ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระเขมธัมโม วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ  (อ่าน 3983 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลูกผู้ชายตัวจริง

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 741
  • เพศ: ชาย
  • กูจะกลับมากู้แผ่นดิน ให้พ้นภัยศัตรู
    • MSN Messenger - namo159@HOTMAIL.COM
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ประวัติพระเขมธัมโม

วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ



 ธรรมลีลา ปีที่ 3 ฉบับที่ 33 สิงหาคม 2003

รายงานพิเศษ : ศิษย์หลวงพ่อชา ?พระเขมธัมโม? เผยแพร่ธรรมในเรือนจำ จนได้รับเครื่องราชฯอังกฤษ

โดย ธรรมสิกขา

เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินี อลิซาเบ็ธที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ ผ่านมา ?พระเขมธัมโม? เจ้าอาวาสวัดป่าสันติธรรม ที่ประเทศอังกฤษ ได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติแห่งจักรวรรดิอังกฤษ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 เนื่อง จากเป็นพระภิกษุที่ได้ทำคุณประโยชน์ ด้านการสอนพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษ ในสหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี นับเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปแรกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

พระเขมธัมโม เป็นชาวอังกฤษโดย กำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2487 ท่านได้ใช้ชีวิตทางโลกอยู่หลายปี และได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตนเอง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกสนใจ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี 2514 ท่านจึงได้ออกเดินทางเพื่อแสวงบุญไปยังดินแดนที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองหลายแห่ง อาทิ อิหร่าน ปากีสถาน อาฟกานิสถาน และอินเดีย ท่านได้เดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานในอินเดีย ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่ประเทศ ไทย และในเดือนธันวาคม ปี 2514 นี้เองที่ท่านได้ตัดสินใจเข้าบรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดมหาธาตุ กทม อยู่วัดมหาธาตุได้เพียง 1 เดือน จึงเดินทางไปศึกษาธรรมยังวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมี พระโพธิญาณเถร หรือหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระสายปฏิบัติรูปสำคัญรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น ต่อมาปี 2515 ก่อนวันวิสาขบูชาเพียงไม่กี่วัน ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์

ตลอดเวลา 5 ปีที่พระเขมธัมโมอยู่ ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อชานั้น พระเขมธัมโมให้ความเคารพรักและศรัทธาในคำสอนและวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อชามาก ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี 2520 ท่านจึงได้นิมนต์ หลวงพ่อชาไปกับท่านด้วย ครั้นหลวงพ่อชากลับเมืองไทยแล้ว ไม่นานนักพระเขมธัมโม ก็ได้ก่อตั้งวัดเล็กๆขึ้นแห่งหนึ่งที่เกาะไวท์ ในรูปแบบวัดป่าที่สงบ เรียบง่าย ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า ?วัดป่าสันติธรรม? ซึ่งเป็นสาขาที่ 158 ของวัดหนองป่าพง ดำเนินการเผยแผ่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2527 ได้รับนิมนต์จากกลุ่มชาวพุทธผู้สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาให้ไปถ่ายทอดความรู้อยู่หลายเดือน และได้ย้ายไปจำพรรษาที่แบนเนอร์ฮิลล์ ใกล้เมืองเคนิเวอร์ธ ที่นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสมาคมพุทธธรรมขึ้น และในปี 2530 สมาคมพุทธธรรมก็ได้รวบรวมเงินจากการบริจาคไปซื้อกระท่อมไม้ในชนบท ซึ่งอยู่ใกล้ๆวัดป่าสันติธรรม เพื่อเป็นที่พักรับรองพระอาคันตุกะ และผู้สนใจที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมาก

ส่วนภารกิจที่สร้างชื่อเสียงให้กับพระเขมธัมโมก็คือ การจัดตั้งองค์กรที่ชื่อว่า?องคุลิมาล? ขึ้น มีสำนักงานอยู่ที่วัดป่าสันติธรรม มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเข้าไปให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการฝึกหัดปฏิบัติธรรมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งในเริ่มแรก พระเขมธัมโมประสบปัญหามาก เนื่องจากทุกเรือนจำต่างปฏิเสธที่จะให้เข้าไปสอน เพราะเห็นว่าไม่น่าจะมีประโยชน์และคงไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรผู้ต้องขังได้ อีกอย่างหนึ่งคือ ที่ผ่านมาไม่เคยมีพระรูปใดเข้าไปสอนในเรือนจำเลย

พระเขมธัมโมได้เพียรพยายามขอร้องชี้แจงถึงเหตุผลว่าการปฏิบัติธรรมนั้นจะช่วยลดปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ต้องขังได้มาก อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ต้องขังเอง รวมทั้งเรือนจำที่จะไม่ต้องมาคอยตามแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพความกดดันทางจิตใจของผู้ต้องหา พระเขมธัมโมได้พยายามต่อรองกับเรือนจำขอทดลองสอนกัมมัฏฐาน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ให้กับผู้ต้องหา 34 คน ซึ่งในที่สุดก็มีเรือนจำ แห่งหนึ่งตกลงที่จะให้ท่านเข้าไปทดลองสอนดู ปรากฏผลว่า ผู้ต้องหามีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นมาก ดังนั้น ทางเรือนจำจึงเปิดโอกาสให้ท่านได้เข้าไปสอนอย่างเต็มที่ รวมทั้งเรือนจำแห่งอื่นๆที่ทราบข่าวต่างก็นิมนต์ให้ท่านไปสอนด้วยเช่นกัน จนปัจจุบัน มีเรือนจำถึง 2 ใน 3 ของเรือนจำทั้งหมด ในประเทศอังกฤษ ซึ่งท่านได้เข้าไปสอน และมีทีมงานอาสาสมัครทั้งพระและฆราวาสประมาณ 40 คนช่วยกันอีกแรงหนึ่ง องค์กรนี้มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ

1  แนะนำและจัดหาทีมงานเข้าไปช่วยเหลือทันทีที่ได้รับการติดต่อ

2  ให้คำปรึกษาในปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน และประสานกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เป็นอนุสาวนาจารย์ รวมทั้งกับอนุสาวนาจารย์ในเรือนจำ

3  ให้คำแนะนำปรึกษากับผู้ต้องขังหลังได้รับการปลดปล่อย เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ

การปฏิบัติตนตามธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดในแบบพระป่า รวมถึงวัตรปฏิบัติอันงดงาม ทำให้พระเขมธัมโม เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนเป็นอย่างมาก จนทำให้วัดป่าสันติธรรมเติบโตขยายตัวมากขึ้น

ปัจจุบันพระเขมธัมโม อายุ 59 ปี พรรษา 32 ท่านยังคงให้การอบรมบ่มธรรมและฝึกฝนปฏิบัติสมาธิภาวนาให้กับสาธุชนผู้สนใจ ทางธรรม ทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ ในช่วงเย็น และใน พรรษานี้มีภิกษุ 3 รูป สามเณร 3 รูป และแม่ชี 3 รูป จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าสันติธรรมแห่งนี้