ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึกปฏิบัติอิริยาบถ 4  (อ่าน 3823 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
การฝึกปฏิบัติอิริยาบถ 4
« เมื่อ: 25 ก.ค. 2552, 12:11:52 »
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 275 หน้า 211-212 มหาสติปัฏฐานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------
กายานุปัสสนา
อิริยาบถบรรพ
[ ๒๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า
เรายืน หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้ แล้วอย่างใดๆ
ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง
สักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้
จบข้อกำหนดว่าด้วยอิริยาบถ
 

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การฝึกปฏิบัติอิริยาบถ 4
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ก.ค. 2552, 12:15:20 »
เมื่อวันก่อนผมได้สอบถามเรื่องนี้กับพระอาจารย์ ซึ่งได้รับคำอธิบาย ซึ่งขออณุญาติมาเผยแผ่ให้เพื่อนๆได้ทำความเข้าใจเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติน่ะครับ
เจริญพรโยมตี๋...
                   พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า การปฏิบัติธรรมต้องเสมอกันในอริยาบททั้งสี่
คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องมีสติเสมอกัน อยู่ในกรรมฐานกองเดียวกัน (คำว่าเสมอกันไม่ใช่เวลา)
การปฏิบัติที่เข้าสู่สมาธิได้เร็วที่สุดคือการนอน แต่สมาธินั้นตั้งอยู่มิได้นาน เพราะนิวรณ์ตัว
ถีนมิทธะจะเข้าครอบงำ ทำให้เผลอสติหลับไป การนั่งจะเข้าสู่สมาธิช้ากว่าการนอน แต่จะทรงอยู่ได้นานมากกว่าการนอน  การยืนจะเข้าสู่สมาธิช้ากว่าการนั่ง แต่จะทรงอารมณ์ได้นานกว่าการนั่ง
การเดินเป็นการเข้าสมาธิที่ยากที่สุด แต่ถ้าเข้าได้แล้วจะทรงไว้และมั่นคงที่สุด
                ที่เราต้องปฏิบัติในทุกอริยาบทก็เพราะ  ประการแรกเป็นการฝึกจิตให้เข้าสู่ความสงบนิ่งให้ได้ในทุกขณะจิตในทุกอริยาบท เพราะชีวิตของเรานั้นไม่ได้นั่งเพียงอย่างเดียว มียืน มีเดิน
มีนั่ง มีนอน ...ประการที่สองก็คือ การปฏิบัติท่านั่งนั้น สมาธิจะมีกำลังมากกว่ากำลังของสติ การที่เราเดินนั้นเพื่อให้เกิดความพอดี ระหว่างกำลังของสติและกำลังของสมาธิสมาธิ....ประการที่สาม
เป็นการบริหารขันธ์ เพื่อให้เลือดลมที่ติดขัด เส้นเอ็น เส้นประสาทได้คลายตัว เพราะบางครั้งเรานั่งนานไป และไปกดทับเส้นประสาท เส้นเลือดนานเกินไป ซึ่งอาจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ได้
เราจึงต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อบริหารขันธ์ ในอริยาบทต่างๆ
  ข้อควรจำสำหรับการปฏิบัติ
.....ศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ความโลภจะเข้าครอบงำ....
....ปัญญามาก แต่ศรัทธาหย่อน ความสงสัยลังเลจะเข้าครอบงำ....
....วิริยะความเพียรกล้า สมาธิหย่อน ความฟุ้งซ่านจะเข้าครอบงำ...
....สมาธิกล้า วิริยะหย่อน ความง่วงจะเข้าครอบงำ...
 สติเป็นตัวเข้าไปปรับอินทรีย์พละให้มีกำลังเสมอกัน
การฝึกสติที่เราสามารถจะได้ได้ทันมากที่สุดก็คือการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการเดินจงกรม
เป็นการฝึกเพิ่มกำลังของสติ เพื่อที่จะไปปรับอินทรีย์พละของเราให้เสมอกัน...
                                  ขอเจริญพร
                    พระอาจารย์ เมสันติ์  คมฺภีโร (หลวงโด่ง)
ป.ล.มีปัญหาอะไรที่สงสัยให้ถามเลย..อย่าเก็บไว้เพราะถ้านานไป มันอาจจะแก้ไขยากขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ก.ค. 2552, 12:15:58 โดย derbyrock »

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: การฝึกปฏิบัติอิริยาบถ 4
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 25 ก.ค. 2552, 12:54:51 »
ข้อควรจำสำหรับการปฏิบัติ
.....ศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ความโลภจะเข้าครอบงำ....
....ปัญญามาก แต่ศรัทธาหย่อน ความสงสัยลังเลจะเข้าครอบงำ....
....วิริยะความเพียรกล้า สมาธิหย่อน ความฟุ้งซ่านจะเข้าครอบงำ...
....สมาธิกล้า วิริยะหย่อน ความง่วงจะเข้าครอบงำ...



...กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ...

...บางครั้งผมจิตจดจ่อไป สมาธิก็ไม่นิ่ง รู้สึกเครียด...

...บางครั้งปล่อยอารมณ์มากเกินไป จิตก็ฟุ้งซ่านคิดไปต่างๆนานา...


ขอบคุณพี่ตี๋มากครับ ที่ถ่ายทอดคำสอนของพระอาจารย์ ทำให้ผมได้คิดตามและน้อมนำไปปฏิบัติบ้าง

...บุญกุศลที่พี่ได้ทำในครั้งนี้ ขอให้พี่ตี๋เจริญในธรรมครับ...

...สาธุ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ jaturong

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 84
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: การฝึกปฏิบัติอิริยาบถ 4
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 25 ก.ค. 2552, 02:13:35 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ ขอบพระคุณ แนวทางการปฎิบัติธรรม
และขอบคุณท่านตี๋ ด้วยครับ