ผู้เขียน หัวข้อ: 5 เบญจพระคณาจารย์ ยิ้ม- เหรียญ -เปลี่ยน- ใจ -ดี (ภาคสาม)  (อ่าน 8162 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
หลวงปู่ดี  พุทธโชติ  (พระเทพมงคลรังษี)   วัดเทวสังฆาราม(เหนือ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
      พระเทพมงคลรังษี หรือ หลวงปู่ดี พุทธโชติ  อมตคณาจารย์ขลังแห่งลำน้ำแม่กลองที่เกียรติคุณชื่อเสียงลือกระฉ่อนไปทั่วลำน้ำ
ท่านเป็นพระเถราจารย์ผู้อุดมไปด้วยเมตตา ดังนั้นความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคล จึงหนักไปทางเมตตา มหานิยม เป็นสำคัญ
       ดังสร้อยนาม คำขวัญ ที่ว่า ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ  ถ้าเป็นไอ้เสือต้องวัดใต้ อย่างไรก้อตาม ทั้งหลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร แห่งวัดใต้และหลวงปู่ดี พุทธโชติ แห่งวัดเหนือ ล้วนเป็นพระเถราจารย์ผู้เข้มขลัง มีลูกศิษย์ลูกหา ผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก ในคราวพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ในการสร้างครั้งที่ 4 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิตร เมื่อวันที่ 2 ก.ค. พ.ศ. 2481 ขณะนั้น หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร ดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระวิสุทธิรังษี และหลวงปู่ดี พุทธโชติ ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูอดุลสมณกิจ
       หลวงปู่ดี พุทธโชติ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2416 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ณ บ้านทุ่งสมอ ต.ทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นบุตรของ นายเทศ นางจันทร์ นามสกุล เอกฉันท์
มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นคนที่ 7 มีรายนามดังนี้
1.นางตุ้ม คล่องแคล่ว
2.นางหงิม บุญะนวงศ์
3.นายโต เอกฉันท์
4.นายปลอด เอกฉันท์
5.นายชุ่ม เอกฉันท์
6.นายแฉ่ง เอกฉันท์
7.นายดี เอกฉันท์(หลวงปู่ดี  พุทธโชติ)
8.นายแจ้ เอกฉันท์
9.นางเงียบ พ่วงกุล
ปีพ.ศ.2432 อายุ 18 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่งสมอ มีท่านพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนสามารถอ่านออกเขียนได้ และบรรพชาอยู่ได้ 6 เดือน
ก้อลาสิขาบท กลับมาช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพ
       ปีพ.ศ.2437 อายุครบได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งสมอ มีท่านพระครูสุทธิรังษี (ช้าง วัดบ้านทวน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ  เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ (ขณะเป็นพระใบฎีกา) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับนามฉายาว่า พุทธโชติ
       พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ มีศักดิ์เป็นปู่ท่าน อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ของ หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้
       พรรษาแรก ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดทุ่งสมอ ฝึกฝนท่องบทสวดมนต์ และ พระปฏิโมกข์ โดยพยายามจะท่องให้จบ แต่เนื่องจากสมัยนั้น หาพระที่สวดพระปฏิโมกข์จนจบได้ยาก สำหรับตำราก้อหายาก หากมีก้อล้วนแต่เป็น 
อักขระภาษาขอม จึงต้องใช้วิธีขอต่อ(เรียนปากเปล่า) จากพระที่สวดได้วันละเล็กละน้อย จนสามารถท่องได้ถึงครึ่งหนึ่ง
           
      หลังออกพรรษา ได้ไปเรียนวิปัสนากรรมฐาน กับท่านอาจารย์อิน วัดห้วยสะพาน พร้อมกับพระภิการูปอื่นๆ เรียนอยู่ประมาณ 15 วัน ก้อยุติเพราะมีกำหนดเท่านั้น
      พรรษาที่ 2 ท่านสามารถท่องและสวดพระปาฏิโมกข์ ได้จนจบครบถ้วนสมบูรณ์  หลังออกพรรษาได้ออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุ 3 รูป และฆราวาสอีก 1 คน เมื่อถึงจังหวัดอ่างทอง ท่านเกิดอาพาธ พักรักษาตัวอยู่ 6 วันจึงทุเลา และออกเดินทางต่อ และกราบนมัสการหลวงพ่อโต วัดเกศไชโย พระพุทธบาท สระบุรี แล้วจึงเดินทางกลับสู่วัดทุ่งสมอ
      พรรษาที่ 3 ได้ไปเรียนวิปัสนากัมมัฏฐานกับท่านอาจารย์เกิด วัดกกตาล ซึงการเรียนครั้งนี้มีกำหนดการเพียง 7 วันเท่านั้น เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางกลับวัดทุ่งสมอเหมือนเดิม
      พรรษาที่ 4 ได้พำนักจำพรรษายังวัดใต้ (ไชยชุมพลชนะสงคราม) กับหลวงปู่เปลี่ยน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระในฎีกา
      พรรษาที่ 5 พำนักยังวัดรังษี (ปัจจุบันเป็นคระรังษี-รวมกับวัดบวรนิเวศฯ) ศึกษาบาลีกับท่านอาจารย์สี แต่เรียนไปได้เพียงผูกเดียว คือสนธิ อาจารย์ผู้สอนก้อลาสิกขาบทเสียก่อน ตลอดพรรษานี้ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดรังษี
      หลังจากออกพรรษาแล้วจึงเดินทางกลับมายังวัดทุ่งสมอ และได้พบกับท่าน อาจารย์ชื่น มาจากอำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี ได้แนะนำในเรื่องการศึกษาและการปฏิบัติ ซึ่งท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และได้ติดตามอาจารย์ชื่น อยู่ระยะหนึ่ง
      พรรษาที่ 6 จำพรรษายัง วัดโบสถ์ นนทบุรี ได้แสดงความสามารถในการสวดมนต์ และ สวดพระปาฏิโมกข์ จนได้รับคำชมเชย
      ภายหลังออกพรรษา ได้มาพักที่วัดสังเวช บางลำพู กรุงเทพฯ อยู่ประมาณ 3 เดือน ทราบข่าวว่าพี่ชายได้เสียชีวิต จึงรีบเดินทางกลับไปจัดการเรื่องศพให้และจำพรรษายังวัดทุ่งสมอตามเดิม
       ในห้วงเวลานี้ ท่านอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ผู้มีศักดิ์เป็นปู่ของท่านได้มรณะภาพไปนานแล้วและวัดทุ่งสมอ มีเจ้าอาวาสผลัดเปลี่ยนกันมาหลายองค์
       พรรษาที่ 7 -8  ขณะที่วัดทุ่งสมอ มีท่านหลวงพ่อทา เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งชาวบ้านได้นิมนต์มาจากวัดหนองขาว ท่านได้ช่วยเหลือในการแนะนำสั่งสอนในด้านการสวดมนต์และการปฏิบัติ แก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด
       เมื่อออกพรรษาถึงกาลกฐิน หลวงพ่อทา ได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้รับกฐิน และโดยพื้นฐานท่านเป็นผู้มีความรู้ด้านเชิงช่างอยู่บ้าง เห็นว่ากุฏิและหอฉัน ยังค้างอยู่ไม่แล้วเสร็จได้ชักชวน ภิกษุ-สามเณร เข้าป่าเลื่อยไม้มาสร้างต่อ จนแล้วเสร็จสมบูรณ์
       พรรษาที่ 9  ก่อนเข้าพรรษา มีงานอุปสมบทที่วัด และ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว มาเป็นพระอุปัชฌาย์ ประจวบกับ ท่านหลวงพ่อทา  เกิดอาพาธ ไม่สามารถสวดนาคได้ หลวงปู่ยิ้ม จึงได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ซึ่งเรื่องนี้ท่านเคยปฏิเสธมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ไม่สามาารถหลีกเลี่ยงได้ สวดไปได้ชุดหนึ่งก้อเป็นที่ถูกใจของหลวงปู่ยิ้มมาก โดยได้กล่าวชมท่ามกลางสงฆ์  แต่นั้นมาท่านจึงเป็นพระคู่สวดตลอดมา
       พรรษาที่ 12 ได้มาอยู่วัดรังษีอีกครั้ง ด้วยตั้งใจจะศึกษาภาษาบาลีเพิ่มเติม  แต่ก้อไม่ได้เรียน จึงหันไปเรียนปาฏิโมกข์แปลแทน
       หลังออกพรรษา ติดตาม พระครูสิงคบุรคณาจารย์ (สุด วัดเหนือ) ไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองประเทศพม่า ขากลับได้แวะส่งท่านพระครูสิงคิฯ ที่วัดเทวสังฆาราม(เหนือ) แล้วท่านจึงได้เดิน ทางกลับวัดรังษีตามเดิม
       อีกประมาณ 2 ปี หลวงปู่สุด วัดเหนือ (พระครูสิงคิบุรคณาจารย์ -ภายหลังท่านมรณภาพ สมณศักดิ์นี้ ได้เปลี่ยนเป็น พระครูสิงคิคุณธาดา และ ล.พ.ม่วง วัดบ้านทวน กาญจนบุรี เป็นผู้ได้รับพระราชทานเป็นองค์แรก) ได้ล้มป่วย

ขอร้องท่านให้มาจำวัดที่วัดเหนือ หรือวัดเทวสังฆรามนั้นเอง
     เมื่อท่านมาอยู่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สวดปาฏิโมกข์ เทศนาโปรดญาติโยมแทน ต่อมาท่านหลวงปู่สุด ได้ถึงแก่มรณภาพ และท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปีพ.ศ.2454
      ปีพ.ศ.2455 ท่านพร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดเทวสังฆราม อันมี พระหรุง (ต่อมาเป็นพระปลัดหรง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ) พระฮวย , พระหัง , พระไพ่ เป็นแกนนำ ได้พร้อมใจกันเปลี่ยนการห่มผ้า(ครองผ้า)จากแบบเดิมเป็นห่มแหวก และประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดยิ่งขึ้น และปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน
      ครั้ง สมเด็จพระมหามณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อทรงเห็นการปฏิบัติของคณะสงฆ์วัดเทวสังฆราม ได้ทรงยกย่องเป็นตัวอย่าง แก่ บรรดาวัดทั้งหลาย และได้ทรงตรัสถามถึงเรื่องต่างๆท่านได้กราบทูลตามที่ปฏิบัติมา ได้ทรงตรัสตอบว่าถูกต้อง
      เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เสด็จตรวจการยังวัดอื่น รวมถึงจังหวัดอื่น ก้อได้ทรงแนะนำ ให้ดูตัวอย่าง วัดเทวสังฆราม ทั้งยังเคยปรากฏมีผู้นำดูตัวอย่างการปฏิบัติด้วย
      ดังปรากฏในบันทึกที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ ในมณฑลราชบุรี พ.ศ.2458 ความตอนหนึ่งว่า ...วัดเทวสังฆราม ที่เสด็จทอดพระเนตรวันนี้ คนพื้นเมืองเรียกวัดเหนือเพราะตั้งอยู่เหนือเมืองขึ้นไป ที่ลานกว้าง มีต้นไผ่ร่มรื่น พื้นรักษาเตียนดี มีของก่อสร้างเป็นสิ่งเป็นอัน รักษาสะอาดเอี่ยม มีพระสงฆ์ 29 รูป เป็นมหานิยมแผลงปฏิบัติเคร่งครัด พระอธิการดีเป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้คล่องแคล่วเอาการเอางาน...
      หมายเหตุทั่วไป ฯลฯ ในเมืองนี้ มีพระมหานิกาย  แผลงปฏิบัติเคร่งครัด ไม่เป็นแต่เพียงห่มแหวก ความปฏิบัติและกิจวัตรดีพร้อม ความสามัคคีในพวกเดียวกันก้อดีด้วย อนาคตของพระนิกายได้เช่นนี้จักเป็นดี ...
       การประพฤติปฏิบัติของคระสงฆ์ วัดเทวสังฆรามดังกล่าวนั้น ขนบธรรมเนียมและระเบียบปฏิบัติ ได้ที่ดีอยู่แล้ว ก้อใช้ต่อไป หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ก้อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ดีขึ้น ทั้งยังส่งเสริมการศึกษาด้านพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี โดยได้ส่งพระภิกษุ-สามเณร เข้าเรียนนักธรรมชั้นตรี ที่กรุงเทพฯ เมื่อสอบได้ก้อให้กลับไปสอนนักธรรมชั้นตรีที่วัดรวมทั้งได้พยายามหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้มาช่วยสอนอีกด้วย โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2460 เป็นต้นมา
        งานด้านการพัฒนาวัด ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ถือได้ว่า วัดเทวสังฆราม ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีความเจริญรุ่งเรือง เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ หลักๆที่สำคัญคือ
        1.โรงเรียนเทวกุล เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น มีมุขกลาง ไว้สำหรับเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างเมื่อพ.ศ.2473
        2.สร้างพระอุโบสถ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง เป็นเวลานาน
        3. สร้างศาลาการเปรียญ ภ.ป.ร. เป็นศาลาคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ยกพื้นสูง เพื่อเป็นพลับพลารับเสด็จ ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินต้น ปีพ.ศ.2506 หน้าบัน ได้รับพระบรมราชานุญาต ประดิษฐาน พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.
        ศาลาแห่งนี้ออกแบบ โดย นายอุ่ณห์ เศวตมาลย์ จากกรมศิลปกร
        4.ฌาปณสถาน โดยที่ทางวัดยังไม่ฌาปณสถาน ภายหลังปี2506 ได้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์   
เพื่อบูชาพระบูชา ภ.ป.ร. เป็นจำนวนมาก จึงได้เริ่มก่อสร้างตามแบบของ หลวงวิศาล ศิลปกรรม เป็นฌาปณสถานทรงไทย มีสามมุข เสร็จเรียบร้อยต้นปีพ.ศ.2508 
        สร้างอาคารเรียน ด้วยในปีพ.ศ.2508กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติ เงินงบประมาณ จำนวน 300,000 บาท

                                                                                                                       
         เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ของโรงเรียนเทวสังฆราม ท่านเห็นว่าควรสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้น
และคณะกรรมการเห็นชอบตามนั้น สิ้นเงิรค่าก่อสร้างประมาณ 670,000 บาทเศษ และอื่นๆอีกมากมาย
         พระมหากรุณาธิคุณ ที่วัดเทวสังฆรามได้รับ
         1.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สถาปนาเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2505
         2.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯพระราชทานนามพระประทานในพระอุโบสถว่า ?พระพุทธสุทธิมงคล?
         3.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดิษฐาน พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ณ หน้าบันศาลาการเปรียบ
         4.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินต้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2506 เป็นครั้งแรกที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน จังหวัดนี้ ได้โปรดเกล้าฯพระราชทาน พระปรมาภิไธย ของทั้งสองพระองค์ จารึกบนแผ่นหินอ่อน ประดิษฐานยังผนังด้านในของพระอุโบสถ ทรงปลูกต้นโพธิ์จากพุทธคยา ด้านหน้าพระอุโบสถ
          5.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาต อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. จารึกเหนือฐานผ้าทิพย์ พระพุทธบูชาปางประทานพร และยังทรงรับรองแผ่นทอง นาค เงิน ใส่ลงไปในเบ้าหลอมทุกเบ้า ในการเททองหล่อครั้งนั้น
           ด้วยพระบารมี พระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นดังกล่าว ทำให้วัดเทวสังฆราม ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยทุนทรัพย์จากผู้บริจาคในการดังกล่าว
                ตำแหน่งด้านการปกครอง
-พ.ศ. 2554 เป็นเจ้าอาวาสวัดเทวสังฆราม (วัดเหนือ)
-พ.ศ. 2461-2465 เป็นเจ้าคณะแขวงท่ามะกา (เจ้าคณะอำเภอ)
-พ.ศ.2466 เป็นพระอุปัชฌาย์
-พ.ศ. 2469-2490 ป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
-พ.ศ.2490-2510 เป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
               สมณศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทาน
-พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระครูอดุลเสมณกิจ
-พ.ศ. 2490 ได้รับพะรราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระวิสุทธิรังษี
-พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระมงคลรังษีวิสุทธิ์(ชั้นราช)
-พ.ศ. 2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระเทพมงคลรังษี (ชั้นเทพ)
        หมายเหตุ ท่านเป็นพระเถรานุเกระองค์แรกของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ชั้นเทพ
ที่ พระเทพมงคลรังษี ดังกล่าวปกติท่านจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง แม้อายุมากกว่า 80 ปีแล้ว บางครั้งยังออกไปจำพรรษาตามถ้ำหรือเขาต่างๆ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี น้อยนักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านเคยป่วยอาพาธครั้นรุนแรงสุด เมื่อปีพ.ศ. 2489 ด้วยโรคบิด แลสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นวัฎจักร ไม่มีใครหนีพ้นไปได้
        ต้นปีพ.ศ. 2506 ท่านได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา ด้วยโรคตับอักเสบ เมื่อหายดีแล้วจึงกลับวัด และด้วยปีนี้ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินต้น งานด้านการบูรณะวัดต้อนรับทำเป็นการด่วน ภายใต้การอำนวยการของท่านทำให้สุขภาพของท่านทรุดลงไปบ้าง และบ่นว่าเจ็บคอ

                                                                                                                                   
      เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 คณะศิษย์ได้พามาตรวจที่โรงพยาบาลศิริราชพบว่า เป็นแผลเรื้อรังที่โคนลิ้น จึงพักอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯเพื่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช จนถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 จึงกลับวัด
       วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2509 อาการป่วยทวีความรุนแรงขึ้นคณะศิษย์ได้พาเข้ารับการรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลศิริราช จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 จึงได้เดินทางกลับ
       อาการป่วยของท่านในห้วงขระนี้ ยังทรงอยู่เรื่อยๆ ไม่มีอาการดีขึ้นในเดือน เมษายน พ.ศ. 2510 ท่านได้ปรารภว่า ช่อฟ้าใบระกาของพระอุโบสถ ซึ่งของเดิมทำด้วยไม้สัก บัดนี้ได้ชำรุดผุพัง เกรงจะเป็นอันตรายแก่พุทธศาสนิกชนผู้มาทำบุญ อีกทั้งไม่สวยงาม อยากให้เปลี่ยนใหม่ทำด้วยปูน และกำชับทำให้เสร็จเร็วๆ
       คณะกรรมการจึงรับคำดำเนินการอย่างเร่งด่วน งานจวนจะแล้วเสร็จ และแล้ว ในวันอาทิตย์ ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2510 เวลาประมาณ 23.00น. ขณะให้น้ำเกลือจวนจะหมด ท่านได้ถึงมรณภาพด้วยอาการสงบในเวลา 23.15 น. รวมสิริอายุได้ 95 ปี 73 พรรษา
                                                    การสร้างวัตถุมงคล
พระเทพมงคลรังษี (หลวงปู่ดี พุทธโชติ ) ในด้านวัตถุมงคลของท่าน มีการจัดสร้างเอาไว้ไม่มากนัก ด้วยส่วนใหญ่ท่านจะเน้นหนักไปทางด้านการสั่งสอนและพัฒนาวัดวาอาราม สถานศึกษาต่างๆที่อยู่ ในเขต การดูแลปกครอง
แต่ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ด้านพุทธาคมนั้นท่านก็ไม่ด้อนกว่าอมตะเถราจารย์ท่านใดในลุ่มแม่กลอง หรือ แม้แต่ภูมิภาคอื่นๆ ด้วยท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาเรียนรู้ในศาสตร์ทุกแขนง ทั้งยังนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ด้วยถือว่าท่านนั้น เป็นศิษย์สายตรงของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัวและยังได้สึกษาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร รวมมั้งองค์อื่นๆอีกหลายองค์ ทำให้ท่านมีความรอบรู้และพุทธาคมเข้มขลัง ยากจะหาใครเทียบได้
วัตถุมงคล ของท่านที่สร้างเอาไว้ พอจะรวบรวมได้ดังนี้
วัตถุมงคลยุคแรก ในช่วงปีพ.ศ 2484 ไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศษและกลิ่นไอแห่งสงคราม ครั้งที่ 2 เริ่มปทุ ครั้งนั้น พลเอก พระยาพหลพยุทเสนา ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและเลี่ยมใสศรัทธาในท่านมาก ได้ขออนุญาติสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารหาญที่ไปราชการสงคราม รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจกันหลายชนิดเช่น
พระพุทธชินราช เป็นรูปจำลองจากหลวงพ่อพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า พระพุทธสุทธิมงคล เป็นพระหล่อประเภทหล่อโบราณ สัณฐานรูปทรงสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งปานมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้วบนฐานบัวสองชั้น
ลักษณะโดยทั่วไปจึงคล้ายกับ พระพุทธชินราชของวัดสุทัศน์ฯมาก ภายหลังจึงนิยมเรียก พระพุทธชินราช ด้านหลังแบนเรียบ และปรากฎอักขระ ตัวนะ ภายในเส้นครอบ ลักษณะหล่อในตัวจมลงไปในเนื้อ         
เป็นพระเนื้อโลหะผสม
พระกริ่งพุทธโชติ เข้าใจว่าสร้างพร้อมกับพระพุทธชินราช ลักษณะเป็นพระกริ่งเขมร ฐานบัวฟันปลา พระหัตก์ซ้านอุ้มบาตร พระหัตก์ขวาถือดอกบัว ใต้ฐานคว้านลึกเป็นถ้วยมีเลข ๑ ไทย และกากะบาด เป็นเนื้อโลหะผสม อุดกริ่งบริเวณสะโพก นอกจากเนื้อโลหะผสมแล้วยังพบเป็นเนื้อดินเผาไม่ตัดปิ่ก หลังอูม ปรากฎตัว อุณาโลมกดจมลงในเนื้อ ลักษณะเป็นเนื้อดินละเอียด มีสีดำและสีแดง
พระขุนแผนเนื้อดิน ถอดแบบและเค้าโครงมาจาก พระขุนแผนกรุบ้านกร่าง ด้านหลังเรียบ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินสีแดง
พระรอดเนื้อดิน ถอดแบบเค้าโครงมาจากพระรอดลำพูน ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินสีดำ ด้านหลังปรากฏ อุณาโลม กดจมลงไปในเนื้อ -
       
                                                                                                                                   
พระเนื้อดินของท่านนั้น นอกจากสามพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายพิมพ์ซึ่งพระเนื้อดินดังกล่าวนี้ ดินที่นำมาสร้างมีส่วนผสมของพระกรุเนื้อดินที่ชำรุดแตกหัก หลายกรุหลายพิมพ์ ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก และพระพิมพ์ต่างๆเหล่านี้ มักไม่ค่อยมีผู้รู้จักแพร่หลายนัก เอกลักษณ์ประการหนึ่งที่มักพบในพระเนื้อดินของท่าน คือ ด้านหลัง จะปรากฏตัว อุณาโลมกดจมลงไปในเนื้อ
พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ เป็นพระหล่อโบราณครึ่งซีก ถอดเค้าโครงมาจากพระท่ากระดานด้านหลังมีอักขระตัว นะ ปรากฏอยู่หนึ่งตัว มีส่วนผสมของพระท่ากระดานที่ชำรุดแตกหักอยู่เป็นจำนวนมาก
พระท่ากระดาน พิมพ์เล็ก เป็นพระปั้มสร้างจากเนื้อโลหะประเภททองแดง ด้านหลังตก ตัวอิ
เหรียญพระพุทธชินราช พิมพ์เสมา ปี2485 ด้านหน้าองค์พระพุทธประทับบนฐานบัวภายใต้ซุ้มพญานาค ตามลักษณะของพรพพุทธชินราช ด้านล่างเป็นอักขรภาษาขอม มักติดไม่ค่อยชัดเจนนัก อ่านว่า กะภะวิ  กะสะ   อิวะสะโรโรเหมือนรูปเหมือน รุ่นแรก เป็นเหรียญทรงน้ำเต้า คล้ายกับเหรียญอาร์มอยู่พอประมาณปรากฏเฉพาะเนื้ออัลปาก้า ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ ด้านหลังจารึกอักษรภาษาไทยว่า พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆราม ด้านหลัง ช่วงบนอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า อิสวาสุ ถัดมาเป็นอักษรภาษาไทย 4 แถว อ่านว่า อิสวาสุ ถัดมาเป็นอักษรภาษาไทย 4 แถว อ่านว่า อนุสรณ์ชั้นเทพ , ๕ ธ.ค.๐๗ , ฉลองอายุ ๙๑ ปี , ๒๙ ม.ค. ๐๘ ,ตามลำดับ
เหรียญกลมพระพุทธชินราช เป็นเหรียญกลมขนาดค่อนข้างเขื่องด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธสุทธิมงคล ซ้ายขวาประดับด้วยลายกนก อักษรภาษาไทยโดยรอบอ่านว่า พระพุทธสุทธิมงคล วัดเทวสังฆราช พระอารามหลวง ด้านหลังเป็นรูปช้าง เอราวัณรองรับมณทปประดับด้วยฉัตรเงิน ฉัตรทอง อักษรไทยโดยรอบอ่านว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๖ ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐินครั้งนี้ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติ  ให้ประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. เหนือบานผ้าทิพย์ พระพุทธรูปปางประทานพร ที่ได้จัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการนี้ด้วย มีขนาดหน้าตัก 5 และ 9 นิ้ว
ตะกรุดลูกอม หรือตะกรุดโลกธาตุ วิชานี้ท่านได้รับถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ยิ้ม และหลวงปู่เปลี่ยน มีเนื้อ ทองคำ เงิน ทองแดง
ผ้ายันต์ ทำจากผ้าสีแดง มีขนาดประมาณ 7 นิ้ว และอื่นๆ
พระกรุวัดเทวฆราม (วัดเหนือ) วัตถุมงคลของวัดเทวสังฆราม หรือ วัดเหนือ นั้นนอกจากจะเป็นวัตถุมงคลที่ท่านหลวงปู่ดีสร้างเอาไว้แล้ว ณ วัดแห่งนี้ ยังปรากฏมีการค้นพบพระกรุ ถึงสองครั้งสองคราด้วยกัน ภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ด้านข้างพระอุโบสถหลังเก่า
ครั้งแรก ปีพ.ศ. 2506 ขณะที่หลวงปู่ดียังมีชีวิตอยู่มูลเหตุของการค้นพบด้วยมีการเจาะพระเจดีย์องค์ดังกล่าวเพื่อบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ
ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2511 ได้มีการขุดเจาะพระเจดีย์ เพื่อบรรจุวัตถุมงคลของหลวงปู่ดี อดีตเจ้าอาวาส
พระกรุวัดเทวสังฆรามนั้น เป็นพระที่มีอายุการสร้างอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป แต่วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวสมัยรัชกาลที่ 3 ดังนั้นพระที่บรรจุอยู่ จึงเป็นพระที่นำมาจากที่อื่น มาบรรจุไว้ในคราวการสร้างวัด หรือ บูรณะวัด อย่างหนึ่งอย่างใดเป็นแน่
พระกรุวัดเทวสังฆรามส่วนใหญ่เป็นเนื้อชินสนิมแดง มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายสิบพิมพ์ ปัจจุบันเป็นพระเนื้อชินยอดนิยมอีกกรุหนึ่งของวงการ ที่เป็นพระบูชาต่างๆก้อพบบ้างแต่ไม่มากนัก
    แจ๋วหลบ จบบริบูรณ์ [@-@]  (อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ พระเครื่องยอดนิยมประจำจังหวัด กาญจนบุรี)


(ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก...คุณกานต์และสำนักพิมพ์คเณศ์พร)

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
เจ้าชู้ต้องวัดเหนือ จริงๆครับ


เพราะวัดใต้หนักไปทางคงกระพันมากกว่า


ขอขอบคุณฯท่าน porvfc สำหรับข้อมูลครับ


 :114:

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับพี่ปอ สำหรับข้อมูล

ออฟไลน์ salapao

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 84
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ

เกิดเป็นคน...อย่าคิดว่าตนเป็นเทวดา

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ รอชมมานานแล้วครับพี่ครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
" เจ้าชู้วัดเหนือ เสือวัดใต้ " เป็นศัพท์ที่นักเลงพระ หรือผู้ที่นิยมพระเครื่องรวมถึงเครื่องรางของขลังมักพูดกันติดปาก วัตถุมงคลของสายนี้สุดจะบรรยายจริงๆครับ เป็นตำนานจากรุ่นสู่รุ่น หลวงปู่ดี วัดเหนือ ท่านเก่งมากครับ ชอบพระปิดตามากเลยครับ ขอบคุณน้อง porvfc สุดที่เลิฟด้วยนะครับสำหรับประวัติพร้อมภาพประกอบ ข้อมูลแน่นมากๆเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มิ.ย. 2552, 08:48:21 โดย สิบทัศน์ »

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณพี่ปอร์จังที่เอาข้อมูลมาให้อ่านกันครับ

ชอบอ่านครับ ได้ความรู้ดีครับ

สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มิ.ย. 2552, 09:29:51 โดย ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞ »
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
วัตถุมงคลงามจังครับ ชอบพระปิดตามากทีเดียว สาธุ งดงามยิ่ง ...  :089:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณพี่ปอร์นะครับสำหรับข้อมูลครับ

ออฟไลน์ ณ.อยุธยา

  • "รักแม่มากครับ"
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1374
  • เพศ: ชาย
  • "ชาติหน้า-ไม่ขอ-มาเกิด"
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุนสำหรับข้อมูลครับผม :114:

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่เปี่ยมด้วยสาระมากๆครับผม  :053:
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

ออฟไลน์ [= Jo_o* =]

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 862
  • เพศ: ชาย
  • =ลูกศิษย์วัดบางพระคนหนึ่ง=
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ว่าแต่เจ้าของกระทู้นี่ ไปวัดเหนือหรือวัดใต้ล่ะคะ    :095:
[shake]หากอยากจะเป็นผู้รับ ท่านต้องเริ่มจากการเป็นผู้ให้เสียก่อน[/shake]

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ว่าแต่เจ้าของกระทู้นี่ ไปวัดเหนือหรือวัดใต้ล่ะคะ    :095:

ว่าจะไปวัดใต้ก่อนค่ะ(ขอให้หนังเหนียวไว้ก่อน) แล้วค่อยไปวัดเหนือ (สนใจจะไปด้วยกันไหมคะ) เผื่อเฮียจะได้แฟนกะเค้าซักที คริ คริ :004: