ผู้เขียน หัวข้อ: คุณของการสวดมนต์  (อ่าน 1013 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ rpca65

  • พิกุลบุนนาคบาน กลิ่นหอมหวานซ่านขจร แม้นุชสุดสายสมร เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย เต็งแต้วแก้วกาหลง บานบุษบงส่งกลิ่นอาย หอมอยู่มิรู้หาย คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู มลิวันพันจิกจวง ดอกเป็นพวงร่วงเรณู หอมมาน่าเอ็นดู ชูชื่นคิดวนิดา.........
  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 31
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
คุณของการสวดมนต์
« เมื่อ: 28 ก.ย. 2552, 04:09:03 »
ลองอ่านดูนะครับนำมาแบ่งปันกัน

คุณของการสวดมนต์คือ    สวดแล้วรู้เรื่อง - รู้ความหมาย -
ปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่สวดนั้น - และสวดด้วยจิตใจอิ่มเย็นโอบอ้อมอารี 
เพราะมนต์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาคือคำสอนแม้จะเป็นคำสรรเสริญก็ืคือคำสอน   
ถ้าจะสวดเป็นบาลีก็ต้องสวดให้ถูกต้องตามอักขระฐานกรณ์ของภาษาบาลีด้วย                                     
(แต่ต้องเป็นมนต์ที่พระพุทธเจ้าพาทำมาและสอนไว้)

โทษของสวดมนต์คือ   สวดแบบไม่รู้เรื่อง - ไม่รู้ความหมาย - ทำไม่ถูกตามที่สวด -
สวดเพื่อให้ขลัง - อ้อนวอน - สวดเสก - เป่าให้ผู้อื่นฉิบหาย  หรือ 
สวดแล้วรู้เรื่องและเข้าใจอย่างดีแต่ไม่ทำตาม เช่น  พระสวดพระวินัยทุุกๆ  15  วัน
แต่ก็ทำผิดพระวินัยมากมาย     และโยมสวดประกาศปฏิญาณตนมอบกายถวายชีวิต
นับถือ พุทธ - ธรรม - สงฆ์   เป็นที่พึ่ง   แต่ไม่กระทำตามนั้น   
ยังไปนับถือสิ่งอื่นเพิ่มอีกเช่น ผี - เทวดา - เครื่องรางของขลัง  ฯลฯ 

เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมผิดต่อคำสวดที่ตนเองสวดคำพุทธเจ้าสอนอยู่   
และโทษย่อมเกิดขึ้นกับตนผู้ไม่ได้ศึกษาพุทธศาสนาให้ดี


สำหรับผู้ชอบสวดมนต์เป็นภาษาบาลี   ถ้าไม่รู้เรื่องคือไม่ได้แปล   
เมื่อไม่แปลก็ไม่เข้าใจความหมาย    เมื่อไม่เข้าใจความหมายของบทสวดมนต์   
ถึงแม้จะมีสติกำกับอยู่อย่างดี   แต่สตินั้นก็เป็น  มิจฉาสติ
แม้กระทั่งมีความเลื่อมใสปลาบปลื้มปิติอยู่ด้วย   ก็ยังเป็นความเลื่อมใสปลาบปลื้มปิติที่ผิด 
   
สตินั้นมีอยู่ของมันทุกเมื่ออยู่แล้ว   แต่ถ้าไประลึกผิด    ก็เป็นสติที่ผิด   
ทุกอย่างต้องเข้าใจชัดเจนถูกต้อง   จึงจะเป็นสัมมาสติ   
จึงจะเป็นสติที่ถูกในความหมายของพระพุทธศาสนา
   
พุทธเจ้าสอนเอาไว้แล้วว่า   ผู้ที่จะเรียนธรรม - วินัยของพระองค์   
ต้องเรียนด้วยภาษาที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้   
ถ้าหากเรียนธรรม - วินัยด้วยภาษาที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ   
พุทธเจ้าตำหนิเอาไว้แล้วว่าเป็นการ " ปฏิบัติผิด "   
การปฏิบัติผิดนี่ต้องได้บาป
ต้องไปรับโทษในนรก - เปรต - สัตว์เดรัจฉาน   
เมื่อได้หมุนวนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง    ก็เป็นมนุษย์ที่มีสติ - ปัญญาไม่ดี   
เรียนรู้อะไรก็เข้าใจยากมาก   เงอะงะๆ     เซ่อๆซึมๆ     
สาเหตุก็เพราะได้สร้างความงงงวย - งมงาย - ไม่รู้เรื่อง   
เหยียบย่ำตัวเองเอาไว้แล้วเรียบร้อยในคราวนี้ด้วยการสวดมนต์คือคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบผิดๆ
คำสั่งพระพุทธเจ้าให้กล่าวธรรม – วินัย      ด้วยภาษาที่เข้าใจ       เล่ม   23    หน้า    329

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ในอรณวิภังค์นั้น   การปรักปรำภาษาชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ 
นี้เป็นธรรมมีทุกข์  มีความคับใจ   มีความแค้นใจ  มีความเร่าร้อน  เป็นความปฏิบัติผิด   

เพราะฉะนั้น  ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์   แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท   
และการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ    นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์    ไม่มีความคับใจ   ไม่มีความแค้นใจ   
ไม่มีความเร่าร้อน  เป็นความปฏิบัติชอบ   เพราะฉะนั้น   ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรมที่ควรสั่งสมเพื่อความเจริญแห่งปัญญาอันถูกต้อง          เล่ม   31    หน้า   396   

เจริญธรรม   ๔    ประการเพื่อได้ปัญญา
เจริญธรรม   ๔    ประการเพื่อปัญญาเจริญ
 
ธรรม   ๔  ประการเป็นไฉน     คือ 

การคบสัตบุรุษ   ๑   (คบคนดีมีศีลธรรมอันงามในพระพุทธศาสนา)
การฟังสัทธรรม    ๑    (อ่าน - ฟังธรรมอันงามที่นำสัตว์ออกจากทุกข์  คือ  ธรรมของพระพุทธเจ้า)
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย   ๑  (อ่าน - ฟังแล้วทรงจำไว้ได้  - เข้าใจความหมายได้ดีทะลุปรุโปร่ง)
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม    ๑
(จากนั้นก็ปฏิบัติไปตามธรรมที่ตนจำได้และเข้าใจความหมายได้ถูกต้องนั้น)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ธรรม   ๔     ประการนี้...

ในคำว่า    ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา   นี้   
พระเสขบุคคล   ๗   จำพวก     พึงทราบว่า  ชื่อว่าผู้ได้เฉพาะซึ่งปัญญา
พระขีณาสพพึงทราบว่าชื่อว่า  ผู้ได้ปัญญาแล้ว...

***  คำสอนของพระพุทธเจ้านี้ไม่มีนะ   ประเภทเงอะๆงะๆ   
สวดแบบไม่รู้เรื่่องแล้วมันจะดีเอง    มันจะไปดีได้ยังไงเพราะมันไม่รู้เรื่อง   
และถึงรู้เรื่องแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ   มันก็ยังดีไม่ได้อีก
สวดเฉยๆ   แล้วมันจะดี - เจริญเอง    คำสอนใครหว่า?      พิจารณาซิ      พิ - จา - ร – ณา
สวดมนต์แล้วต้องรู้เรื่อง - รู้ความหมาย         เล่ม  17    หน้า   21

....ใคร ๆ สามารถจะทราบพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น  ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัยต่าง ๆ
เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมีปฏิหาริย์หลากหลาย   
ลึกซึ้งโดยธรรม    โดยอรรถ     โดยเทศนา     แลโดยปฏิเวธ   
มาสู่โสตประสาท (ประสาทรับรู้ทางหู)  ของสัตว์ทั้งปวง    โดยสมควรแก่ภาษาของตน ๆ
โดยประการทั้งปวง     และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง….

และเล่ม   35   หน้า   62   

บทว่า  มนสานุเปกฺขิตา   ได้แก่    เพ่งด้วยจิต. 
พระพุทธวจนะที่ภิกษุใดสาธยายแล้วด้วยวาจา   ปรากฏ (ความหมาย) ชัดในที่นั้นๆ   
แก่เธอผู้คิดอยู่ด้วยใจ   เหมือนรูปปรากฏชัด   แก่บุคคลผู้ยืนตามประทีปดวงใหญ่   ฉะนั้น.   

บทว่า   ทิฏฺฐิยา   สุปฺปฏิวิทฺธา    ได้แก่    ใช้ปัญญาขบทะลุปรุโปร่ง    ทั้งเหตุทั้งผล.



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สวดมนต์ไม่ถูกหลักภาษาบาลี    เป็นการทำลายคำสอนอีกวิธีหนึ่ง        เล่ม   35   หน้า  381   
   
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรม  ๔   ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป 
ธรรม  ๔  ประการเป็นไฉน  คือ
           
ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้    เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบทพยัญชนะที่ใช้ผิด   
เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด     ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย     นี้ธรรมประการที่  ๑ 
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป...

เพราะผู้ที่สวดมนต์เป็นภาษาบาลีสมัยนี้ไม่ได้เรียนรู้จักฐานกรณ์ - ไวยากรณ์ของภาษาบาลี
ให้เป็นอย่างดี   ไม่ได้เรียนรู้ว่า  พยัญชนะไหนควรออกเสียงสูง - ต่ำ - หนัก - เบา -
เสียงจากลำคอ - เสียงขึ้นจมูก   เป็นต้น

เพราะฉะนั้น   เรื่องการออกเสียงเมื่อสวดมนต์เป็นภาษาบาลีจึงมีผิดพลาดอย่างมาก   
เมื่อการออกเสียงสำเนียงผิดพลาด   ความหมายของบทบาลีนั้นๆ   
ก็ย่อมผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามไปด้วย   

เช่น   ถ้าเทียบกับภาษาไทยอย่างคำว่า   "ไปไหนมา" 
ถ้าออกเสียงผิดเพี้ยนก็จะเป็น    "ไปไหนหมา" 
อย่างคำว่า  "ผู้มีความรู้เป็นอย่างยิ่ง"  ถ้าออกเสียงผิดเพี้้ยนก็จะเป็น   
"ผู้มีความรู้เป็นอย่างหญิง"   ทำนองนี้เป็นต้น

ขอท่านที่ชอบสวดมนต์จงคิดดูเถิดว่า    มันจะมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน    ต่อธรรมคำสอนนี้   
โดยเฉพาะพวกทิพย์ที่ว่าชอบฟังการสวดมนต์และฟังได้รู้เรื่อง   
เขาจะตำหนิติเตียนคนสวดมนต์ที่สวดให้ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิมมากน้อยอย่างไร   
และบาปจะมีกับคนที่สวดมนต์โดยไม่พิจารณาให้ดีมากหรือน้อยเพียงไร
เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการท่องบ่นสาธยายมนต์
ในคราวที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่คือ   การเรียนธรรม - เรียนวินัยในสมัยนั้น   
ไม่มีเครื่องบันทึกช่วยเหมือนในสมัยนี้   ต้องอาศัยสมอง - ความจำ 
ของผู้เรียนที่มีความสามารถอย่างเช่น  พระอานนท์   ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้บันทึกธรรม 
แล้วจึงแจกจ่ายสอนต่อไปยังบรรดาลูกศิษย์ของท่านหรือผู้ใดก็ตามที่ต้องการเรียนธรรม
ก็มาเรียนธรรมต่อไปจากพระอานนท์นั้น
   
เมื่อเป็นเช่นนี้ความจำของมนุษย์ย่อมมีการเลอะเลือน - คลาดเคลื่อนไปบ้าง   
ผู้เรียนธรรม - วินัยในคราวนั้นจึงหาวิธีแก้ไข - ป้องกันการหลงลืม   
ด้วยการท่องบ่นสาธยายบทธรรม (มนต์) ที่ตนเองเรียนมา   
 
โดยอาจจะท่องบ่นสาธยายอยู่แต่เพียงผู้เดียวก็ได้   แต่เมื่อเกิดสงสัยว่าตนเองจำได้ถูกต้องหรือเปล่า
ก็ไปสอบสวนทบทวนบทธรรม (มนต์)  ของตนเองกับผู้อื่นที่เรียนธรรมในเรื่องเดียวกัน
หรือบางครั้งอาจจะท่องบ่นสาธยายกันเป็นกลุ่มๆก็มี   

และทุกท่านที่ทำการท่องบ่นสาธยายนั้น    ก็รู้เรื่องและเข้าใจในคำสอนเป็นอย่างดี   
เพราะว่า  เป็นภาษาที่ท่านเหล่านั้นเข้าใจได้เป็นอย่างดีนั่นเอง   
พร้อมกับปฏิบัติตามได้อย่างดีเยี่ยม    มรรค - ผล - นิพพาน   ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะพึงได้ - พึงถึง   
จึงบังเกิดให้ท่านเหล่านั้นได้ชื่นชมโดยสมควรแก่ภาวะแห่งตน
คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้
ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
ความตายหนึ่งพึงให้เห็นเป็นประธาน
หวังนิพพานพ้นทุกข์สนุกสบาย
.
ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้
เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย
จะตกอบายภูมิขุมนรก
..............................

ประการหนึ่งซึ่งขาดพระศาสนา
ทั้งโลกาเกิดทุกข์ถึงยุคเข็ญ
ซึ่งจะหลับดับร้อนให้ผ่อนเย็น
ก็ต้องเป็นไมตรีปรานีกัน