ผู้เขียน หัวข้อ: พระบัวเข็มกับชาวมอญ  (อ่าน 1674 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
พระบัวเข็มกับชาวมอญ
« เมื่อ: 17 ม.ค. 2553, 06:12:34 »



"มอญ" เป็นชนชาติโบราณที่อาศัยอยู่ในแถบตอนล่างของพม่า เขตเมืองเมาะตะมะ เมาะลำเลิง พะสิม หงสาวดี แล้วก่อตั้งเป็นอาณาจักร "ศิริธรรมวดี" และรับพุทธศาสนาคติลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐาน

ศูนย์กลางของชาวมอญที่เรียกตัวเองว่า "รามัญ" หรือ "ตะเลง" นั้น จะอยู่ที่เมือง หงสาวดี ที่มีตำนานการสร้างเมืองเนื่องจากพบหงส์ทองสองตัวลงมาเล่นน้ำ ก่อนที่จะถูกพวก "พยู" หรือ "พม่า" แห่งอาณาจักรพุกามรุกราน จนต้องอพยพหลบหนีและกลายเป็นเมืองขึ้น หรือกระทั่งถูกกลืนชาติในที่สุด

แต่อาจกล่าวได้ว่าแม้มอญจะพ่ายแพ้ในการรบ หากแต่มีชัยชนะเหนือ "งานศิลปะ" ซึ่งได้เข้าไปปรากฏอิทธิพลในพม่า จนอาจกล่าวได้ว่าศิลปะของพม่านั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานศิลปะของชาวมอญนับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



ในขณะที่ไทยสยามเชื่อเรื่องการบูชาแม่น้ำคงคา และพระแม่คงคา ตลอดจนประเพณีการจองเปรียง หรือตำนานของนางพระยากาเผือก อันเป็นการผสมผสานระหว่างคติฮินดูกับพุทธศาสนา ชาวมอญกลับมีความเชื่อว่าประเพณีลอยกระทงผูกพันอยู่กับ "พระอุปคุตเถระ" ซึ่งเป็นพระมหาเถระซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ปรากฏเรื่องราวในพุทธศาสนาว่า ท่านบำเพ็ญธรรมอยู่กลางมหานทีอันกว้างใหญ่ในโลหะปราสาท

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในอินเดีย ทรงโปรดฯ ให้กระทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ 3 แต่ปรากฏว่าพญามารเข้ามาก่อกวนมณฑลพิธี จนต้องอาราธนาพระอุปคุปต์มาปราบ ด้วยการเนรมิตซากสุนัขเน่าเหม็นห้อยติดคอพญามาร และทำอย่างไรก็ไม่สามารถแก้หลุดได้ จนพญามารต้องยอมศิโรราบ ทำให้การสังคายนาพระไตรปิฎกสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี





ชาว มอญแห่งเมืองศิริธรรมวดี หรือเมืองสะเทิม ที่มีนิวาสสถานใกล้กับใจกลางมหานทีหรือมหาสมุทร อันเป็นที่บำเพ็ญธรรมขององค์พระอุปคุปต์ จึงพากันบูชาโดยการสร้างเป็นแพไม้ไผ่ขนาดใหญ่ มุงด้วยใบจาก ภายในบรรจุอาหารคาวหวาน ข้าวของเครื่องใช้ รูปจำลองขององค์พระอุปคุปต์ ซึ่งทุกเรือนชานบ้านช่องต่างพากันบริจาคข้าวของสิ่งละอันพันละน้อย เพื่อบูชาองค์พระอุปคุปต์ที่อยู่กลางมหานที และนำแพไม้ไผ่ไปลอยลงแม่น้ำใหญ่ หรือทะเล ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง หากผู้ใดตกทุกข์ได้ยากขาดแคลน เมื่อพบเจอแพบูชาก็สามารถนำข้าวของต่างๆ ไปใช้ได้ ซึ่งก็นับเป็นการทำกุศลของชาวมอญอีกลักษณะหนึ่ง

ธรรมเนียมการบูชาพระอุปคุปต์นี้แพร่หลายในหมู่ชาวพม่า มีการสร้างรูปบูชาพระอุปคุปต์ในลักษณาการพระพุทธรูปไม้นั่งอยู่กลางน้ำ บนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว และตามร่างกายมีเข็มปักติดอยู่ทั่วพระวรกาย รู้จักกันแพร่หลายว่า "พระบัวเข็ม" อันสื่อความหมายถึง "พระธรรม" ที่พระอุปคุปต์ทรงแสดงปราบพญามาร นอกจากนี้ ชนชาติเขมรยังรับคติความเชื่อเรื่องพระอุปคุปต์มาจำลองเป็นเทวประติมากรรม ขนาดเล็ก ทำด้วยสัมฤทธิ์ เป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ในเปลือกหอยลักษณะต่างๆ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันครับผม


ที่มา คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย ราม วัชรประดิษฐ์


ออฟไลน์ kaoprig1

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 14
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระบัวเข็มกับชาวมอญ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 17 ม.ค. 2553, 10:48:22 »
ขอบครับสำหรับข้อมูลดีๆได้ความรู้มากมาย