ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)  (อ่าน 10728 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
พระเดชพระคุณ เจ้าคุณพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณฺโณ มหาเถระ) ท่านเป็นชาวบ้านในคลองบางน้อย ต.บางพรหม อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นบุตรของ นายลอย และ นางทับ รัตนคอน มีพี่น้องด้วยกันเพียงสองคน คือตัวท่านเองกับน้องชายของท่าน ชื่อนายเฉื่อย ซึ่งได้ถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่นานแล้ว

เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ขวบ บิดามารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว วัดเกาะแก้ว ซึ่งเป็นญาติกันก็ได้นำท่านมาฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดูฉิมพลีในเวลานั้น

เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่านบรรพชาได้เพียงคืนเดียวพระอธิการก็ได้มรณภาพ นาย คล้าย และ นางพันธ์ ผู้เป็นพี่ชายและพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข ได้รับหน้าที่อุปการะสามเณรโต๊ะ จนกระทั่งได้ทำการอุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. โดยมี หลวงพ่อแสง วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อผ่อง วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเชย วัดกำแพงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า ?อินทสุวณโณ?

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วนาย คล้ายและนางพันธ์ ได้ถวายตัวเป็นโยมอุปัฏฐากหลวงปู่ตลอดมา

เมื่อตอนที่พระอธิการสุขได้มรณภาพลง พระอธิการคำ ซึ่งเป็นบุตรของนาย คล้ายและนางพันธ์ ก็ได้รับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี สืบต่อพระอธิการสุข

ครั้นต่อมา พระอธิการคำได้ลาสิกขา หลวงปู่โต๊ะ จึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี สืบต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๒๖ ปี จนถึงวันมรณภาพของท่าน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔ เวลา ๙.๕๕ น. สิริชนมายุ ๙๔ ปี รวมเวลาในการครองตำแหน่งเจ้าอาวาสจนท่านมรณภาพนี้ถึง ๖๘ ปี

ปัจจุบัน ท่านพระครูวิโรจน์ กิตติคุณ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์

หลวงปู่ท่านบริหารงานวัดด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอประกอบด้วย เมตตาธรรมอนุเคราะห์ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้าทางคณะสงฆ์จึงได้พร้อมใจ ถวายสมณะศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2455     เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี

เป็นพระใบฏีกาฐานานุกรมของพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนฯ 

พ.ศ. 2457     เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

พ.ศ. 2463     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวิริยกิตติ

พ.ศ. 2497     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2499     เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ

พ.ศ. 2506     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2511     เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2516    เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสังวรวิมลเถร"

พ.ศ. 2521     เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสังวราภิมณฑ์"

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต่อพระภิกษุสามเณรที่ท่านปกครอง รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงวัดและบุคคลอื่น ๆ โดยทั่วไป

ท่านได้บำเพ็ญตนอยู่ในสมณะเพศด้วยความอุตสาหะ พากเพียร ในกิจวัตรของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตลอดมา จึงเป็นที่รัก และเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นที่เชื่อถือของทุก ๆ คนที่รู้จักท่าน

ในระหว่างที่หลวงปู่ได้บวชอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั้น หลวงปู่ได้ศึกษาเพิ่มเติมที่วัดโพธิ์ท่าเตียน จนกระทั่งทางวัดประดู่ฉิมพลี ได้มาอาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาส โดยทางวัดได้จัดพิธีแห่อย่างใหญ่โตมโหฬารด้วย

หลวงปู่โต๊ะท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางปริยัติธรรม และ ทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็กวัด มีพระอาจารย์เก่งกล้าสามารถที่ไหนท่านก็จะขอเรียนวิชาด้วยเสมอ

ท่านได้เรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับพระอาจารย์พรหม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั่นเอง

เมื่อพระอาจารย์พรหมได้มรณภาพ หลวงปู่โต๊ะก็ได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมต่อจาก พระอาจารย์รุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ซึ่งหลวงปู่โต๊ะท่านมีความชื่นชม และเคารพนับถือในความเก่งกล้าสามารถของหลวงพ่อรุ่ง เป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ก่อนหน้าที่หลวงพ่อเนียมจะมรณภาพในอีก ๒ - ๓ ปีต่อมา จึงนับได้ว่า หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคม เวทมนต์คาถา แก่กล้ามากผู้หนึ่ง ซึ่งความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ก็ว่าได้

เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะ เริ่มได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหม่ๆ นั้น ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า เวลาที่ท่านจับสายสิญจน์ในพิธี ท่านจะรู้ได้ทันทีว่า ในพิธีนั้น มีพระอาจารย์องค์ไหนเก่ง หลังจากนั้นหลวงปู่โต๊ะก็จะติดตามไปขอเรียนวิชา และศึกษาเพิ่มเติมจากพระอาจารย์องค์นั้น

ในช่วงที่หลวงปู่อายุไม่ถึง ๘๐ ปี นั้น ท่านเป็นพระที่ค่อนข้างจะเข้าหาพบลำบากมาก เนื่องจากหลวงปู่ไม่ชอบความอึกทึกครึกโครม เพราะหลวงปู่เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เรียกว่า "พระป่า" ท่านจึงชอบที่จะเก็บตัวอยู่อย่างเงียบๆภายในกุฏิ

ผู้คนเริ่มรู้จักหลวงปู่โต๊ะจริงๆ ตอนที่ท่านมีอายุ ๗๗ - ๗๘ ปี ในช่วงนั้นท่านได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกบ่อยมาก เวลาที่ท่านไปถึงในงานพิธีฯท่านจะตรงเข้าไปกราบพระประธานก่อนเสมอ แล้วท่านจะขึ้นนั่งปรกทันที เมื่อช่วงพัก หลวงปู่มักจะถามว่า ?มีพระเปลี่ยนฉันหรือเปล่าจ๊ะ? ถ้าญาติโยมตอบว่า ?นิมนต์หลวงปู่ตามสบาย? หลวงปู่ก็จะขึ้นนั่งปรกต่อ และจะนั่งต่อไปจนเสร็จพิธี ท่านจะปฏิบัติเช่นนี้ต่อเนื่องกันเสมอมาทุกพิธี จนเป็นที่รู้กันในบรรดาพระคณาจารย์และถวายเกียรติให้หลวงปู่เป็นประธานในพิธีนั่งปรกบริกรรมเสมอ เวลาท่านนั่งปรกแต่ละพิธี จะใช้เวลา ๓ ถึง ๔ ชั่วโมง บางทีไปนั่ง ๓ ถึง ๔ วัดในวันเดียวกันก็มี พอเข้าพิธีก็จะนั่งหลับตานิ่งไม่ขยับเขยื้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจะนั่งตัวตรง หลังไม่ติดพนักธรรมาสน์ เดินลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ

ประวัติการสร้างพระเครื่องของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)

เกี่ยวกับประวัติในการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น พระเครื่องชุดแรกสุดของท่าน จะมีทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ด้วยกัน เช่น พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์ขาโต๊ะ, พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น และ พระสมเด็จสามชั้นพิมพ์หูบายศรี เป็นต้น

พระเครื่องทั้ง ๑๓ พิมพ์นี้ หลวงปู่โต๊ะได้ลงมือสร้างด้วยความตั่งใจ และปรารถนาจะให้ขลังเป็นพิเศษ โดยพยายามเสาะหาวัตถุดันเป็นมงคลและอาถรรพ์เวทย์ต่างๆ ที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาทำ และกดพิมพ์ด้วยมือของท่านเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะหลวงปู่ได้ผู้ช่วยทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัคร อันประกอบด้วยพระเณร และฆราวาสมาจากวัดพลับ บางกอกใหญ่ คอยแนะนำส่วนผสมและวิธีการสร้างพระเครื่องต่างๆ

ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ได้เสาะหามาผสมในการสร้างพระเครื่องชุดแรกนี้ มีผงวิเศษที่จัดเป็นแม่เชื้อของผงทั้งหมดโดยในยุคที่หลวงปู่ออกธุดงค์บ่อยๆ นั้น หลวงปู่ได้เคยไปธุดงค์ด้วยกันกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และหลวงพ่ออีกองค์หนึ่งซึ่งจำชื่อและความเป็นมาไม่ชัดเจน

เมื่อท่านได้กลับมาที่วัดประดู่ฉิมพลีแล้ว ท่านทั้งสามก็ได้ทบทวนวิชาที่ได้เล่าเรียนกันมา ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน ต่างจึงตกลงที่จะเขียนสูตรผงนั้น โดยใช้ดินสอพองมาละลายน้ำมนต์แล้วปั้นเป็นแท่งเหมือนกับชอล์ก แล้วเอาใบตำลึงมาตำ คั้นน้ำมาทาแท่งดินสอพองเวลาจับจะได้ไม่ติดมือ จากนั้นก็จะลงมือเขียนตามอักขระเลขยันต์ จากปถมัง ตรีสิงเห อิทธิเจ และมหาราช ว่าไปจนครบสูตร จะเว้นไม่ได้ หากขาดไปวันหนึ่งก็ต้องเอาผงที่เขียนไว้แล้วมารวมกัน แล้วเขียนขึ้นมาใหม่ทำทุกวันต่อเนื่องกันไปจนครบสูตร

เมื่อเขียนเสร็จได้เท่าไร ต่างองค์ต่างก็จะแบ่งขึ้นมาเป็นสามกอง โดยต่างองค์ก็จะมอบให้แก่กันองค์ละกอง แล้วจึงเอาผงทั้งหมดมาผสมรวมกัน ผงที่สร้างขึ้นมานี้ ก็จะเป็นสีขาวเรื่อๆ เล็กน้อย นวลละเอียด มีพุทธคุณทางเมตตา และทางด้านอื่นๆ อีกสูงมาก ผงวิเศษที่สร้างขึ้นมานี้ก็คือ ผงวิเศษหรือที่ลูกศิษย์ของท่านได้เรียกกันว่าเป็นผง อิทธิเจ

ส่วนผสมผงทั้งหมดที่ได้มานั้น มีของวัดพลับมากที่สุดซึ่งเป็นพระวัดพลับที่ชำรุด และแตกหักจากคราวกรุแตก นอกจากนี้ ยังได้มวลสารสำคัญคือผงจากพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ธนบุรีจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นของฆราวาสบ้านอยู่ใกล้กับวัดระฆังฯ

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะ

ด้วยความประสงค์ที่จะให้พระเครื่องของท่านมีความขลัง และดูน่าบูชา ท่านจะเอาพระเครื่องเหล่านี้ไปแช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ซึ่งตั้งอยู่ในโบสถ์ และปลุกเสกตลอดพรรษา

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะนั้น ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า ตุ่มมังกรที่ใช้ใส่น้ำมนต์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายใบมีขนาดแตกต่างกัน เล็กบ้างใหญ่บ้าง บางตุ่มก็จะมีดิน มีทรายปะปนอยู่ด้วย และในระหว่างนั้น ถ้าหากว่ามีใครเอาพวงมาลัยดอกไม้สดมาถวายแด่หลวงปู ท่านก็จะเอาพวงมาวัยนั้น ใส่ลงไปในตุ่มมังกรน้ำมนต์นั้นด้วย เป็นการหมักเอาดอกไม้สดปนอยู่ในน้ำมนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สีสันขององค์พระแตกต่างกันออกไป

หลวงปู่จะตั้งจิตอธิษฐาน ปลุกเสกภาวนา พระเครื่องที่แช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ไปเรื่อยๆ ตลอดพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ก็จะเอาพระเครื่องที่แช่ในน้ำมนต์จนได้ที่แล้วนั้น ออกมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา และผู้ที่ไปหาท่านในตอนนั้น ถ้าหากพระเครื่องแช่ไว้นานกว่านั้น พระจะติดกันเป็นก้อน

คราบต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนองค์พระจึงไม่เหมือนกัน บางตุ่มที่ใส่น้ำมนต์ใหม่ๆ น้ำยังใสอยู่ องค์พระที่แช่ไว้ คราบจะออกขาวเล็กน้อย ถ้าหากเป็นตุ่มเก่า ที่แช่น้ำมนต์มาก่อนนานเป็นพรรษา คราบน้ำมนต์ก็จะตกตะกอนมีคราบจับเกาะเป็นปื้น มีสีน้ำตาลหรือสีสนิมชัดขึ้น เรื่องของคราบน้ำมนต์ที่เกาะบนองค์พระ จึงมีความแตกต่างกันไป

ในการกดพิมพ์สร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น ท่านจะกดพิมพ์ไปเรื่อยๆ เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่จะทำด้วยความเพลิดเพลิน สบายใจ และทำด้วยใจรักยิ่ง หลวงปู่จะกดพิมพ์พระสลับกันไปทั้ง ๑๓ พิมพ์ โดยไม่ได้เจาะจงว่า จะทำพิมพ์นั้นจำนวนเท่านี้ พิมพ์นี้จำนวนเท่านั้น และพระทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ ทำไว้จำนวนเท่าไร หลวงปู่ก็ไม่ได้กำหนดไว้เป็นหลักฐาน ท่านเพียงแต่บอกว่า ได้ลงมือสร้างพระมาตั้งแต่ตอนที่ท่านอายุได้ ๓๐ ปีเศษๆ

หลวงปู่ยังบอกด้วยว่า มีพระเณร และฆราวาสจากวัดพลับมาช่วยเห็นกำลังสำคัญในการสร้างพระเครื่องรุ่นแรกนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งการแกะบล็อกแม่พิมพ์พระเครื่องชุดแรกนี้ด้วย

มีลูกศิษย์เคยถามหลวงปู่ว่าบล็อกแม่พิมพ์พระ ๑๓ พิมพ์นี้ ใครเป็นผู้แกะแบบพิมพ์ หลวงปู่บอกว่า ตัวท่านเองก็จำไม่ได้แน่นอน เพราะเป็นเวลาผ่านมานานแล้ว ท่านจำได้แต่เพียงว่า บล็อกแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ขาโต๊ะ นั้น ท่านได้มาจากฆราวาสผู้หนึ่ง ซึ่งฆราวาสผู้นี้ได้ไปพบบล็อกแม่พิมพ์อันนี้เข้าโดยบังเอิญ ที่บนขื่อหรือบนเพดานของหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอัมรินทราราม บางกอกน้อย ธนบุรี

หลังจากที่หลวงปู่โต๊ะ ได้ใช้บล็อกแม่พิมพ์อันนี้ กดพิมพ์พระสมเด็จขาโต๊ะได้จำนวนหนึ่ง ไม่นานนัก (ไม่กี่ร้อยองค์) หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ได้มาขอยืมบล็อกแม่พิมพ์นี้ไปจากหลวงปู่โต๊ะ ต่อมาบล็อกแม่พิมพ์อันนี้ก็ได้หายไป นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายออย่างยิ่ง

หลวงปู่จะทำพระเครื่องชุดแรกนี้ ร่วมกับอาสาสมัครจากวัดพลับ จนหลวงปู่มีความชำนาญ และเข้าใจวิธีการสร้างพระทุกอย่างทุกขั้นตอนได้ดีแล้ว หลังจากนั้นหลวงปู่จะกดพิมพ์พระด้วยมือของท่านเองมาโดยตลอด และได้พิมพ์สร้างพระเครื่องชุดแรกนี้มาเรื่อยๆ ทั้ง ๑๓ พิมพ์ สลับกันไป สร้างไปแจกไป ไม่หวงแหนเลย ใครมาหาท่านในช่วงนั้น ท่านก็จะแจกพระเครื่องให้เสมอ

จวบจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ในวันหนึ่ง หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปฉันเพลที่ตลาดพลู ไปพบกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

หลวงสด ได้ถามหลวงปู่โต๊ะว่า ผงพุทธคุณที่ได้สร้างกันขึ้นมานั้น ได้เอาไปทำอะไรบ้าง หลวงปู่ตอบว่า ได้เอาไปสร้างพระเครื่องแล้ว และก็ได้แจกจ่ายพระเครื่องนั้นให้กับลูกศิษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา

หลวงพ่อสด จึงได้บอกกับหลวงปู่โต๊ะว่า อย่านำผงไปสร้างพระแจกหมดเสียก่อน ให้รอท่านด้วย ท่านจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จะได้ขอผงมาสร้างพระแจกบ้าง

หลังจากนั้นมา หลวงปู่โต๊ะ จึงได้เพลามือในการแจกพระเครื่องรุ่นแรก ๑๓ พิมพ์ของท่าน พร้อมกับแบ่ง ผงพุทธคุณ จำนวนหนึ่ง ให้กับหลวงพ่อสด เพื่อเอาไปสร้างพระผงของขวัญ จนเป็นที่โด่งดังในเวลาต่อมา

ในตอนนั้น ถ้าหากหลวงปู่โต๊ะไม่ได้รับการบอกกล่าวจากหลวงพ่อสดหลวงปู่ก็คงจะแจกพระเครื่องของท่านไปจนหมด ไม่เหลือมาให้ได้แจกกับศิษย์รุ่นหลังๆ ยังมีโอกาสได้รับพระจากมือของหลงวงปู่โดยตรงอีกจำนวนมากมายหลายท่านด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม พระเครื่องรุ่นแรกนี้ หลวงปู่ก็ได้แจกไปจนหมดสิ้นแล้วมิได้เหลือให้แจกกันอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา

นอกจากพระเครื่องขุดแรก ๑๓ พิมพ์นี้แล้ว หลวงปู่ยังได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ พระกลีบบัวเนื้อเมฆพัด, พระสมเด็จพิมพ์ห้าชั้น, พระสมเด็จพิมพ์คะแนน และพระสมเด็จเนื้อผงผสมชานหมากก่อนปี ๒๕๐๐ อีกด้วย

หลังจากปี ๒๕๐๐ ไปแล้ว หากมีการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่ ทั้งของวัดหรือนอกวัดก็ตาม ลูกศิษย์และฆราวาสที่มีความเคารพนับถือ และศรัทธาในตัวหลวงปู่ จะเป็นผู้ขออนุญาตจากหลวงปู่ แล้วจัดทำและสร้างมาถวายให้ทั้งนั้น แต่หลวงปู่ท่านก็ตั้งใจปลุกเสกให้อย่างเต็มที่ ดังเราจะเห็นได้จากความนิยมของวงการพระเครื่อง ที่ได้ให้ความสนใจในพระปิดตาจัมโบ้, พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้รุ่นสอง และพิมพ์อื่นๆ อีกหลายพิมพ์ด้วยกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเครื่องรุ่นหลังๆ นี้พระปิดตาเกือบทุกพิมพ์ต่างก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งราคาเช่าหาก็จัดว่าไม่แพงจนเกินไป แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปิดตาทุกๆ พิมพ์นั้น ทางวัดได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้ว จะเหลือก็แต่จำนวนเพียงเล็กน้อยที่ท่านพระครูวิโรจน์กิตติคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านได้เก็บรักษาเอาไว้เพื่อตอบแทนสมนาคุณ แก่ผู้ที่มาร่วมเป็นกรรมการบำเพ็ญกุศล เป็นเจ้าภาพคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่โต๊ะ วันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีเท่านั้น

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้หลวงปู่โต๊ะ ผู้เขียนก็อยากจะขอแนะนำให้ท่านลองแวะไปนมัสการดูสักครั้ง ท่านจะได้มีโอกาสสักการะ บูชารูปหล่อของหลวงปู่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อไว้ และจะได้กราบไหว้หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่โต๊ะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเองด้วย

 (บทความนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือที่จัดทำโดย คุณ ประสิทธิ์ ปริชาน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้)


ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 02:47:48 »
(หลวงปู่โต๊ะ)

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 10 เม.ย. 2550, 03:00:13 »
มีเรื่องเล่าว่า มีงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งหนึ่ง ที่วัดพิกุลทอง (หลวงพ่อแพ) ครั้งนั้น ได้มีการเตรียมงานไว้เรียบร้อยแล้ว
และ ก็ได้เริ่มพิธีแล้ว ไปบางส่วน
หลวงพ่อแพ ได้กล่าว ถามลูกศิษย์ว่า งานเรียบร้อยดีไหม เกจิอาจารย์
ที่นิมนต์มามาครบกันแล้วหรือยัง
และหลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี มาหรือยัง ถ้ามาและก็จะเบาใจ
เพราะว่า หลวงพ่อโต๊ะ องค์เดียวมาปลุกเสก ก็เท่ากับเกจิองค์อื่นมาปลุกเสก 20 องค์

ผิดพลาดอันใดขออภัยด้วย







อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม