเป็นการปรุงแต่งโดยอิทธิพลภายนอกทำให้ไม่อาจมองย้อนส่องตนได้ตามความเป็นจริง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "เมื่อเราใช้"ความไม่ต้องคิด"ธรรมญาณนั้นก็แทรกไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดอยู่ในสิ่งใดเลย สิ่งที่เราต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่างเพื่อวิญญาณทั้งหกแล่นไปตามอายตนะหก จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก เมื่อใด "ธรรมญาณ" ของเราทำหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรคและอยู่ในสถานะที่จะ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยอิสระ เมื่อนั้นจึงได้ชื่อว่าเราได้บรรลุ สมาธิฝ่ายปัญญา หรืออิสรภาพสถานะเช่นนี้จึงมีนามว่า การทำหน้าที่ของ "ความไม่ต้องคิด"
      การที่อายตนะหกอันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้รับรสจากวิญญาณทั้งหกย่อมมีความหมายว่า ได้ก่อให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ และ "ธรรมญาณ" รับไปปรุงแต่งภายในย่อมก่อให้เกิดความ "ชอบ" และ "ชัง" เช่น
รูป น่ารักและน่าชัง
รส หวานหรือขม
กลิ่น หอมหรือเหม็น
เสียง ไพเราะหรือหยาบคาย
สัมผัส อ่อนหรือแข็ง
อารมณ์ ดีหรือร้าย
      การกำหนดหมายเอาว่า "ชอบ" หรือ "ชัง" เป็นเรื่องที่ "จิต" ปรุงแต่งไปตามเคยชินและยึดถือเอาไว้แน่นหนา จึงนำความทุกข์ ทำให้ "จิต" เศร้าหมองได้
ถ้าใช้ "ความไม่คิด" ก็คือ การเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็นมิได้ไปกำหนดหมายว่า "น่ารัก" หรือ "น่าชัง" เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าเราบรรลุถึง "วิมุติปัญญา" เพราะสามารถตัดความยึดมั่นถือมั่นได้เด็ดขาดความเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดเหล่านี้จึงเป็นจริง
แต่ปุถุชนยึดมั่นไม่อาจตัดออกไปได้ "ปัญญา" ที่ใช้ไปจึงเป็นไปตามสภาพแห่งความอยากได้ ถ้ารูปสวยและปฏิเสธถ้ารูปชัง
      เมื่อได้ "รูปชัง" จึงเกิดความทุกข์
      ครั้นได้ "รูปสวย" จึงเกิดความสุข
      แต่ไม่ว่าจะ "สวย" หรือ "น่าเกลียด" ล้วนต้องเสื่อมสลายไปตามสภาพความเป็นจริงแห่งสัจธรรม ดังนั้นจึงเกิดความเศร้าหมอง "ธรรมญาณ" จึงมิได้พบภาวะอิสระ ไม่อาจ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยง่ายเพราะติดตรึงอยู่กับอารมณ์ทั้งหก
วิมุติปัญญา เป็นปัญญาอันทำให้เกิดภาวะหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ได้โดยมิต้องกำหนดหรือบีบบังคับแต่อย่างใดเลย
เพราะฉะนั้นการภาวนาใดๆ หรือใช้แปดหมื่นสี่พันวิธีเพื่อบีบบังคับหรือกำหนดมิให้ "ธรรมญาณ" ติดตรึงอยู่กับอารมณ์ทั้งหกจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น เมื่อเห็น รูปสวย จิตเกิดภาวะยึดติดแล้วนั่งสมาธิหลับตาเพื่อตัดรูปนั้นจึงเป็นเพียงการเบี่ยงเบน อายตนะภายนอกคือ "ตา" ให้พ้นไปจากรูปนั้น แต่ "จิต" ยังติดพันอยู่จึงตัดไม่ขาด
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "การหักห้ามความคิดถึงสิ่งต่างๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้มิให้ปรากฎหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นและข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด"
"วิมุติปัญญา" หรือ "ปัญญาดั้งเดิม" ย่อมเป็นสิ่งเดียวกันอันหมายถึง "ธรรมญาณ" ที่แต่เดิมมาก็ปราศจากการยึดติดในสิ่งใดๆอยู่แล้วนั่นเอง


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=10

2138
ตอนที่ 19.... ครูที่แท้จริง
      ท่านขงจื๊อกล่าวว่า "สามคนเดินมาจักมีคนหนึ่งเป็นครูของเราได้" ความหมายอันแท้จริงมิได้หมายความแต่เพียงว่ามีคนสามคนเดินมาจริงๆ เท่านั้น แต่หมายถึงสภาวะแห่งการรู้จักธรรมญาณของตนนั่นแหละจึงเป็นครูที่แท้จริงของตนเอง
ครูของตนเองจึงสามารถแยกแยะความดีความชั่วและตัดสินใจได้เองในกรณีที่ต้องที่ต้องเลือกเดินทางระหว่างสองแห่งความดีและชั่วเพราะฉะนั้นเมื่อมีผู้ทูลถามพระพุทธองค์ว่าทรงโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นไปจากวัฏสงสารมากน้อยเท่าไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า
      "ตถาคตมิได้โปรดใครเลย"
ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้คือการยอมรับว่าทุกคนต่างมีปัญญาเป็นของตนเองและเป็นที่พึ่งที่แท้จริง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
      "เมื่อครั้งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าได้แสดงธรรมให้อาตมาฟัง ก็ได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว ตรัสรู้ข้อธรรมะในทันทีที่ท่านพูดจบและทันใดนั้นเองก็ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของ ตถตา"
คำว่าตรัสรู้มิได้มีความหมายเพียง "รู้เอง" แต่เพียงอย่างเดียวแต่มีขอบเขตกว้างขวางไปถึงสภาวะแห่งความเป็นของ "ธรรมญาณ"

      "รู้เอง" และ "เป็นเอง" จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้เลย หรือแม้แต่อิทธิพลการบังคับจากผู้อื่นแต่เป็นภาวะที่ตนเองเท่านั้นที่เข้าใจและเป็นไปตามธรรมชาติแห่ง "ตถตา" หรือ "ธรรมญาณ" นั่นเอง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะที่จะประกาศคำสอนแห่งนิกาย "ฉับพลัน" ต่อไป เพื่อที่ผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิและเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง ด้วยการอบรมจิตใจในวิปัสสนาภาวนา"

การอบรมจิตให้เป็นวิปัสสนามิได้หมายถึงการนั่งหลับตาแล้วภาวนาถ้อยคำใดหรือกำหนดลมหายใจ การเคลื่อนไหวของร่างกายอาการเช่นนี้มิใช้ "วิปัสสนา" แต่เป็นเรื่องของการกำหนดรูปลักษณ์เพื่อหลอกจิตให้ติดพันอยู่กับร่างกายแต่เพียงสถานเดียวและหวังว่าการหลอกเช่นนี้จักทำให้จิตเกิดสภาวะหนึ่งเดียวอันเป็นปัญญาสูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปมิได้
 
การทำงานของจิต ที่อยู่ในสภาวะแห่งการตัดกิเลสที่ไหลเข้าออกทางอายตนะหก หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ จึงถือเป็น "วิปัสสนา" อันจริงแท้และเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเอง โดยไม่มีใครสามารถกระทำแทนได้เลย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ถ้าไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้ เขาจะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารีซึ่งมีความรู้และความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักสูงให้ช่วยชี้หนทางอันถูกต้อง ผู้ที่ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งใน "ธรรมญาณ" จึงอยู่ในตำแหน่งอันสูงสุดและสามารถที่จะนำเอาผู้ที่อยู่ในฝ่ายกุศลเข้าสู่ธรรรมะ
 
หน้าที่อันแท้จริงของผู้คงแก่เรียนก็เป็นเพียงผู้ชี้หนทาง แต่การเดินทางเพื่อพบ "ธรรมญาณ" ยังเป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องเดินด้วยตนเองไม่มีผู้ใดสามารถทำหน้าที่นั้นแทนได้เลย เพราะแต่ละคนล้วนมีปัญญาอันแท้จริงอยู่แล้ว
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจริงรับรองความจริงนี้ว่า
"บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตรวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอนในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวดล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมทั้งสิ้น"

เป็นการรับรองคุณภาพของ "ธรรมญาณ" ของปุถุชนและพระอริยะเจ้าแท้ที่จริงเป็นอย่างเดียวกันไม่มีข้อแตกต่างกันเลย จึงมีแต่ผู้ที่เดินทางไปพบด้วยตนเองกับปุถุชนผู้ไม่ปรารถนาเดินทางไปค้นพบ "ธรรมญาณ" ของตน

      ดังนั้นผู้ที่ไม่สามารถปลุก "ธรรมญาณ" ของตนเองให้สว่างไสวขึ้นมาได้ก็เหมือนหนึ่งผู้ที่ไม่รู้หนทางจึงจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากผู้ที่รู้หนทางนั้น
แต่สำหรับผู้ที่ตั้งต้นเดินทางด้วยตนเองโดยรู้หนทางนั้นย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร เพราะเหตุนี้จึงเป็นความคิดที่ผิดที่ถือคติว่าถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียนแล้ว เราไม่อาจพบวิมุติคือความสุขอันสูงสุดด้วยตนเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะการบรรลุถึง "ธรรมญาณ" นั้นมันเป็นปัญญาภายในของเราเองต่างหากแต่ที่จะทำให้เกิดความสว่างไสวได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกและคำพร่ำสอนของผู้คงแก่เรียน ก็ยังเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน ถ้าเราทำไม่ถูกหลงงมงายเสียแล้วโดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด เพราะฉะนั้นเราควรรู้จิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น และในทันทีทันใดที่เรารู้จักตัว "ธรรมญาณ" เราย่อมบรรลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะทันใดนั้น"

คำแนะนำสั่งสอนจากภายนอกยังต้องใช้ปัญญาตัวจริงพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องหรือทำให้หลงงมงาย ปัญญาตัวจริงนั้นย่อมกำกับด้วย "สติ" ที่ทบทวนใคร่ครวญและทดลองปฏิบัติจนในที่สุดย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า เป็นหนทางอันถูกถ้วนที่สมควรจะเดินต่อไปหรือหยุดเสีย
ในโลกนี้ย่อมมีผู้ที่ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่มากมายและหลายคนยังติดยึดอยู่กับความเห็นผิดและพยายามชักจูงให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างผิดๆ ด้วยการสำคัญตนผิดว่าตนเองบรรลุสู่ความเป็น "ครู" ของคนอื่นได้แล้ว แท้ที่จริงแล้วไม่มีใครเป็นครูของใครได้เลย เพราะต่างมี "ครู" ของตนเองอยู่แล้ว

      พระพุทธองค์จึงทรงเป็นบรมครูที่แท้จริงเพราะพระองค์มิได้ยึดถือว่าเป็น "ครู" ของใครเลย แต่กลับย้ำให้ทุกคนได้รู้ว่าตนเองเท่านั้นแหละที่เป็น "ครู" ของตนเอง

ถ้าใครปฏิบัติตนเป็น "ครู" ของตนเองได้จึงจักได้ชื่อว่าพบ "ครูที่แท้จริง"

2139
ตอนที่ 18.... เหมือนที่ต่าง

      คนเรามีความแตกต่างกันด้วยรูปลักษณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่เป็นดังนี้ เพราะปัจจัยสองอย่างคือ เวลา และ สถานที่
คนไหนเกิดเวลาเดียวกันต้องเป็นคนละเตียง
คนไหนเกิดเตียงเดียวกันต้องคนละเวลา
      ความเหมือนกันเช่นนี้จึงสร้างความแตกต่างให้แต่ละคนเป็นหนึ่งเดียวในโลกเหมือนกันหมดเพราะต่างมีกรรมเป็นสมบัติของตน ดังนั้นฝาแฝดจึงไม่เหมือนกัน

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า แม้ร่างกายแตกต่างกัน แต่ปัญญาเหมือนเหมือนกันหมดทุกคน ข้อที่แตกต่างกันอยู่ตรงที่ว่า ใจของเขาสว่างไสวหรือมืดมนเท่านั้นเอง
คนที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนเองและมีความเห็นอย่าง โง่เขลาว่าการบรรลุพุทธธรรมมีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆ ที่ประพฤติทางกายภายนอกมิได้เกี่ยวข้องกับจิตเลย คนพวกนี้เข้าใจอะไรได้ยาก

ส่วนคนที่เข้าใจคำสอนของ "นิกายฉับพลัน" และรู้สึกว่าพิธีรีตองต่างๆ ไม่เป็นของสำคัญ มีความคิดเห็นเป็นไปในทางที่เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" อย่างเดียว คือมีความเห็นถูกต้องจนกระทั่งตนเองหลุดพ้นไปจากกิเลสมลทินต่างๆ อย่างเด็ดขาด คนจำพวกนี้แหละที่เรียกว่าเป็นผู้รู้จัก "ธรรมญาณ" ของตนแล้ว

      ความหมายของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นเป็นความจริงถึงพิธีต่างๆ มิได้ทำให้ใครพ้นจากความทุกข์ได้เลยเพราะพิธีการทั้งปวงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติด้วย "กาย" ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นสิ่งที่ "ติดยึด" ได้ง่ายกว่าสิ่งใดทั้งหมด ส่วนทาง "ใจ" นั้นเป็นเรื่องที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะเหตุนี้จึงชอบ "ทำบุญ" มากกว่าการ "บำเพ็ญจิต"

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงการปฏิบัติทางใจว่า
"ขึ้นชื่อว่าใจแล้ว เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ โดยเป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก มีอิสระที่จะไปหรือจะมา ไม่ถูกพัวพัน และใสสว่างโดยทั่วถึงปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว บุคคลที่สามารถจะทำได้เช่นนี้จึงถือว่าดีถึงขนาดบัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของ "ปัญญา"

ความหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือบรรดาคนเล่านี้จึงมีความสามารถในการให้อรรถาธรรมใดๆ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากพระสูตรต่างๆ ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งปวงได้บัญญัติไว้

      ดังนั้นพระสูตรและปิฎกทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายมหายานหรือหินยานรวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัยของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆ นั่นเอง โอวาทที่มีสอนอยู่ในพระคัมภีร์ เหล่านั้นพระอริยะเจ้าบัญญัติขึ้นโดยยึดหลักสำคัญว่า มีตัวปัญญาแฝงอยู่ในทุกๆคนถ้าไม่มีคนก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะด้วยเหตุนี้เราจึงทราบได้ว่าธรรมะบัญญัติขึ้นมาสำหรับคนโดยเฉพาะ

      พระสูตรต่างๆ เกิดขึ้นโดยพระศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาดซึ่งเราเรียกกันว่า "คนเด่น" และบางพวกเป็นคนโง่เขลา ซึ่งเราเรียกกันว่า "คนด้อย" ดังนั้นคนฉลาดจึงแสดงโอวาทแก่คนเขลา ในเมื่อเขาต้องการให้สอนด้วยการกระทำเช่นนี้เอง คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวด้วยความรวดเร็วได้และใจของเขาก็แจ่มแจ้งด้วยเหตุนี้ แล้วคนเขลาเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคนฉลาดอีกต่อไป

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ ความสว่างวาบเดียวเท่านั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ใครก็ได้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า"

      พระวจนะตอนนี้เป็นการยอมรับสภาพความเป็นจริงของมนุษย์ว่าเหมือนกันเพราะ "ธรรมญาณ" เดิมมาจากที่เดียวกัน ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย เพราะสมัยที่พระพุทธเจ้าหรือพระอริยะเจ้าองค์ใดก็ตามที่ยังไม่ตรัสรู้อนุตตรธรรมก็ล้วนเป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ธรรมดา
"ธรรมะเป็นของที่มีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่าเราไม่สามารถเห็นซึมซาบแจ้งชัดในสภาวะแท้ของ "ตถตา" สภาพที่มีแต่ธรรมญาณเช่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้"

ทุกคนจึงมีโอกาสเห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เหมือนกันโดยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ยกเอาข้อความในโพธิสัตว์ศีลสูตรที่กล่าวเอาไว้ว่า
"ธรรมญาณของเราเป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดและถ้าเรารู้จักใจของเราเองและรู้แจ้งชัดว่าตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้วเราก็จะบรรลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน"
หรือในข้อความในพระสูตร วิมลกิรตินิเทศสูตรก็ยืนยันกล่าวว่า "ทันใดนั้น เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา"
      ความหมายตามข้อความนี้ก็คือ คนที่สู้รบปรบมือกับกิเลสของตนเองจนกำหราบได้หมดสิ้นแล้ว "ธรรมญาณ" เดิมแท้อันสะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้วจักปรากฎขึ้นเองก็เสมือนหนึ่งตัวตนที่แท้จริงได้ปรากฎชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ถูกกิเลสครอบงำเอาไว้นานถึงหมื่นปี
ธาตุแท้ของทุกคนเป็นหนึ่งเดียวแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กิเลส
แต่คนมีกิเลสเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างกันด้วยความหยาบละเอียด

      ดังนั้นในความเหมือนจึงมีความแตกต่าง และในความแตกต่างนั้นเองจึงมีความเหมือนกัน

2140
ตอนที่ 17.... มหาปัญญา
      ไม่ว่ามนุษย์ถือกำเนิดมาจากฐานะแตกต่างกันอย่างไร ต่างก็มีปัญญาเท่าเทียมกัน แต่เวลาเปล่งอานุภาพกลับต่างกัน ที่เป็นดังนี้เพราะมีกิเลสบดบังจึงทำให้ดูเหมือนปัญญาแตกต่างกันดังนั้นบางคนจึงได้ชื่อว่า "ฉลาด" แต่บางคน "โง่เขลา"
คนธรรมดาสามารถใช้ปัญญาแยกแยะ "ดีชั่ว" ออกจากกันได้แต่กลับติดตรึงอยู่กับ "ความดี" หรือบางคนติดอยู่กับ "ความชั่ว" ปัญญาจึงมิอาจเปล่งประกายอานุภาพออกมาได้อย่างเต็มที่
 
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"มหาปรัชญาปารมิตาเป็นปัญญาอันใหญ่หลวงซึ่งเป็นของสูงสุดใหญ่ยิ่ง อยู่ในสภาวะที่ ไม่หยุด ไม่ไป และไม่มา"
ปัญญาอันใหญ่ยิ่งนี้เมื่อเริ่มต้นคิด ไม่ว่าอานุภาพนั้นดีหรือชั่วก็ "ไม่หยุด" ที่จะตัดทิ้งไปเสีย เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้มีสติอยู่ในสภาวะเดิมที่ "ไม่ไป" และจึงไม่จำเป็นต้อง "มา"

ถ้าเปรียบเทียบกับ "ปัญญาธรรมดา" เมื่อเริ่มต้นคิดสิ่งใดไม่ว่าดีหรือชั่วก็ไม่เคย "หยุด" และกลับคิดไปไกลจนกว่าจะรู้สึกตัว จึงสามารถดึงกลับมาอยู่ในสภาวะเดิม เพราะฉะนั้นมีคนเป็นจำนวนมากต้องตกไปสู่อบายภูมิเพราะไม่มี "สติ" ปล่อยให้ปัญญาความคิดพาตัวกระทำความชั่วจนกิเลสพอกหนาแน่นบดบังปัญญาเดิมแท้ที่ไม่อยู่ในภาวะดีหรือชั่ว

      ความมีสติหยุดนิ่งพร้อมสำแดงศักยภาพตลอดเวลาที่มีผัสสะเข้ามากระทบ ปัญญานั้นสามารถแยกแยะได้ตลอด แต่อำนาจของปัญญาอันสูงสุดหรือที่เรียกว่า "ปัญญา" ย่อมมีอนุภาพยิ่งใหญ่ที่สามารถตัด "ความดี" หรือ "ความชั่ว ทิ้งไปได้ทันที เพราะเหตุนี้เองพระธรรมาจารย์ฮุ่ย- เหนิงจึงยืนยันว่า พระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ล้วนแต่ใช้ "มหาปรัชญาปารมิตา" ทำให้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า
ปัญญาอันสูงสุดเช่นนี้จึงสามารถตัดอุปาทาน ซึ่งยึด "ขันธ์ห้า" อันได้แก่ "รูป" เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ทิ้งไปได้ เมื่อขจัดความผูกพันกับขันธ์ได้เช่นนี้ภาวะเดิมแท้ของธรรมญาณจึง
      เปล่งประกายออกมา
      โลภะจึงกลายเป็น ศีล
      โทสะจึงกลายเป็น สมาธิ
      โมหะจึงกลายเป็น ปัญญา

ความหมายอันแท้จริงกล่าวได้ว่า ภาวะเดิมแท้ของธรรมญาณมีความสำรวมเป็น "ศีล สมาธิ ปัญญา" พร้อมมูลอยู่แล้ว
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ตามวิธีปฏิบัติของพระองค์นั้น ปัญญาดวงเดียวเท่านั้นสามารถสร้างความรอบรู้ถึงแปดหมื่นสี่พันวิถีเท่ากับจำนวนกิเลสที่ต้องใช้ปัญญาดับไป

      พระพุทธองค์ตรัสแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์จึงเริ่มต้นจาก "มหาปัญญาอันสูงสุด" ทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่แล้วครบถ้วนในธรรมญาณโดยไม่อาจแยกปัญญาออกจากธรรมญาณได้เลย
ผู้ใดเข้าถึงหลักธรรมปฏิบัติเช่นนี้จึงไม่มีอาการของความคิดเฉื่อยชาหรือท้อแท้ เพราะสภาวะแห่งธรรมญาณที่เป็นอิสระหรือไม่ติอยู่ในอารมณ์อันทำให้จิตทะเยอทะยานจึงเป็นการปล่อยให้ "ตถตา" อันเป็นธรรมญาณทำหน้าที่โดยการใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงไม่ตกอยู่ในภาวะผลักดันหรือแม้แต่ดึงดูดสรรพสิ่งภาวะเช่นนี้จึงเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมญาณและบรรลุเป็นพระพุทธได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า การเข้าถึงสภาวะเช่นนี้ต้องเจริญด้วยปัญญาและศึกษาวัชรัจเฉทิกสูตรอันเป็นสูตรที่เปรียบประดุจดังเพชร สำหรับตัดกิเลสทั้งปวงและทำให้รู้แจ้งแทงตลอดใน "ธรรมญาณ" ผลดี แห่งการศึกษาพระสูตรนี้มีมากมายนัก และผู้ศึกษาพระสูตรนี้ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างลึกซึ้งก็คือผู้ที่มีปัญญาแก่กล้าและสามารถเข้าใจความหมายอันลึกซึ้งได้ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาน้อย เมื่อได้ฟังพระสูตรนี้ก็จักเกิดความสงสัยและไม่เชื่อถือข้อความในพระสูตรนี้

ท่านได้เปรียบเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า เสมือนหนึ่งฝนตกหนักในชมพูทวีป นครเมือง และหมู่บ้านย่อมไหลเลื่อนไปตามกระแสน้ำ เช่นเดียวกับใบอินผลัม แต่ถ้าฝนนี้ตกหนักในมหาสมุทรก็เหมือนกับไม่ได้รับผลกระเทือนแต่ประการใดเลย

      นักศึกษาฝ่ายมหายานเมื่อได้สดับพระสูตรนี้ใจของเขาจะสว่างโพลงและทราบได้ด้วยปัญญาตนเองว่าปัญญานั้นมีอยู่ในธรรมญาณแล้วและเชื่อว่าตนเองไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎกก็สามารถใช้ปัญญาให้เป็นประโยชน์โดยข้ามพ้นฝั่งแห่งวัฏสงสารได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นนิจนั่นเอง
วิปัสสนาภาวนา มีความหมายถึง การใช้ปัญญาตัดกิเลสได้เสมอไป เช่นตัวอย่างแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว คุณสมบัติส่วนตัวอ่านหนังสือไม่ออกแต่ได้รับรู้พุทธจิตธรรมญาณของตน

วันหนึ่งมีแม่บ้านคนหนึ่งมาซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 กิโลกรัม แต่ขอแถมถั่วงอก 2 กำมือ เต้าหู้ 2 ชิ้น และต้นหอม 10 ต้น
      สิ่งแรกที่แม่ค้าคิดคือ แม่บ้านคนนี้โลภมาก แต่ตนเองเพราะรู้พุทธจิตธรรมญาณ ความคิดที่ตามมาคือ ถ้าไม่แถมให้แม่บ้านเราเองก็โลภเช่นกัน อยากขายน้อยๆ ได้เงินมากๆ

แม่ค้าจึงใช้วิปัสสนาญาณตัดโลภของตนเองทิ้งไปจากการแถมให้ตามที่แม่บ้านขอและกระทำเช่นนี้ถึง 10 ครั้ง จนในที่สุด แม่บ้านจึงเกิดความละอายขอจ่ายเงินในครั้งที่ 11 อันเป็นผลของการตัดกิเลสความโลภของตนเองได้ด้วย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า ปัญญาที่มีอยู่ในธรรมญาณของคนเราเปรียบได้ดังฝน ซึ่งความชุ่มชื่นย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งมีชีวิตทุกๆ สิ่ง รวมทั้งต้นไม้พืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดถึงสรรพสัตว์ ดังนั้นเมื่อแม่น้ำและลำธารไหลไปถึงทะเล น้ำฝนที่มันพาไปอันผสมเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร

      แต่ถ้าฝนตกลงมาห่าใหญ่ ต้นไม้ที่รากหยั่งไม่ถึงพอย่อมถูกน้ำพัดซัดถอนรากลอยไปตามน้ำและสูญหายไป ในที่สุดไม่มีอะไรเหลือ จึงเปรียบได้กับคนปัญญาทึบเข้าใจอะไรได้ยาก พอได้ฟังคำสอนของชั้น "บรรลุฉับพลัน" ที่แท้จริง แม้ปัญญาของบุคคลประเภทนี้จักเป็นประเภทเดียวกับพวกปัญญาไว แต่เขาก็ไม่อาจทำตนให้ตรัสรู้ได้ในขณะที่ฟังธรรมะนั้น ที่เป็นดังนี้เพราะเขาถูกครอบงำด้วยคววามคิดผิดเห็นผิดซึ่งลงรากลึกเสียแล้ว
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเปรียบเทียบว่า เหมือนหนึ่งดวงอาทิตย์ถูกบดบังด้วยเมฆไม่สามารถส่องแสงของตนออกมาได้จนกว่าจะมีลมมาพัดพาเมฆหมอกนั้นออกไป แสงสว่างของดวงอาทิตย์จึงปรากฏฉันใดก็ฉันนั้น

ผู้บำเพ็ญจึงไม่อาจแบ่งแยกดูถูกผู้โง่เขลามีแต่เมตตาหาทางขจัดเมฆหมอกแห่งกิเลสของเขาออกไปเท่านั้นเอง

2141
ตอนที่ 16.... กิเลสคือโพธิ
      ชีวิตของมนุษย์ปุถุชนเสมือนลอยคออยู่ในมหาสมุทรซึ่งเต็มไปด้วยสายน้ำ โลภ โกรธ หลง คนที่ได้อาบดื่มกินน้ำเช่นนี้ล้วนติดใจและติดตรึงอยู่จนยากที่จะตัดความยากนั้นลงไปได้ง่ายๆ
สองฝั่งของมหาสมุทรนี้มีสภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ฝั่งขวาเป็นโลกโลกีย์ มี กิน กาม เกียรติ เป็นรสอร่อยใครได้ลิ้มรสจึงยากตัดใจล้วนแต่เพิ่มความอยากให้มากยิ่งขึ้นไปอีกจึงมีภาวะเกิด-ดับไม่สิ้นสุด
ส่วนฝั่งซ้ายพ้นโลกีย์ไม่มี กิน กาม เกียรติ เป็นความว่างเปล่า ไม่มี เกิด-ดับ เป็นวิมุติสุขอันแท้จริง หาคนขึ้นฝั่งทางนี้ยากนักหนา
      ผู้ที่ลอยคอในมหาสมุทรนี้ก็ถูกกระแสความโลภ โกรธ หลง พัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่างแสวงหาการกิน หลงอยู่ในกามรสและติดเกียรติยศชื่อเสียงจนหมดลมหายใจแล้วก็ถูกเหวี่ยงลงไปสู่มหาสมุทรแห่งโลภ โกรธ หลง และไหลพัดเข้าสู่ฝั่งขวาต่อไป
ปุถุชนเหล่านี้ตกอยู่ในอาการดีใจเสียใจไม่สิ้นสุดวนเวียนเช่นนี้โดยไม่รู้ตัวจึงเป็นความหลงอันร้ายกาจ

      พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวถึงการพ้นไปจากฝั่งแห่งการเกิด-ดับด้วยการตัดอุปาทานเสียให้เด็ดขาดอันหมายถึงการยึดถือในขันธ์ทั้งปวง ถ้าตัดได้ขาดสิ้นจึงพ้นจากภาวะเกิด-ดับ สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง อาการเช่นนี้แหละจึงทำให้ปัญญานี้ได้นามว่า "ปารมิตา" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต

การว่ายทวนกระแสโลภ โกรธ หลง จึงต้องใช้ปัญญาอย่างแท้จริงจึงสามารถข้ามสู่ฝั่งซ้ายอันเป็นวิมุติสุข
แต่คนเป็นอันมากที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความหลงจึงท่องบ่น "มหาปรัชญาปารมิตา"ด้วยลิ้น แม้ขณะที่กำลังท่องอยู่ควรคิดงมงายอันเป็นกรรมชั่วก็เกิดแก่เขา แต่ถ้าสามารถปฏิบัติได้ด้วยจิตโดยไม่หยุดหย่อนย่อมรู้ชัดถึง "ตัวจริง" ของมหาปรัชญาปารมิตา

      การรู้ธรรมะเช่นนี้จึงเป็นความรู้ธรรมชาติของปัญญา เพราะฉะนั้นผู้ที่ใช้ปัญญาอันแท้จริงจึงได้ชื่อว่า พุทธะ แต่ผู้ที่มิได้ประพฤติด้วยปัญญาจึงเป็น ปุถุชน
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "คนสามัญธรรมดาคือพระพุทธเจ้าและกิเลสก็คือ โพธิ"
ความหมายที่ท่านกล่าวเช่นนี้ ก็คือ คนทุกคนล้วนมีพุทธจิตธรรมญาณ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีโอกาสสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน หากเขาเหล่านั้นสามารถตัดกิเลสหมดสิ้นก็จักเกิดความสว่างไสวเช่นเดียวกับความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
กิเลส กิน กาม เกียรติ ที่ผ่านเข้าออกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนมีอิทธิพลทำให้เป็น ปุถุชนธรรมดาสามัญ แต่เมื่อใดความคิดที่ทำลายความโง่เขลาเหล่านี้หมดสิ้นไป จึงทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้า

ความคิดที่ผ่านเข้าออกทำให้จิตคิดในอารมณ์นั้น คือ กิเลส
แต่ความคิดที่มาเปลื้องธรรมญาณมิให้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นซึ่งเกิดทีหลังคือ โพธิ อันเป็นปัญญาแห่งการตรัสรู้นั่นเอง
      ถ้าไม่มีกิเลสย่อมไม่เกิดปัญญา
      ถ้าไม่มีปุถุชนไหนเลยจักมีพระพุทธเจ้า


ตัวอย่างของ องคุลิมาล ผู้เป็นบุตรของนางมันตานี พราหมณีถูกอาจารย์แห่งตักกสิลาหลอกลวงให้ฆ่าคนให้ครบพันคนจึงมอบวิชาวิเศษให้
ในครั้งนั้น องคุลิมาล ซึ่งเดิมมีนามว่าอหิงสกะ มีความหมายว่า ไม่เบียดเบียนใครได้กลายเป็นมหาโจรชั่วร้ายฆ่าผู้คนตัดเอานิ้วมือมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอจนชื่อเสียงเลื่องระบือทั่วกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
      วันนั้นพระพุทธองค์เสด็จไปโปรด องคุลิมาล ดีใจเพราะขาดเพียงนิ้วเดียวก็ครบพันตามคำบัญชาของอาจารย์ แต่ออกแรงเดินตามพระพุทธองค์อย่างไรก็ไม่ทัน จึงร้องเรียกว่า "สมณะหยุดก่อน"
"เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด" พระพุทธองค์ตรัสตอบ
"เอ๊ะ เราหยุดเดินแล้ว แต่ท่านยังเดินอยู่ไหนเลยบอกว่าหยุด" องคุลิมาล สงสัยจึงถามออกไป "เราหยุดเบียดเบียนชีวิตสัตว์ วางอาวุธแล้วตลอดไป ส่วนท่านยังไม่หยุดเบียนเบียนชีวิตสัตว์ ถืออาวุธล้างผลาญชีวิตผู้อื่น เราจึงได้ชื่อว่าผู้หยุด และท่านได้ชื่อว่ายังไม่หยุด"

      องคุลิมาล มีรากฐานแห่งปัญญา พอได้สดับพระพุทธวจนะเช่นนี้ จึงได้เกิดสติปัญญา ความสำนึกชั่วตีกลับมาครอบครองจิตอีกครั้งหนึ่ง จึงวางอาวุธติดตามพระพุทธองค์มายังวัดพระเชตวัน และอุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา อันหมายถึงพระพุทธเจ้าบวชให้เอง และในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ตัวอย่างเช่นนี้จึงเป็นหลักฐานสนับสนุน วจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงที่กล่าวว่า คนธรรมดาเป็น พระพุทธะได้
ในชั่วขณะจิตเดียวที่สำนึกจึงเกิด "มหาปัญญา" พาให้ชีวิตจริงคือ "ธรรมญาณ" ขององคุลิมาล พ้นไปจากมหาสมุทรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป

2142
ขอขอบคุณอาจารย์ไซ ผู้ชี้ทาง(ลัด)แห่งปัญญา ทางสว่าง


ตอนที่ 15.... สัมมาปัญญา

      หนทางแห่งสัมมาปัญหาเท่านั้นจึงได้ชื่อว่าไม่เป็นผู้หลงมัวเมาต่อความชั่วทั้งปวง เพราะสัมมาปัญญาเกิดจาก สัมมาสมาธิ
ความจริงแล้ว "ปัญญา" ไม่มีสภาวะแห่ง "สัมมา" หรือ "มิจฉา" เพราะเป็นศักยภาพอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมญาณของทุกคน แต่พอสำแดงอานุภาพออกมาย่อมเป็นไปตามปัจจัยเกื้อหนุนถ้าปัจจัยเป็นไปด้วยความชอบก็แสดงไปในทางที่ถูกต้องชอบธรรมแต่ถ้าปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม อานุภาพที่สำแดงออกมาย่อมเป็นไปในทางที่ผิด
เพราะฉะนั้นในโลกนี้จึงยังมีผู้คิดผิดเห็นผิดไม่ตรงตามหลักสัจธรรม แม้ทุกคนมีภาวะแห่งปัญญามาแต่เดิมแล้วก็ตามที

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า ปัญญาทั้งหมดย่อมมาจากธรรมญาณและมีอยู่แล้วภายในมิได้มาจากวิถีแห่งภายนอกเลย เพราะฉะนั้นโดยตัวของมันเองย่อมเป็นประโยชน์ตามสภาวะอยู่แล้ว เพราะมันเป็น "ตถตา" ความเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีเป็นอย่างอื่นและไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงสภาวะแท้จริงของมันได้เลยเพราะฉะนั้นใครเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมญาณเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเขาก็เป็นอิสระจากความหลงทั้งปวงไปชั่วนิรันดร

ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้ให้ทำงานเพียงนิดเดียว เช่นนั่งเงียบๆ ทำใจให้ว่างเฉยๆ เพราะเหตุที่ธรรมญาณมีรัศมีแห่งการทำงานกว้างขวางใหญ่หลวงนัก คนที่ใช้ปากพูดถึงความว่างโดยที่สภาวะแห่งจิตไม่เคยพบความว่างเลย จึงเปรียบเสมือนผู้ประกาศความเป็นใหญ่ด้วยปากแต่แท้ที่จริงเขาเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดาเท่านั้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีโอกาสเป็นผู้ใช้ปัญญา

ความหมายที่แท้จริง ท่านฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นว่า ปัญญาจึงมิได้อยู่ที่การใช้พูดด้วยปากคนพูดเก่งมิได้หมายความว่าเป็นผู้มีปัญญาแท้จริงเพราะปัญญามิได้มาจากการพูดด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงพบคนที่พูดด้วยความโง่ เขลา อวดฉลาดรอบรู้โดยที่ตนเองหารู้สิ่งใดไม่

      การพูดเป็นเพียง ผลแห่งการใช้ "ปัญญา" ฉะนั้นจึงมิใช่ตัว "ปัญญา" ตามความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงเลย
"ปัญญาหมายถึงความรู้แจ้งชัด เมื่อใดเราสามารถรักษาจิตไม่ให้ผูกพันด้วยตัณหาความทยานอยากที่โง่เขลาได้ทุกกาลแล้วไซร้ การกระทำทุกอย่างจึงเป็นไปด้วยปัญญา ในบัดนั้นจึงได้ชื่อว่ากำลังอบรมปัญญาให้เจริญงอกงามออกมา แต่ความรู้สึกที่โง่เขลาเพียงแวบเดียว ก็สามารถทำให้ปัญญาหายวับไป แต่มีความคิดที่ปรีชาฉลาดย่อมสามารถดึงปัญญากลับคืนมาได้อีก ดังนั้นใครที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอวิชชาหรือความหลง ย่อมมองไม่เห็นปัญญาเพราะฉะนั้นจึงพูดถึงปัญญา ด้วยลิ้น แต่มิได้พูดด้วยใจเพราะภายในจิตยังเต็มไป ด้วยความงมงาย เช่นเดิม"
ในคัมภีร์ "คุณธรรม" ของท่านเหลาจื๊อ ได้กล่าวเอาไว้ว่า
      "ผู้ที่เข้าใจคนอื่นชื่อว่าเป็นผู้รอบรู้
      ผู้ที่เข้าใจตนเองจึงชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้ง"


ผู้รอบรู้อาจรู้สิ่งทั้งปวงนอกตัวเองมากมาย แต่เขาไม่อาจรู้จักจิตของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงมิใช่ปัญญาอันแท้จริงที่จะพาตัวเองให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือแก้ทุกข์ได้เลย เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นผู้รอบรู้เวลาเกิดทุกข์ต่างวิ่งเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะอยู่ ในรูปลักษณ์ของต้นไม้ รูปเคารพหรือวัตถุอื่นใด กราบไหว้อ้อนวอนขออิทธิฤทธิ์มาช่วยแก้ทุกข์ของตนเอง

แต่ผู้รู้แจ้งใช้ปัญญาของตนเองแก้ทุกข์ เขาเหล่านั้นจึงพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง เพราะดับทุกข์ที่ต้นเหตุเพราะทุกข์ที่จิต จึงดับเสียที่จิต
ส่วนผู้รอบรู้แต่ภายนอกจึงวิ่งไปหาปลายเหตุคือพยายามดับผลเพราะฉะนั้นจึงวุ่นวายและทุกข์หนักยิ่งขึ้น แม้เอาอิทธิฤทธิ์มาดับผลแห่งทุกข์ ก็เป็นเพียงชั่วครึ่งชั่วคราวในที่สุดก็ยังคงวิ่งวนอยู่ด้วยความทุกข์นั้นไม่สิ้นสุด คนเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้หลงงมงาย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงคนเหล่านี้ว่า
"เขาชอบพูดเสมอว่าประพฤติปัญญา และพูดถึงความขาดสูญไม่หยุดปาก แต่เขาไม่ได้พบหรือทราบถึงความว่างเด็ดขาดเลย หัวใจแห่งความรู้ชัดแจ้ง จึงถือเป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้รูปร่างไม่มีท่าทางให้สังเกตเห็น ดังนั้นถ้าเราตีความหมายของปัญญากันในทำนองนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นความรอบรู้แจ้งชัดของปัญญาตัวจริงอย่างถูกต้อง"

ท่านขงจื๊อได้กล่าวถึงปัญญาเอาไว้ในคัมภีร์ทางสายกลางว่า
"ปัญญาเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด เมื่อได้ดำเนินกิจต่างๆ ไปตามปัญญาที่มีอยู่ในตัวเอง จึงเรียกว่า ธรรมะ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมะจึงเรียกว่าเป็น อารยธรรม

      ธรรมะเป็นสิ่งที่คนเราละทิ้งไปไม่ได้แม้ชั่วขณะเดียว ถ้าสิ่งใดที่ละทิ้งได้สิ่งนั้นจึงมิใช่ธรรมะ"
เพราะฉะนั้น ปัญญาตามความหมายของท่านขงจื๊อจึงเป็นไปตามธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่งจากปัจจัยภายนอก ปัญญาชนิดเช่นนี้ย่อมแยกแยะ "ดี" และ "ชั่ว" ได้หรือรู้ถึง "นรก" หรือ "สวรรค์"

เมื่อแยกแยะได้เช่นนี้ย่อมนำพาตนเองพ้นไปจากความชั่วหรือนรก ด้วยตนเอง โดยมิต้องอาศัยสิ่งอื่นนอกตัวเองมาเป็นปัจจัยกำหนดเลย
     
 พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธภาษิตเอาไว้ว่า
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
ผู้ที่มีปัญญาตามธรรมญาณของตนเองเช่นนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น "สัมมาปัญญา" เพราะสามารถหลุดพ้นไปจากทะเลทุกข์ได้ด้วยปัญญาอันชอบนั่นเอง

2143
อ้างถึง
เจ้าต้องช่วยเหลือตนเองด้วยการสวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ผลแห่งบุญอันเป็นกรรม
ปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง
:054:

2144
ตอนที่ 14.... ความว่างที่ไม่รู้จักเต็ม

      ถ้าเรากำหนดรูปลักษณ์ความว่าง ย่อมมีขอบเขตแห่งความสิ้นสุดของความว่างนั้นตามรูปลักษณ์ที่กำหนดขึ้นมา จึงมิใช่ความว่างอันแท้จริงตามธรรมญาณ

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้นำเอาคำว่า "มหา" มาอธิบายว่าเป็นความ "ใหญ่หลวง" ขนาดของธรรมญาณใหญ่หลวงเยี่ยงเดียวกับอวกาศ จึงไม่อาจบัญญัติออกมาด้วยภาษาหรือรูปลักษณ์ใดๆ ได้เลย

"ธรรมญาณมิใช่ของกลมหรือของเหลี่ยมไม่ใช่ของโตหรือของเล็กไม่ใช่ของเขียวหรือเหลือง แดงหรือขาว ไม่มีบนไม่มีล่าง ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว ไม่ใช่ความชังหรือความชื่น ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด มิใช่ของอันแรกหรืออันสุดท้าย"

ธรรมญาณซึ่งเป็นตัวจริงแท้ของเราจึงยิ่งใหญ่จนประมาณมิได้ซึ่งพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้เปรียบเทียบกับพุทธเกษตรว่างเหมือนกับอวกาศฉันใด ธรรมญาณของเราก็ว่างเช่นเดียวกันฉันนั้น และจึงมิใช่ภูมิธรรมอันเดียวเท่านั้นที่ต้องบรรลุถึงด้วยการตรัสรู้ เพราะสภาวะเช่นนี้มันเป็นสิ่งเดียวกับธรรมญาณ ซึ่งเป็นภาวะแห่ง"ความว่างเด็ดขาด" เป็นความว่างของสิ่งซึ่งมีอยู่อย่างแท้จริง

เมื่อสภาวะแห่งจิตคืนสู่สภาพเดิมแท้แห่ง "ธรรมญาณ"จึงมิใช่การตรัสรู้ใดๆ ทั้งสิ้น แต่คนมักสับสนเกี่ยวกับ "ความว่าง" ว่าเป็นการขาดสูญไม่มีอะไรเลย ถ้าเข้าใจอย่างนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงท่านบอกว่าเป็นพวก "ความเห็นผิด" เพราะคนเรานั่งอยู่เงียบๆ ทำใจให้ว่างๆ ก็ตั้งอยู่ในภาวะแห่ง "ความว่างเพราะว่างเฉย" ได้เหมือนกัน

      ความว่างอันแท้จริงจึงเหมือนกับสากลจักรวาลเพราะไม่มีขอบเขตอันจำกัด สามารถบรรจุสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง ซึ่งมีรูปพรรณสันฐานแปลกๆ เข้าไว้ในตัวเองได้ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดีคนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย ในสิ่งเหล่านี้มีความว่างซึมเข้าไปอยู่ทั่ว "ความว่าง" แห่งธรรมชาติแท้ของเราก็สามารถเข้าไปอยู่ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "ที่ว่าธรรมญาณของเราเป็นของใหญ่หลวงก็เพราะมันสามารถรวมสิ่งต่างๆ เข้าไว้ได้หมดโดยที่ทุกสิ่งนั้นอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรานั่นเอง" ข้อความตอนนี้ถ้านำเอาพระพุทธวจนะเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาเทียบเคียงแล้วก็เห็นได้ว่าตรงกันคือ

"เราคือจักรวาล จักรวาลคือเรา"

      "ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นความดีหรือความชั่วของคนอื่น แล้วเราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบหรือไม่ถูกผลักดันให้ชัง หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมันเมื่อนั้นแหละลักษณะแห่งจิตของเราเป็นของว่างเยี่ยงเดียวกับความว่างของอวกาศ
ดังนั้นจึงกล่าวว่า ธรรมญาณของเราใหญ่หลวงนักและไม่มีขอบเขตอันจำกัดเช่นเดียวกับอวกาศ จึงเรียกว่า "มหา" นั่นเอง"

แต่ในปุถุชนที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนเองสภาวะแห่งจิตใจของเราเปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสในตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งดีหรือชั่วที่มากระทบ แม้สิ่งนั้นเป็นความชั่ว ถ้าเขาชอบก็ถูกความชั่วดูดเข้าไป แต่เป็นความดีจิตไม่ปรารถนาเขาก็หลีกหนีไป สภาวะจิตเช่นนี้จึงมิใช่ "มหา" เพราะเต็มไปด้วยชอบและชังเสียแล้ว

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวเอาไว้ว่า
"สิ่งใดที่พวกคนโง่เขลาพากันพูดถึงอย่างไม่เกิดประโยชน์ สิ่งนั้นผู้มีปัญญาได้นำไปปฏิบัติด้วยจิตใจจนเกิดเป็นมรรคผล"
"ยังมีคนโง่เขลาอีกจำพวกหนึ่ง ชอบนั่งนิ่งๆ เงียบๆ และพยายามทำจิตของตนให้ว่างโดยไม่คิดถึงสิ่งใดๆ ทั้งหมดแล้วก็เรียกตนเองว่า"มหา" เมื่อคนเหล่านั้นมีความเห็นนอกลู่นอกทางถึงเพียงนี้ ก็เป็นการยากที่จะกล่าวถึงพวกเขาว่าเป็นอย่างไรถึงจะถูกตรงได้"
ความว่างจึงมิได้อยู่ที่การกำหนดจนเห็นความว่าง เพราะเป็นของจอมปลอมที่ไม่มีสภาวะอันแท้จริงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถนำมาประกอบการงานใดๆ ได้เลย จึงเป็นความว่างที่ไร้สาระประโยชน์อย่างแท้จริงที่สุด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยหนิงอรรถาธิบายถึงธรรมญาณอันกว้างขวางใหญ่โตจนเป็น "มหา" นั้นว่า
"ธรรมญาณนั้นมีขนาดแห่งความจุอันใหญ่หลวงเพราะเป็นความว่างอันมีอยู่ทั่วสากลธรรมธาตุเมื่อนำมาใช้ก็ทราบในหลายสิ่งหลายอย่างและถ้าใช้เต็มขนาดก็จะได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือรู้ทุกๆ สิ่งภายในสิ่งหนึ่งและสิ่งหนึ่งในทุกๆ สิ่ง เมื่อใดธรรมญาณของเราทำหน้าที่โดยไม่ติดขัดเป็นอิสระที่จะ "ไป" หรือ "มา" เมื่อนั้นได้ชื่อว่าอยู่ในภาวะแห่ง "ปัญญา" แท้จริง"

ข้อความตอนนี้มีความลึกล้ำจนยากผู้ที่มิได้ใส่ใจศึกษาธรรมะสามารถทำความเข้าใจได้ แท้ที่จริง "ธรรมญาณ" ซึ่งอยู่ในภาวะเดียวกันความว่างในสากลจักรวาลจึงแทรกตัวอยู่ในสรรพสิ่งได้เช่นเดียวกัน เพราะสรรพสิ่งล้วนอยู่ในภาวะแห่งความว่างเช่นเดียวกัน ตกอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลง เมื่อมีธาตุอย่างเดียวกันย่อมมีความเข้าใจในทุกสิ่ง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในสภาวะใดๆ

      เมื่อธรรมญาณมิได้ถูกสิ่งใดยึดเหนี่ยวเอาไว้ย่อมเป็นอิสระซึ่งมีสภาวะแห่งความว่างอันแท้จริง
เพราะฉะนั้นจึงสามารถคิดหรือรู้ได้ถึงความเป็นไปในสรรพสิ่งและสามารถแยกแยะได้ สภาวะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็น "ปัญญา"

แต่ถ้าติดยึดอยู่ในสิ่งหนึ่งอย่างหนาแน่นแล้ว ธรรมญาณนั้นย่อมไม่อาจคิดหรือรับรู้สิ่งอื่นได้ สภาวะเช่นนั้นจึงเรียกว่า "มืดทึบ โง่เขลา ไร้ปัญญา" โดยสิ้นเชิง
ความว่างแห่งธรรมญาณจึงสามารถรับทุกอย่างได้โดยไม่รู้จักเต็ม

2145
ตอนที่ 13.... มหาปรัชญาปารมิตา

      บรรดาผู้ที่ยึดมั่นแต่ความรู้อย่างเดียวจึงเกิดความสับสนต่อคำว่า "ปัญญา" และมีความเชื่ออย่างงมงายว่า ความรู้เป็นหนทางแห่งความสำเร็จพาให้มนุษย์พ้นจากทุกข์ทั้งปวงและดูแคลนผู้ที่ปราศจากความรู้ว่าโง่เง่า
ความจริงแล้วระหว่าง "คนฉลาด" กับ "คนโง่" ต่างมีโอกาสทัดเทียมกันในอันที่จะพาตนเองไปสู่หนทางอบายภูมิ
แต่ "คนโง่" และ"ฉลาด" ต่างมีปัญญาเท่าเทียมกัน
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายข้อความใน "มหาปรัชญาปารมิตาสูตร" โดยรับรองว่า
"ปัญญาที่ทำให้เวไนยสัตว์เข้าสู่สภาวะตรัสรู้นั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่เป็นเพราะมือวิชชาความมืดบอดครอบงำจิตของเราไว้ จึงมองไม่เห็นปัญญาด้วยตัวเอง จนต้องเที่ยวเสาะแสวงหาคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น ที่เขาเห็นแจ้งรู้ธรรมญาณก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก ธรรมญาณของเราเอง"

วจนะตอนนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของมนุษย์ทุกคนมีธรรมญาณอย่างเดียวกันและมีอานุภาพเท่ากัน แต่เพราะความหลงที่ครอบงำอยู่นั้นชักพาให้ผู้คนสูญเสียความศรัทธาในตัวเอง กลับไปศรัทธาภายนอกและยึดถือเป็นที่พึ่งแห่งชีวิตของตนเอง จึงพ้นไปจากเส้นทางแห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นสภาวะเฉพาะตน ไม่มีผู้ใดช่วยหรือทำให้ตนเองรับรสแห่งการตรัสรู้นั้นได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนที่รู้แจ้งธรรมญาณของตนเอง กับผู้ที่ไม่รู้ว่า
"ถ้าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะถูกห่อหุ้มอยู่ด้วยอวิชชาแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้รู้แจ้งกับผู้มืดบอด ข้อแตกต่างอยู่ที่ผู้หนึ่งรู้แจ้งธรรมญาณส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่"
มนุษย์ไม่มีความแตกต่างแห่งปัญญาเพราะฉะนั้นพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงได้นำเอา มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มาชี้แจงให้ผู้ที่ปรารถนาพ้นไปจากความมืดบอดแห่งอวิชชา โดยกล่าวว่า

"บรรดาคนที่ร้องแต่คำว่า "ปัญญาๆ" อยู่ทั้งวันโดยไม่ทราบเลยว่าแท้ที่จริงปัญญามีอยู่ในธรรมชาติเดิมแท้ของตนเองแล้ว เหมือนกับการพูดถึงอาหาร ย่อมไม่สามารถแก้หิวได้ฉันใด คนที่เอ่ยถึงปัญญาแต่ปากจึงไม่อาจพ้นไปจากความมือบอดได้ฉันนั้น เราอาจพูดถึงความว่างเป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ แต่การพูดถึงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในธรรมญาณได้ และในที่สุดก็ไม่ได้อะไรตามที่ตนเองประสงค์เลย"
ในกรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่า การบำเพ็ญเพื่อให้รู้แจ้งจึงมิได้อยู่ที่ความสามารถทางด้านการพูด เขียน อ่าน แต่ประการใดเลย เพราะฉะนั้นมักเป็นความเข้าใจผิดเสมอว่าคนที่เก่งทางด้านพูด เขียน อ่าน เป็นผู้ที่รู้แจ้งในธรรมญาณของตนซึ่งความจริง ทั้งสองประการนี้เป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวข้องกันเลย

      ผู้ที่รู้แจ้งในธรรมญาณของตนเองอาจเป็นผู้ที่ไม่รู้จักหนังสืออย่างพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง อ่านหนังสือไม่ออกเลยแต่เป็นผู้ตรัสรู้ได้เฉกเช่นพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึง "มหาปรัชญาปารมิตา" ว่าเป็นคำสันสกฤตมีความหมายถึง "ปัญญาอันใหญ่หลวง" เพื่อพาให้พ้นไปจากฝั่งแห่งทะเลสังสารวัฏซึ่งต้องปฏิบัติด้วยใจ จะท่องบ่นสูตรนี้หรือไม่มิใช่ข้อสำคัญ

"การท่องบ่นสูตรนี้เฉยๆ โดยปราศจากการปฏิบัติด้วยใจก็จะได้ผลเหมือนไปเล่นกับอสุรกาย หรือ เป็นเช่นการพรางตาของนักเล่นมายากลด้วยเวทย์มนต์ เหมือนกับสายฟ้าแลบเหมือนกับหยาดน้ำค้างบนใบหญ้า"

คนที่ชอบสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นบทใด โดยมากไม่รู้ความหมายของมนต์ ในทำนองเดียวกันผู้รู้ความหมายของมนต์ก็นำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริงตามมนต์นั้นมิได้เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงสอนให้ปฏิบัติทั้งสองอย่างทั้งท่องบ่นและปฏิบัติด้วยใจ เมื่อนั้นแหละจึงพบกับธรรมชาติแท้แห่งความเป็นพุทธะซึ่งนอกเหนือไปจากนี้แล้วมิต้องไปค้นหาพุทธะที่ไหนอีกเลย

แต่เป็นเพราะภาวะจิตที่หลงงมงายจึงพากันไปค้นหาแต่พุทธะนอกตัว จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และหลงไปนับถือแต่สิ่งที่จอมปลอมว่า เป็นพุทธะเห็นใครแต่งกายประหลาดและมีวิธีบำเพ็ญชนิดที่คนธรรมดาทำไม่ได้ก็หลงยึดถือว่าเป็นพุทธะ อย่างเช่น ฤาษีที่มีผู้นำเข้ามาจาก อินเดีย เพื่อปักหลักให้คนหลงงมงายกราบไหว้บูชาให้ประสิทธิ์ประสาทบุญบารมีความดีงามหรือความเป็นศิริมงคลให้บังเกิดขึ้นแก่ตน

      นอกจากความหลงงมงายในบุคคลแล้วยังตกต่ำลงไปถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เห็นลักษณะผิดแผกแปลกประหลาดต่างก็พากันกราบไหว้บูชาเห็นเป็นความศักดิ์สิทธิ์
การปฏิบัติของคนทั่วไปจึงอยู่ที่การกราบไหว้เพียงสถานเดียวเพราะฉะนั้นจึงมีพระเครื่องออกมามากมายหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์ใดโด่งดังขึ้นมาก็กลายเป็น "ธุรกิจวัตถุมงคล" สร้างความร่ำรวยให้แก่ผู้ที่ทำมาหากินจากเหยื่อที่หลงงมงายอย่างประมาณจำนวนมิได้เลย

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดสิ้นดีที่ภาวะแห่งความหลงงมงายได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมประหลาดขึ้นในหมู่ของผู้ที่กราบไหว้บูชาพระพุทธองค์ โดยมิได้คำนึงถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้ได้พึ่งพาพุทธะในตัวเอง

พุทธะ ซึ่งเป็น ผู้รู้ทุกข์ รู้ที่สุดแห่งทุกข์ และตัดทุกข์ทิ้งได้ด้วยตนเอง ผู้คนเหล่านี้จึงงยังคงลอยคออยู่ในทะเลทุกข์ถูกหลอกลวงจากคนฉลาดเจ้าเล่ห์ไม่มีที่สิ้นสุด


http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=7

2146
ตอนที่ 12.... บรรลุอย่างฉับพลัน

      นับแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเผยแผ่คำสอนอยู่ 45 พรรษา และถ่ายทอด "ประตูอนุตตรธรรม" แก่พระมหากัสสปะเพื่อรักษาสายธรรมะอันสูงสุดเอาไว้แต่เพียงท่านเดียว
ภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว คำสั่งสอนได้เผยแผ่ออกไปทุกทิศานุทิศและแบ่งออกเป็นสองนิกายใหญ่ๆ โดยแผ่จากอินเดียทางเหนือเข้าสู่ประเทศจีนกลายเป็นมหายานและแตกออกเป็นนิกายต่างๆ อีกมากมาย
ส่วนที่แผ่ลงมาทางใต้ของอินเดียนั้นล้วนเป็นภาษาบาลีและกลายมาเป็นหินยานซึ่งก็แบ่งออกเป็นหลายนิกายอีกเช่นกัน

      แต่ทั้งสองนิกายใหญ่นี้มีจุดศูนย์รวมอยู่ที่การนับถือพระพุทธองค์เป็นพระศาสดาเหมือนกัน
การสังคายนาคำสอนของพระพุทธองค์และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบจนกลายมาเป็น
      พระไตรปิฎก แปลว่าคัมภีร์สามอย่างคือ
      พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของพระภิกษุ ภิกษุณี
      พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป
      พระอธิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะอันยิ่ง

      ในส่วนของพระวจนะของพระพุทธองค์ซึ่งกลายมาเป็นพระธรรมคำสอนนั้น มิใช่สภาวะแห่งการตรัสรู้แต่เป็นผลแห่งการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ "อนุตตรธรรม" เท่านั้น

คำสอนในพระไตรปิฎกจึงเป็นเพียงความรู้ มิใช่ปัญญาอันแท้จริงที่ทำให้ตัดกิเลสทั้งปวงได้
ตัวอย่างที่ชัดเจนมีอยู่สองเรื่อง คือ
      พระโปฐิละ อันเป็นฉายาที่ได้มาจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญในคำสอนของพระพุทธองค์นำมาสั่งสอนผู้คนจนมีลูกศิษย์มากมาย แต่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "คุณใบลานเปล่า"
และในที่สุดต้องไปหาศิษย์ซึ่งเป็นเณรอายุ 7 ขวบ ผู้บรรลุธรรมแล้วเพื่อปฏิบัติให้บรรลุธรรมด้วย
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ พระอานนท์ พุทธอุปฐากซึ่งพระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นผู้มีความจำดีเลิศ แต่ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่พระอานนท์มิได้บรรลุธรรมใดๆ เลย

      เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วในเวลาสามเดือนได้เพียรพยายามปฏิบัติจนบรรลุได้ก่อนที่จะมีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งแรก
คำสอนของพระพุทธองค์ที่ตกทอดกันมาแต่โบราณกาลจึงเป็นเพียงความรู้

      ส่วนปัญญาตรัสรู้เป็นอีกสภาวะหนึ่งอันไม่สามารถบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจาใดๆ ได้เลย แต่มีการถ่ายทอดสสายแห่งการตรัสรู้เพื่อเป็นการสืบสายอนุตตรธรรมไว้แต่เพียงสายเดียว นับแต่พระมหากัสสปะได้รับถ่ายทอดจากพระพุทธองค์และสิ่งต่อๆ กันมาตามลำดับ นับได้จนถึงพระโพธิธรรมเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่ 28

พระโพธิธรรมได้เดินทางไปสู่ประเทศจีนจึงถือว่าเป็นองค์ที่หนึ่งของจีนและถ่ายทอดต่อไปจนถึงองค์ที่ 6 คือ ท่านฮุ่ยเหนิง
      หลังจากที่ท่านเจ้าอาวาสแห่งวัดฝ่าซิ่งได้สดับอรรถาธิบายจากท่านฮุ่ยเหนิงแล้วจึงกล่าวว่า
"คำอธิบายพระสูตรที่ข้าพเจ้าอธิบายไปแล้ว ไร้ค่าเปรียบได้เช่นกองขยะมูลฝอยเกะกะไปหมด ส่วนคำอธิบายของท่านมีคุณเปรียบประดุจดังทองคำอันบริสุทธิ์"

      หลังจากนั้นท่านอิ้นจงจึงจัดการอุปสมบทให้ท่านฮุ่ยเหนิงได้เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาและขอร้องให้รับท่านเอาไว้เป็นศิษย์คนหนึ่งด้วย
      ท่านฮุ่ยเหนิงได้กล่าวว่าเป็นเพราะบุญสัมพันธ์แต่อดีตชาติบรรดาสาธุชนทั้งปวงจึงได้สดับคำสอนแห่ง "สำนักบรรลุฉับพลัน" อันเป็นคำสอนที่ได้สืบทอดต่อๆ ลงมาจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อนๆ มิใช่เป็นคำสอนที่ท่านคิดขึ้นเอง

      "ผู้ปรารถนาสดับพระธรรมชั้นแรกจึงควรชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ ครั้นได้ฟังแล้วจึงควรชะล้างความสงสัยให้เกลี้ยงเกลาไปเฉพาะตนเยี่ยงเดียวกับพระอริยะทั้งหลายที่ได้กระทำมาในกาลก่อน"

การบรรลุอย่างฉับพลันอันถือเป็นต้นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนานิกายเซ็น ซึ่งแพร่หลายจากเมืองจีนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้นกล่าวได้ว่า คำสอนของท่านฮุ่ยเหนิงล้วนมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางนัก เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งเข้าสู่จิตเพียงสถานเดียว
มีปริศนาธรรมให้ใช้ปัญญาขบคิดจนกว่า ปัญญาของตนสว่างขึ้นมาเอง ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแห่งความรู้แจ้งชัดในธรรมญาณของตน

      ตัวอย่างของปริศนาธรรมหรือ โกอาน มีอยู่มากมายล้วนแต่ต้องใช้ปัญญาและเวลาในการขบคิดบางเรื่องใช้เวลา สิบปี ยี่สิบปี ก็ขบไม่แตก แต่บางคนเพียงแวบเดียวก็สว่างไสวในธรรมญาณของตนเป็นผู้รู้แจ้ง ทันที
บางอาจารย์ใช้วิธี "ตบและตี" จนปัญญาของศิษย์สว่างขึ้นมาก็มี
"อาจารย์ครับ ธรรมะคืออะไร" ลูกศิษย์อาจารย์เซ็นถาม

      อาจารย์เซ็นไม่ตอบตรงๆ แต่กลับใช้ฝ่ามือฟาดเปรี้ยงจนลูกศิษย์ล้มคว่ำลงไป แต่ลูกศิษย์ก็ยังคงงงๆ อยู่อาจารย์จึงหยิบไม้เท้าฟาดโครมซ้ำลงไปอีกที คราวนี้ลูกศิษย์ร้องโอยและรู้แจ้งในทันทีว่า "ธรรมะคืออะไร"
ความเจ็บตัวทำให้เกิดความรู้และ "บรรลุอย่างฉับพลัน" เพราะเกิดความเข้าใจในทันทีว่า
"อ๋อ ตัวที่ร้องโอ๊ยและเจ็บก็คือ ธรรมญาณ นั่นเอง"

2147
ตอนที่ 11.... เอกธรรมมรรค

      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงเห็นว่าถึงเวลาเผยแพร่ธรรมะจึงเดินทางมาถึงวัดฝ่าซิ่งแห่งนครกว่างตง ในขณะนั้นพระธรรมาจารย์อิ้นจงซึ่งเป็นเจ้าอาวาสกำลังเทศนาว่าด้วยมหาปรินิรวาณสูตร และธงริ้วกำลังโบกสะบัดพริ้วๆ พระภิกษุสองรูปก็โต้เถียงกันว่า

"ผมว่าธงกำลังสั่นไหว"
      "หลวงพี่เข้าใจผิด แท้ที่จริงลมมันไหวต่างหาก"


พระทั้งสองรูปต่างโต้เถียงไม่ยอมแพ้แก่กันและไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ เพราะต่างยึดถือความเห็นของตนเองเป็นใหญ่และถูกต้อง
      ท่านฮุ่ยเหนิงจึงเสนอข้อตัดสินว่า
"ผมว่าท่านทั้งสองเข้าใจผิดแล้ว สิ่งที่สั่นไหวนั้นไม่ใช่ธงและลม แท้ที่จริงเป็นจิตของท่านทั้งสองต่างหาก"

      ที่ประชุมในขณะนั้นต่างตื่นตะลึงต่อถ้อยคำของท่านฮุ่ยเหนิงเจ้าอาวาสอิ้นจงจึงอาราธนาให้ขึ้นนั่งบนอาสนะอันสูง แล้วซักถามปัญหาสำคัญๆ ในพระสูตรต่างๆ เมื่อได้รับคำตอบอันชัดแจ้งซึ่งมีค่าสูงกว่าความรู้ที่ได้จากตำรา พระธรรมาจารย์อิ้นจงจึงกล่าวว่า
"ท่านต้องเป็นบุคคลที่มิใช่ธรรมดา อาตมาได้ฟังข่าวมานานแล้วว่า บุคคลผู้ซึ่งได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ และธรรมะจากพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า บัดนี้ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้เห็นทีท่านจะเป็นบุคคลผู้นั้นแน่แล้ว"

      ท่านฮุ่ยเหนิงแสดงกริยาตอบรับโดยอ่อนน้อม เจ้าอาวาสอิ้นจงจึงทำความเคารพและขอให้นำเอาผ้าและบาตรที่ได้รับมอบออกมาให้ที่ประชุมดูพร้อมทั้งซักถามว่า
"เมื่อครั้งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้ามอบธรรมะอันเร้นลับสำหรับพระสังฆปริณายกให้แก่ท่านนั้น ท่านได้รับคำสั่งสอนอย่างใดบ้าง"
      "นอกจากการชี้ให้เห็นแจ้งชัดในธรรมญาณแล้ว ท่านมิได้ให้คำสอนอะไรเลย ท่านมิได้เอ่ยแม้คำว่าฌาณและวิมุติ" ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
"เอ๊ะ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น" อาจารย์อิ้นจงสงสัย
     
"เพราะมันจะทำให้เกิดความหมายว่า มีหนทางขึ้นทั้งสองหนทาง ในทางพุทธธรรมจะมีสองทางไม่ได้ มันมีแต่ทางเดียวเท่านั้น"
"ที่ว่ามีแต่ทางเดียวนั้นคืออะไร อาจารย์อิ้นจงถาม

      "ก็ในมหาปรินิรวาณสูตรที่ท่านเทศนาอยู่นั่นเองก็ชี้ให้เห็นอยู่แล้วว่าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของทุกคน นั่นแหละคือทางเดียว ตัวอย่างตอนหนึ่งของพระสูตรนั้นมีว่าพระเจ้าเกากุ้ยเต๋อ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระภิกษุผู้ล่วงปาราชิกสี่อย่างหรือทำอนันตริยกรรมห้าอย่างและพวกมิจฉาทิฏฐินอกศาสนาก็ดี คนเหล่านี้จะได้ชื่อว่าถอนรากเง่าแห่งความมืดและทำลายธรรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของตนเสียแล้วโดยสิ้นเชิงหรือไม่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า รากเง่าแห่งความดีนั้นมีอยู่สองชนิดคือ ถาวรตลอดอนันตกาล กับไม่ถาวร แต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นจะเป็นของถาวรตลอดอนันตกาลก็ไม่ใช่จะว่าไม่ถาวร ก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นรากเง่าแห่งความดีของเขาจึงไม่ถูกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิง
 
      ท่านฮุ่ยเหนิงได้อธิบายสืบต่อไปว่า
"บัดนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพุทธธรรมมิได้มีสองทาง แต่ที่ว่ามีทางฝ่ายดีและฝ่ายชั่วนั้นจริงอยู่ แต่เหตุเพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นของไม่ดี ไม่ชั่ว เพราะฉะนั้นพุทธธรรมจึงไม่มีถึงสองทางตามความคิดของปุถุชนย่อมเข้าใจว่าส่วนย่อยๆ ของขันธ์และธาตุทั้งหลายย่อมแบ่งออกเป็นสองทาง แต่ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าสิ่งเหล่านั้นตามธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่เป็นของคู่เลย"
     
    เหตุแห่งปาราชิกมี 4 อย่างคือ
1. เสพสังวาสกับมนุษย์หรือสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือเป็นศพ
2. ฆ่ามนุษย์
3. ขโมยหรือคดโกงทรัพย์ตั้งแต่ 1 บาสก
4. อวดธรรมวิเศษที่ไม่มีในตนเอง
     
      ความชั่วที่ถือว่าเป็นอนันตริยกรรมมีอยู่ 5 อย่างคือ
ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้เกิดสังฆเพทคือพระสงฆ์ แตกแยกและทำให้พระพุทธองค์ห้อพระโลหิต
กรรมทั้งห้าประการนี้ถือว่าหนักหนาสาหัสที่สุด แต่ธรรมชาติของพระพุทธะก็มิได้ถอนทิ้งไปจากใครเลย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ พระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ได้รับคำสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่เลิศฤทธิ์
ในอดีตชาติเคยกระทำ ปิตุฆาต และ มาตุฆาต คือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง เพราะหลงคำยุยงของภริยาที่รังเกียจพ่อแม่ตาบอดพระโมคคัลลานะ จึงลวงพ่อแม่ของตนไปฆ่าด้วยการผลักตกเหว ด้วยอนันตริยกรรมในครั้งนั้นมีผลให้พระโมคคัลลานะต้องตกอยู่ในอเวจีนรกนับเป็นกัปกัลป์แต่เมื่อมาเกิดเป็นพระโมคคัลลานะก็ได้บวชในพระพุทธศาสนาและสำเร็จเป็นพระอรหันต์
      พระโมคคัลลานะระลึกอดีตชาติได้อย่างนี้จึงยอมให้โจรจับแล้วทุบด้วยท่อนไม้จนกลายแหลกและละเอียดดับขันธ์ปรินิพพานแต่สภาวะแห่งธรรมญาณเดิมมิได้แหลกละเอียดไปด้วย กายเนื้อถูกทำลาย แต่เพียงอย่างเดียว
ธรรมชาติของธรรมญาณ ไม่มีใครทำลายลงไปได้เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตก่อกรรมหนักเพียงใดก็ไม่มีผลแห่งการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของธรรมญาณเลย
ธรรมญาณ เป็น ธรรมะอันแท้จริงของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงเป็นแต่เพียงหนทางเดียว มิได้เป็นหนทางคู่ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะดั้งเดิมของธรรมญาณ

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้
      คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่า เพราะธรรมญาณ เป็น อสังขตธรรมไม่มีรูปลักษณ์ใดๆ เพราะเหตุนี้จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้เลย
หนทางอันแท้จริง ของธรรมญาณจึงเป็น "เอกธรรมมรรค"


2148
ตอนที่ 10.... สัจธรรมแห่งการกินเจ

      ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปในประเทศจีนแยกออกเป็นนิกาย "อาจารยวาท" หรือ "มหายาน" และขยายมาทางใต้ของอินเดียถือว่าเป็นเถรวาท หรือหินยาน
ฝ่ายมหายานยึดหลักแห่งเมตตาธรรมมีวัตรปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งคือฉันภัตตาหารเจ คัมภีร์สำคัญของมหายาน 4 พระสูตรซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธวจนะ ได้บัญญัติห้ามการกินเนื้อสัตว์คือ หัสติกักสยะ, มหาเมฆะ, นิรวาณางคุลี มาลิกา แลละ ลังกาวตาร

ท่านพุทธทาสได้แปลบางตอนในลังกาวตารสูตรมีความว่า
      "โอ มหาบัณฑิต ในวัฏสงสารอันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไปในการเวียนว่าย ในการเกิดอีก ตายอีก ไม่มีสัตว์แต่ตัวเดียวที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่ชาย น้องชาย พี่หญิงน้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์ สองเท้า สัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนกฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติ ของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะทำลงไปได้อย่างไรหนอ จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นภราดรของตน แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของมันอีกหรือ"

และอีกบางตอนมีความว่า
"..เพราะฉะนั้น เนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิต ทั้งเพื่อตนเอง และผู้อื่น
นักกินเนื้อย่อมเป็นเหยื่อแห่งโลกหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน ใครเจ็บในท้อง ฯลฯ
      โอ มหาบัณฑิต เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดั่งนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิตเป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วย มลทิน ปราศจากคุณธรรมใดๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาดโดยประการทั้งปวง"

และปัญหาที่ถกเถียงกันไม่เป็นข้อยุติคือ ระหว่างผู้ฆ่า กับผู้กิน ใครคือผู้รับบาป ในลังกาวตารสูตรได้กล่าวเอาไว้ชัดเจนว่า
      "เขาผู้ฆ่าสัตว์ชนิดใดๆ ก็ตามเพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้น ทั้งสองพวกได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบอกุศลกรรม จักจมลงในนรกโรรวะ และนรก ฯลฯ

ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายหินยานยึดถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งแต่งเมื่อประมาณ พ.ศ.900 ได้กำหนดโดยอ้างว่าเป็นพระพุทธวจนะห้ามเสพเนื้อสัตว์สิบอย่างคือ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเนื้อเสือดาว
นอกนั้นฉันได้แต่ต้องไม่อยู่ในข้อกำหนดอีกสามประการคือได้ยิน ได้เห็น และเจาะจง

      แต่ตามหลักฐานค้นพบใหม่กล่าวว่า พุทธศาสนาหินยานแต่เดิมนั้น มิได้ฉันเนื้อสัตว์ โดยมีหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงลังกา 3 ครั้ง พระสายลังกาวงศ์แท้ จึงไม่เสพเนื้อสัตว์ แต่พอไปจากสยามวงศ์ในภายหลังจึงหันมาฉันเนื้อสัตว์
ปัญหาที่ค้างคาใจพุทธศาสนิกชนก็คือ
พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ หรือไม่
      ผู้ที่ตอบว่า "เสวย" กับ "ไม่เสวย" ต่างไม่เคยเห็นพระพุทธองค์เสวย เพราะฉะนั้นผู้ไปจึงเป็น "ทุวาจา" คือ คำพูดชั่วก่อนรกให้แก่ตัวเอง
แต่มีข้อควรพิจารณาด้วยปัญญาของตนเองอยู่ 3 ประการคือ
      ประการแรก อาหารสามมื้อของพระพุทธองค์เป็น ภัตตาหารมังสวิรัติ ทั้งสิ้น คือ
ก่อนตรัสรู้เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งนางสุชาดานาถวายรุกขเทวดา
ตรัสรู้แล้วนายวานิชสองพี่น้องนำข้าว สัตตุผงมาถวาย
และมื้อสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือ "สุกรมัทวะ" ที่นายจุนทะนำมาถวายนั้นแปลกันว่า "เนื้อสุกรอ่อน" เป็นคำแปลที่ผิดท่านพุทธทาสภิกขุ แปลว่า "สิ่งที่หมูชอบ" คือเห็ดชนิดหนึ่งฝังอยู่ใต้ดินภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า "ลูกบุก" ภาษาอังกฤษเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า Truffle มีสีดำกับสีน้ำตาล เวลาหาเห็ดชนิดนี้ต้องพาหมูไปด้วย เพราะจมูกหมูไวต่อกลิ่นเห็ดนี้เป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่า ภัตตาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธองค์เป็นหมู หรือ เห็ด

      ประการที่สองปัญหาที่พระเทวทัตทูลขอต่อพระพุทธองค์ให้บังคับสาวกทั้งปวงฉันอาหารมังสวิรัติ และพระพุทธองค์ ทรงไม่อนุมัติตามคำขอนี้มาแปลความว่า พระภิกษุฉันอาหารเนื้อสัตว์เป็นปกติ

ทำไมจึงไม่แปลความหมายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงไม่อนุมัติเพราะการบังคับย่อมเป็นไปไม่ได้ เนื่องด้วยการกินเป็นเรื่องเฉพาะตัวบังคับกินไม่ได้ถ้าหากกฎขึ้นมาแล้ว ย่อมมีผู้รักษากฎการกินเป็นเรื่องที่ต้องคุมตัวเองไม่มีใครคุมใครได้

ประการสุดท้ายพระพุทธองค์ทรงสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวงให้รักษาเบญจศีลซึ่งข้อที่หนึ่งคือ ห้ามเบียดเบียนชีวิตสัตว์ เมื่อพระพุทธองค์สอนเช่นนี้ ย่อมปฏิบัติได้เป็นนิจศีลอยู่แล้ว หากเสวยเนื้อสัตว์ย่อมอยู่ในฐานะสอนอย่างหนึ่งแต่ปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ย่อมถูกตำหนิติเตียนจากผู้คนของลัทธิอื่นอย่างแน่นอน
ถึงจะกินโดยจิตว่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็ลองใคร่ครวญจากคำพูดต่อไปนี้
"กินหมูก็อย่าหมายความว่าเป็นหมู ก็ไม่บาป" คนกินหมูพูดอย่างนี้
"หมูมันยินยอมพร้อมใจให้หมายอย่างนี้หรือ" คนไม่กินหมูตอบ

การกินเนื้อกับกินผักเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไม่มีข้อยุติเพราะต่างก็มีเหตุผลของตนเอง       เพราะฉะนั้นควรยุติปัญหานี้ด้วยการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันใครมีสติปัญญาเห็นอย่างไรก็กินไปตามที่ตนเองเชื่อเพราะตามสัจธรรมใครประกอบกรรมเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้นไม่จำเป็นต้องมาทะเลาะกันด้วยความเห็นที่แตกต่างกันเลย

เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงมาถึงตำบลเฉาซี คนใจบาป พยายามตามมาจองเวรเพื่อหวังทำลายล้าง ท่านฮุ่ยเหนิงจึงต้องหลบซ่อนอยู่ที่ ซื่อฮุยกับพวกพรานป่า นานถึง 15 ปี
ช่วงเวลานี้ท่านก็พยายามสั่งสอนพรานป่าเท่าที่จะสอนได้ แต่บางเวลาพรานป่าใช้ท่านฮุ่ย- เหนิงนั่งเฝ้าตาข่ายดักจับสัตว์ พอเห็นสัตว์มาติดตาข่ายท่านก็ปลดปล่อยให้สัตว์นั้นรอดชีวิตไป
ท่านฮุ่ยเหนิงกินเจเวลาหุงต้มอาหาร ท่านก็นำผักใส่ตะกร้าแล้วใส่ไปในหม้อต้มเนื้อของพรานป่า
      "และถ้าผักแกงรวมอยู่กับเนื้อจะทำอย่างไร"
      "เราก็จะเลือกกินแต่ผักอย่างเดียว"
ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
ท่านฮุ่ยเหนิงบรรลุธรรมจึงแจ้งชัดในสุจธรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิดมิได้มีความสงสัยในชาติกำเนิดสี่ภูมิวิถีหก ที่สรรพสัตว์ต้องไปเวียนว่ายเพราะฉะนั้นจึงตัดพันอันต้องเกี่ยวพันกันโดยการไม่กินเนื้อสัตว์
ประการสำคัญแสดงให้เห็นถึงมหาเมตตายอมลำบากด้วยตัวเอง แทนที่ให้สรรพสัตว์ทั้งปวงต้องทุกข์ยาก บาดเจ็บ สูญเสียชีวิต ด้วยความอาฆาตพยาบาทและจองเวรกันไม่มีที่สิ้นสุด
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผักที่ท่านฮุ่ยเหนิงแช่ลงไปในหม้อต้มเนื้อของพรานป่าคงได้ชื่อว่า "ผักขะน้า" มาจนถึงทุกวันนี้


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=5

2149
ท่านที่อ่านเรื่องเกี่ยวกับ "พระสูตรของท่านเว่ยหล่าง" อ่านแล้วอาจจะมึนงง!!
ขอให้อ่านเรื่องย่อทั้งหมดก่อน จากที่นี้ก่อน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องต่างๆดียิ่งขึ้น
http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=196&txtmMenu_ID=7
ขอขอบคุณ คุณสมบูรณ์ แก่นตะเคียน จากเวป http://www.somboon.info/

==========================

ตอนที่ 9....ดวงตาเห็นธรรม

      ปุถุชนเป็นผู้หนาแน่นไปด้วยความไม่รู้จักตัวเอง ถ้ารู้ก็เป็นเพียงรูปร่างหน้าตาภายนอกเท่านั้น คนเหล่านี้จึงติดยึดอยู่แต่รูปลักษณ์และเห็นเป็นที่พึ่งอันแท้จริงยิ่งกว่าตนเอง จัดเป็นประเภทบัวใต้ดินเพราะถูกอารมณ์ครอบงำชีวิตเป็นไปตามอารมณ์
ส่วนผู้ที่รู้จักอารมณ์แต่ไม่อาจแก้ไขได้เป็นประเภทบัวเหนือดินยังเป็นเหยื่อของอารมณ์แห่งตนทำให้หลงได้ เพราะทำตามอารมณ์ปัญญาไม่มีอานุภาพ
ผู้ที่สามารถแก้ไขอารมณ์ได้จึงจัดว่าเป็นบัวใต้น้ำได้รับคำชี้แนะก็สามารถพันจากภัยพิบัติแห่งตนได้ เพราะเป็นผู้ใช้ปัญญาแต่ยังข้องอยู่ในอารมณ์

      สำหรับประเภทบัวเหนือน้ำรอรับอรุณคือผู้ที่เห็นธรรมญาณแห่งตน จัดเป็นผู้รู้จักหน้าตาดั้งเดิมโดยแท้เพียงได้ยินคำพูดหรือสะกิดเพียงนิดเดียวก็หลุดพ้นเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพราะดำรงชีวิตโดยใช้ปัญญาเหนืออารมณ์
ท่านฮุ่ยเหนิงกว่าจะเดินทางมาถึงภูเขาต้าหยูก็ใช้เวลาถึงสองเดือน แต่ก็มีผู้ที่ปรารถนายื้อแย่งผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรติดตามมาไม่น้อย เพราะคนเหล่านั้นเข้าใจว่าใครที่สามารถครอบครองผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรก็ได้ชื่อว่าเป็น พระสังฆปริณายก
ในจำนวนผู้ติดตามลงมาทางใต้มีภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่า ฮุ่ยหมิง เมื่อครั้งเป็นฆราวาสใช้แซ่สกุลว่า "เฉิน" เคยเป็นนายทหารยศนายพลมีกริยาหยาบคายและเต็มไปด้วยโทสะจริต แต่สะกดรอยเก่งที่สุดตามมาจนใกล้ท่านฮุ่ยเหนิง
เมื่อจวนตัว ท่านฮุ่ยเหนิง จึงวางบาตรและจีวรลงบนก้อนหินแล้วประกาศว่า
      "ผ้าผืนนี้เป็นเพียงเครื่องหมายเท่านั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่มายื้อเเย่งเอาด้วยกำลัง"

ท่านฮุ่ยเหนิงจึงซ่อนตัว ภิกษุฮุ่ยหมิง พยายามยกบาตรและผ้ากาสาวพัสตร์ก็ยกไม่ขึ้นจึงร้องขึ้นว่า
      "น้องชาย น้องชาย ฉันมาเพื่อหาธรรมะ มิใช่มาเพื่อเอาผ้า" คำเรียกขานนี้เป็นพยานยืนยันว่าท่านฮุ่ยเหนิงซึ่งบรรลุธรรมแล้วยังมิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ
ครั้นออกจากที่ซ่อนนั่งลงบนก้อนหิน ภิกษุฮุ่ยหมิง ทำความเคารพแล้วกล่าวว่า
"น้องชาย ช่วยที ช่วยแสดงธรรมให้ฉันฟังหน่อย"
      "เมื่อต้องการฟังธรรม จงระงับใจมิให้คิดถึงสิ่งใดๆ แล้วทำใจให้ว่างเปล่า เมื่อนั้น ข้าพเจ้าจะสอนท่าน" ท่านฮุ่ยเหนิงบอกแก่ภิกษุฮุ่ยหมิงต่อไปว่า
"ท่านทำในใจมิให้คำนึงถึงสิ่งดีหรือสิ่งชั่ว ในเวลานั้นเป็นอะไรนั่นแหละธรรมชาติอันแท้จริงที่เรียกว่าหน้าตาดั้งเดิมของท่าน มิใช่ หรือ"
ภิกษุฮุ่ยหมิงได้ฟังดังนั้นจิตใจก็สว่างไสวบรรลุธรรมในทันทีและถามว่า
      "นอกจากคำสอนอันเร้นลับที่พระสังฆปริณายกส่งมอบต่อๆกันมาแล้วยังมีคำสอนเร้นลับอีกบ้างไหม"
"สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนให้ท่าน มิใช่ข้อเร้นลับอะไรเลย แต่ถ้าท่านมองย้อนส่องเข้าข้างใน ท่านก็จะพบกับสิ่งเร้นลับซึ่งมีอยู่ในตัวท่านแล้ว"
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวเช่นดังนี้ ภิกษุฮุ่ยหมิงจึงกล่าวขึ้นว่า

      "แม้ฉันอย่ที่หวงเหมยมานานนมก็ไม่เห็นแจ้งในตัวธรรมชาติแท้ของตนเองเลย บัดนี้รู้สึกขอบคุณเหลือเกินในการชี้แนะของท่าน ฉันรู้สึกถึงสิ่งนั้นชัดเจนเสมือนคนที่ดื่มน้ำย่อมรู้แจ้งชัดว่า น้ำนั้นร้อนเย็นอย่างไร น้องชายเอ๋ย บัดนี้ท่านเป็นครูของฉันแล้ว"
"ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท่านกับข้าพเจ้าก็เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันของพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านจงคุ้มครองตัวเองให้ดีเถิด"
      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวตอบดังนี้ ภิกษุฮุ่ยหมิงจึงถามว่าต่อจากนี้ไปควรจะไปทางไหน ท่านฮุ่ยเหนิงบอกว่า ให้หยุดอยู่ที่ตำบลเอวียนแล้วพำนักอยู่ที่ตำบลเหมิงจากนั้นก็ได้ทำความเคารพท่านฮุ่ยเหนิงแล้วจากกัน
ภิกษุฮุ่ยหมิงได้ดวงตาเห็นธรรม มิได้เป็นรูปลักษณ์แห่งดอกบัวหรือพระพุทธรูปหรือแสงสว่างใดเลย
      หากมองเห็นรูปลักษณ์ใดๆ ย่อมมิใช่ธรรมะอันเป็นหน้าตาดั้งเดิมของตนเอง ซึ่งหมายถึงธรรมญาณ เพราะฉะนั้นการเห็นธรรมะเป็นรูปลักษณ์ใดก็ตามล้วนมิใช่ดวงตาเป็นธรรม แต่เป็นการสร้างสรรค์ของจิตหลอกลวงให้ตนเองหลงใหลมืดมัวตลอดไป
พระพุทธวจนะได้กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า
"ธรรมะอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์"
      นักนั่งสมาธิวิปัสสนาทั้งปวงพยายามหลอกลวงหรือบังคับจิตของตนเองให้เห็นรูปลักษณ์ต่างๆ จึงเป็นที่หลอกลวงตนเองอย่างแท้จริงอย่างที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระนักปฏิบัติท่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการนั่งภาวนาแล้วเห็นพระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเรา สิ่งที่เห็นนี้เป็นจริงหรือไม่ว่า
"ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" ดวงตาเห็นธรรมที่แท้จริงจึงไม่ต้องเห็นอะไร เพราะธรรมญาณไม่มีรูปลักษณ์ให้เห็นได้เลย

2150
ตอนที่ 8....ศูนย์กลางจักรวาล

      ตามตำนานพุทธศาสนาหินยานเล่าว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูตรทรงดำเนิน 7 ก้าวแต่ละก้าวมีดอกบัวรองรับพระบาท
      ส่วนตำนานแห่งมหายานกลับมีเรื่องราวแตกต่างกันไปโดยเล่าว่าเจ้าชายสิทธัตถะยกพระหัตถ์ขวาชี้ฟ้า หัตถ์ซ้ายชี้ดินแล้วเปล่งพระวาจาว่า "ท่ามกลางฟ้าดิน เราเป็นใหญ่"
ตำนานทั้งสองฝ่ายคงไม่มีใครเชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์เช่นนี้จริงๆ เพราะพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ย่อมมีสภาพเฉกเช่น เดียวกับมนุษย์ทั้งปวง แต่ทั้งสองตำนานมีความประสงค์เพียงเพื่อแสดงปริศนาธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมพุทธบารมีเท่านั้นเอง
ปริศนาธรรมที่กล่าวว่า "ท่ามกลางฟ้าดิน เราเป็นใหญ่" นั้นความหมายที่พิเคราะห์กันในภายหลังล้วนชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่ามนุษย์เป็นหนึ่งในจักรวาล เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งเหมือนอย่างที่ท่านฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ว่า
      "สรรพสิ่งล้วนมาจากธรรมญาณทั้งสิ้น"
ความว่างเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง หากปราศจากความว่างเสียแล้ว ดวงดาวในจักรวาลมิอาจสร้างขึ้นมาได้เลย

     สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้นั้นเป็นความว่างอันยิ่งใหญ่ มีอานุภาพสร้างสรรพสิ่งให้เกิดขึ้นมากมาย เหมือนอย่างที่ท่านเหลาจื้อพูดถึง เต๋า ว่า
"เต๋า อยู่นิ่งๆ ไม่เกิดสรรพสิ่ง แต่พอเต๋าขยับตัว สรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น"
      เต๋า คือ ธรรมะ สภาพเดิมเป็นความว่าง ไม่มีสรรพสิ่งอะไรอยู่เลยเหมือนกับ ลมพายุทอนาโด นักวิทยาศาสตร์เคยทดลองด้วยการบินทะลุเข้าไปสู่ศูนย์กลางของทอนาโด ปรากฎว่าเรือบินมิได้ขยับเขยื้อนเลย แต่รอบความว่างของพายุทอนาโดกลายเป็นแรงพลังมหาศาลทำลายทุกอย่างได้ชั่วพริบตา
เหมือนอย่างสภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อยู่นิ่งๆ เป็นความว่างไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอขยับตัวคือ เริ่มต้นคิด จึงเกิด เรือบิน รถยนต์ รถไฟ ตู้เย็น พัดลม ทีวี โทรศัพท์ เป็นต้น
โลกนี้ก้าวหน้าไปไกลแค่ไหนก็ล้วนแต่ไหลออกมาจากสภาวะ "ธรรมญาณ" ขยับตัวกลายเป็นจิตคิดและ "จิต" ตัวนี้จึงเป็น อนิจจังนั่นเอง
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิง กราบเรียนถามพระอาจารย์หงเหยิ่นว่าควรจะเดินทางไปที่ใดซึ่งได้รับคำตอบว่า
"จงหยุดอยู่ที่ตำบล ไฮว๋ แล้วซ่อนตัวแต่ผู้เดียวที่ตำบล ฮุ่ย"
      พระอาจารย์หงเหยิ่น เดินทางเป็นเพื่อนท่านฮุยเหนิงมาจนถึงจิ่วเจียง และลงเรือลำหนึ่งโดยพระอาจารย์หงเหยิ่นแจวเรือด้วยตนเองท่านฮุ่ยเหนิงจึงขอร้องให้นั่งลงโดยจะแจวเรือเอง แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นกลับกล่าวว่า
"เป็นหน้าที่ของเราแต่ผู้เดียวที่จะพาท่านข้ามไป"
      "เมื่อกระผมยังตกอยู่ในอำนาจแห่งโมหะท่านอาจารย์จึงมีหน้าที่พากระผมข้ามไป แต่บัดนี้กระผมได้บรรลุธรรมจึงควรข้ามด้วยตนเอง"

ท่านฮุ่ยเหนิงตอบพระอาจารย์หงเหยิ่นแล้วอธิบายต่อไปว่า
      "กระผมได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ ได้รับมอบธรรมะ แปลว่ากระผมได้บรรลุธรรมแล้ว จึงมีหน้าที่พาตัวเองข้ามไปให้พ้นจากทะเลแห่งความเกิด-ตายด้วยการเห็นแจ้งในธรรมญาณของตนเองแล้ว"

คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นการชี้ให้เห็นสัจธรรมแห่งการพึ่งตัวเองอย่างแท้จริง โดยอาศัยการรู้แจ้ง "ตัวจริง" จึงสามารถเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ แต่บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมที่มิได้เห็นแจ้งใน "ธรรมญาณเดิม" จึงไม่อาจพึ่งพาตัวเองให้พ้นจากวิถีแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์ได้เลย ล้วนต้องพึ่งพาผู้อื่นเสมอไป
พระอาจารย์หงเหยิ่น กล่าวรับรองคำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงและพยากรณ์ว่าต่อจากนี้ไปอาศัยท่านฮุ่ยเหนิงเป็นเหตุ พุทธศาสนาจะแผ่ไปกว้างใหญ่ไพศาลนัก
      การรู้แจ้ง "ธรรมญาณ" แห่งตนจึงตกอยู่ในสภาวะศูนย์กลางแห่งจักรวาล เพราะ "ธรรมญาณ" เดิมมีต้นกำเนิดมาจากศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งหาขอบเขตแห่งความสิ้นสุดมิได้ และหาเส้นผ่าศูนย์กลางในจุดเล็กๆ ไม่ได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าไม่ถึงสภาวะแห่งธรรมญาณของตนเองจึงกลายเป็นผู้ที่หนาแน่นไปด้วยอุปาทานเพราะยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวงจึงขาดความเป็นอิสระที่แท้จริงไม่อาจพึ่งพาตนเองได้เลย
การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงอาศัยคัมภีร์ทั้งปวงและเพราะยึดคัมภีร์จึงกลายเป็นเหตุมีความเห็นแตกต่างกันจนทะเลาะวิวาทแตกแยกเป็นนิกายร้อยแปดต่างผูกมัดรัดรึงตนเองอยู่กับความเชื่อที่ตำราเหล่านั้นบ่งชี้ไว้โดยเห็นเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เลย
แต่บางรายก็ตีความตามอารมณ์ปรารถนาของตนฝ่ายเดียวและยึดถือว่าถูกต้อง ใครมีความเห็นแตกต่างกลายเป็นศัตรูอันทำลายให้ย่อยยับลงไป
ความเห็นแก่ตัวเยี่ยงนี้จึงมิใช่ธรรมะ

      อักษรจีนคำว่า "เต๋า" มีความหมายล้ำลึกดังนี้ / หมายถึง ชั่ว หรือลบ / หมายถึง ดีหรือบวก รวมเป็น หนึ่ง จึงไม่มีทั้งดีและชั่วและอยู่ที่หัว ของตนเอง และต่างต้องเดินไปด้วยตนเอง
การพึ่งตัวเองจึงมีความหมายชัดเจนว่า สภาวะจิตเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลเมื่อใดเมื่อนั้นแหละจึงเป็นที่พึ่งแห่งตนและชนทั้งหลาย

2151
ตอนที่ 7.... ต้นธาตุ ต้นธรรม

      มนุษย์มีความสับสนเพราะไม่รู้จักตัวเองอย่างชัดเจนว่าประกอบไปด้วย “ตัวปลอม” และ “ตัวจริง”
      “ตัวปลอม” มองเห็นได้ มีต้นกำเนิดมาจากพ่อแม่ และเสื่อมไปตามสภาพจึงตกอยู่ในกฎของอนิจจัง ดังนั้นจึงมี “วันเกิด” และ “วันตาย” ที่สุดจึงเปลี่ยนแปลงเป็น ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีโอกาสเวียนว่ายตายเกิด
     ส่วน “ตัวจริง” มีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภาวะคือ ความว่างอันไร้ขอบเขตจึงไม่ตกอยู่ในเขตของนิจจัง ดังนั้น จึงไม่มี “วันเกิด” และ “วันตาย” แต่กลับมีโอกาส เวียนว่ายตายเกิดตามเหตุปัจจัย

      มนุษย์รู้จักยึดถือแต่ “ตัวปลอม” ว่าเป็น “ตัวจริง” จึงปฏิบัติต่อตัวปลอมด้วยวิธีผิดๆ จนกลายเป็นเวรกรรมผิด ต่อสัจธรรมของฟ้าดินและในที่สุด “ตัวจริง” ต้องเวียนว่ายไปในวัฏสงสารจนกว่าจะรู้จัก “ตัวจริง”

      ท่านฮุ่ยเหนิงรู้จัก “ตัวจริง” และได้รับการปลดปล่อยโดยพระอาจารย์หงเหยิ่น ได้ชี้ตรงไปที่ประตูของ “ตัวจริง” นั้น ท่านจริงอุทานขึ้นต่อหน้าพระอาจารย์หงเหยิ่นว่า

“ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นของบริสุทธิ์เหนือความบริสุทธิ์ใดๆ
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของการเกิดและดับสูญอย่างแท้จริง
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง
ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์แห่งความเปลี่ยนแปลง
ใครจะไปคิดว่าสรรพสิ่งที่ปรากฎออกมานี้ล้วนมาจาก “ธรรมญาณ”
      “ตัวจริง” คือ “ธรรมญาณ” ที่อาศัยอยู่ใน “ตัวปลอม” มีสภาวะเป็น อสังขตธรรมไร้การปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้น จึงมิอาจเอากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ ไปกำหนดได้เลย และสรรพสิ่งมิอาจเข้าไปมีอิทธิพลบ่งการใดๆ ไม่มีสิ่งใดเพิ่ม ขึ้นหรือลดลงด้วยสภาพเช่นนี้เอง “ธรรมญาณ” จึงเป็นต้นธาตุ ต้นธรรม อันแท้จริง

พระอาจารย์หงเหยิ่น รู้ว่าท่านฮุ่ยเหนิงบรรลุถึงความรู้แจ้งในธรรมญาณ จึงกล่าวว่า
      “ผู้ที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนจึงป่วยการศึกษาศาสนาพุทธแต่ถ้าใครรู้จักธรรมญาณและเห็นด้วยปัญญาอย่างซึม ซาบว่าคืออะไรแล้วบุคคลผู้นั้นคือ วีรมนุษย์ เป็นครูของมนุษย์ เทวดาได้ และเขาคือ พุทธะ”

ความเป็น “พุทธะ” คือผู้รู้ทุกข์ รู้สุข และเห็นความสิ้นสุดทั้งทุกข์และสุข จึงเปรียบเช่นคนที่ตื่นจากความหลับ ไหล ดังนั้นจึงเป็นผู้เบิกบานอันแท้จริง

ในครั้งนั้นท่านฮุ่ยเหนิง จึงได้รับมอบบาตรและจีวรอันเป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ หก และพระอาจารย์หงเหยิ่น กำชับให้ช่วยสอนมนุษย์สืบอายุคำสอน อย่าให้ขาดตอนพร้อมทั้งให้โศลกไว้บทหนึ่งว่า

      “สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เราหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ลงในเนื้อนาด้วยอำนาจของเหตุผล จะเก็บเกี่ยวผล ไปจนถึงพุทธภูมิ
ส่วนวัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นสิ่งว่างเปล่าตามธรรมชาติแห่งพุทธะย่อมไม่หว่านพืชพันธุ์ ดังนั้นจึง ไม่หวังที่จะเก็บเกี่ยวเลย”

      การกำหนดแนวทางแห่งการเผยแผ่ไว้ดังนี้ก็เพราะเล็งเห็นว่าอนุตตรธรรมล้วนเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญาทั้ง นั้น และไร้รูปลักษณ์ใดๆ มนุษย์รู้ได้และปฏิบัติให้ถึงซึ่งการตรัสรู้เยี่ยงเดียวกับพระพุทธองค์เพราะพระพุทธเจ้ามีสภาพ เช่นเดียยวกับมนุษย์ มีข้อแตกต่างกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือการใช้สติปัญญาและเหตุผลเพื่อค้นหา “ตัวจริง”

พระอาจารย์หงเหยิ่น กล่าวถึงสัญลักษณ์การส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์ว่า
      “ในครั้งที่พระโพธิธรรมาถึงเมืองจีน ไม่มีใครเชื่อถือ ผ้ากาสาวพัสตร์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ส่งมอบจากพระสังฆ ปริณายก องค์หนึ่งสู่อีกองค์หนึ่ง ส่วนธรรมะก็ส่งมอบจากจิตสู่จิต ซึ่งไม่เกี่ยวกับคัมภีร์ใดๆ ผู้รับมอบธรรมะ จักต้อง เป็นผู้ที่เห็นแจ้งในธรรมะด้วยความพยายามของตนเอง จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่อดีตกาล ที่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จะมอบหัวใจแห่งคำสอนของพระองค์แก่ผู้ที่จะสืบอายุ พระพุทธศาสนาต่อไป”

คำกล่าวของพระอาจารย์หงเหยิ่นได้ยืนยันให้เห็นความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า “หัวใจ” ของธรรมะย่อมไม่เกี่ยว พันกับตำราหรือธรรมะที่ผู้นั้นปฏิบัติอยู่ เปรียบเสมือน บาตร กับจีวร เป็นเพียงตัวแทนของธรรมะ แต่มิใช่ธรรมะอัน แท้จริง
การถ่ายทอด “หัวใจ” แห่งธรรมะสูงสุดจึงไม่อาจบัญญัติเป็นตำราใดๆ ได้เลย แต่อยู่ที่จิตใจของผู้นั้นรู้แจ้งเป็น ธรรมะของตนเองเสียก่อน จึงสามารถปลดปล่อย “ธรรมญาณ” ให้หลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้

เมื่อสภาวะแห่งธรรมญาณเป็นอิสระแท้จริงแล้ว การรู้ถึง “หัวใจ” แห่งธรรมะ จึงกลายเป็นอนุตตรภาพที่หา ขอบเขตมิได้ ดังคำกล่าว ของพระอริยะเจ้าว่า
      “อ่านจนเจนจบแปดหมื่นสี่พันคัมภีร์สาส์น สู้พระวิสุทธิอาจารย์ประทานหนึ่งจุดมิได้”
เมื่อรู้หนึ่งแล้วจึงรู้ไปถึงหมื่นแสน
บาตร กับ จีวร จึงสิ้นสุดการเป็นสัญลักษณ์ของการส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์เพียงแค่ท่านฮุ่ยเหนิง แต่ หัวใจของธรรมะ จิตสู่จิต ยังส่งมอบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันกาล

2152
ตอนที่ 6....โศลกอันลือเลื่อง

      มนุษย์ที่ยังไม่ได้พบหนทางแห่ง “ธรรมญาณ” ย่อมสับสนถ้อยคำว่า “ความรู้” กับ “ปัญญา” เพราะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน แท้ที่จริงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
“ความรู้” เป็นความจำ อ่านมากฟังมากย่อมมีความรู้มากเป็น “สัญญาขันธ์” ที่ตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง พอมีกิเลสมากระทบความรู้ย่อมหายไปได้ง่ายๆ
ส่วน “ปัญญา” เป็นอานุภาพของ “ธรรมญาณ” สามารถแยกแยะ “ผิด” หรือ “ถูก” ได้ แต่เพราะไม่พบหนทางแห่งธรรมญาณอันแท้จริงจึงมีปัญญาทั้งที่ถูกและผิดต่อสัจธรรม
ถ้าเปรียบไปแล้วเหมือนกองไฟมีเชื้อเพลิงคือฟืนโหมใส่มากเท่าใดความสว่างไสวก็ย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
“ความรู้” จึงเปรียบเสมือนฟืน
ส่วน “ปัญญา” คือแสงสว่างแห่งกองเพลิง ถ้าได้ฟืนดีแสงสว่างก็โชติช่วง แต่ถ้าได้ฟืนไม่ดี แสงสว่างก็มืดมัว
ความรู้ดี ย่อมส่งผลให้เกิดปัญญาดี
ความรู้ชั่ว จึงก่อให้เกิด ปัญญาชั่ว
      ส่วนท่านฮุ่ยเหนิงมิได้ร่ำเรียนพุทธธรรมมาก่อนเลย ครั้นได้ยินโศลกของท่านเสินซิ่วก็แยกเเยะออกด้วย สัมมาปัญญาว่า ยังเป็นโศลกที่ติดยึดอยู่ในรูปและนาม จึงวานให้เสมียน จาง ยื่อย่ง ช่วยเขียนโศลกซึ่งมีข้อความดังนี้
“ไร้กาย ไร้ต้นโพธิ์
ไร้จิต ไร้บานกระจก
เดิมที่ไม่มีใดใด
ฝุ่นจะจับลงที่ตรงไหน”


      ข้อความแห่งโศลกนี้ทำให้มหาชนในที่นั้นตื่นเต้นส่งเสียงสรรเสริญดังไปถึงพระอาจารย์หงเหยิ่น จึงออกมาดู
ครั้นเห็นคนเหล่านั้นพากันเต็มตื้นด้วยความอัศจรรย์ใจ จึงถอดรองเท้าออกมาลบโศลกนั้นเสีย เพื่อแสดงให้ชนทั้งหลายเข้าใจว่า ท่านฮุ่ยเหนิงก็ยังมิใช่ผู้ค้นพบ “ธรรมญาณ” แห่งตน คนทั้งหลายจักได้พอใจไม่ทำร้ายด้วยจิตริษยา
แต่โศลกอันลือเลื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงสภาวะแห่งรากฐานของธรรมมญาณแท้ตาม
ธรรมชาติเป็น สุญญตา ไม่เกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น จัดเป็นความว่างจาก “นาม” และ “รูป” โดยสิ้นเชิงและถ้าท่านฮุ่ยเหนิงมิได้เข้าถึงสภาวะนั้นย่อมไม่มีปัญญาแยกแยะชี้ให้ชนทั้งปวงเห็นถึงสัจธรรมแห่ง “ธรรมญาณ”
วันรุ่งขึ้นพระอาจารย์หงเหยิ่นจึงรอบมาที่โรงครัวซึ่งขณะนั้นท่านฮุ่ยเหนิงกำลังใช้สากหินตำข้าว ซึ่งตามประวัติความเป็นมาได้บันทึกเอาไว้ว่า ท่านฮุ่ยเหนิงเป็นคนร่างเล็กเตี้ย แต่การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องต้องใช้น้ำหนักของตัวเองเหยียบกระเดื่องให้สากตำข้าว ท่านจึงใช้แผ่นหินผูกเอวเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
ตามตำนานเล่าว่า ท่านฮุ่ยเหนิงตำข้าวจนเชือกบาดไหล่เป็นแผลมีน้ำเหลืองไหล หนอนที่กินน้ำเหลืองหล่นลงไปท่านยังจับให้หนอนขึ้นมากินน้ำเหลืองต่อไป โดยไม่ได้แสดงถึงความเจ็บปวด
เหตุการณ์ตอนนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะจิตเป็นหนึ่งอันเป็นสมาธิจิตสูงสุด ปล่อยวางตัวตนให้เหลือแต่ “ธรรมญาณ” แท้ๆ ที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีกต่อไป
พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงถามว่า
“ข้าวได้ที่หรือยัง”
      “ได้ที่นานแล้ว รออยู่แต่ตะแกรงสำหรับร่อนเปลือกเท่านั้น” ท่านฮุ่ยเหนิงตอบ
      คำโต้ตอบมีความหมายแฝงเร้นที่รู้เฉพาะกันสองท่านคือ ของพระอาจารย์หงเหยิ่นมีความนัยว่า สภาวะแห่งจิตได้เข้าที่วิปัสสนาญาณอย่างแท้จริงแล้วหรือ
      ส่วนคำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมอธิบายว่า มีปัญญาญาณอันนิ่งสงบรออยู่แต่การชี้แนะหนทางของการปลดปล่อยให้เป็นอิสระอย่างแท้จริงเท่านั้น
พระอาจารย์หงเหยิ่น จึงใช้ไม้เท้าเคาะครกตำข้าวสารทีแล้วเอามือไขว้หลังหันหลังเดินจากไป
      ปริศนาแห่งการเคาะครกตำข้าว ท่านฮุ่ยเหนิงก็ทราบดีถึงการบอกใบ้เพราะตามภาษาจีนอ่านออกเสียงว่า “ซันจิง” ปั้นเอวี้ย” ก็ความหมายว่า ยามสามเที่ยงคืนให้ไปพบ
มือไขว้หลัง ก็หมายถึงเข้าทางประตูหลัง
      เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงไปถึงห้อง พระอาจารย์หงเหยิ่นจึงใช้จีวรคลุมเพื่อบังมิให้ใครเห็นและถ่ายทอดธรรมอันเร้นลับ พิธีเช่นนี้คงมิได้มีความเพียงมิให้รู้ไปถึงบุคคลที่สามเท่านั้น เพราะการใช้จีวรคลุมทั้งๆ ที่อยู่ในห้องของพระอาจารย์หงเหยิ่น ซึ่งเร้นลับอยู่แล้ว ย่อมต้องมีความหมมายไปถึงการป้องกันภูติผีปิศาจ หรือมารร้ายทั้งปวงล่วงรู้ประตูแห่ง “อนุตตรธรรม” ซึ่งเป็นการถ่ายทอดจากจิตสู่จิตอันเป็นต้นกำเนิดแห่ง “ธรรมญาณ” ซึ่งหมายถึง ต้นธาตุต้นธรรม
พิจารณาจากรูปลักษณ์ย่อมหมายถึงศูนย์กลางกายอันเป็นต้นกำเนิดแห่งกายสังขาร และโยงใยไปถึงประตูเข้าออกของ “ธรรมญาณ” ซึ่งพระอาจารย์หงเหยิ่นเป็นผู้เปิด “ทวารแห่งธรรมญาณ” ให้แก่ท่านฮุ่ยเหนิง และอาศัยวัชรสูตรอธิบายให้เห็นถึงสภาวะแห่ง “ธรรมญาณ” อันเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง พ้นไปจากความดีและความชั่ว
เมื่อท่านฮุ่ยเหนิงรู้ “ญาณทวาร” สภาวะความเป็นแห่ง “ธรรมญาณ” จึงปรากฎขึ้น นับเป็นการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ ท่านจึงเปล่งวาจาออกมาว่า
“แท้จริงทุกสิ่งอย่างในจักรวาลก็คือ ธรรมญาณมิใช่อื่นไกลเลย”
ถ้อยคำนี้มีความหมายเช่นเดียวกับพระพุทธวจนะทรงกล่าวไว้ว่า “เราคือจักรวาล จักรวาลคือเรา”
      ความหมายอันแท้จริงคือ “ธรรมญาณ” มาจากศูนย์พลังแห่งธรรมชาติ ซึ่ง ก่อกำเนิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้ในจักรวาลนี้
ท่ามกลางฟ้าดิน มนุษย์จึงมีความศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ที่สุด


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=3

2153
ตอนที่ 5....ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

      ความรู้แจ้ง "ธรรมญาณ" แห่งตนไม่อาจใช้ภาษาคนอธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน เพราะสื่อภาษามีขอบเขตจำกัดเท่าที่มนุษย์ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อยู่นอกเหนือขอบเขตการกำหนดของมนุษย์ เพราะเป็นภาวะที่ปราศจากรูปลักษณ์ทั้งปวง
ภาษาจึงเป็นเพียงรอยทางให้ผู้ใฝ่ใจศึกษาได้เดินตาม ส่วนรสชาติเป็นเรื่องที่แต่ละคนสัมผัสรับรู้ได้เอง แม้ใช้ภาษาอธิบายจนหมดสิ้นก็ไม่มีใครสามารถรับรสชาตินั้นได้เลย จึงเปรียบเหมือนน้ำคนไหนดื่มคนนั้นรับรู้รสชาติได้ด้วยตนเอง
ท่านเสินซิ่วหัวหน้าศิษย์จึงใช้การศึกษาสะท้อนให้เห็นเป็นเพียงความรู้แต่มิได้ไหลออกมาจาก "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นจึงจับจ้องว้าวุ่นใจในการเขียนโศลกถวายต่อพระอาจารย์หงเหยิ่น ด้วยไม่แน่ใจในความรู้ของตนเอง
เมื่อเขียนโศลกเสร็จแล้วไม่มั่นใจจึงไม่กล้านำไปถวายพระอาจารย์ได้แต่เดินกลับไปกลับมาเสียเวลาไป 4 วันเดินเสีย 13 เที่ยว
ในที่สุดก็ตัดสินใจเขียนเอาไว้บนฝาผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ซึ่งพระอาจารย์เดินผ่านไปมาจะได้หยั่งทราบถึงปัญญาญาณที่ตนเองได้บรรลุ
ข้อความแห่งโศลกนั้นมีว่า
"กายคือต้นโพธิ์
จิตคือกระจกเงาใส
หมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยาม
จึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ"
   

  เมื่อเขียนเสร็จแล้ว เสินซิ่วก็หามีความสุขแต่ประการใดไม่ มีแต่ความปริวิตกด้วยหวั่นเกรงว่าได้สะท้อนความไม่รู้แจ้งให้ปรากฎออกไป
แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เสินซิ่วยังไม่ได้รับรสชาติแห่งธรรมญาณของตน จึงกล่าวแก่ หลูเจิน จิตกรเอกแห่งราชสำนักซึ่งเขียนภาพต่างๆ จากลังกาวตารสูตรและชาติวงศ์ของพระสังฆปริณายกทั้ง 5 องค์ว่า
"เสียใจที่รบกวนท่าน บัดนี้ผนังเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนภาพเพราะสูตรนี้ได้กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่งอันมีรูป หรือปรากฎกริยาอาการล้วนเป็นอนิจจังและมายา จึงควรปล่อยโศลกนี้ไว้บนฝาผนังเพื่อให้มหาชนได้ท่องบ่น และถ้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้ เขาก็จะพ้นทุกข์ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติตามได้รับนั้นมีมากนัก"
ความหมายแห่งคำพูดของพระอาจารย์หงเหยิ่นพิจารณาโศลกบทนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สภาวะที่ปรากฎ "ความมี" ย่อมจะ "ไม่มี" ในที่สุด
ต้นโพธิ์ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่จิตก็เกิดดับไม่แน่นอน การหมั่นเช็ดกระจกจึงเปรียบเสมือนการทำความดีและขจัดอาสวะกิเลส
ดังนั้นทั้งกายและจิต จึงเป็นสภาวะแห่งอนิจจัง ย่อมไม่ใช่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันแท้จริง
ในเที่ยงคืนนั้นเอง พระสังฆปริณายกหงเหยิ่น จึงเรียกเสินซิ่วเข้าไปรับทราบถึงผลแห่งการเขียนโศลกนั้นว่า
      "โศลกนี้แสดงว่าเจ้ามิได้รู้แจ้งใน "ธรรมญาณ" เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้ว แต่มิได้ก้าวข้ามธรณีประตู การแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้อันสูงสุดด้วยความเข้าใจที่แสดงออกมานั้น ยากที่จะสำเร็จได้"
ความหมายอันแท้จริงคือ การติดในรูปลักษณ์ พระอาจารย์หงเหยิ่นได้อธิบายด้วยว่า "การบรรลุ อนุตตรสัมโพธิ์ได้ ต้องรู้แจ้งด้วยใจเองใน "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสร้างขึ้นได้ทำลายก็ไม่ได้ ชั่วขณะจิตเดียวผู้นั้นเห็นธรรมญาณก็เป็นอิสระจากการถูกขังตลอดกาล พ้นจากความหลง และไม่ว่าสภาวะรอบตัวเป็นเช่นไร ใจของตนเองก็อยู่ในสภาพของ "ธรรมญาณ" สถานะเช่นนี้แหละคือตัวสัจธรรมแท้ เป็นการเห็น "ธรรมญาณ" อันเป็นการตรัสรู้นั่นเอง"
เสินซิ่วได้ฟังแล้ว จึงถึงแก่อาการงงงวยนอนนั่งไม่เป็นสุข

      การที่ภาวะจิตยังตกอยู่ในรูปและนามย่อมหวั่นไหว เพราะยังยึดอยู่ในความดีและความชั่ว หรือ "มี" กับ "ไม่มี" จึงเห็นได้ทั่วไปในหมู่ของพุทธศาสนิกชนติดอยู่กับการสร้างบุญจึงกลายเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกันได้เสมอ
สร้างบุญต้องได้หน้าตามีชื่อเสียงทำให้เกิดความฟูใจ รื่นเริงใจเมื่อเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจัง ความทุกข์จึงปรากฎขึ้นแทนที่ เพราะไม่มีและไม่ได้บุญตามที่ปรารถนา

ส่วนท่านฮุ่ยเหนิง เมื่อได้ยินโศลกนี้ก็ได้ทันทีว่าเป็นเพียงโศลกที่ยังติดข้องอยู่ในรูปลักษณ์ แม้ว่าตำข้าวอยู่ในครัวถึง 8 เดือน โดยไม่ได้รับคำอธิบายใดๆ จากพระอาจารย์หงเหยิ่นเลย จึงขอให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งพาไปยังช่องกำแพงนั้นและพบกับเสมียนแห่งตำบลเจียงโจวชื่อว่าจางยื่อย่ง ให้ช่วยอ่านโศลกให้ฟัง เพราะท่านฮุ่ยเหนิงไม่รู้จักหนังสือ
เมื่อเสมียนผู้นี้ได้ฟังว่าท่านฮุ่ยเหนิงมีโศลกเหมือนกันก็อุทานในเชิงดูถูกภูมิปัญญาว่า "ประหลาดแท้ ท่านก็มาแต่งโศลกกับเขาด้วย"
คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นสัจธรรมจนถึงบัดนี้ว่า
      "ถ้าเป็นผู้แสวงหาบรรลุธรรม อย่าดูถูกคนที่เริ่มต้น คนที่จัดว่าเป็นคนชั้นต่ำก็อาจมีปฏิภาณสูงได้ ส่วนคนชั้นสูงก็ปรากฎว่าขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคนจึงจัดว่าทำบาปหนัก"

เราจึงไม่อาจแบ่งคนหรือตัดสินใครๆ ได้ที่รูปลักษณ์ซึ่งแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ "ธรรมญาณ" ซึ่งมีศักยภาพเหมือนกันทุกคนและเท่าเทียมกัน

2154
อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

ปัญญาอันวิเศษสุดย่อมพาตนเองพ้นไปจากวงเวียยนแห่งการเวียนนว่ายตายเกิด ทุกคนมีอยู่พร้อมแล้วเสมอกันมิแตกต่างกันเลยแม้แต่น้อย ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเปล่งวาจายืนยันสัจธรรมข้อนี้ไว้ว่า "แปลกจริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมดทุกคน ต่างกันแต่เพียงมีผู้รู้กับไม่รู้เท่ากัน" อนุตตรสัมมาสัมโพธิ จึงเป็นปัญญาสูงสุดที่ไม่มีสิ่งใดมาเทียบเคียงได้ แต่เพราะปุถุชนไม่รู้ถึงภาวะแห่งปัญญาอันสูงสุด จึงปราศจากศรัทธาในตัวเอง หนี้สินเวรกรรมที่สร้างไว้ จึงเป็นเสมือนเมฆหมอก บดบัง "ธรรมญาณ" ให้ถูกล่อหลอกและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ อายตนะหกได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชักจูงให้ลืมเลือน "ธรรมญาณ" อันแท้จริงมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนแห่งความหลงใหล และดูแคลนตนเอง

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์หงเหยิ่น สังฆปริณายก ประกาศให้ศิษย์ทั้งปวงเขียนโศลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาวะที่เข้าถึง "ธรรมญาณ" ของตนจึงไม่มีใครแสดงความกล้าหาญ เพราะต่างเชื่อว่าหัวหน้าศิษย์ นามว่าเสินซิ่ว ย่อมมีความสามารถเหนือกว่าตน ขืนส่งโศลกเข้าประกวดย่อมไม่มีทางสำเร็จได้ ศิษย์ทั้งปวงจึงพากันกล่าวว่า "เราจะไปทำให้เหนื่อยเปล่าไปทำไม ต่อไปนี้คอยติดตามท่านเสินซิ่ว หัวหน้าของเราท่านไปทางไหนเราก็ตามไปทางนั้นก็พอแล้ว" สัจธรรมข้อนี้ได้พิสูจน์ตัวเองมมาจนถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์มิได้ศรัทธาในตัวเอง ขาดความเป็นอิสระไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมทั้งปวงให้เห็นถึงสัจธรรม แต่เชื่อฟังคำสอนชนิดที่ไม่มีวันโต้แย้ง ยึดถือคัมภีร์บุคคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยไม่เชื่อว่าตนเองเป็นคัมภีร์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งตนมนุษย์จึงตกอยู่ในวิถีชีวิตสองประเภท คือ คอยติดตามผู้อื่น บูชาสิ่งอื่นนอกจากตัวเอง และประเภทที่ไม่เชื่อถือสิ่งใดเลย ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีคัมภีร์ และไม่มีหนทางแห่งการหลุดพ้น คนทั้งสองประเภทนี้เดินอยู่บนหนทางสุดโต่งทั่งสองด้านซึ่งจัดว่าเป็นความหลงงมงายด้วยกันทั้งคู่ พึ่งสิ่งอื่นมิได้พึ่งตนเอง ดังนั้นจึงไม่อาจพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลย

สมัยพุทธกาล มีบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง นามว่า วักกลิ หลงใหลในพระพุทธะสรีระ ติดตามพระพุทธเจ้าไปขอบวชอยู่ด้วยเพื่อจะได้ยลพระสิริโฉมมิได้ปฏิบัติสมณกิจใดๆ เอาแต่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า วันหนึ่งพระพุทธองค์จึงทรงตำหนิว่า "วักกลิ เธอจะเฝ้ามองร่างกายตถาคต หาประโยชน์อันใดมิได้เธอจึงไสหัวออกไป" พระวักกลิเสียใจที่หลงบูชาพระพุทธองค์ จึงกลับไปป่วยหนักและบ่นด้วยความน้อยใจอยากตายสถานเดียว พระพุทธองค์จึงเสด็จไปโปรดว่า "ผู้ใดดวงตาเป็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ไม่จำเป็นต้องเฝ้ามองดูแต่สรีระ ดวงตาไม่เห็นธรรม แม้เกาะจีวรตถาคตก็ได้ชื่อว่าไม่เห็นตถาคต" พระวักกลิดวงตาเห็นธรรมในทันที หายป่วยและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมจึงหมายถึงเป็นผู้รู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิของตนเองและเป็นที่พึ่งแห่งตนได้

บรรดาศิษย์ของท่านหงเหยิ่นจัดเป็นประเภทไม่เชื่อถือในตัวเองแต่ยึดถือเอาหัวหน้าศิษย์ เสินซิ่ว เป็นที่พึ่งซึ่งท่านเสินซิ่วรู้ดีว่าไม่มีใครกล้าเสนอตัวเข้ามาเป็นคู่แข่งขัน แต่ก็สงสัยในตัวเองยิ่งนักจะเขียนโศลกดีหรือไม่ ถ้าหากตนเองไม่เขียนไปถวายอาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่า ความรู้ทางธรรมของตนนั้นลึกซึ้งหรือผิวเผินเพียงใด ท่านเสินซิ่วสงสัยแม้เจตนาของตนเองว่าเจตนาแห่งการเขียนโศลกนี้ ถ้าทำไปด้วยความต้องการทราบธรรมะจากพระสังฆปริณายกก็เป็นเจตนาบริสุทธิ์ แต่ถ้าเขียนโศลก เพราะต้องการตำแหน่งพระสังฆปริณายกก็มีเจตนาชั่ว และเป็นการกระทำเยี่ยงโจรปล้นชิงบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระสังฆปริณายก ผู้ที่ไม่รู้จัก "ธรรมญาณ" แห่งตนจึงมีแต่ความคิดฟุ้งซ่านลังเลไม่แน่ใจแม้แต่ความคิดของตนเอง ความรู้ทั้งปวงไม่ว่าเป็นทางธรรมหรือทางโลกล้วนกลายเป็น "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" ด้วยกันทั้งสิ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ท่านเสินซิ่วแม้เป็นหัวหน้าศิษย์และเป็นครูช่วยสอนธรรมะ จัดเป็นผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าศิษย์ทั้งปวงแต่ก็ไม่แน่ใจในความรู้ยังข้องติดอยู่ในอารมณ์ของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงตัดสินใจเขียนโศลกด้วยความยากลำบากนัก แต่ใครก็ตามที่รู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ แห่งตนเขาไม่มีความลังเลหรือสงสัยเจตนาของตนเอง ความคิด และตัดสินใจเป็นไปอย่างอิสระเหนือข้อผูกมัดรัดตรึงใดๆ ทั้งสิ้น และนั่นเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ด้วยตนเอง อันแท้จริง


2155
จิตเดิมแท้

"ธรรมญาณ" เป็นรากฐานเดิมตามธรรมชาติแท้ของจิต ยากที่จะอธิบายสภาวะนั้นด้วยภาษาคนเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า "จิตเดิมแท้" แต่ในที่นี้เรียกว่า "ธรรมญาณ" อันเป็นญาณที่มาจากธรรมชาติดั้งเดิมแท้จึง การค้นพบภาวะ "ธรรมญาณ" ของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ลึกล้ำและยากนัก

ท่านหงเหยิ่นพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า จึงเรียกประชุมศิษย์ทั้งปวงแล้วกล่าวว่า "การเวียนว่ายตายเกิดเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่มีใครเอาใจใส่แทนที่จะหาหนทางพาตัวเองให้พ้นไปจากทะเลทุกข์แห่งการเวียนเกิดและเวียนตายอันไม่มีที่สิ้นสุด กลับพากันหมกมุ่นอยู่แต่บุญกุศล ที่มีตัณหาชักนำอันเป็นต้นเหตุให้เกิดใหม่ ถ้าธรรมญาณยังมืดมัวอยู่ บุญกุศลทั้งปวงก็หามีประโยชน์อันใดไม่ จนตั้งใจค้นหาปัญญาของตนเองแล้วเขียนโศลกว่าด้วยเรื่องของ "ธรรมญาณ" ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า "ธรรมญาณ" นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่ง พระสังฆปริณายก พร้อมทั้งธรรมะอันเป็นคำสอนเร้นลับแห่งนิกายเซ็น และจะสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งนิกายเรา อย่ามัวรีรอตรึกตรองเพราะไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์อะไร ผู้ที่รู้แจ้งชัดใน "ธรรมญาณ" จะพูดได้ทันทีที่มีใครมาชวนคุยด้วยและมันไม่เลื่อนลอยไปจากธรรมจักษุของเขา แม้จะชุลมุนวุ่นวายอยู่ท่ามกลางสนามรบก็ตาม " วจนะของท่านหงเหยิ่นเป็นความจริงจนถึงการสมัยปัจจุบันมนุษย์ยังคงเวียนว่ายอยู่ในทะเลทุกข์โดยมิได้รู้สึกว่ากำลังจมอยู่ในห้วงทะเลแห่งการเกิดและตาย เขาเหล่านั้นจะรู้สึกถึงปัญหานี้ ก็ต่อเมื่อความตายมาเยือนอยู่ตรงหน้า และพากันบอกหนทางโดยหวังว่าจะช่วยให้พ้นไปจากนรกอเวจีและเชื่อว่าบุญกุศลที่ได้สั่งงสมเอาไว้ทำให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเก่า การสร้างบุญกุศลเช่นนี้กระทำได้ง่ายกว่าการใช้ปัญญาค้นคิดหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์อันเกิดจากเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์จึงมี "บุญ" และ "บาป" เป็นเหตุปัจจัยให้ไปเวียนเกิด-ตายเพื่อไปรับผลอันมาจากเหตุที่ตนเองสร้างไว้ไม่มีที่สิ้นสุด การสร้างบุญจึงไม่ต่างอะไรกับการหาเงินฝากธนาคารเอาไว้เป็นของตน เมื่อใช้จนหมดแล้ววิถีแห่งชีวิตก็ต้องยากจนลงไปเหมือน "กินบุญ" หมดแล้วจึงไป "รับบาป" ชดใช้หนี้สินหมดแล้วจึงไป "กินบุญ" เวียนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ที่ไม่เข้าใจทุกข์แห่งการเกิดและตาย จึงทำบุญด้วยการอยากเกิดใหม่ เพื่อให้ได้ชีวิตที่ดีกว่าเท่านั้นเอง วิถีแห่งชีวิตจึงไม่พ้นไปจากวัฎสงสาร เพราะตัณหาเป็นตัวชักนำ

แต่พระพุทธองค์ทรงเบื่อหน่ายการเกิด-ตาย ทรงเล็งเห็นเป็นความทุกข์อันแท้จริงจึงทรงสละฐานันดรกษัตริย์ ซึ่งปุถุชนเห็นเป็นความสุขสมบูรณ์อันสูงงสุดทิ้งเสีย และทรงค้นคว้าหาหนทางที่สามารถไปพ้นจากทะเลทุกข์ ทรงลำบากตรากตรำทั้งปฏิบัติและศึกษานานถึง 6 ปี เมื่อกลางคืนวันเพ็ญเดือนหก พระพุทธองค์ทรงค้นพบ "ญาณทวาร" และ "วิถีจิต" อันเป็น "อนุตตรสัมมาสัมโพธิ" "ญาณทวาร" เป็นประตูวิเศษอันเร้นลับ ซึ่งพระพุทธทีปังกรเคยพยากรณ์ว่าสุเมธดาบสจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปน์ได้นิมิตเป็นแสงดาวสว่างวาบตรงจุดนั้น "วิถีแห่งจิต" เป็นหนทางอันตรงต่อประตูวิเศษซึ่งเป็นทางสายกลาง "อนุตตรสัมมาสัมโพธิ" เป็นปัญญาอันยิ่งเพราะรู้ถึง "ธรรมญาณ" ซึ่งพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดอันแท้จริง เพราะสภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" นั้น มิได้ "เกิด" จึงมิได้ "ตาย" และไม่อาจนำเอาบัญญัติใดๆ ในโลกนี้มาเทียบเคียงหรืออธิบายให้ใครเข้าใจได้เลย เพราะสภาวะนั้นพ้นไปจาก "รูป" และ "นาม" "อนุตตรธรรม" ที่พุทธองค์ตรัสรู้จึงเป็นเรื่องรับรสได้เฉพาะตนแต่เหตุไฉนตลอด 45 พรรษา พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ชี้แนะหนทางเท่านั้น ส่วนการเดินไปสู่จุดหมายปลายทางล้วนต้องประคองจิตด้วยตนเองทั้งสิ้น และเพื่อมิได้ "อนุตตรธรรม" สูญหายไปจากโลกนี้ พระพุทธองค์ทรงถ่ายทอดประตูวิเศษนี้ไว้ด้วยวิธีอันเร้นลับ มิได้ถ่ายทอดโดยเปิดเผย สมกับคำกล่าวโบราณที่ว่า "ไม่รู้ถึงหูที่หก"

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์สาวกล้วนเป็นพระอรหันต์ 1,250 รูป ณ ภูเขาคิชฌกูฏ แห่งกรุงราชคฤห์ และมิได้ตรัสประการใด จึงมีผู้ทูลอาราธนาว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไฉนวันนี้ พระองค์จึงมิได้ตรัสเทศนาโปรดเวไนยสัตว์เลย" ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งแล้วตรัสว่า "ตถาคตมีธรรมจักษุอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์ใด ๆ อยู่ในครรโภทร…" ที่ประชุมสงฆ์สาวกทั้งนั้น มีแต่พระมหากัสสปะซึ่งเป็นผู้สูงอายุหน้าตายับยู่ยี่ด้วยเร่งบำเพ็ญเพียรจนไม่เคยยิ้มเลยตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรมอยู่ เมื่อเห็นพระพุทธองค์ทรงแสดงรหัสตรัสเช่นนี้จึงรู้ได้ด้วยไวปัญญา พระมหากัสสปะจึงยิ้มครั้งแรกในชีวิตและแสดงกริยาก้มหน้าเป็นการตอบรับ พระพุทธองค์ทรงกล่าวต่อไปว่า "ตถาคตได้ส่งมอบธรรมะนี้แก่พระมหากัสสปะแล้ว" พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่าเป็นผู้มีปัญญาอันเลิศ จึงทรงแลกบาตรและจีวรกับพระมหากัสสปะ ปัญหาที่น่าพิจารณาคือบรรดาพระอรหันต์ทั้ง 1,249 รูป นั้นมิได้รู้อนุตตรธรรม เหตุไฉนจึงสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์พ้นเวียนว่ายตายเกิดได้เล่า คำตอบอยู่ที่บรรดาสงฆ์สาวกทั้งปวงล้วนปฏิบัติตรงตามทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและประคองจิตของตนเองมิได้พ้นไปจากเส้นทางสายนี้ เช่นเดียวกับพระมหากัสสปะจึงเป็นผู้ได้หนทาง แต่มิได้รู้ถึง "ประตูวิเศษ" แต่พระพุทธองค์ทรงรู้ถึง "ทวารวิเศษ" บรรดาสงฆ์สาวกซึ่งรักษาจิตของตนเองในหนทางสายกลางย่อมเดินไปจนถึง "ทวารวิเศษ" นี้ ในวันสุดท้ายของการทิ้งกายสังขาร เมื่อพระมหากัสสปะได้รับการถ่ายทอด "ทวารวิเศษ" และประคองจิตของตนเองอยู่ในหนทางสายกลาง จึงย่อมเสมอเหมือนพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรของพระพุทธองค์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการถ่ายทอด "ทวารวิเศษ ของอนุตตรธรรม" สืบต่อกันมาจนถึงพระธรรมาจารย์ หงเหยิ่น องค์ที่ห้า ในครั้งนั้นพระมหากัสสปะจึงเป็นพระธรรมาจารย์องค์ที่หนึ่งซึ่งได้รับรู้ "ประตู" ของ "ธรรมญาณ" อันเป็นหนทางแห่งอนุตตรธรรม นั่นเอง


ไม่เข้าใจตรงนี้
อ้างถึง
"ตถาคตมีธรรมจักษุอันละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพปราศจากรูปลักษณ์ใด ๆ อยู่ในครรโภทร…"

2156
วิปัสสนาปัญญา

ท่านฮุ่ยเหนิง เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง สภาพชีวิตที่แร้นแค้นจึงไม่ได้รับการศึกษา อ่านหนังสือไม่ออก แต่เหตุไฉนเพียงได้ฟังวัชรสูตรเท่านั้น ปัญญาสว่างไสวและเกิดความศรัทธาในพุทธธรรม ประการแรกลองพิจารณาจากวัชรสูตรซึ่งเป็นสูตรสำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งใจความสำคัญว่าด้วยการปล่อยวางเครื่องร้อยรัดทั้งปวงให้หมด ไม่ยึดถือทั้งความดีและความชั่ว ไม่ปรารถนาในบุญ และบาป พระสูตรนี้สอนให้ วางทั้ง รูป และ นาม ถ้าเทียบเคียงกับพระสูตรในพุทธศาสนาฝ่ายหินยานก็ได้แก่ อนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นการประกาศให้ปรากฎแก่เวไนยสัตว์ทั้งปวงถึง "ความไม่มีตัวตน" การพูดว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่เป็นความว่างที่ปราศจากตัวตนจึงเป็นเรื่องยากที่ปุถุชนจะเกิดความเข้าใจ แต่ท่านที่บำเพ็ญให้จิตถึงซึ่งสภาวะแห่งธรรมชาติเดิมแท้แล้วก็เข้าใจแจ่มแจ้งได้เองว่า รูปที่มีอยู่นั้นในที่สุดก็ปราศนาการกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ นามที่หลงยึดถือ เกียรติยศ ชื่อเสียง ในที่สุดก็เสื่อมถอยหมดไป ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพที่เกรียงไกรที่สุดในโลก สามารถนำกองทัพปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ได้ราบคาบอยู่ภายใต้อำนาจ ของตนเอง บัดนี้ทั้งตัวแม่ทัพและชื่อเสียงนั้นก็ไม่มีใครรู้จักเลยแม้แต่คนเดียว ความมีอยู่ในสิ่งทั้งปวง จึงเกิดขึ้นแต่ "จิตผูกพันติดยึด" ทั้งสิ้นถ้าตัดความยึดถือลงไปได้หมดโดยเด็ดขาด สรรพสิ่งทั้งปวง จึงเป็น "อนัตตา" โดยแท้จริง สภาวะเช่นนี้ต้องใช้ปัญญาตัดความผูกยึดอันเป็น "อุปาทาน" การใช้ความรู้อย่างเดียว จึงไม่อาจตัดความยึดถือได้ เพราะเป็นการตัดแต่เพียงลมปากหากแต่จิตยึดอยู่เหนียวแน่น คุณนายคนหนึ่งได้เข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์แห่งสำนักวิปัสสนา เธอจึงไปฝึกนั่งสมาธิจนจิตสว่างไสวเงียบสงบแสนดีใจยิ่งนัก จึงเข้าไปกราบ เรียนพระอาจารย์ว่า "อาจารย์เจ้าคะ อะไร ๆ อิฉันก็วางได้หมดแล้ว" "ยังงั้นเรอะ อีตอแหล" พระอาจารย์ตอบรับ ส่วนผู้ปล่อยวางด้วยลมปากพอได้ฟังวาจาของพระอาจารย์โทสะจริตเข้าครอบงำลุกขึ้นกระทืบเท้าแล่นลงจากอาศรมวิปัสสนาไปทันที การปล่อยวางใน "รูป" คือสิ่งที่มองเห็นได้นั้นไม่ยากจนเกินไป แต่การปล่อยวาง "นาม" อันสถิตอยู่ในจิตจึงเป็นเรื่องยากลำบากนัก ประการที่สองพิจารณาจากท่านฮุ่ยเหนิง ซึ่งมิได้เข้าเรียนพุทธธรรมที่ไหนเลย แม้แต่พรระสูตรต่าง ๆ ก็มิได้ศึกษา แต่พอได้ฟังวัชรสูตรเท่านั้น จิตที่ติดยึดในสรรพสิ่งทั้งปวงก็หลุดพ้น เป็นเพราะ "ปัญญา" ของท่านสว่างไสวขึ้นมาเอง "ปัญญา" ที่ตัด อุปาทาน ความยึดถือทั้ง "รูป" และ "นาม" ลงไปได้นั้นย่อมมิใช่ปัญญาอย่างธรรมดาต้องผ่านการสั่งสมมานับหลายชาติ ในปัจจุบันมักได้ยินข่าวว่า เด็กอัจฉริยะ อายุเพียง 7 ขวบ สามารถศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ได้แต่สามารถคำนวณได้เก่งกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างนี้เอาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาวิจัยก็เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ แต่ตามหลักแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันนี้เป็นสัจธรรมของสรรพชีวิต สามารถอธิบายปรากฎการณ์เช่นนี้ได้ สมัยราชวงศ์ชิงมีขุนนางตรวจการทท่านหนึ่งแซ่สกุลว่า "เฉิน" เดินทางมาตรวจราชการทางภาคใต้ ระหว่างทางที่พักนั้นก็ฝันเห็นทางเดินในตรอกแคบ ๆ แห่งหนึ่ง เมื่อเดินเข้าไปก็พบหญิงชราคนหนึ่งกำลังผัดเส้นหมี่ด้วยกลิ่นที่หอมหวลชวนกินนัก ท่านขุนนางผู้นี้ฝันติดต่อกันถึงสามคืน เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่ตรงตามฝันจึงเดินเข้าไปในตรอกเล็กๆ พบบ้านมีคุณยายคนหนึ่งกำลังผัดเส้นหมี่อยู่จึงเข้าไปถามว่า "คุณยายครับ ผัดเส้นหมี่ทำไม" "ยายผัดเอาไปไหว้ลูกสาวของยาย เขาชอบกิน" ขุนนางเฉินจึงขอเข้าไปดูห้องของลูกสาวที่ยายเก็บเอาไว้เพราะเป็นลูกสาวคนเดียวที่แกแสนรักแต่ก็หากุญแจห้องเปิดไม่ได้ แต่ขุนนางเฉินพลัน ก็บอกคุณยายว่า อยู่บนหลังตู้เสื้อผ้ามั้ง คุณยายก็หากุญแจพบตามที่ขุนนางเฉินบอกและแกก็พูดต่อไปว่า "ปกติยาย ผัดหมี่ไหว้ลูกสาวเพียงสองวันเท่านั้น แต่ทำไมครั้งนี้จึง อยากผัดอีกวันก็ไม่รู้" เมื่อเปิดเข้าไปในห้อง ขุนนางเฉินพบสมุดบันทึกที่แต่งโคลงกลอนเอาไว้ และก็ประหลาดนักเป็นโคลงกลอนอย่างเดียวกันที่ขุนนางแซ่เฉิน เคยแต่งเข้าสอบไล่ตำแหน่งจอหงวนท่านจึงเขียนต่อท้ายกลอนในสมุดเล่มนั้นว่า "วิชาความรู้เรียนแล้วสามารถเอาไปใช้ในชาติต่อไปได้" ท่านฮุ่ยเหนิงจึงไม่ต่างอะไรกับผู้ที่เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีมาแล้วหลายชาติ ท่านจึงถามพระอาจารย์หงเหยิ่นว่า "หลวงพ่อครับ วิปัสสนายานเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ เมื่อจิตมิได้ลอยเลื่อนไปจากธรรมญาณเดิมก็ควรเรียกเขาว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลกเช่นกัน หลวงพ่อจะให้กระผมทำอะไรครับ" ในครั้งนั้นพระอาจารย์หงเหยิ่นไล่ให้ท่านฮุ่ยเหนิงไปตำข้าวผ่าฟืนในครัวถึงง 8 เดือน โดยท่านยอมรับในความรู้ทางทางพุทธธรรมของท่านฮุ่ยเหนิง

2157
เว่ยหลาง (ฮุยเหนิง)
เกริ่นเรื่อง: ประวัติบุคคลสำคัญในวงการพุทธศาสนามหายาน

 
ท่านเว่ยหลาง
สรีระธาตุขันธ์ ไม่เน่าเปื่อยมาหลายร้อยปี
ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดหนันฮว๋า ประเทศจีน

        ท่านเวยหลาง (พระฮุ่ยเหนิงโจวซือ/ลักโจ๊ว/หลักจ้อ) เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซน สมณศักดิ์ของท่านที่ได้รับพระราชทาน คือ "ไท่ก่ำเซียงซือ"
         ถือกำเนิดเมื่อ ๘ ค่ำ เดือน ๒ พ.ศ. ๑๑๘๑ ตรงกับรัชสมัย "ถังไท่จง" ท่านเกิด ณ ตำบลชินโจว มณฑลกว่างตง ในครอบครัวที่่ยากจน บิดาชื่อ เซ่งเทา แซ่โ่ล่ว มาดาชือหลี่ลี เนื่องจากความยากจน นอกจากนั้นบิดายังได้มาเสียชีวิตลงไปอีก ท่านจึงไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างคนมีฐานะมั่งมีทั่วไปได้รับ ทั้งยังต้องทำงานในเรือกสวนไร่นา ช่างเวลาว่างก็จะตัดไม้ ผ่าฟืน หาบไปขายในตลาด ท่านจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านมีคือความเฉลียวฉลาด มีไวพริบปฏิภาณ และยังมีความจำเป็นเลิศ


ที่มา
http://group.dek-d.com/young-buddha/blog/?blog_id=10110151
อ่านต่อ
http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=196&txtmMenu_ID=7

2158


พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็นที่โด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เห็นจะไม่มีพระสูตรใดเกิน "สูตรของท่านเว่ยหล่าง" เพราะได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาและได้รับความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของปัญญาชนเนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้ สูตรของท่านเว่ยหล่างได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่หมวด 1 ถึง 7 ส่วนหมวด 8 ถึง 9 คุณประวิทย์ รัตนเรืองศรี เป็นผู้แปล ทำไมจึงต้องศึกษาสูตรของท่านเว่ยหล่าง คำตอบก็คือ พระสูตรนี้ใครได้ศึกษาแล้วก็เป็นการเปิดสติปัญญาของตนให้สว่างไสวและมมีทัศนคติต่อพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มชัดว่า แท้ที่จริงแล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา โดยแท้จริง สำเนียงที่เรียกพระสังฆปรินายกองค์นี้ว่า "เว่ยหล่าง" ก็ดีหรือชื่อของท่านผู้บำเพ็ญอื่นใดในพระสูตรนี้ ล้วนแต่ใช้ทับศัพท์ อ่านออกเสียง เป็นภาษาจีน "กวางตุ้ง" ส่วนภาษาจีนกลางเรียกว่า "ฮุ่ยเหนิง" ท่านฮุ่ยเหนิงมีแซ่สกุลว่า "หรู" เป็นชาวมณฑลกว่างตง บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆ อยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า "พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ" เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า "ท่านกำลังสวดอะไร" "เรากำลังสวดวัชรสูตร" "ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน" "เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ" ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหย่น ท่านก็ถามว่า "เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร" "กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย" "เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน" "ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย" คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงได้ให้คำตอบในตัวเสร็จสรรพ โดยชี้ให้เห็นสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ในโลกนี้ล้วนมีความเป็นพุทธะอยู่ในตัวเองทุกชาติทุกภาษา เพียงแต่ว่าเขารู้หรือยอมรับความเป็นพุทธะในตัวเองหรือไม่เท่านั้น คนจีน ไทย ฝรั่ง แขก นิโกร เสียงแต่ความดีใจและตกใจล้วนเปล่งออกมาเหมือนกัน นั่นแหละ เสียงของพุทธะในตัวเอง ซึ่งเป็นสากลไม่แตกต่างกันเลย
ที่มา
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/wenglang/

2159
ตายแล้วฟื้น

[youtube=425,350]oWkrk3XvMEg[/youtube]

2160
คลิประลึกชาติ ตีสิบ

ตอนที่1
[youtube=425,350]bECJvaV4Bi8[/youtube]
ตอนที่2
[youtube=425,350]ABKOKgqbR3s[/youtube]

2161
จากรายการตีสิบ

ตอนที่1
[youtube=425,350]IsXx93UZ_WU[/youtube]
ตอนที่2
[youtube=425,350]sJ300X6JWYk[/youtube]
ตอนที่3
[youtube=425,350]LW6j_i63nmw[/youtube]
ตอนที่4
[youtube=425,350]GAwqscULe64[/youtube]


2163
คลิปกรรมลิขิต ตอนคนโกง

คนโกง1
http://video.postjung.com/11696.html
คนโกง2
http://video.postjung.com/11695.html
คนโกง3
http://video.postjung.com/11694.html

2164
กรรมของคนโกงชาติ ! ตายแล้วไปไหน ต้องชดใช้ด้วยอะไร?         

ตั้งแต่ เกิดมาสี่สิบกว่าปี ผมไม่เคยพานพบเทศกาลสงกรานต์ใดที่มีความลุ้นระทึกเท่านี้มาก่อน คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีเหตุการณ์จลาจลปิดถนนเผารถและก่อความวุ่นวายต่างๆ โดยสาเหตุจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และจ้องเอาชนะกันจนลืมไปว่า พวกเราทุกคน คือ คนไทยด้วยกัน เกิดอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกัน ใต้ร่มธงไตรรงค์ผืนเดียวกัน และอยู่ในพระบรมโพธิสมภารแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวกันทั้ง สิ้น

สิ่งน่าตกใจและหดหู่อย่างยิ่ง คือ หลายคนประกาศตัวว่าเป็นคนไทย แต่สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับสีหน้า ท่าทาง อากัปกิริยาและภาษาที่ใช้ สรุปว่าไม่มีความเป็นไทยเลยแม้แต่น้อย เพราะคนไทยเป็นผู้มีความสุภาพ กิริยาอ่อนน้อม รู้จักเกรงใจ รู้กาละเทศะ จะไม่ทำสิ่งใดที่เป็นการล่วงละเมิดต่อผู้อื่นทั้งทางกายและวาจาโดยเด็ดขาด

หาก ผู้ที่คิดไม่ดีต่อประเทศชาติทั้งหลายอยากรู้ว่าตัวเองเป็นคนไทยอยู่หรือไม่ ให้หัดร้องเพลงชาติไทยวันละหลายๆ ครั้ง เพื่อปลุกจิตสำนึกในหน้าที่ของความเป็นคนไทยที่ขาดหายไปให้กลับมาใหม่   ‘ประเทศ ไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ผไทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี..ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด....’
 
หากยังร้องเพลงชาติไทยกันเป็น ก็คงไม่มีพฤติกรรมดังที่เป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก หากยังร้องเพลงชาติไทยเป็น จะได้รู้จักทำหน้าที่ของการเป็นคนไทย ก่อนที่จะเรียกร้องสิทธิอะไรต่อมิอะไร

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก่อนเหตุสงกรานต์ระทึก ผมได้มีโอกาสไปร่วมบุญใหญ่ในงานไหว้ครูประจำปีของอาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ ณ หมู่บ้านสุขิโต จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการอัญเชิญหลวงพ่อทันใจองค์ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือไปประดิษฐาน ณ ข่วงพระเจ้าล้านนา หรือพุทธมณฑลล้านนา บริเวณทางเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ โดยอาจารย์วารินทร์ตั้งใจสร้างพุทธมณฑลล้านนาให้แล้วเสร็จและถวายเป็นสมบัติ ของแผ่นดินภายในปี 2552 นี้ เพื่อเป็นบุญใหญ่และคลี่คลายวิบากกรรมของประเทศ ทั้งนี้จะไม่ใช้งบประมาณของแผ่นดิน แต่จะเป็นปัจจัยอันบริสุทธิ์จากประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ซึ่งน่าชื่นชมศรัทธาอย่างยิ่ง

ในหนังสือ ไขรหัสบุญ เปลี่ยนรหัสกรรม อาจารย์วารินทร์ได้เปิดนิมิตผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชาติตระกูล แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดได้ ต้องเสียเงินเสียทอง เสียบ้านช่องที่เคยอยู่ ทั้งที่ไม่ได้ไปทำผิดอะไรกับใครเลย!

ปรากฏว่าในอดีตผู้หญิงคนนี้เคยไปละเมิด ทรัพย์สินของแผ่นดิน โดยนำทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาในครั้งตัวเองมีอำนาจ ใช้วิธีฉ้อฉล เอาเบี้ยทรัพย์สินส่วนรวมไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง

หลังจากสิ้นชีวิตไปในภพชาตินั้น ผู้หญิงคนนี้ก็ได้ไปใช้กรรมในนรกขุม 8 ที่มีความร้อนแรงมากที่สุดรวมทั้งลูกน้อง เนื่องจากทรัพย์ของแผ่นดินเกิดจากหยาดเหงื่อแรงกายของคนในชาติ ที่จ่ายเป็นภาษีอากรต่างๆ เพื่อทำนุบำรุงบ้านเมือง แต่กลับนำไปใช้จ่ายส่วนตัวและให้ลูกน้องของตน

แต่เดชะบุญ! ผู้หญิงคนนี้เคยทำบุญกุศลด้วยปัจจัยบริสุทธิ์ของตนเอง ทำให้หลุดรอดจากการต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานหลังจากไปทนทุกข์ทรมานในนรกขุม ต่างๆ  แต่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน คงเหลือแต่เศษกรรมที่มีอยู่ ทำให้ต้องเป็นหนี้เป็นสินทั้งของบ้านเมืองและของคนอื่น เอาตัวแทบไม่รอด ทรัพย์สิน หรือมรดกที่ได้มาจากบรรพบุรุษ ก็ต้องขายไป แม้กระทั่งต้องไปอาศัยบ้านเรือนผู้อื่นเป็นที่พักพิง ทั้งๆ ที่ก็เป็นคนมีความรู้มากมาย หน้าที่การงานก็มีหน้ามีตา และครองตัวเป็นโสดอยู่คนเดียว โดยไม่มีภาระใดๆ

นี่คือกรรมและวิบากกรรมของผู้โกงชาติบ้านเมือง ขอให้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่า กรรมมีจริงและเที่ยงธรรมเสมอ บุคคลที่มาลักษณะนี้ในชาตินี้ยังมีอีกหลายคนที่ต้องมารับกรรมแบบนี้ คือชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องถูกผู้อื่นประณาม ยังไม่พอต้องถูกยึดบ้านช่องทรัพย์สิน สูญสียทุกอย่าง แม้กระทั่งแผ่นดินที่จะอยู่ นี่คือเพียงเศษกรรมเท่านั้น
น่ากลัว มากสำหรับวิบากกรรมของคนโกงชาติ เมื่อตายไปจะลงนรกขุมที่ 8 ซึ่งเป็นขุมที่ร้อนแรงที่สุด จะต้องอยู่ในกองเพลิงกองไฟไม่รู้กี่กัปกี่กัลป พอพ้นมาก็ต้องเข้าไปสู่นรกขุมเย็นที่สุดเนื้อหนังจะหลุดเป็นชิ้นๆ จากนั้นก็ขึ้นมาเป็นขุมๆ เป็นเดรัจฉานให้คนฆ่า คนทุบ คนรังแก แล้วจึงได้มาเป็นมนุษย์ก็อัปลักษณ์ ถูกคนเบียดเบียนนินทา เป็นคนไม่สมประกอบ เกิดเพราะกรรมในข้อนี้ทั้งสิ้น

คนเราเกิดมาชาติหนึ่งอยู่ไม่ถึงร้อยปี กินก็แค่อิ่มท้อง ทำไมต้องคดโกง แบ่งปันให้เครือญาติ พวกพ้อง เป็นการกระจายกรรม ไม่จบสิ้น จงระวังอย่าไปร่วมกรรมหมู่กับผู้ใด แต่ให้รู้จักไขรหัสบุญ เปลี่ยนรหัสกรรม ด้วยบันได 3 ขั้นแห่งทาน ศีล ภาวนา เปลี่ยนชะตากรรมของเรากันใหม่ตั้งแต่วันนี้เถิด.
 
 
ที่มา: หนังสือ ไขรหัสบุญ เปลี่ยนรหัสกรรม
Next >
http://www.arjarnwarin.net/main/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/56-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

2165
เรื่องจริงที่เราพบเห็นได้

ชะตากรรมของคนโกง
http://smalikaew.multiply.com/journal/item/8/8


2166
ผลกรรมของการคอร์รัปชั่น

ถาม : ขออารัมภบทนิดหนึ่งนะเจ้าคะ คือ มีลูกศิษย์ที่เคยมาเรียนพิเศษน่ะเจ้าค่ะ เวลามาเรียนก็มาปฏิบัติมานั่งสมาธิกันอยู่ที่บ้าน พ่อเป็นอาจารย์อยู่เจ้าค่ะ หลังจากนั้นเขาก็ไปจบมหา‘ลัย อายุเขาประมาณ ๒๔-๒๕ หลังจากจบมาเขาไปทำกรรมหนักมากเจ้าคะ ?

ตอบ: กรรมอะไรหรือ...แบกช้าง ?

ถาม: ไม่ใช่เจ้าค่ะ เขาโกงกินในลักษณะประมูลงานของราชการแล้วก็โกงกินกัน เขาสามารถมีเงิน จากไม่มีเงินเลยนะเจ้าคะ จากอายุ ๒๔ ปี สมารถมีเงินเป็น ๑๐๐ ล้านบาท ภายในอายุ ๒๘ ปี ?

ตอบ: แสดงว่าเป็นคนเก่ง

ถาม: เขาเก่งมากเลยเจ้าค่ะ แต่ว่าเก่งในทางขี้โกง ทีนี้เมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่แล้ว เขาขับรถเบนส์สีแดงวิ่งสวนประสานงารถสิบล้อเจ้าค่ะ ตายคาที่ทั้งตัวเขา และภรรยา และคนในรถอีกหนึ่งคน ตอนนั้นเราเองก็ไม่ทราบว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ว่าดวงวิญญาณของเขาเจ้าค่ะที่เสียชีวิต ตายโหงอยู่ ณ. จุดที่เกิดเหตุ เขามาหาในสภาพศพที่เละ เขาตายในสภาพศพยังไงเขาก็มาหาในสภาพเป็นอย่างนั้นเจ้าค่ะ ทีนี้เขาจะมาให้เราช่วย พอเราจะเริ่มสวดให้เขานะเจ้าคะ พวกเจ้ากรรมนายเวรเขามาเป็นหมื่นเลย ล้อมตัวเขาจนตัวเองต้องถอยมาตั้งหลัก พอเราหันหน้าเข้าไปมอง พวกเจ้ากรรมนายเวรก็หันหน้าเขียวปั้ดไปหมดเลย ก็เลยต้องถอยมาตั้งหลัก ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ?

ตอบ: ไม่ต้องทำ เพราะว่าบางคนนี่ เอาเป็นแค่ตัวอย่างนะ เปรตญาติ พระเจ้าพิมพิสาร นั่นผ่านพระพุทธเจ้ามาตั้งกี่องค์ ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้านามว่า ปทุมุตตระ ๙๑ กัปเต็ม ๆ กว่าจะมาถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีนามว่า โคตมะ แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือผู้ที่ทำบุญร่วมกันมา คือพระเจ้าพิมพิสาร ที่เคยทำบุญร่วมกันมาในชาตินั้น มาถวาย เวฬุวันมหาวิหาร และอุทิศส่วนกุศลให้ ถึงได้รับ พระพุทธเจ้าตั้ง ๕-๖ องค์ ยังช่วยไม่ได้เลย

ถาม: ตอนนี้ก็เห็นสภาพวิญญาณเขาถูกลากลงไปที่ข้างล่างแล้วนะเจ้าคะ ก็คงต้องปล่อยไปตามสภาวะกรรมของเขาใช่ไหมเจ้าคะ ?

ตอบ: ต้องอย่างนั้นจ้ะ

ถาม: ก็ดูจากชะตาเขายังไม่ถึงฆาต ก็เลยจะถามว่านะเจ้าคะ ทำกรรมชนิดใดถึงได้ก่อกรรมทำเข็ญถึงขึ้นตัดรอนชีวิตอายุขัยเขาขนาดนั้น ?

ตอบ: ตัวส่วนนี้จริง ๆ แล้ว เรียกว่า อุปฆาตกรรม ส่วน ใหญ่เกิดจากกรรมในอดีตที่เคยฆ่าคนฆ่าสัตว์มาก่อน คราวนี้แทนที่จะทำความดีเพื่อหนีกรรมส่วนนี้ เขาก็ไปทำแต่ในสิ่งที่ไม่ดี ในเมื่อไปทำแต่ในสิ่งที่ไม่ดีพอบุญขาดช่วงลงกรรมส่วนนี้ก็เข้าแทรกพอดี ก็เป็นอันว่าแบนคาเบนซ์...!

ถาม: อันนี้คือกรรมของเขาโดยตรงใช่ไหมคะ ?

ตอบ: กรรมโดยตรงจะเป็นอย่างนี้ ส่วนอีกอย่างหนึ่งโทษปัจจุบันคือโกงกินเงินหลวง ก็คล้าย ๆ กับโกงกินเงินสงฆ์ ถ้าหากว่าโกงเงินสงฆ์ลงอเวจีมหานรก พวกโกงกินเงินหลวงก็ไม่แคล้วเหมือนกันเพราะ เงินสงฆ์กับเงินหลวงมันเป็นของกลางที่จะเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มากเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอันหนึ่งเป็นประโยชน์แก่สงฆ์หมู่มาก อีกอันหนึ่งเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป ลักษณะก็เลยคล้าย ๆ กัน โทษก็หนักพอกันใครรู้ตัวรีบคายคืนมาเสียเร็ว ๆ

ตอบโดย : หลวงพี่เล็ก สุธมฺมปญฺโญhttp://www.siamplan.com

โดยคุณ : zekan - อีเมล์ arm_fat@yahoo.com - 02/11/2009 05:09
http://board.dserver.org/e/easydharma/00000696.html

2167
ได้ยินที่ไหน เวลาใด นานแค่ไหน
อัดเสียงได้ไหมครับ

ปล.ถามเยอะไปหน่อย

2168
รูปหลวงพ่อเปิ่น หน้ากุฏิ

ต้นโพธิ์ต้นไทร ที่นำมาถวายพระอาจารย์


2169
โคมริบหรี่พลังแสงอาทิตย์


บริเวณทางเดินจงกรม

ศาลา กำลังก่อสร้าง


2170
เปลของคนงาน

แคร่นั่งพักระหว่างทางขึ้นลง








2172
ภาพโดยรอบ




พระอาจารย์เปิ่น

สมถะ






2173

ระหว่างทางขึ้น



กุฏิเสร็จแล้ว



2174
ทำเป็นแล้วครับ

ลานจอดรถ



ทางขี้นเขา(ยังไม่มีป้าย)




2176
เมื่อคืนพยายามup ภาพขนาด 100 kb
อัำพๆไม่ได้เลย
ขอทดสอบอัพภาพตรงนี้นะครับ
ไม่รู้ว่าจะได้ไหม



ภาพไม่มา
ครับ

2177
วันนี้ไปกราบนมัสการท่านอาจารย์มาแล้วครับ


2178
สุขที่ใจ โดย... ภัทริน ซอโสตถิกุล

ความรักและการให้อภัย

การให้อภัย คือ คำตอบสุดท้ายของความสัมพันธ์หรือชีวิตคู่ เป็นรากฐานของการรักษาความสัมพันธ์ ถ้าให้อภัยกันไม่เป็น ความสัมพันธ์หรือความรักก็ไปไม่รอด คนเราทุกคนยังมีกิเลส ซึ่งเป็นที่มาของการมีข้อเสีย ข้อบกพร่องแม้แต่คนดี ๆ บางคน บางช่วงอาจเครียดจัด จนขาดสติ ปล่อยให้ปากกราดกระสุนใส่คนรอบข้างอย่างที่ไม่เคยเป็น ถ้าไม่เอาความขุ่นมัวพวกนี้ออกจากใจ ใจเราก็จะหนักขึ้น หนักขึ้น ตามวันและเวลาที่ผ่านไป
วันหนึ่ง อาจหนักอึ้ง แบกไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว นำไปสู่ “การเลิกรา” ในที่สุด

สิ่งที่คนที่เป็นแฟนหรือแต่งงานกันใหม่ ๆ ทุกคู่ได้รับ ให้มาช่วยกันดูแลก็คือ โถแก้วใสสวยงามหนึ่งใบ

1. ช่วงที่เป็นแฟนหรือรู้จักกันใหม่ ๆ

คนทั้งคู่จะช่วยกันเติมน้ำหวานใสๆ ลงไปจนเต็มโถ ทำให้ความสัมพันธ์ ใสปิ๊ง ซาบซ่า เป็นช่วงเวลาแห่งความรักความผูกพันที่น่าประทับใจ

2. เมื่อได้ใช้ชีวิตร่วมกัน

ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มโยนก้อนอารมณ์แข็ง ๆ เหมือน “ก้อนหิน” ลงไปในโถ ก้อนหินเหล่านี้คือ ปมทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพราะต่างคนต่างทำให้อีกฝ่ายทุกข์ ไม่สบายใจ อึดอัด หนักอก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม น้ำหวานในโถจึงเริ่มน้อยลงไปเรื่อย ๆ

3. เพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ยั่งยืน

ทั้งคู่ต้องช่วยกันตักก้อนหินออกจากโถแก้วอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการไม่หวาดระแวง และ รู้จักให้อภัยกันแล้ว หมั่นเติมน้ำหวานใส ๆ เข้ามาแทนที่ด้วยการแสดงความห่วงใย ดูแลกัน ให้ของขวัญตามเทศกาลและบอกรัก หรือสร้างบรรยากาศที่ดีต่อกันเสมอ

4. ความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว วันหนึ่งก็รู้สึกหมดรักกันไปเฉย ๆ

คือ ความสัมพันธ์ที่คนสองคน ไม่ช่วยกันเอาก้อนหินออก ไม่เคยปรับความเข้าใจหรือปรับตัว ปล่อยให้ก้อนหินหนัก ๆ กองเต็มโถจนน้ำหวานเหือดแห้ง...ไม่มีเหลืออยู่ในโถอีกเลย

5. การทำร้ายกัน

เมื่อก้อนหินหนักล้นเต็มโถแก้ว...โถจะเริ่มแตกร้าว และทั้งคู่จะเริ่มหยิบก้อนหินมาปาใส่กัน ด้วยการทำร้ายกันและกัน เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มไปมีคนอื่นและโกหก ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเจ็บปวดรวดร้าว จนไม่อาจมองหน้ากันได้อีกต่อไป คนเราบางครั้งอาจทำผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจ

“จงดูแลโถแก้วของเราให้ดี ด้วยการช่วยกันเติมน้ำหวานและตักหินออกทุกวันนะคะ”

เพราะโถแก้วนี้มีค่าสำหรับเราและคนรักมากหากแตกสลายแล้ว ก็สลายเลย หาซื้อใหม่ไม่ได้

เพราะโถแก้วก็คือ ใจของเรา


เทคนิคฝึกคิด "ให้อภัย คนรัก"


เราควรฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้ที่จะให้อภัยซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ด้วยเทคนิควิธีคิดดังนี้

• เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน ชีวิตนี้สั้นนัก

แล้วเราจะแบกความโกรธ ความงอน ไว้เพื่อประโยชน์อะไร นอกจากจะเป็นการทำร้ายใจตัวเองเปล่า ๆ

• ยิ่งมีอัตตาสูง ยิ่งทุกข์

“ฉันระดับไหน...สวย เริ่ด เชิด หยิ่งขนาดนี้ มีผู้ชายมารุมจีบกันเป็นร้อย ๆ แต่ยอมลดตัวมาเป็นแฟนตี๋อย่างเธอ แล้วยังบังอาจมาลืมวันเกิดฉันได้” ยิ่งยึดมาก...ก็ยิ่งหนักมาก จึงทุกข์มาก ทำร้ายตัวเองจริง ๆ

• คนเราทุกคนมีข้อเสีย หรือข้อบกพร่อง

แม้แต่ตัวเราเองก็มีข้อเสียมากมาย ยิ่งใกล้ชิดกัน ก็จะยิ่งเห็นข้อเสียของกันและกันมากขึ้น ทำไมเราไม่ลองมองข้อดีของเขาบ้างล่ะ ว่าเขามีดีอะไร เราถึงเป็นแฟนหรือแต่งงานกับเขา ถ้านึกไม่ออก ก็ลองนึกถึงภาพเขาหรือเธอในวันแรกที่ได้เจอกันดูสิ...ว้าว!

• ความจริง เรามาอยู่กับเขาแค่ “ชั่วคราว” เท่านั้น

ถึงแม้เป็นสามีภรรยากัน เราก็ไม่ใช่เจ้าของเขา แต่เป็นแค่การมาเจอกัน เพื่อจากกันไปในวันใดวันหนึ่ง ไม่จากเป็น ก็จากตาย แล้วทำไมเราไม่ทำชีวิตของเราทั้งคู่ให้ดีที่สุดในช่วงที่ยังอยู่ด้วยกันล่ะ

• การให้อภัยแฟน หรือสามี/ภรรยาเวลาทำอะไรไม่ถูกใจ

คือการทำบุญ ด้วยการฝึกลดละกิเลส เช่น เวลาเขาพูดจาไม่ดีใส่เรา แล้วเราชนะกิเลสตัวเองได้ ด้วยการอดทน ไม่โต้ตอบกลับไป ถือเป็น การทำบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องไปวัด และไม่ต้องใช้เงินด้วย

การให้อภัย เกิดจากการที่เราเป็นคนอิ่มเต็มในตัวเองจึงสามารถมองโลกผ่านเลนส์สีสวย เห็นแง่บวกที่ซ่อนอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ตัวเรา ใจเรา...เรายังไม่สามารถควบคุมได้ เราบังคับใจตัวเอง ไม่ให้โกรธ ไม่ให้คิด ไม่ได้ เราบังคับกายตัวเอง ไม่ให้แก่ ไม่ให้เมื่อย ก็ไม่ได้ แล้วเราจะไปหวังว่าจะควบคุมคนอื่น ให้คนอื่นมาทำตามใจเราทุกอย่างได้อย่างไร จริงไหมคะ.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=121340

2179
ธรรมะอินเทรนด์ โดย.. พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

วาเลนไทน์...ก้าวไปให้ถึงรักแท้ อย่าหยุดแค่เฉลิมฉลอง

“รักแท้ที่เป็นสากล คือ ความสามารถที่จะรักคนได้หมดทั้งโลก”
   
วันวาเลนไทน์...เป็นวันแห่งความรักที่มักมาพร้อมกับข่าวในทางเสียหายของวัยรุ่นไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
   
- รักเขา ก็เลยต้องยอมตามที่เขาต้องการ (=รักต้องยอม)
   
- รักเขา ก็เลยต้องนอนกับเขาในวันวาเลนไทน์ (=วาเลนไทน์กลายเป็นวันเสียตัว)
   
- วาเลนไทน์ คือ วันสะสมแต้ม
   
- วาเลนไทน์ คือ วันที่หนุ่มสาวมีความสัมพันธ์ แต่ไม่ยอมผูกพัน (= one night stand)
   
นี่คือ ภาพรวมเชิงลบที่เกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ ซึ่งได้ยินได้ฟังกันอยู่ทุกปี จนดูเหมือนจะกลายเป็นประเพณีไปเสียแล้วว่า ในวันดังกล่าวเรามักจะได้ยินแต่ข่าวในทางเสียหาย ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น วันวาเลนไทน์มีด้านที่ดีงามมากมาย เช่น เมื่อหนุ่มสาวรักกัน
       
- ก็ควรทะนุถนอมดูแลกันและกันเพื่อสร้างอนาคตที่ดีด้วยกัน
       
- เป็นกำลังใจให้กันและกันเพื่อทุ่มเทศึกษาหาความรู้จนเป็นบัณฑิตด้วยกัน
       
- เป็นกัลยาณมิตรคอยชักชวนกันและกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เช่น ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข ไม่ขลุกคนพาล ไม่เกียจคร้านการศึกษา ไม่เสียเวลากับเรื่องเหลวไหล ไม่เข้าใกล้ยาเสพติด เป็นต้น
   
นอกจากนั้นแล้ว ก็ควร “รักอย่างมีสติ” กล่าวคือ “รักด้วยสมอง  ไม่ปล่อยให้รักขึ้นสมอง” จนหน้ามืด ตามัว ลืมเนื้อลืมตัว ลืมพ่อลืมแม่ ลืมความผิดถูกชั่วดี แต่ควรรักอย่างคนที่มีสติปัญญา ไม่ปล่อยให้ความรักพาให้เสียคน เสียการเรียน เสียการงาน  ทุกครั้งที่มีรัก ก็ควรรักอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการชักชวนกันพัฒนาตัวเองให้ดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป
   
ความรักอย่างสร้างสรรค์ หมายถึงการพัฒนาความรักให้สูงขึ้นไปกว่าความรักเชิงชู้สาวซึ่งวางรากฐานอยู่ บนสัญชาตญาณของการดำรงเผ่าพันธุ์และการเห็นแก่ตัว ไปสู่ความรักที่เหนือกว่าการรักตัวเองขึ้นไปอันได้แก่ความรักมนุษยชาติ รักสิ่งแวดล้อม รักแผ่นดินถิ่นเกิด รักสรรพชีพสรรพสัตว์  จนสามารถมองมนุษยชาติและสรรพสิ่งทั้งมวลในฐานะ “โลกทั้งผองพี่น้องกัน” ซึ่งหากมีทัศนคติเช่นนี้  ก็จะทำให้โลกนี้มีแต่สันติสุข เพราะมองไปทางไหนก็ไม่มีใครที่คู่ควรแก่ความโกรธ เกลียดชิงชัง หากมีแต่ญาติพี่น้องของตนทั้งหมดทั้งสิ้น ความรักที่ลอยพ้นอัตตาของตัวเองเช่นนี้แหละ คือ รักแท้ที่เป็นสากล ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรพัฒนาตนไปให้ถึงโดยไม่ต้องรอวันวาเลนไทน์แต่อย่างใด

คติธรรมสำหรับคู่รัก
       
- จงรักด้วยสมอง แต่อย่ารักจนขึ้นสมอง
       
- ที่ใดมีรัก (อย่างขาดสติ)  ที่นั่นมีทุกข์
       
- ที่ใดมีรัก (อย่างมีสติ) ที่นั่นมีสุข
       
- ความรัก ควรถูกนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน ไม่ใช่เป็นตัวทำลายอนาคต
       
- รักแท้ที่ยั่งยืน ควรวางรากฐานอยู่บนทฤษฎี ๔ ส. กล่าวคือ
     
๑. สมศรัทธา มีศรัทธาเสมอกัน (เชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งเดียวกัน)
       
๒. สมศีลา มีศีลเสมอกัน (ไม่นอกใจซึ่งกันและกัน)
       
๓. สมจาคา มีความเสียสละเสมอกัน (ลืมความเป็นเธอ ลืมความเป็นฉัน หลอมกันเป็นเรา)
     
๔. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน (มีระดับสติปัญญาเสมอหรือใกล้เคียงกัน)
       
- อย่ารักจนหน้ามืดตามัว จนมองไม่เห็นหัวกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมของสังคม
       
- อย่ารักจนหน้ามืดตามัว กระทั่งมองไม่เห็นหัวของมารดรบิดาบังเกิดเกล้า
     
- ทุกครั้งที่มีความรัก ควรเผื่อใจไว้สำหรับการอกหักที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ
       
- ที่ใดมีรัก ที่นั่น (อาจมีทุกข์) ที่ใดมีกิ๊ก ที่นั่นมีกรรม, ที่ใดมีชู้ ที่นั่นมีช้ำ
       
- ทุกคนที่มีความรัก ควรภาวนาคาถากันน้ำตาไหลที่ว่า “ไม่แน่ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์” เอาไว้เสมอ
       
- เลือกคนรักอย่ามองแค่หน้าตา แต่จงพิจารณาไปถึงนิสัย สติปัญญา และคุณธรรม
       
- ผู้ชายจงมองให้เห็นความเป็นแม่ที่มีอยู่ในผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจงมองให้เห็นความเป็นพ่อที่มีอยู่ในผู้ชาย
       
- ความรักไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต อย่าอุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรักจนเสียผู้เสียคน
       
- จงเรียนรู้ที่จะพัฒนาความรักจากระดับสามัญไปสู่รักที่สร้างสรรค์เพื่อ เกื้อกูลโลก เพราะมนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะรักได้มากกว่าการรักตัวเอง รักแท้ที่ควรสร้างสรรค์มี ๔ ระดับ คือ
       
๑. รักตัวกลัวตาย (รักพื้นฐานระดับสัญชาตญาณ)
       
๒. รักใคร่ปรารถนา (รักอิงกามารมณ์)
       
๓. รักเมตตาอารี (รักอิงสายเลือดและสายสัมพันธ์)
       
๔. รักมีแต่ให้ (รักที่ลอยพ้นอัตตา ต้องการพัฒนาทั้งโลกให้มีความสุข).

ว.วชิรเมธี
สถาบันวิมุตตยาลัย
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=121340

2180
'อาหารใจคือสงบ' พระมานะ อตุโล

วันพุธ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 0:00 น


'อาหารใจคือสงบ' พระมานะ อตุโล

"หลวงปู่ศรี มหาวีโร”  พระสายกรรมฐานในวัย 94 ปีแห่งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด  ศิษย์หลวงปู่มั่นอีกท่าน ถือเป็นศิษย์รุ่นน้องหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน  หลวงตาบัวมุ่งให้คนศรัทธาในพุทธศาสนา เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา และช่วยเหลือแผ่นดินด้วยการรับบริจาคทองคำช่วยชาติอันเป็นผลงานของพระสาย ปฏิปทาน่าสรรเสริญ  ไม่ต่างจากหลวงปู่ศรี แม้ในวัยนี้ท่านจะอยู่ในวัยชรามากแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นท่านมุ่งนำแก่นของศาสนาสู่ผู้คนเฉกเช่นหลวงตาบัว หากแต่การมุ่งแทนคุณแผ่นดินของท่านคือการสร้างป่า  และอนุรักษ์ป่าพร้อม ๆ กับถ่ายทอดแนวคิดสู่พระลูกศิษย์ของท่านเอง
  
พระอาจารย์ มานะ อตุโล ลูกศิษย์หลวงปู่ศรี ผู้ยึดแนวทางของหลวงปู่ศรี ท่านเดินทางนำธรรมะไปให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่เฉพาะคนไทยในผืนแผ่นดิน ไทย แม้แต่คนไทยต่างแผ่นดิน  ท่านเผยแผ่ธรรมะอยู่ในฮ่องกง 8 ปี พร้อมกับสร้างวัดตามคำสั่งของหลวงปู่ศรี
  
“ตอนนั้นมีคนบอกว่าจะถวายวัดให้หลวงปู่ศรีที่ฮ่องกง  จึงนิมนต์ท่านไปดู ท่านก็พิจารณาของท่าน  ท่านก็มาหาอาตมาบอกว่าจะพาไปดูวัด  พอวันกลับก็สั่งให้ทุกคนเก็บของ อาตมาก็เตรียมเอากระโถนของหลวงปู่ไปล้าง ท่านก็บอกหยุด ให้เราอยู่ที่นี่ เราก็แปลกใจเพราะภาษาอะไรก็ไม่ได้ กฎหมายก็ไม่รู้ ท่านบอกให้อยู่สร้างวัดเพราะญาติโยมคนไทยเยอะมาก วัดที่อยู่ในฮ่องกงเป็นบ้านเช่าอยู่บนเขา ท่านก็ไม่พูดอะไรมาก บอกให้อยู่เลย เงินที่ญาติโยมทอดผ้าป่า มี 40,000 ท่านให้อาตมา บอกว่าให้สร้างวัด”
  
พระอาจารย์มานะเล่าว่า เงิน 40,000 ที่มีอยู่น้อยมากหากคิดว่าจะซื้อที่สร้างวัดที่ฮ่องกง โดยพยายามหาวัดอยู่  4 ปี ดำรงชีวิตอยู่อย่างประหยัดที่สุดเงินที่หลวงปู่ศรีให้ไว้ไม่เคยนำออกมาใช้ แม้กระทั่งนำไปซื้ออาหาร หากไม่มีคนมาใส่บาตรให้ ก็ไม่ฉัน คิดว่าตอนสมัยธุดงค์ไม่ฉัน 15 วันก็ไม่ตาย เรื่องหาวัด ได้รับความช่วยเหลือจากท่าน รัฐกิจ มานะทัต เอกอัครราชทูตไทย จนมาได้เจอวัดร้าง เป็นวัดเต๋าปล่อยทิ้งไว้ 20 ปี  ได้กลุ่มแม่บ้านไทยที่ไปทำงาน    ที่นั่นมาช่วยบูรณะทำความสะอาด จึงเป็นวัดขึ้นมา ชื่อว่า “วัดพุทธธรรมาราม” หลวงปู่ศรีท่านเป็นคนตั้งให้ ตอนนี้มีอายุ 10 ปีแล้วในฮ่องกง
  
“ท่านกงสุลก็พยายามประสานรัฐบาลฮ่องกงให้หาที่สร้างวัดให้ เพื่อจะเป็นศูนย์รวมใจ เพราะเราเห็นชีวิตคนไทยที่โน่นแล้วสลดใจ โยมคนไทยส่วนมากไปทำงานเป็นแม่บ้าน แต่พอวันหยุด เขาจะไปรวมตัวกันที่สะพาน บนสะพานมีคนไทยรวมกันอยู่เป็นหมื่น ทั้งเล่นไฮโล เล่นการพนัน  เพราะไม่มีที่ไป วันอาทิตย์เป็นวันที่เจ้านายอยู่บ้าน คนไทยที่ไปทำงานก็ต้องออกจากบ้านด้วย รัฐก็หาที่ให้อยู่บนตึก แต่เราบอกว่าไม่ได้เพราะคนมาทำบุญเยอะตึกรับไม่ไหว หามา 4 ปี บอกบุญไปเรื่อย ๆ จนมาเจอวัดร้าง” พระอาจารย์มานะย้อนถึงประสบการณ์การสร้างวัด
  
เมื่อวัดไทยในฮ่องกง สำเร็จ พระอาจารย์มานะได้เดินทางไปมาระหว่างฮ่องกงกับ จ.เชียงราย มาสร้างวัดป่า ใน อ.แม่จัน ราว 300 ไร่ ใน จ.ขอนแก่น ก็เช่นกัน  ได้สร้างวัดป่ามหาลัย หรือวัดป่าโนนม่วง ซึ่งติดกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่เดิมเป็นไร่มันสำปะหลัง   ต้องเข้าเป็นแนวร่วมเชิญชวนชาวบ้านมาช่วยปลูก ใช้เวลา 4 ปี พื้นที่นั้นเริ่มเขียว เต็มไปด้วยไม้มะค่า ไม้ประดู่  ซึ่งแต่ละที่เป็นคำสั่งของหลวงปู่ศรี เมื่อเห็นว่าพื้นที่อยู่ตัวแล้ว จะเรียกพระที่เป็นนักบุกเบิกพื้นที่กลับ แล้วให้พระท่านอื่นไปรักษาการแทน  ปัจจุบันพระลูกศิษย์สายหลวงปู่ศรีมีนับ 1,000 รูป
  
“วัดสายหลวงปู่ศรี มีสาขาประมาณ 150 วัด วิธีการสร้างป่าเอาชาวบ้านมาปลูกป่ามารับผิดชอบร่วมกัน  เมื่อรักษาแล้วลูกหลานเห็นเขาจะภูมิใจว่านี่คือผลงานที่รุ่นพ่อแม่สร้างไว้  ญาติโยมเขามากันเองเราไม่มีค่าจ้างให้ มาด้วยศรัทธาทำด้วยใจ วัดสร้างป่าได้ พระกับผีเท่านั้นที่จะรักษาป่า ที่ไหนผีดุคนไม่กล้าตัดต้นไม้ พระก็ช่วยปลูกฝังให้คนเข้าช่วยกันปลูกต้นไม้ เมื่อปลูกแล้วเขาก็จะรักษา เงินที่ญาติโยมถวายมา เราก็นำไปปลูกต้นไม้หมด” พระอาจารย์มานะบอกถึงวิธีการสร้างป่า
    
ปัจจุบัน พระอาจารย์มานะได้มาบุกเบิกพื้นที่สวนมะขามร้างกว่า 312  ไร่ในบ้านสวนปอ ต.แก่งศรีภูมิ อ.ภูหลวง จ.เลย  ให้เป็นวัดป่าอีกแห่งมาตั้งแต่เดือน ก.พ.ในปี 2553 หลังจากผู้มีจิตศรัทธาชาวฮ่องกงบริจาคเงินซื้อที่ดินถวาย  แม้ยังไม่ประกาศเป็นวัดอย่างเป็นทางการ แต่ชาวบ้านก็ขึ้นชื่อป้ายให้ว่า “วัดป่าศรีภูหอ” ขณะนี้ก่อสร้างอาคารที่พักสงฆ์ และศาลาปฏิบัติธรรมต่าง ๆ เสร็จสิ้นหมดแล้ว รวมทั้งการปลูกต้นไม้บนพื้นที่กว่า 312 ไร่เดินหน้าไป 100 กว่าไร่ โดยมีญาติโยมจากที่อื่น ๆ มาร่วมปลูก นำต้นไม้มาถวาย ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปี พื้นที่สวนมะขามร้างจะแน่นขนัดไปด้วยต้นไม้
  
พระอาจารย์มานะบอกว่า พระสายกรรมฐานจะต้องใช้พื้นที่ป่า หลวงปู่ศรีท่านก็บอกว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ประสูติอยู่ในป่า บวชอยู่ในป่า ปรินิพพานอยู่ในป่า เพราะอะไร เพราะป่าเป็นสถานที่สงบ มีบัญญัติไว้เป็นข้อ 1. ภิกษุที่อุปสมบทแล้วอยู่ในป่าต้องอาศัยบิณฑบาต 2. ถือผ้าจีวร ผ้าบังสุกุลที่เขาห่อคนตาย  เอามาตัดย้อมต้องตัดเอง เย็บเอง 3. ภิกษุทั้งหลายอาศัยอยู่ในป่าไม้เป็นวัด อาศัยเรือนร้าง ไม่ต้องสวยงาม เน้นให้ความสงบ ห่างจากหมู่บ้าน  พระพูดอะไร ๆ ไม่ให้ชาวบ้านได้ยิน ชาวบ้านพูดอะไรไม่ให้พระได้ยิน  คือทางที่ถูก ยิ่งห่างจากหมู่บ้านยิ่งดี  วัดนี้อยู่ห่างจากหมู่บ้าน 5 กิโล
  
ตลอดการจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแห่งนี้ สิ่งที่พระอาจารย์มานะพยายามสอนให้ชาวบ้านเห็นธรรมะแล้วนำไปปรับใช้ในวิถี ชีวิตด้วย  นั่นเพราะบ่อยครั้งที่ปรากฏภาพงานบุญแต่เน้นหนักเรื่องมหรสพ  เน้นเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ มากกว่าที่จะทำจิตใจให้สงบ
  
พระอาจารย์มานะบอกว่า  คำสอนของพระพุทธเจ้าถ้าจะทำบุญต้องเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการกินเหล้า แค่ละศีล 5 ได้ก็เป็นบุญแล้ว เพราะเรื่องพิธีรีตองที่สืบต่อกันมาไม่ใช่บุญและไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่น่าเสียดายพระสงฆ์ ไม่ว่าจะอยู่เมืองนอกหรือประเทศไทย ติดอยู่ที่ประเพณีมากเกินไป นำหน้าทุกที่ เป็นเรื่องแก้ยาก เพราะทำกันมาแต่บรรพบุรุษแนวทางการทำบุญจริง ๆ คือการทำสมาธิ จะได้บุญทันตาเห็น ต่อให้ทานสัก 100 ครั้ง 1,000 ครั้งก็ไม่เท่ากับรักษาศีล 5 ได้ รักษาศีล 5 สัก 100 ครั้ง 1,000 ครั้ง ก็ไม่เท่าจิตสงบ สงบคือการวางจากความคิดปรุงแต่งทั้งหมด เท่านี้ก็ได้บุญมหาศาลแล้ว บุญมันจะเกิดขึ้นในใจของเราคือความปีติ และความสุขที่มันจะเกิดขึ้นเมื่อเราสงบ นี่แหละเรียกว่าอาหารใจ เมื่อใจมีอาหารก็มีพลัง มีความคิด มีปัญญาดี ช่วงนี้จะเกิดสติมา สติเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันควบคุมดูแลหัวใจของเรา เหล่านี้คือ “อาหารใจ” ของทุกคนทำได้ ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย
  
“ธรรมดาใจของเราต้องการอาหารชนิดหนึ่งแต่ส่วนใหญ่คนมองแค่อาหารของร่างกาย ก็วิ่งเต้นเพื่ออาหารร่างกายอย่างเดียว แต่ไม่นึกถึงอาหารใจ อาหารใจคือความสงบ ถ้าใจสงบเท่ากับมีอาหารที่ดีของใจ ถ้าเราทำใจให้สงบได้สักนิดก็มีค่ามหาศาล ใจสงบแค่ดูลมหายใจเข้าออก หยุดความคิด ไม่ต้องคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปคาดหวังอะไรทั้งนั้น มีหน้าที่ดูลมอย่างเดียว คือจิตมันจะอยู่ตรงนั้นที่ดี” พระอาจารย์มานะบอกถึงวิธีให้อาหารใจ อันเป็นวิธีเดียวในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะการดูลมหายใจเป็นหลัก.

พรประไพ เสือเขียว
article@dailynews.co.th

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=121340

2181
คาถาแผ่เมตตา

(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
 
คาถาแผ่เมตตาตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
อะหัง นิททุกโข โหมิ
อะหัง อะเวโร โหมิ
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
 
คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

บทเมตตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทกรุณา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด
บทมุทิตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
บทอุเบกขา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
 
คาถาแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
 
บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

2182
กิจของท่านช่างหนักหนามากมาย มากกว่าที่ทำผมทำงานเลี้ยงชีพหลายเท่าเลยครับ

ขอนมัสการพระคุณเจ้า

2183
ขอบคุณครับ........แค่ย่อหน้าแรก ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้วครับ :015:

2184
บางครั้งความฝันก็เป็นการบอกเรื่องราวอะไรบางอย่างกับเรา ทั้งดีและไม่ดี
ใช้ชีวิตทุกวันอย่างไม่ประมาท และหมั่นทำบุญ บุญจะรักษาครับ  ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่นะครับ  :001:
ขอบคุณครับ
ปล...ช่วงนี้เครียดๆด้วยครับ

2185
เหตุแห่งความสุข - เหตุแห่งความทุกข์ - เหตุแห่งการพ้นทุกข์
:
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

ธรรมะในพระพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องของกรรม
กรรม คือ การกระทำ
กรรม มีทั้งกรรมดี กรรมชั่ว กรรมกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่ว
กรรม หรือ การกระทำ เป็น 'เหตุ' ที่จะ 'ให้ผล' ในอนาคต
อาจจะเป็นอนาคตใกล้ ทันควัน เห็นผลทันตา
หรืออาจจะเป็นอนาคตไกลจนลืมไปแล้วว่าทำอะไรไว้

ดังนั้น กล่าวกันในเชิงพระพุทธศาสนาแล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลหรือสรรพสัตว์กำลังเป็นอยู่
หรือกำลังได้รับอยู่ในปัจจุบัน
ก็ล้วนเป็นผลจากกรรม (การกระทำ) ที่ตนทำมาเองในอดีต
ไม่ว่าจะอดีตใกล้ที่พอนึกออกจำได้
หรือว่าอดีตไกลที่ลืมไปแล้วนึกไม่ออก ก็ตาม

ในเชิงพระพุทธศาสนานั้น
สภาพหรือสิ่งที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผลของกรรม(การกระทำมาเอง)ในอดีต
และ
สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้เอง
จะส่งผล จะให้ผล ในอนาคต
หรือที่ใช้คำกันว่า
'อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล'
'ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล'
หรือสั้นๆ ว่า
'อดีตเหตุ - ปัจจุบันผล'
'ปัจจุบันเหตุ - อนาคตผล'

เหตุแห่งความสุข

ความสุขทางกายก็ตาม ความสุขทางใจก็ตาม
ที่บุคคลได้รับอยู่ในปัจจุบัน อาทิ ได้เกิดดี ได้อยู่ในที่ดี
ร่างกายดี ฐานะดี ผิวพรรณผ่องใส
ได้พบแต่คนดีๆ สิ่งดีๆ
จิตใจสัมผัสแต่สิ่งดีๆ มีแต่ความสุขความสบายใจ
ทั้งหมดหรืออย่างหนึ่งอย่างใด
ล้วนเป็นผลมาจากการกระทำดีมาในอดีต
อาทิ รักษาศีลมาดี ทำทานกุศลมาดี
มีจิตใจสะอาด เมตตา มีความเพียร อดทน บากบั่น
ขยันขันแข็ง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
ทำ-คิด-พูด แต่สิ่งที่ดีงาม ฯลฯ

ดังนั้น
การจะสร้างอนาคตให้เป็นอนาคตที่ดี มีแต่ความสุข
ได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งเจริญตาเจริญใจ
ทำอะไรไม่มีอุปสรรคขัดขวาง
ก็คือ ในวันนี้ ในปัจจุบันนี้ พึงทำแต่สิ่งที่ดีทั้งปวง
อะไรก็ตามที่สามัญสำนึกบอกว่าไม่ดี ไม่ควร
ก็หลีกเลี่ยง
ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นๆ
ไม่ว่าในแง่มุมใดๆ ฯลฯ

เหตุแห่งความทุกข์

ในทางตรงกันข้าม
ทุกข์ต่างๆ ที่บุคคลหรือสรรพสัตว์แต่ละชีวิต
กำลังได้รับอยู่ในปัจจุบัน
ก็เป็นผลมาจากการกระทำไม่ดีต่างๆ
ที่ทำมาเองในอดีตใกล้และอดีตไกล
อาทิ ทำ-คิด-พูด ในสิ่งอันไม่ดี ไม่งาม เป็นอกุศล
ศีลข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อพร่องหรือขาด (ศีลห้า)
เป็นคนตระหนี่ ไม่อดทนอดกลั้น ไม่มีความเมตตา
เบียดเบียนตน เบียดเบียนชีวิตอื่นๆ
มาในทางใดทางหนึ่ง ฯลฯ

บุคคลนั้นหรือชีวิตนั้น
ก็จะมีชีวิตปัจจุบันที่ไม่(ค่อยจะ)มีความสุข
อาจจะมีแต่ทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ
อาจจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่เจริญตา ไม่เจริญใจ
ไม่เจริญปัญญา อยู่ในหมู่คนพาลที่มีแต่จะ
ชักพากันไปในทางที่เสื่อม (เสื่อมจากความดี)
ร่างกายไม่ดี สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง
ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสถูกต้อง
ที่ไม่ดี ที่ไม่ประณีต ที่ไม่สบายตาไม่สบายหู
ไม่สบายจมูก ไม่สบายลิ้น ไม่สบายกาย
ไม่เป็นที่สบายใจ ไม่น่าพออกพอใจ
มีแต่น่าขัดใจ ฯลฯ

ดังนั้น บุคคลใดอยากจะมีชีวิตที่ดี
ได้เกิดดี ได้มีสภาพแวดล้อมที่ดี
ได้พบได้สัมผัสแต่สิ่งที่ดี เจริญตาเจริญใจ
ก็มีวิธีง่ายๆ ที่ทำได้เดี๋ยวนี้
คือ ทำเหตุแห่งความสุขให้มากๆ :)
ทำ 'ปัจจุบันเหตุ' ให้ดี
เพื่อมุ่งหวัง 'อนาคตผล' ที่ดี

ส่วนขณะนี้ คือสิ่งที่กำลังได้รับอยู่
หรือสภาพที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
เป็นสิ่งที่เป็น 'ผล' จากสิ่งที่ได้กระทำมาเองในอดีต
จึงไม่พึงคิดมาก เพราะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
เป็นการรับผลกรรม (คือ ผลจากการกระทำ
ดีหรือไม่ดีที่ล้วนทำมาเอง)

สิ่งที่พอทำได้ในวันนี้ ในปัจจุบันแต่ละขณะๆ นี้
ก็คือ 'สร้างเหตุใหม่' ที่ดีๆ
ทำแต่สิ่งดีๆ คิดแต่สิ่งดีๆ กล่าวแต่คำดีๆ ไม่มีโทษ
เพื่อให้อนาคตไม่ว่าใกล้หรือไกล
ไม่ว่าจะทันได้เห็นในชีวิตนี้หรือไม่
จะเป็นอนาคตที่ดี มีแต่ความสุขความเจริญ

เหตุแห่งการพ้นทุกข์

ทั้งหมด ๒ ส่วนแรกนั้น ทั้งเหตุแห่งความสุข
และเหตุแห่งความทุกข์ เป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด
เป็นแนวทางการเวียนว่ายตายเกิดให้ดี ให้มีความสุข
และปลอดภัย

ก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในระดับหนึ่ง
เพราะอย่างน้อยก็เป็นแนวทางพัฒนาตน
เพื่อให้เจริญก้าวหน้า เพื่อไม่ให้ย่ำอยู่กับสิ่งไม่ดี
ไม่ให้ย่ำอยู่กับนิสัยไม่ดีเก่าๆ ที่ควรปรับปรุงแก้ไข
เพื่อว่าจะได้มีอนาคตในการมีชีวิตอยู่
หรือได้มีอนาคตในการเวียนว่ายตายเกิด ที่ดีขึ้นๆ
ดียิ่งๆ และยิ่งขึ้นตามลำดับ หนีให้ไกลๆ จากทัศนคติที่ผิด
หนีให้ไกลจากสิ่งที่จะนำพาหรือชักนำ
ไปสู่ความเสื่อมทั้งปวง ทั้งทางกายและทางใจ

แต่ก็ยังเป็นความสุขทุกข์แบบโลกๆ ที่ล้วนไม่จีรังยั่งยืน
เพราะถึงแม้จะยิ่งเกิดดี มีความสุข ขนาดไหน
ถึงแม้จะได้พบแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ขนาดไหน
ถึงแม้จะได้ประสบแต่สิ่งน่าเจริญตาน่าเจริญใจขนาดไหน
แม้จะได้เกิดมาเป็นคนดี มีแต่ชีวิตที่ดีๆ
มีแต่ความสุข มีแต่ความเจริญ ขนาดไหน
แม้จะได้มีร่างกายที่ดี สุขภาพแข็งแรง จิตใจที่งดงาม ขนาดไหน

แต่ทว่าให้ทุกอย่างดีเลิศพร้อมมูลขนาดไหน
แต่ทุกๆ ชีวิตที่แสนดีเลิศนั้น ก็มิอาจหลีกหนีไปจากสัจธรรม
ไม่มีทางหลีกพ้นจากกฎเหล็ก
อันเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวของสังสารวัฏ
ไปได้เลย

กฏเกณฑ์ตายตัวของสังสารวัฏ
ก็คือ พระไตรลักษณ์
คือ ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์
และไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน ไม่มีอะไรที่ใครสามารถสั่ง
หรือบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้จริงๆ

ดังนั้น ต่อให้ผู้ที่มีความสุขที่สุดในโลก
เพียบพร้อมสมบูรณ์ที่สุดในโลกใดก็ตามในสังสารวัฏ
ก็ยังหนีไม่พ้นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
และความไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถสั่งหรือบังคับให้อะไรๆ
เป็นไปตามปรารถนาได้จริง
แม้ผู้ที่มีชีวิตที่สุขและสมบูรณ์พร้อมที่สุด
ก็มีอันจะต้องจากพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ
ก็มีอันต้องแตกดับไป
ต้องตายจากชีวิตอันแสนสุขนั้น
ไปในที่สุด

แม้มีแต่สิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ที่น่าพอใจ ที่ชื่นตาชื่นใจ
แต่สิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น
ก็จะต้องมีอันผันแปรเสื่อมสภาพไป
ดับสลายไปในที่สุด
ไม่สามารถอยู่คงสภาพเดิมยั่งยืน
ให้ได้ชื่นชมให้ได้ครอบครองไว้ตราบชั่วนิรันดรได้เลย

ด้วยเหตุว่าสุขในสังสารวัฏนี้ไม่เที่ยง
มีแต่ความทุกข์ (คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้)
และมิอาจเข้าไปควบคุม มิอาจสั่ง
หรือบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจได้จริง
พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า
ทุกสิ่งทุกอย่าง สรรพสิ่งทั้งปวงในสังสารวัฏ
ล้วนเป็นทุกข์

ทรงบำเพ็ญเพียรมาช้านาน
และแสวงหาทางออกจากทุกข์
ที่เป็นทางออกที่แท้จริง
และทรงค้นพบได้สำเร็จ

เหตุแห่งการพ้นทุกข์
คือ ออกจากทุกข์ทั้งปวงในสังสารวัฏ
มีอยู่ทางเดียว
คือ สติปัฏฐานสี่
คือ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่

การเจริญสติ คือ มีสติรู้เท่าทันอาการต่างๆ ของกายและใจ
ในแต่ละขณะวินาทีที่เป็นปัจจุบันอยู่จริงๆ
ต้องเป็นการมีสติด้วยท่าทีและวิธีการที่ถูกต้อง
เจริญสติด้วยจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
มีสติไปอย่างสบายๆ ไม่เคร่งตึง
เป็นการเข้าไปสังเกต เข้าไปลองทำความรู้จัก
กับอาการต่างๆ ณ กายและใจตนเอง ในแต่ละขณะๆ

วิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้น ที่เป็น 'เหตุแห่งการพ้นทุกข์'
เป็นการสร้างเหตุในปัจจุบัน เพื่อหวังผลในอนาคตคือ
การออกจากทุกข์ทั้งปวง

เหตุผลที่การเจริญสติ (สติปัฏฐานสี่และวิปัสสนากรรมฐาน
ตามแนวสติปัฏฐานสี่) พาออกจากทุกข์ได้นั้น
ก็ด้วยการที่แต่ละขณะๆ ที่มีสติอยู่นั้น
จิตใจจะปราศจากความโลภ โกรธ หลง
ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
จิตใจประกอบด้วยปัญญา

เมื่อพากเพียรเจริญสติ (ด้วยวิธีการและท่าทีที่ถูกต้อง)
ให้บ่อยๆ ต่อเนื่องอยู่เนืองๆ
กิเลส (โลภ โกรธ หลง) ก็จะมีโอกาสเกิดได้น้อยลงๆ
สติเกิดมากขึ้นๆ
สติมีกำลังแข็งกล้ามากขึ้นๆ
ปัญญาก็จะค่อยๆ เกิด

ปัญญาตัวนี้ จะค่อยๆ ทำให้ผู้พากเพียรเจริญสติ
เริ่มเข้าใจความเป็นจริงแท้ๆ เกี่ยวกับกายและใจตน
เริ่มเข้าใจถึงความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
ของกายและใจ
จะค่อยๆ ได้ประจักษ์ว่า
ที่ยึดที่คิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา
สิ่งที่ยึดที่คิดว่าดี ว่าสวย ว่าเป็นที่รัก ว่าน่าพอใจ
หรืออะไรก็ตามทั้งปวงในสังสารวัฏนี้
ล้วนไม่ได้เที่ยงอย่างที่คิด (อนิจจัง)
ล้วนเป็นทุกข์ (คือ ล้วนทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) ทั้งสิ้น (ทุกขัง)
มีอันต้องพลัดพราก ผันแปร เสื่อมสลายไป ดับไป (อนัตตา)
ล้วนเป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้
สั่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ได้ ทั้งสิ้น
จึงได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจ
ว่าไม่มีแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยในสังสารวัฏนี้
ที่จะสามารถยึดมั่นถือมั่นได้จริง

สติและปัญญายังจะนำพาไปรู้จักกับตัวตนของกิเลส
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ในตน
ตัณหา อุปาทาน ในตน ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

เมื่อก่อนเราหลง เราตกอยู่ใต้อำนาจของพระไตรลักษณ์
(อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา) อย่างไม่มีทางสู้
เพราะไม่รู้จักตัวตนของพระไตรลักษณ์
เมื่อก่อนเราหลง เราตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ก็เพราะไม่รู้จักตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
เมื่อไม่รู้จัก ก็เลยไม่รู้จริง ว่าเป็นเพียงเล่ห์กลของกิเลส
เป็นกับดักของกิเลส ตัณหา อุปาทาน

ต่อเมื่อได้เจริญสติเจริญปัญญา
สะสมเหตุแห่งการพ้นทุกข์ พ้นกิเลส ออกจากกิเลส
ให้เนืองๆ ให้บ่อยๆ ให้ต่อเนื่อง ให้ยิ่งๆ
เกิดปัญญายิ่งๆ สติคมชัดยิ่งๆ
จนได้เข้าใจในความเป็นจริงทั้งปวงเหล่านี้
ก็จะเป็นทีของปัญญา :)
ที่เข้าไปรู้จักและรู้ทันสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ตามความเป็นจริง

เมื่อเข้าไปรู้จักจริงๆ รู้จักอย่างแท้ๆ ว่าอะไรเป็นอะไร
สิ่งเหล่านี้ (อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา และ กิเลส
ตัณหา อุปาทาน) ก็หลอกเราไม่ได้อีกต่อไป
ลวงล่อให้หลงยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ต่อไป

ก็จะค่อยๆ เกิดความเบื่อ หน่าย คลายกำหนัด
คลายความยินดีพอใจ เพราะรู้เท่าทันเสียแล้วว่าไม่จริง
ไม่ยั่งยืน มีอันต้องเปลี่ยนแปลง ผันแปร พลัดพราก
เสื่อมสภาพ ดับสลาย สูญสิ้น ไปทั้งหมดทั้งสิ้น

เมื่อถึงวันหนึ่งที่สะสมเหตุแห่งการพ้นทุกข์คือการเจริญสติ
เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไว้จนเต็มเปี่ยมแล้ว
ปัญญาที่แก่กล้าพร้อมองค์ประกอบ
แห่งการประหารกิเลสให้ขาดสะบั้น พรักพร้อมกันเมื่อใด
ก็จะรวบรวมพลังกันทั้งหมด สมัครสมานสามัคคี
ฟันกิเลสให้ขาดสะบั้นลงได้เป็นลำดับๆ ไป
บุคคลนั้นๆ ก็จะถึงซึ่งความพ้นทุกข์
หรือเที่ยงแล้วต่อการจะพ้นทุกข์ได้แน่นอน
ในอนาคตอันทำนายได้ พอจะรู้ได้ :)
(เพราะพระพุทธองค์ทรงบอกไว้ชัดเจนแล้ว)

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

เหตุอันเป็นกุศล เป็นเหตุดี เป็นกรรมดีใดๆ ก็ตาม
ที่ได้กระทำมาแล้วในอดีตและกำลังเพียรกระทำอยู่ในปัจจุบันก็ตาม
ขอแผ่กุศลทั้งปวงจากเหตุดีๆ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้
ให้กับสรรพชีวิตทั้งปวงผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย
ให้ได้มาพบพระพุทธศาสนา
ได้มาสัมผัสรสพระธรรม
ได้รู้วิธีการสร้างเหตุแห่งความสุข
รู้วิธีละเหตุแห่งความทุกข์
และได้รู้วิธีแห่งการสร้างเหตุแห่งการพ้นทุกข์
สร้างเหตุแห่งการออกจากทุกข์ทั้งปวง
ทั้งขอให้ได้มีโอกาสสร้างเหตุแห่งการพ้นทุกข์
คือได้เจริญสติ (สติปัฏฐาน)
ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ให้ยิ่งๆ
ได้เกิดปัญญาเห็นโลกเห็นธรรม
รู้เท่าทันสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
รู้ว่าอะไรไม่ใช่สาระที่แท้จริง รู้ว่าอะไรคือสาระที่แท้จริง
เกิดความเบื่อหน่ายละคลายจากกิเลส ตัณหา อุปาทานให้ยิ่งๆ
จนได้บรรลุถึงซึ่งมรรคผลและความพ้นทุกข์คือพระนิพพาน
โดยเร็วที่สุดตามที่ปรารถนา
และตามสมควรแก่เหตุ (บุญบารมีสู่การพ้นทุกข์)
ที่แต่ละชีวิตได้พากเพียรสะสมมา
ด้วยกันทุกๆ ชีวิต ทุกรูปทุกนาม ด้วยเทอญ

เจริญในธรรม

:)

โดยคุณ : deedi - อีเมล์ deedi_deedi@email.com - 21/04/2002 17:41

ลอกมาจาก
http://board.dserver.org/e/easydharma/00000097.html

2186
ขอบคุณ คุณศิษย์เมืองชล  :054:
เข้าใจว่าท่านยังขาดน้ำและไฟ และอื่นๆอีกมากมาย
ผมไปแล้วจะกลับมาเรียนทุกท่านนะครับ

2187
ขอแสดงความขอบคุณ คุณfork0 คุณderbyrock  คุณberm
รู้สึกยินดีกับเวปดีดี และมิตรสหายเช่นท่าน แล้วจะนำบุญกุศลมาฝากครับ

วันนี้เที่ยง.........ได้มีผู้ใหญ่หนึ่งได้มานำเสนอธุรกิจที่ดี(เพิ่งกลับเมื่อครู่นี้)
ผมหวังว่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับอาชีพการงานต่อไป

ขอบคุณครับ

2188
สมาชิกใหม่ครับ เพิ่งสมัครเมื่อวานนี้ ตามคำแนะนำของสมาชิกท่านหนึ่ง เมื่อเดือนก่อน

เมื่อคืนที่ผ่านมา เลยเปิดอ่านเรื่อง ... ประสบการณ์วิญญาณ หลายเรื่อง อ่านจนประมาณตี1
ถึงได้เข้านอน............ก็นอนหลับเป็นปกติจนกระทั่งใกล้เช้า ช่วงตี4-5
ได้ตื่นขึ้นมาเข้าห้องตามปกติ แล้วจึงเข้านอนต่อเพราะผมไปทำงานสายตามปกติ(กิจการส่วนตัว)

ล้มตัวลงนอนครู่เดียวก็หลับต่อเลย.............แต่คราวนี้กลับฝัน....

ฝันว่า ตัวเองนอนอยู่ข้างชายคนหนึ่งไม่ทราบชื่อ อยู่ริมถนนหน้าบ้านไม้หลังหนึ่ง(บ้านสมัยเก่า)
ลักษณะการนอนจะนอนกลับหัวกัน ห่างกันประมาณ 1 ศอก ในความเข้าใจขณะนั้น เข้าใจว่าชายคนนั้นตายไปแล้ว
และขณะเดียวกันภรรยาของผู้ตายซึ่งนั่งอยู่หน้าบ้าน โกรธและเข้าใจ(ผิด)ว่าเราเป็นสาเหตุให้สามีเธอตาย
เธอจึงได้คว้าจอบ เงื้อเตรียมฟันลงมาที่ขา เราก็ตกใจกลัว จนละเมอร้องเสียงหลง...........อย่าๆ....ช่วยด้วย!!!
แล้วก็ตื่นขึ้นด้วยความตกใจ!!! :074: :075: หลังจากหลับไปไม่นานนัก ซึ่งเวลาช่วงนั้นก็ยังเป็นเวลาประมาณก่อนตี5

รู้สึก มึนงง!! กับความฝันมาก แต่สัปดาห์นี้ ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะไปทำบุญ

ท่านที่อ่านแล้วมีข้อแนะนำประการใด โปรดชี้แนะด้วยครับ

2189
ท้าวหิรัญพนาสูร หรือ ท้าวหิรัญ( ฮู ) ประวัติเรื่องเล่านี้เล่ากันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เทพองค์นี้บางคนก็เล่าว่า เป็นอสูรที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ (ประพฤติในทางที่ดีงาม) คอยติดตามป้องกันภัยอันตรายไม่ให้มากล้ำกรายรัชกาลที่ 6 และข้าราชบริพารที่อารักขา มีผู้เคยเห็นร่างท่านเป็นยักษ์ดุร้ายน่าเกรงขาม แต่ในยามปกติเล่ากันว่า ท้าวหิรัญ( ฮู ) ตนนี้ เป็นเทพที่มีรูปงามเลยทีเดียว


       ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงสื่อกับบรรดา "โอปปาติกะ" หรือ "วิญญาณ" ได้บ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนเคยนำมาเล่าให้ฟังแล้วว่าครั้งหนึ่ง พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นผู้ที่ตายแล้วมาหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงดูคล้ายกับว่าพระองค์ทรงมี "สัมผัสที่ 6" ในทางเร้นลับไม่น้อย


       ในเรื่องของ ท้าวหิรัญพนาสูร เทพ ผู้อารักขารรัชการที่ 6 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัย ร.ศ. 126 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองลพบุรี เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ในคืนวันเสด็จประพาสคืนหนึ่ง มีผู้ตามเสด็จท่านหนึ่งได้มีนิมิตฝันประหลาดเห็นชายหุ่นล่ำสันใหญ่โตมาหา บอกว่าชื่อ "หิรัญ" เป็นอสูรชาวป่า ที่มานี่จะมาบอกว่า ต่อแต่นี้เขาจะคอยตามเสด็จล้นเกล้าฯ รัชการที่ 6 ไม่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด เขาจะคอยดูแลและระวังภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับพระองค์ท่านได้ เมื่อรัชการที่ 6 ทรงทราบเหตุการณ์ในฝันจึงทรงมีพระราชดำรัสให้จุดเทียน จัดเตรียมอาหารเซ่นสังเวย ท้าวหิรัญพนาสูร ในป่าเมืองลพบุรีนั้นทันที และทุกครั้งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปแห่งหนใด ในเวลาค่ำถึงยามเสวย พระองค์จะมีพระราชดำรัสให้จัดอาหารเซ่นสังเวย ท้าวหิรัญ( ฮู ) ทุกครั้งไป


       และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ก็ยังทรงระลึกถึง ท้าวหิรัญ( ฮู ) อยู่เสมอ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหลวงมาหล่อรูปท้าวหิรัญฮูด้วยทองสัมฤทธิ์ จากนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารจัดเครื่องเซ่นสังเวย และเชิญ ท้าวหิรัญ( ฮู ) เข้าสถิตในรูปหล่อนั้น พระราชนามให้ว่า ท้าวหิรัญพนาสูร แต่งองค์ทรงเครื่องสวมชฎาแบบโบราณ มีไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ


       มหาดเล็กคนสนิทของรัชกาลที่ 6 ผู้หนึ่ง คือ "จมื่นเทพดรุณทร" ท่านผู้นี้ได้เล่าให้ข้าราชบริพารฟังต่อ ๆ กันมาว่า "ในหลวง (ร.6) ทรงเรียกท้าวหิรัญพนาสูรว่า ตาหิรัญ( ฮู ) ซึ่งคนในวังสมัย ร.6 จะรู้ถึงกิตติศัพท์ของ ตาหิรัญ( ฮู ) ดีว่าสำแดงเดชและอภิืนิหารอย่างไรบ้าง จึงเล่ากันปากต่อปากเรื่อยมา อย่างเรื่องแรกเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปท้าวหิรัญพนาสูร โดยให้พระยาอาทรธรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีมิสเตอร์แกลเลตตี นายช่างชาวอิตาเลี่ยนที่มาทำงานในกรมศิลปากรเป็นผู้หล่อ เมื่อหล่อเสร็จก็จะยกขึ้นตั้งบนฐานในพระราชวังพญาไท มิสเตอร์แกลเลตตีก็เอาเชือกผูกคอท้าวหิรัญฮูชักรอกขึ้นไป เสร็จแล้วมิสเตอร์แกลเลตตีก็ป่วยกะทันหันทำงานไม่ได้ เพราะคอเคล็ดโดยไม่รู้สาเหตุ พอพระยาอาทรไปเยี่ยม ท่านพอจะรู้สาเหตุจึงบอกว่าคงเป็นเพราะเอาเชือกไปผูกคอรูปหล่อท้าวหิรัญฮู ให้เอาดอกไม้ ธูป เทียนไปขอขมาเสีย เมื่อนายช่างชาวอิตาเลี่ยนทำตามคอที่เคล็ดจึงกลับมาเป็นปกติอย่างอัศจรรย์


       กับอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับ ท้าวหิรัญพนาสูร ที่เล่ากันมา เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 6 สวรรคตแล้วรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ต่อ วันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จฯ ตรวจรถยนต์พระที่นั่ง ซึ่งเป็นพระราชมรดก โดยมีกรมหมื่นอนุวัติจาตุรนต์เสด็จไปด้วย กรมหมื่นฯ ท่านนี้ได้กราบทูลขอรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งมีรูปท้าวหิรัญฮูติดอยู่ด้วย ซึ่งรัชกาลที่ 7 ก็พระราชทานให้ เล่ากันว่าเมื่อเอารถกลับไปไว้ที่วังสี่แยกหลานหลวง คืนนั้นก็นอนไม่หลับ ได้ยินเสียงกุกกัก ๆ ในโรงเก็บรถทั้งคืน ครั้งลุกไปดูก็ไม่เห็นมีอะไร จึงคิดว่าอาจเป็นเสียงหนู แต่ขณะที่กำลังคิดในทางที่ดีก็ต้องสะดุ้งสุดตัว เพราะจู่ ๆ ไฟในโรงรถก็เกิดสว่างจ้าขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่โรงรถปิดอยู่ จึงเรียกคนขับรถและมหาดเล็กไปช่วยกันดู แต่พอเปิดประตูโรงเก็บรถก็ต้องใจหายเป็นครั้งที่ 2 เพราะไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย และยังน่าสงสัยที่เห็นรถจอดขวางโรง ซึ่งแต่แรกไม่ได้จอดในลักษณะนี้ จึงต้องช่วยกันกลับรถจอดใหม่ จากนั้นรุ่งขึ้น กรมหมื่นอนุวัติจาตุรงค์ต้องจัดเครื่องเซ่นสังเวยท้าวหิรัญฮูเพื่อขอขมา และไม่กล้าใช้รถพระราชทานคันนั้นอีกเลย


       อภินิหารของท้าวหิรัญพนาสูรยัง มีเล่าอีกหลายเรื่อง อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นกับเชื้อพระวงศ์ในตระกูลดิศกุลพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งที่ประชวรปัสสาวะเป็นเลือด ท่านได้เสด็จมารักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอเอกซเรย์ดูบอกว่าต้องผ่าตัด บรรดาพระญาติทราบถึงประวัติท่านท้าวหิรัญฮูดี จึงเอาดอกไม้ ธูป เทียนไปสัการะรูปหล่อ ซึ่งประดิษฐานอย่ในบริเวณโรงพยาบาล ผลปรากฎว่าโรคที่เป็นกลับหายโดยไม่ต้องผ่าตัดอย่างไม่น่าเชื่อ


       อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 กับอาจารย์สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์บาดเจ็บสาหัสมาก ขาซ้ายหัก ขาขวากระดูกแตก ต้องเข้าเฝือกทั้ง 2 ข้าง ท่านถูกนำไปรักษาตัวที่แรกเป็นโรงพยาบาลเอกชน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงเปลี่ยนมารักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ พญาไท ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลพญาไท ท่านหมดความรู้สึกไปครั้งหนึ่งในระหว่างที่สลบท่านเห็นผู้ชายคนหนึ่งมายืน มองอยู่ข้างเตียง ในจิตของอาจารย์ท่านนี้รู้ในทันทีว่านั่นคือ เทพท้าวหิรัญพนาสูร เพราะมีรูปร่างหน้าตา มีลักษณะบางอย่างบ่งบอก อาจารย์ท่านนี้จึงยกมือไหว้ ขอให้ท่ายช่วยให้หายเจ็บป่วย ท้าวหิรัญพนาสูรก็พยักหน้าจากนั้นไม่นานอาการเจ็บป่วยของอาจารย์ก็หายเป็นปลิด ทิ้ง ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้ และท่านก็ไม่เคยลืม ท้าวหิรัญพนาสูร

 
       ทุกวันนี้ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ยังมีคนมากราบไหว้ ท้าวหิรัญพนาสูร อยู่ไม่ขาด โดยศาลของท่านตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาล ซึ่งแม้รัชกาลที่ 6 จะสวรรคตไปนานแล้ว หน้าที่ของ ท้าวหิรัญพนาสูร ก็ยังคงดูแลช่วยเหลือคนไข้และคนดีอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าใครจะติดต่อหรือมองเห็นท่านได้ เพราะท่านอยู่คนละภูมิ ซึ่งซ้อนอยู่กับภูมิมนุษย์ของเรา


2190
ขอบคุณครับ เล่าได้สนุกน่าติดตาม
เคยเห็นทางเข้าทางลัดนั้น(กลางวันนะ) แต่ไม่กล้าเข้าไป กลัวหลงทาง
ผมว่า ผีไม่น่ากลัวเม่าคนนะครับ

ถ้าคุณเอ ไปอีกช่วยมาเล่าอีกนะครับ  :092:

2192
ชอบและสนใจเรื่องเหล่านี้ครับ

2194
กราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์ฯ

ผมชื่อชาย เพื่อนสมบัติและต๋อย
เพิ่งสมัครสมาชิกเวปนี้ กำลังถกเถียงกับเพื่อนเก่าอีกท่านหนึ่งและสอบถามที่ตั้งของสำนักฯ
ว่าอยู่ตรงไหนกันแน่ ก็ได้มาเห็นแผนที่ของท่านศิษย์เมืองชล ได้นำมาแปะไว้ ก็ช่วยให้สามารถหาที่ตั้งได้ไม่ยากนัก

พวกเรามีดำริจะนำต้นไม้ อาทิ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ที่เกิดในกระถางที่อู่ผม จะนำไปปลูกที่สำนักฯและหวังว่าจะให้ความร่มเย็นต่อไปในอนาคต
และจะหาเวลาว่างไปนมัสการท่านในเร็วๆนี้


หน้า: 1 2 [3]