ผู้เขียน หัวข้อ: การกำหนดรู้ระวังที่ใจสำคัญที่สุด  (อ่าน 808 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด


ถาม :  เวลาคิดกำหนดระยะเวลานานๆ ถ้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีการสัมผัส แล้วทีนี้เวลาใจมันออกมา มันออกมาทางไหนคะ จับไม่ทันเลย

ตอบ : จับไม่ทัน ? เขาระวังตรงใจ อย่าไประวังตรงตา หู จมูก ลิ้น กาย

ถาม : มันขึ้นมาเองคะ ไม่ทันระวัง มันขึ้นมาเอง

ตอบ : กำหนดใจเหมือนกับตัวเรานั่งอยู่ในห้องว่างๆ ประตูอยู่ตรงหน้าของเรา อะไรเข้ามาเราจะรู้ นึกออกไหม ? เหมือนอาคันตุกะมาเยี่ยม โผล่หน้ามาก็รู้แล้ว นี่มาทางตานะ..ต้องระวังไว้ เดี๋ยวมันจะเข้ามาในใจเราได้ นี่มาทางหู..ต้องระวังไว้ เดี๋ยวจะเข้ามาในใจเราได้ หูกับตาจะมาเร็วที่สุด

ถาม : ยังพอทัน หูกับตา แต่ใจนั้นไม่ชัด

ตอบ : นั่นแหละ คือ ระวังใจตัวเดียว หกตัว ระวังใจตัวเดียว อย่าให้เข้ามาในใจของเรา

แล้วจะไป เสียเวลากำหนดไปทำไม ภาวนาให้จิตทรงเป็นฌาน มันก็รู้รอบแล้ว ถ้าเราจับลมหายใจเข้าออกได้ สังเกตไหมว่ามันจะกินเราไม่ได้เลย มันปิดหมด

ถาม : ช่วงจับบางทีมันแน่น แน่นหน้าอก จนจุก

ตอบ : อาการอย่างนั้น บางทีเป็นขั้นตอนของการบอกให้รู้ว่า ตอนนี้อารมณ์ใจทรงตัวแล้ว เราเองเราก็จับอาการนั้นเอาไว้ ถึงเวลาถ้าอาการนั้นมันแน่นขึ้นมา เราก็รู้ว่าตอนนี้อารมณ์อยู่ในระดับที่จะพึ่งตัวเองได้ แล้วเราก็ระวังได้

บางทีอาการบางอย่างในร่างกายไม่เหมือนเขา เมื่อเกิดขึ้นเราก็ต้องรู้ไว้ จริงๆ แล้วอาการที่แน่นเข้ามา บางทีเย็นเหมือนกับซุกน้ำแข็งในอกก็มี คอยสังเกตตัวเองว่า ของเราต่างกับของเขานิดหน่อย พอ อารมณ์ใจถึงตรงนั้น แล้วดูซิว่าสติพร้อมไหม ถ้าสติพร้อม คือ อาการของการทรงฌาน อย่างน้อยๆ เป็นอาการของอุปจารฌาน



สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔


ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=1413




.