ผู้เขียน หัวข้อ: ครูบาชุ่ม โพธิโก  (อ่าน 6682 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ puntanaruk

  • พ่อเลี้ยงหนุ่ม
  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 26
  • เพศ: ชาย
  • พ่อเลี้ยงหนุ่ม
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ครูบาชุ่ม โพธิโก
« เมื่อ: 01 ก.ค. 2553, 03:15:50 »
ครูบาชุ่ม โพธิโก



ประวัติหลวงพ่อชุ่ม โพธิโก พระอริยเจ้า แห่งหริภุญชัย

วัดชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

หลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก แห่งวัดชัยมงคล (วัดวังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน
นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2442 เมื่อวันขึ้น 7 ค่ำ เดีอน 5 เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดารชื่อ นางลุน ปลาวิน มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 6 คน เป็นผู้หญิง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5
บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง) บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง) บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุท้องชื่อ นายเปา (ชาย)
บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร) บุพการีทั้ง 2 ท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง เลิกงานสรก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้านอย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดเเทนพระคุณของบิดา มารดาเท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้
ครั้นเมื่อเติบโตได้พอสมควรได้ไปศึกษาเล่าเรียนการออ่าน การเขียนหนังสือเบื้องต้น กับเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง (เมื่อรกร้างไป ชาวบ้านจึงเรียกวันว่า วัดห่าง) พร้อมกับเรียนวิธีการอ่านบทสวดมนต์ และธรรมะเบื้องต้นจากท่านเจ้าอาวาส การที่เด็กชายชุ่ม ปลาวิน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย และมีความจำดีเลิศ จึงเป็นที่รักใคร่ของท่านเจ้าอาวาส และบรรดาภิกษุสามเณรในวัดเป็นอันมาก และการที่ได้คลุกคลีกัลท่านเจ้าอาวาสบ่อยๆ นี่เอง ทำให้ท่านค่อยๆ ซึมซับหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีละเล็กทีละน้อยจนสามารถอ่านหนังสือ และสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว เริ่มมีใจรักเคารพในสมณเพศมากขึ้นทุกวัน

ทดแทนบุญคุณพ่อแม่
ครั้งหนึ่งเด็กชายชุ่ม ปลาวิน ได้ยินอุ๊ย (คนเฒ่า คนแก่) แถวบ้านพูดว่า ใครอยากทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ต้องบวชให้กับท่าน ใครบวชเป็นเณร ถือว่าเป็นการบวชทดแทนบุญคุณให้แม่ แต่ถ้าใครบวชเป็นตุ๊เจ้า (พระภิกษุ) ถือว่าเป็นการบวชทดแทนบุญคุณทั้งพ่อและแม่ เพราะการบวชเป็นพระ จะได้อานิสงส์ผลบุญมาก ต่อมาเด็กชายชุ่มจึงตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเดินในหนทางของการบรรพชา ตั้งแต่อายุเพียง 10 กว่าขวบเท่านั้น ถือว่าท่านมีบุญบารมีเกี่ยวข้องในทางพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน

บรรพชาที่วัดพระธาตุขาว
เมื่ออายุได้ 12 ปี เด็กชายชุ่ม ปลาวิน ได้ขออนุญาตจากบิดา และมารดา เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งบุพการีทั้งสองต่างก็ยอนยอมพร้อมใจให้บรรพชา โดยทั้ง 2 ท่านได้เล็งเห็นว่า
ประการแรก เด็กชายชุ่มจะได้มีวิชาความรู้ติดตัว เพราะในสมัยก่อนโรงเรียนที่ดีที่สุดก็คือ วัด นั่นเอง
ประการที่ส่อง เด็กชายชุ่ม มีใจรักในทางพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บุพการีทั้ง 2 จึงได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์ครูบาอินตา แห่งวัดพระธาตุขาว จังหวัดลำพูน ซึ่งงานทั้งส่องคุ้นเคยเป็นอย่างดี
ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาวเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรน้อยชุ่มได้ตั้งสัตยาธิษฐานด้วยใจแน่วแน่สีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน พร้อมพระธรรม และบารมีพระคุณครูบาอาจารย์ คุณบิดามาดา พร้อมกล่าวคำอธิษฐานว่า
"ข้าน้อยขอถวายชีวิตเป็นพุธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งข้าน้อยเคารพอย่างสูงสุด และจะขอรับใช้พระพุทธศาสนา เผยแพร่หลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าชีวิตจะหาไม่"
สามเณรชุ่ม ปลาวิน นั้นเป็นสามเณรน้อยที่มีความพยายามสูง และควรค่าแก่การบันทึกไว้ ท่านเป็นสามเณรชาวเหนือที่เคร่งครัด เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม สิ่งใดที่พระอุปัชฌาย์พร่ำสอน ท่านก็เชื่อฟังและหมั่นปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ท่านครูบาอินตาได้สั่งสมให้สามเณรชุ่ม ท่องบททำวัตร และบทอื่น ๆ รวมทั้ง บท 12 ตำนาน ให้ขึ้นใจ และสามเณรชุ่ม ก็ไม่ได้ทำให้ครูบาอาจารย์ผิดหวัง ท่านได้ท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วย และเริ่มเข้าใจอย่างถ่องมากขึ้น ภายหลังเมื่อสามเณรชุ่มได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านเคยกล่าวให้พระเณร และเหล่าลูกศิษย์ฟังว่า การศึกษาทางพระพุทธศาสนาในสมัยก่อนนั้น ต้องทำกันอย่างจริงจัง และใช้ความเพียรเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีเทคโนโลยีอย่างสมัยใหม่นี้ การศึกษา บทสวดมนต์ และพระไตรปิฏกในสมัยก่อนนั้น ต้องอาศัยสมองอย่างเดียวล้วน ๆ ต้องจด ต้องจำ ต้องท่องบ่นอย่างเอาเป็นเอาตามเท่านั้น จึงจะสามารถจำบทสวดมนต์ และสามารถแปลพระไตรปิฎกได้อย่างถ่องแท้ และจึงจะนับได้ว่าเป็นผู้รู้หนังสือดี"
ต่อมาเมื่อสามเณรชุ่ม ได้ศึกษาวิชาความรู้จากพระอุปัชฌาย์ เป็นอย่างดีแล้ว ด้วยใจที่รัก และใฝ่รู้การศึกษาได้กราบขออนุญาตจากพระอุปัชฌาย์ ออกเดินทาง เพื่อแสวงหาวิชาความรู้ต่างๆ เพิ่มเติม โดยพระอุปัชฌาย์ได้ชี้แนะครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษด้านต่าง ๆ ให้
จากนั้นจึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับลาบิดามารดา ญาติพี่น้อง นำเครื่องอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นออกเดินทางด้วยเท้ามุ่งสู่ จ.เชียงใหม่ และเข้าศึกษาด้านปริยัติธรรมที่วัดผ้าขาว วัดพระสิงห์ และวัดเจดีหลวง ตามลำดับ

อุปสมบท
                ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน จนอายุได้ 20 ปี สามเณรชุ่ม ปลาวิน จึงได้พิจารณา ว่า "บัดนี้เราก็อายุครบบวชแล้ว ควรจะเดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองลำพูน เพื่อทำการอุปสมบท การที่เราได้อาศัยอยู่ในร่มเงาาของพระพุทะศาสนานั้น เรารู้สึกเย็นใจ และร่มเย็นดีแท้ แม้เราคิดสึกออกไป เราก็ยากที่จะได้รับความสงบร่มเย็นเช่นนี้ เห็นทีเราจะต้องบวชเรียนต่อไป"
หลังจากตัดสินใจแล้ว ท่านจึงได้เดินทางกลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่ภูมิลำเนาเดิม คือที่บ้านวังมุย จ.ลำพูน โดยมีพระครูบาอินตา (ครูบาปัญโญ) วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หลวงอ้าย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า โพธิโก
เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้มุ่งมั่นศึกษาทั้งทางด้านปริยัติควบคู่กับด้าน)ปฏิบัติ โดยได้ฝึกพระกรรมฐานตามแนวทางกรรมฐาน 40 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อชำระจิตมใจของตนให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลศ สามารถทรงสมาธิได้สูงขึ้นตามลำดับ
นอกจากนั้นท่านยังได้ศึกษาศาสตร์ทางด้านพระเวทย์เลขยันต์ คาถาอาคมต่างๆ รวมทั้งตำราพิชัยสงครามอีกด้วย ความพากเพียรศึกษาในด้านการศึกษาของพระภิกษุชุ่ม เป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว เจ้าคณะจังหวัดลำพูนมในสมัยนั้น มีความชื่นชมพระภิกษุชุ่มเป็นอย่างมากได้ร้องขอให้ท่านไปศึกษาต่อด้านปริยัติที่กรุงเทพฯ โดยทางจังหวัดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด เมื่อศึกษาจบแล้วจะได้กลับมาช่วยสอนหนังสือให้กับพระเณรในจังหวัด แต่ท่านไม่อาจรับภารกิจนี้ได้ โดยให้เหตุผลว่ายังต้องศึกษาด้านการปฏิบัติให้มาก ๆ เสียก่อน
ท่านเจ้าคณะจังหวัดเมื่อมีกิจธุระสิ่งใดก็มักจะเรียกให้พระภิกษุชุ่มอยู่เสมอ โดยได้มอบหมายให้ท่านเป็นเลขาฯ ประจำใกล้ชิด มอบหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านต่างๆ ให้ ซึ่งท่านก็มิได้ทำให้พระผู้ใหญ่ผิดหวัง งานด้านต่าง ๆท่านสามารถทำได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทุกชิ้นทุกอัน จนเจ้าคณะจังหวัดจะแต่งตั้งชั้นยศ และขอสมณศักดิ์ชั้นพระครูให้ แต่พระภิกษุชุ่มได้ปฏิเสธไม่ขอรับสมณศักดิ์นั้น

เสาะหาครูบาอาจารย์
                ตั้งแต่ช่วงแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุชุ่มก็ได้พากเพียรฝึกกายฝึกจิตตามแนวทางสายเอกของพระพุทธศาสนา แล้วยังออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เอาเยี่ยงอย่างภูมิธรรมชั้นเลิศจากคณาจารย์หลายท่านคือ
ครูบาอริยะ ที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองหอย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ศึกษาศาสตรสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็น อรรถคาถา บาลีมูล กัจจายน์ จนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาต่าง ๆ ได้
พระครูบาศรีวิชัย  วัดร้องแหย่งบ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
เป็นพระอาจารย์ พระปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตอนที่ครูบาชุ่มไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง มีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรงดี ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษาปฏิบัติกับพระครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่ง เป็นเวลา 2 พรรษา
ครูบาศรีวิชัย  ตนบุญแห่งล้านนา
ในขณะที่อยู่วัดร้องแหย่งนี้เอง ท่านจึงได้พบพระนักบุญแห่งล้านนา คือครูบาศรีวิชัย (ครูบาศีลธรรม) แห่ง วัดบ้านปาง ได้มาเยี่ยมเยือนสักการะท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งด้วยความเคารพนับถืออยู่เสมอ ทุกครั้งที่มาเยี่ยมก็จะมีปัจจัยไทยธรรมมาถวาย บางครั้งได้มาพักจำวัด และร่วมสวดมนต์ เจริญพระกรรมฐานกับภิกษุสามเณรที่วัดร้องแหย่งด้วย ครูบาชุ่มจึงได้รู้จักมักคุ้นกับท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่วัดร้องแหย่งนี้เอง และในเวลาต่อมาปรากฏว่าทั้งคู่เป็นศิษย์ อาจารย์ที่มีความผูกพันรักใคร่กันอย่างยิ่ง
ครูบาแสน วัดหนองหมู อ.เมือง จ.ลำพูน
เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดทางด้านวิปัสสนากรรมฐานอีกรูปหนึ่ง ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษากับครูบาแสน จนได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกแขนง
ครูบาก๋ำ  วัดน้ำโจ้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่
เป็นผู้สอนอักขระล้านนาให้แก่ครูบาชุ่ม
ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
(บ้างเรียกครูบารหมจักร หรือครูบารหมจักโก สมณศักดิ์เดิมคือ พระครูพรหมจักรสังวร สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระสุพรหมยานเถระ)
ความจริงแล้วครูบาชุ่ม กับครูบาพรหมา ท่านอายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่ต่างองคฅ์ต่างนับถือและแลกเปลี่ยนความรู้ สรรพวิชาต่างๆ กันอยู่เสมอ นอกจากนี้ ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่วัดห้วยโท้ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่อีกด้วย
จากนั้น เมื่อเจ้าอาวาสวัดวังมุยเก่ามรณภาพลง ชาวบ้านจึงมาอาราธนาท่านให้กลับไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดต่อไป
ข้อวัตรปฏิบัติ
ครูบาชุ่มท่านจะตื่นขึ้นมาตอนตี 3 เพื่อปฏิบัติไปตามลำพังในกุฏิของท่านจากนั้นก็กระทำกิจธุระส่วนองค์แล้วจึงเรียกพระเณรให้ทำวัตรเช้าในเวลาประมาณตี 5 ต่อด้วยการนั่งสมาธิภาวนาอีก 1 ชั่วโมง พอคลายออกจากสมาธิจึงนำพระเณรออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ในยามปรกติท่านจะฉันสองมื้อ แต่ในช่วงเข้าพรรษาท่านจะฉันเพียงมื้อเดียว อาหารที่ท่านฉันก็เป็นอาหารพื้นบ้านง่ายๆ อย่างข้าวเหนียว จิ้มกับน้ำพริกผักต้ม แม่เพชร อินโม่ง ซึ่งเป็นผู้ทำอาหารถวายครูบาชุ่มอยู่เสมอ เล่าว่า ท่านชอบทานผักแคบ หรือตำลึงในภาษากลางนั่นเอง ครูบาชุ่มละเว้นไม่ฉันอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ แต่จะฉันบ้างกรณีที่มีญาติโยมมาถวายภัตตาหารเพลและนั่งรอรับพรอยู่ต่อหน้า เป็นการฉันเพื่อไม่ให้ญาติโยมเสียกำลังใจ ช่วงหนึ่ง ครูบาชุ่มป่วย แพทย์ระบุว่าเป็นโรคขาดสารอาหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ขอร้องให้ท่านฉันเนื้อสัตว์บ้าง ท่านก็รับปาก

พระเดชลือชา
ช่วงเย็น 18.00 น. พระเณรที่วัดวังมุยจะทำวัตรเย็นพร้อมดัน ต่อจากนั้นนั่งสมาธิอีกประมาณ 30 นาที แล้วจึงแยกย้ายกันไปทำกิจส่วนตัวได้ จนใกล้เวลาจำวัด คือราว 20.10 น. ครูบาชุ่มท่านจะนั่งอยู่ด้านหน้า นำสวดบท นะโมฯ 3 จบ แล้วท่านจะเงียบ คอยฟังเสียงของพระเณร ว่าตั้งใจสวดมนต์กันหรือไม่ หากพบว่าองค์ไหนเงียบเสียงไป ท่านจะเมตตาตักเตือนให้ อย่างเบา คือโยนดินสอ หรือหนังสือไปสะกิด และก็มีบ้างที่ท่านต้องเมตตาหนักเป็นกรณีพิเศษ คือสะกิดด้วยกระโถนบิน พระเณรที่ย่อหย่อนจากความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ต่างหัวปูด  หัวโน ไปตามกัน
แม่แต่ชาวบ้านที่พ้นวัยเด็กมานาน หากมาส่งเสียงดังในบริเวณวัดอย่างเบาครูลบาชุ่มท่านจะแค่ตวาด และอย่างหนักหน่อยอาจจะโดนท่านยิงด้วยหนังสติ้ก แล้วท่านก็ยิงได้แม่นยำอย่างยิ่ง โดยเล็งที่ขาหรือหลัง พอให้รู้ตัว
สมัยนั้น ถ้าใครคิดจะให้ลูกหลานมาบวชที่วัดของหลวงปู่ครูบาชุ่ม ต้องยกให้เป็นลูกของท่านเลย เพราะท่านจะอบรมสั่งสอนเต็มที่ แม้แต่เฆี่ยนตีบ้าง พ่อแม่จะต้องยอมรับได้ เพราะท่านจะบอกไว้ก่อนว่าห้ามมาโกรธกัน หากท่านต้องทำโทษเฆี่ยนตีลูก ๆ ในทางธรรมของท่านด้วยความปรารถนาดี
เด็กบางคนทางบ้านได้ส่งให้มาเป็นขโยม (ลูกศิษย์วัด) รอบวช โดยให้หลวงปู่ครูบาชุ่มอบรมบ่มนิสัยไปด้วย ขโยมรายนี้โดนกระโถนเข้าไปครั้งเดียวเพราะทำผิด ถึงกับโดดหน้าต่างหนีออกจากวัดมาตอนกลางคืนแทบไม่ทันทีเดียวทางบ้านขอร้องให้กลับไปอยู่วัดต่ออย่างไร ขโยมน้อยรายนี้ก็ยืนกรานไม่ไปเด็ดขาด ด้วยเห็นว่าหลวงปู่ชุ่มดุมาก
ก็คงจะเป็นเรื่องจริต วาสนา และความเกี่ยวเนื่องที่ยากจะอธิบายศิษย์อาจารย์บางคน หากไม่มีวาสนเกี่ยวเนื่องกัน ไม่เคยสอรนสั่งกันมาก่อน ต่อให้ทั้งศิษย์หรืออาจารย์คู่นั้นจะเก่งกล้าขนาดไหน ก็ไม่อาจเป็น คู่ปรับ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้บรรลุถึงมรรคผลอันควรได้

สายสัมพันธ์ศิษย์ - อาจารย์
ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้
1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดหรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517
2. พระอาจารย์หมื่อน ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือตุ๊ลุงหมื่นเป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ ดาบ เล็บ และอัฐิ
3.  พ่อหนานปัน จินา เป็นศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุดซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอสมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน
4.  พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ  เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่างคือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน
5.  พ่อหนานทอง ปัญญารักษา อายุ 68 ปี เป็นศิษย์อีกท่านที่ปัจจุบันทำหน้าที่ ปู่จารย์ เจ้าพิธีประจำวัดชัยมงคล(วังมุย) พีอหนานทองเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษกรูปเหมือนหลวงปู่ชุ่มเมื่อ พ.ศ. 2520
6.  พ่อหนานบาล  อินโม่ง เป็นศิษย์ที่เคยติดตามครูบาเจ้าชุ่มไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง
7.  คุณลุงเสมอ  บรรจง ชมรมพระตลาดบุญอยู่ เป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างวัตถุมงคลของครูบาเจ้าชุ่ม
8.  พ่อเลื่อน กันธิโน  เป็นศิษย์ที่ติดตามอุปัฏฐากครูบาเจ้าชุ่มไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวินาทีสุดท้ายที่ท่านไปมรณภาพที่กรุงเทพฯ
9.  อุ๊ยหมื่น สุมณะ (เพิ่งเสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ด้วยวัย 101 ปี) เป็นศิษย์อาวุโส ซึ่งมีวัยวุฒิน้อยกว่าครูบาเจ้าชุ่ม 10 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดใหม่
10.  อุ๊ยหนานทอง  (เสียชีวิตแล้ว) เป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าชุ่ม แล้วยังเป็นประติมากรผู้รังสรรค์พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ในขณะที่ท่านรักษาตัวอยู่ ณ วัดจามเทวี ก่อนที่ท่านจะไปมรณภาพที่วัดบ้านปาง
อุ้ยหนานทองเป็นคนบ้านริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ท่านได้พบกับครูบาชุ่มตั้งแต่อายุ 15 ปี ตอนนั้นหลวงครูบาชุ่มจาริกไปถึงบ้านริมปิง บ้านเดิมของอุ้ยหนานทอง หนุ่มน้อยได้บังเกิดความเคารพศรัทธาครูบาชุ่มจนขอติดตามกลับมาที่วัดวังมุยด้วย ครูบาชุ่มก็เมตตาพามา และจัดการบวชให้เป็นสามเณรที่วัดเก่า (วัดศรีสองเมือง) ต่อมาเมื่ออายุหนานทองอายุครบ 20 ปี หลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุที่วัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย)
ช่วงที่บวชเป็นสามเณร สามเณรทองได้เป็นลูกมือช่วยสร้างพระที่วัดมหาวัด จึงได้นำประสบการณืและวิฃาความรู้ครั้งนั้น มาใช้ในงานปั้นพระประธานไว้ในโบสถ์วัดเก่า จำนวน 3 องค์ ขนาดเท่าคนจริง แต่หลังจากวัดเก่าได้ถูกทิ้งร้าง พระประธานทั้ง 3 องค์ ที่สามเณรทองปั้นไว้ ก็หายสาบสูญไป
พอครูบาชุ่มได้มาดำเนินการสร้างวัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย) ท่านก็ได้มอบหมายให้อุ้ยหนานทองรับหน้าที่ปั้นพระประธาน และพระขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก
11.  หลวงพ่อบุญรัตน์ กนฺตจาโร เจ้าอาวาสวัดโขงขาว จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อบุญรัตน์ ได้พบหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มครั้งแรกในระหว่างที่ทั้งคู่ต่างอยู่ในระหว่างธุดงค์หลีกเร้นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมตามป่าเขา ขอยกความตอนหนึ่ง จากเนื้อหาประวัติของหลวงพ่อบุญรัตน์ ที่นิตยสารโลกทิพย์ จัดพิมพ์
"หลวงพ่อบุญรัตน์ กนฺตจาโร มีโอกาสได้พบและน้อมรับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในครั้งแรกนั้นก็ด้วยครั้งที่ติดตามหลวงพ่อชื่อนออกธุดงค์ ซึ่งได้ไปพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างในป่าสวนหลวงนั่นแหละ คือวันหนึ่ง หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านได้เดินทางมาเยี่ยมหลวงพ่อชื่นลูกศิษย์ของท่าน ที่มาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างในป่าสวนหลวง หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านเดินกางร่มสีแดงมาด้วย เห็นแต่ไกล สมัยนั้นร่มสีแดง พอมาถึงที่วัดร้างแล้ว หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านก็นั่งพักสนทนาถามทุกข์สุขกับหลวงพ่อชื่น หลวงพ่อบุญรัตน์ได้เห็นลักษณะอัดงดงามยิ้มแย้มแจ่มใสของหลวงปู่ครูบาชุ่มว่าท่านมีเมตตาดีก็เข้าไปนมัสการท่าน หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านยิ้มรับ สอบถามได้ความว่า หลวงพ่อบุญรัตน์ก็มีความสนใจในการปฏิบัติธรรม และได้เคยออกธุดงค์บำเพ็ญสมาธิ เจริญพระกรรมฐาน จึงกว่าวว่า
"เออดีแล้ว ดีแล้ว ได้มาบวช โอ้โฮ เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ให้ปฏิบัติธรรมเข้านะ จะได้เป็นบุญที่จะติดตัวเราไปข้างหน้าเนาะ อันอื่นน่ะเอาไปไม่ได้เนาะ มีเงินมีทองมีสมบัติพัสถานก็เอาไปไม่ได้ จะเอาไปได้ก็เป็นบุญเป็นกุศลนี่แหละที่จะเป็นเงาติดตามตัวเราไป ให้หมั่นหาเข้านะ พุทโธก็ได้ อะไรก็ได้ ให้นึกถึงสังขาร ให้ปลงสังขารมันเสีย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยงแท้แน่นอนมันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขังก็เป็นทุกข์ อนัตตาก็ใช่ตนใช่ตัว เราเกิดมาในครั้งนี้ เรามีเพียงแต่คนเดียวกลับไปก็กลับคนเดียว เราจะชวนคนอื่นกลับไม่ได้ ร่างกายของเรานี่ไม่ใช่ของเรานะ ใช่ของเราไหม?"
หลวงพ่อบุญรัตน์ถามว่า "เป็นยังไงครับหลวงปู่ ไม่ใช่ร่างกายของเรา"
หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านยิ้มและบอกว่า "ไม่ใช่ ถ้ามันเป็นของเรา มันคงไม่ปวด บอกว่า อย่าไปวดนะ มันก็คงไม่ปวด อย่าไปเจ็บนะ มันก็คงไม่เจ็บ แล้วทำไมมันปวด มันเจ็บ ทีนี้หลวงปู่ก็เหมือนกัน ตาก็ไม่สว่าง ต้องใส่แว่นตาดูหนังสือ ถ้ามันเป็นของหลวงปู่ หลวงปู่ก็จะบอกกับมันว่า ตานะ อย่าไปเสียนะ ก็คงจะดีนะคงไม่ต้องใช้แว่นตา ผมที่บนศรีษะ บนหัวนี่นะ ทำไมมันหงอกนะ หลวงปู่ครูบาชุ่มพูดพลางหัวเราะ พลางชี้ไปที่ศรีษะของท่าน"
"ถ้าเป็นผมของหลวงปู่แล้วมันคงไม่หงอกแน่นอน ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน หายึดสิ่งใดในโลกนี้ไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศีลธรรม กรรมฐานเท่านั้นที่จะติดตามตัวเราไปข้างหน้า ไม่เสียเวลาเกิด ถ้าเราเกิดมาเราบวช เราประพฤติปฏิบัติ โอ้โฮ เป็นบุญเป็นกุศลของเรา มาบวชนี่จะไปหวังอะไร ? ให้หวังบุญหวังกุศลเท่านั้น

ผลของการปฏิบัติ
                ครูบาชุ่มท่านเป็นพระผู้ทรงศัลาจารวัตร และมุ่มมั่นในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า ครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่ในพระวิหารที่วัดวังมุย ได้เกิดมีเปลวไฟฉายโชนออกจากร่างกายของท่าน แลดูสว่างไสว มีผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์หลายคน พ่อหนานปัน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้เห็นไฟลุกโพลนขึ้นท่วมร่างของครูบาชุ่ม จากนั้นเปลวไปได้เคลื่อนออกจากกาย ตรงขึ้นไปที่ปล่องด้านข้างของพระวิหาร พอครูบาชุ่มคลายออกจากสมาธิ ลูกศิษย์ที่เป็นห่วงได้รีบเข้าไปถามว่า ครูบาเจ้าเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมไฟลุกขึ้นมา ท่านได้เมตตาบอกว่า เป็นเพราะผลของการปฏิบัติ

โดนลองของ
ครั้งหนึ่ง ครูบาชุ่มโดน ลองของ โดยพระรูปหนึ่งในจังหวัดลำพูนนั่นเองพระผู้นั้นได้ปล่อยของทางไสยศาสตร์มายังกุฏิของท่าน ขณะนั้นครูบาชุ่มกำลังจำวัดอยู่ และทราบเหตุร้ายด้วยญาณ ท่านจึงลุกขึ้น และได้เรียกบอกพระเณรให้มานั่งอยู่ในกุฏิท่าน พร้องทั้งสั่งให้ทุกรูปสวดมนต์ ของที่ส่งมานั้นปรากฏเป็นตัวแมลงขนาดใหญ่ พวกมันได้แต่บินวนเวียนอยู่นอกกุฏิ เสียงชนฝาผนังดังปึงปังอยู่ตลอดเวลา และแล้วครูบาชุ่มก็ได้หยิบหมากขึ้นมาเคี้ยวพร้อมทั้งบริกรรมคาถา จากนั้นก็คายชานหมากลงในกระโถนสักพักต่อมา เหล่าแมลงได้บินฝ่าเข้ามาถึงด้านในกุฏิพุ่งตรงเข้ามาหาท่านทันที
ท่านจึงบริกรรมคาถาจนหมู่แมลงอ่อนกำลังลง จากนั้นได้นำกระโถนที่คายชานหมากไว้มาคารอบแมลงเหล่านั้น เมื่อเปิดกระโถนออกดู ปรากฏว่าแมลงได้กลับกลายเป็นตะปูไปจนหมด

บุญญาภินิหาร
ครูบาชุ่มมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่มาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระธรรมวินัย โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยด้วยคุณไสยแล้ว เชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนักมีอยู่ครั้งหนึ่งครูบาชุ่มได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักแรมในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา เช่น ลั๊วะ ยาง (กระเหรี่ยง) ได้เอาเนื้อสด ๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้ ครูบาชุ่มไม่ยอมรับและบอกว่าหากจะนำมาถวายพระหรือสามเณรควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมาจึงรับได้

และขอบิณฑบาต พวกชาวบ้านมาใส่บาตร แต่ได้ขอร้องครูบาชุ่มไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะท่านสวดมนต์ พวกตนจึงเข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้สัตว์มาหลายวันแล้ว
"สัจจังเว อมตา วาจา" วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย