หมวด ผู้ทรงวิทยาคุณ (เกจิอาจารย์) > เกจิอาจารย์ภาคใต้

หลวงพ่อศรีแก้ว vs พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ

(1/3) > >>

phattharaphong:

 
พระอุปัชฌาย์ศรีแก้ว  พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2447
วัดอรัญวาสิการาม (ห้วยเงาะ) ต.ทุ่งพลา  อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี

  "บารมีธรรม"  ไม่ว่าจะไกลแสนไกล  จะใกล้แสนใกล้  บารมีธรรมก็คือบารมีธรรมย่อมไปถึงทุกแห่งหน
     บารมีธรรมเป็นของไม่ยาก  มองกันง่ายเห็นกันง่าย  แต่จะมีให้เห็น  จะมีให้มองหรือไม่นั้น  ไปอีกทำนองหนึ่ง  หากใครเจอะเจอพบเห็น  ถือได้ว่าบุคคลนั้นคนโชคดีคนหนึ่ง ในจำนวนอีกหลาย ๆ คน
      ผู้เห็นบารมีธรรม  จำนวนเท่าที่เห็นจริงนั้น   ส่วนใหญ่เจ้าของบารมีธรรมจะไม่อวดอ้างกลับอยู่นิ่งเฉย  บางสถานที่ถึงกับกับถ่อมองค์อย่างไม่น่าเกลียด  “ของจริงนิ่งเป็นใบ้”  และผู้พบเห็นบารมีธรรมจริง ๆ ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจของเขาเองว่า   “บารมีธรรมจะคงอยู่ในลักษณะอย่างไร”
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านเปรียบประดุจดั่งช้างเผือก  การเจอะเจอคนหมู่มากย่อมน้อย  และหากใครได้เจอนับได้ว่ามีบุญวาสนาอยู่ในผู้นั้นมากพอสมควร  ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงกับเป็นการสำคัญที่จะต้องเข้าไปสักการบูชา  กราบไหว้แนบชิดปลายจีวรกับตัวท่าน  แต่เพียงขนาดเหรียญบูชารูปเหมือนของท่านหากมีอยู่ถือได้ว่า  คนผู้นั้นเป็นผู้มีบุญอยู่ในข้อที่สามารถมีบานธรรมคุ้มครองตนเองอยู่แล้ว
    กล่าวเช่นนี้เนื่องเพราะว่า  วัตถุมงคลอันเป็นสิ่งทดแทนในบารมีธรรมของท่านหลวงพ่อศรีแก้วนั้น  กว่าจะมาเป็นหรือถึงจุดสูงพอจะรับบารมีธรรมเพื่อเป็นตัวแทนท่าน  ทุกอย่างต้องพิถีพิถัน  ถูกต้องตามกาลฤกษ์ตามประสาคนเฒ่าคนแก่บ้านนอกบ้านนา
   เพราะฉะนั้นทุกขั้นตอนการจัดทำจึงต้องประณีตละเอียดลออครบหลักสูตร  พระเกจิที่เข้ามานั่งปรก  นั่งแผ่เมตตาจิตมานั่งแผ่บารมีธรรม  “ไม่ว่าจะเป็นชั้นเทพยวิมานในที่องค์ ท่านแผ่ไปนั้น ถึงไหน ทุก ๆ องค์ย่อมรู้อยู่แก่ในจิตใจขององค์ท่านเองดี ”  ช้างเผือกย่อมอยู่ในป่า  (ลึก)
   วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว  นับได้ว่าเป็นสิ่งวิเศษใหญ่หลวงแม้จะไม่เลอเลิศมากนัก  แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง  ทุกขั้นตอนทั้งความมีบารมีธรรมในรูปเหมือนของวัตถุมงคลที่มีอยู่ในองค์ท่าน 

     อีกทั้งได้รับการนั่งปรกปลุกเสกจากพระเกจิผู้เพียบพร้อมในรูปขององค์ท่านอยู่แล้ว   พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้วมีหลายรูปชื่อเสียงขององค์ท่านไม่ขจรขจายเป็นที่รู้จักของคนนอกพื้นที่มากนัก  แต่ท่านเหล่านี้แหละเป็นพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกในพิธีหลวงปู่ทวด  2497   วัดช้างให้   อยู่หลายรูป   แต่องค์ท่านเหล่านี้ไม่ยอมเปิดเผยองค์ท่านต่อสาธารณชน  คนนอกพื้นที่จริงไม่ทราบและไม่รู้จักองค์ท่านมากนัก  นี่คือรูลักษณะของความจริงในวัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว  คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก
     เป็นอย่างนั้นจริง ๆ  มีบทพิสูจน์ที่รู้และทราบกันในละแวกท้องถิ่นและชนแดนไกล หรือแม้แต่ชาวต่างชาติและต่างศาสนา  ที่เช่าหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อไป  ก็พบพานอภินิหาริย์มากมายด้วยเช่นเดียวกัน  จะกล่าวให้ทราบในภายหลัง
    แม้ระยะทางจะไกลอยู่บ้างสำหรับพุทธชนทั่วแคว้นแดนไทย  ที่จะมาสักการะองค์ท่านด้วยตนเอง  ดังนั้นจึงมีการจัดทำรูปจำลองขององค์ท่านออกมาในรูปลักษณ์วัตถุมงคล  เพื่อให้บารมีธรรมแห่งองค์หลวงพ่อศรีแก้วที่มีอยู่  ถูกบรรจุในวัตถุสิ่งนั้นได้คุ้มครองช่วยเหลือทุกท่านที่อยู่ไกลแสนไกลอย่างไร้กังวล

phattharaphong:
ประวัติวัดห้วยเงาะ
   วัดห้วยเงาะเป็นวัดโบราณ  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2200   สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2319  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอรัญวาสิการาม” ตั้งอยู่ หมู่ 4  ต.ทุ่งพลา อ. โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี  มีเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน 7 รูป
เจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงพ่อจันทร์
เป็นผู้อุปการะและบูรณะวัดห้วยเงาะ เป็นองค์ที่สร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมในบางส่วนของวัด  หลวงพ่อจันทร์ ท่านสร้างทุกสิ่งทุกอย่างจาก “พลังศรัทธา”  หลวงพ่อจันทร์ เล่าสืบต่อกันมาว่าท่านเก่งด้านแพทย์แผนโบราณ และ  ไสยเวทย์มาก
เจ้าอาวาสรูปที่สอง คือ หลวงพ่อศรีแก้ว
ท่านเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อจันทร์  รับเอาวิชาอาคมต่าง ๆ ของหลวงพ่อจันทร์มาทั้งหมด
เจ้าอาวาสรูปที่สาม คือ พระอธิการชัย
เจ้าอาวาสรูปที่สี่ คือ พระอธิการพรหมแก้ว
ในสมัยนี้วัดห้วยเงาะได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการจาก “วัดทักษิณสาคร ” มาเป็น “วัดอรัญวาสิการาม”
เจ้าอาวาสรูปที่ห้า คือ พระครูไพศาลถาวรกิจ (พุฒ ฐานิโย) 
ในสมัยของพระครูท่าน ทางวัดช้างให้ได้จัดทำวัตถุมงคล รุ่นแรก เนื้อว่าน ของ สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  2497  ซึ่ง พระครูท่านเป็นหนึ่งในพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีครั้งนั้น  ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิธีที่ใหญ่มากทีเดียวในยุคเก่าก่อน และยังมีพระเถระที่เข้าร่วมพิธีอีกหลายรูปที่มิยอมให้เอ่ยถึงนามขององค์ท่าน

 ท่านพระครูไพศาลถาวรกิจ  เป็นพระเกจิที่ชาวบ้านยกย่องท่านในด้านไสยเวทย์ถือว่าท่านเป็นหนึ่งในทำเนียบยุคนั้นเลยทีเดียว
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 คือ พระครูพิทักษ์อรัญญาวาส ( พ่อท่านธี )
เจ้าอาวาสรูปที่ 7 คือ พระปลัดอุดม
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 และ 7  ท่านเป็นศิษย์ของ พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ   
                 
   ประวัติหลวงพ่อศรีแก้ว
 ชาติกำเนิด
  หลวงพ่อศรีแก้ว  ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านโคกม่วง  อ.เทพา จ.สงขลา ท่านเกิดประมาณ พ.ศ. 2357  นามบิดามารดาไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่ามีพี่น้อง 5 คน แต่มีบันทึกไว้เพียง 3 คน คือ ปู่ทวดพรหมทอง ทวดพัดทอง  และหลวงพ่อศรีแก้ว
เยาว์วัย
  ตั่งแต่เยาว์วัยเป็นเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา  ขยันขันแข็ง  รักในการทำงาน  ชอบสันโดษอยู่กับธรรมชาติ  เมื่ออายุได้ 16 ปี  เด็กชายศรีแก้ว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจันทร์ วัดห้วยเงาะ (วัดทักษิณสาคร) ในสมัยนั้น  เล่าต่อ ๆ กันว่า หลวงพ่อจันทร์ ท่านเดินจากวัดห้วยเงาะ  ไปยังพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช  เพื่อเข้าพิธียิ่งใหญ่ของพระธาตุ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น พระเกจิท่านรู้กัน “นิมนต์การทางจิต ”  หลวงพ่อจันทร์ท่านออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ  ในเวลาบ่าย 2 โมงเย็น ถึงในพิธี ณ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในเวลาเกือบจะ 4 โมงเย็นของวันเดียวกัน   ระยะทางจากวัดห้วยเงาะถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประมาณ 370 กม.  นับว่าอัศจรรย์มาก  เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมากในยุคนั้น   หลวงพ่อจันทร์ท่านยังมีวิชาแปรธาตุสภาพวัตถุให้เป็นสิ่งมีชิวิตได้  วิชานี้ชาวบ้านทั่วไปจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อ ชาวบ้านนำของไปถวายแด่องค์ท่านหลวงพ่อจันทร์  เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ ท่านเอ่ยวาจาว่า “นั้นสูเอาลูกไก่มาทำไม”  เมื่อชาวบ้านก้มมองของที่นำมาถวายแก่หลวงพ่อจันทร์  ณ  บัดนั้นได้กลายเป็นลูกไก่ร้องเจี๊ยบ ๆ   เสียแล้ว และเมื่อมองอีกอีกครั้งหนึ่ง  ลูกไก่เจี๊ยบ ๆ ได้กลายเป็นสิ่งของเหมือนเดิมเสียแล้ว  วิชานี้ หลวงพ่อทวดสีพุฒ  วัดกาโผะ  อาจารย์ใหญ่ของ หลวงปู่แดง  วัดศรีมหาโพธิ์  จ. ปัตตานี  เคยใช้หยอกศิษย์ท่านเหมือน  ในสมัยก่อนมีศิษย์ท่านได้นำภัตตาหารไปถวายหลวงพ่อทวดสีพุฒ   ท่านเอ่ยวาจาประมาณว่า “สูเอานกมาทำไมนั้น”  เมื่อศิษย์ท่านมองดูภัตตาหารได้กลายเป็น นกน้อยเสียแล้ว  และในบันดล นกน้อย ก็ กลายเป็นภัตตาหารเหมือนเดิม  นับว่าพระเกจิยุคเก่าก่อน  น่าอัศจรรย์กันทุกองค์ 
บรรพชา
เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์  นายศรีแก้วจึงได้รับการอุปสมบทในราว พ.ศ. 2378  ณ วัดห้วยเงาะ โดยมี หลวงพ่อจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์หลวงปู่หิด  เป็นพระกรรมวาจาจารย์
   พระศรีแก้วเป็นพระที่ใฝ่หาในวิทยาคมและขยันหมั่นเพียร เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้ศึกษาเวทย์จากหลวงพ่อจันทร์  จนบรรลุในจุดที่สามารถจะไปไหนมาไหนได้อย่างอาจารย์เมื่อถึงจุดหนึ่งพระศรีแก้วจึงออกธุดงค์ เพื่อเสาะหาอาจารย์ที่เรืองเวทย์ในสถานที่ต่าง ๆ กัน  โดยไม่จำกัดว่าวิชาเหล่านั้นท่านได้มาจากเพศบรรพชิตหรือฆราวาส  ตามประวัติท่านออกธุดงค์เงียบหายไปเป็นเวลานานมาก  เงียบหายไปกับกาลเวลา
   พระศรีแก้ว กลับมาวัดห้วยเงาะอีกครั้งหนึ่ง  แต่ครานี้ท่านกลับกลายเป็น หลวงพ่อศรีแก้วผู้เข้มขลังด้วยพระเวทย์  เต็มเปี่ยมเมตตาปรานี  เพียบพร้อมด้วยไสยและโหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณ  แต่น่าเสียดายที่สมุดบันทึกมิได้กล่าวถึงรายนามพระอาจารย์ของท่าน  ที่ท่านออกธุดงค์ไปพบเจอพร้อมทั้งศึกษาไสยเวทย์  มาให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ  ทราบแต่เพียงว่าท่านธุดงค์ไปถึง  ถ้ำผ่าปล่องสู่ถ้ำเชียงดาว  ระยะทางจากปัตตานี ถึง เชียงใหม่  ในเวลานั้นจะ

phattharaphong:
สุดยอดขนาดไหน ที่แน่ ๆ เส้นทางเมื่อ 100กว่า ปี ที่แล้วต้องเต็มไปด้วยป่าไม้รกทึบ ไข้ป่า สัตว์ป่านานาชนิดแน่นอน   พระเวทย์ของพระเกจิอาจารย์ในสมัยก่อนสุดหยั่งจริง ๆ  ยิ่งมีอยู่ในตัวเท่าไหร ยิ่งทำให้พระเกจิท่านนั้น ดูภูมิฐาน  อิ่มเอิบสดใส  คงเป็นไปได้ว่า พระเกจิสมัยก่อนนั้น ทุก ๆ ท่านหยั่งรู้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เป็นแน่แท้
     พระเวทย์อีกวิชาหนึ่งซึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวท้องถิ่น คือ วิชาสั่งกระสุน (ธนู) วิชานี้ท่านเอาไว้ใช้ปราบเด็กอันธพาลเกเร  ที่ไม่เชื่อฟัง   ในสมัยต้องมีวิธีการที่ใช้ปราบเด็กเกเรให้เด็ดขาด  วิธี หลวงพ่อศรีแก้วท่านสั่งสอนแบบธรรมดา  คือ  ผู้ที่โดดลูกธนูของท่านก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิดที่คิดจะกระทำอีก  และทราบด้วยว่ากระสุนนั้นเป็นของใครทุกคนที่โดนจะต้องเข้าไปกราบไหว้ท่านและต้องกลับตัวเป็นคนดีประสอบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย
   วิธีใช้ เมื่อท่านจะสั่งกระสุนไปโดนใคร (ลูกธนูดิน) ท่านจะนั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกุฏิ  คนที่จะกระทำผิดก็จะโดดลูกธนู  พร้อมเสียงร้อง โอ๊ย ทุกคน
วิชาสั่งกระสุนนี้ ชาวบ้านในแถบถิ่นรู้กันดี ว่าถ้าใครโดด คือ หลวงพ่อท่านเตือนแล้ว อย่าได้บังอาจคิดกระทำผิดอยู่  ฉะนั้นในละแวกวัดจึงมีแต่คนคิดดี ทำดี
   หลวงปู่แดง  วัดศรีมหาโพธิ์  จ.ปัตตานี  เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับสายพระเวทย์ว่า “ วิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม เปรียญเหมือนมีดเราจะใช้ทำอะไรก็ได้ ฆ่าคน  ทำร้ายคนหรือนำมาเป็นประโยชน์ป้องกันตัว ช่วยคน ตัดไม้ทำอาหาร มีดมิใช่ว่าใช้ทำร้ายคนอย่างเดียว ประโยชน์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย” 
เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อศรีแก้ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์  ในรัชสมัยราชที่ 4  หลวงพ่อได้ให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่กุลบุตร  ผู้มีความศรัทธาอย่างกว้างขวางท่านต้องรับภาระหนักมาก  ทุกปีจะต้องเดินทางไกลโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ  ช้างของท่านมีอยู่ 2 เชือก ชื่อ  อ้ายหนุน เป็นช้างพราย  และ  บูดาหยัง  เป็นช้างพัง
ทำงานพระศาสนา
หลวงพ่อผู้เปี่ยมด้วยเมตตาแก่ผู้เข้าสนทนาด้วยความปิติในศีลาจารวัตรว่า
“ตลอดชีวิตของกู  ทำนกบินหลาตาย  ตัวเดียว”
หลวงพ่อศรีแก้ว สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ หลังจากวันเพ็ญวิสาขะมาศ ท่านก็จะออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ  โดยมีช้างเป็นพาหนะ  รอนแรมไปตามทาง  เพื่อให้การอุปสมบทแก่ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ใน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี  ในสมัยนั้น กลันตัน  ปะริด  ไทรบุรี  ยังเป็นเขตแดนไทยอยู่  เพราะ หลวงพ่อศรีแก้ว  มีชีวิตอยู่ พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2447  แต่ไทยเสียดินแดน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ประมาณ พ.ศ 2451  เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว  ก็จะเดินทางอ้อมกลับไปทางสงขลา
กว่าจะเดินทางมาถึงวัดห้วยเงาะ เป็นเวลาถึง 8 เดือน จึงให้การอุปสมบทแก่วัดค้างเคียงก่อน  และจะอุปสมบท ที่วัดห้วยเงาะ เป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อท่านจึงอธิษฐานเข้าพรรษา
มรณภาพ
หลวงพ่อศรีแก้วทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของไทยตลอดจน กลันตัน  ปะริด  ไทรบุรี  จนกระทั่งได้ร่วงเลยมาถึงวัยชรา  ท่านได้ถึงกาลมาณภาพ ในวัย 90 พรรษา  พรรษาที่ 69
หลวงพ่อศรีแก้วได้มรภาพลงแล้วชาวพุทธผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อก็หล่งไหลไปนมัสการกราบไหว้บูชา  บางคนมีเรื่องทุกข์ร้อน  ก็บนหลวงพ่อของความเมตตา หากสิ่งใดเป็นไปเพื่อความสุจริต  ก็จะสมปรารถสิ่งนั้นตามสมควร
    จึงมีคนพูดว่า   “บนพ่อท่านในหีบ”

phattharaphong:
สถูปบรรจุอัฐิ
เมื่อฌาปนกิจหลวงพ่อแล้ว  พระอธิการชัย  พร้อมด้วยคณะญาติโยม  ได้ก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของหลวงพ่อศรีแก้ว  ก่ออิฐถือปูนทรงย่อแหลมย่อเหลี่ยม  เพื่อทางใต้ของพระอุโบสถเพื่อให้สาธุชน สืบไป   
เล่นซีละแก้บน
ซีละ คือ  ศิลปะการต่อสู้ของมลายู  การแสดงซีละ  จะมีการร่ายรำประกอบดนตรี  เป็นการแสดงมิใช่ต่อสู้จริง ( ถ้านำซีละมาต่อสู้จริงผู้ที่ชำนาญซีละสามารถใช้ซีละต่อกรกับมวยไชยา ได้อย่างเหมาะสมกัน ) หลวงพ่อท่านจะโปรดการรำซีละมาก จึงมีผู้คนมาบนกันมาก
ย้ายที่บรรจุสถูป
 หลวงพ่อพุฒ  เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ  ในสมัยนั้น  ได้ทำการปฏิสังขรณ์อุโบสถ ตั่งแต่ พ.ศ 2500 – พ.ศ. 2505   อุโบสถหลังใหม่ก็สำเร็จ   จึงได้ย้ายอัฐิหลวงพ่อศรีแก้วไปไว้ใต้ฐานประธานพระอุโบสถ 
ปฐมบทแห่งการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อศรีแก้ว
ในคืนของวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย พ.ศ. 2521  หลวงพ่อได้ปรากฏในฝันกับชาวบ้านห้วยเงาะผู้หนึ่ง  ชื่อ คุณบุญเรือน   ความว่า  คุณบุญเรือน ได้เดินทางเข้าไปในวัดห้วยเงาะเข้าไปใกล้อุโบสถ  ปรากฏเจอหลวงพ่อเฒ่ารูปหนึ่งลักษณะน่าเลื่อมใส  จนเกิดความปิติยินดีจนบอกไม่ถูก  ดวงตาท่านมีแววแห่งความเมตตาคล้ายจะทักทาย  จึงก้มลงกราบท่านด้วยความ
ศรัทธายิ่ง  พลางจ้องมองท่าน  เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน
หลวงพ่อท่านกล่าวเป็นภาษาพื้นเมืองพร้อมชี้ไปที่สถูปเก่าของท่านว่า
“หมึงแลถีนุ้ย  กูอยู่ตากแดดตากฝนกูกะอยู่ได้  กูเอ็นดูสู  สูไปเตอะ  กูจิรักษา”
ผู้ที่ศรัทธาในหลวงพ่อศรีแก้ว  ต่างพูดกันว่า “หลวงพ่อยังอยู่  ยังรักษาเราอยู่”
วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว  ในสมัยนั้นมีการสร้างขึ้น 2 รุ่น  และจะกล่าวถึงแค่สองรุ่นด้วย คือ   รุ่นแรก  พ.ศ. 2522  และ รุ่นสอง พ.ศ. 2523
วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว รุ่นแรก  นับเป็นพระเครื่องรุ่นแรกของทางวัดห้วยเงาะ  เพราะทางวัดห้วยเงาะ ไม่เคยบันทึกเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลใด ๆ ไว้เลย  กำหนดฤกษ์ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 พิธีพุทธาภิเษกได้เริ่มขึ้นเมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชัย  เวลา 22.20น. พระคณาจารย์ผู้ทรงศีล9รูปนั่งปรก
พิธีเททองหล่อหลวงพ่อศรีแก้ว (เท่าองค์จริง)
โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  พระโศภนธรรมคุณ  วัดนาประดู่  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  โดบเริ่มพิธีเททองวันที่  10  มีนาคม  พ.ศ. 2522  เวลา 9.20 น. พระสงฆ์ 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา  ท่ามกลางประชาชนผู้มาร่วมพิธีเนืองแน่น
ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ
ขณะที่พิธีกรรมพุทธาภิเษกดำเนินไปท่ามกลางพระเกจิอาจารย์นั่งปรก  “แสงเทียนนวหรคุณ ณ แสงเทียนชัย แสงเทียนวิปัสสีที่กำลังปรกติธรรมดาอยู่ภายในปริมณฑณก็พวยพุ่งเป็นลำแสงขึ้นสู่เพดานพระอุโบสถอย่างน่าอัศจรรย์”  ท่ามกลางคณะพุทธบริษัทที่ตกตะลึงและขนลุกซู่ในพิธี
ได้มีพระรูปหนึ่งใช้กล้องวัด  ถ่ายภาพฟิล์มสีไว้ได้
วัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้ว  รุ่นสอง
สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสำหรับสร้าง “วิหารจตุรมุข” เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว
โดยพุทธาภิเษก วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2523 ตรงกับวัน เสาร์ แรม5ค่ำ เดือน 5

  ของดีบางครั้งอยู่ไกลในป่าเขา  คนที่ศรัทธาจริง ๆ เท่านั้นที่โชคดีมีโอกาสเป็นเจ้าของ  การพระเครื่องของพระคณาจารย์ทางใต้นั้น  น้อยครั้งที่จะสร้างกัน  บางท่านก็ถ่อมตน  เพราะแกรงว่าจะเป็นการไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
   การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้ง  จึงต้องพิจารณากันนาน  และเมื่อตกลงใจสร้างด้วยใจอันเป็นกุศลเป็นที่ตั้งไม่ใช่การค้า
   ดังนั้นพระเครื่องที่สร้างออกมาจะเปี่ยมล้น พุทธานุภาพ  ธรรมมานุภาพ   และ สังฆานุภาพ
ผู้ที่มีใช้ไว้ประจำตัวต่างพบเจอในบุญญาอภินิหารด้านต่าง ๆ เสมอมา  ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางวัดไม่เคยได้ออกข่าว  จึงทราบกันในวงแคบ ๆ ละแวกจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น   

phattharaphong:


หลวงพ่อศรีแก้ว  (หลวงพ่อในหีบ)  บทตำนานแห่ง วัดห้วยเงาะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version