ผู้เขียน หัวข้อ: พระรอดพิมพ์ต้อ กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน  (อ่าน 3359 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด








ในบรรดาพระเนื้อดินที่ว่าดังๆ จากทั่วทุกสารทิศในประเทศไทย ถ้าถามว่าพระอะไรที่มีอายุมากที่สุด คำตอบก็คือ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน และเช่นเดียวกันถ้าถามว่าพระอะไรที่ดูยากดูเย็นมากที่สุด ก็คงจะต้องตอบว่า พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน อีกเช่นกัน เพราะสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่า "พระรอด" ซึ่งได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดนิยมของเมืองไทย หรือที่เรียกว่า "พระชุดเบญจภาคี" นั้น นับเป็นพระเครื่องที่มีศิลปะ ชั้นสูง แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน เป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหากันมากมาย ดังนั้น ถ้าคิดจะเข้าสู่วงการกับเขาบ้างก็ควรจะรู้วิธีการดูพระรอดขั้นต้นเอาไว้บ้าง ครับผม

พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน นั้น จะมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ตั้งแต่พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก แถมยังมีพิมพ์ตื้น และพิมพ์ต้อ อีก ด้วย สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึง "พระรอด พิมพ์ต้อ" กันก่อน สาเหตุที่เรียกว่า "พิมพ์ต้อ" นั้น เนื่องด้วยองค์พระมีลักษณะต้อๆ สั้นๆ กว่าพระรอดพิมพ์อื่นนั่นเอง

พุทธ ลักษณะองค์พระของพระรอดทุกพิมพ์จะเหมือนกัน คือ ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้โพธิบัลลังก์ มีฐานเขียงเป็นอาสนะสามชั้น ศิลปะของพระรอด พิมพ์ต้อ นั้น องค์พระจะเตี้ยล่ำ คล้ายๆ กับพระพุทธรูปเชียงแสนศิลปะขนมต้ม ส่วนเค้าพระพักตร์คนโบราณจะเรียกว่า "เป็นแบบเมล็ดพริกไทย" คล้ายกับพระรอด พิมพ์กลาง พระโอษฐ์สั้นเหมือนปลากัด และพระรอด พิมพ์ต้อนี้ให้สังเกตที่พระกรรณ ซึ่งจะสั้นกว่าพระรอดพิมพ์อื่น

พระ หัตถ์ข้างขวาขององค์พระที่วางพาดเข่าก็จะใหญ่ แลดูเป็นนิ้ว 6 นิ้ว และที่นิ้วหัวแม่มือดูคล้ายจะมีรอยตัด เหลือปลายนิ้วเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ชี้ลงมาที่โคนน่องของขาขวา ที่โคนน่องให้สังเกตลอยขยัก 2 ขยัก อันนับเป็นจุดสำคัญในแม่พิมพ์

จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ผ้ารองนั่ง จะเป็นขีดเหนือฐานชั้นล่างสุดหรือฐานชั้นที่หนึ่งเล็กน้อย และไม่ห่างกันมาก ถ้าห่างกันจะเป็นของเก๊ อีกประการหนึ่งคือ ในพิมพ์นี้จะไม่ปรากฏเนื้องอกหรือเนื้อปลิ้นที่เกิดจากการดันออกจากพิมพ์ใต้ ฐานองค์พระ

สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาในระยะแรก ควรจะหัด วาดและจัดกลุ่มใบโพธิ์เหนือองค์พระก่อน ซึ่งสามารถจัดได้ 6 กลุ่มโพธิ์ โดยจะมีโพธิ์ขีดยาวที่เรียกว่า "ก้านโพธิ์" เป็นตัวแบ่ง เพราะหัวใจของการดูพระรอดก็คือ การดูกลุ่มโพธิ์ ให้สังเกต "โพธิ์กลุ่มแรก" ซึ่งนับจากทางขวาขององค์พระจะปรากฏโพธิ์ 2 ใบที่ไม่เรียงเป็นแนวเดียวกันหากแต่วางขัดกัน ผิดกับ "โพธิ์กลุ่มที่ 6" ซึ่งอยู่สุดทางซ้ายขององค์พระใบโพธิ์จะวางเรียงตามกันทุกใบ และใน "กลุ่มโพธิ์ที่ 5" จะเห็นเป็นโพธิ์เขยื้อนในบางใบโพธิ์อย่างชัดเจน ครูเก่าๆ ท่านเคยสอนผมว่าพระรอดเป็นพระที่เนื้อละเอียดและแห้งมาก หากล้างมือให้สะอาดเช็ดมือให้แห้งแล้วนำพระรอดวางลงในอุ้งมือองค์พระจะดูด มือนิดๆ ก็ลองกันดู ค่อยเป็นค่อยไปจากหลักการเบื้องต้นนี้ก่อน และก็หวังว่า พระรอดแล้วคนก็จะรอดด้วยนะครับผม




ที่มา คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย ราม วัชรประดิษฐ์ ขอบคุณครับ :089:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ม.ค. 2553, 07:15:20 โดย ขุนแผน »