ผู้เขียน หัวข้อ: สัทธรรม  (อ่าน 17870 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
สัทธรรม
« เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:22:54 »
สัทธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษ ใช้ หมายถึงพระพุทธพจน์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกโดยเคารพว่า พระสัทธรรม
สัทธรรม แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ

๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงหลักสำหรับศึกษาเล่าเรียน ทรงจำ แนะนำสั่งสอนกัน ได้แก่ พระสูตร คาถา ชาดก เป็นต้น

๒. ปฏิปัตติสัทธรรม คือ คำสอนที่แสดงถึงหลักปฏิบัติตามที่ศึกษามา แสดงวิธีปฏิบัติสูงขึ้นไปตามลำดับ คือระดับศีล ระดับสมาธิ ระดับปัญญา

๓. ปฏิเวธสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ซึ่งเรียกว่า โลกุตรธรรม


เรียกพระสัทธรรม ๓ อย่างนี้ย่อๆ ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็ได้


สัตบุรุษ คือ .....
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัตบุรุษ (อ่านว่า สัดบุหรุด) แปลว่า คนดี คนสงบ คนที่พร้อมมูลด้วยธรรม
สัตบุรุษ หมายถึงคนที่มีคุณธรรม คนที่เป็นสัมมาทิฐิ คนที่ประพฤติธรรมเป็นปกติ
สัตบุรุษ ในทางปฏิบัติคือคนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ
เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ ปัญญา
ไม่ปรึกษาอะไรที่เบียดเบียนตนและผู้อื่น
ไม่คิดอะไรเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
ไม่พูดอะไรเพือเบียดเบียนตนและผู้อื่น
ไม่ทำอะไรเพือเบียดเบียนตนและผู้อื่น
มีความเห็นชอบ เป็นสัมมาทิฐิ
ให้ทานโดยความเคารพ ไม่ให้แบบทิ้งขว้าง
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:39:43 »
มุตโตทัย  แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น

ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้
 
๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
๑๐. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส
๑๑. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย
๑๒. มูลติกสูตร
๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัต
๑๕. สัตตาวาส ๙
๑๖. ความสำคัญของปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา และปัจฉิมเทศนา
๑๗. พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ

อ่านทั้งหมด
http://www.luangpumun.org/muttothai_1.html#1

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:44:33 »
แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น.......ธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

   
บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์  สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์

             สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า

 ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
             สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:46:14 »
๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน

 เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า น คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ

         นโม นี้ เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระ โอ จากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจเต็มตามส่วน สมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจาก ใจ คือมหาฐาน นี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก มโน แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมมติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมมติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะจนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง หลงถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราไปหมด


อ่านต่อ
http://www.luangpumun.org/muttothai_2.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:49:07 »
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัทธรรมปฏิรูป หมายถึง พระสัทธรรมเทียม พระสัทธรรมปลอม เมื่อพระสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เลือนหายไป

ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม หรือ สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นจากเหตุผล 5 ประการ คือ พุทธบริษัท 4 (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)

ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา
ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม
ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์
ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา
ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 10:57:09 »
เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน

    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ ใกล้เมืองมิถิลา ลำดับนั้น ท่านกิมพิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
    “ดูกรกิมพิละ ! เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรมในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน นี้แล กิมพิละ ! เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
(จากปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕)

     ครั้นเมื่อพูดถึงการเกิดของคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า“สัตว์โลก” ทุกคนเรียนและรู้ว่าชีวิตเกิดอย่างไร? แต่จะมีมนุษย์สักกี่คน ที่จะรู้ว่าตนเอง เกิดมาทำไม? หลายคนอาจตอบเหมือนกันว่า ชีวิตก็คือ การเริ่มต้นตั้งแต่เกิดเป็นทารกแบเบาะ เจริญเติบโตเป็นเด็กแล้วเข้าโรงเรียน เรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ผ่านมหาวิทยาลัยได้รับปริญญาแล้วได้ทำงานประกอบอาชีพเลี้ยงตน แต่งงานมีครอบครัว หาและสะสมทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงของชีวิต ดิ้นรนเสาะแสวงหาความสุข ลาภยศสรรเสริญ ฯลฯ ตามแต่จะต้องการ ซึ่งบางคนได้สมประสงค์บ้าง บางคนก็ไม่สมประสงค์ต่างๆกันไป และที่ไม่มีแตกต่างกันก็คือต้องประสบกับความสุขความทุกข์บ้าง คละเคล้าสับเปลี่ยนกันไป เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นๆ ความแก่ ความชราก็มาเยือน เมื่อถึงวันนั้นร่างกาย ก็เริ่มเสื่อม เริ่มเจ็บไข้ได้ป่วย ล้มหมอนนอนเสื่อและที่สุดของชีวิต วันนั้นวันที่หนีไม่พ้นก็มาถึงคือ “วันตาย” จึงมีคำถามสุดท้ายว่า “เท่านี้หรือคือชีวิต?”

เท่านี้หรือ...ชีวิต

    โคควายวายชีพได้     เขาหนัง
เป็นสิ่งที่เป็นอันยัง         อยู่ไซร้
คนเด็ดดับศูนย์สัง-        ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้         แต่ร้ายกลับดี
    ปางน้อยสำเหนียกรู้   เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน      ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ     ธรรมชอบ
ยามหง่อมทำใดได้       แต่ล้วนอนิจจังฯ
    รูปชายหญิงทั่วท้อง  ธาตรี
เป็นภักษ์แก่เดือนปี        สุดสิ้น
อัฐิถมทั่วปฐพี             รายเรี่ย
ประเทศเท่าปีกริ้น        ร่างพ้นฤๅมี
(โคลงโลกนิติ)

สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ อันใครๆ ในโลกไม่พึงได้
คือ

๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย
๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บไข้เลย
๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย
๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าได้สิ้นไปเลย
๕. ขอสิ่งที่มีความพินาศไปเป็นธรรมดา อย่าได้พินาศไปเลย
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๙


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1124.php

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 11:08:32 »
ถามว่า สิ่งไรเป็นปฏิปัตติสัทธรรม ?
แก้ว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ สิกขานี้ ชื่อว่าปฏิบัตติสัทธรรม ฯ

ศีลคือความ สำรวมกายวาจาตามสิกขาบทบัญญัติ ได้แก่ปาติโมกขสังวรศีล ซึ่งเป็นเชฏฐกศีลสำเร็จด้วยอริยาสมมติ และวิรัติความเว้นจากวจี ทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ มิจฉาชีพ ๑ ซึ่งเรียกว่าอาชีวมัฏฐกศีล ๆ มี อาชีวะเป็นที่ ๘ อันเป็นอาทิพรหมจริยกาสิกขา สำเร็จด้วยสมาทาน เจตนาก็ดี ชื่อว่าศีลสิกขา

สมาธิความตั้งใจอยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ กุสเลกัคตา ความที่แห่งจิตมีอารมณ์อันเดียว เป็นกุศลอันเกิดขึ้นด้วย สมถกรรมฐาน มีกสิณปริกรรมและอสุภปริกรรมเป็นต้น ที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิแอบแนบแน่นในอารมณ์ หรือเรียก ว่าอัปปนาฌาน เพราะเป็นของแอบแนบแน่นเพ่งอารมณ์มีกสิณ เป็นต้นอยู่ก็ดี และอุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิยังไม่ถึงอัปปนาก็ดี ชื่อว่าสมาธิสิก

ปัญญาความรู้เท่าสังขาร คือนามรูปและปัญจขันธ์ เป็นต้น ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใช่ตน ได้แก่วิปัสสนาปัญญา

            ตั้งแต่สัมมสนญาณจนถึงอนุโลมญาณ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนากรรม ฐานนั้น ชื่อว่าปัญญาสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ นี้ ชื่อว่าสิกขา เพราะเป็นกิจการในศาสนาอันบุคคลผู้ประสงค์ความสิ้นทุกข์ จะพึง ศึกษาสำเหนียกกระทำปฏิบัติตาม สิกขาศัพท์นี้ จะแปลว่าความศึกษา ก็ได้ จะแปลว่าธรรมชาติอันบุคคลพึงศึกษาก็ได้ แต่ในที่นี้ต้องแปลว่า ธรรมชาติอันบุคคลพึงศึกษา เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมชาติ อันบุคคลพึงศึกษา


อ่านแค่นี้พอ อ่านต่อแล้วจะงง
http://www.larnbuddhism.com/buppasikkhawanna/2.4.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 เม.ย. 2554, 11:09:16 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 11:56:34 »
3. ปฏิเวธสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค4 ผล4 และนิพพาน1=โลกุตรธรรม

 ปฏิเวธ ได้แก่ ผลของการปฏิบัติธรรมนั้น เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระอริยบุคคล เป็นต้น ผู้ได้รับผลแห่งการปฏิบัติ ซึ่งทำให้ยกฐานะจากปุถุชนธรรมดาขึ้นมาเป็นพระอริยบุคคล การบรรลุธรรมชั้นนั้น ๆ ตามภูมิธรรมที่ตนปฏิบัตินั้น ไม่มีใครมายกย่องหรือแต่งตั้งให้ แต่การยกฐานะดังกล่าวเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือฐานะหรือตำแหน่งแห่งอริยเจ้านั้นไม่มีการแต่งตั้งให้ จะรู้ได้ด้วยตนเอง เรียกว่า ปฏิเวธ
            หลักพระสัทธรรม 3 เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีมีความสุข จึงเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ (มรรค)


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 26 เม.ย. 2554, 11:59:55 »

โลกุตรธรรม
โลกุตรธรรม ธรรมหรือสิ่งอันมิใช่วิสัยทางโลก, สภาวะพ้นจากทางโลก หรือสภาวะเหนือโลก อันมี๙ ดังนี้ (พระอริยบุคคล มี๘ คือผู้ปฏิบัติได้ในข้อ๑-๘ - ฐานะแห่งตน)

๑.โสดาปัตติมรรค การปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อบรรลุผลความเป็นพระโสดาบัน หมายถึง กำลังปฏิบัติอย่างถูกต้องถูกทาง ที่ยังให้เกิดญาณ คือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้

๒.โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสนิพพาน จากการละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกด้วยโสดาปัตติมรรค ทําให้บุคลผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน , เข้ากระแสพระนิพพาน หมายถึงเข้าสู่กระแสแรงดึงดูดของพระนิพพานเสียแล้ว อันมิอาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ เพียงขึ้นอยู่กับระยะเวลา ตั้งแต่ภพชาติเดียว(เอกพีชี)จนถึงมากที่สุด ๗ ชาติ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเพียร สติ ปัญญา ตลอดจนเหตุปัจจัย

๓.สกิทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลความเป็นพระสกิทาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณรู้คือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก และเบาบางลงในข้อ ๔ และ ๕ คือ กามราคะ และ ปฏิฆะ

๔.สกิทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากสกิทาคามิมรรคในข้อ๓ ทําให้เป็น พระสกิทาคามี

๕.อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระอนาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๕ข้อแรกได้

๖.อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากอนาคามิมรรคในข้อ๕ ทําให้เป็นพระอนาคามี

๗.อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลเป็นพระอรหันต์, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๑๐

๘.อรหันตผล ผลคือความสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด

๙.นิพพาน ผลการดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 27 เม.ย. 2554, 12:02:39 »
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย

4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สัทธรรม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 27 เม.ย. 2554, 12:41:42 »
ธรรมของสัตบุรุษไม่เก่าเหมือนของอื่น        
      
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า "อย่าคิดเลยมหาบพิตร นี้เป็นธรรมอันแน่นอนของสัตว์ทุกจำพวก" แล้วตรัสถามว่า "นี้รถของใคร? มหาบพิตร." พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียรแล้ว ทูลว่า "ของพระเจ้าปู่ของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า."
               พระศาสดา. นี้ ของใคร?
               พระราชา. ของพระชนกของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.
               เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า
               มหาบพิตร รถของพระเจ้าปู่ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของพระชนกของมหาบพิตร, รถของพระชนกของมหาบพิตร ไม่ถึงรถของมหาบพิตร, ความคร่ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้ชื่อเห็นปานนี้, ก็จะกล่าวไปไย ความคร่ำคร่าจักไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า?
               มหาบพิตร ความจริง ธรรมของสัตบุรุษเท่านั้นไม่มีความชรา, ส่วนสัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่ชรา ย่อมไม่มี.
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
                                      ๖.    ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา                 
                                         อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
                                         สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
                                         สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
                            ราชรถที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่ง ถึงสรีระก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า,
                            ธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล
ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ.


ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=21&p=6
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เม.ย. 2554, 12:42:36 โดย ทรงกลด »