ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องกลัวกรรม  (อ่าน 1276 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nsp8428

  • ก็หมวยนี่คะ
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 193
  • เพศ: หญิง
  • ชีวิตก้าวไปข้างหน้า วันเวลาไม่เดินถอยหลัง
    • ดูรายละเอียด
    • www.nsp8428@hotmail.com
    • อีเมล
ทำไมต้องกลัวกรรม
« เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 08:45:03 »
          พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กรรมมีสองอย่าง คือ ปุราณกรรม ได้แก่ กรรมเก่า และ นวกรรม ได้แก่ กรรมใหม่
และได้ตรัสอธิบายว่า กรรมเก่า ได้แก่ อายตนะ ทั้ง๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนกรรมใหม๋ก็ได้แก่ การงานที่
ทำ พูด คิด   ด้วยมีเจตนาอยู่ในปัจจุบัน

          ลองคิดว่าทำไมจึงตรัสอายตนะทั้ง๖ว่า เป็นกรรมเก่า ก็เพราะทุกๆคน ได้มาตั้งแต่เกิด คือ เกิดมา ถ้าไม่
พิกลพิการ ก็มีตา มีหู เป็นต้น มาด้วยกันทุกคน และเมื่อมีมาแล้ว ก็ต้องเห็น ก็ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องได้รส
ต้องถูกต้อง และต้องคิดบางคราวไม่อยากดูก็ต้องดู ไม่อยากฟังก็ต้องฟัง แม้ไม่อยากคิดก็ต้องคิด คือว่าจะเลือก
เอาตามใจชอบไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้น ทั้งนี้ เพราะมีตาจนถึงมีใจติดตัวมาแล้ว ทั้ง๖ นี้จึงว่าเป็นกรรมเก่า
ซึ่งทุกๆคน จะต้องเสวยกรรมเก่าของตนคือ ต้องเป็นสุขเป็นทุกข์ไปต่างๆ เพราะตา หู ตลอด ถึงเพราะใจของตนเอง
ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ยังต้องยอมรับความเกิดความเสื่อมอันเกี่ยวกับตาหูของตนอีกด้วย เช่น ถ้าสายตาสั้น
ก็มองเห็นสั้นใกล้ ถ้ายิ่งตาบอดด้วยเลย ก็มองไม่เห็น ต้องทนเป็นคนตาบอดมองไม่เห็นต่อไป เมื่อมีกายก็ต้องยอม
รับทุกๆสิ่งที่มาถูกต้องกาย บางทีก็เป็นที่สบาย บางทีก็ไม่เป็นที่สบาย ถ้าถูกไฟไหม้ หรือถูกอาวุธก็บาดเจ็บ จนถึง
ตายไปก็ได้ ใครๆ คงไม่อยากจะให้มีอะไรมาต้องกายในทำนองนั้น แต่เมื่อกายก่อเกิดมาด้วยกันแล้วก็จำต้องรับ
คิดดูดังนี้จะเห็นว่า เป็นกรรมเก่าจริงๆ ซึ้งติดตัวมาตั้งแต่เกิดจนถึงตายรวมความว่า คือ ตัวของเราเองหรือกายใจของ
เราเองนี้แหละเป็นกรรมเก่า


          คนเรามักกลัวกรรมเก่ากัน แต่ไม่รู้ว่ากรรมเก่าที่กลัวนั้นคืออะไร คิดปั้นเอาว่า คือสิ่งที่มีอำนาจเหนือตนซึ่ง
จะมาให้ทุกข์อย่างแสนสาหัส ความเชื่ออย่างนี้จึงเป็นเหมือนเชื่อในเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นแต่เพียง เปลี่ยนจาก
พูดว่า เทพเจ้ามาว่าเป็นกรรมไปเท่านั้น ตกว่าเชื่อในสิ่งที่ไม่รู้ กลัวในสิ่งที่ไม่รู้ ส่วนพระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงกรรมเก่า
ก็ทรงชี้ให้ใครๆ เห็นได้ด้วยว่ากรรมเก่าคืออะไร เพราะอายตนะทั้ง๖ เหล่านี้มีอยู่ด้วยกันทุกๆคนแล้ว หากเชื่อ
พระพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องไปกลัวกรรมเก่าที่ไหนอีก ถ้าจะกลัวก็ให้กลัว ตา หู ตลอดถึงใจของตนนี่แหละ ที่จะก่อทุกข์
ให้แก่ตน หากขาดสังวร คือ ความระมัดระวัง

          พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้สังวร ตา หู ตลอดถึงใจ คือ ให้มีสติระมัดระวังในเวลาที่เห็นอะไร ได้ยินอะไร
ตลอดถึงคิดอะไรต่างๆ เพื่อมิให้สิ่งที่เห็นที่ได้ยินเป็นต้นนั้น มาก่อความชั่วขึ้นในใจ หรือว่าผูกพันใจไว้ให้เป็นทุกข์
เดือดร้อน ถ้ามีสังวรใจอยู่ดังนี้ได้ ก็ไม่ต้องกลัวกรรมเก่า

          ส่วนกรรมใหม่นั้นเห็นได้ชัดอยู่แล้ว และทุกคนจะทำกรรมใหม่ขึ้นได้ก็ด้วยกรรมเก่านั้นแหละ ทั้งทางดีและ
ทางชั่ว เพราะต้องอาศัยตาหูเป็นต้น ทั้งในฐานะเป็นเครื่องมือ ทั้งในฐานะเป็นเหตุก่อเจตนา ถ้ามีความสังวรดีอยู่
ก็จะก่อเจตนาที่เป็นบุญกุศลแต่อย่างเดียว















   ขอบคุณที่มา จากหนังสือ ชีวิตลิขิตได้ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ออฟไลน์ เส

  • คิดการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ทำไมต้องกลัวกรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 09:52:24 »
ขอเสริมนิดนึงนะครับ..ผมเคยอ่านเจอในหนังสือเล่มนึง อาจจะเชื่อมโยงกันได้ พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสสอนไว้ว่า "บุคคลใดไม่เชื่อว่าเวรกรรมมีจริง เปรียบเสมือนบุคคลนั้น มีดวงตาที่มืดบอด มองไม่เห็น ดวงจันทร์ มองไม่เห็น พระอาทิตย์ ทั้งๆที่บุคคลอื่นทั่วไปมองเห็น"
ขอให้ทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม ให้รอดพ้นจากบ่วงมาร ทุกคนครับ :054:
บุคคลที่เเขวนพระดัง ราคาเเพงเต็มคอ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนดี

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ทำไมต้องกลัวกรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 10:02:37 »
อนุโมทนาด้วยนะครับ ขอบคุณสำหรับบทความ

มีสติทำแต่กรรมดีอันเป็นกุศล เจริญๆ สาธุ  



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ก.ย. 2553, 10:16:47 โดย ~@เสน่ห์เอ็ม@~ »

ออฟไลน์ vithya

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 195
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ทำไมต้องกลัวกรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 10:25:58 »
คนทุกคนมีกรรมเป็นของตน :097:อยู่ที่จะทำกรรมดี :017:หรือกรรมชั่ว :091: