ผู้เขียน หัวข้อ: ช้างไทย...ในตำนาน  (อ่าน 11792 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กระเบนท้องน้ำ

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 275
  • เพศ: ชาย
  • การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
    • MSN Messenger - krabentongnam2511@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • บ้านกระเบนท้องน้ำ
ช้างไทย...ในตำนาน
« เมื่อ: 23 ธ.ค. 2552, 04:14:59 »
 

 

 

ช้างเผือก และ ช้างสำคัญแห่งแผ่นดินไทย … จากโรงช้างต้น สู่วิถีธรรมชาติช้าง … นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่ถือครองสถิติ “ใหญ่ที่สุดในโลก” แล้ว สำหรับสังคมไทยเรา ช้าง ยังคงดำรงสถานะความเป็น “มงคล” ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ช้าง” ยังเป็นหนึ่งใน “สัปตรัตนะ” หรือ “แก้ว 7 ประการ” อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอีกด้วย

สำหรับ รัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้น ด้วยพระบารมีของพระองค์ทำให้ในแผ่นดินนี้มีช้างเผือกและช้างสำคัญมาสู่พระ บารมีมากที่สุดถึง 20 ช้าง และในขณะนี้ยังคงยืนโรงอยู่ถึง 11 ช้าง และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเล็งเห็นแล้วว่า การนำช้างไปใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติจะเป็นผลดีต่อสุขภาพช้างสำคัญเหล่านี้ จึงได้โปรดเกล้าฯให้นำช้างสำคัญทั้งหมดไปยืนโรง ณ โรงช้างต้นที่จังหวัดลำปางและสกลนคร อันเป็นพระมหากรุณาอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อช้างสำคัญเหล่านั้น

“ช้างต้น” มงคลจักรพรรดิ
น.สพ.ม.ล. พิพัฒ นฉัตร ดิศกุล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวังให้ข้อมูลถึงศุภลักษณะ หรือ ลักษณะอันดีแห่งช้างมงคลว่า จะต้องมีคา ขนหาง ขนรอบตัว เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) เป็นสีขาว หรือสีหม้อดินใหม่ ตามคติความเชื่อ ซึ่งจะเรียกว่า “ช้างเผือก”

ช้างเผือกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ช้างเผือกเอก ช้างเผือกโท และช้างเผือกตรี … พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ หรือที่เรียกกันว่า “คุณพระเศวตใหญ่” ที่มาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ เป็นช้างเผือกโท

“ช้างต้น” ในราชวงศ์จักรี มีดังนี้

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มี 11 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มี 5 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 11 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 12 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 19 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 1 ช้าง

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 1 ช้าง

สำหรับ ในแผ่นดินรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้น ถือว่าเป็นแผ่นดินที่มีช้างต้นมาสู่พระบารมีมากที่สุดถึง 20 ช้างด้วยกัน ในจำนวนนั้นมีช้างสำคัญ หรือ ช้างที่มีลักษณะมงคล 7 ประการ ซึ่งได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวางพระราชทานนามเป็นช้างเผือกจำนวน 10 ช้าง ล้ม (ตาย) ไปแล้ว 4 เหลือ 6 ช้าง และถ้านับรวมกับช้างประหลาด หรือช้างที่มีลักษณะมงคลบางประการ บวกรวมเข้ากับช้างที่สำคัญที่ยังไม่ได้เข้าพระราชพิธีขึ้นระวาง ปัจจุบันนี้ มีช้างต้นจำนวน 11 ช้าง ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้

1. พระ เศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทราชาติ สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์ รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการปรมินทรบพิตร สารศักดิ์เลิศฟ้า … ชื่อเดิม คือ พลายแก้ว เป็นช้างพลายเผือกโท เป็นลูกช้างเถื่อน น้อมเกล้าฯถวายเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ณ โรงช้างต้น เขาดินวนา (สวนสัตว์ดุสิต) เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ “กุมุท” สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 … ปัจจุบัน นำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม 2547 และประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547

2. พระเศวตสุทธวิลาศ อัฏฐคชชาต พิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามรพรรณไพศิษฏ์ ผลิตวรุตตมงคล ดาสศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้า … เป็นช้างพลายเผือก (สีดอ) เป็นลูกเถื่อน ชื่อเดิมคือ “พลายบุญรอด” เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” จำพวก “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2520 … ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

3. พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้า … เป็นช้างพัง ลูกเถิ่อน ชื่อเดิม “ขจร” ถวายเป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ “กุมุท” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2520 … ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2538

4. พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดี โรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฎฐทิศพิศาล พิเสฐ ธารธรณิพิทักษ์คุณารักษ กิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า … เป็นลูกช้างพังลูกเถื่อน ชื่อเดิมภาษาพื้นเมืองว่า “จิ” ต่อมาเรียกว่า “จิตรา” น้อมเกล้าฯถวายเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ “อัญชัญ” ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2520

5. พระเศวตภาสุรเคชนทร์ นวเมนทราพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้า … เป็นลูกช้างพลายลูกเถื่อน ชื่อเดิม “ภาศรี” เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

6. พระเทพวัชระ ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสติธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสานโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้า … เป็นลูกช้างพัง ชื่อเดิม “ขวัญตา” เป็นช้างสำคัญในตระกูล “พิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” จำพวก “ดามพหัสดินทร์” จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงพิธี จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2538

7. ช้างพลาย “วันเพ็ญ” น้อมเกล้าฯถวาย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

8. ช้างพลายชื่อ “ยอดเพชร” เป็นช้างที่เกิดในตระกูล พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ“กุมุท” ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ปัจจุบันอายุประมาณ 28 ปี

9. ช้างพลายชื่อ “ขวัญเมือง” เป็นช้างที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของจังหวัดเพชรบุรี จมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ ปรากฏว่าเป็นช้างในตระกูล พรหมพงศ์” จำพวก “อัฏฐทิศ” ชิ่อ“อัญชัญ” จัดพิธีถวาย ณ มุขตะวันออก พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ โรงช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

10. “พังมด” เป็นช้างพังลูกเถื่อน น้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ปัจจุบันนำไปยืนโรง ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

11. พลาย “ทองสุก” เกิดเมื่อประมาณปี 2514 เป็นช้างที่เกิดในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ปัจจุบันอายุประมาณ 34 ปี

พระมหากรุณาธิคุณต่อช้างไทย

น.สพ.ม.ล. พิพัฒ นฉัตร กล่าวถึงการดูแลช้างสำคัญว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าพระราชวังสวนจิตรลดานั้น มีหน่วยงานตามพระราชดำริมากขึ้น ทำให้ไม่มีบริเวณเพียงพอให้ช้างได้เดินออกกำลังที่เพียงพอ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายช้างสำคัญเหล่านี้ไปอยู่ในโรงช้างหลวงที่ จังหวัดลำปางและสกลนคร เพื่อให้ช้างเดินออกกำลังกาย และทดลองใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ โดยมีผู้ดูแลช้างสำคัญทุกช้าง

โดย ช่วงแรกย้ายไปไม่กี่ช้างก่อน และให้มีการถวายรายงานการปรับตัวของช้างเป็นประจำ จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี จึงสามารถย้ายได้ทั้งหมด 10 ช้าง ส่วน คุณพระเศวตใหญ่ฯนั้น ได้ถูกนำไปไว้ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ตามพระราชประเพณีที่ช้างเผือกสำคัญประจำรัชกาลจะต้องอยู่ใกล้พระเจ้าแผ่นดิน เพื่อความเป็นมงคล

ส่วนการดูแลนั้นจะเป็นไปตามตารางที่ค่อนข้างจะเป็นกิจวัตรประจำที่เหมือนกันทุกวัน ก็คือตอนเช้า 7 นาฬิกา ควาญจะนำช้างออกจากโรงช้างไปฝึกเข้าแถว ฝึกยืนนิ่งๆ นั่งนิ่งๆ หมอบนิ่งๆ ฝึกทำความเคารพโดยการยกงวงขึ้นจบ ฝึกรับของจากพระหัตถ์

“จากนั้นประมาณ 8 โมงกว่าๆ ก็จะปล่อยเข้าป่า โดยจะปล่อยโซ่ยาว 50 เมตรเพื่อให้เดินไปหากินในป่าได้ กระทั่งบ่ายสองโมงครึ่งก็นำออกจากป่า พาไปเล่นน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำไปอาบน้ำหน้าโรงเรือน ในส่วนของการอาบน้ำถ้าเป็นของโบราณจริงๆ เราใช้มะขามเปียกถูแทนสบู่ แต่ตอนนี้เราใช่สบู่เหลวเด็กอาบเพื่อจะได้ไม่กัดผิวหนังของช้าง”

“จาก นั้นอาบน้ำเสร็จก็พาเข้าโรงเรือน ทอดหญ้าให้น้ำ เป็นอันจบกิจวัตร พอเช้าก็ทำแบบนี้ใหม่ และในเรื่องของอาหารนั้น ช้างจะกินอาหารประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ดังนั้นใน 1 วัน จะกินอาหารเฉลี่ยตัวละ 200 – 250 กิโลกรัม โดยอาหารก็จะเป็นพวกหญ้า กล้วยประมาณ30-40หวี อ้อย 5-10ลำยาว และจะมีพวกอาหารเสริมและเกลือแร่ด้วย”

และ เมื่อถามถึงการดูแลตรวจสุขภาพช้างสำคัญนั้น น.สพ.พิพัฒนฉัตรให้ข้อมูลว่า จะมีการสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลาจากควาญช้างและสัตวแพทย์ หากมีอาการผิดปกติจะได้ดูแลได้ทันท่วงที และจะมีการตรวจสุขภาพใหญ่ ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระอยู่ทุกๆ 6 เดือน

นอก จากช้างต้นและช้างที่สำคัญแล้ว ช้างธรรมดาๆก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงเผื่อแผ่ไปยังช้างไทยทุกตัวอีกด้วย โดยหากได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลสัตว์ที่ไหนก็ตาม ทีมสัตวแพทย์หลวงก็จะออกเดินทางไปช่วยเหลือทุกกรณี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

นอก จากนี้สายพระเนตรและน้ำพระทัยแห่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังได้แผ่ไปยังช้างชราและช้างบาดเจ็บที่ถูกเจ้าของทิ้ง โดยทรงรับสั่งให้ทีมสัตวแพทย์หลวงดูแลด้วย

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
กลับมามีพระพลานามัยแข็งแรงดังเดิมในเร็ววัน



26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย

คณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่ให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น

คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์..



 

ความสำคัญของ “ช้างไทย” โรงช้างต้น
ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศ
มีธงชาติเป็น “รูปช้างเผือก” ชาวไทยเชื่อกันว่า “ช้างเผือก” เป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์
“ช้างเผือก” จึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

ช้างเป็นผู้ปกป้องเอกราชแห่งชาติไทย
ประวัติ ศาสตร์ชาติไทย ได้จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราช และความเป็นชาติให้แก่ชาว ไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็นปึกแผ่น และมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ได้ทรงประกาศเอกราช และความเป็นชาติ ของคนไทยบนหลังช้าง ทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวร นับว่าเป็น “ช้างไทย” ที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด โดยจากความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ทำให้ “ช้างไทย” เชือกนี้ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

ช้างใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาติไทยในอดีตกาลนั้น ล้วนแต่ได้ช้างเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้งสิ้น
เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ได้ช้างเข้ามาเป็นแรงงานสำคัญอีกเช่นกัน เมื่อแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นช้าง คือ พาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตมาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะ หรือประมุข ของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระ ที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ

ช้างสร้างความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ และเบตาเวีย (จาการ์ตา) ประเทศอินโดนีเซีย ได้พระราชทานช้างสำริดให้แก่ทั้ง 2 ประเทศนี้

ช้างใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม
ใน ยุคสมัยที่การคมนาคมยังไม่เจริญเทียบเท่ากับในปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ สำหรับนำมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อการขนส่งของ ช้าง คือพาหนะที่ดี และมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษย์ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่มีความเฉลียวฉลาด และมีพละกำลังมหาศาล ช้างจึงสามารถขนส่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในปริมาณมากได้อย่างอดทน

ช้างใช้ในการอุตสาหกรรมทำไม้
การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ นับว่าเหมาะสมมาก เพราะช้างสามารถเดินไปได้โดยไม่ทำลายกล้าไม้ต้นเล็กๆ ไม่ทำให้ดินแน่น ไม่ต้องตัดถนนหนทางให้มากเส้น นอกจากนี้ช้างยังขึ้นเขาได้ดี และมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี

ในปัจจุบันเมื่อมนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความนิยมในการใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง แต่ช้างก็ยังคงเป็นสัตว์ที่คนไทยทั้งชาติให้ความสำคัญเสมอดังนั้นรัฐบาลไทย จึงได้กำหนดให้ “ช้างเผือก” เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดให้ทุกวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันช้างไทย”

ความสำคัญของช้างต่อประวัติศาสตร์ ชาติไทย
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในศิลาจารึก สุโขทัยหลักที่หนึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น "ช้าง" คือขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทรงประทับช้างนำ ราษฎรไปบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิก จะเห็นได้ว่าทั้งในยามศึก และยามสงบช้างอยู่คู่แผ่นดินสุโขทัยเรื่อยมา ช้างมีความสำคัญมากถึงเพียงนี้ จึงมีการสอนวิชาขับขี่ช้างซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับเจ้านาย และลูกผู้ดีเพื่อยังประโยชน์ในการใช้ช้างเป็นพาหนะและเตรียมการเพื่อศึก สงคราม

ช้างใช้ในการศึกสงครามในอดีต
ใน สมัยโบราณ ช้างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญของกองทัพเปรียบได้กับรถถังประจัญบานของนักรบใน ปัจจุบัน
ทว่าชัยชนะที่ได้รับนั้นจะดูสง่างามกว่าหลายเท่า เพราะมนุษย์ที่นั่งอยู่บนคอช้างต้องเชี่ยวชาญอาวุธของ้าว
ใช้ความกล้าหาญไสช้างแต่ละเชือกพุ่งตรงเข้ารบปะทะกันตัวต่อตัว ช้างต่อช้างเข้าชนกันนั้น

หาก ช้างของผู้ใดมีความสามารถมากกว่าก็จะงัดช้างศัตรูขึ้นด้วยงาจนแหงนหงาย หรือเบนบ่ายจนได้ที
เพื่อให้แม่ทัพบนคอช้างส่งอาวุธเข้าจ้วงฟันคู่ต่อสู้ ช้างกับนักรบบนคอช้างจึงต้องมีกำลังแข็งแรงฝีมือเข้มแข็ง
ทั้งคู่จึงจะได้ชัยชนะมาประดับเป็นเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน

การรบบนช้างหรือที่เรียกว่า “ยุทธหัตถี” นั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ไทย แต่ครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งคนไทยยังกล่าวขวัญจดจำไม่รู้ลืม คือ “การ ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หรือกว่า 400 ปี ล่วงมาแล้ว”









พระยาช้างเผือก ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช





ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพจาก: http://www.kanchanapisek.or.th /www.parliament.go.th/

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 ธ.ค. 2552, 07:17:37 »
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23 ธ.ค. 2552, 07:55:46 »
ขอบคุณท่านกระเบนท้องน้ำมากนะครับ   ช้างเผือกสวยมากๆเลยครับ  :015:  :053:


ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ๆ  :054:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 23 ธ.ค. 2552, 09:38:11 »
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เป็นภาพที่หาชมได้ยากนัก เป็นบุญตาแท้ๆ

ขอบพระคุณที่นำมาให้ชมอย่างสูงครับ ขอให้สุขภาพดีนะครับ สาธุ ...  :089:

ออฟไลน์ ศิษย์หน้าใหม่

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 34
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 23 ธ.ค. 2552, 11:27:05 »
ขอองค์มหาราช ของปวงชนชาวไทย ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

เป็นบุญตาจริงๆครับ

ขอขอบคุณ คุณกระเบนท้องน้ำมากนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ธ.ค. 2552, 11:31:09 โดย ศิษย์หน้าใหม่ »

ออฟไลน์ • ชินจัง •

  • จะดี จะชั่ว อยู่ที่ตัวเราทำ !
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 64
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2552, 05:29:31 »
ขอให้องค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนานครับ

จงเป็นตัวของตัวเอง แล้วสิ่งนั้นจะทำให้คุณสมหวัง !

จงทำทุุกสิ่งให้ดีที่สุด ถึงแม้ผลจะออกมาดีหรือไม่ดี แต่จงภูมิใจว่า " เราทำดีที่สุดแล้ว "

ออฟไลน์ Sak1459

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 156
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2552, 01:18:22 »
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ธ.ค. 2552, 01:18:54 โดย Sak1459 »

ออฟไลน์ schoolbus

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 153
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2552, 03:09:48 »
ข้อมูลดีมากๆเลยครับ ขอบคุณมากครับ  :001: :001:
อดีตรองประธานมูลนิธิปิยสีโล...ผู้ได้ฉายา สืบ ปืนแตก หรือ สืบ ปืนเสีย
พระครูพิทักษ์วีรธรรม (สืบ ปริมุตโต) เจ้าคณะตำบลท่าพระยา
พระอุปปัชฌาย์และเจ้าอาวาส วัดสิงห์ ต.บางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ออฟไลน์ หลังฝน..

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 310
  • เพศ: ชาย
  • ทุกอย่างมีเหตุและผลเสมอ
    • MSN Messenger - webmaster@lifesyt-it.net
    • ดูรายละเอียด
    • www.lifestyle-it.net
ตอบ: ช้างไทย...ในตำนาน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 24 ธ.ค. 2552, 05:41:58 »
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ความพยายามนั้นมีอยู่จริงในตัวตนของเรา สุดแท้แต่ความพยายามนั้นจะถูกดึงออกมาใช้ได้มากน้อยแต่เพียงใด