ผู้เขียน หัวข้อ: ไขปริศนาธรรม  (อ่าน 2496 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด
ไขปริศนาธรรม
« เมื่อ: 15 พ.ย. 2552, 10:18:14 »
ปริศนาธรรมแต่โบราณ ท่านว่าไว้อย่างนี้



“ทาง ใหญ่อย่าเที่ยวจร ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร ไม้โก่ง อย่าทำกังวาล ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง ถ้าจะเป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น ถ้าจะ ให้ล่มบรรทุกแต่เบา (หมายถึงเรือ ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา) ถ้าจะเรียน โหราให้ฆ่าอาจารย์ ทั้ง 4 เสีย”




คำไขปริศนา

ทาง ใหญ่ คือกามสุขขัลลิกานุโยค กับอัตตกิลมถานุโยค ทางใหญ่อย่าพึงจร กาม สุขขัลลิกานุโยค คือการทำตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามสุขเพลิดเพลิน หลงใหลอยู่ในกามสุข เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นเป็น ความสุขที่ยิ่งกว่าความสุขใดๆ หมกมุ่นพัวพันอยู่จนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น

อัต ตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์ คือว่าเคร่งเกินไป จัดการ กับตัวเองรุนแรงเกินไป ไม่ถนอมตนในสมัยโบราณ สมัยพระพุทธเจ้าท่านยก ตัวอย่างพวกฤาษีชีไพรที่ทรมานตน นอนบนหนาม แก้ผ้าคลุกขี้เถ้า ลง คลาน 4 ขากินอาหารอย่างสุนัขบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค แต่ มา สมัยนี้บ้านเราก็ไม่มีแล้ว เราก็คิดดูเอาเองว่า การทำตนให้ลำบากโดยไร้ ประโยชน์ เคร่งครัดกับตัวเองมากเกินไป ไม่ผ่อนปรนให้ตนเองบ้างตาม สมควร อย่างนี้ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็เป็นทางใหญ่สองทางที่ไม่พึงจร

ใน ปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าท่านก็เริ่มต้นด้วยเรื่อง นี้ ว่าภิกษุทั้งหลายที่สุดทั้งสองนี้ บรรพชิตไม่พึงเกี่ยวข้อง คือกาม สุขขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

ลูกอ่อนอย่าอุ้ม รัดเอาไว้ คำแก้ปริศนา คำว่าลูกอ่อนคือปัญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเป็น 2 คือรูปกับนาม รูป เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม วิญญาณก็คือจิต

ลูก อ่อนไม่พึงอุ้มรัด คือ ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ไม่พึงเข้าไป กอดรัดขันธ์ 5 โดยความเป็นตนและของตน คือพึงปล่อยวาง ไม่ยึดถือใน ขันธ์ 5 ว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา

แต่ว่าโดยวิสัย ปุถุชน มันก็อดไม่ได้ที่จะยึดถือในขันธ์ 5 ถ้าเผื่อเรารู้เท่าทันธรรมดา บ้าง ก็มีเวลาที่จะปล่อยวางได้บ้าง ในเวลาที่จำเป็นหรือว่าถึงคราวที่จะ ต้องปลดปล่อย ปล่อยวางได้บ้าง หรือว่าไม่แบกไว้มากเกินไป เหมือนเราแบก หินอยู่ ก็รู้สึกว่าหนักๆ และมีคนบอกว่าให้วางก้อนหินลงเสีย ก็ไม่ได้ วาง ถ้าวางมันก็เบา ถ้าไม่ได้วางมันก็หนัก แบกไปก็บ่นไปว่าหนัก วิ่งไป ก็บ่นไปว่าหนัก มีคนบอกให้ปล่อยเสีย ให้วางเสียก็ไม่วาง มันก็หนักเรื่อย ไป เหมือนกับคนกลิ้งหินขึ้นภูเขา พอถึงยอดเขาแล้วก็ปล่อยลงมา แล้วก็ ตามลงมาจากยอดเขา แล้วก็กลิ้งขึ้นไปใหม่
เป็นเรื่องของปรัชญา

หลวง เจ้าวัด อย่าให้อาหาร หลวงเจ้าวัด คือวิญญาณขันธ์ อย่าปรนเปรอด้วย อาหาร 4 มีกวฬิงการาหาร เป็นต้น จิตหรือวิญญาณอย่าไปปรนเปรอมากเกิน ไป จะต้องให้อดอาหารเสียบ้าง ให้จิตมันอดอาหารเสียบ้าง ถ้าเผื่อไม่ให้อด อาหารเสียบ้าง คือเราฝึกมันไม่ได้ มันอยากได้อะไรให้มันได้ ปรนเปรอ ทุกอย่าง เหมือนเราให้เชื้อกับไฟ ไฟมันไม่รู้จักอิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทร ไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ แปลว่าจิตไม่อิ่มด้วยตัณหา ถ้า ปรนเปรอมันมากมันก็ยิ่งเดือดร้อนใหญ่โต

ไม้โก่ง อย่าทำ กังวาล กังวาลคือเรือสำหรับต้านทานลมพายุ ต้องใช้ไม้ตรง ไม้โก่งไม้คดใช้ ไม่ได้ คำไขปริศนาก็คือ อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร คดกายบ้าง คดวาจา บ้าง คดใจบ้าง ถ้าไม่คด เรียกว่าอุชุ เป็นผู้ซื่อตรง ไม่คดกาย ไม่คด วาจา ถ้าไม่คดทางใจเรียกว่าสุอุชุ ตามคำอธิบายของอรรถกถากรณียเมตตสูตร

อย่า เอาคนคดมาเป็นมิตร เพราะเขาจะต้องคดโกงสักวันหนึ่งเหมือนกับเราเลี้ยง อสรพิษเอาไว้ ให้อาหารมันก็ตาม วันไหนไม่ได้อาหารมันต้องกัดคนให้นั่น แหละ หรือโบราณที่เขาว่า คนเลี้ยงผีเอาไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งาน แล้วก็ ต้องเซ่นอาหารมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่มีอาหารให้มัน มันก็จะมาเล่นงานคน เลี้ยงมัน เลี้ยงผีนี่เสี่ยงมาก

เลี้ยงโจรก็เสี่ยงเหมือนกัน ถ้าเผื่อมันปล้นที่ไหนไม่ได้ มันก็จะมาปล้นบ้านเรา ฉะนั้น ก็อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร

พระ พุทธเจ้าตรัสสอนว่า ถ้าหาคนที่มีปัญญามาเป็นมิตรไม่ได้ ไม่มีคนดีมีปัญญา เป็นสหายแล้ว ก็อยู่คนเดียวดีกว่า อยู่คนเดียว ไปคนเดียวดีกว่า

 
 
 
 
สำหรับ คนชั่วคนพาลหรือคนคด บางแห่งพระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับงู ที่ ตกลงไปในหลุมคูถ หรือหลุมอุจจาระ ทั้งเนื้อทั้งตัวมันเปื้อนไปด้วย อุจจาระ ถ้าเราไปจับมัน ถ้ามันไม่กัดถึงตายหรือปางตาย มือเราก็เปื้อนคูถ หรือว่าเผลอๆอาจจะได้ทั้งสองอย่าง คือถูกกัดถึงตายหรือปางตาย และมือยัง เปื้อนคูถด้วย ท่านก็ให้หลีกคนคดคนพาล นี่ก็เป็นปริศนาธรรมข้อที่ 4

ช้าง สารอย่าผูกกลางเมือง ธรรมดาช้างสารย่อมจะพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง แม้จะ ให้อยู่ในเมือง ปรนเปรออย่างดี โดยธรรมชาติของช้างไม่พอใจ มันชอบอยู่ใน ป่าหรืออยู่ที่สระ

ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมได้ นิพพิทาญาณ คือญาณที่เกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในสังขาร ในนามรูปแล้ว ย่อม จะไม่พอใจในสังขาร หน่ายในสังขาร พอใจในพระนิพพาน เหมือนช้างสารพอใจใน ป่า ไม่พอใจในเมือง

ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น คำ ว่าลูกในที่นี้ท่านหมายถึงมรรค 4 ผล 4 ต้นในที่นี้ก็คือกิเลส เอาไฟสุม กิเลส มีอวิชชา ตัณหา อุปทานเป็นต้น ไฟก็คือสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนา กรรมฐาน สำหรับเผาลำต้นคือกิเลสให้เร่าร้อน

ถ้าได้ มรรค 4 ผล 4 แล้ว นิพพานก็ต้องได้อยู่ดี เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง กัน ไม่มีการถอยกลับ ได้มรรคแล้วต้องได้ผล ไม่ต้องถึงมรรคหรอกได้โคตรภู ญาณแล้วก็ต้องได้มรรคแน่นอน ไม่มีทางที่จะถอยกลับไปอย่างเดิม ต้องก้าวไป ข้างหน้าเรื่อยไป ได้มรรคแล้วก็ได้ผลและก็ได้นิพพาน

ถ้า จะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา นี่ก็หมายถึงเรือ ถ้าให้เรือล่มก็ให้บรรทุกแต่ เบา ก็เป็น paradox อยู่ ธรรมดาเรือมันจะล่มมันต้องบรรทุกหนักเพียบเกิน อัตราเกินกำลัง อันนี้กลับตรงกันข้าม

คำไขปริศนา คือ ถ้าจะให้เรือคือตัวเรานี้ถึงอมตะมหานิพพาน ไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ใน สังสารสาครแล้ว ก็ให้บรรทุกอกุศลแต่น้อย แล้วก็ไม่ขนเอาลาภสักการะและ อกุศลมากมายนั้นไป ให้พยายามลดละ โยนทิ้งอกุศลและลาภสักการะเสีย พวกนี้ มันเป็นภาระหนัก เมื่อโยนทิ้งสิ่งเหล่านี้เรือมันก็เบา

มี พระพุทธภาษิตบางแห่งที่ตรัสว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ดูกรภิกษุ ท่านจง วิดเรือนี้ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ เรือที่ท่านวิดแล้วจักถึงเร็ว ท่านละราคะโทสะโมหะได้แล้ว จะถึงพระนิพพานโดยเร็ว เรือคืออัตภาพ เมื่อวิดเรือ แล้วเรือจะถึงเร็ว เมื่อละราคะ โทสะ โมหะ แล้วก็จะแล่นไปสู่นิพพานได้ เร็ว

ปริศนาธรรมที่ว่า ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา คือว่าไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ

ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย อาจารย์โหราในที่นี้หมายถึงวิชชา 3 คือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้
จุตูปปาตญาณ คือทิพจักษุ คือรู้อุบัติและจุติของสัตว์ทั้งหลาย
อา สวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส นี่ก็ระบุไปถึงการรู้อริยสัจ ก็ถามว่า การรู้อาสวักขยญาณ คือรู้อะไร เพราะว่าตามตัวแปลว่าญาณที่เป็นเหตุให้สิ้น อาสวะ ถ้าถามว่าญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือญาณอะไร รู้อะไร

ใน นิทเทศของอาสวักขยญาณทุกแห่งในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าจะตรัสถึง อาสวัก ขยญาณ ก็จะตรัสถึง ทุกฺเข ญาณํ รู้ทุกข์ ทุกฺขสมุทเยญาณํ รู้ สมุทัย ญาณในสมุทัย ทุกฺขนิโรธ าณํ ญาณในนิโรธ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา ย าณํ ญาณในทาง ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทั้งนั้นเลยทุกแห่ง

ฉะนั้น ถ้า เขาถามว่า อาสวักขยญาณหมายถึงอะไร ที่แปลกันก็คือแปลตามตัวว่า อาสวัก ขยญาณคือญาณที่ทำให้กิเลสสิ้นไป แต่ถ้าถามความหมายว่าหมายถึงอะไร ก็ต้อง ตอบว่าหมายถึงญาณในอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 ไตร ปริวัตร ทวาทสาการ เรียกว่ารู้อริยสัจจริง มีอาสวักขยญาณ

ถ้าจะเรียนโหรา หมายถึงวิชชา 3 ก็ให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย อาจารย์ทั้ง 4 ก็คืออาสวะทั้ง 4 คือ
กามาสวะ อาสวะคือกาม
ภวสวะ อาสวะคือภพ ความติดในภพ ความยินดีในภพ ความอยากเกิดอีก
ทิฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ความเห็นผิดต่างๆ

อวิชชา สวะ อาสวะคืออวิชชา ความไม่รู้คือรู้ไม่จริง รู้ไม่จริงกับไม่รู้ อัน ไหนจะดีกว่า รู้ผิดกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า อวิชชามันเป็นทั้งสองอย่าง คือทั้งรู้ผิดและทั้งไม่รู้

อาจารย์ ทั้ง 4 หรืออีกนัยหนึ่งท่านกล่าวว่า อาจารย์ทั้ง 4 คือ โล ภะ โทสะ โมหะ และมานะ อาจารย์อย่างนี้ต้องฆ่าเสียเอาไว้ไม่ได้ สอนให้ เสียคน ต้องฆ่าเสีย แล้วถึงจะเรียนโหราคือวิชชา 3 ได้

นี่เป็นปริศนาธรรมแต่โบราณ http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25500
 
 ด้วยความปรารถนาดี...ธรรมะรักโข