ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นกำเนิด วันสงกรานต์  (อ่าน 6100 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ต้นกำเนิด วันสงกรานต์
« เมื่อ: 08 เม.ย. 2550, 12:38:29 »


                      ประ​เพณีสงกรานต์

[ถือ​เป็น​วันขึ้นปี​ใหม่​ของไทย​ ​ซึ่ง​ยึดถือปฏิบัติสืบ​เนื่อง​กัน​มา​แต่​โบราณ​ ​และ​เป็น​วัฒนธรรมประจำ​ชาติที่งดงามฝังลึก​อยู่​ใน​ชีวิตของคนคำ​ว่า​ ?​
สงกรานต์​? ​มา​จาก​ภาษาสันสฤต​ ​แปลว่า​ ​ผ่าน​หรือ​เคลื่อนย้าย​ ​หมาย​ถึง​ ​การเคลื่อนไทยมาช้านาน
การย้ายของพระอาทิตย์​เข้า​ไปจักรราศี​ใด​ราศีหนึ่ง​ ​จะ​เป็น​ราศี​ใด​ก็​ได้​ ​แต่​ความ​หมายที่คนไทย​ทั่ว​ไป​ใช้​ ​หมายเฉพาะวัน​และ​เวลาที่พระอาทิตย์​
เคลื่อน​เข้า​สู่ราศี​เมษ​ใน​เดือนเมษายน​เท่า​นั้น/color]


                     ​ตำ​นานเกี่ยว​กับ​กำ​เนิดวันสงกรานต์
กล่าว​ไว้​ว่า​ ​ก่อนพุทธกาลมี​เศรษฐีครอบครัวหนึ่ง​ ​อายุ​เลยวัยกลางคนก็​ยัง​ไร้ทายาทสืบสกุล​ ​ซึ่ง​ทำ​ให้​ท่านเศรษฐีทุกข์​ใจ​เป็น​อันมาก​ ​ข้างรั้วบ้าน
เศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง​ ​หัวหน้าครอบครัว​เป็น​นักเลงสุรา​ ​ถ้า​วันไหนร่ำ​สุราสุดขีด​ ​ก็​จะ​พูดเสียงดังแสดงวาจา​เยาะ​เย้ยเศรษฐีสบประมาท​ใน​ความ​
มีทรัพย์มาก​ แต่​ไร้ทายาทสืบสมบัติ​เสมอ​ ​วันหนึ่งเศรษฐี​จึง​ถามว่ามี​ความ​ขุ่นเคืองอะ​ไร​จึง​แสดงอาการเยาะ​เย้ย​และ​สบประมาท​ ​เฒ่านักดื่ม​จึง​
ตอบ​ ​ถึง​ท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง​ ​แต่​เป็น​คนมีบาปกรรมท่าน​จึง​ไม่​มีบุตร​ ​ตายไป​แล้ว​สมบัติก็ตก​เป็น​ของ​ผู้​อื่น​หมด​ ​สู้​เรา​ไม่​ได้​ถึง​แม้​จะ​ยากจน
แต่ก็มีบุตรคอยดู​แลรักษายามเจ็บไข้​ ​และ​รักษาทรัพย์สมบัติ​เมื่อเราสิ้นใจ



นับแต่​นั้น​มา​ ​เศรษฐียิ่งมี​ความ​เสียใจ​ ​จึง​พยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์​และ​พระจันทร์​ ​เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร​ ​ทำ​เช่นนี้​เป็น​เวลา
ติดต่อ​กัน​ถึง​สามปี​ ​ก็​ไม่​ได้​บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่ง​เป็น​วันนักขัตฤกษ์สงกรานต์​ ​ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่​โคนต้นไทร​
ใหญ่​ต้นหนึ่ง​ ​ที่​อยู่​บนฝั่งแม่น้ำ​ที่อาศัยของนก​ทั้ง​หลาย​ ​ท่านเศรษฐี​ให้​บริวารล้างข้าวสาร​ด้วย​น้ำ​สะอาด​ถึง​ 7 ​ครั้ง​ ​แล้ว​จึง​หุงข้าวสาร​นั้น​ ​เมื่อสุก​
แล้ว​ยกขึ้นบูชาพระ​ไทร​ ​เทพเหล่า​นั้น​เกิด​ความ​สงสาร​ ​จึง​ขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์​ ​ทูลขอบุตรแก่​เศรษฐี​ ​พระอินทร์​จึง​บัญชา​ให้​เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ​
?​ธรรมบาล​? ​ลงมา​เกิด​ใน​ครรภ์ของภรรยา​เศรษฐี​ ​เมื่อครบกำ​หนดภรรยา​เศรษฐีก็คลอดบุตร​เป็น​ชาย​ ​เศรษฐี​จึง​ตั้งชื่อว่า​ ​ธรรมบาลกุมาร​ ​เพื่อ
ตอบสนองพระคุณเทพเทวา​ ​เศรษฐี​จึง​สร้างปราสาทสูง​ 7 ​ชั้น​ ​ถวายเทพต้นไทร
​เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น​ ​เป็น​เด็กที่มีปัญญา​เฉียบแหลม​ ​รอบรู้​ ​และ​วัยเพียง​ 7 ​ขวบก็​เรียนจบไตรเพท



อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ต้นกำเนิด วันสงกรานต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 08 เม.ย. 2550, 01:01:51 »
​ยัง​มี​เทพองค์หนึ่งชื่อ​ “​ท้าวกบิลพรหม​” ​ได้​ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย​ ​จึง​คิดทดลองภูมิปัญญา​โดย​การเอาชีวิต​เป็น​
เดิมพัน​จึง​ถามปัญหา​ 3 ​ข้อ​ ​ถ้า​กุมารน้อยแก้ปัญหา​ทั้ง​ 3 ​ข้อ​ได้​ ​กบิลพรหม​จะ​ตัดศีรษะของตนบูชา​ ​ถ้า​ธรรมบาลแก้​ไม่​ได้​ ​ก็​จะ​ต้อง​เสียหัวเพื่อ
ยอมรับ​ความ​พ่ายแพ้​ ​ปัญหา​นั้น​มีว่า


1. ​ตอน​เช้า​ราศีคน​อยู่​แห่ง​ใด
2. ​ตอนเที่ยงราศีของคน​อยู่​แห่ง​ใด
3. ​ตอนค่ำ​ราศีของคน​อยู่​แห่ง​ใด


เมื่อ​ได้​ฟังปัญหา​แล้ว​ ​ธรรมบาล​ไม่​อาจทราบคำ​ตอบ​ใน​ทันที​ได้​ ​จึง​ผลัดวันตอบปัญหา​ไปอีก​ 7 ​วัน​ ​ครั้นเวลาล่วง​จาก​นั้น​ไป​ 6 ​วัน​ ​ธรรมบาลกุมาร
ก็​ยัง​คิดหาคำ​ตอบปัญหา​นั้น​ไม่​ได้​ ​จึง​หลบออก​จาก​ปราสาทหนี​เข้า​ป่า​ ​และ​ไปนอนพักเอา​แรง​ใต้​ต้นตาล​ ​ขณะ​นั้น​บนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่ง
อาศัย​อยู่​ ​นางนกถามสามีว่า​ “​พรุ่งนี้​เรา​จะ​ไปหาอาหารที่​ไหน​” ​นกสามีก็ตอบว่า​ “​พรุ่งนี้​เรา​ไม่​ต้อง​บินไป​ไกล​ ​เพราะ​จะ​ได้​กินเนื้อธรรมบาลกุมาร​ ​
ซึ่ง​จะ​ถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว​ ​เนื่อง​จาก​แก้ปัญหา​ไม่​ได้​” ​นางนกถามว่า​ “​ปัญหา​นั้น​ว่าอย่างไร​” ​นกสามีตอบว่า​ ​ปัญหามี​อยู่​ 3 ​ข้อ​ ​และ​หมาย​ถึง​


ข้อหนึ่ง ตอน​เช้า​ราศีของมนุษย์​อยู่​ที่หน้า​ ​คน​จึง​ต้อง​ล้างหน้าทุกๆ​ ​เช้า​
ข้อสอง​ ตอนเที่ยงราศีคน​อยู่​ที่อก​ ​มนุษย์​จึง​ต้อง​เอา​เครื่องหอมประพรมที่อก
ข้อสาม ตอนค่ำ​ราศีคน​อยู่​ที่​เท้า​ ​มนุษย์​จึง​ต้อง​ล้างเท้าก่อน​เข้า​นอน


ธรรมบาลกุมาร​ ​ได้​ยินการไขปัญหาของนกอินทรี​ ​และ​จำ​จนขึ้นใจ​ ​ทั้ง​นี้​เพราะ​ธรรมบาลรู้ภาษานก​ ​จึง​กลับสู่ปราสาทอัน​เป็น​ที่​อยู่​แห่งตน​ ​รุ่งขึ้น​

เป็น​วันครบกำ​หนดแก้ปัญหา​ ​ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำ​ตอบ​ ​ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุย​กัน​ทุกประการ​ ​ท้าวกบิลพรหม​จึง​

เรียก​ ธิดา​ทั้ง​ 7 ​ของตนอัน​เป็น​บริจาริกาคือหญิงรับ​ใช้​ของพระอินทร์มาพร้อม​กัน​ ​แล้ว​บอกว่าตน​จะ​ตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร​ ​แต่​ถ้า​เอาศีรษะ

พ่อวาง​ไว้​บนแผ่นดินก็​จะ​ลุกไหม้​ไป​ทั้ง​โลก​ ​ถ้า​จะ​โยนขึ้นไปบนอากาศ​ ​อากาศ​จะ​แห้งแล้งฟ้าฝน​จะ​หายไปสิ้น​ ​ถ้า​ทิ้งลงไป​ใน​มหาสมุทร​ ​น้ำ​ใน​

มหาสมุทร​จะ​แห้งแล้งไปเช่น​กัน​ ​จึง​สั่ง​ให้​ นาง​ทั้ง​ 7 ​คน​ ​เอาพานมารองรับศีรษะ​ ​แล้ว​จึง​ตัดศรีษะส่ง​ให้​นางทุงษธิดาคนโต​ ​นางทุงษ​จึง​เอาพานรับ

เศียรบิดา​ไว้​แล้ว​แห่ประทักษิณรอบ​เขา​พระสุ​เมรุ​ 60 ​นาที​ ​แล้ว​อัญเชิญไป​ไว้​ใน​มณฑปถ้ำ​คันธุรลี​ ​เขา​ไกรลาส​ ​บูชา​ด้วย​เครื่องทิพย์​ ​พระ​

เวสสุกรรมก็​เนรมิตโรงประดับ​ด้วย​แก้ว​ 7 ​ประการ​ ​ชื่อภควดี​ ​ให้​เป็น​ที่ประชุมเทวดา​ ​เทวดา​ทั้ง​ปวงก็​เอา​เถาฉมูนวดลงมาล้าง​ใน​สระอโนดาต​ 7 ​ครั้ง​

​แล้ว​ก็​แจก​กัน​เสวยทุกๆ​ ​องค์​ ​ครั้นครบ​ 365 ​วัน​ ​โลกสมมุติว่า​เป็น​หนึ่งปี​เป็น​สงกรานต์​ ธิดา​ 7 ​องค์​ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวร​กัน​มา​เชิญพระ​

เศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบ​เขา​พระสุ​เมรุทุกปี​ ​แล้ว​จึง​กลับไปเทวโลก
​เรียกนางเทพธิดาที่ทำหน้าที่นี้ว่า​ ​นางสงกรานต์





                                     นางสงกรานต์
          เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ ๑ ในทั้งหมด ๖ ชั้น)
ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวัน
สงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด ๗ องค์ ได้แก่

1. นางสงกรานต์ทุงษเทวี
ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธ
คู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ

2. นางสงกรานต์โคราดเทวี
โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระ
หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)

3. นางสงกรานต์รากษสเทวี
รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระ
หัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)

4. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย
อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)

5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี
กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์
ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)

6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวา
ถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)

7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระ
หัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)