ผู้เขียน หัวข้อ: อาลัย พระธรรมกถึกเอก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (อ่าน 1760 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด


คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ถึงวาระกาลสูญเสียอีกครั้ง เมื่อ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 103 ปี พรรษา 82 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

ก่อนหน้านี้สุขภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จไม่แข็งแรงนัก อีกทั้งมีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว ประกอบกับวัยที่ชราภาพ ทำให้ท่านต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นประจำ จนเมื่อ 2 ปีก่อน คณะสงฆ์วัดสุวรรณารามได้นำเข้ารับการรักษาและพักฟื้นอาการอาพาธที่โรงพยาบาล สงฆ์ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลและพระอุปัฏฐากคอยดูแลท่านอย่างใกล้ชิด

กระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 24.00 น. คืนวันที่ 26 ม.ค. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เกิดอาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่สะดวก โดยอาการทรงและทรุดมาตลอด จนสุดความสามารถเยียวยาของคณะแพทย์ สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง

"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" (พุฒ สุวัฑฒโน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 2 และกรรมการมหาเถรสมาคม

ท่านเป็นพระเถระที่มีวัยวุฒิสูงที่สุดในบรรดาคณะกรรมการมหาเถรสมาคม



อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า พุฒ สุวัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2450 ที่บ้านมะขามเรียง ต.จำปา อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเพชร และนางคำ สุวรรณฉาย

ในช่วงวัยเยาว์ได้มีโอกาสเรียนหนังสือไทย และหนังสือขอมกับหลวงอาน้อย วัดธรรมเสนา อ.บ้านหมอ และเรียนที่วัดตะลุง จนครูใหญ่บอกว่าเรียนจบภาษาไทยและเลข ก่อนมาเรียนหนังสือขอมกับหลวงพ่อเพชร ซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่วัดสะพานช้าง

ครั้นถึงพ.ศ.2467 จึงเข้าพิธีบรรพชา มีหลวงพ่อเพชร วัดตะลุง เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดตะลุง ต.งิ้วราย อ.เมือง จ.ลพบุรี และเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมด้วย โดยหลวงพ่อเพชรได้นำท่านไปฝากไว้ที่คณะ 4 วัดสุทัศนเทพวราราม

พ.ศ.2469 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2471 ณ วัดบัวงาม อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์บัตร วัดสะตือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการอุ่น วัดหนองแห้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้นามฉายา "สุวัฑฒโน" แปลว่าผู้มีความเจริญ

หลังอุปสมบทท่านได้กลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี พ.ศ.2479 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค

ท่านเจ้าประคุณได้สร้างคุณูปการแด่คณะสงฆ์อย่างมากมาย อาทิ ก่อตั้งสหภูมิอยุธยาขึ้นเมื่อปี 2496 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธญาณมุนี เพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี สามัญศึกษา และอุดมศึกษา ที่กรุงเทพมหานคร พระภิกษุ-สามเณรซึ่งเป็นชาวอยุธยาทุกวัดที่มาสมัครเป็นสมาชิกไม่เสียค่าใช้ จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ท่านดำรงตำแหน่งองค์ประธานการรวมตัวกันของสหภูมิอยุธยา ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างสรรค์และช่วยเหลือพระภิกษุ-สามเณรที่ขาดแคลน ทุนการศึกษา และเป็นการให้คำปรึกษาสนับสนุนระดมทุนสร้างเสถียรภาพให้พระพุทธศาสนา

อีกทั้งยังเป็นประธานการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการทั่วภูมิภาคทั่วประเทศ ครั้งที่ 1 นอกเหนือจากการประชุมแล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังได้น้อมนำธรรมะเข้ามาใช้ด้วยเสมอ ทั้งนี้ ยังฝาก ทำยังไงจึงจะชอบ ก็ขอให้ไปดูคำสั่งครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ยึดหลักความไม่ประมาทไว้ให้ดี ยังประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมให้ถึงพร้อม ย่อรวมมาจากสาม ละเว้นบาป ทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งย่อมาจากพระสูตร 21,000 พระธรรมขันธ์ พระวินัย 21,000 และพระอภิธรรม 42,000 รวมเป็น 84,000 พระธรรมขันธ์

ตลอดชีวิตของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษามาโดยตลอด

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานในการแสดงธรรมเทศนา การบรรยายธรรมและในการสอน กล่าวได้ว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกเอกองค์หนึ่งของประเทศไทย

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ วันที่ 10 กรกฎาคม 2502 ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ

พ.ศ.2504 เป็นผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง และเป็นผู้อำนวยการตรวจธรรมหลวงชั้นโททั่วประเทศ พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะอำเภอบางกอกน้อย

พ.ศ.2512 ได้เป็นรองเจ้าคณะภาค 2 มีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสระบุรี

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระพุทธิญาณมุนี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชพุทธิญาณ

พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพญาณสุธี พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมราชานุวัตร

พ.ศ.2521 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

พ.ศ.2539 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นแบบอย่างแห่งพระแท้ ตั้งมั่นในความเป็นพุทธบุตร มุ่งฝึกฝนอบรมตน รับภารธุระงานพระศาสนาด้วยวิริยะ จากภาระหน้าที่ในด้านต่างๆ ของสังฆมณฑล อย่างเรียบร้อยเป็นแบบแผน

เมตตาธรรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่แผ่ความชุ่มเย็นสู่ใจผู้มีโอกาสได้พบ ได้รับกระแสแห่งพระธรรม ที่สั่งสอนให้พุทธศาสนิกชนเกิดความรู้ ความซาบซึ้ง และน้อมนำไปคิดและปฏิบัติตามอย่างมีสติและปัญญา

อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ บ่อยครั้งทำให้ท่านอ่อนแรง สุขภาพไม่แข็งแรงดังเดิม กระทั่งเกิดล้มป่วยอาพาธเป็นประจำ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลหลายครั้ง

ท้ายที่สุดสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้มรณภาพอย่างสงบ

ทันทีที่คณะ สงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ของสมเด็จฯ ทราบข่าว ต่างมารอกราบศพและสรงน้ำศพท่าน

ทั้งนี้ วัดสุวรรณารามได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากาญจนาภิเษก ประกอบพิธีพระราชทานสรงน้ำศพและประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในพระบรมราชานุเคราะห์ โดยพิธีดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับยศชั้นสมเด็จพระราชาคณะ และโกศไม้สิบสองพระราชทานเป็นพิเศษ

เพื่อแสดงความอาลัยต่อการจากไปของเจ้าประคุณสมเด็จฯ




ที่มา ข่าวสดออนไลน์ ขอขอบคุณครับ  :089:

ออฟไลน์ yout

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: อาลัย พระธรรมกถึกเอก สมเด็จพระพุทธโ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 02 ก.พ. 2553, 02:06:50 »
ขอบคุณครับ........... :090: :090: :114: :090: :090:...........
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.พ. 2553, 02:08:03 โดย yout »