ผู้เขียน หัวข้อ: 5 เบญจพระคณาจารย์ ยิ้ม- เหรียญ -เปลี่ยน- ใจ -ดี (ภาคสี่)  (อ่าน 10890 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
                                                             
       
หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร  (พระวิสุทธิรังษี) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (ใต้) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
สร้อยนามคำขวัญหนึ่ง ซึ่งมักนิยมเรียกขาน กล่าวขวัญถึงอมตเถราจารย์สองท่านของเมืองกาญจนบุรี คือ
?ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ ถ้าเป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้?
       วัดใต้ หมายถึง หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร ด้วยบุคลิกลักษณะของท่านเป็นมหาอำนาจ ใครได้พบเห็นก้อรู้สึกเกรงขาม แม้แต่ขุนโจรชื่อดัง ยังให้ความเคารพยำเกรง พุทธาคมความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จึงเด่นทาง มหาอำนาจและคงกระพันชาตรีอย่างเอกอุ
       วัดเหนือ หมายถึง หลวงปู่ดี พุทธโชติ ด้วยบุคลิกลักษณะของท่านเป็นพระเถราจารย์ ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาจิต ดังนั้นพุทธาคมความเข็มขลังศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จึงอุดมไปด้วยเมตตามหานิยม
       จึงเป็นสร้อยนาม ต้องตามคุณูประการของทั้งสองท่าน ที่เข้มขลังคนละด้านเท่ากันไป และพระเถราจารย์ทั้งสองท่านนี้ ล้วนเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี มาแล้ว
      พระวิสุทธิรังษี หรือ หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร แห่ง วัดไชยชุมพลชนะสงคราม หรือ ที่นิยมเรียกขานทั่วไปว่า วัดใต้ นั่นเอง ท่านเป็นพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ปกครองดูแลคณะสงฆ์ของจังหวัดกาญจนบุรี ในฐาน เจ้าคณะจังหวัด เป็นอมตเถราจารย์ผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติวิปัสนามัฏฐาน และพุทธคมเข้มขลัง เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ พิธีพุทธาภิเษก-ปลุกเสกครั้งใด จะขาดท่านไปเสียไม่ได้ จำเป็นต้องอาราธนาท่านมาร่วมในพิธีเสมอ
      หลวงปู่เปลี่ยนเกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2405 ปีจอ อันตรงกับวันเสาร์ เกิดที่บ้านม่วงชุม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นบุตรของ หมื่นอินทร์รักษา(นิ่ม พูลสวัสดิ์) และมารดาชื่อ จีบ
ด้วยดวงชะตานาศีเกิด ตรงกับ วันเสาร์5 ซึ่งถือเป็น วันเข็ง บุคลิก และนิสัยใจคอในวัยเด็กของท่าน จึงมีความเด็ดเดี่ยวห้าวหาญ ใจนักเลง ชอบความเป็นผู้นำ บวกกับเป็นผู้มีร่างกายล่ำสันบึกบึน ผิวสีเข้ม ยิ่งเน้นให้เห็นความเป็นผู้นำมาแต่วัยเด็ก ได้รับการขานนามว่า ทองดำ เมื่อเติบใหญ่ย่างสู่หนุ่ม ยิ่งมีสมัครพรรคพวกมาก นำความหนักใจมาสู่ หมื่นอินทร์รักษา ผู้เป็นบิดายิ่งนัก ดำรงตริตรองอย่างถ้วนถี่ เห็นทีปล่อยไว้เช่นนี้จะไม่ได้การ จึงได้นำบุตรชายไปฝากยังสำนักของ ท่านอาจารย์ช้าง(พระครูวิสุทธิรังษี) วัดใต้ ซึ่งเป็นเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรีในขณะนั้น เพื่อให้ได้รับการศึกษา และอบรมบ่มนิสัยแต่นั้นมา นายทองดำ เมื่อได้รับการศึกษา และอบรมสั่งสอนจากผู้เป็นอาจารย์ เริ่มเปลี่ยนนิสัย กลายมาเป็นคนสุขุมเยือกเย็น และด้วยนิมิตรหมายดังกล่าว ผู้เป็นบิดาจึงเปลี่ยนชื่อให้เสียใหม่ว่า เปลี่ยน อันหมายถึง การเปลี่ยนมาเป็นคนสุภาพเรียบร้อยนั่นเอง ปี พ.ศ.2426 อายุได้ 21 ปี จึงบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาใต้ มี พระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) วัดใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริการรอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการกรณ์  วัดซุกกะพี้ เป็นพระอนุสาวาจารย์ ได้รับฉายานามทางสงฆ์ว่า อินทสโร ซึ่งฉายาดังกล่าวนี้  เป็นฉายาสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์ และเป็นวันเสาร์ 5 ด้วย หากให้ฉายาวันเสาร์เกรงว่าจะเข็งเกินไป  จึงเลี่ยงมาให้ฉายาเป็นวันอาทิตย์
      ความตั้งใจเดิมของท่านจะบวชเพียง 7 วันเท่านั้น แต่ด้วยบุญญามี และจะเป็นเสาหลักที่พึ่งของพุทธบริษัทในเบื้องหน้า เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว พบว่าเส้นทางสายนี้สงบร่มเย็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จึงได้ครองเพศบรรพชิตไม่คิดสึกอีกเลย ร่ำเรียนทั้งอักขระภาษาขอม หนังสือไทย รวมทั้งพุทธาคมต่างๆจาก พระครูวิสุทธิรังษีผู้เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ด้วยความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยว อันเป็นบุคลิกเดิมของท่าน หากจะทำสิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ และเอาดีให้ได้รวมกับเชาว์ปัญญาที่เฉลียวฉลาด สรรพวิชาการต่างๆจึงร่ำเรียนได้สำเร้จโดยง่าย ยังความพอใจแก่ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ยิ่ง
     
                                                                                                                                   
       สำหรับ ท่านพระครูวิสุทธิรังษี หรือ ท่านอาจารย์ช้าง วัดใต้ นี้ ก่อนจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ และดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (เจ้าคณะเมือง) นั้น ท่านเป็นพระคณาจารย์ ที่เรืองเวทย์ และพุทธาคมเข้มขลัง เป็นที่เลี่องลือนับถือของชาวเมืองกาญจน์ และจังหวัดใกล้เคียง ควบคู่กับ ท่านหลวงพ่อกลิ่น วัดเหนือ ซึ่งถือว่าท่านทั้งสองเป็นผู้มีเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น
       เกียรติคุณชื่อเสียงคำร่ำลือ ถึงความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของท่านทั้งสอง ทราบถึง พระครูธรรมเสนานี(ดี) วัดขนอน ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลคณะสงฆ์เมืองกาญจนบุรี ด้วยสมัยนั้นการปกครองคณะสงฆ์ของเมืองกาญจนบุรีนั้นขึ้นอยู่กับเมืองราชบุรี เห็นว่าเมืองกาญจนบุรีเอง มีพระเถระผู้อาวุโส เก่งกล้าสามารถ และมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากสมควรที่จะปกครองดูแลหมู่คณะสงฆ์ได้เป็นอย่างดี จึงได้เรียกมาทดสอบที่วัดขนอน  โดยให้ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ผลปรากฏว่าน้ำมนต์ของท่านทั้งสองเทแล้วไม่ไหลไม่หกออกจากบาตรเลยแม้แต่หยดเดียว เป็นประจักษ์แก่สายตาของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงได้รับบาตรที่ใช้ทำน้ำมนต์ไม่หกมาเป็นรางวัลคนละลูก เก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ ต่อมา ท่านอาจารย์ช้าง วัดใต้ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูวิสุทธิรังษี  และ หลวงพ่อกลิ่น วัดเหนือ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะเมืองกาญจนบุรี รับพระราชทานสมณศักดืที่ พระครูสิงคิบุรคณาจารย์  จากนั้นต่อมา การปกครองคณะสงฆ์ของเมืองกาญจนบุรี จึงไม่ได้ขึ้นกับเมืองราชบุรีอีกต่อไป เมื่อพระครูวิสุทธิรังษี มรณภาพลง คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งหลวงปู่เปลี่ยน ขณะยังเป็น พระใบฎีกาเปลี่ยน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้สืบแทนต่อไป ทั้งยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูวิสุทธิรังษี เช่นเดียวกับพระอุปัชฌาย์
      ความสัมพันธ์ของท่านกับหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ท่านจะมีอายุน้อยกว่า  16 ปี ครั้งหลวงปู่ยิ้มอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านก้อมีอายุได้พียง 4 ปี และเมื่อท่านได้อุปสมบทในบวรพทธศาสนานั้น หลวงปู่ยิ้มเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวล่วงเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว สุดท้าย พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว อีกด้วย
      หลวงปู่ยิ้ม ท่านเป็นพระสมถะ ชอบสันโดษ ไม่ฝักใฝ่ในลาภยศสรรเสริญ ตลอดชีวิตในเพศบรรพชิต ท่านดำรงตำแหน่งของสงฆ์เป็นเพียงเจ้าอาวาส , เจ้าคณะตำบล และเป็นพระอุปัชฌาย์เท่านั้น แต่ในความเป็นอมตเถราจารย์ผู้เข้มขลัง เรืองเวทย์พุทธาคม เกียรติคุณเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศแล้ว ประการนี้ย่อมเป็นที่ทราบกันดี อันว่าวัดหนองบัว และ วัดใต้นั้น ก้อใช่ว่าจะห่างไกลกันสักเท่าใดและหลวงปู่เปลี่ยนเองก้อย่อมประจักษ์ในสิ่งเหล่านั้น  แม้ท่านจะได้รับการศึกษาถ่ายทอดพุทธาคมจากอาจารย์ผู้เป็นพระอุปัชาย์ คือ พระครูวิสุทธิรังษี(ช้าง) มาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ด้วยเป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาสรรพวิทยาการ ศาสตร์แขนงต่างๆ อันเป็นการเพิ่มพูลความรู้ยิ่งขึ้น ซึ่งก้อเป็นปกติของพระเถราจารย์ยุคโบราณที่ปฏิบัติกันมา เมื่อมีจังหวะโอกาสก้อได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอศึกษษจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ท่านเป็นปรมาจารย์ต้นตำรับ กล่าวได้ว่าหลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์ของท่านอีกองค์หนึ่ง
      ในห้วงระยะเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้นั้น ไม่เพียงแต่พัฒนาถาวรวัตถุเท่านั้น ในด้านการศึกษา ท่านก้อได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงกับสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดคือ โรงเรียนวิสุทธิรังษี ขึ้นมาเป็นที่ศึกษาของ  ลูกหลานชาวบ้าน  ด้วยผลงานการพัฒนาที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเป็นผู้ที่มีวัตรปฏิบัติงดงาม ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
      เมื่อครั้ง พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประภาสไทรโยค เมืองกาญจนบุรี  ท่านพร้อมคณะสงฆ์ 20 รูป ได้สวดมนต์รับเสด็จที่พลับพลาประทับ ได้รับคำชมเชยจากพระองค์ว่า ?สวดมนต์เก่ง สวดได้ชัดเจน ลีลาสังโยคน่าฟัง และขับตำนานได้ไพเราะ? ได้รับของพระราชทานหลายอย่าง
                                                                                                                                     
       แม้เมื่อครั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ วัดบวรนิเวศ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์เมืองกาญจนบุรี ทรงเห็นความเป็นไปของคณะสงฆ์ มีความเรียบร้อยก้อทรงโปรด และทรงยกย่องเจ้าวัด เจ้าคณะนั้นๆ นับตั้งแต่ พระครูวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) เจ้าคระจังหวัด ลงมาตามลำดับ
       และได้เขียนบันทึกชมเชยถึงการปกครองคณะสงฆ์ของท่านพระครูวิสุทธิรังษีในฐานะเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีว่า
? หลวงพ่อฉลาดในการปกครอง แม้เมืองกาญจนบุรีจะมีอาณาเขตกว้างขวาง ก้อปกครองด้วยความเรียบร้อย....?
        ในปี พ.ศ. 2460 รัชสมัย พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวิสุทธิรังษี และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้พระราชทานนามเดิมสร้อยต่อท้ายว่า พระวิสุทธิรังษีชินศาสนโสภีสังฆปาโมกข์
       ท่านได้ชื่อว่าเป็นอมตเถราจารย์องค์หนึ่งของเมืองกาญจนบุรีที่เข้มขลัง พุทธาคมแก่กล้าศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์แลศักดาภินิหาร เป็นที่ขานเลื่องลือ ดังนั้นพิธีพุทธาภิเษก พิธีปลุกเสก ในยุคนั้นจะขาดท่านเสียไม่ได้ แม้แต่พระราชพิธีสำคัญๆท่านก้อจะได้รับการอาราธนานิมนต์เข้าร่วมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานเป็นงานพระบรมศพ รัชกาลที่ 5 งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นต้น ด้วยปรากฏหลักฐานจากพัดรอง และย่าม ที่ได้รับถวายมา เป็นสิ่งยืนยัน
ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับการแนะนำสั่งสอน ถ่ายทอดศาสตร์หลายแขนงจากท่าน มีด้วยกันหลายองค์ ล้วนเป็นพระคฯจารยที่ปรากฏเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อมา เช่น
-พระเทพมงคลรังษี(ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ซึ่งท่านผู้นี้ ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี สืบต่อจากท่าน
-พระเทพสังวรวิมล(เจีย) วัดเจริญสุขาราม สุมทรสงสราม
-พระครูธรรมวิถีสถิตย์ (โต) วัดคู้บางขันแตก สมุทรสาคร
-พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
-พระครูวัตตสารโสภณ (ก้าน) วัดใต้ กาฐจนบุรี
-พระครูวรวัฒน์วิบูลย์ วัดหวายเหนียว กาฐจนบุรี         
-พระครูยติวัตรวิบูลย์ (พรต) วัดศรีโลหะฯ กาญจนบุรี
-พระครูโสถณประชานารถ (นารถ) วัดศรีโลหะฯ กาฐจนบุรี  เป็นต้น
-พระครูวิสุทธิรังษีชินศาสนโสภีสังฆปาโมกข์ (เปลี่ยน อินทสโร ) ถึงแกมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2490 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 64 พรรษา       
                                       การสร้างวัตถุมงคล                                             
หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร ได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ทั้งประเภท พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ล้วนเป็นที่นิยมต้องการของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วไป เนื่องจากวัตถุมงคลทุกชนิดของท่านนั้น เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และก่อเกิดกฤษดาภินิหารคุ้มครองป้องกันภัยแก่ผู้นำพกพาติดตัวมาแล้วมากมายจนกลายเป็นตำนานเล่าขานสืบมาอย่างไม่รู้จบสิ้นและวัตถุมงคลเหล่านั้นประกอบไปด้วยรุ่นต่างๆดังนี้
1.เข็มกลัดวิสุทธิรังษี  สร้างเมือปีพ.ศ. 2460  ในโอกาสได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระวิสุทธิรังษี เป็นเข็มกลัดฉลุเป็นตัวอักษรคำว่า ? วิสุทธิรังษี? ด้วยเนื้อโลหะประเภท ทองฝาบาตร หรือ เนื้อทองเหลือง ความยาวตลอดข้อความ 4.5 เซนติเมตร จำนวนการสร้างไม่มากนัก ทำให้พบเห็นน้อยในปัจจุบัน
2.เหรียยรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2472 เพื่อเป็นที่ระลึก ในการทำบุญอายุครบ 67 ปี เป็นเหรียญอาร์ทปั้ม หูในตัว ห่วงเชื่อม เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง   

                                                                                                                                   
        ลักษณะเหรียญด้านหน้า  การแกะพิมพ์เป็นศิลปแบบนูนต่ำ  แต่การแกะเส้นสายรายละเอียด แกะได้ดีมาก  ตรงกลางเป็นรูปเหมือนเต็มองค์นั่งสมาธิบนฐานอาสนะแบบธรรมมาส ด้านล่างใต้ธรรมาส ระบุ พ.ศ.2472 โดยรอบปรากฏอักษรภาษาไทย จากซ้ายมือไปหาขวามือของเรา อ่านได้ใจความว่า  ? ที่ระลึกในการทำบุญอายุครบปี พระวิสุทธิรังษี วัดไชยชุมพรการบุรี ? โดยคำว่า ชุมพรการบุรี  นั้น ช่างผู้แกะบล็อคแม่พิมพ์เข้าใจผิด แทนที่จะเป็นคำว่า ชุมพลกาญจนบุรี
       ลักษณะเหรียญด้านหลัง  ผูกเป็นยันต์ลักษณะสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด จำนวนสี่ช่อง แต่ละช่องบรรจุอักขระหัวใจพระอริยสัจสี่หนึ่งตัว คือ ช่องบนคำว่า ทุ ช่องล่างคำว่า สะ ช่องซ้ายมืออ่านว่า นิ ช่องขวามืออ่านว่า มะ  โดยเหรียญรุ่นแรกดังกล่าวมานี้ มีด้วยกัน 2 บล็อค คือ บล็อคยันต์ตรง และ บล็อคยันต์เบี่ยง ด้านหน้าของทั้งสองบล็อคใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ส่วนด้านหลังมีสองบล็อคดังกล่าว
       เหรียญรุ่นแรก บล็อคยันต์ตรง เป็นเหรียญที่ส่งปั๊มในครั้งแรก มีจำนวน 999 เหรียญ ลักษณะทางด้านหลังเหรียญ ซึ่งเป็นยันต์ตารางลักษระสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น ช่องสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดทั้ง 4 ช่องจะมีเส้นเชื่อมอยู่ตรงกลาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นอกจากนั้นแต่ละช่องยันต์จะไม่ปรากฏเส้นเชื่อม ปรากฏให้เห็นเลย
       เหรียญรุ่นแรก บล็อคยันต์เบี่ยง ด้านหลังเป็นแม่พิมพ์ เดียวกันกับบล็อคตรง ส่วนด้านหลัง แม่พิมพ์เกิดการชำรุด จากการปั๊มครั้งแรก จึงได้แกะแม่พิมพ์นมาใหม่ คล้ายๆกับบล็อคยันต์ตรง เพียงแต่เส้นเชื่อมระหว่างช่วงยันต์ตรงกลาง มีลักษณะค่อนข้างจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตตุรัส พร้อมทั้งปรากฏร่องรอยของการแกะพิมพ์พลาด กลายเป็นเส้นเชื่อมระหว่างช่องยันต์ขึ้น ทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง ซึ่งบล็อคยันต์เบี่ยงนี้ เป็นการสั่งทำเพิ่มเติมจากครั้งแรก เนื่องจากจำนวนไม่พอแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ที่มาร่วมงาน สั่งทำเพิ่มจำนวน 999 เหรียญ รวมทั้งสองครั้ง เหรียญรุ่นนี้จึงมีทั้งสิ้น 1,998 เหรียญ
       3.พระเนื้อผงรูปไข่ สร้างในปี พ.ศ. 2475 ลักษณะคล้ายกับว่าจะทำเป็นเหรียญ   ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนเส้นตรงครึ่งองค์ภายในเส้นซุ้ม ด้านหลังเป็นตัวอักษรจำนวนสองแถว อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ และ อุด ปัด ปิด ภายในเส้นกรอบ
       4.เหรียญรูปไข่เนื้อเงินลงถม สร้างปี พ.ศ. 2483 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ เหนือขอบเหรียญด้านล่างจาลึกอักษรภาษาไทยคำว่า ? วิสุทธิรังษี ? ถัดขึ้นไปเป็นอักษรภาษาขอม รวมถึงเหนือไหล่บริเวณด้านซ้าย และด้านขวาด้วย ด้านหลังของเหรียญรุ่นนี้หลังเรียบ
       5.แหวนเนื้อเงินลงถม สร้างในคราวเดียวกันกับเหรียญรูปไข่ลงถม คือ ปี พ.ศ. 2483
       6.ตะกรุดลูกอม สำหรับวิชาการสร้างตะกรุดลูกอมนี้ ท่านได้เรียนมาจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ผู้เป็นปรมาจารย์ต้นกำเนิดของวิชานี้ ลงด้วยพระคาถาหัวใจโลกธาตุ เสร็จแล้วม้วนเป็นวงกลม
ซึ่งตะกรุดลูกอมดังกล่าวนี้ หากท่านทำขึ้นเพื่อเอาไว้แจกเองเป็นการส่วนตัว ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อฝาบาตร หากว่ามี 
ผู้มาขอให้ท่านทำให้ ท่านจะให้ผู้ขอไปจัดหาวัสดุมาเอง วึ่งที่สุดผู้ขอจะหาแผ่นโลหะชนิดใดมาให้
ดังนั้นลูกอมของท่านจึงมีด้วยกันหลายเนื้อ เช่น ทอง นาก เงิน ทองแดง และฝาบาตร เป็นต้น
      นอกจากวัตถุมงคลต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีวัตถุมงคลอีกหลายชนิดที่ท่านได้สร้าง และแจกจ่ายให้กับบรรดาศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นประเภทเครื่องรางของขลังประกอบไปด้วย เสื้อยันต์ , ผ้ายันต์ ,ผ้าประเจียด ,ธงมหารูด ,หนังหน้าผากเสือ , ชานหมาก , และตะกรุดหลายขนาดต่างๆ เป็นต้น[/size]

( ที่มาข้อมูลจากหนังสือ เบญจพระคราจารย์  สนพ.คเณศ์พร )

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
- ขอขอบคุณฯที่นำมาให้ชมครับ


 :114:

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ออกมา2ภาครวดเลยครับ วันนี้ ไม่เสียแรงที่รอคอยชมครับ ขอบคุณครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ แน่นอนครับต้องเรื่องคงกระพันชาตรีมาเป็นลำดับแรก ขอบคุณประวัติพร้อมภาพวัตถุมงคลประกอบมากนะครับ มีวาสนาได้ตะกรุดลูกอมมาบูชานี่จักเป็นมงคลแก่ชีวิตอย่างที่สุดครับ  :002: :053:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
กราบนมัสการหลวงปู่เปลี่ยนครับ ..  ชัดเจนครับ  ให้ดี หาของดีทั้งสองวัดเลย   

เจ้าชู้เก่้งๆ ต้องเหนียวด้วยครับ  อุ่นใจดี


ขอบคุณพี่ปอร์มากๆครับ  :004: :004:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ ที่นำมาให้ชมและจะติดตามต่อไป ...  :089:

ออฟไลน์ ณ.อยุธยา

  • "รักแม่มากครับ"
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1374
  • เพศ: ชาย
  • "ชาติหน้า-ไม่ขอ-มาเกิด"
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุนข้อมูลดีดีนะครับผม :114: