ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำการฝึกกสินภาคปฏิบัติ (หากมีอะไรผิดพลาด ช่วยชี้แจงด้วยครับ)  (อ่าน 2507 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ข้าพเจ้าฝึกกสินสีขาว พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง ขอแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้วิธีหรือเกิดปัญหาดังนี้

ตั้งวงกสินให้อยู่ไกลประมาณ 1 เมตร 10 ซม.
นั่งให้ระดับสายตาอยู่สูงกว่าตรงกลางวงกสินเล็กน้อย ไม่ให้เงยหน้ามองหรือก้มหน้ามอง
ตั้งกสินให้ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงสะท้อน หรือย้อนแสงนั่นเอง

- จากนั้นให้มองดวงกสินแบบให้มองเหม่อเหมือนส่องกระจกไปที่จุดศูนย์กลางของวงกสิน เพื่อไม่ให้มีแสงลายๆวิ่งรอบๆ ดวงกสิน

- พร้อมกันนั้นให้กำหนดคำภาวนาในใจ เช่น "สีขาว", "สีขาว" เป็นต้น ทุกลมหายใจเข้าออก

- จากนั้นให้เรากระพริบตา เมื่อรู้สึกว่าตาของเรามองกสินไม่ชัด

- เมื่อเรามองกสินไปได้พักหนึ่ง ซึ่งประมาณ 15 วินาที - 1 นาที หรือเมื่อรู้สึกว่านาน ให้หลับตาลงมองดูเงาโครงร้างของกสิน ไม่ใช่นึกภาพเอาเอง เราจะเห็นเป็นวงเงาจางๆ ที่ในหนังตากลางระหว่างคิ้ว

- พยายามรักษารูปเงาของกสินไว้ให้นานที่สุด เมื่อภาพของกสินหายไป อาจจะเพราะจิตเกิดนิวรณ์ หรือภาพที่เคยมองหายไปเอง ให้เราลึมตามองแล้วทำอย่างที่บอกมาแล้วอีกเรื่อยไป

- เวลาที่หลับตาและลืมตานั้น ข้าพเจ้ามีเทคนิคอยู่ว่า อย่าให้ร่างกายของตนเองขยับเขยื่อนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ภาพหายเร็วขึ้น สมาธิเคลื่อน, แต่เวลาที่รู้สึกตามันหนัก ตาจะหลับตาท่าเดียวไม่ลืมตาล่ะก็ ให้หายใจยาวๆ ได้จะทำให้อาการหนักตาหายไป และเวลาที่หลับตาหรือลืมตานั้นควรใช้ตอนที่อยู่ในช่วงเวลาหายใจเข้า เพราะตอนกำลังหายใจเข้าร่ายกายของเราจะนิ่งและรู้สึกเบาตัว

- เมื่อเราดำรงตนอยู่กับคำภาวนา พร้อมกับลืมตามองดวงกสิน สลับกับหลับตามองภาพเงาของกสินได้อยู่ตลอดโดยคำภาวนานั้นไม่ได้ตกหล่นแม้สักครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกได้แล้ว

- ต่อไปนานวันเข้า จะทำให้นิวรณ์ดับไปช่วงสั้นๆ คือ ดำรงสมาธิโดยไม่มีนิวรณ์ได้ช่วงสั้นๆ สลับกับมีนิวรณ์แทรกเข้ามาช่วงสั้นๆ ตลอดเวลาการฝึก เมื่อเราทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติอยู่ทุกวี่วัน จะทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของกสินชาวๆ จางๆ ติดตาในเวลาหลับตาที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง เช่น หลับตาตอนนั่งรถประจำทาง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าสมาธิอยู่ใน ระดับ "ขณิกสมาธิ"

- ต่อเมื่อฝึกไปนานๆ เข้าทุกวัน สามารถดำรงขณิกสมาธิได้เป็นปกติแล้ว จะทำให้นิวรณ์ดับไปนานขึ้น จนเกือบไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกเลยในช่วงหลังจากที่เริ่มนั่งฝึกสมาธิแล้ว เมื่อกระทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติเคยชินจะทำให้ภาพของกสินนั้นชัดขึ้น จนติดตาของเรา เห็นภาพเหมือนกับลืมตาปกติ (ก่อนที่จะเห็นเหมือนกับลืมตาได้นั้นจะมีวิวัฒนาการคือ จะเห็นขอบของเงากสินชัดขึ้น ตรงกลางของเงากสินเปลี่ยนสีไปเป็นสีขาวก่อนจุดอื่น และค่อยขยายตัวขึ้น จนในที่สุดจะขาวทั้งดวงเหมือนกับลืมตา) อย่างนี้เรียกว่าสมาธิของเรานั้นอยู่ในระดับ "อุปจารสมาธิ"

- เมื่อกระทำอย่างนี้แล้วเราสามารถวัดความก้าวหน้าได้คือ เมื่อไม่ได้อยู่ในเวลาฝึกปกติ เพียงเราต้องการจะเห็นภาพให้เราหลับตาลง นึกถึงดวงกลมๆ ของเงากสินเพียงลัดนิ้วมือจะเห็นภาพเหมือนกับลืมตาทันที

- เมื่อกระทำอุปจารสมาธิได้เป็นปกติแล้ว เราสามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการกระทำแบบเดิมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้สมาธิก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นคือ นิวรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มนั่งลงฝึก แล้วพอเรากำหนดคำภาวนาไปนิวรณ์จะหายไป  ไม่กลับมาอีกเลยตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก อาการปิติต่างๆ เช่น ขนลุก, น้ำตาไหล, ตัวโยกโคลง, ตัวเบาเหมือนลอยได้ ความชุ่มชื่นอิ่มเอมใจน้อยๆ ปรากฏขึ้นมา จิตของเราที่เคยรู้สึกตามลมหายใจเข้าไปหรือตามลมหายใจออกมา ไม่อยู่นิ่งจะอยู่นิ่งเอยู่พียงจุดเดียว คือ ระหว่างคิ้วที่ภาพของกสินนั้นชัดเหมือนลืมตา และคำภาวนาปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าสู่ "ปฐมฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกระทำไปด้วยวิธีการดังเดิม แม้ในวันเดียวกัน หรือหลายวันขึ้นอยู่กับความเพียร จะทำให้คำภาวนาของเราค่อยๆ หายไป บางทีอยู่ดีๆ หายไป กลายเป็นเรารู้ลมหายใจชัดมากขึ้นไม่มีคำภาวนามาแทรก อาการต่างๆ ของปิติยังคงอยู่ ภาพของกสินยังเป็นสีเดิมแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น นูนขึ้นเหมือนกับภาพ 3 มิติ เมื่อนั้นสมาธิของเราเข้าสู่ "ทุติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสินจิตจ่ออยู่ตรงกลางระหว่างคิ้ว ลมหายใจแผ่วเบาลง ภาพของกสินเริ่มเปลี่ยนเป็นเหมือนแก้วขาวใสขุ่นๆ เหมือนกับมรกตที่มีสีขาวใสผสมกับเนื้อกระจก อาการต่างๆ ของปิติสงบไปเองไม่ต้องบังคับ อาการแช่มชื่น สุขใจ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดปรากฏขึ้นเต็มตัว เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าถึง "ตติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสิน ภาพของกสินจะค่อยๆ ใสคล้ายกับเนื้อของเพชร สีขาวค่อยๆ หมดไป จนเหลือแต่เพียงสีผลึกเพชร 7 สีอย่างเดียว สว่างไสว ลมหายใจที่มีอยู่หายไปเอง ไม่ต้องบังคับ อาการความสุขต่างๆ หายไปเหมือนกันไม่ต้องบังคับ เมื่อนั่นสมาธิของเราเข้าสู่ "จตุถฌาน"

- จากนั้น ถ้าเราต้องการที่จะฝึกวิชชา 8 หรือเข้าอรูปฌาน หรืออภิญญาก็สามารถกระทำได้ เช่น
        - ถ้าต้องการฝึกอรูปฌานให้เริ่มโดยการกำหนดอยู่นิ่งๆ กับภาพกสินที่เป็นผลึกเพชร ไม่มีลมหายใจปรากฏ จิตแน่วแน่ขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ภาพของเงากสินนั้นค่อยๆ ไปเหลือเพียงดวงกสินไม่มีใส้ ผลึกเพชรหายไป พูดง่ายๆ เหมือนกับวงกลมธรรมดาที่เขียนขึ้นมีพื้นสีดำที่เป็นเหมือนอากาศ  เรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้นเป็นต้นไปเรียกว่าเข้าสู่อรูปฌานที่ 1

ที่มาจากเวป  www.larndham.net หากมีคนลงซ้ำแล้วก็ต้องขออภัย

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณเอ็มครับ เรื่องกสิณ จะให้ดีความมีครูบาอาจารย์แนะนำใกล้ชิดครับ

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕