ผู้เขียน หัวข้อ: เกิดมาทำไม  (อ่าน 934 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nsp8428

  • ก็หมวยนี่คะ
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 193
  • เพศ: หญิง
  • ชีวิตก้าวไปข้างหน้า วันเวลาไม่เดินถอยหลัง
    • ดูรายละเอียด
    • www.nsp8428@hotmail.com
    • อีเมล
เกิดมาทำไม
« เมื่อ: 19 ก.ย. 2553, 04:05:43 »
        คนเราเกิดมาทำไม  ปัญหานี้ถ้าตั้งขึ้นมาคิดก็น่าจะจน เพราะขณะเมื่อทุกคนเกิดนั้นไม่มีใครรู้
มารู้เมื่อเกิดมา และพอรู้เดียงสาแล้วว่ามีตัวเราขึ้นคนหนึ่งในโลก

        แต่ทุกๆคนย่อมมีความไม่อยากตาย กลัวความตาย อยากจะดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน
นอกจากนี้ยังมีความอยากในสิ่งต่างๆ อีกมากมาย  คล้ายกับว่าความที่ต้องเกิดมานี้
ไม่อยู่ในอำนาจของตนเอง มีอำนาจอย่างหนึ่งทำให้เกิดมา ตนเองจึงไม่มีอำนาจ หรือไม่มีส่วน
ที่จะตั้งวัตถุประสงค์แห่งความเกิดของตนว่า เกิดมาเพื่อทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ หรือเพื่อเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ดูคล้ายๆ กับจะเป็นดั่งที่ว่ามานี้ ที่ว่าดูคล้ายๆ ก็เพราะความไม่รู้ หรือจะเรียกว่า "อวิชชา" ก็น่าจะได้
แต่ถ้าจะยอมจนต่อความไม่รู้ก็ดูจะมักง่ายมากไป น่าจะลองทำตามหลักอันหนึ่ง ที่ว่าอนุมานและศึกษา
คือสิ่งที่ประจักษ์แก่สายตาก็รู้ได้ง่าย แต่สิ่งที่ไม่ประจักษ์แก่สายตาก็ใช้อนุมาน โดยอาศัยการสันนิษฐาน
และใช้ศึกษาในถ้อยคำของท่านผู้ตรัสรู้

        พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ตรัสไว้แปลความว่า "ตัณหา (ความอยาก) ยังให้คนเกิด
และว่า "โลกคือหมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม"

        ลองอนุมานดูตามคำของท้านผู้ตรัสรู้นี้ดูในกระแสปัจจุบัน ก่อนว่า สมมุติว่าอยากเป็นผู้แทนราษฎร
ก็สมัครรับเลือกตั้ง และทำการหาเสียง เมื่อได้ชนะคะแนน คือการทำต่างๆตั้งต้นแต่การสมัคร การหาเสียงเป็นต้น
ซึ้งเป็นเหตุผลให้ได้รับผล คือ ได้เป็นผู้แทน หรือแม้ไม่ได้เป็น ถ้าจะตัดตอนเอาเฉพาะความเกิดมาในช่วงแห่งชีวิต
ตอนนี้ ก็จะตอบปัญหาข้างต้นนั้นได้ว่า  "เกิดมาเพื่อสนองความอยากและสนองกรรมของตนเอง"
ถ้าจะแย้งว่าตอบอย่างนั้นฟังได้สำหรับกระแสชีวิตปัจจุบัน แต่เมื่อเกิดมาทีแรกยังมองไม่เห็น เพราะไม่รู้จริงๆ
ถ้าแย้งดังนี้ก็ต้องตอบว่า ฉะนั้นจึงว่าต้องใช้วิธีอนุมานโดยสันนิษฐานถ้ารู้จริงแล้วจะต้องอนุมานทำไม และก็อาศัยคำ
ของท่านผู้ตรัสรู้เป็นหลัก ดังจะลองอนุมานต่อไปว่า

        จริงอยู่เมื่อเกิดมาไม่รู้  แต่เมื่อรู้ขึ้นแล้วก็มีความกลัวตาย อยากดำรงชีวิตอยู่นานเท่านาน แสดงว่าทุกคน
มีความอยากที่เป็นตัวตัณหานี้ประจำเป็นจิตสันดาน ความอยากเกิดย่อมรวมอยู่ในความอยากดำรงอยู่นี้
เพราะความตายเป็นความสิ้นสุดแห่งชีวิตในภพชาติอันหนึ่งๆ เมื่อยังมีความอยากดำรงอยู่ตามที่อยากนั้น ทั้งก็ต้อง
เกิดตามกรรมเป็นไปตามกรรม

        ฉะนั้น  จึงสรุปได้ว่า "เราเกิดมาด้วยตัณหา (ความอยากและกรรม) เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตนเอง"
ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอำนาจหรือผู้สร้างให้เกิดมา ใครเล่าเป็นผู้สร้างตัวอำนาจนี้ ตอบได้ว่าคือตนเอง
เพราะตนเองเป็นผู้อยากเองและเป็นผู้ทำกรรม  ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ตนเองนี้แหละเป็นผู้สร้างตนเองให้เกิดมา










ขอบคุณที่มา จาก หนังสือ ชีวิตลิขิตได้  พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ออฟไลน์ pepsi

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 325
  • เพศ: ชาย
  • ทําดี คิดดี พูดดี
    • ดูรายละเอียด
    • http://sbntown.com/forum/group.php?groupid=33
ตอบ: เกิดมาทำไม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 ก.ย. 2553, 04:47:24 »
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย  เป็นธรรมชาติ  สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตกอยู่ในวงจรนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้นและเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต  เมื่อใดที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต  ทันที่ที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต  สิ่งที่เกิดตามมาหลังการเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  คือแก่  เจ็บ  และตายตามมาอย่างไม่อาจหลึกเลี่ยงได้  ฉะนั้นชีวิตเราขอให้จบลงที่ความตายแล้วไม่ต้องเกิดอีก  เพราะทุกครั้งที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต  ความแก่  ความเจ็บ  และความตายจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง  ฉะนั้นวงจรของชาตชรามรณะ  จึงเริ่มต้นที่การเกิด


ด้วยเหตุนี้เอง  ประสิทธิภาพในการเข้าใจสัจธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน  คนที่เกิดมากชาติและสะสมบาปกรรมมากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการเข้าใจธรรมะที่น้อยกว่า  เนื่องจากอนุสัยที่มีในจิตมากกว่าจะบดบังขีดความสามารถในการเข้าใจสัจธรรมโดยตรง  จึงต้องอาศัยความเพียรพยายามมากขึ้น  แต่ตามธรรมชาติคนที่มีบาปกรรมมากย่อมมีความอดทนน้อย  ความเพียรจึงน้อยตามลงไป  โอกาสในการจะสร้างบาปกรรมใหม่ ๆ  ก็จะกระทำได้ง่ายขึ้น  โอกาสที่จะสร้างบูญกรรมก็จะน้อย  ส่วนคนที่เกิดมาน้อยชาติกว่าจะได้เปรียบ  เพราะปริมาณอนุสัยที่สะสมในจิตน้อยกว่า  จึงมีบาปกรรมน้อยกว่าประสิทธิภาพในการเข้าใจธรรมะก็ย่อมจะดีกว่า  ด้วยเหตุนี้เองการเข้าใจสัจธรรมของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน  ทำให้ความเข้าใจในธรรมะที่ผู้เขียนได้เขียนของแต่ละคนที่ได้อ่านย่อมไม่เท่ากันอย่างมีนัยยะสำคัญ  จึงไม่อาจชี้วัดได้ว่าผู้อ่านคนหนึ่งเข้าใจ  ผู้นั้นเข้าใจจะต้องหมายความว่าผู้อื่นจะเข้าใจด้วย  เพราะการจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้  บาปบุญที่สั่งสมมาทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญ  ต่อมาคือความตระหนักในบาปกรรม  หมายความว่าหากเรารู้ตัวว่าเป็นคนมีบาปกรรมมาก  ยิ่งต้องเพิ่มความเพียรในการปฏิบัติให้มากขึ้นแล้วต้องมีความอดทนในการปฏิบัติ 

กรรม กิเลส วิบาก จึงเป็นเครื่องกั้นกางการตรัสรู้อย่างแท้จริง  โดยเฉพาะตัวกรรมหากไม่ทำให้บาปกรรมสิ้นสภาพแห่งการชดใช้  บาปกรรมนั้นจะกระตุ้นให้เกิดกิเลสในสมอง  แล้วก่อให้เกิดวิบากอันเป็นบาป  หรือที่ผู้เขียนเรีกว่าวิบากบาป  ซึ่งคำว่าวิบากบาปก็ล้อมาจากคำว่าวิบากกรรม  ซึ่งคำว่าวิบากกรรมเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินอยู่แล้วนั้นเอง
กาลเวลาเป็นเครื่องชี้ตัวตนแห่งคน

ออฟไลน์ tong_lomsak

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 260
  • อาจาริโย เม ภันเต อายัส์มา ฐิตคุโณ นาม
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกิดมาทำไม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 19 ก.ย. 2553, 04:55:24 »
ขอต่ออีกนิดนะครับ

ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท


อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )




อวิชชายะ เตววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
( เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ )
สังขาระนิโรธา วิญาณะนิโรโธ ( เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ )
วิญญาณะนิโรธา นามรูปะนิโรโธ ( เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ )
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ ( เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ )
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ( เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ )
ผัสสะนิโรธา เวทนานิโรโธ ( เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ )
เวทนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ( เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ )
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ ( เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ )
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ( เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ )
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ ( เพราะภพดับ ชาติจึงดับ )
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจจึงดับ )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ
( การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )




...


ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา
อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,
การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น


การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้
คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะเนื้อหาคำแปลจาก www.oknation.net/blog/buddhamantra
จงอย่าเชื่อเพียงแค่ได้รู้ ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน มา

ออฟไลน์ NOPPANUCH

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 42
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกิดมาทำไม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 19 ก.ย. 2553, 05:03:22 »
เยี่ยม :015: :016:

ออฟไลน์ นายธรรมะ

  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ำอยู่ที่ทําตัว
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 615
  • เพศ: ชาย
  • เหนื่อย ได้แต่อย่า ท้อ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: เกิดมาทำไม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 19 ก.ย. 2553, 06:09:12 »
ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ
[shake]ศรัทธา ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ศรัทธา เพื่อ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเกิด ปาฏิหาริย์[/shake]