ผู้เขียน หัวข้อ: ตำราพิชัยสงครามซุนวู ( Sun Tzu The Art of War ) - บรรพ 1: ประเมินสถานการณ์  (อ่าน 3735 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suwatchai

  • การนิ่งเงียบต่อคนโง่คนสามหาว เป็นทางยาวสู่เกียรติที่ใฝ่ฝัน ทั้งรักษาในศักดิ์ศรีเป็นเกราะกัน ไม่หุนหันฉันท์หมาวัดที่จัญไร เราจงดูราชสีห์น่าเกรงขาม ทุกผู้นามเกรงกลัวได้ไฉน ไม่เคยเห่าเคยหอนไล่ผู้ใด แล้วไซร้ใยมีเกียรติเป็นราชันต์...
  • สมาชิกที่ถูกแบน
  • **
  • กระทู้: 241
  • เพศ: ชาย
  • Death Is Beautiful & Sweet ....
    • MSN Messenger - suwatchai.com@windowslive.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
 

อันสงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้ ฉะนั้น พึงวิเคราะห์จากห้าเรื่อง นำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมิน ให้ถ่องแท้ในสภานะการณ์หนึ่งคือคุณธรรม สองคือลมฟ้าอากาศ สามคือภูมิประเทศ สี่คือแม่ทัพ ห้าคือกฎระเบียบ
     
ที่ว่าคุณธรรมคือ สิ่งที่ทำให้ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ร่วมกัน ร่วมเป็นก็ได้ ร่วมตายก็ได้ ทวยราษฎร์มิหวั่นอันตราย
     
ที่ว่าล้มฟ้าก็คือสว่างหรือมืด หนาวหรือร้อน ฤดูนี้หรือฤดูนั้น

ที่ว่าภูมิประเทศ ก็คือ สูงหรือต่ำ ใกล้หรือไกล คับขันหรือราบเรียบ กว้างหรือแคบ เป็นหรือตาย     

ที่ว่าแม่ทัพ ก็คือ สติปัญญา ศรัทธา เมตตา กล้าหาญ เข้มงวด

ที่ว่ากฎระเบียบ ก็คือ ระบบจัดกำลัง ระบบยศตำแหน่ง ระบบพลาธิการ
     
ทั้งห้าเรื่องนี้ แม่ทัพพึงรู้แจ้ง ผู้รู้จักชนะ ผู้ไม่รู้จักไม่ชนะ ในสถานการณ์ กล่าวคือ เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่? แม่ทัพสามารถหรือไม่? ฟ้าดินอำนวยหรือไม่? วินัยเข้มงวดหรือไม่? กองทัพเข้มเข็งหรือไม่? ทหารฝึกดีหรือไม่? การรางวัลลงโทษแจ่มชัดหรือไม่? เรารู้ฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะได้จากนี้ แม่ทัพใดเชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักชนะ ให้เอาตัวไว้ แม่ทัพใดไม่เชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักแพ้ ให้ปลดออกไป เมื่อการประเมินผลดีเป็นที่รับฟัง ก็ให้สร้างพลานุภาพขึ้นเพื่อเป็นส่วนช่วยแผนศึก ที่ว่าพลานุภาพก็คือการปฎิบัติการตามสภาพอันจะก่อให้เกิดผลนั่นเอง
     
อันสงครามนั้น คือการใช้เล่ห์เพทุบาย ฉะนั้น รบได้ให้แสดงว่ารบไม่ได้ จะรุกให้แสดงไม่รุก ใกล้ให้แสดงว่าไกล ไกลให้แสดงใกล้ ให้ล่อด้วยผลประโยชน์ ให้ชิงเมื่อระส่ำระสาย ข้าศึกแน่นให้เตรียมรับ ข้าศึกแข็งให้หลีกเลี่ยง ข้าศึกโกรธง่ายให้ก่อกวน ข้าศึกยโสให้เหิมเกริม ข้าศึกสบายให้เหนื่อยล้า ข้าศึกกลมเกลียวให้แยกสลาย ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกรานเมื่อไม่คาดคิด นี่คืออัจฉริยะของนักการทหาร อันจักกำหนดล่วงหน้ามิได้
     
การประเมินศึกในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกชัยชนะ เพราะคำนวณผลได้มากกว่า การประเมินผลในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกไม่ชนะ เพราะคำนวณผลได้น้อยกว่า คำนวณผลได้มีมากก็จะชนะ คำนวณผลได้มีน้อยก็แพ้ ถ้าไม่คำนวณก็จักไม่ปรากฏผล เราพิจารณาจากนี้ ก็ประจักษ์ในชัยชนะหรือพ่ายแพ้แล้ว
 
บทวิเคราะห์

บทที่1 ซุนวูได้อธิบายถึงความสำคัญของการค้นคว้าและการวางแผนสงคราม ตลอดจนได้วิเคราะห์เงือนไขการทำสงครามของคู่ศึก วินิจฉัยความมีชัยหรือพ่ายแพ้ และปัญหาบทบาทการบัญชาการของแม่ทัพในสง ครามเป็นต้น อันเรียกว่าได้เป็นปัญหาพื้นฐานของสงครามไว้อย่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง
     
ซุนวูได้กล่าวเป็นคำแรกในบทแรกแห่งตำราพิชัยสงครามของตนว่า “อันการสงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญของชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจพิเคราะห์ไม่ได้” ซุนวูได้เน้นเป็นพิเศษในประเด็นการเปิดฉากการสงครามว่า จะต้องวิเคราะห์เงือนไขต่าง ๆ ของคู่ศึกและค้นคว้ากำหนดแผนการรบ ซุนวูเห็นว่าจะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบทั้งสองฝ่ายอย่างจริงจัง จาก “คุณธรรม ลมฟ้า อากาศ ภูมิประเทศ แม่ทัพ กฎระเบียบ” อันเป็น 5 เรื่อง “เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่ แม่ทัพสามารถหรือไม่” “ฟ้าดินอำนายหรือไม่” “วินัยเข้มงวดหรือไม่” “กองทัพเข้มเเข็งหรือไม่” “ทหารฝึกดีหรือไม่” และจากนี้จะสามารถคาดคะเนถึงความมีชัยและพ่ายแพ้ของสงครามได้ จะเห็นได้ว่าซุนวูได้สร้างการวางแผนสงครามอยู่บนพื้นฐานของการยึดถือสภาพความเป็นจริงหรือวัตถุนิยมแบบเรียบง่าย แตกต่างกับขั้นรากเหง้ากับการวางแผนการรบโดยอาศัยการเสี่ยงทายเพื่อให้รู้ผลแพ้ชนะของสงครามแบบงมงาย อันเป็นวิธีการที่มิได้อยู่บนพื้นฐานและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
     
ในการอธิบายเงื่อนไขแห่งชัยชนะนั้น ซุนวูได้ยกเอา “คุณธรรม” มาไว้เป็นอันดับต้นของ “5 เรื่อง” เห็นว่าการที่กลุ่มผลประโยชน์ที่เกิดใหม่จะช่วงชิงให้ได้มาซึ่งชัยชนะของสงครามนั้น ต้องทำให้ได้ถึงขั้น “ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ร่วมกัน” ดังนี้ จึงจะสามารถทำให้ราษฎรและไพร่ผล “ร่วมเป็นก็ได้ ร่วมตายก็ได้ มิหวั่นอันตราย"

การถือเอา “คุณธรรม” “ลมฟ้าอากาศ” “ถูมิประเทศ” “แม่ทัพ” “กฎระเบียบ” เป็นเงื่อนไขแห่งชัยชนะ จะขยายบทบาทของแม่ทัพอย่างไรในวิถีดำเนินของสงคราม  เป็นเนื้อหาสำคัญประการหนึ่งที่ซุนวูได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ เขาเน้นว่าเมื่อแผนศึกได้กำหนดลงไปแล้ว แม่ทัพก็จะต้อง “ปฏิบัติตามสถาพอันจะก่อให้เกิดผล” เพื่อสร้างพลานุภาพอันเป็นผลดีแก่สงครามขึ้น
     
ซุนวูได้เสนอว่า”อันสงครามนั้นคือการใช้เล่ห์เพทุบาย” ซึ่งเป็นความเห็นในแง่ “การศึกมิหน่ายเล่ห์” เรียกร้องให้แม่ทัพสันทัดในการใช้มาตรการต่าง ๆ นานาปกปิดความมุ่งหมายของตนหลอกล่อข้าศึกให้ฉงน สร้างความเข้าใจผิดและการคิดไม่ถึงแก่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อที่จะ “ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกรบเมื่อไม่คาดคิด”  “รุกกระหน่ำข้าศึกอย่างมิรั้งรอ”
     
การคำนวณศึกก่อนทำสงครามนั้น ต้องบ่งบอกถึงชัยชนะหรือแพ้ก่อน ที่ว่าได้ชัยชนะเพราะว่าประเมินแล้วผลได้มากกว่า ที่ว่าแพ้เพราะประเมินแล้วผลได้มีน้อยกว่า ต้องประเมินให้รู้ผลแพ้ชนะก่อนจึงค่อยรบ
     
การประเมินศึกนี้  ถือกันว่าเป็นแม่บทของ “ตำราพิชัยสงความซุนวู” 
 
บทที่ 2: การทำศึก

อันหลักแห่งการบัญชาทัพนั้น ต้องใช้รถเร็วพันคัน รถหุ้มหนังพันคัน พลรบสิบหมื่น ขนเสบียงพันลี้ ค่าใช้จ่ายในและนอกประเทศ ค่าใช้จ่ายการทูต ค่าซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ ค่ารถรบเสื้อเกราะ ต้องสิ้นเปลืองวันละพันตำลึงทองดังนี้ จึงจะเคลื่อนพลสิบหมื่นออกรบได้
     
เมื่อรบพึงชนะเร็ว ยืดเยื้อกำลังก็เปลี้ยขวัญทหารก็เสีย ตีเมืองจักไร้พลัง ทำศึกนอกประเทศนาน ในประเทศจักขาดแคลน เมื่อกำลังเปลี้ยขวัญทหารเสีย สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ เจ้าครองแคว้นอื่น จักฉวยจุดอ่อนเข้าบุกรุก แม้จะมีผู้เยื่ยมด้วยสติปัญญาก็สุดจะแก้ไขให้กลายดี

เคยฟังว่าทำศึกพึงชนะเร็วแม้จะไม่ดีนัก แต่ไม่เคยเห็นว่ามีการทำศึกที่ชาญฉลาดทว่าต้องยืดเยื้อ ส่วนที่ว่าทำศึกยืดเยื้อเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ ก็ไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้น ผู้มิรู้ผลร้ายแห่งการทำศึกอย่างถ่องแท้ ย่อมไม่สามารถรู้ผลดีแห่งการทำศึกอย่างถ่องแท้ ได้เช่นกัน      

ผู้สันทัดในการบัญชาทัพ จักเกณฑ์พลมิซ้ำสอง ส่งเสบียงมิซ้ำสาม ใช้ยุทโธปกรณ์ประเทศตน เอาเสบียงจากข้าศึก อาหารของกองทัพจึงพอเพียง

ประเทศชาติยากจนเพราะส่งเสบียงไกลให้กองทัพ ส่งเสบียงไกล ราษฎรต้องลำเค็ญ ใกล้กองทัพของจักแพง ของแพงทรัพย์สินราษฎรจักขอดแห้ง เมื่อพระคลังร่อยหรอ ก็เร่งรีดภาษีไพร่พลสูญเสีย ทรัพย์สินสิ้นเปลือง ทุกครัวเรือนในประเทศจึงว่างเปล่า สมบัติราษฎรต้องสูญไปเจ็ดในสิบส่วน ทรัพย์สินของหลวงรถรบเสียหายม้าศึกอ่อนเปลี้ย เสื้อเกราะและเกาทัณฑ์ ของ้าวและโล่ดั้ง วัวควายและรถสัมภาระ ก็สูญไปหกในสิบส่วน

ฉะนั้น แม่ทัพผู้มีสติปัญญา พึงหาอาหารจากข้าศึก เอาข้าวข้าศึกหนึ่งจง เท่ากับของเราสิบจง เอาอาหารสัตว์หนึ่งสือ เท่ากับของเรายื่สิบสือ
     
ฉะนั้น เมื่อจะเข่นฆ่าข้าศึก พึงให้ไพร่พลโกรธแค้น เมื่อจักกวาดต้อนสินศึก พึงตั้งรางวัลไพร่พล ฉะนั้น ในศึกรถรบ เมื่อยึดรถรบข้าศึกได้กว่าสิบคัน พึงรางวัลผู้ยึดได้ก่อน แล้วให้เปลี่ยนธงบนรถ ขับร่วมในขบวนเรา พึงเลี้ยงดูเชลยให้ดี นี่ก็คือที่ว่ารบชนะข้าศึก เรายิ่งเข้มแข็ง
     
ฉะนั้น ทำศึกจึงสำคัญที่รบเร็ว ใช่สำคัญที่ยืดเยื้อ
     
ฉะนัน แม่ทัพผู้รู้การศึก จึงเป็นผู้กุมชะตากรรมของทวยราษฎร์ เป็นผู้บันดาลความสงบสุขหรือภยันตรายของประเทศชาติ
 
บทวิเคราะห์

ในบทนี้ ซุนวูได้เสนอความคิดรบชนะรวดเร็วที่ว่า “ทำศึกจึงสำคัญที่รวดเร็ว ใช่สำคัญที่ยืดเยื้อ” โดยเน้นหนักเริ่มต้นไปจากความสัมพันธ์ซึ่งต้องพึงพาอาศัยในระหว่างกำลังคน กำลังวัตถุและกำลังทรัพย์ อันนับเป็นการแสดงออกอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งการใช้ทัศนะวัตถุนิยมเรียบง่ายของเขาไปค้นคว้าสงคราม
     
ในยุคที่ซุนวูดำรงชีวิตอยู่ กำลังการผลิตของสังคมต่ำมาก การคมนาคมขนส่งไม่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง เมื่อบวกกับขนาดของสงครามได้ขยายใหญ่ขึ้น เพืยงแต่ขยับตัวก็ “ต้องสิ้นเปลืองวันละพันตำลึงทอง” ถ้าหากปล่อยให้ยือเยื้อไปก็จะ “สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลานั้น แคว้นต่าง ๆ กำลังผนวกดินแดนกลืนกินกันอย่างดุเดือด ถ้าหากสงครามยืดเยื้อต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะเกิดสถานการณ์อันตรายซึ่ง “เจ้าครองแคว้นอื่นจักฉวยโอกาสเข้าบุกรุก” ได้ทุกเวลา ในสถาพเช่นนี้การที่ซุนวูคิดที่จะชนะเร็วก็มีเหตุผลที่แน่นอนของเขาอยู่ อย่างไรก็ดี การรบชนะเร็วหรือการรบชนะช้าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราประเมินไว้แล้วว่า ฝ่ายเราควรจะทำอย่างไรกับสงครามให้มีประโยชน์กับเราให้มากที่สุด
     
เพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างความต้องการของสงครามและความยากลำบากในการส่งกำลังบำรุงของแนวหลัง ซุนวูได้เสนอหลักการ “เอาเสบียงจากข้าศึก” ซึ่งก็คือการช่วงชิงเพื่อก่อปัญหาการส่งกำลังบำรุงในประเทศข้าศึกนั้นเอง ในขณะเดียวกัน เขายังเสนอความคิด “รบชนะข้าศึก เรายิ่งเข้มแข็ง” มีความเห็นว่าควรจะให้รางวัลแก่ไพร่พล ปฏิบัติต่อเชลยข้าศึกด้วยดี และใช้สินศึกมาเสริมเพิ่มกำลังของตนเองให้ใหญ่โตขึ้น ความคิดและหลักการเหล่านี้ ล้วนแต่มีข้อดีที่จะนำมาใช้ได้ทั้งสิ้น
     
ในตอนสุดท้ายของบทนี้ ซุนวูได้เน้นบทบาทอันใหญ่หลวงของแม่ทัพ นับว่าถูกต้อง แต่การที่เขาขยายบท บาทของ “แม้ทัพผู้รู้การศึก” ไปถึงขั้นว่า “เป็นผู้กุมชะตากรรมของทวยราษฎร์ เป็นผู้บันดาลความสุขหรือภยันตรายของประเทศชาติ” โดยไม่เห็นบทบาทของไพล่พลและทวยราษฎร์นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นจุดอ่อน และเป็นการสะท้อนออกของทัศนะประวัติศาสตร์ที่ถือวีรชนเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างของเขา อันไม่ตรงกับความเป็นจริง



ออฟไลน์ oneone1

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ต่ออีกได้ไหมคับ  กำลังอ่านมัน ๆ เลย :075: