ผู้เขียน หัวข้อ: พรหมวิหาร 4  (อ่าน 2368 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
พรหมวิหาร 4
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2553, 04:34:33 »
ความหมายของพรหมวิหาร 4- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


3. มุทิตา :
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
ตอบ: พรหมวิหาร 4
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 ก.ค. 2553, 09:15:44 »
       :059: หลักการปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ นี้ เป็นพื้นฐานของการสร้างบารมีทั้ง ๓๐ ประการ
และต้องปฏิบัติพร้อมกันทั้งองค์ ๔ มิใช่เลือกปฏิบัติเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องมีพร้อมกันทั้งองค์๔
และมีความเหมาะพอดี ไม่หวังผลตอบแทนกลับคืนมา จึงจะไม่เกิดทุกข์  ข้อที่ถือปฏิบัติได้ยากที่สุด
ก็คือ..อุเบกขา การวางเฉย  ซึ่งถ้าไม่เข้าใจในธรรมอย่างแท้จริงแล้ว มันจะกลายเป็นการทอดทิ้งธุระ
อุเบกขานั้นต้องมีพื้นฐานมาจาก เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นเบื้องต้น อุเบกขาคือการไม่หวังผลในกรกระทำ
ทำไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้นหรือจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของเวรกรรม ใจไม่ไปยึดติดในการกระทำ หรือคาดหวัง
ว่ามันต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ตามที่ใจของเราปรารถนาให้เป็น
       อุเบกขานั้นต้องเกิดจากใจที่บริสุทธิ์ เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เห็นธรรม
ทำหน้าที่ของตนสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ใจจึงวางเฉยต่อผลที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือในทางที่ร้าย
ไม่ใช่เกิดจากการที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่ถูกใจ แล้วจึงวางเฉย อย่างนั้นเรียกว่าการทอดทิ้งธุระ จึงต้องกลับไปพิจารณา
ถึงที่เกิดของอารมณ์อุเบกขา ว่ามันมาจากเหตุและปัจจัยอะไร ใจนั้นจึงวางเฉย
      อุเบกขาการวางเฉย กับ การทอดทิ้งธุระนั้น อาการภายนอกและภายในนั้นคล้ายกัน แต่แตกต่างกันตรงที่
เหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการวางเฉย การทอดทิ้งธุระ ซึ่งมาจากเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน และให้ผลแตกต่างกัน
     การทอดทิ้งธุระนั้น เกิดจากอคติจิต ไม่สบอารมณ์ ไม่ถูกใจ ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว กลัวความวุ่นวายที่จะตามมา
และความน้อยใจเพราะไม่ได้ดั่งใจ จึงไม่สนใจวางเฉย ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
     อุเบกขาการวางเฉยนั้น เกิดจากการที่เข้าใจในธรรม เกิดจากกุศลจิต เข้าใจในกรรมของสัตว์โลกทั้งหลาย
และได้ทำหน้าที่ของตนสมบูรณ์แล้ว ในเมตตา กรุณา มุทิตา แล้วจึงวางใจให้เป็นอุเบกขา
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พรหมวิหาร 4
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 ก.ค. 2553, 09:21:42 »
กราบมนัสการพระอาจารย์ที่เคารพ  :054:

กราบขอบพระคุณสำหรับคำสั่งสอน และความรู้   :054:

ศิษย์เข้าใจแล้วครับจะขอน้อมใว้ปฏิบัติตามต่อไป   :054:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พรหมวิหาร 4
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 30 ก.ค. 2553, 11:48:53 »
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ขอบพระคุณที่ขยายความเรื่องอุเบกขาครับ อ่านแล้วเข้าใจชัดเจนครับ

ขอบคุณเอ็มครับสำหรับเรื่องของพรหมวิหาร 4

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕